Archive

Author Archive

เอไอเอส พร้อมรับน้ำท่วมกรุงเทพ Standby ทีมวิศวกรเฝ้าตลอด24 ชั่วโมง

October 25th, 2011 No comments


นายวิเชียร เมฆตระการ, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ กล่าวว่า “จากสถานการณ์อุทกภัยที่คาดว่าจะกระทบถึงกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้ดูแลระบบสื่อสารไร้สาย ซึ่งได้กลายมาเป็นโครงข่ายหลักในการติดต่อสื่อสาร ขอความช่วยเหลือ และค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับน้ำท่วม ได้เตรียมแผนรองรับที่จะทำให้เครือข่ายของเอไอเอสในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่น้ำท่วมยังคงให้บริการได้อย่างไม่ติดขัด โดย

1. ประสานงานกับการไฟฟ้านครหลวงในกรณีหากจำเป็นต้องมีการตัดไฟในบางพื้นที่ เพื่อให้สามารถเตรียมการ หรือ เชื่อมต่อโดยตรงกับการไฟฟ้านครหลวง อันจะทำให้เครือข่ายยังคงสามารถให้บริการได้
2. เตรียมสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องปั่นไฟ ในกรณีที่จำเป็นต้องตัดไฟในบางพื้นที่พร้อมเตรียมเรือเพื่อจัดส่งน้ำมันเชื้อเพลิงไปยังชุมสายและสถานีฐานสำคัญ
3. จัดทีมวิศวกร Standby ตลอด 24 ชั่วโมงมากกว่า 100 ชีวิต เพื่อติดตามและแก้ปัญหาอย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้เอไอเอสขอให้ความมั่นใจว่า เราจะดูแลเครือข่ายไร้สายตลอดจนบริการต่างๆ เพื่อให้ประชาชนใช้ติดต่อขอความช่วยเหลือได้อย่างไม่ติดขัดตลอดช่วงอุทกภัยนี้อย่างแน่นอน

View :1676

เอไอเอสพร้อมป้องกันเครือข่ายจากอุทกภัยน้ำท่วม

October 25th, 2011 No comments

นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ กล่าวถึงแผนการดูแลเครือข่ายใน สภาวะอุทกภัยว่า “ในยามเกิดภัยพิบัติ ไม่ว่าจากภัยธรรมชาติ หรือ จากเหตุอื่นๆ สิ่งที่ตามมาคือ ความต้องการสื่อสาร เพื่อขอความช่วยเหลือ และแจ้งข่าวระหว่างกัน โครง ข่ายสื่อสารที่มีความเสถียร และพร้อมที่จะเป็นสื่อกลางเสมอ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ดังเช่นในเหตุอุทกภัยครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นบททดสอบสำคัญถึงความมุ่งมั่นของผู้ให้บริการที่จะพิสูจน์ ให้เห็นถึงความพร้อมดังกล่าว”

“เครือข่ายและเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายได้กลายมาเป็นโครงข่ายสื่อสารหลักสำหรับ ประชาชน และหน่วยงานที่ส่งมอบความช่วยเหลือ เพราะสะดวก รวดเร็วต่อการใช้งาน เคลื่อนที่ได้ และสามารถเข้าถึงพื้นที่ภัยพิบัติได้อย่างไร้ข้อจำกัดที่สำคัญตอบสนองต่อการสื่อสารผ่าน Social Network ได้ดีที่สุด ดังจะเห็นถึงปริมาณการใช้งานทั้ง Voice และ Data ที่สูงขึ้นถึง 70% เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภัยพิบัติ”

นายวิเชียรกล่าว ย้ำว่า “เอไอเอส แม้จะเป็นผู้ให้บริการเอกชน แต่ตระหนักถึง ความสำคัญของระบบสื่อสารในท่ามกลางสถานการณ์ จึง ได้ทุ่มเททุกสรรพกำลังอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นกำลังคนและ Solutions ต่างๆ เพื่อให้สามารถเป็นช่องทางส่งมอบความช่วยเหลือและบริหารจัดการปัญหาอุทกภัยในครั้งนี้ให้ผ่านพ้นไปได้อย่างรวดเร็วที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันเครือข่ายและเตรียมการรองรับกรณีหากอุทกภัยส่งผลกระทบกับชุมสายและสถานีฐาน ซึ่งมีมาตรการหลัก ประกอบด้วย

1. เตรียมการป้องกันสถานีฐานและชุมสายที่มีความเสี่ยงน้ำท่วม โดยการยกระดับความสูงของอุปกรณ์ ตู้คอนเทนเนอร์ การวางแนวกระสอบทรายและกำแพงกันน้ำ

2. เตรียมระบบไฟสำรอง น้ำมันและการส่งกำลังบำรุง เพื่อให้ชุมสายยังคงให้บริการ ได้ตามปกติ ในกรณีที่มีการตัดไฟจากการไฟฟ้า

3. เตรียมแผน Business Continuity Planning ในการปรับ traffic การสื่อสารไปยังชุมสายอื่นๆให้สามารถรองรับและใช้งานแทนได้ทันที กรณีหากชุมสายแห่งนั้นไม่สามารถป้องกันน้ำเข้าในพื้นที่ได้

4. เตรียมสถานที่สำรองในกรณีเข้าปฏิบัติงานที่ศูนย์กลางการบริหารเครือข่าย ส่วนกลางไม่ได้ เพื่อให้วิศวกรสามารถดูแลเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง อย่างไม่ติดขัด รวมถึงประสานกับ Supplier ผู้ผลิตอุปกรณ์ Stand by อุปกรณ์และ Spare Part เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที

โดยแผนงานดังกล่าวเป็นแผนรองรับกรณีฉุกเฉิน ซึ่งได้มีการซักซ้อมอย่างสม่ำเสมอและนำมาปฏิบัติจริงแล้วในช่วงเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงตั้งแต่เหตุอุทกภัยครั้งนี้ได้เริ่มส่งผลกระทบในพื้นที่ต่าง จังหวัด ไม่ว่าจะเป็นที่ จังหวัดอุตรดิตถ์, ลพบุรี, อยุธยา เรื่อยมา ซึ่งผลกระทบหลักๆต่อเครือข่ายมือถือในกรณีน้ำท่วมจะเกิดจากสาเหตุ หลักเพียงประการเดียวคือ การตัดกระแสไฟจากการไฟฟ้าเพื่อป้องกันอันตรายแก่ประชาชน ส่วนความเสียหายของอุปกรณ์อันเกิดจากน้ำท่วม หรือ ปัญหาขัดข้องของเครือข่ายถือเป็นส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ตามแม้ % ของเครือข่ายที่มีปัญหาจะน้อยมาก แต่เอไอเอสก็ไม่เคยละเลยที่จะแก้ปัญหา ดังนั้นการเตรียมระบบไฟฟ้าสำรองและการบริหาร Traffic ของเครือข่ายข้างเคียงให้สามารถ ส่งกำลังเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยเติมเต็ม Coverage ส่วนที่หายไป รวมถึงการรักษา Coverage ในพื้นที่ยุทธศาสตร์จึงเป็นเรื่องหลักของการป้องกันเครือข่ายในสถานการณ์นี้

“ส่วนการนำ Solutions ไร้สายเข้าไปสนับสนุนในเหตุการณ์อุทกภัยครั้งนี้ ประกอบด้วย

1. การเข้าไปในพื้นที่ศูนย์อพยพหลักๆ โดยตั้งจุดให้บริการโทรฟรี เติมเงินเคลื่อนที่ รวมถึงนำรถสถานีฐานเคลื่อนที่เข้าไปขยายความสามารถ ในการรองรับการใช้งาน

2. สนับสนุนการจัดตั้ง Call Center ให้แก่ภาครัฐเพื่อเป็นช่องทางรับเรื่อง ร้องทุกข์

3. นำ Solutions Mobile Wall Board เข้ามาประยุกต์ใช้ โดยให้อาสาสมัครใช้มือถือถ่ายวีดีโอคลิปจุดต่างๆและ เขียนข้อมูลประกอบ จากนั้นส่งผ่านเครือข่าย Data มายังศูนย์กลาง เพื่อประมวลข้อมูลและส่งต่อความช่วยเหลือ

4. สนับสนุน Data ให้แก่ Google เพื่อใช้เป็นช่อง ทางในการส่งข้อมูลจาก Application ของ Google ที่มีทั้งการแสดงข้อมูลจุดน้ำท่วม การขอความช่วยเหลือ

5. ติดตั้งเทคโนโลยี Wireless High Speed จาก Airnet ของเอไอเอส ให้แก่จุดสำคัญต่างๆที่เป็นศูนย์ ประสานงาน เช่น อยุธยาปาร์ค หรือที่อาคาร บบส. ทำให้เจ้าหน้าที่ประสานความช่วยเหลือผ่าน Wifi ทั้งบน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตการโทรฟรีผ่าน VoIP

6. พัฒนาเมนู Flood Relief บน โมบายไลฟ์ พอร์ทัล เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวสา มารถเกาะติดสถานการณ์ข่าวสารความเคลื่อนไหวเรื่องน้ำท่วมอย่าง โดย ข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วยความเคลื่อนไหวของสถานการณ์น้ำที่อัพ เดทล่าสุด จากทุกแหล่งข่าว, สายด่วน&รวมเบอร์ติดต่อฉุกเฉิน, สถานที่จอดรถฟรี, ภาพวีดีโอคลิป,ข้อ มูลที่เป็นประโยชน์ในการเตรียมความพร้อม, ฯลฯ

7. นำ Solutions “mPABX” หรือ Mobile Public Automatic Switching Board ที่เป็นเสมือนตู้สาขาอัตโนมัติ ทำให้ เบอร์โทรศัพท์มือถือเพียง 1 เบอร์สามารถมีคู่ สายรองรับได้ตั้งแต่ 20 คู่สายขึ้นไปเข้ามาสนับสนุนหน่วยงานที่มีความต้องการใช้คู่สายโทรศัพท์จำนวนมากอย่างเร่งด่วน ดังเช่นกรณีการนำเข้าไปใช้กับรายการ โทรทัศน์ในเครือ JSL ที่จัดรายการสดและเปิดให้ประชาชน โทรเข้ามาบริจาค

“นอกจากนี้การดูแลเครือข่ายและนำ Solutions เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ เครือข่ายเพื่อให้สามารถเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารและแก้ปัญหา ในสถานการณ์อุทกภัยครั้งนี้แล้ว เอไอเอสยังร่วมช่วยเหลือประชาชน ผ่านทางการบริจาคเงินมากกว่า 35 ล้านให้แก่ รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ, ส่งมอบถุงยังชีพ, กระสอบทราย, น้ำดื่ม, เรือ , จัดตั้งโรงครัวเอไอเอสที่มีพนักงานอาสาสมัครทำอาหารกล่องให้บริการ ประชาชน, สนับสนุนซิมการ์ดพร้อมค่าโทรและตัวเครื่องโทรศัพท์ให้แก่ หน่วยงานอาสาสมัครต่างๆ รวมไปถึงการดูแลลูกค้า อาทิ การเติมเงินอัตโนมัติและ เติมวันให้แก่ลูกค้าพรีเพดด้วยงบประมาณเบื้องต้นมากกว่า 30 ล้านบาท, การขยายระยะเวลาตัดสัญญาณให้แก่ลูกค้าโพสต์เพด , การช่วยเหลือระบบสื่อสารให้แก่ลูกค้าองค์กร และการสนับสนุนพาร์ทเนอร์อย่างช่องทางการจัดจำหน่าย ทั้งนี้เพื่อให้ทุกๆส่วนสามารถก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน อย่างดีที่สุด” นายวิเชียร กล่าวในตอนท้าย

View :1370

ทรูมูฟ เอช ขยายบริการ 3G+ เร็วสูงสุด 42 Mbps ครอบคลุมรถไฟฟ้าใต้ดินตลอดเส้นทาง

October 25th, 2011 No comments


พร้อมเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ล่าสุด “ที่นี่กรุงเทพฯ”

ตอกย้ำผู้นำบริการ 3G ตัวจริง บนเครือข่ายใหม่ 3G+ ที่แรงกว่า เร็วกว่า ด้วยความเร็วสูงสุด 42 Mbps ร่วมกับ รถไฟฟ้า MRT ขยายบริการ 3G+ ให้ลูกค้าใช้งานได้ทุกสถานีและในรถไฟฟ้าใต้ดินตลอดเส้นทางได้แล้ววันนี้ อีกทั้งยังครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด* โดยเฉพาะทุกพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ พร้อมเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ “ที่นี่กรุงเทพฯ” เริ่มออกอากาศ 20 ตุลาคมนี้

นายสุภกิจ วรรธนะดิษฐ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการพาณิชย์ บริษัท เรียล มูฟ จำกัด กล่าวว่า “ทรูมูฟ เอช ขยายบริการ 3G+ อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์การใช้งานของลูกค้าทุกกลุ่ม ล่าสุด ร่วมกับรถไฟฟ้า MRT เปิดบริการ 3G+ ให้คนกรุงเทพฯ ติดต่อสื่อสารได้สะดวกแม้จะเดินทางด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน สามารถใช้งานได้ทั้งที่สถานีและขณะโดยสารอยู่บนรถไฟฟ้าตลอดเส้นทาง ซึ่งรถไฟฟ้า MRT เป็นบริการขนส่งมวลชนที่คนกรุงเทพฯ ใช้บริการมากที่สุดช่องทางหนึ่ง โดยการเปิดบริการ 3G+ ที่รถไฟฟ้า MRT ตลอดเส้นทางครั้งนี้ เป็นการตอกย้ำผู้นำบริการ 3G ของทรูมูฟ เอช ที่ให้บริการครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด ทุกพื้นที่ ทุกเขตทั่วกรุงเทพฯ นอกจากนี้ ยังเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ “ที่นี่กรุงเทพฯ” สื่อถึงเครือข่าย 3G+ เร็วสูงสุด 42 Mbps ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด ทั่วกรุงเทพฯ และอีก 16 จังหวัดทั่วไทย รวมถึงบริการ Wi-Fi ความเร็วสูงสุด 8 Mbps** ครอบคลุม 100,000 จุดทั้งในและต่างประเทศ ติดตามชมภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ได้ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2554”

ทั้งนี้ ทรูมูฟ เอช เปิดให้ ด้วยความเร็วสูงสุด 42 Mbps ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด ทั่วกรุงเทพฯ และอีก 16 จังหวัดทั่วไทย ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ อยุธยา นครปฐม สมุทรสาคร ชลบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี เชียงใหม่ สงขลา สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และกระบี่ รวมถึงทางหลวงสายหลัก 4 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา, กรุงเทพฯ-เขาใหญ่, กรุงเทพฯ-อยุธยา และกรุงเทพฯ-หัวหิน อีกทั้งยังสามารถใช้ ได้ที่สนามบินหลัก 10 สนามบินทั่วประเทศ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ 42 แห่ง อาทิ พัทยา, หัวหิน, เกาะเสม็ด, เกาะพีพี, ภูกระดึง, หาดไร่เลย์, ดอยอินทนนท์, ดอยตุง เป็นต้น

* การให้บริการ 3G+ ขึ้นอยู่กับพื้นที่การให้บริการ และอุปกรณ์ที่รองรับ
** ความเร็วในการใช้บริการ 3G+ ขึ้นอยู่กับปริมาณผู้ใช้งาน ณ จุดที่ใช้งานและอุปกรณ์ที่รองรับ

View :2330

“เออาร์ไอพี” เลื่อนจัด คอมมาร์ต คอมเทค 2011 จาก 3-6 พ.ย.ไปเป็น 24 – 27 พ.ย. 2554

October 25th, 2011 No comments

นายปฐม อินทโรดม กรรมการบริหารและผู้จัดการทั่วไป บริษัท เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน) ผู้จัดงาน “คอมมาร์ต” เปิดเผยว่า ภายหลังจากได้หารือกับพันธมิตรผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าไอที เกี่ยวกับสถานการณ์อุทกภัยน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทางบริษัทจึงตัดสินใจพิจารณาเลื่อนกำหนดการจัดงานคอมมาร์ต คอมเทค ไทยแลนด์ 2011 จากเดิมที่กำหนดไว้วันที่ 3 – 6 พ.ย. 54 ที่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ออกไป

“จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นและค่อนข้างรุนแรงในขณะนี้ ส่งผลให้ลูกค้าจากต่างจังหวัดและปริมณฑลไม่สะดวกในการเดินทางมาร่วมงาน เราจึงจำเป็นที่จะต้องเลื่อนการจัดงานคอมมาร์ต คอมเทค ไทยแลนด์ 2011 ออกไปก่อน และคงต้องติดตามดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด”

ทั้งนี้ เนื่องจากความไม่สะดวกในการเดินทางและเพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าชมงานและพันธมิตรผู้ร่วมจัดงาน โดยมีกำหนดการจัดงาน “คอมมมาร์ต คอมเทค ไทยแลนด์ 2011” ระหว่างวันที่ 24 – 27 พฤศจิกายน 2554 เวลา 10.00 – 20.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่วงที่เหมาะสม เพราะขณะนี้ปัญหาน้ำท่วมได้สร้างความเดือดร้อนและความเสียหายให้กับประชาชนและภาคอุตสาหกรรมไอทีของประเทศ

View :1326

ไอดีซีระบุตลาดจีนและอินเดียช่วยกระตุ้นให้ยอดขายพีซีในเอเชียแปซิฟิกให้เติบโต 2 หลักในไตรมาสที่ 3 ปีนี้

October 25th, 2011 No comments

ผลการวิจัยเบื้องต้นของไอดีซีชี้ให้เห็นว่าตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นญี่ปุ่น) ในไตรมาสที่ 3 ของปี้นี้ได้เติบโตขึ้น 6% จากไตรมาสที่ 2 และขยายตัวถึง 13% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมียอดจำหน่ายทั้งหมดกว่า 31.9 ล้านเครื่อง ซึ่งถือว่าเติบโตเกินกว่าที่ไอดีซีคาดการณ์ไว้ 2%

ผู้บริโภคในประเทศจีนได้หันกลับมาจับจ่ายซื้อสินค้าพีซีอีกครั้งหลังจากที่กระแสของมีเดีย แท็บเล็ทได้เริ่มอ่อนตัวลง ในขณะเดียวกันภาคธุรกิจเองก็มีการลงทุนซื้อพีซีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือ จากนี้ตลาดอินเดียเองก็ขยายตัวขึ้น อันเนื่องมาจากการที่อุปสงค์ในฝั่งของผู้บริโภคนั้นได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากที่ซบเซามาตลอดในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าการลงทุนของภาคเอกชนจะอยู่ในระดับต่ำอันเป็นผลมาจากความกังวลในเรื่องของวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกก็ตาม

นายไบรอัน มา รองประธานฝ่ายงานวิจัยตลาดอุปกรณ์ต่อพ่วงประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกของไอดีซีเผยว่า “ถึงแม้ว่าจะเป็นการดีที่เราได้เห็นยักษ์ใหญ่อย่างอินเดียและจีนช่วยขับเคลื่อนตลาดในภูมิภาค แต่บทบาทของประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ เช่นประเทศไทยก็เริ่มเพิ่มความสำคัญมากขึ้นเช่นกัน ถึงแม้ ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะยังคงไม่แน่นอน แต่การบริโภคก็ยังถือว่าคงตัวอยู่ในระดับสูง ซึ่งถ้าหากผลกระทบจากน้ำท่วมในประเทศไทยนั้นไม่ได้ขยายตัวเป็นวงกว้าง ไอดีซีเชื่อว่าภาพรวมของตลาดทั้งภูมิภาคน่าจะดีกว่าที่ไอดีซีได้คาดการณ์ไว้ ซึ่งก็คือโตเกินกว่า 12% นั่นเอง”

เลอโนโวยังคงรักษาตำแหน่งผู้นำตลาดในประเทศจีน และยังคงขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำทั้งในตลาดประเทศจีนและตลาดโลก ขณะเดียวกันอัสซุสที่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องของสินค้าคงคลังได้สำเร็จก็ทำผลงานได้ดีในประเทศจีนทั้งในเมืองใหญ่และจังหวัดต่างๆ และถึงแม้ ว่าผลงานของเดลล์จะทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 แต่ผู้ผลิตรายนี้ก็ยังคงลงทุนต่อเนื่องในการขยายส่วนแบ่งตลาดในประเทศจีน และรักษาส่วนแบ่งตลาดที่มากที่สุดในประเทศอินเดียได้สำเร็จ

View :1577

เอไอเอสพร้อมป้องกันเครือข่ายจากอุทกภัยน้ำท่วม

October 21st, 2011 No comments

นายวิเชียร  เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ กล่าวถึงแผนการดูแลเครือข่ายใน สภาวะอุทกภัยว่า “ในยามเกิดภัยพิบัติ ไม่ว่าจากภัยธรรมชาติ หรือ จากเหตุอื่นๆ สิ่งที่ตามมาคือ ความต้องการสื่อสาร เพื่อขอความช่วยเหลือ และแจ้งข่าวระหว่างกัน   โครง ข่ายสื่อสารที่มีความเสถียร และพร้อมที่จะเป็นสื่อกลางเสมอ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ดังเช่นในเหตุอุทกภัยครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นบททดสอบสำคัญถึงความมุ่งมั่นของผู้ให้บริการที่จะพิสูจน์ ให้เห็นถึงความพร้อมดังกล่าว”

“เครือข่ายและเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายได้กลายมาเป็นโครงข่ายสื่อสารหลักสำหรับ ประชาชน และหน่วยงานที่ส่งมอบความช่วยเหลือ  เพราะสะดวก รวดเร็วต่อการใช้งาน เคลื่อนที่ได้ และสามารถเข้าถึงพื้นที่ภัยพิบัติได้อย่างไร้ข้อจำกัดที่สำคัญตอบสนองต่อการสื่อสารผ่าน Social Network ได้ดีที่สุด ดังจะเห็นถึงปริมาณการใช้งานทั้ง Voice และ Data ที่สูงขึ้นถึง 70% เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภัยพิบัติ”

นายวิเชียรกล่าว ย้ำว่า “เอไอเอส แม้จะเป็นผู้ให้บริการเอกชน  แต่ตระหนักถึง ความสำคัญของระบบสื่อสารในท่ามกลางสถานการณ์  จึง ได้ทุ่มเททุกสรรพกำลังอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นกำลังคนและ Solutions ต่างๆ เพื่อให้สามารถเป็นช่องทางส่งมอบความช่วยเหลือและบริหารจัดการปัญหาอุทกภัยในครั้งนี้ให้ผ่านพ้นไปได้อย่างรวดเร็วที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันเครือข่ายและเตรียมการรองรับกรณีหากอุทกภัยส่งผลกระทบกับชุมสายและสถานีฐาน ซึ่งมีมาตรการหลัก ประกอบด้วย

1. เตรียมการป้องกันสถานีฐานและชุมสายที่มีความเสี่ยงน้ำท่วม โดยการยกระดับความสูงของอุปกรณ์ ตู้คอนเทนเนอร์ การวางแนวกระสอบทรายและกำแพงกันน้ำ

2. เตรียมระบบไฟสำรอง น้ำมันและการส่งกำลังบำรุง เพื่อให้ชุมสายยังคงให้บริการ ได้ตามปกติ ในกรณีที่มีการตัดไฟจากการไฟฟ้า

3. เตรียมแผน Business Continuity Planning ในการปรับ traffic การสื่อสารไปยังชุมสายอื่นๆให้สามารถรองรับและใช้งานแทนได้ทันที กรณีหากชุมสายแห่งนั้นไม่สามารถป้องกันน้ำเข้าในพื้นที่ได้

4. เตรียมสถานที่สำรองในกรณีเข้าปฏิบัติงานที่ศูนย์กลางการบริหารเครือข่าย ส่วนกลางไม่ได้ เพื่อให้วิศวกรสามารถดูแลเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง อย่างไม่ติดขัด รวมถึงประสานกับ Supplier ผู้ผลิตอุปกรณ์ Stand by อุปกรณ์และ Spare Part เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที

            โดยแผนงานดังกล่าวเป็นแผนรองรับกรณีฉุกเฉิน ซึ่งได้มีการซักซ้อมอย่างสม่ำเสมอและนำมาปฏิบัติจริงแล้วในช่วงเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงตั้งแต่เหตุอุทกภัยครั้งนี้ได้เริ่มส่งผลกระทบในพื้นที่ต่าง จังหวัด ไม่ว่าจะเป็นที่ จังหวัดอุตรดิตถ์, ลพบุรี, อยุธยา เรื่อยมา ซึ่งผลกระทบหลักๆต่อเครือข่ายมือถือในกรณีน้ำท่วมจะเกิดจากสาเหตุ หลักเพียงประการเดียวคือ การตัดกระแสไฟจากการไฟฟ้าเพื่อป้องกันอันตรายแก่ประชาชน  ส่วนความเสียหายของอุปกรณ์อันเกิดจากน้ำท่วม หรือ ปัญหาขัดข้องของเครือข่ายถือเป็นส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ตามแม้ % ของเครือข่ายที่มีปัญหาจะน้อยมาก แต่เอไอเอสก็ไม่เคยละเลยที่จะแก้ปัญหา ดังนั้นการเตรียมระบบไฟฟ้าสำรองและการบริหาร Traffic ของเครือข่ายข้างเคียงให้สามารถ ส่งกำลังเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยเติมเต็ม Coverage ส่วนที่หายไป รวมถึงการรักษา Coverage ในพื้นที่ยุทธศาสตร์จึงเป็นเรื่องหลักของการป้องกันเครือข่ายในสถานการณ์นี้

            “ส่วนการนำ Solutions ไร้สายเข้าไปสนับสนุนในเหตุการณ์อุทกภัยครั้งนี้ ประกอบด้วย

1. การเข้าไปในพื้นที่ศูนย์อพยพหลักๆ โดยตั้งจุดให้บริการโทรฟรี เติมเงินเคลื่อนที่ รวมถึงนำรถสถานีฐานเคลื่อนที่เข้าไปขยายความสามารถ ในการรองรับการใช้งาน

2. สนับสนุนการจัดตั้ง Call Center ให้แก่ภาครัฐเพื่อเป็นช่องทางรับเรื่อง ร้องทุกข์

3. นำ Solutions Mobile Wall Board เข้ามาประยุกต์ใช้ โดยให้อาสาสมัครใช้มือถือถ่ายวีดีโอคลิปจุดต่างๆและ เขียนข้อมูลประกอบ จากนั้นส่งผ่านเครือข่าย Data มายังศูนย์กลาง เพื่อประมวลข้อมูลและส่งต่อความช่วยเหลือ

4. สนับสนุน Data ให้แก่ Google เพื่อใช้เป็นช่อง ทางในการส่งข้อมูลจาก Application ของ Google ที่มีทั้งการแสดงข้อมูลจุดน้ำท่วม การขอความช่วยเหลือ

5. ติดตั้งเทคโนโลยี Wireless High Speed จาก Airnet ของเอไอเอส ให้แก่จุดสำคัญต่างๆที่เป็นศูนย์ ประสานงาน เช่น อยุธยาปาร์ค หรือที่อาคาร บบส. ทำให้เจ้าหน้าที่ประสานความช่วยเหลือผ่าน Wifi ทั้งบน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตการโทรฟรีผ่าน VoIP

6. พัฒนาเมนู   Flood Relief  บน โมบายไลฟ์ พอร์ทัล  เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวสา มารถเกาะติดสถานการณ์ข่าวสารความเคลื่อนไหวเรื่องน้ำท่วมอย่าง โดย ข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วยความเคลื่อนไหวของสถานการณ์น้ำที่อัพ เดทล่าสุด จากทุกแหล่งข่าว, สายด่วน&รวมเบอร์ติดต่อฉุกเฉิน, สถานที่จอดรถฟรี,  ภาพวีดีโอคลิป,ข้อ มูลที่เป็นประโยชน์ในการเตรียมความพร้อม, ฯลฯ

7. นำ Solutions “mPABX” หรือ Mobile Public Automatic Switching Board  ที่เป็นเสมือนตู้สาขาอัตโนมัติ ทำให้ เบอร์โทรศัพท์มือถือเพียง 1 เบอร์สามารถมีคู่ สายรองรับได้ตั้งแต่ 20 คู่สายขึ้นไปเข้ามาสนับสนุนหน่วยงานที่มีความต้องการใช้คู่สายโทรศัพท์จำนวนมากอย่างเร่งด่วน   ดังเช่นกรณีการนำเข้าไปใช้กับรายการ โทรทัศน์ในเครือ JSL ที่จัดรายการสดและเปิดให้ประชาชน โทรเข้ามาบริจาค

“นอกจากนี้การดูแลเครือข่ายและนำ Solutions เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ เครือข่ายเพื่อให้สามารถเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารและแก้ปัญหา ในสถานการณ์อุทกภัยครั้งนี้แล้ว เอไอเอสยังร่วมช่วยเหลือประชาชน ผ่านทางการบริจาคเงินมากกว่า 35 ล้านให้แก่ รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ, ส่งมอบถุงยังชีพ, กระสอบทราย, น้ำดื่ม, เรือ , จัดตั้งโรงครัวเอไอเอสที่มีพนักงานอาสาสมัครทำอาหารกล่องให้บริการ ประชาชน, สนับสนุนซิมการ์ดพร้อมค่าโทรและตัวเครื่องโทรศัพท์ให้แก่ หน่วยงานอาสาสมัครต่างๆ รวมไปถึงการดูแลลูกค้า อาทิ การเติมเงินอัตโนมัติและ เติมวันให้แก่ลูกค้าพรีเพดด้วยงบประมาณเบื้องต้นมากกว่า 30 ล้านบาท, การขยายระยะเวลาตัดสัญญาณให้แก่ลูกค้าโพสต์เพด , การช่วยเหลือระบบสื่อสารให้แก่ลูกค้าองค์กร และการสนับสนุนพาร์ทเนอร์อย่างช่องทางการจัดจำหน่าย ทั้งนี้เพื่อให้ทุกๆส่วนสามารถก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน อย่างดีที่สุด” นายวิเชียร กล่าวในตอนท้าย

View :1604

แคนนอนเปิดตัว eMaintenance บริการเลขาส่วนตัวออนไลน์

October 20th, 2011 No comments

จัดการทุกปัญหาเครื่องถ่ายเอกสารด้วยบริการข้ามโลก พร้อมบริการซ่อมบำรุงถึงที่ทันใจผ่านระบบเตือนอัตโนมัติ

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) ผู้นำในตลาดอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน สำหรับธุรกิจ SME และองค์กรขนาดใหญ่ของประเทศไทย สร้างความแตกต่างในการให้บริการเครื่องถ่ายเอกสาร นำเสนอบริการรูปแบบใหม่สำหรับลูกค้าผู้ใช้เครื่องถ่ายเอกสารมัลติฟังก์ชั่นของแคนนอน ภายใต้บริการชื่อ eMaintenanceที่จะให้บริการเหมือนเลขาส่วนตัว ในการแจ้งเตือนข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้เครื่องถ่ายเอกสาร และช่วยให้การสื่อสารเป็นไปอย่างอิสระไร้ขีดจำกัด เพื่อให้การบริหารงานเอกสารจำนวนมากมีประสิทธิภาพ และข้อมูลได้รับการป้องกันให้มีความปลอดภัยสูงสุด

ร้อยเอกสุนทร ปัณฑรมงคลผู้อำนวยการอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ส่วนงานบิสซิเนส อิมเมจจิ้ง โซลูชั่น กรุ๊ป บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวถึงบริการใหม่ล่าสุดของแคนนอนว่า “ เป็นคอปเซ็ปต์ใหม่ในการให้บริการลูกค้าจากแคนนอน โดยให้บริการผ่านระบบ RDS (Remote Diagnostic System) ซึ่งเป็นระบบจัดการและตรวจสอบการทำงานของเครื่องถ่ายเอกสารมัลติฟังก์ชั่นแต่ละเครื่องของแคนนอนจากทางไกลโดยศูนย์บริการลูกค้าที่ญี่ปุ่น ด้วยบริการที่สามารถควบคุมและตรวจสอบการทำงานทั้งหมดของเครื่องได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อเกิดเหตุขัดข้องกับตัวเครื่องถ่ายเอกสารทางศูนย์จะได้รับการแจ้งเตือนอัตโนมัติ จึงทำให้สามารถแก้ปัญหาหรือเรียกฝ่ายซ่อมบำรุงเข้ามาจัดการได้ในทันที โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องยุ่งยาก นอกจากนี้บริการ ยังช่วยตรวจเช็คการใช้งานเครื่องรวมถึงปริมาณหมึกที่เหลือภายในเครื่อง พร้อมส่งรายงานให้กับผู้ใช้ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาในการทำงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ได้สูงสุด”

ทั้งนี้บริการ eMaintenanceประกอบด้วยบริการหลัก 3 บริการ ได้แก่

eMeter Reading บริการตรวจสอบปริมาณการใช้งานของเครื่องอัตโนมัติ ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ช่วยให้คุณสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการบริหารเอกสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

eToner Service บริการตรวจสอบการใช้งานหมึกและปริมาณหมึกคงเหลือในสต็อกและในเครื่องแบบอัตโนมัติผ่านอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้จึงไม่ต้องกังวลเรื่องพื้นที่ในการจัดเก็บสต็อกหมึกและปัญหาหมึกหมดอีกต่อไป

eProactive Support บริการนี้เป็นบริการตรวจสอบการทำงานและสถานะของเครื่อง รวมไปถึงอะไหล่ชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเต็มร้อย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่อง เนื่องจากมีการตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา

บริการeMaintenance จากแคนนอน เป็นบริการเหนือระดับที่มุ่งสร้างความแตกต่างในการให้บริการ เพื่อช่วยให้กลุ่มลูกค้าผู้ใช้เครื่องถ่ายเอกสารมัลติฟังก์ชั่นของแคนนอนทั่วโลกได้รับสิทธิประโยชน์ที่เหนือกว่า ทั้งในแง่การประหยัดเวลาในการทำงาน ลดต้นทุนการผลิต และร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
บริการ e-Maintenanceของแคนนอนได้ให้บริการแล้ว สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.canon.co.thหรือที่เบอร์ 02 – 344-9888

View :1603

AIS เปิดช่องทางบนมือถือ ให้ข้อมูล “น้ำท่วม”ล่าสุดจากทุกแหล่งข่าว

October 20th, 2011 No comments

นายปรัธนา ลีลพนัง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานบริการ เปิดเผยว่า “ด้วยสถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้ สิ่งที่ประชาชนต้องการเป็นอย่างมาก นอกเหนือจากการเตรียมความพร้อมรับมือป้องกันในทุกๆ ด้านแล้ว คือการเกาะติดสถานการณ์ข่าวสารความเคลื่อนไหวเรื่องน้ำท่วมอย่างใกล้ชิด เอไอเอสจึงได้เปิดอีกช่องทางบนมือถือให้ข้อมูลน้ำท่วม ผ่านทางเมนู “ Flood Relief” บนโมบายไลฟ์ พอร์ทัล ที่อ่านได้บนโทรศัพท์มือถือทุกรุ่น ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้แก่ ข้อมูลข่าวความเคลื่อนไหวที่อัพเดทล่าสุด จากทุกแหล่งข่าว, สายด่วน&รวมเบอร์ติดต่อฉุกเฉิน, รวมสถานที่จอดรถฟรี, ภาพวีดีโอคลิป และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการเตรียมความพร้อม เป็นต้น”
ผู้ใช้มือถือเอไอเอสสามารถเข้าไปอ่านข้อมูลน้ำท่วม ได้ที่เมนู “AIS Flood Relief” บนโมบายไลฟ์ พอร์ทัล หรือกด *900 แล้วโทรออก รอรับลิงค์ เพื่อเข้าสู่หน้าโมบายไลฟ์ พอร์ทัล

View :1420

หัวเว่ยจับมือเวลเทคกรุ๊ปเดินหน้าลุยตลาดดีไวซ์ไทย การันตีคุณภาพคับแก้วเทียบชั้นแบรนด์ระดับโลก

October 20th, 2011 No comments

หัวเว่ยได้ฤกษ์เดินหน้าลุยทำตลาดดีไวซ์ในไทย ล่าสุดแต่งตั้งเวลเทคกรุ๊ปตัวแทนจำหน่ายสินค้าไอทีระดับแนวหน้าของไทยกระจายสินค้าส่งดีลเลอร์ชั้นนำทั่วประเทศมั่นใจคุณภาพระดับโลกแถมราคาจับต้องได้ ฟันธง…..ตลาดไทยตอบรับคาดกลางปีชื่อติดตลาด

นายถู หมิง ผู้อำนวยการ ฝ่ายธุรกิจดีไวซ์ (Device Business) บริษัท เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2554 ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงให้ บริษัท จำกัด(WTG) เป็นตัวแทนจัดจำหน่าย หัวเว่ยสมาร์ทดีไวซ์ในประเทศไทย(Huawei Smart Device Distributor) โดย ถือเป็นผู้แทนจำหน่ายที่มีประสบการณ์ด้านการจัดจำหน่ายสินค้าไอทีมากว่า 25 ปี และเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าไอทีอันดับแนวหน้าของไทย

อย่างไรก็ดีสาเหตุที่หัวเว่ยเข้ามาทำตลาดดีไวซ์ในประเทศไทยครั้งนี้เนื่องจากเล็งเห็นว่าตลาดดีไวซ์ไทยเป็นตลาดที่มีความสำคัญและมีการเติบโตอยู่อย่างต่อเนื่อง หลังจากหัวเว่ยเข้ามาทำตลาดอุปกรณ์โครงข่ายโทรคมนาคมในประเทศไทยมากว่า 10 ปี

ทั้งนี้หัวเว่ยพร้อมที่จะรับฟังความต้องการของผู้บริโภคชาวไทย เพื่อพัฒนาและนำเสนอสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตคุณภาพสูง รวมทั้งแอพพลิเคชั่นใหม่ให้ตรงกับความต้องการของตลาดภายใต้สโลแกน “ Let’s Simply Share”

นายสุวิทย์ ชัยกิจพัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เวลเทคกรุ๊ป จำกัด ( WTG) เปิดเผยว่า บริษัทฯมีเชื่อมั่นในแบรนด์ของหัวเว่ย เนื่องจากเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมที่อยู่เบื้องหลังผู้ประกอบการโทรคมนาคมระดับโลก โดยเครือข่ายโทรคมนาคมในโลก 1 ใน 3 เป็นอุปกรณ์ที่ผลิตจากหัวเว่ย ปีที่ผ่านมาหัวเว่ยรายได้ถึง 10 ล้านล้านเหรียญฯ และปัจจุบันหัวเว่ยได้ก้าวสู่ผู้ผลิตดีไวซ์อันดับ 5 ของโลก ซึ่งเป็นหลักประกันคุณภาพและความน่าเชื่อถือในระดับสากลของหัวเว่ย

อย่างไรก็ดีเบื้องต้น เวลเทคกรุ๊ปจะเป็นตัวแทนจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แบรนด์หัวเว่ยนำร่องจำนวน 3 รุ่น คือGAGA, IDEOS X3 และ IDEOS X5 ซึ่งเป็นระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์ 2.3 และราคาจับต้องได้ทั้งหมด พร้อมทั้งแท็บเลต 1 รุ่น

ทั้งนี้เวลเทคกรุ๊ปจะกระจายดีไวซ์แบรนด์หัวเว่ยทั้ง 4 รุ่นไปยังดีลเลอร์จำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และไอที ในสังกัดทั่วประเทศจำนวนกว่า 1,700 แห่ง ประกอบด้วย ดีลเลอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ชั้นนำอาทิ เจมาร์ท ทีจี บิสเทล และดีเลอร์ไอทีชั้นนำ อาทิ บานาน่า และ คอมเซเว่น เป็นต้น ปัจจุบัน WTG มียอดขายสินค้าแบรนด์ต่างๆประมาณ 2-3 หมื่นเครื่องต่อเดือน

“เรามั่นใจว่าสินค้าแบรนด์หัวเว่ยจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เพียงแต่ช่วงเริ่มต้นจะต้องให้ผู้บริโภค และดีลเลอร์ได้สัมผัสสินค้าเพื่อสร้างความเชื่อมั่นกับแบรนด์ แต่เชื่อใช้ระยะเวลาไม่นานนักเพราะสินค้าในแบรนด์หัวเว่ย มีคุณภาพ การใช้งานเสถียร และอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบทำจากวัสดุคุณภาพสูง ที่สำคัญราคายังสามารถจับต้องได้ เพราะกำหนดราคาตามกำลังซื้อของคนไทย”นายสุวิทย์กล่าว

นายสุวิทย์กล่าวต่อว่าแม้ปัจจุบันตลาดดีไวซ์ในไทยจะมีการแข่งขันสูงแต่กับมีผู้ผลิตอุปกรณ์ดีไวซ์เพียงไม่กี่รายในตลาด ซึ่งหัวเว่ยมีโอกาสที่จะขยับมาอยู่อันดับแถวหน้าได้ไม่ยากเพราะมีความโดดเด่นด้านคุณภาพและยังสามารถควบคุมราคาได้เป็นอย่างดีเพราะมีต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าผู้ประกอบการรายอื่นซึ่งส่วนใหญ่ผลิตและใช้ชิ้นส่วนของหัวเว่ยด้วยเช่นกัน ฉะนั้นเชื่อได้ว่ากลางปีหน้าชื่อเสียงของหัวเว่ยดีไวซ์จะเป็นที่รู้จักอย่างแน่นอน

View :1587

ESRI จับมือ Globetech และกระทรวงคมนาคม ดันระบบตรวจสอบน้ำท่วมด้วยตัวเองผ่านเว็ปไซต์ ARC GIS

October 20th, 2011 No comments

บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำในการให้บริการระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) หนึ่งในกลุ่มบริษัทซีดีจี ออกระบบรายงานสถานการณ์น้ำท่วมบนเว็บไซต์ http://203.150.230.27/FloodMap/index.html ให้บริการประชาชนตรวจสอบพื้นที่น้ำท่วมด้วยตัวเอง โดยเชื่อมต่อข้อมูลจากกระทรวงคมนาคมและข้อมูลจาก GISTDA โดยตรงและรายงาน ผ่านเว็บไซต์ http://www.mot.go.th/ แบบวันต่อวัน ซึ่งระบบสามารถระบุตำแหน่ง จุดอพยพ, จุดจอดรถ, เส้นทางที่, เส้นทางแนะนำ, แนวป้องกันน้ำท่วมและ พื้นที่ เพื่อรับมือและวิเคราะห์สถานการณ์ล่วงหน้าได้อย่างทันท่วงที

วิธีการใช้งานเบื้องต้น
• กล่อง “บริการข้อมูล” ด้านซ้ายมือ เลือก เปิด-ปิด เพื่อแสดงผลข้อมูลบนแผนที่ได้ตามต้องการ
• กล่อง “Social Media” ด้านซ้ายมือ สามารถเลือกติดตามได้ทั้ง YouTube, Twitter, Flickr
• แถบย่อ-ขยายแผนที่ ข้างขวามือของกล่องบริการข้อมูล คลิกลูกศรด้านบน = ขยาย คลิกลูกศรด้านล่าง = ย่อ
• กล่อง “สัญลักษณ์” ด้านขวามือ อธิบายสัญลักษณ์ต่างๆ ที่แสดงบนแผนที่
• เลือกดูแผนที่ลายเส้น คลิก “NOSTRA”, เลือกดูแผนที่ดาวเทียม คลิก “Bing”

หมายเหตุ : ระยะเวลาการอัพเดทข้อมูลขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการข้อมูลนั้นๆ โดย user สามารถดูวันที่ของข้อมูลได้โดยการชี้ cursor ไปที่ตัวเลือกข้อมูล ทั้งนี้ ทาง ESRI (Thailand) ติดตามอัพเดทข้อมูลบนเว็บในทุกวัน
ตัวอย่าง

วิธีใช้เว็บบริการข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วมในการดูเส้นทางแนะนำ ให้เลือกที่ช่องว่างหน้าตัวเลือก “เส้นทางแนะนำจากกระทรวงคมนาคม” ในกล่องบริการข้อมูล
วิธีใช้เว็บบริการข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วมในการดูเส้นทางที่รถผ่านได้-ไม่ได้ ให้เลือกที่ช่องว่างหน้าตัวเลือก “เส้นทางที่น้ำท่วมจากกระทรวงคมนาคม” ในกล่องบริการข้อมูล

วิธีใช้เว็บบริการข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วมในการดูจุดจอดรถในกทม. และแนวกั้นน้ำ ให้เลือกที่ช่องว่างหน้าตัวเลือก “แนวป้องกันน้ำท่วม” และ “จุดจอดรถตามประกาศจากบก.จร.” ในกล่องบริการข้อมูล

View :3128