Home > Press/Release > ปภ. เชียงใหม่และเนคเทค ติดตั้งระบบเตือนภัยทั่วเชียงใหม่

ปภ. เชียงใหม่และเนคเทค ติดตั้งระบบเตือนภัยทั่วเชียงใหม่

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณ ภัย กระทรวงมหาดไทย โดย จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกาศความพร้อมในการติดตั้งระบบเฝ้าระวังเตือนภัยน้ำป่าไหล หลากและโคลนถล่มในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 243 ชุดให้ได้ในเดือนเมษายนนี้ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยเจ้า หน้าที่ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อวางแผนการรับมือ และตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ เป็นตัวช่วยหนึ่งสำหรับผู้ปฎิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อการเฝ้าระวังก่อนเกิด หรือรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2555 นายวิบูลย์ สงวนพงษ์ อธิบดี ได้เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือด้านการพัฒนาระบบเฝ้าระวัง เตือนภัยน้ำป่าไหลหลากและโคลนถล่มของจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และ ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่ง ชาติ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความเดือน ร้อนของประชาชนทีได้รับจากภัยพิบัติ อาทิ อุทกภัย โคลนถล่ม และหมอกควัน คาดจะสามารถฝึกอบรมและติดตั้งอุปกรณ์ได้ภายในเดือนเมษายน 2555 และจะเปิดระบบให้ผู้ที่ เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปได้รับทราบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ ป้องกันปัญหาและแก้ไขปัญหาได้ภายในเดือนพฤษภาคม 2555 นี้ โดยจังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดแรกที่นำระบบดังกล่าวไปติดตั้ง ทั่วจังหวัดถึง 243 จุดและใช้งานอย่างเป็น รูปธรรม เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ ที่ได้รับอันตรายและผลกระทบจากปัญหาโคลนถล่มซึ่งเกิดขึ้นใน จังหวัดเชียงใหม่มาโดยตลอด นอกจากนี่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย เนคเทคยังจะได้ทดลองติดตั้งเครื่องมือวัดควันไฟหรือหมอกควันนำ ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไป แก้ไขปัญหาในอนาคต

ผลจากการสูญเสียพื้นที่ป่า และการขยายตัวของชุมชน ทำให้ประชาชนชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยสูงขึ้น โดยไม่รู้ตัว สิ่งที่เกิดขึ้นคงหนีไม่พ้นในเรื่องของภัยพิบัติทางด้านโคลน ถล่ม น้ำป่าไหล่หลาก และการเกิดน้ำท่วมฉบับพัน ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ ผ่านมา นับว่ามีความถี่สูงและความรุนแรงขึ้น ซึ่งทำความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนขึ้นเรื่อยๆ การเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมมฉับพลัน และแผ่นดินถล่มเป็นเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ อันเนื่องมาจากอิทธิพลของฝน และปัจจัยทางกายภาพ และชีวภาพอื่นๆ เนื่องจากการขาดองค์ความรู้และข้อมูล ด้านภัยพิบัติต่างๆ ทำให้ ไม่สามารถรู้เท่าทันเหตุการณ์ การป้องกันหรือการรับมือ เพื่อแก้ไขสถานการณ์ต่างๆและบทเรียนที่ผ่านมาคงไม่มีใครปฎิเส ธถึงความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลก ข้อมูลสารสนเทศจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญ เพื่อช่วยมนุษย์ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อวางแผนการรับมือ และตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ การพัฒนาระบบเฝ้าระวังเตือนภัยน้ำป่าไหลหลากและโคลนถล่ม จึงเข้ามามีบทบาทและเป็นตัวช่วยหนึ่งสำหรับผู้ปฎิบัติงานใน พื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อการเฝ้าระวังก่อนเกิด หรือรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

การทำงานของ ระบบเฝ้าระวังปริมาณน้ำฝนเป็นระบบที่ทำงานโดยอัตโนมัติ ซึ่งเริ่มจาก สถานีตรวจวัดอากาศทำการบันทึกและเก็บค่าปริมาณน้ำฝนรวมทั้ง ข้อมูลตรวจวัดอื่นๆ อันได้แก่ อุณหภูมิความชื่นในอากาศ จากนั้นสถานีตรวจวัดอากาศจะทำการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย อินเตอร์เน็ตผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อทำการส่งข้อมูลที่ตรวจวัดได้ เข้าสู่เครื่องแม่ข่ายบันทึกฐานข้อมูล ซึ่งฐานข้อมูลดังกล่าวนี้จะสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางโปรแกรมเว็บ บราวเซอร์ทั่วไป

นอกจากการส่งข้อมูลตามระยะเวลาที่กำหนดเข้าสู่ เครื่องแม่ข่ายฐานข้อมูลแล้ว สถานีตรวจวัดอากาศระยะไกลยังทำการเฝ้าระวังและแจ้งเตือน ปริมาณน้ำฝนในช่วง 24 ชั่วโมง ย้อนหลัง ตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยทำการแจ้งเตือนเเป็นข้อความผ่านระบบเครือข่ายโทรศัพท์ เคลื่อนที่ไปยังผู้ที่มีหน้าที่ในการเฝ้าระวังและรับผิดชอบ โดยตรงไม่ว่าจะเป็น ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครชาวบ้านในพื้นที่ เจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นต้น

ในความร่วมมือระหว่าง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ,กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ,จังหวัด จะสนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบเฝ้าระวังเตือนภัยน้ำป่าไหลหลากและ โคลนถล่ม และสามารถนำไปใช้งานได้จริง และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยมีขอบเขตความร่วมมือ ดังนี้

ร่วมกัน ดำเนินงานวิจัยและพัฒนา ในรูปแบบต่างๆ ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งสามฝ่าย
ร่วมกัน จัดหาและสนับสนุนทรัพยากร เช่น บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สำหรับใช้ในการดำเนินงานภายใต้บันทึกข้อตกลงนี้ แลก เปลี่ยนและเสริมสร้างความรู้ ประสบการณ์ และข้อมูลทางวิชาการ รวมทั้งจัดฝึกอบรมและสัมมนาระหว่างบุคลากรของทั้งสามฝ่าย

View :1975

Related Posts

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.