Archive

Posts Tagged ‘AEC 2015’

ก.ไอซีที ส่งเสริม e-Commerce ไทยก้าวไกลสู่ AEC 2015

August 16th, 2012 No comments

นายวรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดงานประชุมวิชาการโครงการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “ส่งเสริม ไทยก้าวไกลสู่ ” ว่า ในปี พ.ศ.2558 หรือ ในปี ค.ศ. 2015 ทั้ง 10 ชาติอาเซียนจะมีการรวมตัวกัน ภายใต้ชื่อ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community : AEC) เพื่อสร้างตลาดรวมทั้งฐานการผลิตเดียวกัน และแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ตลอดจนสร้างอำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้า ในภูมิภาคอื่นๆ โดยได้มีการกำหนดให้แต่ละประเทศมีจุดเด่นด้านต่างๆ เช่น ประเทศพม่า มีจุดเด่นด้านสาขาเกษตรและประมง ประเทศมาเลเซีย มีจุดเด่นด้านสาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ ประเทศสิงคโปร์ มีจุดเด่นด้านสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ ส่วนประเทศไทย มีจุดเด่นด้านสาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน

“ประเทศไทยนั้น มีภูมิประเทศอยู่ตรงกลางของอาเซียน จึงเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ อย่างไร ก็ตาม ไทยยังมีโอกาสในการส่งเสริมอุตสาหกรรมอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย หากมีการพัฒนาโดยหน่วยงานภาครัฐ เช่น การจัดให้มีสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างทั่วถึง มีระบบการเงินการธนาคารที่เข้มแข็ง สนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับภาคเอกชนตั้งแต่การเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร และการบริการไปจนถึงการตลาด เพื่อให้เกิดการค้าขายอย่างครบวงจรเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงานได้ดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอด แต่สิ่งสำคัญ คือ ผู้ประกอบการที่อยู่ในแต่ละอุตสาหกรรมซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศที่สามารถสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศคิดเป็นมูลค่ากว่า 3.7 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 38 ของจีดีพี จากจำนวนSMEs ที่มีมากถึง 2.9 ล้านราย และจากการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีความต้องการในการเข้าถึงตลาด และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาช่วยในการพัฒนาศักยภาพให้กับธุรกิจ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” นายวรพัฒน์ กล่าว

ด้าน นางสมใจ ประเสริฐจีรังกุล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า ในแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้าน e-Commerce โดยบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานดังกล่าว ซึ่งจากการสำรวจสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2554 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น จากปีแรกที่ทำการสำรวจ คือ ปี พ.ศ. 2550 ที่มีมูลค่าขายรวม 305,159 ล้านบาท มาเป็น 608,587 ล้านบาท ในการสำรวจรอบปี พ.ศ. 2553 ซึ่งพบว่ามีมูลค่าสูงขึ้นถึงร้อยละ 199.432 หรือประมาณ 2 เท่าตัว

ดังนั้น จึงได้มีการดำเนินการโครงการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้มีการจัดประชุมแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมายเพื่อรวบรวมข้อมูลมาจัดทำเป็นแนวทางในการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 5 อันดับแรก คือ 1. อุตสาหกรรมแฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับ 2. อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอินเทอร์เน็ต 3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 4. อุตสาหกรรมบริการด้านสุขภาพ และ 5. อุตสาหกรรมบริการด้านการศึกษา

นอกจากนี้ ยังมีการจัดงานประชุมวิชาการโครงการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ในหัวข้อ “ส่งเสริม e-Commerce ไทยก้าวไกลสู่ AEC 2015” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และผู้สนใจทั่วไปในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 รวมทั้งเพื่อร่วมวิเคราะห์ถึงแนวโน้มของธุรกิจ e-Commerce ไทย ในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ.2558 ตลอดจนเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และผู้สนใจทั่วไป รวมทั้งเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้มีการนำข้อมูลไปใช้ในการสนับสนุนการดำเนินงานของภาคธุรกิจต่อไป

View :1668

ซิป้าเปิดตัว “ทัพ Cloud Software ไทยบุกตลาดท่องเที่ยวเอเชีย” กรุยทางปักธงซอฟต์แวร์ไทยรองรับ AEC 2015

September 28th, 2011 No comments

หรือ ัดงานแถลงข่าว “ ทัพ ไทยบุกตลาดท่องเที่ยวเอเชีย ” พร้อมแผนการตลาดที่จะนำบริษัทซอฟต์แวร์ไทยที่พัฒนาบนเทคโนโลยี Cloud Service กว่า 10 รายทำตลาดในเมืองท่องเที่ยวสำคัญในเมืองไทย 9 แห่ง และเมืองท่องเที่ยวสำคัญในเอเชีย 5 แห่ง โดยได้รับเกียรติจาก นายณัฐพงศ์ ศีตวรรัตน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานในการเปิดงานแถลงข่าว

นายปริญญา กระจ่างมล รองผู้อำนวยการซิป้า กล่าวว่า “ จากการที่ซิป้าได้จัดกิจกรรม SoftEx@SIPA ขึ้นมาเมื่อปลายปี 2553 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2554 ผ่านมา ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่กลุ่มผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ได้มาพบกับกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่างทั้ง 6 คลัสเตอร์ คือ Logistics, Health care, Food & Agriculture, Tourism, Education และ Jewelry ผลที่ได้จากงาน SoftEx@SIPA คือการที่ผู้ประกอบการได้รวมตัวกับและพัฒนาร่วมกันในลักษณะ Total Solution โดยเฉพาะในกลุ่ม Tourism เป็น Cluster แรกที่มีความพร้อมในการทำการตลาด

ในเบื้องต้นผู้ประกอบการฯบางรายที่มีความพร้อมได้เจรจาและนำระบบมาเชื่อมโยงเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้มากขึ้น ซึ่งซิป้าจะสนับสนุนให้การขยายการเชื่อมโยงไปยังระบบของผู้ประกอบการฯรายอื่นๆต่อไป ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้โซลูชั่นที่พัฒนาขึ้นสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำรูปแบบธุรกิจในลักษณะการจำหน่ายซอฟต์แวร์เชิงบริการ (Software as a Service : SaaS) มาใช้แทนการจำหน่ายซอฟต์แวร์ทั้งระบบเนื่องจากผู้ซื้อต้องใช้เงินทุนจำนวนมากในการจัดหาในขณะที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กเช่นเดียวกัน ซึ่งรูปแบบธุรกิจในลักษณะการจำหน่ายซอฟต์แวร์เชิงบริการนั้นผู้ใช้สามารถชำระค่าบริการตามปริมาณการใช้งานหรือเป็นรายเดือน และไม่ต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์รวมทั้งไม่ต้องมีหน่วยงานด้าน IT คอยดูแลระบบ

“ซิป้ายังมีแผนที่จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการพัฒนาโซลูชั่นด้านท่องเที่ยวและให้บริการใช้งานผ่านระบบ Cloud Computing ซึ่งสามารถเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์พัฒนาระบบขนาดเล็กๆ แต่สามารถนำมาเชื่อมโยงให้เป็นโซลูชั่นขนาดใหญ่ได้และจำหน่ายเป็นซอฟต์แวร์เชิงบริการ ที่มีรูปแบบการบริหารจัดการและแบ่งปันผลประโยขน์ที่ชัดเจน แนวทางดังกล่าวจะผู้ให้บริการจะสามารถขยายตลาดและฐานลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็วเนื่องจากเป็นการให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ต ” รองผู้อำนวยการซิป้ากล่าวสรุป

การบุกเมืองท่องเที่ยวในแผนการสนับสนุนผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ด้านการตลาดครั้งนี้มีเป้าหมายที่ 9 เมืองในประเทศไทย คือ พัทยา กาญจนบุรี ภูเก็ต สมุย หัวหิน เขาใหญ่ เชียงใหม่ เชียงราย และกรุงเทพมหานคร และ 5 เมืองที่เป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวในเอเชียคือ โตเกียว มะนิลา โฮจิมินท์ซิตี้ บาหลี และกัวลาลัมเปอร์ โดยแต่ละแห่งที่จะเข้าไปเจาะตลาดนั้นจะใช้กลยุทธ์ในการรวมกลุ่มกันเข้าไปเป็น Cluster ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ประกอบการที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีความโดดเด่นในด้านต่างๆกันรวม 10 บริษัท คือ
• บริษัท Comanche (Thailand) จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์บริหารในโรงแรม

บริษัท Signature จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์บริหารสปา
• บริษัท เอด้าซอฟต์ จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์บริหารภัตตาคาร
• บริษัท Arunsawat จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์บริหารจัดการ/จำหน่าย สินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือ
• บริษัท Touch Technology จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์บริหาร hotspot Wifi
• บริษัท IT-Work จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์ Web marketing
• บริษัท TNT จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์ e-Brochure
• บริษัท Vertasoft จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์บริหารจัดการเอกสาร
• บริษัท AI Soft จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์จองตั๋วโดยสารเครื่องบิน
• บริษัท Galileo จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์จองห้องพักโรงแรม

ทั้งนี้เป็นความร่วมมือดำเนินการระหว่างสมาคมส่งออกซอฟต์แวร์ไทย (TSEP), สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI), สมาคมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI), สมาคมโรงแรมไทย (THA), และสมาคมสปาไทย โดยสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นผู้สนับสนุน

View :2350