Archive

Archive for the ‘Cloud Computing’ Category

เดลล์เปิดโซลูชั่นเซ็นเตอร์ในสิงคโปร์ ต่อยอดนวัตกรรมและสร้างการเติบโตในเอเชียแปซิฟิค

July 28th, 2011 No comments

เดลล์ประกาศเปิด (DSC) ในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งถือเป็นศูนย์แห่งแรกในเอเชียใต้ โดยมีมร.พอล-เฮนรี เฟอร์แรนด์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดของ เดลล์ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคทั่วไป และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานของเดลล์เอเชียแปซิฟิค พร้อมด้วยพลเรือตรีรอนนี เทย์ ประธานฝ่ายบริหารของอินโฟคอมม์เดเวลอปเมนต์ออธอริตี้ของสิงคโปร์ (IDA – Infocomm Development Authority of Singapore) ได้ร่วมเปิดตัวโซลูชั่นเซ็นเตอร์ในครั้งนี้ ทั้งนี้ศูนย์ดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในโซลูชั่นเซ็นเตอร์ 12 แห่งที่เดลล์วางแผนเปิดตัวทั่วโลกในปีนี้ และการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีของศูนย์แห่งนี้ได้รับการสนับสนุนจากทางไอดีเอและคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนด้านเศรษฐกิจของสิงคโปร์ (

มร.พอล-เฮนรี กล่าวว่า “การเปิดตัวในวันนี้เป็นการยืนยันถึงการเป็นบริษัทที่มุ่งเน้นเรื่องบริการและโซลูชั่นอย่างแท้จริง และเราพร้อมให้คำมั่นในการนำเสนอโซลูชั่นแบบครบวงจรภายใต้ระบบเปิด มีค่าใช้จ่ายที่คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อช่วยให้ลูกค้าได้รับประโยชน์ทางธุรกิจอย่างสูงสุด”

สิงคโปร์ถือเป็นฐานสำคัญในภูมิภาคทั้งในด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และโซลูชั่นของเดลล์ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 พอล-เฮนรี กล่าวเสริมว่า “ด้วยระบบนิเวศน์ทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจ ความมั่นคงทางด้านการเมือง และโครงสร้างด้านเทคโนโลยีชั้นสูงในประเทศ ช่วยให้เราสามารถนำเสนอประโยชน์ของคลาวด์คอมพิวติ้ง (cloud computing) และโซลูชั่นด้านเทคโนโลยีต่างๆ ให้แก่ลูกค้าของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่น”

มร.โหยว คีต ชวน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ของอีดีบี กล่าวว่า “เรายินดีอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจของเดลล์ในการสร้างเดลล์โซลูชั่นเซ็นเตอร์ในเอเชียใต้ที่สิงคโปร์ ซึ่งการเปิดตัวดังกล่าวเป็นการย้ำถึงภาพลักษณ์ของความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและการสร้างสรรค์ ระบบนิเวศน์ด้านไอทีชั้นเยี่ยมของเราที่แผ่ขยายครอบคลุมทั้งในเรื่องการเงิน สุขภาพ การศึกษา และรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมร่วมผลักดันความต้องการในด้านการออกแบบ พัฒนา และการทำตลาดโซลูชั่นเซิร์ฟเวอร์ระดับองค์กร ระบบจัดเก็บข้อมูล และระบบเครือข่ายของเดลล์ได้อย่างดี”

เดลล์โซลูชั่นเซ็นเตอร์ในสิงคโปร์

เดลล์โซลูชั่นเซ็นเตอร์ในประเทศสิงคโปร์ถือเป็นแหล่งความรู้สำคัญเกี่ยวกับโซลูชันสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ของเดลล์ รวมไปถึงความเชี่ยวชาญทั้งหมด โดยดูแลด้วยทีมผู้ชำนาญการในประเทศ และพร้อมช่วยเหลือลูกค้าในการวางงบประมาณด้านเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถจัดการกับโครงสร้างระบบไอทีได้ด้วยต้นทุนที่ประหยัดกว่า และผลักดันการนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางธุรกิจ


โซลูชั่นเซ็นเตอร์แห่งนี้ประกอบไปด้วยห้องปฏิบัติการระดับโลกและระบบเครือข่ายระดับโลกที่มีความปลอดภัย ซึ่งถูกวางโครงสร้างมาอย่างเป็นระบบ และมุ่งเน้นในการช่วยเหลือลูกค้าเพื่อลดความเสี่ยงด้านการลงทุนเกี่ยวกับระบบไอทีโดยเฉพาะ เช่น:

· ให้ข้อมูลและสาธิตโซลูชั่นต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ลูกค้า

· ช่วยเหลือในการออกแบบสถาปัตยกรรมระบบเพื่อนำเสนอโซลูชั่นที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า

· เป็นศูนย์ทดสอบและยืนยันวิธีการในการทำงานว่าสามารถใช้ได้จริง

· ให้การสนับสนุนโซลูชั่นทั่วไปและแบบเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม

เดลล์โซลูชั่นเซ็นเตอร์ที่สิงคโปร์ พร้อมนำเสนอโซลูชั่นหลากหลายที่ครบวงจร อันประกอบไปด้วย:

· โซลูชั่นระบบประมวลผลยุคหน้า (Next Generation Computing Solutions) อย่างเช่น vStart และ Virtual Integrated System (VIS) เพื่อช่วยให้การติดตั้งระบบทำได้เร็วขึ้น และลดความซับซ้อนของเวอร์ชวลไลเซชั่น

· ระบบจัดการข้อมูลแบบอัจฉริยะ (Intelligent Data Management) ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีด้านระบบสตอเรจและการจัดลำดับชั้นความสำคัญของข้อมูล เพื่อปรับปรุงระบบจัดเก็บข้อมูลและสนองตอบต่อกฎเกณฑ์ด้านคอมไพลเอนซ์ ทั้งยังช่วยลดอุปสรรคด้านการออกแบบ ติดตั้ง และการจัดการระหว่างใช้งาน

· ระบบประมวลผลสำหรับผู้ใช้ (End-User Computing) ซึ่งรวมถึงโซลูชั่นด้านเดสก์ทอปเวอร์ชวลไลเซชั่นและโซลูชั่นด้านการจัดการต่างๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายและรองรับการดูแลอุปกรณ์ประมวลผลฝั่งผู้ใช้ได้อย่างปลอดภัย

· โซลูชั่นระดับองค์กร (Enterprise Solutions) นำเสนอความล้ำหน้าของ KACE, Compellent และ EqualLogic จากเดลล์

· โซลูชั่นเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม (Vertical Solutions) เช่น Dell Connected Classroom สำหรับภาคการศึกษา และโซลูชั่นสำหรับธุรกิจค้าปลีก

สำหรับโซลูชั่นเซ็นเตอร์ในสิงคโปร์ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการลงทุนมูลค่ากว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั่วโลก เพื่อนำเสนอโซลูชั่นและบริการทางด้านเทคโนโลยีของเดลล์ ซึ่งได้ประกาศไปก่อนหน้านี้ เพื่อช่วยเสริมนวัตกรรมและขับเคลื่อนธุรกิจของลูกค้าในโลกยุคเวอร์ชวล

มร.ไซมอน พิฟ ผู้ช่วยรองประธาน ฝ่ายงานวิจัยด้านโครงสร้างระดับองค์กร ของไอดีซี เอเชียแปซิฟิค กล่าวว่า “เป็นที่ทราบกันดีว่าการล้มหายตายจากหรือการควบรวมนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำในอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี และนั่นทำให้แนวคิดของการพึ่งพาผู้ค้ารายเดียวเป็นเรื่องที่ไม่ยั่งยืน” “ในขณะที่บริษัทกำลังมุ่งเข้าสู่สถาปัตยกรรมยุคหน้า ลูกค้าเองก็ต้องการความมั่นใจในการผสานระบบที่มีอยู่เดิมเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจใหม่ที่ตระหนักดีว่าโครงสร้างระบบที่ใช้งานจำเป็นต้องรองรับความหลากหลายได้อย่างดี เพราะเทคโนโลยีของวันนี้จะกลายเป็นสิ่งที่ล้าสมัยในวันพรุ่งนี้ได้ไม่ยาก”

มร.รูพอล ชาห์ ผู้อำนวยการฝ่ายขายและพัฒนาธุรกิจระดับภูมิภาค อินเทล เอเชียแปซิฟิค กล่าวว่า “ความร่วมมืออันยาวนานระหว่างอินเทลและเดลล์ ได้สร้างรากฐานนวัตกรรมและพัฒนาการของระบบประมวลผลในหลายด้าน” ถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่เราได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชั่นเซ็นเตอร์ในเอเชียใต้ ในฐานะการเป็นพาร์ทเนอร์ด้านเทคโนโลยี และเราพร้อมที่จะร่วมนำเสนอโซลูชั่นและบริการที่ทันสมัยให้แก่ลูกค้าของเดลล์ในเอเชียสืบไป”

มร.ฮิเทช ปราจาพาติ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายช่องทางธุรกิจและพัฒนาตลาด อีเมอร์สัน เน็ตเวิร์ก พาวเวอร์ เอเชีย กล่าวว่า “การเปิดตัวอย่างเป็นทางการของโซลูชั่นเซ็นเตอร์จากเดลล์ในสิงคโปร์ ถือเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นในการเพิ่มโอกาสให้แก่ธุรกิจต่างๆ ในการปรับปรุงศักยภาพ บรรลุเป้าหมายด้านประสิทธิภาพ และรองรับปริมาณการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นได้ ซึ่งล้วนเป็นจุดมุ่งหมายเดียวกันกับของ อีเมอร์สัน เน็ตเวิร์ก พาวเวอร์ ทั้งนี้ การร่วมมือกันระหว่างสองบริษัทอันยาวนาน เราได้ช่วยธุรกิจในการรับมือกับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางด้านไอที และแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติรวมไปถึงกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เหมาะสม ทั้งนี้ เทคโนโลยีที่แสดงในเดลล์โซลูชั่นเซ็นเตอร์ถือเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของโซลูชั่นต่างๆ ที่พร้อมตอบโจทย์ทางธุรกิจ ไม่เฉพาะเพียงแค่ในสิงคโปร์ แต่รวมไปถึงประเทศอื่นๆ ในเอเชียด้วย”

มร.อลิซอน คัว ซีอีโอของ เอเอ็มทีไอ ฟิลิปปินส์ กล่าวว่า “เดลล์โซลูชั่นเซ็นเตอร์ถือเป็นศูนย์รวมขนาดใหญ่ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงโซลูชั่นได้จริงก่อนตัดสินใจใช้งาน ช่วยเพิ่มความมั่นใจเมื่อต้องลงทุนในด้านดังกล่าว และถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ที่สำคัญอย่างยิ่ง การขยายตัวของเครือข่ายเดลล์โซลูชั่นเซ็นเตอร์ จะช่วยตอบโจทย์ด้านไอทีให้แก่ลูกค้าของเอเอ็มทีไอทั่วโลก ด้วยโซลูชั่นที่ครอบคลุม ทันสมัย และรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตและประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมาย”

มร.แช ยิว ชวน ผู้บริหารฝ่ายจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ของ เนชันแนลเซอร์วิสรีสอร์ทแอนด์คันทรีคลับ (NSRCC) กล่าวว่า “เวิร์กชอปเกี่ยวกับเวอร์ชวลไลเซชั่นสำหรับธุรกิจขนาดกลาง ทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับระบบเวอร์ชวลไลเซชั่น ที่จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อเอ็นเอสอาร์ซีซี ทั้งนี้การได้สัมผัสกับโซลูชั่นดังกล่าวที่เดลล์โซลูชั่นเซ็นเตอร์ เปิดโอกาสให้ได้รู้จักกับฟังก์ชั่นหลักและประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่จะได้รับหากมีการติดตั้งโซลูชั่นใหม่ หรือปรับปรุงโซลูชั่นเดิมที่มีอยู่ เรียกว่าเราได้ประโยชน์จากฟังก์ชั่นต่างๆ ของโซลูชั่นเซ็นเตอร์ระดับมืออาชีพ และเข้าใจในองค์ประกอบสำคัญๆ ทั้งหมด ต้องบอกว่าโซลูชั่นเซ็นเตอร์ในสิงคโปร์แห่งนี้ถูกออกแบบมาได้ดีอย่างยิ่ง”

View :1980

เอ็นอีซี จัดระบบคลาวด์ เซอร์วิส ให้นิคมฯ อมตะ สร้างขุมกำลังระบบไอที

July 14th, 2011 No comments

บริษัท เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทในเครือ เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น ผู้นำด้านธุรกิจซอฟท์แวร์และแอพพลิเคชั่นยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่น ลงนามในข้อตกลงที่จะให้บริการระบบสายผลิตภัณฑ์แอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ในรูปแบบการบริการ หรือ Software-as-a-Service (SaaS) แบบ คลาวด์ เซอร์วิส () กับบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) โดยมีกำหนดจะเริ่มระบบใหม่กลางเดือนกรกฎาคมนี้

บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) เป็นเจ้าของนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครและนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ซึ่งมีพื้นที่รวมกันกว่า 28,750 ไร่ มีบริษัทและโรงงานในนิคมฯ ประมาณ 650 แห่ง ทั้งนี้ เอ็นอีซี จะให้บริการแอพพลิเคชั่นด้านการประชุมผ่านเวปเบส การทำงานเป็นกลุ่ม งานฝ่ายบุคคล รวมถึงการบริหารการจ่ายเงินเดือนและค่าเช่าจากผู้ใช้ที่ดินในนิคมฯ

ในปัจจุบัน อมตะฯ เป็นผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคพื้นฐาน  เอ็นอีซี เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระบบ PBX, ระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเซิร์ฟเวอร์ และระบบ ERP ให้กับบริษัทในนิคมฯ อมตะ ซึ่งจากความร่วมมือนี้ อมตะ คอร์ปอเรชัน สามารถขยายการให้บริการแบบ คลาวด์ เซอร์วิส กับบริษัทในนิคมฯได้เพิ่มขึ้นและ เป็นการเพิ่มช่องทางธุรกิจการขายการอีกทางหนึ่งสำหรับบริการคลาว์ เซอร์วิสของเอ็นอีซี อีกด้วย

ทั้งนี้ เอ็นอีซี วางแผนที่จะให้บริการ SaaS รวมถึงแอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ให้กับ 30 บริษัทในนิคมฯ ในช่วงปีแรก และมีแผนจะขยายการให้บริการอื่นๆ อีก อาทิ ฮาร์ดแวร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ สตอเรจ และระบบเครือข่ายที่นำเสนอในรูปแบบของบริการ หรือ Infrastructure as a Service (IaaS), บริการระบบเดสก์ท็อปและแอพพลิเคชันที่ไม่ยึดติดกับอุปกรณ์ หรือ Desktop as a Service (DaaS) และ แพลตฟอร์มสำหรับการพัฒนาและปรับใช้แอพพลิเคชั่นที่นำเสนอในรูปแบบของบริการ หรือ Platform as a Service (PaaS) เป็นต้น

ที่ผ่านมา มีผู้ประกอบธุรกิจจำนวนมากให้ความสนใจในระบบคลาวด์ เซอร์วิส รวมถึง SaaS ด้วย เพราะต่างต้องการที่จะลดต้นทุนในการเป็นเจ้าของหรือ Total Cost of Ownership (TCO) ในด้านการลงทุนด้านระบบไอทีขององค์กร และเมื่อดูแนวโน้มจากสภาวะดังกล่าว เอ็นอีซี จึงมีนโยบายส่งเสริมการทำระบบ คลาวด์ โอเรียนเท็ด เซอร์วิส (Cloud Oriented Service) และระบบธุรกิจแบบบูรณาการที่เข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง และด้วยความร่วมมือกับอมตะ คอร์ปอเรชัน ครั้งนี้ สามารถทำให้คลาวด์ เซอร์วิส เป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมในประเทศต่างๆ แถบภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนการขยายธุรกิจให้ครอบคลุมทั่วโลก

View :1708

ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เปิดตัวโซลูชั่นศูนย์ข้อมูลแบบผสานรวมใหม่ (New Converged Data Center Solution – CDCS)

July 6th, 2011 No comments

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชัน หรือ เอชดีเอส ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นนิวยอร์ก: HIT) เปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์โซลูชั่นศูนย์ข้อมูลแบบผสานรวม (Converged Data Center Solutions – CDCS) เป็นครั้งแรก ซึ่งสามารถลดระยะเวลาการนำไปใช้ ตลอดจนทำให้การปรับใช้ระบบคลาวด์เป็นเรื่องง่ายและกระบวนการที่ทำงานแบบอัตโนมัติ ได้รวมพร้อมการปรับแต่ง ของระบบจัดเก็บข้อมูลระดับองค์กรขนาดใหญ่ และ ระบบประมวลผลแบบเบลด จากบริษัท ฮิตาชิ        ที่มาพร้อมด้วยโครงสร้างเครือข่ายที่เป็นมาตรฐาน มาปรับใช้อย่างเหมาะสม ที่ครอบคลุม แอพพลิชั่นต่างๆ ในสภาพแวดล้อมของระบบคลาวด์ ภายใต้การนำระบบไปใช้ที่รวดเร็วขึ้น ขยายระบบได้ภายหลัง และมีกระบวนการเป็นอัตโนมัติ โซลูชั่นใหม่นี้ช่วยให้องค์กรสามารถปรับแต่ง สภาพแวดล้อมแบบคลาวด์ จากสิ่งที่องค์กรมีอยู่ และสามารถคาดการณ์ผลจากการนำไปใช้และความคุ้มค่าได้เร็วขึ้น

Hitachi CDCS จะช่วยวางรากฐานระบบคลาวด์ หรือโครงสร้างพื้นฐานแบบคลาวด์ ด้วยการปรับแต่งระบบของระบบต่างๆมาใช้ร่วมกันได้ อันได้แก่ ระบบจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล และการเครือข่ายการสื่อสารข้อมูล องค์กรหลายแห่งต้องการได้รับประโยชน์จากระบบส่วนตัวภายใต้สภาพแวดล้อมแบบคลาวด์ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นด้วยวิธีใดเนื่องจากมีข้อมูลน้อยมากสำหรับ มาตรฐาน การปรับแต่งเพื่อทำงานรวมกัน และการรับรอง สำหรับการนำใช้งานภายใต้สภาพแวดล้อมคลาวด์ ที่สามารถแสดงผลสำเร็จที่เด่นชัดและเชื่อถือได้ การผสานรวมอุปกรณ์ต่างๆ จาก ระบบจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล และเครือข่ายการสื่อสาร ของ Hitachi CDCS จะนำเอาจุดได้เปรียบที่เด่นชัดของความเชื่อมั่นของอุปกรณ์สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ความรวดเร็วในการปรับใช้ ประสิทธิภาพ และระบบบริหารจัดการ ที่แตกต่างชัดเจนเมื่อเทียบกับโซลูชั่นที่มีการผสานรวมกันอย่างหลวมๆ โดยไม่ได้มีการปรับใช้ให้เหมาะสม นอกจากนี้ โซลูชั่นของฮิตาชิยังให้คำตอบ สำหรับที่องค์กรที่ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับระบบคลาวด์ มีกระบวนการสั่งการและนำไปใช้ที่ง่าย ตลอดจนได้ผลการนำไปใช้ที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับระบบอื่นๆ

นาย จอห์น แมนส์ฟิลด์ รองประธานอาวุโส ส่วนการพัฒนาและยุทธศาสตร์ด้านโซลูชั่นส่วนกลาง บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กล่าว ว่า“บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ให้ความสำคัญกับการทำให้สภาพแวดล้อมระบบคลาวด์ของลูกค้าสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและเป็นเรื่องง่าย ขณะที่ต้องคุ้มค่าต่อการลงทุนด้านไอทีของลูกค้าด้วย” และ “Hitachi CDCSโซลูชั่นใหม่ของเรา ได้รวบรวมเอาเทคโนโลยี ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ของความเชี่ยวชาญ และเชื่อมั่นได้ จาก ระบบจัดเก็บข้อมูลของฮิตาชิ ที่วันนี้ได้มารวมเข้ากับระบบประมวลผล สิ่งนี้จะช่วยให้ลูกค้าของเราสามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานสภาพแวดล้อมแบบคลาวด์ได้โดยง่าย มีต้นทุนที่เหมาะสม และเป็นระบบที่เชื่อถือได้ ลูกค้าของเราสามารถนำเสนอการให้บริการแบบคลาวด์ได้ในแบบที่พวกเขาต้องการและสอดคล้องกับธุรกิจของตนได้มากที่สุด ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว โซลูชั่นเหล่านี้จะช่วยปรับเปลี่ยนศูนย์ข้อมูลเดิมของลูกค้าให้เป็นศูนย์ข้อมูลแบบอัตโนมัติ เพื่อให้เข้าใกล้ความต้องการทางธุรกิจ โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมดได้อย่างคุ้มค่าสูงสุด”

นายริชาร์ด วิลลาร์ส รองประธานฝ่ายกลยุทธ์ระบบจัดเก็บข้อมูลและการบริหารจัดการด้านไอที บริษัท ไอดีซี กล่าว ว่า “ในโลกธุรกิจปัจจุบันที่ต้องพบกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้องค์กรไอทีหลายแห่งมีเวลาน้อยในการกำหนดค่าและจัดการอุปกรณ์หรือแอพพลิเคชั่นแต่ละรายการ อีกทั้งยังจะต้องทุ่มเทเวลามากขึ้นให้กับการพัฒนา นำเสนอ และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับบริการใหม่ๆ บริษัทต่างๆ เช่น บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ซึ่งกำลังนำเสนอโซลูชั่นศูนย์ข้อมูลแบบผสานรวมที่พัฒนาบนรากฐานระบบจัดเก็บข้อมูลที่ยืดหยุ่น เชื่อถือได้ และปรับขนาดได้ จะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งสำหรับความพยายามในการแปรรูปศูนย์ข้อมูลขององค์กร”

ส่วนประกอบโซลูชั่นศูนย์ข้อมูลแบบผสานรวมของฮิตาชิ(CDCS)

Hitachi CDCS solution ได้รวมระบบจัดเก็บข้อมูล ระบบประมวลผล และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล เข้ากับการจัดการซอฟต์แวร์ ทำให้กระบวนการเป็นแบบอัตโนมัติ และปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม สิ่งนี้ทำให้องค์กรสามารถจัดสรรทรัพยากรด้วยตนเองและติดตามการใช้งาน ตลอดจนการนำไปปรับใช้ที่เหมาะสมที่สุดที่ระดับแอพพลิเคชั่น แพลตฟอร์ม ไฮเปอร์ไวเซอร์ และให้ความยืดหยุ่นในการใช้เทคโนโลยีได้ตามต้องการ โดย CDCS ในช่วงเริ่มแรกนั้น จะประกอบด้วย

·       ชุดโซลูชั่นของฮิตาชิพร้อมใช้กับ Microsoft® Hyper-V™ Cloud Fast Track: การผสานรวมของระบบการจัดเก็บข้อมูลและการประมวลผลของฮิตาชิเข้ากับระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล และ Microsoft Windows Server 2008 R2 พร้อมด้วย Hyper-V และ System Center สำหรับโครงสร้างพื้นฐานส่วนตัวในสภาพแวดล้อมแบบคลาวด์ที่มีประสิทธิภาพสูง ที่จะนำไปสู่การทำให้กระบวนการแบบอัตโนมัติ และ การบริหารจัดการแบบทำงานเป็นหนึ่งเดียวของคุณลักษณะ Orchestration

·       Hitachi Converged Platform for Microsoft Exchange 2010: ผลิตภัณฑ์แรก ของ กลุ่ม CDCS สำหรับแอพพลิเคชั่นเฉพาะ ที่มีผ่านการทดสอบล่วงหน้า ถูกออกแบบขึ้นเพื่อให้วิศวกรระบบ สามารถนำไปใช้ที่รวดเร็วและ เข้ากันได้กับคุณสมบัติใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพของ Exchange 2010 ได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่งให้ใช้งานได้ยืดหยุ่นตามต้องการ การคาดการณ์ประสิทธิภาพการทำงานได้ และความสามารถในการปรับขนาดเพิ่มเติมได้อย่างราบรื่น ภายใต้การสนับสนุนจากHitachi Global Services และสะดวกต่อการสั่งซื้อในรูปแพคเกจที่จัดมาพร้อมใช้

Hitachi Unified Compute Platform (UCP): การบริหารจัดการแบบทำงานเป็นหนึ่งเดียวของคุณลักษณะ Orchestration ครอบคลุมทุกขอบเขตของเทคโนโลยี

UCP เป็นกลยุทธ์สำคัญของ ศูนย์ข้อมูลแบบผสานรวม ของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ UCPจะให้การบริหารจัดการแบบทำงานเป็นหนึ่งเดียวและสามารถจัดการร่วมภายในกลุ่มผลิตภัณฑ์โซลูชั่นแบบผสานรวมของฮิตาชิ และด้วยซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการแบบทำงานเป็นหนึ่งเดียวแบบใหม่นี้ ทำให้ UCP สามารถเป็นศูนย์รวมและจัดการบริหารเป็นหนึ่งเดียวกับ เซิร์ฟเวอร์ ระบบจัดเก็บข้อมูล และระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล เสมือน ศูนย์รวมทรัพยากรเชิงธุรกิจ ผ่านอินเทอร์เฟสการใช้งานง่ายที่ครอบคลุม นอกจากนี้ จากการพัฒนาบนระบบอัจฉริยะที่ครอบคลุมขอบเขตเทคโนโลยีต่างๆ ยังได้ให้สภาพแวดล้อมการประมวลผลขนาดใหญ่ที่มีความคล่องตัวในการนำไปใช้ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจ ตลอดจนลดต้นทุนและความเสี่ยงผ่านการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ เป็นแบบอัตโนมัติ ผสานรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน และมีความยืดหยุ่น

Hitachi Compute Blade: อุปกรณ์ประมวลผลพร้อมใช้สำหรับคลาวด์ ที่ยืดหยุ่นในการกำหนดระบบที่จะนำไปใช้งาน

เป็นที่ทราบกันดีว่า บริษัท ฮิตาชิ เป็นผู้จัดหาโซลูชั่นเชิงนวัตกรรมและเชื่อถือได้โดยได้สร้างประโยชน์ที่โดดเด่นให้กับศูนย์ข้อมูลบางแห่งที่มีความซับซ้อนที่สุดในโลกมาแล้ว บริษัท ฮิตาชิ อยู่ในธุรกิจด้านการประมวลผลมาเป็นเวลานานกว่า 50 ปีในรูปของมรดกสืบทอดด้านเมนเฟรม และผลิตภัณฑ์ Hitachi Compute Blade ได้วางจำหน่ายในตลาดญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2547 กลยุทธ์ด้านการประมวผลของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คือการนำเอาเอกลักษณะเฉพาะ เบลดประมวลผลของตน มาผสานรวมฟังก์ชันการทำงานเข้ากับโซลูชั่น CDCSได้อย่างเหมาะสม ซึ่งนำเอาความเชื่อมั่นและประสิทธิภาพ ของอุปกรณ์ระดับองค์กรขนาดใหญ่มาใช้ โดยเมื่อผสานรวมเข้ากับระบบจัดเก็บข้อมูลของฮิตาชิแล้ว Hitachi Compute Blade จะสามารถนำเสนอการประมวลผลที่ผลักดันให้เกิดสภาพแวดล้อมCDCS และโครงสร้างพื้นฐานแบบคลาวด์ของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้อย่างสมบูรณ์

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ นำเสนออุปกรณ์ประมวลผลพร้อมใช้สำหรับระบบคลาวด์ สองชุดที่มีความโดดเด่น ในการให้ความยืดหยุ่นในการกำหนดค่าของระบบอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนสำหรับลูกค้า ทั้งนี้ Hitachi Compute Blade 2000 และ Hitachi Compute Blade 320 มาพร้อมด้วยเทคโนโลยีการแบ่งพาร์ติชันแบบลอจิคัล (LPAR)  เป็นเบลดเซิร์ฟเวอร์ X86 ระดับแนวหน้าขององค์กรใหญ่  ให้ฟังก์ชันการทำงานแบบเมนเฟรม โดยเทคโนโลยี LPAR ของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เป็นคุณสมบัติด้านระบบเสมือนจริงแบบฝังตัวที่ทันสมัย ที่สร้างระบบเสมือนจริงได้ลงบนฮาร์ดแวร์ของเบลดเซิร์ฟเวอร์ เนื่องจากเป็นระบบเสมือนจริงที่ใช้ฮาร์ดแวร์ ทำให้เทคโนโลยี LPAR ให้ความปลอดภัยในระดับที่สูงกว่า ด้วยการแบ่งพาร์ติชันในตัวฮาร์ดแวร์ ที่ยังคงสามารถใช้ร่วมกับเทคโนโลยีระบบเสมือนระดับซอฟต์แวร์ได้ด้วย ซึ่งนั่นจะช่วยให้ลูกค้าสามารถลดค่าใช้จ่ายส่วนเกิน ขณะที่ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการจัดการ ความเชื่อถือได้ และคงประสิทธิภาพ ไปด้วยกัน โดย Hitachi Compute Blade 2000 ที่มี LPAR เป็นเบลดเซิร์ฟเวอร์เดียวที่รวมเอาเทคโนโลยี SMP interconnect แบบเฉพาะที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นด้วยการทำให้ผู้ใช้สามารถกำหนดค่าเบรดหลายชุด ให้ทำงานร่วมกันในแบบระบบเดียวได้

นี้เป็นแพลตฟอร์มเดียวที่สามารถนำเสนอทางเลือกแบบเปิดสำหรับระบบไอทีเพื่อให้เกิดสิ่งดีที่สุดในสภาพแวดล้อมขององค์กร ทำให้ Hitachi Compute Blade สามารถให้เลือก LPAR ที่ทำงานอยู่ในเบลดหนึ่งเบลดใด ไม่ว่าจะใช้ Microsoft Hyper-V หรือ VMware ให้ขยายการทำงานไปยัง เบลด อื่นๆ ภายใต้ Chassis เดียวกันได้

ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากโซลูชั่น Hitachi CDCS

·       ผลของการใช้งาน ที่คาดการณ์ได้ นำมาใช้ซ้ำได้ และเชื่อถือได้: ด้วยสถาปัตกรรมที่สามารถตรวจสอบวัดผลได้ล่วงหน้า โซลูชั่นที่จัดเตรียมไว้ล่วงหน้าด้วยอุปกรณ์ที่ใช้ในระดับองค์กรขนาดใหญ่ เพื่อที่สามารถกำหนดค่าการใช้งานได้ก่อนแบบมีเป้าหมายและครอบคลุม ทำให้แน่ใจได้ถึงผลลัพธ์ที่คาดการณ์ได้และสอดคล้องกันเมื่อองค์กรสร้างโครงสร้างพื้นฐานแบบคลาวด์ของตนขึ้นมา ในระบบนี้ยังมีคำแนะนำ แม่แบบเพื่อเรียกใช้ซ้ำ และกระบวนการทำงานเป็นอัตโนมัติในตัวที่สามารถขยายขีดความสามารถด้านการทำกระบวนการและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นซ้ำอีกได้

·       ระยะเวลาเร็วขึ้นให้เห็นถึงความคุ้มค่า: การนำไปใช้งานที่ง่ายขึ้น เร็วขึ้น จากสั่งงานจากจุดเดียวและการจัดสรรบริการ สำหรับวางแผนและการนำไปใช้จริง สำหรับโซลูชั่นแบบผสานรวมนี้ การกำหนดค่าล่วงหน้าคือกุญแจสำคัญในการช่วยลดเวลาในการนำไปใช้งานได้อย่างมาก กระบวนการทำงานอันชาญฉลาดแบบอัตโนมัติสำหรับขั้นตอนงานที่ซับซ้อน จะช่วยให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างรวดเร็วภายใต้การรับประกันที่วางใจได้ว่าส่วนประกอบของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญจะได้รับการจัดวางและนำไปใช้อย่างเหมาะสม

·       ระบบคลาวด์ในแบบของคุณเอง: ลูกค้าสามารถปรับใช้โครงสร้างพื้นฐานแบบคลาวด์ของตนได้ ณ. ขณะนี้ ด้วยการรวมโซลูชั่นที่แตกต่างกันและแม้แต่ขยายโซลูชั่นเข้าสู่โครงสร้างพื้นฐานไอทีปัจจุบัน โดยโซลูชั่นที่ได้รับการปรับให้เหมาะสมนี้ ใช้ได้กับงานทั่วไป งานที่มีความสำคัญทางธุรกิจ และ แอพพลิเคชั่นเฉพาะ ตลอดจนสภาพแวดล้อมไฮเปอร์ไวเซอร์ที่มีระดับ ของความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน ซึ่งครอบคลุม ตั้งแต่ รูปแบบที่กำหนดเฉพาะไปจนถึงรูปแบบผสมผสานที่ครอบคลุมระบบอื่นๆกว้างขึ้น

ข้อมูลสนับสนุน

·       Avanade: “บริษัท อวานาด ตื่นเต้นอย่างมากที่ได้ทำงานร่วมกับบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ในด้านโซลูชั่น Microsoft Hyper-V Cloud Fast Track เราเห็นว่าโซลูชั่นของฮิตาชิ สามารถตอบสนองสิ่งสำคัญบางอย่างที่องค์กรขนาดใหญ่ต้องการจากแพลตฟอร์มการประมวลผลของเขาได้ นั่นคือความพร้อมใช้งานและมีประสิทธิภาพสูง ด้วยการนำเสนอโซลูชั่นที่ปรับแต่งมาพร้อมการพัฒนามาบน Microsoft Hyper-V Cloud Fast Track ซึ่งทำให้เราสามารถผลักดันธุรกิจได้ทันที จากโซลูชั่นที่ได้ออกแบบและทดสอบล่วงหน้า ที่ปรับแต่งได้ตามความต้องการเฉพาะ เราได้เริ่มเป็นที่มั่นใจให้กับลูกค้าเกี่ยวกับ Workload และลูกค้าต่างพอใจในประสิทธิภาพและความเชื่อถือได้ที่พวกเขาสามารถมองเห็นได้” – แพทริก ซิมพริช รองประธานและหัวหน้าสถาปนิก ฝ่ายโซลูชั่นและเทคโนโลยีส่วนกลาง

·       Brocade : “บริษัท โบรเคด ทุกวันนี้เราช่วยลูกค้าสร้างเครือข่ายของ Fabric-based ซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐานในด้านการสนับสนุนศูนย์ข้อมูลเสมือนและสภาพแวดล้อมแบบคลาวด์ โซลูชั่นศูนย์ข้อมูลแบบผสานรวม(CDCS) ของฮิตาชิจะเข้ามาตอบสนองความต้องการของลูกค้าของเราเพื่อให้เกิดการปรับใช้โครงสร้างพื้นฐานได้อย่างเหมาะสมสำหรับสภาพแวดล้อมแบบคลาวด์และแอพพลิเคชั่นที่หลากหลาย ด้วยการนำเสนอโซลูชั่นที่ทำให้การดำเนินงานเป็นเรื่องง่ายและคุ้มครองการลงทุนได้อย่างครอบคลุม” – เจสัน โนเล็ต รองประธาน ฝ่ายศูนย์ข้อมูลและเครือข่ายองค์กร

·       Jafra: “ลูกค้าเครื่องสำอางและตัวแทนจำหน่ายทั่วโลก 500,000 รายต้องการให้สำนักงานสาขาของเรา “พร้อมให้บริการตลอดเวลา” และเพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด เราจึงวางใจให้บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาด้านไอทีและผู้จัดหาโซลูชั่นให้กับเรา ด้วยความยืดหยุ่นที่ครอบคลุม แบบ End-to-End การแบ่งพาร์ติชันแบบลอจิคัลและความสามารถแบบปรับขนาดได้จาก Hitachi Compute Blade พร้อมด้วยบริการและการสนับสนุนลูกค้าระดับโลกของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ทำให้เราสามารถนำเสนอสภาพแวดล้อมด้านไอทีที่เชื่อถือได้และเพิ่มระดับการบริการ(SLA) ที่มีประสิทธิภาพครอบคลุมสำนักงานที่มีอยู่ทั่วโลกของเรา” – เฟอร์แนนโด เมโรดิโอ ผู้จัดการฝ่ายไอทีส่วนกลาง

·       ไมโครซอฟท์: “ไมโครซอฟท์มีความมุ่งมั่นในการนำเสนอโซลูชั่นระบบคลาวด์แบบส่วนตัว ด้วยการสนับสนุนจากคู่ค้าชั้นนำในอุตสาหกรรม เทคโนโลยีต่างๆ เช่น โซลูชั่นศูนย์ข้อมูลแบบผสานรวม(CDCS) ของฮิตาชิ ที่พัฒนาบน Microsoft System Center, Hyper-V และ Exchange ได้ให้ จุดเริ่มต้นของระบบที่เชื่อมั่นได้ ให้แก่ลูกค้าที่ต้องการเพียงปรับแต่งค่าบางอย่างด้วยตนเองเท่านั้น แต่ยังคงต้องการลดความเสี่ยง รวมไปถึงนำระบบไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว” – ไมค์ ชูทส์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการจัดการผลิตภัณฑ์ระบบเสมือนจริงและเซิร์ฟเวอร์ Windows

View :1752

ทริดี้ เปิดวิสัยทัศน์ระดมความคิด มองทิศทาง แนวโน้มอนาคตของโทรคมนาคม วิทยุโทรทัศน์ กับนักวิชาการภาคการศึกษากว่า 30 มหาวิทยาลัย

July 5th, 2011 No comments

สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หรือ ทริดี้ จัดประชุมระดมความคิด ครั้งที่ 2 หาทิศทางและแนวโน้มในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ข้อคิดเห็น และเป็นแนวทางในการจัดทำแผนการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของประเทศในอนาคต โดยการเปิดเวทีระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆ ในครั้งนี้ ทริดี้เชื่อว่าจะได้ทราบถึงทิศทางและแนวโน้ม  การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง  โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้อง    รวมถึงรับทราบถึงศักยภาพของนักวิจัยไทยในด้านดังกล่าว

โดยการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ถือเป็นการรวมกลุ่มจากภาคการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 30 มหาวิทยาลัย ที่ต้องการหาทางออก ปฏิรูปสื่อในประเทศ ให้เกิดการกระจายในระดับมหภาคอย่างเสรีและมีกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจน พร้อมสู่ภาคประชาชนอย่างแท้จริง

ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หรือ ทริดี้ กล่าวว่า การประชุมระดมความคิดเรื่อง “Road map for Broadcasting and Telecommunications Research & Development ครั้งที่ 2” ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ ทริดี้และสำนักงาน กสทช. มุ่งตรงที่จะได้ทราบถึงทิศทางและแนวโน้มการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง เทคโนโลยีโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง  ทั้งในส่วนของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม   ตลอดจนประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ  เพื่อเป็นแผนการสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา และการส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพร่ภาพกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องของ  และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงาน กสทช.  ตามขอบเขตในภารกิจและการส่งเสริมและสนับสนุนตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553    โดยกิจกรรมในครั้งนี้  ได้รับความร่วมมือจากผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่มีการเรียนการสอนในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น   ซึ่งตอกย้ำถึงความร่วมมืออระหว่าง ทริดี้  สำนักงาน กสทช.  กับสถาบันการศึกษาและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง  ในการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาที่ผ่านมา  และยังมุ่งต่อยอดนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องต่อไปในอนาคตด้วย

ดร.สุพจน์ กล่าวอีกว่า การประชุมครั้งนี้ ยังเผยภารกิจในการดำเนินงานของทริดี้ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม  และการพัฒนาบุคลากรที่ผ่านมา รวมไปถึงทิศทางและแนวโน้มในอนาคต  พร้อมแผนการสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา  การส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพร่ภาพกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง   รวมถึงแผนการพัฒนาบุคลากร   และทราบถึงความพร้อมของสถาบันการศึกษาภายใต้ขอบเขต พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ พ.ศ.2553 เพื่อเป็นการรองรับการแข่งขัน AEC ที่จะมีขึ้นในปี 2015 ซึ่งในครั้งนี้จะมีนักวิจัย รวมถึงผลงานวิจัยในเทคโนโลยีในด้านที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น และสามารถต่อยอดนวัตกรรมเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในอนาคตได้ สามารถช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้นอีกด้วย

“ในการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ ทริดี้เชื่อว่าจะสามารถผลักดันให้เกิดแผนและแนวทางการพัฒนาการวิจัยและพัฒนา  การส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพร่ภาพกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง   รวมถึงแผนการพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพของประเทศ   และในอนาคตเชื่อว่าภาคอุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม วิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์จะเติบโตไปอีกมาก  ซึ่งประเทศที่มีการพัฒนาแล้วจะให้ความสำคัญอย่างจริงจังในส่วนของงานวิจัย บุคลากร และการมองหาทิศทางของผลิตภัณฑ์ ตลาดทั้งในและต่างประเทศ  ดังนั้นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการเริ่มพัฒนาคือภาคการศึกษาที่จะสามารถช่วยให้เกิดบุคลากรคุณภาพ เกิดการใช้ในประเทศ ตลอดจนการส่งออกในต่างประเทศในภาคอุตสาหกรรมดังกล่าว”  ดร.สุพจน์ กล่าวสรุป

มุมมองของภาคการศึกษา “ความคิดเห็นของกลุ่มนักวิชาการในระดับมหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งนี้ มองถึงความสำคัญของการปฎิรูปในอนาคตที่ชัดเจนและจริงจัง สู่ภาคประชาชนอย่าง “รู้ทันสื่อ” โดยโครงของสื่อในอนาคต กลุ่มนักวิชาการมองว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมในอนาคตหากเกิดการแข่งขันที่เสรีมากขึ้น และหากจะเกิดการพัฒนาในประเทศต้องมองถึงการวางโครงสร้างที่แข็งแรง ตลอดจนการร่วมมือกันอย่างมีศักยภาพทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคการศึกษาเอง โดยทั้งหมดต้องร่วมกันผลักดันให้เกิดการพัฒนา และยังมองถึงส่วนของการคุ้มครองผู้บริโภคจากสื่ออีกด้วย ซึ่งในอนาคตหากไม่มีแบบแผนที่ชัดเจนจะเกิดการก่อกวนหรือสร้างปัญหาจากสื่อได้

งานวิจัยถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สำคัญหากที่ผ่านมามีแต่การวางโครงการนำเสนอวิจัย แต่ไม่มีการนำโครงการต่าง ๆ ไปปฏิบัติงานหรือต่อยอด ซึ่งที่ผ่านมาเพิ่งมี ทริดี้ที่สนับสนุนให้นำงานวิจัยไปดำเนินงานต่อยอด แต่ในอนาคตหากเกิดการดำเนินงานในด้านโทรคมนาคม วิทยุโทรทัศน์ที่เสรีมากขึ้น ต้องช่วยกันในหลายภาคส่วนให้นำผลงานต่าง ๆ ไปต่อยอดให้เกิดการใช้งานจริง ซึ่งหากสามารถนำโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ไปปฏิงานได้จริง ไม่เพียงแต่ผลงานจะสะท้อนถึงทิศทางในอนาคต แต่จะเกิดการลดต้นทุนในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เกิดการจ้างงาน และภาครัฐเองต้องมองหาตลาดให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ (ภาคการศึกษา-สนับสนุน วิจัยผลงาน พัฒนาผลงาน, ภาครัฐ-สนับสนุนเงินทุน หาช่องทางตลาด ตลอดจนผลักดันให้เกิดมูงค่าในเชิงพาณิชย์ สร้างมาตรฐานของผลงานที่พัฒนาขึ้นมา, ภาคเอกชน-สนับสนุนการใช้ผลงาน อุปกรณ์ และผลักดันในตลาดทั้งในและต่างประเทศ) หากมองในตลาดปัจจุบันอุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม วิทยุโทรทัศน์ต้องเริ่มที่ พัฒนาความรู้ผลงาน ต่อยอด ใช้เอง และส่งขายตามลำดับ กอปรกับความร่วมมือจากนักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มวิศวะโทรคมนาคม นักวิจัย และลงพื้นที่พัฒนาให้ความรู้ในระดับท้องถิ่น และก้าวสู่การพัฒนาในระดับประเทศในอนาคต

หมายเหตุ :     มาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ.2553 มีบทบัญญัติ ดังนี้ “ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นในสำนักงาน กสทช. เรียกว่า “กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ” โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

(1)    ดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม อย่างทั่วถึง ตลอดจนส่งเสริมชุมชนและสนับสนุนผู้ประกอบกิจการบริการชุมชนตามมาตรา 51

(2)    ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรสื่อสาร การวิจัยและพัฒนาด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อ เทคโนโลยีด้านการใช้คลื่นความถี่ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ หรือผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

(3)    ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการดำเนินการขององค์กร ซึ่งทำหน้าที่จัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมของการประกอบวิชาชีพหรือวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

(4)    สนับสนุน ส่งเสริม และคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

(5)    สนับสนุนการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ โดยจัดสรรเงินให้แก่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์”

View :2132

เทรนด์ ไมโคร เผยรายงานผลสำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีในองค์กร 1,200 ราย ห่วงเรื่องความปลอดภัยและความพร้อมใช้งานบนระบบคลาวด์

June 24th, 2011 No comments

คูเปอร์ติโน, แคลิฟอร์เนีย – 24 มิถุนายน 2554 – บริษัท เทรนด์ ไมโคร อินคอร์ปอเรท (ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว: 4704) ผู้นำระดับโลกด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบคลาวด์ เปิดเผยผลสำรวจผู้เชี่ยวชาญและมีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีในประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี แคนาดา อินเดีย และญี่ปุ่น จำนวน 1,200 ราย เกี่ยวกับความปลอดภัยของระบบคลาวด์ทั่วโลก พบว่าการก้าวเข้าสู่ระบบคลาวด์ขององค์กรนั้นเต็มไปด้วยความไม่ปลอดภัยและความกังวล โดยรวมแล้วให้การยืนยันว่าองค์กรกำลังย้ายระบบเข้าสู่ระบบคลาวด์อย่างรวดเร็ว และกำลังประสบกับปัญหาใหญ่ที่เริ่มก่อตัวขึ้นจากการปรับใช้ระบบใหม่ดังกล่าว แม้ว่าผู้ตอบแบบสำรวจกว่า 10% จะปรับใช้โครงการการประมวลผลแบบคลาวด์แล้วในขณะนี้ แต่ก็มีจำนวนเกือบครึ่งที่เพิ่งกำลังปรับใช้หรือเริ่มทดลองใช้แอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ของระบบคลาวด์ในแบบนำร่อง

แม้ว่าการประมวลผลแบบคลาวด์จะกำลังได้รับการนิยมเพิ่มมากขึ้นในหลายประเทศ แต่ยังคงมีความสับสนเกิดขึ้นในกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ โดยที่บางคนยังไม่รู้ด้วยว่าบริการการประมวลผลแบบคลาวด์คืออะไร เมื่อแสดงรายชื่อบริการการ ประมวลผลแบบคลาวด์ให้ผู้ตอบแบบสำรวจดู พบว่า 93% ระบุว่าพวกเขากำลังใช้บริการดังกล่าวอย่างน้อยหนึ่งรายการ และ 7% ของผู้ตอบแบบสอบถามยังระบุด้วยว่า บริษัทของตนไม่มีแผนที่จะปรับใช้บริการการประมวลผลแบบคลาวด์ ซึ่งเป็นความเห็นที่ขัดแย้งกัน

เดฟ แอสเพรย์ รองประธานด้านการรักษาความปลอดภัยระบบคลาวด์ บริษัท เทรนด์ ไมโคร กล่าวว่า “จากข้อมูลที่เรามีพบว่าแอพพลิเคชั่นแบบคลาวด์จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นในโลกออนไลน์ในอีกสองสามปีข้างหน้านี้ ในขณะที่ 43% ของฐานผู้ใช้เดิมของระบบคลาวด์ประสบปัญหาด้านความปลอดภัยตั้งแต่ปีที่แล้ว และ ที่สำคัญกว่านั้นผู้ตอบแบบสำรวจบางรายยังไม่รู้ว่าพวกเขากำลังใช้ระบบคลาวด์อยู่จึงไม่จำเป็นต้องพูดถึงเรื่องการรักษาความปลอดภัยใดๆ ผลการสำรวจดังกล่าวยังระบุด้วยว่า ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ส่วนใหญ่ไม่ได้เน้นเรื่องการเพิ่มทรัพยากรไอทีเพื่อการรักษาความปลอดภัยที่เพียงพอ ซึ่งจริงๆ แล้วการรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบคลาด์นั้นไม่ใช่เป็นเพียงตัวเลือก แต่มันเป็นสิ่งที่จำเป็น”

ประสิทธิภาพและความพร้อมใช้งานสำคัญไม่แพ้เรื่องความปลอดภัย

แม้ว่าเรื่องความปลอดภัยจะยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการนำระบบคลาวด์มาใช้ แต่องค์กรจำนวนมากในขณะนี้กำลังมองว่าประสิทธิภาพและความพร้อมใช้งานของบริการแบบคลาวด์ก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน จากการสำรวจ พบว่าอุปสรรคสำคัญที่ผู้ตอบแบบสำรวจพบเมื่อนำบริการการประมวลผลแบบคลาวด์เข้ามาใช้ ได้แก่ ความกังวลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลหรือโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ (50%) รวมถึงประสิทธิภาพ และความพร้อมใช้งานของบริการ แบบคลาวด์ (48%)

“ในอดีตความกังวลเรื่องความปลอดภัยถือเป็นอุปสรรคสำคัญอย่างยิ่งในการนำระบบคลาวด์มาใช้งาน แต่ในปัจจุบันประเด็นด้านประสิทธิภาพและความพร้อมใช้งานก็มีอิทธิพลต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีเช่นเดียวกัน ในฐานะ ที่เราได้รับรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ล่าสุดของการละเมิดข้อมูล ทำให้ทราบว่าทุกสิ่งเกี่ยวข้องกันหมด ไม่ว่าจะเป็นระดับความปลอดภัยที่ต่ำมากจนเป็นเหตุให้ระบบหยุดทำงาน เช่นเดียวกับประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง” แอสเพรย์ กล่าว

ข้อมูลในระบบคลาวด์ที่ไม่ได้เข้ารหัสไว้มีความเสี่ยง

เมื่อถึงเวลาที่จะต้องรักษาความปลอดภัยข้อมูลสำคัญที่เก็บไว้ในระบบคลาวด์ องค์กรต่างๆ มักจะหันมาใช้การเข้ารหัสข้อมูล โดย 85% ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่าพวกเขาเข้ารหัสข้อมูลที่เก็บไว้ในระบบคลาวด์ และก่อนที่จะ ผลีผลามนำระบบคลาวด์เข้ามาใช้งานนั้น ในจำนวนกว่าครึ่งของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะพิจารณาว่าผู้ให้บริการระบบคลาวด์ได้รวมเอาที่จัดเก็บข้อมูลแบบเข้ารหัสไว้ในข้อเสนอด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ตามเทคนิคการจัดการ คีย์การเข้ารหัสส่วนใหญ่ที่ใช้ในระบบคลาวด์นั้นมีความเสี่ยง

การจัดการคีย์ด้วยนโยบายเพื่อการควบคุมข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในระบบคลาวด์ที่ดีขึ้น

เทรนด์ ไมโคร ซิเคียว คลาวด์ (™ SecureCloud™) ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว เป็นแพลตฟอร์มความปลอดภัยที่ใช้เทคโนโลยีการจัดการคีย์ด้วยนโยบายที่มีการเข้ารหัสตามมาตรฐานอุตสาหกรรม โดยสามารถ ช่วยองค์กรให้ควบคุมข้อมูลที่เก็บไว้ในระบบคลาวด์แบบสาธารณะ ส่วนตัว หรือแบบผสมได้อย่างครอบคลุม แพลตฟอร์มนี้ช่วยบรรเทาความเสี่ยงที่มีต่อความปลอดภัยของข้อมูล ความเป็นส่วนตัว และการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง กับการปรับใช้ข้อมูลในสภาพแวดล้อมการประมวลผลแบบคลาวด์

ซิเคียว คลาวด์ (SecureCloud) จะช่วยให้องค์กรสามารถปรับใช้ข้อมูลในสภาพแวดล้อมคลาวด์แบบส่วนตัวและแบบสาธารณะได้อย่างง่ายดาย ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถรักษาความปลอดภัยข้อมูลสำคัญได้โดยไม่ต้องติดตั้งโครงสร้าง พื้นฐานจำนวนมากที่มีความซับซ้อนเพิ่มเติม

เทรนด์ ไมโคร พร้อมให้การรักษาความปลอดภัยแก่องค์กรที่ก้าวเข้าสู่ระบบคลาวด์

บริษัท เทรนด์ ไมโคร ทุ่มงบลงทุนเพื่อพัฒนาในกลุ่มผลิตภัณฑ์การป้องกันแบบหลายระดับชั้นสำหรับสภาพแวดล้อมแบบคลาวด์และแบบเสมือน ซึ่งทั้งหมดนี้ออกแบบมาเพื่อดูแลองค์กรให้ก้าวเข้าสู่ระบบคลาวด์ได้อย่างปลอดภัย นอกจาก       ซิเคียว คลาวด์ (SecureCloud) แล้ว ยังมีเทรนด์ ไมโคร ดีพ ซิเคียวริตี้ (Trend Micro™ Deep Security) ที่สามารถป้องกันการขโมยข้อมูลที่จะส่งผลให้ธุรกิจหยุดชะงัก และป้องกันการละเมิดกฎระเบียบด้าน ความปลอดภัยสำหรับ เซิร์ฟเวอร์ ของศูนย์ข้อมูลเสมือนในปัจจุบัน  โดยโซลูชั่นดีพ ซิเคียวริตี้รุ่นล่าสุดได้รวมการป้องกันมัลแวร์แบบไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ (เอเจนต์) การรับรู้ระบบเสมือน และใช้ API ของวีเอ็มแวร์ล่าสุดเพื่อป้องกันเซิร์ฟเวอร์ต่อการละเมิดข้อมูลและ ช่วยให้องค์กร สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบได้ดียิ่งขึ้น

“บริษัท เทรนด์ ไมโคร พร้อมให้การดูแลองค์กรให้ปลอดภัยเมื่อก้าวเข้าสู่ระบบคลาวด์ ชุดโซลูชั่นความปลอดภัยแบบครบวงจรของเรามีความโดดเด่นอย่างมาก เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงสำหรับสภาพแวดล้อมแบบคลาวด์และเสมือน อีกทั้ง ยังมีบริการการจัดการคีย์การเข้ารหัสด้วยนโยบายซึ่งจะรักษาข้อมูลให้ปลอดภัยไม่ว่าจะเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์จริง ระบบเสมือน หรือแม้แต่ระบบคลาวด์แบบสาธารณะก็ตาม” แอสเพรย์ กล่าว

ระเบียบวิธีการสำรวจ

ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีจำนวน 1,200 รายจากประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี แคนาดา อินเดีย และญี่ปุ่น (ผู้ตอบแบบสำรวจมา 6 ประเทศๆ ละ 200 ราย) ได้รับเชิญให้เข้าร่วมตอบแบบสำรวจเกี่ยวกับการประมวลผลแบบคลาวด์ ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้มาจากองค์กรที่มีพนักงานมากกว่า 500 คน และมีหน้าที่ตัดสินใจในการสั่งซื้อบริการการประมวลผลแบบคลาวด์ ระบบเซิร์ฟเวอร์เสมือน หรือโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเดสก์ท็อปเสมือน (Virtual Desktop infrastructure: VDI) เทรนด์ ไมโคร พร้อมให้คำแนะนำที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานก้าวเข้าสู่ระบบคลาวด์ได้อย่างปลอดภัย ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  www.trendmicro.com/cloud.

View :1549