Archive

Posts Tagged ‘SIPA’

ผู้อำนวยการ SIPA เผย 3 เดือนผลงานคืบหน้า เตรียมเดินหน้าเต็มที่โครงการปี 2556

November 7th, 2012 No comments

ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ ()


นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติหรือ SIPA แถลงการทำงาน 3 เดือนแรกผลงานคืบหน้า นำพาองค์กรส่งมอบเคพีไอ 4.34 ให้ ก.พ.ร. พร้อมจัดทัพบุคลากรและแผนงานปี 2556 ลงตัวพร้อมเดินหน้าส่งเสริมอุตสาหกรรมเต็มที่

นายไตรรัตน์ เปิดเผยว่า จากการเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมวอฟต์แวร์แห่งชาติ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา ขณะนี้ได้ครบกำหนด 3 เดือนแรกของการทำหน้าที่แล้ว ซึ่งเมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่งได้ระบุแผนการดำเนินงานในช่วง 3 เดือนแรกของการทำงานว่าจะเป็นการเร่งรัดงานตามวัตถุประสงค์เดิมของปีงบประมาณ 2555 ให้ลุล่วงตามตัวชี้วัด ซึ่งถือเป็นงานหลักในช่วงระยะ 3 เดือนแรก โดยในช่วงดังกล่าวนี้สิ่งที่จะดำเนินการควบคู่ไปคือปรับการบริหารงานภายในทั้งหมดเพื่อให้เข้ากับยุทธศาสตร์ของ SIPA และเสริมการสร้างอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้พร้อมรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้มากขึ้นตามแผนงานระยะยาวที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นที่น่าพอใจว่าการดำเนินการดังกล่าวสามารถดำเนินการได้สำเร็จลุล่วง โดยขณะนี้ SIPA ได้รับผลการประเมินการปฏิบัติงานในปี 2555 จาก ก.พ.ร. อย่างไม่เป็นทางการในคะแนนที่ 4.34 แล้ว นอกจากนี้การดำเนินการในส่วนของการปรับปรุงการบริหารงานภายในก็สามารถดำเนินการได้เรียบร้อยเกือบครบทุกส่วน และที่สำคัญสามารถดำเนินการปรับการจ้างงานเจ้าหน้าที่ในองค์กรเป็นระบบสัญญาจ้างได้ลุล่วงหลังจากเรื่องนี้เป็นที่ค้างคามาเป็นเวลานาน และเป็นภารกิจหลักเรื่องแรกๆที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริหารให้ดำเนินการให้ลุล่วง ซึ่งประเด็นนี้ตนเองได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากเจ้าหน้าที่ของ SIPA ทุกคน
สำหรับภารกิจในลำดับต่อจากนี้ไป จะต้องเข้าสู่การขับเคลื่อนงานของปีงบประมาณ 2556 ให้เดินหน้าอย่างรวดเร็ว เพราะขณะนี้ในภาครัฐถือว่าเริ่มต้นการทำงานในปีงบประมาณใหม่แล้ว และขณะนี้โครงการหลักของ SIPA ก็ได้รับการอนุมัติแผนงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลายโครงการขณะนี้ได้เริ่มเดินหน้าแผนกิจกรรมในรายละเอียดแล้ว ส่วนบางโครงการกำลังอยู่ระหว่างปรับรายละเอียดเพิ่มเติม แต่มั่นใจว่าทั้งหมดจะสามารถดำเนินการได้ก่อนสิ้นปี 2555 นี้ จากเดิมได้กำหนดไว้ว่าในช่วง6 เดือนจะเน้นไปที่เรื่องของการสร้างตลาดภายในประเทศ พร้อมทั้งเร่งดำเนินมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเงินทุน, องค์ความรู้, การวิจัย, การตลาด โดย SIPA จะเน้นการทำงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง, หน่วยงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง, หน่วยงานในสังกัดกระทรวงไอซีที ซึ่งขณะนี้งานทั้งหมดมีความคืบหน้าไปมากในหลายส่วน และได้เข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการต่างๆของกระทรวงไอซีที ตามความเหมาะสมในแต่ละเรื่องที่จะต้องทำ รวมไปถึงการเร่งสร้างมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ตามนโยบายของกระทรวงไอซีที โดยในด้านเงินทุนนั้น ธุรกิจซอฟต์แวร์จะแตกต่างจากภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีการลงทุนเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่ จึงได้มีการสร้างความเข้าใจให้กับหน่วยงานที่สนับสนุนด้านการลงทุน เช่นสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และสถาบันการเงินต่างๆ เกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจซอฟต์แวร์ โดยชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการได้รับสินเชื่อ ซึ่งปัจจุบัน มีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนรวมกว่า 900 โครงการ และได้รับการอนุมัติเกือบทั้งหมด รวมเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านบาท ขณะเดียวกัน ก็ได้มีความร่วมมือกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ Bank ในการปล่อยเงินกู้เพื่อสร้างประสิทธิภาพให้กับผู้ใช้ซอฟต์แวร์ด้วย

ขณะเดียวกันยังได้มีการหารือกับตลาดหลักทรัพย์เพื่อผลักดันให้ธุรกิจซอฟต์แวร์เข้าไปลงทุนในตลาดหลัก ทรัพย์ทั้ง SET และ MAI มากขึ้น ซึ่งการที่จะเข้าไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ให้ประสบความสำเร็จนั้น ผู้ประกอบการด้านซอฟต์แวร์จะต้องสามารถแสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของรายได้อย่างเป็นรูปธรรม มีสัญญาซื้อขายระยะยาว มีบริการหลังการขายที่ดี รวมถึงมีการบริหารจัดการทรัพยากรทั้งด้านบุคคล และเครื่องมือเครื่องใช้ในสำนัก งานอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้บริษัทที่ต้องการเข้าไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์จำเป็นปรับตัวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไปด้วย โดยในปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์หลายรายที่ประสบความสำเร็จ

นายไตรรัตน์ กล่าวว่า การสร้างมูลค่าให้แก่ทรัพย์สินทางปัญญา ก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องเดินหน้าต่อ เพราะผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไม่นิยมจดทะเบียนสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้นการส่งเสริมให้มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรทางปัญญา จึงไม่ได้หวังผลเพียงป้องกันการลอกเลียนแบบเท่านั้น แต่เพื่อการต่อยอดทางธุรกิจด้วย โดยเมื่อจดทะเบียนสิทธิบัตร หรือจดลิขสิทธิ์แล้ว จะทำให้ทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆสามารถนำไปประเมินมูลค่าได้ ก็จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปเจรจากับแหล่งเงินทุนต่างๆได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ การสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านไอที หรือ IT Professional ก็เป็นอีกเรื่องที่พยามผลักดัน เพื่อรองรับ AEC 2558 ด้วย โดยSIPA จะสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ภายใต้ SIPA Academy ซึ่งจะเน้นสร้างบุคลากรที่จะเข้าไปทำงานในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์โดยตรง โดยจะสอนความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม กระบวนการดำเนินธุรกิจ หรือการบริการด้านไอที เป็นต้น ซึ่งผู้ที่เรียนจบหลักสูตรของ SIPA จะพร้อมเข้าทำงานในอุตสาหกรรมนี้ได้

อย่างไรก็ดี ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC นอกจากจะส่งผลให้เกิดเสรีทางการค้า บริการ การลงทุน และการเคลื่อนย้ายเงินทุนแล้ว ยังรวมถึงแรงงานฝีมือ โดยด้านแรงงานฝีมือนี้ ได้ครอบคลุมสาขาวิศวกรรมด้วย ซึ่งบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ของไทย แม้จะมีฝีมือดีแต่ยังเป็นรองด้านภาษาเมื่อเทียบกับชาติอื่นๆในอาเซียน อย่างไรก็ตามคนไทยสามารถปรับตัวได้ดี จึงมีโอกาสที่คนไทยจะได้ทำงานร่วมกับบริษัทซอฟต์แวร์ชั้นนำมากขึ้น รวมถึงเป็นโอกาสให้แรงงานไทยออกสู่ตลาดโลกด้วย

“การเปิดเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนี้ หากมองในมุมของการลงทุน ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่เหมาะสมต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีบุคลากรที่มีคุณภาพ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการทำงานอย่างครบครัน ทำให้เรามีโอกาสเป็นศูนย์กลางด้านการผลิตซอฟต์แวร์ของอาเซียนได้โดยเราจะต้องเริ่มจากการสร้าง Network ของกลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในอาเซียน แล้วแบ่งแยกกันทำงานโดยดูจากความถนัดของแต่ละประเทศ ประเทศใดถนัดเรื่องไหนก็ให้ทำในเรื่องนั้นๆเพื่อจะได้ไม่เกิดความซ้ำซ้อน และแย่งตลาดกันเอง ซึ่งจะทำให้ซอฟต์แวร์ของอาเซียนเราสามารถแข่งกับซอฟต์แวร์อื่นๆในตลาดโลกได้” นายไตรรัตน์ กล่าว

นอกจากนี้ SIPA ยังมีโครงการสร้างบุคลากรทางด้านไอทีเฉพาะด้าน โดยภายในปี 2020 จะต้องสามารถสร้างผู้เชี่ยวชาญไอทีเฉพาะด้าน Healthcare ให้ได้ 40,000 คน ซึ่งจะสามารถรองรับตลาด Healthcare ได้ทั่วภูมิภาคอาเซียนด้วย โดยในขณะนี้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร(ICT) ของไทยได้รับมอบหมายจากอาเซียนให้จัดทำมาตรฐานวิชาชีพด้าน ICT ทำให้ประเทศไทยเรามีโอกาสที่จะประกาศตัวได้ว่าเป็นศูนย์พัฒนาวิชาชีพด้าน ICT ของอาเซียน ซึ่งโครงการนี้ SIPA ได้รับมอบหมายจากกระทรวงICT มาแล้ว

View :1410

บูธ SiPA โชว์เทคโนโลยีดิจิตอลยุคใหม่ ฝีมือคนไทย สะท้อนแนวคิด “ซอฟต์แวร์ไทย หัวใจเศรษฐกิจ”

January 13th, 2012 No comments

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมายกรอบนโยบาย ICT 2020 ไว้ว่า “ICT เป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญในการนำพาคนไทย สู่ความรู้และปัญญา เศรษฐกิจไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน สังคมไทยสู่ความเสมอภาค” โดยมีเป้าหมายหลักในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT ความเร็วสูงที่ประชาชนสามารถเข้าถึงโดยเท่าเทียมกัน สร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพให้เพียงพอต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่เศรษฐกิจฐานบริการและฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญได้กำหนดให้มีการเพิ่มบทบาทและความสำคัญของอุตสาหกรรม ICTต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้มีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุสาหกรรม ICT (รวมอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์) ต่อ GDP ไม่น้อยกว่าร้อยละ 18

ในการกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นหน่วยงานหลักในการวางแผนและกำหนดนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศให้สอดคล้องกับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ สนับสนุนการค้นคว้าวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี จัดให้มีกฎ ระเบียบ มาตรการที่จำเป็นต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ส่งเสริมให้เกิดการคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับซอฟต์แวร์ รวมทั้งเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานและแก้ปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการทางด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้มีบริการแบบเบ็ดเสร็จ

โดย นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวเปิดบูธโชว์ศักยภาพทางด้านซอฟต์แวร์ในงาน 2011 ว่า “การจะดำเนินกิจการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสำนักงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างรายได้และสร้างความเจริญให้กับประเทศ ผู้ประกอบการ/ผู้ขายสามารถดำเนินกิจการอยู่ได้ ผู้ซื้อมีความพึงพอใจและเชื่อมั่นในสินค้าและบริการที่เป็นซอฟต์แวร์ไทย เพื่อให้แผนยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของสำนักงานฯ สามารถสนองตอบต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม”

นอกจากนี้ ยังมี ดร. ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวย้ำถึงนโยบายหลัก ๆ ว่า “ จะนำพาประเทศไทยสู่เวทีซอฟต์แวร์โลก

(Stage Thailand as a Global Player in Industry)” สำนักงานฯจึงได้เข้าร่วมจัดงานแสดงผลงานด้านซอฟต์แวร์ของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ในงาน ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย บรรลุถึงเป้าหมายที่สำคัญในหลายประการ เพื่อสร้างการยอมรับถึงศักยภาพและความสามารถของผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ไทย ให้เกิดกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และกับประชาชนชาวไทยที่เข้าชมงานจำนวนหลายล้านคนได้ในเวลาเดียวกัน เพื่อสร้างโอกาสให้ภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ได้พบปะและเจรจาทางธุรกิจกับผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ที่ร่วมจัดงานในครั้งนี้ ตามช่วงเวลาที่กำหนดนัดหมาย และเพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ต่อความสำเร็จของการสร้างผลิตภัณฑ์ ซอฟต์แวร์ไทยกรณีต่างๆ โดยการจัดการประชุมสัมมนา ให้กับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และผู้สนใจทั่วไป ตลอดการจัดงาน” และได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “ซิป้า หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเข้าร่วมงาน ในครั้งนี้จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆที่เป็นศักยภาพของประเทศ”

โดยการแสดงในบูธนั้นได้สะท้อนแนวความคิดในการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับการใช้งาน รวมทั้งยังยกย่องนักพัฒนาซอฟต์แวร์ของไทยที่มีความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถ ที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติจาก SIPA อีกด้วย นอกจากนี้ยังแสดงศักยภาพผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งเทคโนโลยีทัชสกรีน อินเตอร์แรกทีฟ มัลติทัช และฮาโรแกรมเป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนา โดยฝีมือคนไทย ที่ถูกนำมาใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาตามจุดแสดงต่างๆ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ กว่า 50 ราย รายได้เข้าร่วมแสดง นิทรรศการภายในบริเวณงานด้วย โดยแบ่งออกเป็น 4 โซน คือ โซนเพลินใจ โซนตั้งใจ โซนภูมิใจ และโซนได้ใจ

ภายในงานยังได้จัดให้มีการเสวนาทางธุรกิจให้ความรู้จากบุคคลากรผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงในวงการไอที ทั้งในและต่างประเทศ มาแนะแนวทางและให้ความรู้กับผู้ประกอบการ รวมทั้งยังมีการจัดเจรจาทางธุรกิจ เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ และต่อยอดผลงาน การผลิตซอฟต์แวร์ ที่จะนำไปใช้กับอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ โดยการลดต้นทุนการนำเข้าซอฟต์แวร์ จากต่างประเทศ และขยายธุรกิจต่อไปในอนาคต ด้วยความร่วมมือของคนไทยด้วยกันเอง

นับเป็นครั้งแรกที่ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA ได้เข้าร่วมเปิดบูธโชว์ศักยภาพทางด้านซอฟต์แวร์ในงาน BOI FAIR 2011 ระหว่างวันที่ 5-13 มกราคม 2555 ภายในอาคารชาแลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

View :2353

SIPA นำทัพผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ ประกาศศักยภาพ ชูแนวคิด “ซอฟต์แวร์ไทย หัวใจเศรษฐกิจ” ในงาน BOI Fair

December 26th, 2011 No comments

นับเป็นครั้งแรกที่ หรือ ได้เข้าร่วมเปิดบูธโชว์ศักยภาพทางด้านซอฟต์แวร์ในงาน ระหว่างวันที่ 5-13 มกราคม 2555 ภายในอาคารชาแลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งเป็นงานแสดงเทคโนโลยี ทางด้านอุตสาหกรรม ที่เป็นปัจจัยสำคัญของการเดินหน้าเศรษฐกิจในประเทศไทย โดย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อรองรับธุรกิจในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุนการผลิต การกระจายสินค้า ระบบคลังสินค้า ที่ซอฟต์แวร์เข้าไปมีบทบาท ทุก ๆ ภาคส่วนของธุรกิจ ทั้งในกลุ่มอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว การเกษตร การขนส่งสินค้า การศึกษา สุขภาพ อัญมณี และดิจิทัลคอนเทนต์ ที่ซอฟต์แวร์เข้ามามีส่วนช่วยให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศ ได้อย่างทัดเที ยม

เพื่อเป็นการลดต้นทุนมหาศาลในการนำเข้าซอฟต์แวร์ที่วิจัย และพัฒนามาจากต่างประเทศ SIPA จึงได้ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในเรื่องของการพัฒนาซอฟต์แวร์มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของอุตสาหกรรมในประเทศ และกระตุ้นให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ เติบโตขึ้นอย่างเข้มแข็ง ด้วยไอที

ดร.นิรชราภา ทองธรรมชาติ รองผู้อำนวยการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการซิป้า ชี้แจงว่า “การพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้พลังงานที่ทำลายสิ่งแวดล้อมให้น้อยลง เราจึงเล็งเห็นว่าน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างความรู้ในเรื่องของ Green IT ไปด้วย เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้มีแนวความคิดในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงานของประเทศในภาพรวมได้เช่นกัน โดยทางซิป้าเองได้มีการสนับสนุนการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ทางด้านไอทีที่มีการใช้ พลังงานน้อยที่สุดอีกด้วย ”


ดร.นิรชราภา ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ ในงานจะมีการแสดงผลงานซอฟต์แวร์ สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจเกษตร การขนส่งสินค้า การศึกษา สุขภาพ อัญมณี และดิจิทัลคอนเทนต์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศไทย การพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อเข้ามาช่วยรองรับระบบการจัดการ และการผลิตสินค้าถือเป็นการเพิ่มเม็ดเงินเข้ามาให้กับประเทศไทยได้อย่างมาก” ซึ่งจะสามารถดึงเม็ดเงินจากนักลงทุนต่างชาติมาร่วมทุนได้มหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการท่องเที่ยวมีตัวเลข GDP ถึง 8-9 แสนล้านบาท โดยภายในงานจะมีการโชว์เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ด้านการท่องเที่ยว แนวคิดในการสร้างเศรษฐกิจผ่านช่องทางนี้ด้วย และอีกหนึ่งยุทธ์ศาสตร์ใหม่ของหน่วยงาน คือ “ความร่วมมือของทุก ๆ องค์กร หน่วยงานพันธมิตร การสร้างโมเดล เพื่อนำโมเดลต่าง ๆ ไปต่อยอดทางธุรกิจ เพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศ

ส่วนคุณปริญญา กระจ่างมล รองผู้อำนวยการ ซิป้า กล่าวว่า “ผมคาดหวังจากงานนี้ว่า ในตัวอุตสาหกรรมเอง ได้มีการโชว์ศักยภาพด้านการผลิต ประสิทธิภาพ ที่ดีของตัวเองออกมาอยู่แล้ว ที่ทุกคนสามารถสัมผัสได้ด้วยตา และในส่วนของผู้ประกอบการธุรกิจด้านต่าง ๆ ท่านจะได้รับทราบว่า ‘ซอฟต์แวร์’ สามารถช่วยธุรกิจของท่านได้มากมายขนาดไหนในการลดต้นทุน ทุนแรง และสร้างรายได้ ผมก็อยากเชิญชวนให้ผู้ประกอบการมาดูกันว่าซอฟต์แวร์จะมาช่วยซัพพอร์ตธุรกิจได้ขนาดไหน และอยากให้ User มาดูความสามารถของคนไทยด้วยกันว่าเวิล์ดวายด์ ไปได้ทั่วโลกแล้ว ด้วยราคาที่สมเหตุผล สมผล” และยังตบท้ายอีกด้วยว่า “อินเตอร์เน็ตไปถึงที่ไหน ?? ทั่วโลกมีใช้ ซอฟต์แวร์ไทย ก็สามารถไปได้ถึงทั่วโลกด้วยเช่นกัน”

มาถึงตัวแทนผู้ประกอบการ พัฒนาด้านซอฟต์แวร์ทั้ง 2 ท่าน คุณทักษะ บุนนาค Executive Director บริษัท AISOFT ตัวแทนจาก Cluster Tourism และคุณอภิรักษ์ เชียงเจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท Double M Technology Management จำกัด กล่าวร่วมกันว่า “ขอพูดในนามสมาคมซอฟต์แวร์ว่า เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีมันไปตกอยู่ที่ต่างประเทศหมด งานนี้เรามีเทคโนโลยีที่เทียบเท่าเวิล์ดคลาสโดยฝีมือคนไทยมาแสดงโชว์ภายในบูธ ส่วนในภาคการท่องเที่ยวซอฟต์แวร์จะเข้ามามีรองรับในการลดขั้นตอนที่ซับซ้อนต่างๆ ในด้านการท่องเที่ยว ทั้งการเช็คราคาสายการบิน การจองจากในและนอกประเทศ ระบบการต้อนรับ ควบคุมระบบทราเวลเซอร์วิส ร้านอาหาร สปา และโซเชียล มีเดียที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ Green IT และ Electonic Ticket จะเข้ามาลดการใช้กระดาษจำนวนมหาศาลลง ” และในเรื่องของธุรกิจด้านอื่น ๆ “เรื่องของดีเทลสินค้า คอนซูมเมอร์ซัพพลายจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์เข้ามาซัพพอร์ตเฉาพะเรื่องมากมาย เช่นธุรกิจอาหาร ต้องมีดีเทลหลายเรื่องทั้ง สต็อก ขนส่ง จำหน่าย และผมมองว่างานนี้เหล่าจะได้เห็นเทคโนโลยีเหล่านี้มาอยู่รวมกัน และผู้ประกอบการธุรกิจต่าง ๆ ก็จะได้มาพบกับซอฟต์แวร์ที่จะเข้ามาช่วยในธุรกิจของคุณ”

โดยการแสดงในบูธนั้นได้สะท้อนแนวความคิดในการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับการใช้งาน รวมทั้งยังยกย่องนักพัฒนาซอฟต์แวร์ของไทยที่มีความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถ ที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติจาก SIPA อีกด้วย นอกจากนี้ยังแสดงศักยภาพผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งเทคโนโลยีทัชสกรีน อินเตอร์แรกทีฟ มัลติทัช และฮาโรแกรมเป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนา โดยฝีมือคนไทย ที่ถูกนำมาใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาตามจุดแสดงต่างๆ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ กว่า 50 ราย รายได้เข้าร่วมแสดง นิทรรศการภายในบริเวณงานด้วย โดยแบ่งออกเป็น 4 โซน คือ โซนเพลินใจ โซนตั้งใจ โซนภูมิใจ และโซนได้ใจ

ภายในงานยังได้จัดให้มีการเสวนาทางธุรกิจให้ความรู้จากบุคคลากรผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงในวงการไอที ทั้งในและต่างประเทศอย่าง Mr.Mitsuru Aoyama ที่ถือว่าเป็น สตีฟ จ๊อบในวงการ Cloud ในญี่ปุ่น และ Mr. Takeshi Kimura ผู้เชี่ยวชาญอีกท่าน ที่มาแนะแนวทางและให้ความรู้กับผู้ประกอบการ รวมทั้งยังมีการจัดเจรจาทางธุรกิจ เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ และต่อยอดผลงาน การผลิตซอฟต์แวร์ ที่จะนำไปใช้กับอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ โดยการลดต้นทุนการนำเข้าซอฟต์แวร์ จากต่างประเทศ และขยายธุรกิจต่อไปในอนาคต ด้วยความร่วมมือของคนไทยด้วยกันเอง

View :2005
Categories: Software, Technology Tags: ,

ก.ไอซีที จับมือ 3 หน่วยงานร่วมพัฒนาศักยภาพการแข่งขันซอฟต์แวร์ไทย

December 3rd, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ “การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันซอฟต์แวร์ไทยสำหรับองค์กรขนาดเล็กสู่มาตรฐานระดับโลก ISO/IEC 29110” ว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ร่วมกับ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หรือ ซิป้า และมูลนิธิสถาบันเพื่อพัฒนานวัตกรรม (ไอเอฟ) จัดทำบันทึกความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันซอฟต์แวร์ไทย สำหรับองค์กรขนาดเล็กสู่มาตรฐานระดับโลก ISO/IEC 29110 ขึ้น เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันและก้าวสู่ระดับสากล

“การลงนามฯ ในครั้งนี้ ถือเป็นภารกิจสำคัญของกระทรวงฯ ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้เจริญเติบโตอย่างมีศักยภาพ ตลอดจนสามารถยกระดับอุตสาหกรรมให้ทัดเทียมกับระดับสากลได้ ซึ่งมาตรฐาน ISO/IEC 29110 นี้ใช้ในการรับรองกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่มีความเหมาะสมกับทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดเล็ก (Very Small Entities – VSE) จำนวนไม่เกิน 25 คน จึงเป็นมาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับบริษัทซอฟต์แวร์ไทย เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีพนักงานโดยเฉลี่ยบริษัทละประมาณ 20 คน ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวมีความพร้อมใช้แล้ว และประเทศไทยก็มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งสร้างความได้เปรียบแก่องค์กรขนาดเล็กให้แข่งขันได้ในระดับสากล โดยแบ่งโครงสร้างการสนับสนุนออกเป็น 2 ส่วน คือ ภาครัฐ และ ภาคเอกชน ซึ่งภาครัฐจะขับเคลื่อนในด้านการกำหนดเป็นเงื่อนไขในการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้ได้มาซึ่งซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 29110 ส่วนภาคเอกชนจะปรับตัวและกระบวนการตามความต้องการของภาครัฐในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างซอฟต์แวร์ และก่อให้เกิดกระบวนการในการ Outsourcing ต่อไป การเกื้อหนุนซึ่งกันและกันระหว่างภาครัฐและเอกชนย่อมก่อให้เกิดการพัฒนาในกระบวนการของภาคเอกชน ให้พัฒนาตามกรอบมาตรฐานที่ภาครัฐกำหนด และนำไปสู่การยกระดับอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต

สำหรับภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามกรอบความร่วมมือนี้ ก็คือ การให้การ สนับสนุนการสร้างและพัฒนามาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ISO/IEC 29110 เพื่อให้เป็นเกณฑ์เบื้องต้นหนึ่งในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ และเผยแพร่ความสำคัญของมาตรฐานแก่ผู้ประกอบการและประชาชน การประชาสัมพันธ์ จัดหา และสนับสนุนผู้ประกอบการเพื่อเข้ากระบวนการประเมินและการรับรอง (Certification) การสนับสนุนในการจัดสัมมนาด้านมาตรฐาน (ISO/IEC 29110 International Forum) เพื่อสร้างเครือข่ายและความเข้าใจอันดีร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการ ภาครัฐ นักวิชาการและสถาบันการศึกษาต่างๆ การสนับสนุนบริการทางด้านข้อมูลการส่งเสริมการประยุกต์ใช้ (ISO/IEC 29110 Supporting Data Center) ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมการประยุกต์ใช้มาตรฐานแก่ผู้ประกอบการและเป็นแหล่งที่รวบรวมบันทึกฐานข้อมูลของผู้ประกอบการและบุคลากรที่เกี่ยวข้องหรือผ่านกระบวนการประเมินและฝึกอบรม ISO/IEC 29110 ตลอดจนสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการตรวจประเมินและรับรองมาตรฐาน การฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในมาตรฐาน ISO/IEC 29110 สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างและตรวจรับโครงการด้านการจัดหาและพัฒนาซอฟต์แวร์ของภาครัฐ

ขณะที่ นางสาวนิรชราภา ทองธรรมชาติ รักษาการผู้อำนวยการซิป้า กล่าวว่า การพัฒนามาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์จะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์โดยรวมของประเทศ กล่าวคือ ผู้ประกอบการขนาดเล็กก็จะมีช่องทางสร้างการเติบโตและสร้างโอกาสในการแข่งขัน ขณะเดียวกันภาคการศึกษาก็จะมีแนวทางการผลิตบุคลากรที่มีประสิทธิภาพตรงกับความต้องการของตลาด และสามารถแข่งขันต่อยอดในระดับสากล ประเทศไทยก็จะกลายเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่และสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านคุณภาพมาตรฐาน เพื่อที่จะเป็นใบเบิกทางในการแข่งขันในระดับสากล โดยเฉพาะมาตรฐานใหม่หรือ ISO/IEC 29110 Very Small Entity Model ดังนั้น ซิป้า จึงได้ร่วมมือกับภาคเอกชนพัฒนาและผลักดันให้มีการนำไปใช้ ซึ่งจะเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีโอกาสเป็นผู้นำในการพัฒนามาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์ในระดับสากลของ ISO และไทยจะเป็นประเทศแรกที่มีผู้ประกอบการผ่านการรับรองมาตรฐานระดับสากล ISO/IEC 29110 อันจะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นในการเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย

ด้าน นายชัยยง กฤตผลชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวว่า ในการพัฒนาศักยภาพซอฟต์แวร์ภายในประเทศ จำเป็นต้องบูรณาการความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน โดยเริ่มตั้งแต่การให้ความรู้เรื่องมาตรฐาน ISO/IEC 29110 การสนับสนุนส่งเสริม และประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่เกี่ยวข้องให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม ทั้งผู้ประกอบการ ภาครัฐ นักวิชาการ สถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อสร้างแนวร่วมในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมให้แข่งขันได้ในตลาดโลก

โดยที่ผ่านมา สมอ. ได้ให้การสนับสนุนในการส่งผู้แทนจากประเทศไทยให้ไปมีบทบาทเป็นผู้นำและผลักดันการร่างมาตรฐาน ISO/IEC 29110 มาตั้งแต่ต้น และพร้อมประสานความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมให้มีหน่วยงานตรวจสอบและรับรองมาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์ภายในประเทศ ให้มีขีดความสามารถในการตรวจประเมินและรับรองซึ่งเป็นที่ยอมรับ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพซอฟต์แวร์ของไทย

นายอนุกูล แต้มประเสริฐ ประธานมูลนิธิสถาบันเพื่อพัฒนานวัตกรรม หรือ ไอเอฟ (The Innovation Foundation) กล่าวว่า “กว่า 10 ปีที่ผ่านมา ภาครัฐและภาคเอกชนของไทยได้ร่วมกันพัฒนาศักยภาพจนสามารถเป็นผู้ยกร่างมาตรฐานสากล และมีบทบาทสำคัญในเวทีมาตรฐานสากลทางด้านซอฟต์แวร์และระบบ เนื่องจากเป็นผู้ริเริ่มและผู้นำทางด้านมาตรฐานการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรขนาดเล็ก ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวได้รับการยอมรับว่าเหมาะสมและควรจะเป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในกว่า 20 ประเทศทั่วโลก โดยมาตรฐานสากลนี้ได้เอื้อประโยชน์ให้ประเทศไทยทั้งในด้านการลดภาวะขาดดุลทางการค้าในการนำเข้าระบบการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่อาจไม่เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย และยังเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายผู้ผลิตซอฟต์แวร์เพื่อการส่งออก อันเป็นความใฝ่ฝันของอุตสาหกรรมไทยในหลายสิบปีที่ผ่านมา”

หลังจากการลงนามฯ ในครั้งนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงไอซีที จะมีการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการตรวจประเมินและรับรองมาตรฐาน ภายใต้การดำเนินงานของสำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อร่วมมือกับ ไอเอฟ และซิป้า ทำหน้าที่ในการฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในมาตรฐาน ISO/IEC 29110 รวมทั้งประเมินผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ โดยที่ผ่านมาได้มีบริษัทต่างๆ ผ่านการประเมินมาตรฐาน ISO/IEC 29110 จาก ไอเอฟ แล้วจำนวน 119 บริษัท จึงถือเป็นอีกมาตรการหนึ่งในการผลักดันสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมไทยในตลาดโลก

View :1355
Categories: Press/Release, Software Tags:

โครงการ SME สินเชื่อเพื่อกิจการซอฟต์แวร์ไทย

June 8th, 2011 No comments

ปัญหาใหญ่ที่ทำให้ผู้ประกอบการและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ไม่สามารถปรับปรุงหรือต่อยอดผลิตภัณฑ์และบริการได้เรื่องหนึ่ง คือการขาดแหล่งเงินทุน เช่นเดียวกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่อยากจัดซื้อซอฟต์แวร์ งานดิจิทัลคอนเทนท์ หรือระบบไอทีไปใช้เสริมธุรกิจ แต่ก็ประสบปัญหาด้านเงินทุนหมุนเวียน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถาบันการเงินไม่เข้าใจในธุรกิจซอฟต์แวร์ และการจัดซื้อซอฟต์แวร์ไปใช้ไม่เหมือนกับการซื้อบ้านหรือซื้อรถไปใช้ จึงเป็นเรื่องยากที่จะผ่านการอนุมัติสินเชื่อ

หรือ และ Bank เข้าใจถึงปัญหานี้จึงมี โครงการ สินเชื่อเพื่อกิจการซอฟต์แวร์ไทย (รวมถึงธุรกิจดิจิทัลคอนเทนท์) เพื่อช่วยเหลือ ด้านแหล่งเงินทุนหมุนเวียนปลดล็อคข้อจำกัด ในการขอสินเชื่อเพียงแค่ผู้ขอกู้ผ่านหลักเกณฑ์ขั้นต้นที่กำหนดเท่านั้นก็มีสิทธิ์ได้รับการอนุมัติสินเชื่อ

ใครๆ ก็กู้ได้ ใช้ได้หลากหลายวัตถุประสงค์

สำหรับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์หรือดิจิทัลคอนเทนท์ ที่สนใจขอกู้เพื่อนำเงินไปใช้ในการพัฒนา ปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์หรือบริการของตน นำไปจ้างงานหรือใช้หมุนเวียนในกิจการก็สามารถขอกู้ได้เพียงจัดเตรียมแผนงานโครงการเข้ามาให้ SIPA พิจารณา หรือกรณีเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ดำเนินกิจการอื่นๆ ทั่วไปหากต้องการจัดซื้อซอฟต์แวร์ไปใช้เสริมประสิทธิภาพธุรกิจเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน หรือต้องการนำเงินไปจ้างผลิตงานด้านซอฟต์แวร์ ไอที ดิจิทัลคอนเทนท์ เช่น ออกแบบเว็บไซต์เพื่อการทำ e-commerce จ้างออกแบบ catalogue สินค้า ฯลฯ ก็สามารถกู้ได้ในโครงการนี้เพียงมี คุณสมบัติดังนี้
 
เป็นบุคคลธรรมดา อายุ 20-65 ปีเมื่อรวมระยะเวลากู้และมีเงินลงทุนในกิจการส่วนหนึ่ง หรือหากเป็นนิติบุคคล ต้องเป็นกิจการในประเทศไทย มีคนไทยถือหุ้นเกิน 50% และไม่มีสถานะตามที่กฎหมายระบุห้ามต่างๆ
 
ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ต้องยื่นเอกสารทางด้านเทคนิคและการตลาด นำเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาโครงการกลั่นกรองตามที่ SIPA และ SME Bank กำหนด
 
ผู้ซื้อซอฟต์แวร์หรือผู้ต้องการจัดจ้างบริการซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนท์ที่เป็นองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็ก สามารถเสนอโครงการขอกู้โดยผ่านการคัดเลือกจาก SME Bank ได้โดยตรง
 
ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่

http://www.sipa.or.th/index.php?option=com_news&task=detail&id=416&&Itemid=54

View :1507
Categories: Press/Release, Software Tags: , ,

การลงนามความร่วมมือระหว่าง SIPA กับต่างประเทศ (International MOU) วันที่ 17 มีนาคม

March 18th, 2011 No comments

จัดกิจกรรมพัฒนาตลาดต่างประเทศและเสริมสร้างผู้ประกอบการดิจิทัลคอนเทนท์และซอฟต์แวร์ไทยครัง สำคัญ 3 กิจกรรม ได้แก่ การลงนามความร่วมมือระหว่างไทยกับต่างประเทศ (International MOU) และ การบรรยายพิเศษด้านดิจิทัลคอนเทนท์ ()โดยความร่วมมือกับสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร นอกจากนี้ซิป้า () ยังร่วมกับ Multimedia Development Corporation (MDeC) ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐจากมาเลเซีย ในการจัดกิจกรรมการจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching)งาน Creative Collaboration 2011 ในครั้ง นี้ถือเป็นงานความร่วมมือทางธุรกิจครั้ง สำคัญที่แสดงศักยภาพของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์และซอฟต์แวร์ไทยในระดับนานาชาติ

สำหรับ การลงนามความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการของไทยกับผู้ประกอบการจากต่างประเทศ ในกลุ่มธุรกิจดิจิทัลคอนเทนท์และซอฟต์แวร์ ซึ่ง รวมถึง New Media, Game, Animation, Film และ IP Licensing ใน ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงศักยภาพของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์และ ซอฟต์แวร์ไทยให้เป็นทีรู้จักในวงกว้างผ่านเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยหลังจากทีซิป้า (SIPA) ได้ประกาศรับสมัครผู้ประกอบการผ่านการจัดประชุมระดมความคิดและการประชาสัมพันธ์ผ่านสมาคมวิชาชีพทีเกี่ยวข้องรวมถึงผ่านทางเว็บไซต์ww.thaidigitalcontent.com นั้นทำให้มีผู้ประกอบการทั้ง ไทยและต่างประเทศสนใจสมัครเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก และหลังจากการปิดรับสมัครเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554 สรุปมีผู้เข้าร่วมโครงการจากไทย 18 ราย และจากต่างประเทศ 22 รายจาก 12 ประเทศ ประกอบด้วยประเทศเยอรมนี สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินเดีย มาเลเซีย สิงคโปร์เวียดนาม สปป.ลาว และประเทศกัมพูชา ทำให้เกิดข้อตกลงความร่วมมือรวม 22 ฉบับ ซึ่งประมาณการว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าทางการค้าของฝั่งไทยถึงกว่าห้าร้อยล้านบาท โดยความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในครั้ง นี้ประกอบด้วย

ความร่วมมือด้านการศึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนส์ 5 ฉบับ

ความร่วมมือด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์เกม 6 ฉบับ

ความร่วมมือด้านการพัฒนาแอนิเมชั่นทีวีซีรีส์ 8 ฉบับ

ความร่วมมือด้านธุรกิจลิขสิทธิ์ดิจิทัลคอนเทนส์ 3 ฉบับ

นอกจากนี้ซิป้า ยังได้จัดให้มีบรรยายพิเศษโดยวิทยากรจากประเทศสิงคโปร์ภายใต้แนวคิด “Digital Ocean” ซึ่ง จะเน้นการให้ความรู้ทางการทำธุรกิจเชิงสร้างสรรค์และการปกป้องสิทธิทางปัญญา รวมถึงเทคนิคข้อพึงระวังในการบริหารสิทธิ์เชิงพาณิชย์และกรณีศึกษาทีน่าสนใจ จากผู้บรรยาย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมฟังบรรยายโดยเฉพาะผู้เข้าฟังจากกลุ่มธุรกิจ เป็นอย่างมาก ทั้งนี้มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมฟังบรรยายทั้ง จากในประเทศและต่างประเทศกว่า 100 คนใน

วันที่สองของการจัดงาน เป็นกิจกรรมการจับคู่เจรจาทางธุรกิจซึ่ง นอกจากจะมีผู้ประกอบการจากมาเลเซียที่ทาง MDeC คัดเลือกมาร่วมงานแล้ว ยังมีผู้ประกอบการทั้ง จากทีร่วมลงนาม MOU และผู้ประกอบการที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์และซอฟต์แวร์ในไทยเข้าร่วมด้วย

View :2106

  ทิศทางใหม่ SIPA ปี 2554 “ Beyond ICT New Landscape ” พร้อมลุยสร้างคน สร้างงาน สร้างเงิน

February 10th, 2011 No comments

หรือ ซิป้า เปิดแถลงข่าวโชว์ทิศทางใหม่ ปี 2554 และพร้อมเปิดตัว 4 โครงการใหญ่ เน้นการสร้างคน สร้างงาน และสร้างเงิน สร้างรากฐานซอฟต์แวร์ไทย พร้อมก้าวไกลสู่ระดับสากล

ดร. ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ ประธานกรรมการบริหาร กล่าวว่า ซิป้าได้กำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยว่า “ซิป้า จะนำพาประเทศไทย สู่เวทีซอฟต์แวร์โลก” (Stage Thailand as a Global Player in Industry) โดยมีแนวนโยบายเร่งด่วนคือ การสร้างคน สร้างงาน และสร้างเงินใน 3 เดือนแรกของ ยุคใหม่ กลยุทธ์ที่สำคัญคือการสร้างคนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ โดยเฉพาะการสร้างคนในภูมิภาค การรับฟังปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมกลุ่มต่างๆ และการส่งเสริมผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ให้มีเงินทุนในการพัฒนา ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เกิดการผลิตซอฟต์แวร์ที่ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่ Tourism, Health Care, Food, Education, Logistics และ Jewelry
         
          “ภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพบุคลากรเพื่อป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมและให้ทุนสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการให้สามารถเริ่มต้นธุรกิจจนขยายตัวเติบโตได้  นอกจากนี้ยังต้องส่งเสริมให้ภาครัฐใช้ซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นโดยคนไทย   ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการซอฟต์แวร์เองก็ต้องมีความพร้อมทั้งศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทักษะทางด้านการบริหารจัดการทางธุรกิจ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ความรู้ด้านการตลาดจึงจะทำให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโตได้”
 
ในส่วนของการดำเนินโครงการต่างๆ ในปีนี้ซิป้า ได้เริ่มดำเนินโครงการสำคัญเร่งด่วน 4 โครงการที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้เติบโตเพิ่มมากขึ้น โดยใน 4 โครงการนี้ ได้แก่ ๘๔ โครงการ ๘๔ พรรษา มหาราชันย์ โครงการพัฒนาบุคลากรด้านซอฟต์แวร์เพื่อป้อนสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยในทุกภูมิภาค โครงการ SoftEx@SIPA  และการส่งเสริมให้ภาครัฐใช้ซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นโดยคนไทย 
 
นายสันติ  สุรรัตน์ รักษาการผู้อำนวยการซิป้า กล่าวว่า “สำหรับ ๘๔ โครงการ ๘๔ พรรษา มหาราชันย์นี้ ซิป้าได้ริเริ่มขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา  ๗  รอบ  ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔  ซึ่งเป็นโครงการที่ให้ทุนสำหรับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ขนาดเล็ก และผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ขนาดกลางเพื่อนำไปพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่หรือนำไปต่อยอดซอฟต์แวร์ที่มีอยู่เดิม โดยใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ และประสบการณ์ทางเทคโนโลยีหรือการจัดการมาพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูงขึ้น มีนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้น ซึ่งในขณะนี้ซิป้ากำลังเร่งดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ และจะเริ่มประชาสัมพันธ์เปิดรับสมัครขอรับทุนในเร็วๆ นี้

 โครงการพัฒนาบุคลากรด้านซอฟต์แวร์เพื่อป้อนสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยในทุกภูมิภาค ซิป้าได้มีการติดต่อประสานงานไปยังภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งผลคาดว่าจะได้นิสิต นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการและสำเร็จพร้อมเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม 1,200 ราย ประเมินเป็นมูลค่างาน ประมาณ 18 ล้านบาท  อันเป็นผลสืบเนื่องจากผู้อบรมได้รับรายได้ในช่วงการทำงานเดือนแรก (เงินเดือนสูงกว่ามาตรฐาน) 10-20%

สำหรับจำนวนบุคลากรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ เบื้องต้นพบว่าภาคการศึกษาจะส่งบุคลากรเข้าร่วม จำนวน 1,350 คน ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในภูมิภาคมีสนใจร่วมโครงการโดยมีความต้องการ จ้างงานและ Outsource งานให้กับบุคลากรที่ผ่านการอบรมจากโครงการนี้จำนวน 405 ตำแหน่ง ซึ่งแสดงถึงผลการตอบรับอย่างดีในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้ยังรอข้อมูลความต้องการจากภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในกรุงเทพฯ ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งงานขนาดใหญ่ ตลอดจนภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ก็ยังมีความสนใจในการส่งบุคลากรเข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง

การจัดกิจกรรม SoftEx@SIPA เป็นการสร้างเครือข่ายในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อสำรวจความต้องการใช้ซอฟต์แวร์ของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่างๆ จำนวน 6 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ Tourism, Health Care, Food, Education, Logistics และ Jewelry ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศสูง  นอกจากนี้ยังสำรวจความต้องการการใช้งานเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์นำไปพัฒนาเพื่อตอบสนองให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ในแต่ละอุตสาหกรรมให้มากขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพบริการของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม สำหรับการดำเนินโครงการ SoftEx@SIPA นั้น ได้ดำเนินการไปแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 ทั้งสิ้น 5 Cluster ได้แก่ Logistics, Health Care, Food, Tourism และ Education ซึ่งได้รับความสนใจอย่างดีทั้งจากตัวแทนในภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการซอฟต์แวร์         โดยมีกำหนดการจัดงาน SoftEx  สำหรับอุตสาหกรรม Jewelry ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้

          นอกจากนี้ซิป้ายังมีโครงการสนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการทางด้านการตลาดต่างประเทศ  โครงการ ร่วมกับ Bank ในการปล่อยสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย และความช่วยเหลือทางเทคโนโลยีและสนับสนุนเครื่องมือเครื่องใช้ในการพัฒนาผลงานซอฟต์แวร์ผ่านทาง TDCC หรือ Thailand   Digital Content Center อีกด้วย

View :1649
Categories: Press/Release Tags:

ซิป้า จับมือ เนคเทค เอทีเอสไอ อบรมหลักสูตร CompTIA ผลิตคนไอทีมาตรฐานสากล

November 24th, 2010 No comments

หรือ ซิป้า ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเลิกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI) และThe Computing Technology Industry Association () จัดโครงการฝึกอบรมอาจารย์ในหลักสูตรสร้างความพร้อมสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภายใต้มาตรฐานสากล เพื่อส่งเสริมให้มีการนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่กับนักศึกษาให้มีความรู้ไอทีในระดับระดับมาตรฐานเดียวกับต่างประเทศ โดยการอบรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-28 พฤศจิกายน 2553 ณ อาคารวิทยบริการ ชั้น 4 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี จ.นนทบุรี
ในปัจจุบันสถาบันการศึกษามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ปัจจัย สำคัญประการหนึ่งคือความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆเพื่อร่วมกันผลักดันในเกิด การนำหลักสูตรมาตรฐานสากลที่ได้รับการรับรองในระดับนานาชาติมาใช้ในภาคการ ศึกษา ซิป้า, เนคเทคและเอทีเอสไอจึงได้ร่วมกันสร้างโอกาสในอบรมหลักสูตรมาตรฐานอย่างแท้จริง ด้วยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ และวิทยากรจาก The Computing Technology Industry Association (CompTIA) ทั้งนี้ได้มีการอบรมทั้งสิ้น 7 วัน จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตร CompTIA A + และหลักสูตร CompTIA A + Essentials หลังจากนั้นอาจารย์ที่เข้าร่วมอบรมจะได้รับโอกาสสอบแบบออนไลน์เพื่อให้ได้รับการรับรองจากหลักสูตร
หลักสูตรในการอบรมครั้งนี้เป็นสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีของประเทศให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น หลักสูตรแรกคือ CompTIA A + เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับช่างเทคนิคสนับสนุนคอมพิวเตอร์ระหว่างประเทศรับรองผู้ขายที่เป็นกลาง ประกอบด้วยการพิสูจน์ความสามารถในด้านต่างๆเช่น การติดตั้ง บำรุงรักษาเชิงป้องกันระบบเครือข่ายการรักษาความปลอดภัยและการแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ช่างเทคนิคที่ผ่านการรับรองจะต้องมีการบริการลูกค้าที่ดีและทักษะทางการสื่อสารในการทำงานกับลูกค้าหรือผู้รับบริการ
หลักสูตรที่สองคือ CompTIA A + Essentials เป็นความรู้ความสามารถที่จำเป็นของบุคลากรระดับมืออาชีพด้านไอที ที่ต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ในห้องปฏิบัติการจริง ไม่น้อยกว่า 500 ชั่วโมง ซึ่งเป็นการทดสอบเพื่อความเข้าใจทางเทคนิคของคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีระบบเครือข่าย และการรักษาความปลอดภัยตลอดจนทักษะในการสื่อสารและความเป็นมืออาชีพที่จำเป็น
คณะอาจารย์ที่ผ่านการอบรมต้องเข้ารับการทดสอบ โดยเป็นการทำข้อสอบแบบออนไลน์ ผู้ที่ผ่านการทดสอบจะได้รับใบรับรองมาตรฐานหลักสูตรทั้ง 2 ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดในการนำไปสอนนักศึกษาของสถานบันของตนเองเองต่อไป

View :1434
Categories: Press/Release Tags: , , ,

TESCA 2010 จัดสัมมนาต่อยอด SIPA Game Contest & Award 2010

August 22nd, 2010 No comments

หวังเสริมศักยภาพผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อปั้นเกมส์ไทยสู่เวทีโลก

โครงการคัดสรรผลิตภัณฑ์ดีเด่นแห่งชาติ 2553 () หนึ่งในโครงการหลักของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า จัดสัมมนาต่อยอด Game Contest & Award 2010 อันเป็นกิจกรรมหนึ่งภายในโครงการ TESCA 2010 เพื่อส่งเสริมผู้พัฒนาเกมส์ให้มีศักยภาพในการสร้างสรรค์และวางแผนการตลาดของเกมส์มากยิ่งขึ้น หวังช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศด้วยการนำเกมส์ออกสู่ตลาดไทยและตลาดโลก

นายปริญญา กระจ่างมล ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ เผยว่า หลังจากที่ได้มีการแข่งขันใน SIPA Game Contest 2010 จนได้ผู้เข้ารอบ ซิป้าได้ต่อยอดด้วยจัดการอบรมสัมมนาให้แก่ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ ณ โรงแรมเจ้าพระยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ด้านเทคนิคการพัฒนาเกมส์บนแพลทฟอร์มมือถือ คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นเกมส์ และเกมส์สำหรับการเล่นบนโซเชี่ยล มีเดีย ซึ่งซิป้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการอบรมในครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ที่ผ่านเข้ารอบได้มีการพัฒนาเกมส์ที่จะส่งมาประกวดในรอบสุดท้ายของ SIPA Game Contest 2010 อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งผลงานที่โดดเด่นมีโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคเอกชนไปพัฒนาเกมส์ให้เป็นรูปธรรมและนำออกสู่ตลาดจริงในที่สุด ซึ่งเราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าภายหลังจบการแข่งขัน ประเทศไทยจะมีนักพัฒนาเกมส์ฝีมือเยี่ยมและมีผลงานเกมส์ที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก อันตรงกับวัตถุประสงค์หลักของ TESCA 2010

ทั้งนี้ SIPA Game Contest & Award 2010 ประกอบด้วยกิจกรรม 2 หมวด ได้แก่ หมวด Contest ซึ่งได้แข่งขันรอบแรกเสร็จสิ้นไปแล้วด้วยการจัดแบ่งประเภทผู้แข่งขันเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มนักเรียนนักศึกษาและบุคคลทั่วไป และ หมวด Award ซึ่งจะมีการตัดสินในช่วงวันที่ 4-6 ตุลาคม SIPA Game Contest & Award 2010 นับเป็นหนึ่งในแปดกิจกรรมภายใต้โครงการคัดสรรผลิตภัณฑ์ดีเด่นแห่งชาติ 2553 (TESCA 2010) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และส่งเสริมผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ให้มีศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกสู่ตลาด

จากภาพ (ขวาไปซ้าย) นายกรีกร ไพรีพินาศ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), นายปริญญา กระจ่างมล ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน), และนายรัชกฤช คล่องพยาบาล ที่ปรึกษาด้านการลงทุนและการเงิน สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประธานคณะกรรมการตัดสิน SIPA Game Contest 2010 ให้เกียรติมาเปิดการอบรมสัมมนาโครงการ SIPA Game Contest 2010 ณ โรงแรมเจ้าพระยา เมื่อเร็วๆ นี้

View :1570
Categories: Press/Release Tags: ,

ซิป้าเตรียมจัดงานใหญ่ มหกรรมสื่อสร้างสรรค์แห่งเอเชียวันที่ 6 – 8 ส.ค. ที่ไซเบอร์เวิลด์ รัชดาฯ

August 3rd, 2010 No comments

นายลักษมณ์ เตชะวันชัย นายกสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (TACGA) เปิดเผยว่า “สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า เตรียมจัดงาน “” หรือมหกรรมสร้างสรรค์แห่งเอเชีย เพื่อเป็นการบันทึกความสำเร็จตามโครงการ Digital Media Asia 2010 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จัดทำขึ้นตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งได้มอบหมายให้สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชันและคอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ไทย และสมาคมอิเลคโทรนิคบันเทิง เป็นผู้ดำเนินงาน โดยจะจัดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 6-8 สิงหาคม นี้ ทั้งในส่วนของ ภาพยนตร์ เกม และแอนิเมชัน”

ภายในงานจะมีการเสวนาจากกูรูทางด้านภาพยนตร์ เกม และแอนิเมชัน ต่างๆ อาทิ เบื้องหลังและเทคนิคการสร้างภาพยนตร์แอนิเมชั่นฮอลลีวู้ด (Animation Toolset to create Hollywood Movie Box Office) ในวันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม จาก Mr. Graham Toms นักแอนิเมเตอร์ผู้ผ่านงานที่ดีสนีย์ และเป็นหนึ่งในทีมสร้างเวอร์ชวลซีน (3D Virtual Scene) ในภาพยนตร์อวตาล (Avatar) จะมาบรรยายพิเศษเรื่องการใช้เครื่องมือด้านซอฟต์แวร์ต่างๆที่ใช้ในการสร้างภาพยนตร์ระดับโลกของดีสนีย์และอวตาลของ James Cameron

พบกับหนังสือการ์ตูนหายาก เล่มเดียวในโลก และนิทรรศการการ์ตูนไทย จากอดีตถึงปัจจุบัน การจับคู่ทางธุรกิจครั้งแรกในประเทศ ระหว่างนักสร้างแอนิเมชั่น และเหล่าผู้สร้างสรรค์แคแรคเตอร์การ์ตูนและฮีโร่ต่างๆ รวมทั้งการออกร้านของบรรดาศิลปินอินดี้ ผู้สร้างสรรค์การ์ตูนแคแรคเตอร์และคอมิก ที่เป็นสายธารต้นน้ำของการเศรษฐกิจสร้างสรรค์งานด้านแอนิเมชัน และที่เป็นไฮต์ไลท์ คือ พบกับแชมป์อัจฉริยะต่อ Lego ของโลก Jumpei Mitsui (JunLEGO) ที่จะมาสาธิตการต่อเลโก้ระดับโลกในวันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม รวมถึงการแสดงซุปเปอร์ฮีโร่ไทยโดยคุณฮาตะและเหล่าสมาชิกที่เป็นแฟนพันธ์แท้ฮีโร่ไทย รวมถึงมินิคอนเสิร์ต 10 ศตวรรษเพลงประกอบภาพยนตร์ไทย เป็นต้น โดยทั้งหมดนี้ จะเกิดขึ้นในวันที่ 6-8 สิงหาคม 2553 นี้ ที่อาคารไซเบอร์เวิลด์ รัชดาฯ สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ โทร. 0-2938-4946-7

View :2112
Categories: Press/Release Tags: ,