Archive

Posts Tagged ‘สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)’

ผู้อำนวยการ SIPA เผย 3 เดือนผลงานคืบหน้า เตรียมเดินหน้าเต็มที่โครงการปี 2556

November 7th, 2012 No comments

ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ ()


นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติหรือ SIPA แถลงการทำงาน 3 เดือนแรกผลงานคืบหน้า นำพาองค์กรส่งมอบเคพีไอ 4.34 ให้ ก.พ.ร. พร้อมจัดทัพบุคลากรและแผนงานปี 2556 ลงตัวพร้อมเดินหน้าส่งเสริมอุตสาหกรรมเต็มที่

นายไตรรัตน์ เปิดเผยว่า จากการเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมวอฟต์แวร์แห่งชาติ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา ขณะนี้ได้ครบกำหนด 3 เดือนแรกของการทำหน้าที่แล้ว ซึ่งเมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่งได้ระบุแผนการดำเนินงานในช่วง 3 เดือนแรกของการทำงานว่าจะเป็นการเร่งรัดงานตามวัตถุประสงค์เดิมของปีงบประมาณ 2555 ให้ลุล่วงตามตัวชี้วัด ซึ่งถือเป็นงานหลักในช่วงระยะ 3 เดือนแรก โดยในช่วงดังกล่าวนี้สิ่งที่จะดำเนินการควบคู่ไปคือปรับการบริหารงานภายในทั้งหมดเพื่อให้เข้ากับยุทธศาสตร์ของ SIPA และเสริมการสร้างอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้พร้อมรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้มากขึ้นตามแผนงานระยะยาวที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นที่น่าพอใจว่าการดำเนินการดังกล่าวสามารถดำเนินการได้สำเร็จลุล่วง โดยขณะนี้ SIPA ได้รับผลการประเมินการปฏิบัติงานในปี 2555 จาก ก.พ.ร. อย่างไม่เป็นทางการในคะแนนที่ 4.34 แล้ว นอกจากนี้การดำเนินการในส่วนของการปรับปรุงการบริหารงานภายในก็สามารถดำเนินการได้เรียบร้อยเกือบครบทุกส่วน และที่สำคัญสามารถดำเนินการปรับการจ้างงานเจ้าหน้าที่ในองค์กรเป็นระบบสัญญาจ้างได้ลุล่วงหลังจากเรื่องนี้เป็นที่ค้างคามาเป็นเวลานาน และเป็นภารกิจหลักเรื่องแรกๆที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริหารให้ดำเนินการให้ลุล่วง ซึ่งประเด็นนี้ตนเองได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากเจ้าหน้าที่ของ SIPA ทุกคน
สำหรับภารกิจในลำดับต่อจากนี้ไป จะต้องเข้าสู่การขับเคลื่อนงานของปีงบประมาณ 2556 ให้เดินหน้าอย่างรวดเร็ว เพราะขณะนี้ในภาครัฐถือว่าเริ่มต้นการทำงานในปีงบประมาณใหม่แล้ว และขณะนี้โครงการหลักของ SIPA ก็ได้รับการอนุมัติแผนงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลายโครงการขณะนี้ได้เริ่มเดินหน้าแผนกิจกรรมในรายละเอียดแล้ว ส่วนบางโครงการกำลังอยู่ระหว่างปรับรายละเอียดเพิ่มเติม แต่มั่นใจว่าทั้งหมดจะสามารถดำเนินการได้ก่อนสิ้นปี 2555 นี้ จากเดิมได้กำหนดไว้ว่าในช่วง6 เดือนจะเน้นไปที่เรื่องของการสร้างตลาดภายในประเทศ พร้อมทั้งเร่งดำเนินมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเงินทุน, องค์ความรู้, การวิจัย, การตลาด โดย SIPA จะเน้นการทำงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง, หน่วยงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง, หน่วยงานในสังกัดกระทรวงไอซีที ซึ่งขณะนี้งานทั้งหมดมีความคืบหน้าไปมากในหลายส่วน และได้เข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการต่างๆของกระทรวงไอซีที ตามความเหมาะสมในแต่ละเรื่องที่จะต้องทำ รวมไปถึงการเร่งสร้างมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ตามนโยบายของกระทรวงไอซีที โดยในด้านเงินทุนนั้น ธุรกิจซอฟต์แวร์จะแตกต่างจากภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีการลงทุนเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่ จึงได้มีการสร้างความเข้าใจให้กับหน่วยงานที่สนับสนุนด้านการลงทุน เช่นสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และสถาบันการเงินต่างๆ เกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจซอฟต์แวร์ โดยชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการได้รับสินเชื่อ ซึ่งปัจจุบัน มีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนรวมกว่า 900 โครงการ และได้รับการอนุมัติเกือบทั้งหมด รวมเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านบาท ขณะเดียวกัน ก็ได้มีความร่วมมือกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME Bank ในการปล่อยเงินกู้เพื่อสร้างประสิทธิภาพให้กับผู้ใช้ซอฟต์แวร์ด้วย

ขณะเดียวกันยังได้มีการหารือกับตลาดหลักทรัพย์เพื่อผลักดันให้ธุรกิจซอฟต์แวร์เข้าไปลงทุนในตลาดหลัก ทรัพย์ทั้ง SET และ MAI มากขึ้น ซึ่งการที่จะเข้าไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ให้ประสบความสำเร็จนั้น ผู้ประกอบการด้านซอฟต์แวร์จะต้องสามารถแสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของรายได้อย่างเป็นรูปธรรม มีสัญญาซื้อขายระยะยาว มีบริการหลังการขายที่ดี รวมถึงมีการบริหารจัดการทรัพยากรทั้งด้านบุคคล และเครื่องมือเครื่องใช้ในสำนัก งานอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้บริษัทที่ต้องการเข้าไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์จำเป็นปรับตัวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไปด้วย โดยในปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์หลายรายที่ประสบความสำเร็จ

นายไตรรัตน์ กล่าวว่า การสร้างมูลค่าให้แก่ทรัพย์สินทางปัญญา ก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องเดินหน้าต่อ เพราะผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไม่นิยมจดทะเบียนสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้นการส่งเสริมให้มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรทางปัญญา จึงไม่ได้หวังผลเพียงป้องกันการลอกเลียนแบบเท่านั้น แต่เพื่อการต่อยอดทางธุรกิจด้วย โดยเมื่อจดทะเบียนสิทธิบัตร หรือจดลิขสิทธิ์แล้ว จะทำให้ทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆสามารถนำไปประเมินมูลค่าได้ ก็จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปเจรจากับแหล่งเงินทุนต่างๆได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ การสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านไอที หรือ IT Professional ก็เป็นอีกเรื่องที่พยามผลักดัน เพื่อรองรับ AEC 2558 ด้วย โดยSIPA จะสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ภายใต้ SIPA Academy ซึ่งจะเน้นสร้างบุคลากรที่จะเข้าไปทำงานในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์โดยตรง โดยจะสอนความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม กระบวนการดำเนินธุรกิจ หรือการบริการด้านไอที เป็นต้น ซึ่งผู้ที่เรียนจบหลักสูตรของ SIPA จะพร้อมเข้าทำงานในอุตสาหกรรมนี้ได้

อย่างไรก็ดี ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC นอกจากจะส่งผลให้เกิดเสรีทางการค้า บริการ การลงทุน และการเคลื่อนย้ายเงินทุนแล้ว ยังรวมถึงแรงงานฝีมือ โดยด้านแรงงานฝีมือนี้ ได้ครอบคลุมสาขาวิศวกรรมด้วย ซึ่งบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ของไทย แม้จะมีฝีมือดีแต่ยังเป็นรองด้านภาษาเมื่อเทียบกับชาติอื่นๆในอาเซียน อย่างไรก็ตามคนไทยสามารถปรับตัวได้ดี จึงมีโอกาสที่คนไทยจะได้ทำงานร่วมกับบริษัทซอฟต์แวร์ชั้นนำมากขึ้น รวมถึงเป็นโอกาสให้แรงงานไทยออกสู่ตลาดโลกด้วย

“การเปิดเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนี้ หากมองในมุมของการลงทุน ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่เหมาะสมต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีบุคลากรที่มีคุณภาพ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการทำงานอย่างครบครัน ทำให้เรามีโอกาสเป็นศูนย์กลางด้านการผลิตซอฟต์แวร์ของอาเซียนได้โดยเราจะต้องเริ่มจากการสร้าง Network ของกลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในอาเซียน แล้วแบ่งแยกกันทำงานโดยดูจากความถนัดของแต่ละประเทศ ประเทศใดถนัดเรื่องไหนก็ให้ทำในเรื่องนั้นๆเพื่อจะได้ไม่เกิดความซ้ำซ้อน และแย่งตลาดกันเอง ซึ่งจะทำให้ซอฟต์แวร์ของอาเซียนเราสามารถแข่งกับซอฟต์แวร์อื่นๆในตลาดโลกได้” นายไตรรัตน์ กล่าว

นอกจากนี้ SIPA ยังมีโครงการสร้างบุคลากรทางด้านไอทีเฉพาะด้าน โดยภายในปี 2020 จะต้องสามารถสร้างผู้เชี่ยวชาญไอทีเฉพาะด้าน Healthcare ให้ได้ 40,000 คน ซึ่งจะสามารถรองรับตลาด Healthcare ได้ทั่วภูมิภาคอาเซียนด้วย โดยในขณะนี้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร(ICT) ของไทยได้รับมอบหมายจากอาเซียนให้จัดทำมาตรฐานวิชาชีพด้าน ICT ทำให้ประเทศไทยเรามีโอกาสที่จะประกาศตัวได้ว่าเป็นศูนย์พัฒนาวิชาชีพด้าน ICT ของอาเซียน ซึ่งโครงการนี้ SIPA ได้รับมอบหมายจากกระทรวงICT มาแล้ว

View :1410

ซิป้าเปิดตัว “ทัพ Cloud Software ไทยบุกตลาดท่องเที่ยวเอเชีย” กรุยทางปักธงซอฟต์แวร์ไทยรองรับ AEC 2015

September 28th, 2011 No comments

หรือ ัดงานแถลงข่าว “ ทัพ ไทยบุกตลาดท่องเที่ยวเอเชีย ” พร้อมแผนการตลาดที่จะนำบริษัทซอฟต์แวร์ไทยที่พัฒนาบนเทคโนโลยี Cloud Service กว่า 10 รายทำตลาดในเมืองท่องเที่ยวสำคัญในเมืองไทย 9 แห่ง และเมืองท่องเที่ยวสำคัญในเอเชีย 5 แห่ง โดยได้รับเกียรติจาก นายณัฐพงศ์ ศีตวรรัตน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานในการเปิดงานแถลงข่าว

นายปริญญา กระจ่างมล รองผู้อำนวยการซิป้า กล่าวว่า “ จากการที่ซิป้าได้จัดกิจกรรม SoftEx@ ขึ้นมาเมื่อปลายปี 2553 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2554 ผ่านมา ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่กลุ่มผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ได้มาพบกับกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่างทั้ง 6 คลัสเตอร์ คือ Logistics, Health care, Food & Agriculture, Tourism, Education และ Jewelry ผลที่ได้จากงาน SoftEx@ คือการที่ผู้ประกอบการได้รวมตัวกับและพัฒนาร่วมกันในลักษณะ Total Solution โดยเฉพาะในกลุ่ม Tourism เป็น Cluster แรกที่มีความพร้อมในการทำการตลาด

ในเบื้องต้นผู้ประกอบการฯบางรายที่มีความพร้อมได้เจรจาและนำระบบมาเชื่อมโยงเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้มากขึ้น ซึ่งซิป้าจะสนับสนุนให้การขยายการเชื่อมโยงไปยังระบบของผู้ประกอบการฯรายอื่นๆต่อไป ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้โซลูชั่นที่พัฒนาขึ้นสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำรูปแบบธุรกิจในลักษณะการจำหน่ายซอฟต์แวร์เชิงบริการ (Software as a Service : SaaS) มาใช้แทนการจำหน่ายซอฟต์แวร์ทั้งระบบเนื่องจากผู้ซื้อต้องใช้เงินทุนจำนวนมากในการจัดหาในขณะที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กเช่นเดียวกัน ซึ่งรูปแบบธุรกิจในลักษณะการจำหน่ายซอฟต์แวร์เชิงบริการนั้นผู้ใช้สามารถชำระค่าบริการตามปริมาณการใช้งานหรือเป็นรายเดือน และไม่ต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์รวมทั้งไม่ต้องมีหน่วยงานด้าน IT คอยดูแลระบบ

“ซิป้ายังมีแผนที่จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการพัฒนาโซลูชั่นด้านท่องเที่ยวและให้บริการใช้งานผ่านระบบ Cloud Computing ซึ่งสามารถเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์พัฒนาระบบขนาดเล็กๆ แต่สามารถนำมาเชื่อมโยงให้เป็นโซลูชั่นขนาดใหญ่ได้และจำหน่ายเป็นซอฟต์แวร์เชิงบริการ ที่มีรูปแบบการบริหารจัดการและแบ่งปันผลประโยขน์ที่ชัดเจน แนวทางดังกล่าวจะผู้ให้บริการจะสามารถขยายตลาดและฐานลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็วเนื่องจากเป็นการให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ต ” รองผู้อำนวยการซิป้ากล่าวสรุป

การบุกเมืองท่องเที่ยวในแผนการสนับสนุนผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ด้านการตลาดครั้งนี้มีเป้าหมายที่ 9 เมืองในประเทศไทย คือ พัทยา กาญจนบุรี ภูเก็ต สมุย หัวหิน เขาใหญ่ เชียงใหม่ เชียงราย และกรุงเทพมหานคร และ 5 เมืองที่เป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวในเอเชียคือ โตเกียว มะนิลา โฮจิมินท์ซิตี้ บาหลี และกัวลาลัมเปอร์ โดยแต่ละแห่งที่จะเข้าไปเจาะตลาดนั้นจะใช้กลยุทธ์ในการรวมกลุ่มกันเข้าไปเป็น Cluster ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ประกอบการที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีความโดดเด่นในด้านต่างๆกันรวม 10 บริษัท คือ
• บริษัท Comanche (Thailand) จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์บริหารในโรงแรม

บริษัท Signature จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์บริหารสปา
• บริษัท เอด้าซอฟต์ จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์บริหารภัตตาคาร
• บริษัท Arunsawat จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์บริหารจัดการ/จำหน่าย สินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือ
• บริษัท Touch Technology จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์บริหาร hotspot Wifi
• บริษัท IT-Work จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์ Web marketing
• บริษัท TNT จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์ e-Brochure
• บริษัท Vertasoft จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์บริหารจัดการเอกสาร
• บริษัท AI Soft จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์จองตั๋วโดยสารเครื่องบิน
• บริษัท Galileo จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์จองห้องพักโรงแรม

ทั้งนี้เป็นความร่วมมือดำเนินการระหว่างสมาคมส่งออกซอฟต์แวร์ไทย (TSEP), สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI), สมาคมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI), สมาคมโรงแรมไทย (THA), และสมาคมสปาไทย โดยสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นผู้สนับสนุน

View :2350