Archive

Archive for the ‘กระทรวงไอซีที’ Category

ก.ไอซีที แจงแนวทางรักษาสิทธิวงโคจรดาวเทียม

June 18th, 2011 No comments

นางจีราวรรณ   บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยเกี่ยวกับแนวทางการรักษาสิทธิวงโคจรดาวเทียม ว่า กระทรวงฯ จะจัดทำรายงานสรุปผลการประชุมร่วมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ไอทียู ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2554   เสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อทราบในสัปดาห์หน้า หรือ สัปดาห์ถัดไปเป็นอย่างช้า ซึ่งผลการเจรจาเกี่ยวกับสิทธิวงโคจรดาวเทียมในตำแหน่ง 120 องศา ที่กำลังจะหมดอายุลงช่วงปลายปีนี้ หากประเทศไทยยังไม่จัดส่งดาวเทียมขึ้นไปประจำตำแหน่งนั้นได้ทันตามกำหนด ไอทียู ได้แนะนำให้เช่าดาวเทียมมาประจำในตำแหน่งดังกล่าว เพื่อรักษาสิทธิเอาไว้ก่อนจะจัดส่งดาวเทียมดวงใหม่ขึ้นใช้งาน

“ในการดำเนินการจองสิทธิวงโคจรดาวเทียมจนถึงการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรนั้น อายุของเอกสารการจองจะมีระยะเวลา 7 ปี โดยในช่วงแรกเป็นขั้นตอนการยื่นเรื่องขอจองตำแหน่งวงโคจรกับทางไอทียูก่อน แล้วจึงดำเนินการเจรจากับประเทศต่างๆ ที่มีตำแหน่ง   วงโคจรใกล้เคียง เพื่อพิจารณาว่าข่ายงานดาวเทียมของประเทศไทยจะมีความถี่รบกวนการใช้งานดาวเทียมของประเทศเหล่านั้นหรือไม่   เมื่อประเทศต่างๆ ยินยอมก็จะแจ้งผลการประสานงานให้ ไอทียู แล้วประเทศไทยก็จะได้สิทธิในวงโคจรที่ขอจอง หลังจากนั้นจะต้องดำเนินการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรภายใน 2 ปี ซึ่งขณะนี้ตำแหน่งวงโจรที่ 120 องศา เหลือระยะเวลาที่จะต้องส่งดาวเทียมเพียง 6 – 7 เดือน จึงต้องเร่งดำเนินการ

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยคงต้องรักษาสิทธิที่ตำแหน่งดังกล่าว โดยทำตามคำแนะนำของ ไอทียู ที่ต้องมีดาวเทียมมาไว้ยังตำแหน่งนี้ชั่วคราวเป็นระยะเวลา 3 เดือน หรือมากกว่านั้น จนกว่าจะมีดาวเทียมดวงใหม่ของประเทศไทยขึ้นใช้งานต่อไป ซึ่งคาดว่าจะสามารถจัดหาได้ภายในเดือนสิงหาคม   – กันยายนนี้เป็นอย่างช้า เพื่อให้มีการรักษาสิทธิวงโคจรในตำแหน่งนั้นๆ ไว้ไม่น้อยกว่า 3 เดือน โดยในเบื้องต้น บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้มีประสานงานหารือแนวทางการดำเนินการกับผู้ประกอบการด้านดาวเทียมไว้บ้างแล้ว   คาดว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเช่าดาวเทียมมาจองตำแหน่งเอาไว้ หรืออาจเจรจากับบริษัทผู้ผลิตและจัดส่งดาวเทียมให้จัดหาดาวเทียมสำรองมาประจำตำแหน่งเพื่อรักษาสิทธิให้ก่อนจัดสร้างดาวเทียมดวงจริง”   นางจีราวรรณ กล่าว

สำหรับสิทธิวงโคจรดาวเทียมอื่นที่ยังไม่มีดาวเทียม 3 ตำแหน่ง ได้แก่ 50.5 องศา 126 องศา และ 142 องศา นั้นยังมีเวลาที่จะดำเนินการแต่ก็ต้องพิจารณาดำเนินการควบคู่ไปกับตำแหน่ง 120 องศา โดยเฉพาะที่ 50.5 องศานั้นก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประเทศไทยก็จะมีดาวเทียมไทยคม 6 อีกหนึ่งดวง ซึ่งคาดว่าน่าจะเพียงพอต่อความต้องการในระยะสั้น สำหรับการวางแผน    ระยะยาว กระทรวงฯ ได้มอบหมายให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม ไปดำเนินการศึกษาแนวทางการใช้และรักษาสิทธิวงโคจรทั้ง 4 ตำแหน่งดังกล่าว โดยเฉพาะในตำแหน่งวงโคจรที่ 120 องศานั้น ขอให้ดำเนินการแล้วเสร็จก่อนการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เพื่อให้สามารถนำเสนอแนวทางการดำเนินการแก่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณาได้ทันที

“ขณะนี้เหลือเวลาในการดำเนินงานเรื่องนี้น้อยมาก จึงต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการรักษาตำแหน่ง          วงโคจร ทั้งหมดไว้ให้ได้   โดยเฉพาะ กสทช. ควรให้ความร่วมมือกับกระทรวงฯ เนื่องจากในอนาคตความถี่ดาวเทียมก็จะอยู่ในการ    ดูแล ของ กสทช. ตามอำนาจหน้าที่ ส่วนวงโคจรเพื่อใช้วางดาวเทียมยังคงเป็นของรัฐบาลตามกฎหมายระหว่างประเทศด้านอวกาศ”    นางจีราวรรณ กล่าว

View :1498

ก.ไอซีที เดินหน้าผลักดันนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ สานฝันให้ประชาชนไทย 95 % ได้ใช้บรอดแบนด์ ใน 10 ปี

June 16th, 2011 No comments

นางจีราวรรณ   บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า ภายใต้กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ.2554 – 2563 ได้มีการกำหนดนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติขึ้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนและใช้เป็นกรอบในการดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาบริการบรอดแบนด์   โดยที่ภาครัฐมีบทบาทเป็นผู้กำหนดนโยบายและสนับสนุนให้มีการใช้บริการบรอดแบนด์อย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน รวมทั้งส่งเสริมให้ภาคเอกชนและประชาชนร่วมดำเนินการไปสู่ความสำเร็จ โดยการตั้งองค์กรอิสระตามกฎหมายทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม

“นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ เป็นนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนการพัฒนาบริการโทรคมนาคมพื้นฐานของประเทศให้สอดคล้องกับสถานการณ์ธุรกิจโทรคมนาคมในปัจจุบันและทิศทางในอนาคต ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศ จึงจำเป็นที่กระทรวงฯ จะต้องวางแผนดำเนินงานผลักดันนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ด้วยการจัดทำโครงการจัดทำแผนดำเนินงานเพื่อผลักดันนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อมูลและแนวทางพื้นฐานในการผลักดันนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติให้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งเพื่อจัดทำรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงาน” นางจีราวรรณ กล่าว

สำหรับการดำเนินโครงการฯ นี้ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Demand Side และ Supply Side ในด้าน Demand Side จะดำเนินการวิเคราะห์ว่าภาครัฐจะมีรูปแบบการใช้งานที่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างไร และต้องใช้เงินงบประมาณในการดำเนินการเท่าไร แล้วจัดทำเป็นแผนบูรณาการงบประมาณของกระทรวงต่างๆ ในการใช้โครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ และแผนการดำเนินงานในภาพกว้าง ( High-level) ของการใช้ประโยชน์โครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติโดยภาครัฐ   ส่วนด้าน Supply Side จะดำเนินการจัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะของรูปแบบธุรกิจ ( Business Model) ของหน่วยงานบรอดแบนด์แห่งชาติ ทั้งโครงสร้าง รูปแบบการดำเนินงาน แนวทางการลงทุน และจัดทำแผนแม่บทด้าน Supply Side ของโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติ ระยะเวลา 5 ปี ซึ่งจะมีทั้งแผนการขยายโครงข่ายในภาพกว้าง ( High-level) แผนการลงทุนและแผนการจัดหาเงินทุน เงินงบประมาณในการดำเนินโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติ ตลอดจนแผนการร่วมใช้สินทรัพย์โครงข่ายของประเทศไทย

“เป้าหมายสำคัญประการแรกของนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ   ก็คือ การพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ให้ครอบคลุมประชากรได้ไม่น้อยกว่า 80% ใน 5 ปี และ 95% ใน 10 ปี ซึ่งจะทำอย่างไรที่จะให้สามารถเข้าถึงครัวเรือนของประชาชนได้ตามแผนฯ รวมทั้ง         ทำอย่างไรให้สามารถที่จะเกิดบรอดแบนด์ราคาถูกบนเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุด หรือทำอย่างไรที่จะให้ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมไอซีทีได้เข้ามามีส่วนร่วมได้มากที่สุด ดังนั้น จึงต้องมีการจัดทำแผนดำเนินงานเพื่อผลักดันนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ทั้งในส่วนของ Demand side และ Supply side นี้ขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างรวดเร็ว สามารถบรรลุเป้าหมายหลักของนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ คือ ต้องการให้คนไทยเข้าถึงไอซีทีได้อย่างเท่าเทียม และทั่วถึงกัน ทั้งนี้ เพื่อนำความเจริญ รวมถึงลดความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงบรอดแบนด์ให้กับประชาชน” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1385

ก.ไอซีที นำหน่วยงานรัฐ-เอกชนไทยร่วมทดสอบ IPv 6 พร้อมทั่วโลก เพื่อก้าวสู่จุดเปลี่ยน IPv 6 ของประเทศ

June 8th, 2011 No comments

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร   เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนา “ ก้าวสู่จุดเปลี่ยน IPv 6 ประเทศไทย ” ว่า หลังจากกระทรวงไอซีที ได้ประกาศนำประเทศไทยสู่ IPv 6 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2554 โดยมีสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานนำร่อง   และมีรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวงฯ ได้แก่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ร่วมดำเนินการในเรื่องนี้แล้ว กระทรวงฯ ได้เดินหน้านำประเทศไทยเริ่มการเปลี่ยนผ่านไปสู่   IPv 6 โดยการร่วมกิจกรรมในวันสำคัญของโลกอินเทอร์เน็ต คือ World IPv 6 Day ซึ่งทั่วโลกได้พร้อมใจกันทดสอบการใช้งาน IPv 4 และ IPv 6 ร่วมกัน ทั้งหน่วยงานจากภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา รวมถึงเว็บไซต์ต่างๆ อาทิ Google ,   Facebook . Yahoo และผู้ให้บริการอื่นๆ จากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้เข้าร่วมการทดสอบใช้งานจริงอย่างเต็มรูปแบบในวันนี้ (8 มิ.ย.54) เพื่อทำการทดสอบและตรวจสอบว่าการใช้งานร่วมกันระหว่าง IPv 4   และ IPv 6 จะมีผลกระทบหรือมีปัญหาใดบ้าง เมื่อต้องรองรับข้อมูลอินเทอร์เน็ตพร้อมกันทั้งโลก เพื่อจะได้สามารถเตรียมการในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงไปสู่เทคโนโลยี IPv 6 ต่อไปในอนาคต

“การวางแผนเพื่อเตรียมตัวและดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อการใช้งาน IPv 6 ภายในปี 2554 และปี 2555 เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการ เพื่อให้ธุรกิจและบริการสามารถดำเนินต่อไปในอนาคตได้ ซึ่งถือเป็นการ   upgrade   อินเทอร์เน็ตครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า     30 ปี อย่างไรก็ตาม การดำเนินการเพื่อให้ได้ผลที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีการเตรียมการ มีการวางแผนในเรื่องการลงทุนและระยะเวลาที่ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดการเร่งดำเนินการหรือต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน ซึ่งจะทำให้มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น การวางแผนเพื่อการย้ายและการใช้งาน IPv 6 เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญต่อการขยายตัวอย่างมั่นคงของอินเทอร์เน็ต รวมถึงต่อวงการ ICT   ซึ่งไม่ใช่เฉพาะกับผู้ใช้งานในสำนักงานหรือระดับองค์กรเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผู้ใช้งานส่วนบุคคลอีกด้วย” นายธานีรัตน์ กล่าว

นอกจากการร่วมทดสอบการใช้งาน IPv 4 และ IPv 6 แล้ว กระทรวงฯ ยังได้ร่วมกับสมาคมไอพีวี 6 ประเทศไทย ( IPv 6 Forum Thailand) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดการประชุมสัมมนาเรื่อง “ ก้าวสู่จุดเปลี่ยน IPv 6 ประเทศไทย ” ขึ้น   เพื่อสร้างความตระหนัก ความรู้ และความเข้าใจในการเตรียมแผนความพร้อมให้แก่ผู้ใช้งานและผู้ประกอบการในประเทศ ซึ่งงานนี้จะมีการบรรยายและเสวนาเพื่อนำเสนอแผนรับมือและการเตรียมศักยภาพและความพร้อมด้าน IPv 6 ของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนของประเทศไทย ตลอดจนมีการนำเสนอนิทรรศการแสดงการเชื่อมต่อเครือข่ายและการใช้งานกับเครือข่าย IPv 6 ที่ร่วมทดสอบใน World IPv 6 Day ด้วย

“การสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของแผนรับมือการเปลี่ยนสู่ IPv 6 ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพื่อร่วมทดสอบและตรวจสอบการใช้งานจริงอย่างเต็มรูปแบบร่วมกันระหว่าง IPv 4 และ IPv 6 ของประเทศไทย และศึกษาถึงผลกระทบหรือปัญหาที่จะเกิดขึ้นเมื่อต้องรองรับข้อมูลอินเทอร์เน็ตพร้อมกันทั้งโลก นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนต่อการดำเนินนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ในการขยายโอกาสการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างทั่วถึง ตามเป้าหมายการขยายจำนวนผู้ใช้งานอีกกว่า 40 ล้านคน จากเป้าหมายร้อยละ 85 ของประชากรภายใน 3 ถึง 4 ปีข้างหน้า ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยหมายเลขอินเทอร์เน็ตและการเชื่อมต่อด้วย IPv 6 โดยกระทรวงฯ ได้เชิญผู้บริหารระดับสูงและผู้อำนวยการด้านไอทีของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และผู้ประกอบการในภาคธุรกิจด้านไอที   นักวิชาการ และสื่อมวลชน จำนวน 250 คน เข้าร่วมการสัมมนาฯ

การหมดลงของหมายเลข   IPv 4   ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับภูมิภาคเอเชียเป็นภูมิภาคแรกของโลกในเร็วๆ นี้ จะสร้างปัญหาพอสมควร ต่อการขยายตัวของอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหม่ จึงทำให้การใช้งาน IPv 6 เป็นเรื่องเร่งด่วนขึ้น ซึ่งแม้จะมีการเริ่มใช้งานอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ ( NGI : Next Generation Internet ) หรือก็คือ IPv 6 มากว่า 10 ปีแล้ว แต่ก็ได้รับความสนใจ    ในวงจำกัด โดยก่อนหน้านี้ได้มีความพยายามพัฒนาเทคนิคต่างๆ ในการขยายการใช้งานและยืดอายุ   IPv 4 แต่ถึงวันนี้โลกกำลังถึงจุดที่หมายเลข IPv 4 กำลังจะหมดลงอย่างแท้จริง ดังนั้น จึงไม่มีวิธีการแก้ไขปัญหาอื่นใดที่เหมาะสม นอกจากการเปลี่ยนถ่ายสู่การใช้งาน IPv 6 อย่างเดียวเท่านั้น“ นายธานีรัตน์ กล่าว

View :1431

Poll พรบ.คอมพ์ 2550

June 8th, 2011 No comments


 

 

 

 

 

 

 

 

 

View :1853

เสวนา “เปิดนโยบาย ICT ว่าที่รัฐบาลใหม่”

June 8th, 2011 No comments

เสวนา “เปิดนโยบาย ICT ว่าที่รัฐบาลใหม่”

จัดโดยชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมกับ เครือข่ายพลเมืองเน็ต

กำหนดการ

วันพุธที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ เวลา ๙.๓๐ – ๑๒.๓๐ น.
ณ ห้องอิศรา อมันตกุล ชั้น ๓ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

๐๙.๓๐ – ๑๐.๐๐ ลงทะเบียน / รับประทานอาหารว่าง

๑๐.๐๐ – ๑๐.๐๕ กล่าวต้อนรับ
โดย คุณอศินา พรวศิน ประธานชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITPC)

๑๐.๐๕ – ๑๐.๑๕ กล่าวถึงความร่วมมือในการจัดงาน
โดย คุณอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ตัวแทนจากเครือข่ายพลเมืองเน็ต

๑๐.๑๕ – ๑๐.๓๐ กล่าวถึงความคาดหวังจากสื่อต่อว่าที่รัฐบาลใหม่
โดย คุณชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
และที่ปรึกษาชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ

๑๐.๓๐ – ๑๒.๐๐ เสวนา “เปิดนโยบาย ICT ว่าที่รัฐบาลใหม่”

ผู้ร่วมเสวนา

คุณคณวัฒน์ วศินสังวร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
นายแพทย์บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์
ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์ ประธานกรรมการนโยบาย ICT มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คุณอดิเรก ปฏิทัศน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI)

ผู้ดำเนินรายการ

คุณณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้ดำเนินรายการ ที่นี่ ไทยพีบีเอส

๑๒.๐๐ – ๑๒.๑๕ เปิดเวทีซักถาม – แลกเปลี่ยนมุมมอง

๑๒.๐๐ – ๑๒.๑๕ มอบของที่ระลึก / ถ่ายภาพร่วมกัน

www.itpc.or.th

View :1614

ก.ไอซีที เร่งสร้างวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์ เพื่อขยายเครือข่ายอาสาสมัคร Cyber Scout

June 6th, 2011 No comments

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์ ภายใต้โครงการสร้างลูกเสือบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ( Cyber Scout) ว่า หลังจากกระทรวงฯ ได้จัดทำโครงการสร้างลูกเสือบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อสร้างอาสาสมัคร   Cyber Scout ให้มีจิตสำนึกด้านจริยธรรม คุณธรรม ในการใช้ ICT การเรียนรู้   ICT อย่างสร้างสรรค์ การป้องกันตนเองจากพิษภัยไซเบอร์ และความปลอดภัยในโลกออนไลน์ รวมทั้งเพื่อขยายเครือข่ายอาสาสมัคร Cyber Scout ให้เป็นเครือข่ายทางสังคมที่สนับสนุนความรักความสามัคคีภายในชาติ โดยอาสาสมัคร Cyber Scout จะเป็นเสมือนตัวแทนของสังคมไทยที่คอยเฝ้าระวังหรือสอดส่องพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งการสร้างอาสาสมัคร Cyber Scout นี้มีกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มเยาวชน นักเรียนและนักศึกษา

ดังนั้น เพื่อให้การอบรมและขยายเครือข่ายอาสาสมัคร Cyber Scout เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล จึงจำเป็นต้องมีแกนนำลูกเสือไซเบอร์ เพื่อทำหน้าที่ในการฝึกอบรมให้ความรู้ ประสานงาน และให้คำปรึกษา ตลอดจนขยายเครือข่ายของอาสาสมัคร Cyber Scout กระทรวงฯ จึงได้จัดการอบรมวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานระบบความปลอดภัย และการป้องกันภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต ตลอดจนการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่และแนวทางการขยายผลของวิทยากรแกนนำในการสร้างอาสาสมัคร Cyber Scout ที่มีเป้าหมายในการขยายผลให้ได้ 100,000 คน       ทั่วประเทศในระยะเวลาหนึ่งปี

“การจัดการอบรมวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์ครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมอบรมเป็นครูจากในโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในพื้นที่ภาคกลาง จำนวน 150 คน โดยมีวิทยากรจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นผู้อบรมให้ความรู้ ซึ่งการอบรม   นั้นใช้ระบบลูกเสือที่เน้นการสร้างความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ และการทำงานเป็นทีม   มาผสมผสานกับการจัดการอบรมเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับการใช้งานระบบความปลอดภัย และการป้องกันภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต โดยใช้ระยะเวลาในการจัดอบรม 2 วัน

กระทรวงฯ มุ่งหวังว่า วิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์ ที่เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ จะมีความตระหนักในบทบาท หน้าที่และเข้าใจถึงแนวทางการขยายผลในการสร้างอาสาสมัคร Cyber Scout ตลอดจนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานระบบความปลอดภัย และการป้องกันภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต   เพื่อให้สามารถสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมและสร้างสรรค์ให้กับนักเรียนที่จะเป็นลูกเสือไซเบอร์   ซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันอันสำคัญที่จะป้องกันมิให้นักเรียนซึ่งเป็นเยาวชนของชาติ ได้รับผลกระทบในทางที่ไม่ดีจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต และลูกเสือไซเบอร์ยังสามารถช่วยแนะนำเพื่อนๆ ผู้ปกครอง หรือบุคคลใกล้ชิดให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตถูกวิธี อันจะนำมาซึ่งสังคมออนไลน์ที่สะอาด   สร้างสรรค์   และมีวิจารณญาณต่อไป” นายธานีรัตน์ กล่าว

View :1549

ก.ไอซีที เดินหน้าให้ความรู้ความเข้าใจ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

June 6th, 2011 No comments

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยในการแถลงข่าวการจัดอบรมโครงการให้ความรู้ความเข้าใจ “ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ” ว่า ภายหลังจากที่กระทรวงฯ ได้     ลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการกับ 5 สถาบันการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยศรีปทุม ในการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมให้ความรู้ความเข้าใจ “ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ” เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในกฎหมายฉบับนี้   ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกที่ดีในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างถูกต้องไปตั้งแต่ปี 2552 และได้มีการจัดประชุมทางวิชาการในเรื่องหลักสูตรการฝึกอบรมต่างๆ ที่จะนำไปเผยแพร่ต่อประชาชนในทุกภาคส่วนให้ครอบคลุมทั่วประเทศในเดือนพฤศจิกายน 2552 ที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งมีผู้เข้าอบรมจำนวนทั้งสิ้น 302   คน มีการประเมินผลการอบรมดังกล่าวไว้ในระดับดีมาก

ดร.ธนชาติ ประทุมสวัสดิ์ กรรมการโครงการฯ

“การจัดอบรมโครงการให้ความรู้ความเข้าใจ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ครั้งแรกนั้น ได้รับความสนใจเป็นอย่างดี และมีผู้ที่แจ้งความประสงค์เข้าร่วมการอบรมฯ มากกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ คือ 250 คน ดังนั้น ในปีนี้ กระทรวงฯ จึงจะจัดการฝึกอบรมขึ้นอีกครั้งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ในวันที่ 4 – 6 กรกฎาคม 2554 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ วิทยากรขององค์กรต่างๆ และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จำนวน 250 คน เพื่อให้เป็นผู้แทนไปเผยแพร่แก่บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งการอบรมจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ การอบรมภาคทฤษฎี และการอบรมภาคปฏิบัติ” นายธานีรัตน์ กล่าว

สำหรับความคืบหน้าเกี่ยวกับความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาต่างๆ นั้น มีมหาวิทยาลัยที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มเติม ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก วิทยาลัยทองสุข มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รวมทั้งได้มีภาคประชาชนให้ความสนใจเข้ามาร่วมโครงการฯ ในลักษณะของอาสาสมัครภาคประชาชน คือ องค์การความมั่นคงทางอินเทอร์เน็ต

“การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงไอซีที ที่ต้องดำเนินการเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนอันเนื่องจากการไม่รู้ ไม่เข้าใจในกฎหมาย   นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังมีหน้าที่ในการขยายเครือข่ายภาคีความร่วมมือกับสถาบันต่างๆ ในการเผยแพร่ความรู้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมฯ ให้แก่ประชาชนไปในวงกว้างและทั่วถึงในทุกภาคส่วนของสังคม โดยมีกระทรวงฯ เป็นศูนย์กลางในการอำนวยความสะดวกให้แก่ภาคประชาชนในการขยายเครือข่ายดังกล่าว อันจะนำมาซึ่งความมั่นคง ปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตของประเทศ และถ้าประชาชนมีความมั่นใจในการใช้อินเทอร์เน็ตก็จะก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ อีกมากมายมหาศาล” นายธานีรัตน์ กล่าว

View :2832

ก.ไอซีที ชวนคนไทยร่วมคิดร่วมร่างกฎหมายไทยผ่าน www.law.go.th

June 3rd, 2011 No comments

นางจีราวรรณ   บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริม การมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้ และสนับสนุนให้เกิดความโปร่งใส รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน   เกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กระทรวงไอซีที จึงได้ร่วมกับ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดทำเว็บไซต์ที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า www.lawamendment.go.th และได้กำหนดชื่อให้สามารถเข้าถึงได้สะดวก คือ   www.law.go.th เพื่อรวบรวมกฎหมายปัจจุบัน และนำเสนอร่างกฎหมายใหม่เพื่อขอรับฟังความคิดเห็นผ่านระบบอินเทอร์เน็ตขึ้น

“การรวบรวมกฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบันนั้น ทำให้เกิดฐานข้อมูลหลักทางด้านกฎหมายของไทย และยังเกิดเป็นห้องสมุดกฎหมายออนไลน์ เพื่อให้นักวิชาการ นักศึกษาด้านกฎหมาย และประชาชนทั่วไปได้เข้ามาสืบค้นข้อมูลรายละเอียดของกฎหมายที่ต้องการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้อีกด้วย นอกจากนั้นเว็บไซต์นี้ยังจัดให้มี web board ที่ประชาชนทั่วไปสามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะหรือความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ซึ่งการรับฟังความคิดเห็นทางด้านกฎหมายไทยนี้จะเป็นประโยชน์ทั้งแก่ภาครัฐ รวมถึงภาคประชาชน และเพื่อให้คนไทยทุกคนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงกฎหมายไทย อันจะเป็นประโยชน์   สูงสุดแก่ประเทศชาติ จึงขอเชิญชวนประชาชนคนไทยร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดการทำงานที่โปร่งใสได้ที่เว็บไซต์ดังกล่าว” นางจีราวรรณ กล่าว

สำหรับเว็บไซต์ www.law.go.th นี้ได้รองรับข้อมูลด้านกฎหมายจาก 20 กระทรวง และ 9 หน่วยงานอิสระ โดยปัจจุบันมีจำนวนกฎหมายที่รวบรวมไว้ทั้งสิ้น 831 ฉบับ แยกเป็นกฎหมายที่บังคับอยู่ก่อนแล้ว 684 ฉบับ และเป็นร่างกฎหมายใหม่ 147 ฉบับ    ซึ่งเว็บไซต์นี้ถือเป็นการบริการแบบอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Service) อีกบริการหนึ่งที่ภาครัฐได้จัดทำขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายต่างๆ ตามหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย

View :1808

ก.ไอซีที เปิดเวทีเสวนา กำหนดนโยบาย Cloud Computing แห่งชาติ

June 3rd, 2011 No comments

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร   เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเสวนาเพื่อกำหนดนโยบาย ว่า ความก้าวหน้าทางวิทยาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร       เป็นตัวเร่งให้ต้องมีการพัฒนาการบริหารจัดการ และบูรณาการบริการภาครัฐสู่ประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น   ซึ่งเทคโนโลยี Cloud Computing นี้จะเป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญในการพัฒนาดังกล่าว ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการเสวนาเพื่อกำหนดนโยบาย Cloud Computing แห่งชาติขึ้น เพื่อร่วมกันแสดงความคิดเห็น และนำไปสู่ข้อสรุปในการกำหนดทิศทางและนโยบายการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ   ตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 ของประเทศไทย (พ.ศ.2552 – 2556)   เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การนำเทคโนโลยี Cloud Computing มาสู่การปฏิบัติ

“การนำเทคโนโลยี Cloud Computing มาใช้ในการปฏิบัติงานนั้น นับเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศไทย แต่ในทางปฏิบัติยังมีความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมน้อยมาก   เนื่องจากบางหน่วยงานยังขาดความรู้ความเข้าใจในตัวระบบหรือการทำงานของระบบ Cloud Computing อย่างชัดเจนเพียงพอ ในขณะที่บางหน่วยงานอาจจะมีความกังวลในด้านความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ซึ่งอาจมีข้อมูลบางอย่างที่ต้องการให้รู้เฉพาะภายในหน่วยงาน โดยปัจจุบันแต่ละหน่วยงานต่างเป็นผู้จัดเก็บกันเอง และยังไม่มีการกำหนดนโยบายในเรื่องดังกล่าวที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมเพื่อใช้เป็นหลักในการปฏิบัติ

ดังนั้น เพื่อให้ภาพการทำงานเป็นไปอย่างชัดเจนมากขึ้น รวมถึงเพื่อให้แน่ใจว่านโยบายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตสามารถตอบสนองและครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้งานให้มากที่สุด กระทรวงฯ จึงได้จัดการเสวนาเพื่อกำหนดนโยบาย Cloud Computing แห่งชาติ ครั้งนี้ขึ้น โดยเชิญผู้แทนจากทุกกระทรวง รวมทั้งผู้แทนจากภาคเอกชน และสมาคมที่เกี่ยวข้อง มาร่วมหารือและนำเสนอความคิดเห็นร่วมกัน” นายธานีรัตน์ กล่าว

สำหรับ Cloud Computing คือการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ Cloud Computing เพื่อให้ซอฟต์แวร์จัดสรรทรัพยากร ทั้งในส่วนของ Hardware, Software และ Network ให้บริการตรงกับความต้องการของผู้ใช้โดยใช้ทรัพยากรอย่างพอเหมาะ โดยมีผู้ให้บริการระบบ Cloud Computing เป็นผู้ลงทุนด้าน Hardware , Server หรือ Storage รวมถึง Network   และเปิดให้ผู้ที่สนใจเช่าใช้บริการระบบดังกล่าว ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานระบบ Cloud Computing สามารถประหยัดงบประมาณการลงทุนเกี่ยวกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ รวมทั้งลดความยุ่งยากในการบำรุงรักษาระบบได้   อีกด้วย

View :1889

ก.ไอซีที ร่วมมือหน่วยงานในสังกัดวางระบบงานเตือนภัยรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ

June 1st, 2011 No comments

นางจีราวรรณ   บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า “ ขณะนี้กระทรวงฯ ได้มอบหมายให้สถิติจังหวัดเป็นผู้แทนกระทรวงไอซีทีในการทำงานด้านการเตือนภัยพิบัติ โดยสำนักงานสถิติจังหวัดจะเป็นศูนย์ประสานงานการสื่อสาร ทั้งในกรณีที่เกิดภัยพิบัติและในกรณีภาวะปกติ รวมทั้งเป็นหน่วยประสานงานกับหน่วยงานในสังกัด ได้แก่ สถานีอุตุนิยมวิทยาในพื้นที่ บมจ.ทีโอที บมจ.กสท โทรคมนาคม   บจ.ไปรษณีย์ไทย และสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า โดยจะต้องมีการกำหนดวิธีดำเนินการหรือวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนและต้องมีความพร้อมตลอดเวลา ทั้งนี้ ได้มอบหมายศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ หรือ ศภช. เร่งรัดการจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อให้สำนักงานสถิติจังหวัดนำไปดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ”

ด้าน นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ การจัดทำคู่มือการ    เตือนภัยในภาวะปกติ นั้น คาดว่าจะเสร็จเรียบร้อยภายในเดือนมิถุนายน 2554 นี้ เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการฝึกซ้อมทั้งระบบ และ ศภช. ยังได้ลงไปในพื้นที่เพื่อทำเป็นต้นแบบที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งในภาวะปกตินี้ สิ่งที่สถิติจังหวัดต้องดำเนินการ คือ ประสานงานกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงไอซีที เพื่อรวบรวมข้อมูลข่าวสารพื้นฐานแจ้งให้กับประชาชนในพื้นที่ และผู้ว่าราชการจังหวัดรับทราบ

สำหรับการดำเนินการในกรณีเกิดภัยพิบัติธรรมชาตินั้น ศภช. จะจัดทำคู่มือการทำงานว่าเมื่อเกิดภัยพิบัติธรรมชาติแล้ว สำนักงานสถิติจังหวัดจะมีหน้าที่อย่างไร ซึ่งหน้าที่หลักจะเป็นเรื่องการประสานเกี่ยวกับระบบสื่อสาร โดยสถิติจังหวัดจะทำหน้าที่ประสานงานกับ ทีโอที กสทฯ และ ไปรษณีย์ไทย เพื่อเป็นเครื่องมือให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดเมื่อเกิดภัยพิบัติ เช่น การประสานงานกับ ทีโอที หรือ กสทฯ กรณีเกิดปัญหาด้านโครงข่ายการสื่อสารในพื้นที่ หรือประสานกับไปรษณีย์ฯ เมื่อต้องการรถขนส่ง เป็นต้น ”

ขณะนี้ กระทรวงไอซีที ได้ลงนามความร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดแล้ว เพื่อให้สามารถใช้เครื่องมือของ ศภช. ได้ในภาวะปกติ โดยต้องกำหนดมาตรฐานการทำงานให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งแจ้งผ่านมายังสำนักงานสถิติจังหวัดด้วย

“ การปฏิบัติงานตามกรอบภารกิจดังกล่าวถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการเตือนภัยพิบัติเป็นเรื่องใหญ่ที่เกี่ยวกับชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชน ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งมากขึ้นนับตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงปลายปี รวมทั้งอาจมีภาวะวิกฤติด้านโครงข่ายการสื่อสารเกิดขึ้นได้อีกด้วย ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้เตรียมความพร้อมให้กับสถิติจังหวัดในการทำหน้าที่เป็นผู้แทนกระทรวงไอซีที ตลอดจนได้มีการปรับปรุงระบบการสื่อสารระหว่างส่วนกลางกับสำนักงานสถิติจังหวัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1466