Archive

Posts Tagged ‘สวทช.’

กระทรวงวิทย์ฯ ทุ่มกว่า 300 ล้าน ตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยี หวังเป็นผู้นำด้านสินค้านาโนในอีก 10 ปีข้างหน้า

August 29th, 2012 No comments

29 สิงหาคม 2555 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วม มือการจัดตั้งและดำเนินงาน ศูนย์ร่วมวิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้านนาโน และร่วมปาฐกถาเรื่อง“นโยบาย ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในการผลักดันการพัฒนาวิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม” โดยพิธีลงนามดังกล่าว สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ()โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ/นาโนเทค ได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำทั้ง 8 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รพ.ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี จัดตั้ง”โครงการศูนย์ ร่วมวิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยี”เพื่อสนับสนุน กลุ่มวิจัยที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางในการทำวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยี ที่มีหัวข้อวิจัยสอดคล้องกับแผนที่นำทางด้านเทคโนโลยี (Technology Road Map : TRM) หรือการวิจัยแบบมุ่งเป้าของศูนย์นาโนเทค โดยเป็นการสร้างกลุ่มวิจัยที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทาง สามารถ นำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ ตลอดจนสามารถตอบสนองความต้องการของ ประเทศได้ในลักษณะ พันธมิตรระหว่างศูนย์แห่งชาติ และมหาวิทยาลัย เป็นโครงการในระยะเวลา 5 ปี งบประมาณขั้นต้นในเฟสแรก 300 ล้านบาท

ดร.ปลอดประสพฯ รมว.วท. กล่าวว่า “โครงการ จัดตั้งศูนย์ร่วมวิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้านนาโน เทคโนโลยี การดำเนินการครั้งนี้ถือว่าเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญในการผนึก กำลังความร่วมมือของหน่วยงานที่ทำ งานด้านนาโนเทคโนโลยีชั้นนำของประเทศ ซึ่งทุกท่านคง ตระหนักดีว่า ปัจจุบันนาโนเทคโนโลยีเป็นเทคโนโลยีที่ทั่วโลกให้ความสำคัญสูง เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทอย่างมากสำหรับภาคสังคมและภาคอุตสาหกรรม และเป็นปัจจัยสำคัญอย่าง หนึ่งที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ประเทศไทยได้นำนาโนเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือเพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม สิ่ง ทอ อาหารและการเกษตร เครื่องสำอาง และอุตสาหกรรมทางการแพทย์ พราะฉะนั้นความร่วมมือของ 9 หน่วยงานเพื่อการทำงานวิจัยและพัฒนา ถือเป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งของงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นแนวทางการพัฒนาการทำงานวิจัยและ พัฒนาที่ถูกต้อง และมีความสอดคล้องกับนโยบายการ พัฒนานาโนเทคโนโลยีของประเทศ ซึ่งในขณะนี้อยู่ในระหว่างการ เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อใช้เป็นแนวทางให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการกำหนดกรอบการทำงานการวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีไปในทิศ ทางเดียวกัน และอีกทั้งให้เกิดความสอดคล้องของการดำเนิน งานตามแผนที่กำหนดไว้ ในอีก 10 ปีข้างหน้าอีกด้วย

ดังนั้น คาดหวังว่าโครงการนี้ นอกจากงานวิจัยและพัฒนาแล้ว ยังถือว่าเป็นจุดเริ่มของความร่วมมือของหน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีต่อภาคการศึกษา และยังจะมีโอกาสขยายผลความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้นว่า ภาคเอกชน,ภาคอุตสาหกรรม ฯลฯ อันจะทำให้เกิดความสำเร็จอย่างรวดเร็ว สามารถตอบโจทย์ของประเทศได้ในหลายมิติ และหวังว่าโครงการนี้ จะนำไปสู่การพัฒนานาโนเทคโนโลยีของชาติ สร้างสรรงานที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างสูง นำมาพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ให้มีความเจริญก้าวหน้าและเป็นที่ยอมรับของสังคมโลก”

ด้าน ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวเสริมว่า “สวทช.โดยศูนย์นาโน เทคในฐานะหน่วยงานหลักในการพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีจึงจัดทำโครงการ ศูนย์ร่วมวิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยีร่วมกับสถาบันการ ศึกษา โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นสถาบันภาครัฐหรือภาคเอกชน ที่มีศักยภาพในการผลิตผลงานและบุคลากรด้านนาโนเทคโนโลยีบน พื้นฐานของแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนานาโน เทคโนโลยีเพื่อนำประโยชน์มา สู่ประเทศไทย เล็งเห็นว่า ในแต่ละมหาวิทยาลัยมีบุคลากรที่มีความรู้ความชำนญในการดำเนินงานวิจัยที่ หลากหลาย การสนับสนุนให้เกิดการร่วมกลุ่มวิจัยเพื่อให้มีเป้าหมาย และทิศทางของงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม เป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ เสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันได้ของประเทศ

ซึ่งโครงการจัดตั้งศูนย์ร่วม วิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยี ซึ่งสวทช.โดยศูนย์นาโนเทคร่วมดำเนินการกับศูนย์ความเป็นเลิศด้าน นาโนเทคโนโลยี ทั้ง 8 แห่ง โดยแบ่งออกเป็น 9 ด้าน ได้แก่ การวินิจฉัย และรักษามะเร็ง,ด้าน อาหารและการเกษตร,ด้านระบบนำส่งยา,ด้านวัสดุนาโนขั้นสูงสำหรับการผลิตและกักเก็บพลังงาน,ด้านวัสดุนาโนเพื่อสมบัติเฉพาะทางขั้นสูง,ด้านวัสดุและระบบอัจฉริยะ,ด้าน วัสดุนาโนไฮบริดสำหรับพลังงานทางเลือก,ด้าน นาโนเทคโลยีสีเขียว และด้านอุปกรณ์นาโนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ทั้งนี้กรอบความร่วมมือมีระยะเวลา 5 ปี ใช้งบประมาณทั้งหมดกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดกลุ่มวิจัยขนาด ใหญ่ที่มีผลงานวิจัยพื้นฐานเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ และผลงานวิจัยแบบปรับประยุกต์ที่ตอบสนองภาคการผลิตของประเทศ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและ ประสิทธิภาพสูงสุดทางงานวิจัยและพัฒนาต่อการพัฒนาศักยภาพและ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไป”

สวทช.เองซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดเป้าหมายและมุ่ง มั่นพัฒนางานวิจัยให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งในเชิง เศรษฐกิจและสังคม รวมถึงพัฒนางานวิจัยที่สามารถรับมือกับสภาพปัญหาได้ทันเหตุการณ์ ทั้ง ในแง่การคิดค้นสิ่งใหม่ๆไปล่วงหน้า และการสนับสนุนภาคเอกชนในด้านการบริการวิจัยให้เอกชน การรับจ้างทดสอบ หรือแม้กระทั่งการร่วมลงทุนตั้งบริษัทกับเอกชน เพื่อนำนวัตกรรมใหม่ๆออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว และโดยอาศัยองค์ความรู้และงานวิจัย ต่างๆที่ สวทช.ได้ริเริ่มดำเนินการไว้ และการทำงานที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานหลักๆ ในภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ

View :1696

เอ็มเทค สวทช. พัฒนาหัวพ่นทราย จากวัสดุเซรามิกส์ขั้นสูง ป้อนอุตสาหกรรม

August 21st, 2012 No comments


การผลิตในประเทศ สำหรับใช้งานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ , โลหะ , และกระจก ทดแทนการนำเข้าจาก อเมริกา , ญี่ปุ่น , จีน กว่า 48 ล้านบาทต่อปี

ศูนย์ เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ () สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ () กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประสบความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนา ผลิตหัวพ่นทรายจากวัสดุเซ รามิกส์ขั้นสูง (อลูมินาเซรามิกส์) พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิต หัวพ่นทรายอลูมินาเซรา มิกส์ในระดับอุตสาหกรรม ให้กับ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็มพร็อฟ เพื่อผลิตจำหน่ายในอุตสาหกรรมภายในประเทศ ทดแทนการนำเข้าและเพื่อหวังลดต้นทุนการผลิต ให้กับ ผู้ประกอบการไทย

รศ.ดร. วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) กล่าวว่า หัวพ่นทราย เป็นชิ้นส่วนที่ใช้ในเครื่องพ่นทรายสำหรับขัดผิววัสดุเพื่อทำความ สะอาดและตกแต่งให้เกิดความสวยงามที่ผิวของวัสดุ ไม่ว่าจะเป็นการลอกสี ขัดสนิม กัดผิว ขจัดคราบเขม่า เกล็ดผิว ตลอดจนการเตรียมพื้นสำหรับชั้นเคลือบต่างๆ ซึ่งการใช้งานหัวพ่นทรายส่วนใหญ่จะใช้ในโรงงานโลหะและกระจก เช่น โรงงานผลิต ล้อแม็กซ์ โรงงานผลิตแม่พิมพ์โลหะ และโรงงานแกะสลักลวดลายกระจก เป็นต้น หัวพ่นทรายที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมีหลายแบบด้วยกัน แบ่งตามประเภทของวัสดุได้ 2 ชนิดคือ หัวพ่นทรายที่ทำจากเซรามิกส์ และหัวพ่นทรายที่ทำจากโลหะ แต่อายุการใช้งานของหัวโลหะจะน้อยกว่าหัวแบบเซรามิกส์ ซึ่งหัวพ่นทรายเซรามิกส์ ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ หัวพ่นทรายที่ทำจากวัสดุเซรามิกส์ขั้นสูง หรือที่เรียกว่า อลูมินาเซรามิกส์ ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความ แข็งแรงสูง ทนต่อการสึกหรอเหมาะกับการใช้งาน ส่วนใหญ่ ประเทศไทยมักคุ้นเคยกับเซรามิกส์ที่เป็น เซรามิกส์ขั้นพื้นฐาน เช่น ถ้วยชามต่างๆ แต่ ในส่วนของหัวพ่นทรายที่ได้วิจัยและพัฒนาขึ้นนี้ เป็นวัสดุเซรามิกส์ ใน กลุ่มของอลูมินา ซึ่งในด้านการวิจัยและพัฒนานั้น เราจะใช้ผงอลูมินาผสมกับสารเติมแต่ง และพัฒนาคิดค้นวิธีที่จะทำให้อลูมินานั้นมีสมบัติและขนาดเม็ดผงตามที่เรา ต้องการ
จาก นั้นก็เข้าสู่กระบวนการอัดขึ้นรูปให้ได้หัวพ่นทรายตามขนาดของ เครื่องพ่นที่มีการใช้งานทั่วไปอยู่แล้ว ในปัจจุบัน ซึ่งปริมาณความต้องการใช้งานหัวพ่นทรายอลูมินาเซรามิกส์ภายในประเทศ เฉลี่ยประมาณ 2,000-5,000 ชิ้นต่อเดือน หรือ 4,000,000 บาทต่อเดือน ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเป็นสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยทั้งสิ้น และจากการสำรวจตลาดพบว่า เป็นหัวพ่นทรายที่นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น,ประเทศจีน,และประเทศสหรัฐ อเมริกา

รศ.ดร. วีระศักดิ์ กล่าวต่อว่า และจากผลการทดสอบหัวพ่นทรายอลูมินาเซรามิกส์ที่ได้พัฒนาขึ้นนี้ มีคุณสมบัติและ คุณภาพในด้านการสึกหรอใกล้เคียงกับหัวพ่นทรายที่นำเข้าจากประเทศ ญี่ปุ่น ซึ่งถือได้ว่า มีอายุการใช้งานที่มากพอกับความต้องการของผู้ใช้งานในประเทศ เอ็มเทค จึงได้พัฒนากระบวนการผลิตเพื่อเพิ่ม กำลังการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้งาน โดยร่วมมือและถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตให้กับ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็มพร็อฟ เพื่อผลิตและ จำหน่ายให้กับอุตสาหกรรมผู้ใช้งานภายในประเทศ ดังกล่าว จากความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นตัวอย่างและการสาธิตกระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตหัวพ่นทรายอลูมิ นา เซรามิกส์ในระดับ อุตสาหกรรมให้มีปริมาณของเสียน้อยกว่า 10 % และด้วยความมุ่งมั่นในการวิจัยและพัฒนา หัวพ่นทรายอลูมินาเซรา มิกส์ พร้อมกับความร่วมมือกันกับภาคอุตสาหกรรม จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการผลิตในการลดต้นทุน ซึ่งไม่ต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ ก่อให้เกิดผลกำไรที่มากขึ้น หรือแม้แต่ผู้ใช้งานและผู้จำหน่าย ก็จะได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี ทัดเทียมกับต่างประเทศ และมีราคาไม่สูงมากนัก ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ­­ที่สนใจจะรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในอนาคตอีกด้วย

View :2382

สวทช.และซีเกทจัดค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ่านกิจกรรมสนุกสนานสำหรับเยาวชน เยาวชนจากทั่วประเทศจะเข้าร่วมค่าย เป็นระยะเวลา 3 วัน ในเดือนกันยายน

August 9th, 2012 No comments

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับ บริษัทซีเกท (ประเทศไทย) จำกัดแถลงข่าวการจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2555 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เยาวชนมีความคิดสร้างสรรค์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวมถึงการให้องค์ความรู้ในเรื่องของการเตรียมพร้อมรับมือภัยธรรมชาติ
ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวจะจัดให้มีขึ้นในระหว่างวันที่ 4-6 กันยายน 2555 ณบ้านวิทยาศาสตร์ สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ กล่าวว่า“พันธกิจหลักข้อหนึ่งของ คือการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้การสร้างเครือข่ายพันธมิตรมาช่วยในการดำเนินการโครงการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในรูปแบบที่หลากหลาย สวทช.จึงเสนอความคิดเกี่ยวกับการจัดค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับทางบริษัทซีเกทฯเนื่องจากมองว่า บริษัทซีเกทฯ
เป็นบริษัทที่มีความทันสมัยและมีองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นสำคัญโดยในกิจกรรมค่ายฯ ในครั้งนี้ สวทช.และบริษัทซีเกทฯตระหนักดีว่าการพัฒนาทักษะของเยาวชนอายุ 10-13 ปีเพื่อให้มีความเข้าใจในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยีในอนาคตก็เป็นสิ่งที่จำเป็นในการพัฒนากำลังคนในศาสตร์ที่สำคัญเหล่านี้

ทั้งนี้ ภายในกิจกรรมค่ายดังกล่าวจะประกอบด้วยกิจกรรมทดลองด้านวิทยาศาสตร์การประกอบหุ่นยนต์ เพื่อนรอบตัวแนะนำเทคนิคเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์อย่างไรให้ฉลาดกิจกรรมสร้างที่ชาร์ตแบตจากโซลาร์เซลล์ และเวิร์คช็อปต่าง ๆเพื่อช่วยให้เยาวชนเหล่านี้สามารถรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติในรูปแบบต่าง ๆโดยเยาวชนจะได้เรียนรู้บทเรียนที่มีคุณค่าเหล่านี้จากนักวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จเจ้าหน้าที่ของสวทช.และพนักงานซีเกทตลอดจนผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกิจกรรมอื่นๆที่มุ่งเน้นให้ความรู้และความเข้าใจแก่เยาวชน สร้างเจตนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์จนนำไปสู่การเริ่มต้นศึกษาต่อไปในอนาคตนอกจากการเรียนรู้ทางเทคโนโลยียังมีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวันเนื่องจากสภาพการณ์ในปัจจุบัน ภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ
เกิดขึ้นบ่อยครั้งหลายพื้นที่ทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยและไม่ได้เป็นเรื่องที่ไกลตัวมนุษย์อีกต่อไป ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาลและเพื่อเตรียมพร้อมรับมืออย่างถูกต้อง การเรียนรู้ถึงสาเหตุก็จะช่วยให้มนุษย์รอดพ้นจากมหันตภัยหรือลดความรุนแรงและความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้ค่ายเยาวชนนี้จะสร้างความตระหนักและตื่นตัวในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้แก่เยาวชนทั้งนี้ทักษะเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อเขาและครอบครัวเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น

นางสาวศิริรัตน์ เอี่ยวผดุง ผู้จัดการโรงงานเทพารักษ์ บริษัทซีเกทเทคโนโลยี(ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “การเปิดตัวค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จัดขึ้นในวันนี้ เป็นความร่วมมือครั้งแรกระหว่างซีเกทกับสวทช.ในการจัดค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งซีเกทเชื่อมั่นว่ากิจกรรมค่ายนี้จะเป็นอีกหนึ่งรูปแบบใหม่ของการเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนไทยการฝึกอบรมให้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นจะไม่จำกัดเฉพาะทางด้านทฤษฎีแต่จะฝึกให้เยาวชนทดลองและเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงอันมีค่าแก่การต่อยอดความรู้ของเยาวชนไทยและจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้เข้าค่ายไปในแนวทางที่ดีเรายินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของค่ายนี้” ซีเกทมีนโยบายในการส่งเสริมการพัฒนาความรู้และทักษะของเยาวชนและนิสิตนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี คณิตศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ผ่านกิจกรรมเรียนรู้และทดลองและได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและมหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมต่างๆดังกล่าวอย่างต่อเนื่องในประเทศไทยเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพผู้ซึ่งจะนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

ผู้ปกครองและนักเรียนอายุ 10-13 ปี ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม“” สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-2529-7100 ต่อ 77215

View :1513

สวทช.ร่วมกับ ซีพีเอฟ วิจัยพัฒนาด้านเกษตรและอาหาร เทคโนโลยีสำหรับควบคุมป้องกันโรคระบาดสัตว์

March 22nd, 2012 No comments

และแนวทางลดการปนเปื้อนเชื้อก่อโรคในอาหาร สร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ () กับบริษัท (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)เพื่อวิจัยพัฒนาด้านเกษตรและอาหาร เทคโนโลยีสำหรับควบคุมป้องกันโรคระบาดสัตว์ และแนวทางลดการปนเปื้อนเชื้อก่อโรคในอาหาร สร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค และเพื่อร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานและเทคโนโลยีเชิงประยุกต์ที่สำคัญ รวมถึงขยายผลของโครงการวิจัยที่มีศักยภาพสู่การปรับใช้อย่างได้ผล ตลอดจนการเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาความเชี่ยวชาญของบุคลากรของทั้งสองฝ่าย

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสวทช. กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหาร ที่จะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องมีปริมาณอาหารที่เพียงพอ ประชาชนเข้าถึงอาหารได้ตลอดเวลา และอาหารนั้นต้องมีคุณภาพ ความปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อการดำรงชีวิตที่ดีสุขภาพแข็งแรง ทั้งนี้ปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงดังกล่าว ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ราคาของพลังงาน การใช้พื้นที่ปลูกพืชที่ไม่ใช่อาหาร โรคและแมลงศัตรูพืช โรคระบาดสัตว์ รวมถึงข้อตกลงเขตการค้าเสรีต่างๆ เป็นต้น ในฐานะที่ สวทช. เป็นองค์กรที่มีพันธะกิจในการสร้างความสามารถ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ จึงกำหนดยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนา “คลัสเตอร์เกษตรและอาหาร” ขึ้น โดยเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่นำไปสู่การเพิ่มผลผลิต ลดความสูญเสียจากปัจจัยต่างๆ เพิ่มคุณภาพความปลอดภัย และสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งในส่วนของการผลิตพืชและสัตว์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขันและความยั่งยืนด้านเกษตรและอาหารของประเทศ

ในการดำเนินงานของคลัสเตอร์เกษตรและอาหาร จะอาศัยกลยุทธ์การสร้างความร่วมมือกับพันธมิตร และการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) เพื่อพัฒนาโจทย์วิจัยที่ชัดเจน ร่วมสนับสนุนการวิจัยที่นำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้จริง

นับว่าเป็นโอกาสอันดีที่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด เห็นชอบและยินดีร่วมมือกับ สวทช. ในการวิจัยและพัฒนาด้านเกษตรและอาหาร เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานและเทคโนโลยีเชิงประยุกต์ที่สำคัญ รวมถึงการขยายผลของงานวิจัยต่างๆ ที่มีศักยภาพสู่การปรับใช้อย่างได้ผล ตลอดจนการเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาความเชี่ยวชาญของบุคลากรของทั้งสองฝ่าย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างร่วมกันวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีในการควบคุมและป้องกันโรคระบาดสัตว์ การศึกษาแหล่งที่มา การแพร่กระจายและประเมินความเสี่ยงของเชื้อก่อโรคในอาหารตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ฟาร์มจนถึงผู้บริโภค ความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาด้านเกษตร และอาหารในครั้งนี้ จะเป็นนิมิตหมายที่ดีในการช่วยยกระดับการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ ให้เข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถ ด้านการแข่งขันของประเทศให้ยั่งยืนต่อไป

ด้านนายวีรชัย รัตนบานชื่น ประธานคณะผู้บริหารด้านปฏิบัติการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจด้านเกษตรอุตสาหกรรมด้านการเลี้ยงสัตว์และผลิตอาหารจากเนื้อสัตว์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะดำเนินธุรกิจแบบครบวงจรเริ่มตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ การเลี้ยงสัตว์ในเชิงพาณิชย์ การแปรรูปเนื้อสัตว์ จนกระทั่งมีการผลิตอาหารสำเร็จรูป โดยแบ่งเป็น 2 ธุรกิจหลัก คือ 1.ธุรกิจสัตว์บก ได้แก่ ไก่เนื้อ ไก่ไข เป็ดและสุกรครบวงจร ตั้งแต่ธุรกิจอาหารสัตว์ ธุรกิจการเลี้ยงสัตว์และธุรกิจอาหาร 2.ธุรกิจสัตว์น้ำ : กุ้งและปลา ครบวงจร ตั้งแต่ธุรกิจอาหารสัตว์ ธุรกิจการเลี้ยงสัตว์และธุรกิจอาหาร

ในความร่วมมือกันครั้งนี้ทางบริษัทโดยสำนักเทคนิคและวิชาการสัตว์บก จะเน้นงานด้านการตรวจวินิจฉัยและการชันสูตรเป็นหลัก และทางบริษัทก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือกันในครั้งนี้ จะช่วยกันยกระดับงานวิจัยและพัฒนาให้เข้มแข็ง สร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค รวมถึงขยายผลของโครงการวิจัยที่มีศักยภาพสู่การปรับใช้อย่างได้ผล ตลอดจนการเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาความเชี่ยวชาญของบุคลากรของทั้งสองฝ่าย

ที่มาของความร่วมมือ
สวทช. ได้ประสานงานเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาด้านการผลิตสัตว์และสุขภาพสัตว์ ผ่านสำนักเทคนิคและวิชาการสัตว์บก บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งทางบริษัทฯ ได้เสนอให้การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) ระหว่างหน่วยงาน คือ ซีพีเอฟ และ สวทช. เป็นกรอบความร่วมมือด้านวิชาการวิจัยและพัฒนาด้านเกษตรและอาหารในภาพรวม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานและเทคโนโลยีเชิงประยุกต์ที่สำคัญ รวมถึงการขยายผลของโครงการวิจัยด้านเกษตรและอาหารที่มีศักยภาพสู่การปรับใช้อย่างได้ผล โดยครอบคลุมไปถึงความร่วมมือทางด้านวิชาการอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการให้ความสนับสนุนการเพิ่มพูนความรู้แก่บุคลากรทั้งสองฝ่าย อีกทั้งจะทำให้การประสานความร่วมมือในรายละเอียดโครงการย่อยต่างๆ มีความคล่องตัวยิ่งขึ้นในอนาคต ซึ่งปัจจุบันเกิดโครงการร่วมวิจัยและพัฒนาร่วมกันที่สอดคล้องกับบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ดังนี้

Ÿในส่วนของการควบคุมและป้องกันโรคระบาด : เกิดการวิจัยการนำเวกเตอร์ของไวรัสที่ไม่มีรายงานการติดเชื้อในสัตว์ และมีรายงานการนำมาทดสอบใช้เป็นวัคซีนแล้วพบว่ามีประสิทธิภาพสูง ในการคุ้มโรค มาทดลองโดยใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรมทำให้อ่อนเชื้อและแทรกยีนของโปรตีนเป้าหมายที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกัน ร่วมกับการสร้างอนุภาคไวรัสโดยเทคนิครีเวอร์สเจเนติกส์ สำหรับพัฒนาวัคซีนทางเลือกในการป้องกันโรคระบาดที่สำคัญในการผลิตสัตว์

Ÿในส่วนของการความปลอดภัยอาหารและการจัดการฟาร์ม : เกิดความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับเชื้อก่อโรคในอาหาร 2 โครงการด้วยกัน คือ

1.การประเมินความเสี่ยงของเชื้อซัลโมเนลลาในพ่อแม่พันธุ์ไก่เนื้อ โรงฟักไข่ไก่ ฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อและหลังการผลิตสู่ผู้บริโภค เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการและการผลิตเพื่อลดการปนเปื้อนของ เชื้อซัลโมเนลลาในเนื้อไก่สดแช่เย็น ตลอดกระบวนการผลิตตั้งแต่โรงฟัก ฟาร์มจนถึงผู้บริโภค

2.การศึกษาสำรวจข้อมูลการติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter) เพื่อให้สามารถระบุถึงแหล่งที่มาและปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ ในกระบวนการผลิตไก่ตลอดห่วงโซ่การผลิต และสุดท้ายเพื่อให้สามารถประเมินความเสี่ยงของการปนเปื้อนเชื้อในเนื้อไก่ได้ ซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถนำมากำหนดแนวทางการจัดการและการผลิตเพื่อลดการปนเปื้อนและลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนของเชื้อในอุตสาหกรรมการผลิตไก่ได้

View :1788

สวทช. กระทรวงวิทย์ฯ จัดทัพเทคโนโลยีพร้อมรับมือพิบัติภัยในงาน NAC 2012 “รู้ สู้ พิบัติภัยไปกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”

March 17th, 2012 No comments

สวทช. โชว์นวัตกรรมและผลงานช่วยรับมือพิบัติภัย ในงานประชุมประจำปี สวทช.หรือ NAC 2012 ดร.ปลอดประสพมั่นใจจะเป็นเวทีรวมองค์ความรู้การรับมือพิบัติภัยด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ดีที่สุด พร้อมย้ำให้ภาคธุรกิจพลิกกลยุทธ์แปลงวิกฤติเป็นโอกาสขยายผลงานวิจัยไปสู่การผลิตอุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ในวงกว้าง

ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า “สวทช.ได้มีการจัดงานประชุมประจำปีขึ้นทุกปี โดยเน้นการนำเสนอเทคโนโลยีที่เกิดจากองค์ความรู้และการวิจัยพัฒนาของ สวทช.และเครือข่ายเพื่อช่วยผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ให้สามารถดำเนินงานได้ดี มีประสิทธิภาพสูงขึ้น รวมไปถึงการสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ เพื่อสาธารณประโยชน์และความมั่นคงประเทศ ด้วยการเน้นบูรณาการระหว่างกัน ซึ่งหมายถึงการนำเทคโนโลยีจากหลายๆ แห่งมารวมเข้าไว้ด้วยกัน และนำเสนอการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ สำหรับหัวข้อการจัดงาน “รู้สู้ ไปกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”ในปีนี้ นับว่าเหมาะและเข้ากับสถานการณ์ในการที่จะมาช่วยสนับสนุนการดำเนินการด้านจัดการภัยพิบัติตามนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำ เนื่องจากวิกฤตการณ์น้ำท่วมในปีที่ผ่านมาที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากทั้งในแง่เศรษฐกิจ ความเป็นอยู่และความปลอดภัยในชีวิตของประชาชน “

“กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ก็ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เสนอแนะนโยบายระยะยาวเพื่อใช้ในด้านการวางแผนการจัดการภัยพิบัติด้านน้ำในหลายๆด้าน โดยผมได้รับผิดชอบในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย ( กบอ.) กำหนดวิธีการดำเนินการของหน่วยงานรัฐ เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยเป็นไปโดยเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ รวมทั้งการดำเนินการอื่นๆ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการน้ำ การเตรียมการป้องกันและแก้ไข ซึ่งการดำเนินการต่างๆ ก็ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากหลายๆ หน่วยงาน ทั้งภายนอกและภายในกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ทำให้ปัจจุบันเรามีระบบข้อมูลนำเสนอด้านสภาวะน้ำ ข้อมูลพยากรณ์ระดับน้ำทะเลหนุนสูงสุด ณ กองบัญชาการกองทัพเรือ ปริมาณฝนรายวันสูงสุดในพื้นที่ต่างๆ เส้นทางพายุจากภาพถ่ายดาวเทียม ปริมาณและระดับน้ำในพื้นที่ต่างๆ ทั้งระดับน้ำในเขื่อน ระดับน้ำในลุ่มน้ำ รวมถึงปริมาณฝนและระดับน้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ“

“สวทช.เองก็เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพสูงของกระทรวงฯ ด้วยความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบันและการสนับสนุนทำงานอย่างดีจาก ดร.ทวีศักดิ์ ผอ. นอกเหนือจากการวิเคราะห์พยากรณ์เตือนภัยล่วงหน้าต่างๆ ดังที่กล่าวแล้ว คาดว่าในอนาคตจะมีนวัตกรรมต่างๆ ที่สามารถช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดจากภัยพิบัติ เช่น เทคโนโลยีการก่อสร้าง เทคโนโลยีการผลิตวัสดุก่อสร้าง และอื่นๆให้ต้านทานภัยพิบัติได้ดีขึ้น หรือช่วยบรรเทาความสูญเสียให้น้อยลงได้ ดังตัวอย่างของเทคโนโลยีหลายๆอย่างที่สาธิตให้ชมหรือข้อคิดจากเวทีอภิปรายต่างๆในงานนี้ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่จะเป็นประโยชน์แก่รัฐบาลที่ต้องการแนวทาง ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากหลายๆภาคส่วนเพื่อปรับปรุงแผนงานและบูรณาการให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป”ดร.ปลอดประสพกล่าว

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า การจัดงาน NAC 2012 ภายใต้แนวคิด “รู้ สู้พิบัติภัยไปกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ในครั้งนี้เพื่อเป็นเวทีให้กับนักวิจัยของ สวทช. จาก ๔ ศูนย์แห่งชาติได้นำเสนอผลงานความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาต่างๆ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้ให้กับประชาชนและสังคมได้เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับพิบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งก่อนเกิดภัย เมื่อเกิดภัยขึ้นแล้ว และหลังพิบัติภัยผ่านพ้นไป โดยเฉพาะภัยจากน้ำท่วม ตัวอย่างผลงานเด่นที่นำมาจัดแสดงในงานแถลงข่าวครั้งนี้ อาทิ
• ถุงกระสอบ nSack ซึ่งมีขนาดเล็กและเบา สะดวกในการใช้งาน โดยไม่ต้องบรรจุทราย เพียงแช่น้ำไว้ประมาณ ๔๕ นาที ถุงจะดูดซับน้ำได้มากถึง ๑๐๐ เท่า และนำไปใช้งานเพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกับกระสอบทรายแบบดั้งเดิม
• จ่าเฉยวัดระดับน้ำ หุ่นจำลองตำรวจที่ติดตั้ง sensor เพื่อใช้ในการตรวจจับความเร็วของรถที่วิ่งผ่าน และตรวจการแซงทับเส้นทึบ (จุดห้ามจอด หรือคอสะพาน) นอกจากนี้ เพื่อตอบสนองต่อการรับมืออุทกภัยที่เกิดขึ้น จึงได้มีแนวคิดในการเพิ่มการตรวจสอบระดับน้ำบนพื้นถนน เพื่อให้สามารถรายงานสถานภาพน้ำท่วมบนพื้นถนนได้ตามความเป็นจริง โดยใช้อุปกรณ์อัลตร้าโซนิคตรวจวัดระดับความสูงของน้ำบนพื้นถนนเทียบกับถนนปกติ ทำให้ผู้ใช้ถนนสามารถตรวจสอบข้อมูลว่าสามารถที่จะวิ่งผ่านถนนดังกล่าวได้หรือไม่
• แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งของอ่าวไทย ซึ่งได้ศึกษาผลกระทบต่อชายฝั่งอันเนื่องจากภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล รวมถึงศึกษาการรุกล้ำของคลื่นทะเลอันเกิดจากพายุที่อาจมีความถี่และความรุนแรงมากขึ้น และอาจส่งผลต่อการเกิดน้ำท่วมได้
• ศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยินและผู้บกพร่องทางการพูด ช่วยให้ผู้บกพร่องทางการได้ยินและผู้บกพร่องทางการพูดได้มีโอกาสใช้บริการโทรคมนาคมเพื่อติดต่อสื่อสารกับบุคคลทั่วไปในสังคม โดยเฉพาะในขณะที่เกิดพิบัติภัย
• nCA :- “น้ำใส หายเหม็น ออกซิเจนสูง” นวัตกรรมแก้ปัญหาน้ำท่วมขังและเน่าเสียให้กลายเป็นน้ำดี ระบบดังกล่าวประกอบด้วยสารจับตะกอนเพื่อให้น้ำใส และเครื่องเติมอากาศด้วยปั๊มที่ออกแบบการใช้งานที่ง่าย
• Flood Sign Application เครื่องมือในการช่วยเก็บข้อมูลระดับน้ำท่วมสูงสุดในปี ๒๕๕๔ ซึ่งถือเป็นมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ของประเทศ โดยให้ประชาชนช่วยเก็บรวบรวมและรายงาน (Crowd Sourcing) ข้อมูลระดับคราบน้ำท่วมสูงสุดในแต่ละพื้นที่ผ่านทางMobile Application นอกจากนี้ ยังใช้เป็นเครื่องมือในการรายงานระดับน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมทุกพื้นที่และมีความทันสมัยหรือเป็นปัจจุบันมากที่สุด สามารถดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรีที่แอนดรอยด์มาร์เก็ตตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป นอกจากนี้ยังได้มีการจัดทำป้าย Flood Sign ที่ใช้อลูมิเนียมปรับปรุงผิวด้วยอะโนไดซิ่ง (Anodized Aluminium) มอบให้กับ อบต. ครอบคลุม ๑๗ จังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมเพื่อนำไปติดตั้งยังจุดที่มีระดับน้ำท่วมสูงสุดด้วย
• ข้าวโพดพันธุ์ใหม่ “ข้าวเหนียวข้าวก่ำ” มีสารฟีนอลิกและสารแอนโทไซยานินสูง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยจะทูลเกล้าฯ ถวายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานประชุมวิชาการในวันที่ ๒๓ มีนาคมนี้ และ สวทช. จะนำไปมอบให้กับเกษตรกรผู้ประสบภัยน้ำท่วมใน จ.อยุธยา และ จ.สระบุรีได้นำไปปลูกต่อไป
• Thai Science Biodiversity ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของพืช สัตว์ จุลินทรีย์ ไม่น้อยกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ข้อมูล สืบค้นหาข้อมูลได้ง่าย ทำให้ประเทศไทยมีข้อมูลอ้างอิงทางภูมิศาสตร์ สามารถยืนยันถิ่นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตของประเทศไทยในเวทีโลกได้ ขณะเดียวกันยังสะท้อนถึงการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ และความหลากหลายทางชีวภาพของไทยหลังเกิดพิบัติภัยต่างๆ ได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีผลงานวิจัยที่พร้อมให้ผู้ประกอบการธุรกิจที่สนใจนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ อาทิ ระบบผลิตไบโอดีเซล เจลรักษาแผลยับยั้งแบคทีเรียและกระตุ้นการหายของแผล สารเคลือบผิวผลไม้จากไขรำข้าว และโปรแกรมบันทึกข้อมูลสุขภาพครอบครัวแบบพกพา เป็นต้น สำหรับการประชุมในครั้งนี้มีหัวข้อที่น่าสนใจกว่า ๒๘ เรื่อง โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและต่างประเทศที่จะมาร่วมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการรับมือพิบัติภัย อาทิ

• การสัมมนาในหัวข้อ “การบริหารทรัพยากรน้ำเพื่อการรับมือมหาอุทกภัย” ซึ่งจะถอดบทเรียนความจริงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี ๒๕๕๔ และเสวนาถึงแผนการจัดการและแนวทางการรับมือของภาครัฐ โดยเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงความเป็นไปได้ และชี้แนะแนวทางการใช้เครื่องมือ/เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนแผนการดังกล่าว ซึ่งจะถูกใช้เพื่อเตรียมการ ป้องกัน รับมือ เพื่อเป็นข้อมูลให้ประชาชนตัดสินใจเตรียมพร้อมรับมืออุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในปีนี้ วิทยากรได้แก่ ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร รศ.ชูเกียรติ ทรัพย์ไพศาล คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ สิรินธร และ ผศ.ดร.สุทัศน์ วีสกุล สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

• การเสวนาในหัวข้อ “มองไปข้างหน้ากับอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ” บริษัทชั้นนำด้านฮาร์ดิสก์ไดร์ฟที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็น บริษัทเวสท์เทิร์นดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โตซิบา สตอเรจ ดีไวท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศ) จำกัด บริษัท เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด จะมาร่วมพูดคุยและให้มุมมองต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟของไทย นอกจากนี้ในส่วนของภาคการศึกษากับการพัฒนาฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ จะได้ฟังมุมมองและประสบการณ์จากสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือฟีโบ้ ที่ได้นำเครื่องบินบังคับวิทยุสำรวจพื้นที่น้ำท่วม และได้นำมาประยุกต์ใช้สำรวจการลอกคูคลองในพื้นที่ต่างๆ

• การเสวนาในหัวข้อ “รู้ทันข้อมูลเพื่อรับมือพิบัติภัย” โดย ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและการตลาด ดร. สมเกียรติ อ่อนวิมล นักสื่อสารมวลชน และอาจารย์ศศิน เฉลิมลาภ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร จะมาร่วมกันแลกเปลี่ยนมุมมองในการที่ประชาชนจะเลือกรับข้อมูลข่าวสารอย่างไรในช่วงวิกฤต ขณะเดียวกันภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีวิธีการสื่อสารอย่างไร เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนก

• การสัมมนาเรื่อง “การปรับตัวของเกษตรกรในภาวะน้ำท่วม” เป็นอีกหนึ่งเวทีที่จะได้รับฟังประสบการณ์ของเกษตรกรไทยที่ต้องปรับวิถีชีวิตและการทำกินในช่วงน้ำท่วม ซึ่งในช่วงวิกฤตน้ำท่วมที่ผ่านมา เกษตรกรบางรายสามารถสร้างรายได้จากวิกฤตนี้ได้

นอกจากนี้ยังมีหัวข้อสัมมนาวิชาการอื่นๆ ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น ความเป็นไปได้ของการพัฒนาอุตสาหกรรม Organic and Printed Electronics ในประเทศไทย และศักยภาพของไทยในการเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์ Printed Electronic ซึ่งผลิตภัณฑ์ Printed Electronic ที่กำลังจะเกิดขึ้นจะมีส่วนแบ่งทางการตลาดในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น RFID tags หรือจอภาพต่างๆ

การจัดงานประชุมและแสดงผลงานประจำปี ๒๕๕๕ ของ สวทช. หรืองาน NAC 2012 เปิดให้ประชาชนได้เข้าชมนิทรรศการได้ตั้งแต่วันที่ ๒๔-๒๘ มีนาคม นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีกิจกรรมสำหรับครอบครัว “นักวิทยาศาสตร์น้อย รู้ สู้ พิบัติภัย” ในวันที่ ๒๔-๒๕ มีนาคม ๒๕๕๕ ด้วย ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าการจัดงานในปีนี้มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ นักธุรกิจ เกษตรกรและประชาชนผู้สนใจทั่วไป ซึ่งข้อมูลและความรู้จากงานในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อรับมือกับพิบัติภัยได้อย่างเหมาะสมต่อไป ผู้สนใจเข้าร่วมงานสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.nstda.or.th/nac2012

View :2014

สวทช. ม.สงขลาฯ ม.ขอนแก่น ม.เทคโนโลยีสุรนารี เปิดหน้าร้านร่วมบริการเทคโนโลยีสู่ภูมิภาค

February 2nd, 2012 No comments

รวมพลัง 3 มหาวิทยาลัยชื่อดัง เปิดหน้าร้านร่วมบริการเทคโนโลยีสู่ภูมิภาคด้วยกัน เน้นนโยบายเชิงรุกปลุกสร้างอุตสาหกรรมปลายน้ำจากวัตถุดิบหลักในพื้นที่ เผยลดขั้นตอนการสนับสนุนพร้อมตอบโจทย์ธุรกิจท้องถิ่นได้ถูกต้อง

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า สวทช.ได้ร่วมลงนามกับ เครือข่ายมหาวิทยาลัยที่มีฐานการวิจัยและมีความพร้อม คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อจัดตั้ง หน่วยงานเครือข่ายส่งเสริมเทคโนโลยี สวทช. – หน่วยงานเครือข่าย โดยแต่ละหน่วยงานภายใต้ ความร่วมมือในครั้งนี้สามารถช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ ประกอบการโดยใช้กลไกบริการสนับสนุนผู้ ประกอบการด้านต่างๆ ทั้งสวทช. และหน่วยงานเครือข่ายได้อย่างครบวงจรสิ่งที่ผู้ประกอบการในท้องถิ่นจะได้รับจากความร่วมมือครั้งนี้คือ เข้าถึงผลงานวิจัยพัฒนาการสนับสนุน ด้านการเงินจากโครงการสนับสนุนด้านสิน เชื่อดอกเบี้ยต่ำ (CD) ศูนย์ลงทุน (NIC) การให้บริการ ด้านทรัพย์สินทางปัญญา (IPS) โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถขอรับการรับรองจาก สวทช. เพื่อขอยกเว้นภาษี 200% (RDC) หรือแม้แต่การสนับสนุนส่วนอื่นๆ อีกมากมายตามแต่ที่โจทย์ ของภาคธุรกิจในพื้นที่จะร้องขอ

“มหาวิทยาลัยทั้ง 3 นั้น แต่ละแห่งมีความโดดเด่นทางด้านงานวิจัย และฐานของธุรกิจที่รองรับ ถือ เป็นการผนึกกำลังกับภาคการศึกษาที่มีความพร้อม ใช้จุดแข็งของแต่ละฝ่ายเสริมซึ่งกันและกัน เพื่อ ประโยชน์และเสริมศักยภาพให้กับอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ในพื้นที่” ดร.ทวีศักดิ์กล่าว

การรวมพลังในครั้งนี้ถือเป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกของสวทช. ที่เน้นความร่วมมือกับพันธมิตรเครือ ข่ายกระจายบริการลงสู่ภูมิภาคอย่างเป็น ระบบ สวทช. จะบูรณาการการทำงานร่วมกันกับเครือ ข่ายส่งเสริมเทคโนโลยีสู่ผู้ประกอบการแบบ ครบวงจรเพื่อผลักดันให้เกิดการใช้มูลค่าเพิ่มจากการคิด ค้นนวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ ที่มีขีดความสามารถในการแข่ง ขันสูง อันจะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ รวมถึงการกระตุ้น เศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนความร่วมมือครั้งนี้เป็นการเพิ่มช่องทางให้กับผู้ประกอบการ มีโอกาสเข้าถึงกลไกบริการและองค์ ความรู้ต่างๆ ผ่านเครือข่ายในแต่ละพื้นที่ ซึ่งสามารถส่งต่อโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ ระหว่างหน่วยงานเครือข่าย และสวทช. และหาแนวทางเพื่อตอบโจทย์ให้กับผู้ประกอบการให้ได้รับ ประโยชน์สูงสุด ในการนำเทคโนโลยีไปต่อยอดธุรกิจและสร้างโอกาสใหม่ๆ แก่ธุรกิจให้ประสบ ความสำเร็จ ในขณะ เดียวกันยังเป็นการลดขั้นตอนการประสานงานต่างๆ ให้กับผู้ประกอบการ

สำหรับภาพใหญ่ของสวทช. ส่วนหนึ่งจะเน้นการสนับสนุนให้เกิดการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ใน กลุ่มผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง และยางพารา ในปีนี้นั้นการร่วมมือหน่วยงานเครือข่ายดังกล่าว ถือว่าสอดคล้องกับแผนนี้อย่างมาก โดยภาคอีสานจะมีความโดดเด่นในด้านข้าว และมันสำปะหลัง ส่วนในภาคใต้ก็โดดเด่นในด้านยางพาราการที่สวทช.ได้ตั้งเป้าหมายใหญ่ไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมทั้งสามด้านนี้ เพื่อต้องการขับเคลื่อนให้เกิดการ นำเทคโนโลยีไปสร้างมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากสวทช.มีงานวิจัยจำนวนมากที่สนับสนุน แต่ขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจยังไม่ได้รับข้อมูลและการผลักดันในระดับพื้นที่มา ก่อน ทำให้สถานะของการใช้เทคโนโลยีด้านนี้ยังน้อยอยู่ และเกิดอุตสาหกรรมปลายน้ำไม่มากนัก ซึ่งหากบทบาทของหน่วยงานเครือข่ายส่ง เสริมเทคโนโลยีเกิดขึ้นได้จริงผลที่ เกิดขึ้นคือจะเกิดภาคธุรกิจเกิดใหม่ขึ้นจำนวนมากที่ใช้วัตถุดิบหลัก เหล่านี้ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม ทำให้ภาคการผลิตของไทยพัฒนามากขึ้น และลดการนำเข้าสินค้าจากต่าง ประเทศไปได้อย่างมาก จนในที่สุดเกิดความแข็งแกร่งจนกลายเป็นจุดแข็ง เพราะมีตั้งแต่กระบวน การต้นน้ำถึงปลายน้ำแบบครบวงจร

รศ. ดร. ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล รองอธิการบดี ฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า แนวทางและดำเนินการความร่วมมือกับอุตสาหกรรมของมอ.ในพื้นที่ภาคใต้มี หลาก หลายรูปแบบมาเป็นเวลานาน ทั้งในส่วนที่ม.อ.ดำเนินการเอง และร่วมกับหน่วยงานภายนอก อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสวทช. และเพื่อให้ชัดเจนในการดำเนินการเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง โดย เฉพาะการพัฒนาด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ. จึงจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระขับเคลื่อนกลไกความร่วมมือนี้ และยังจัดตั้งสำนัก งานความร่วมมืออุตสาหกรรม หรือ “OIL” (Office of Industrial Liaison) ภายใน อุทยานวิทยาศาสตร์ เพื่อดำเนินการและประสานงานความร่วมมือกับอุตสาหกรรม ในการพัฒนาศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรมให้มีขีดความ สามารถเพิ่มมากขึ้น สอด คล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม เชื่อมโยงระหว่างงานวิจัยและพัฒนากับภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นอุตสาหกรรมในภาคใต้จะขึ้นอยู่กับฐานวัตถุดิบในพื้นที่เป็นสำคัญ ซึ่งอันดับหนึ่งก็คือยางพารา ส่วนที่ กำลังมาแรงในขณะนี้ก็คือปาล์ม จากการให้ความสำคัญขององค์ความรู้ทางด้านการผลิตเกี่ยวกับ ยางพารา จะทำให้ สวทช. กับ ม.อ. ซึ่งมีองค์ความรู้และผลงานวิจัยจำนวนมากจะร่วมมือกันเข้า ไปส่งเสริมและสนับ สนุนการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีให้กับธุรกิจในภาคใต้เติบโตขึ้นได้ถึง 30%

ในระยะเวลาอันสั้นต่อจากนี้ ผู้ประกอบการในภาคใต้จะเข้ามาใช้บริการต่างๆ ของ สวทช. และ ของ ม.อ.มากขี้น ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษาโดยเฉพาะทางด้าน สามารถดึงงานวิจัยที่เกี่ยวกับยางพาราและอื่นๆ ตามที่ผู้ประกอบการสนใจมาใช้ในเชิง พาณิชย์ได้อย่างง่ายดาย และลดขั้นตอนการเข้าถึงและใช้บริการ มีแผนสนับสนุนทางการตลาดที่จะ ผลักดันงานวิจัยตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำ และการตลาดที่จะเข้าไปช่วยตั้งแต่ต้นจนถึงการจับคู่ทาง ธุรกิจของผู้ ประกอบการ เกิดโรงงานใหม่ในภาคการผลิตระดับปลายน้ำมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการสร้าง มูลค่าเพิ่มระยะยาวของการผลิตน้ำยางพารา

ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ นั้น ม.อ.และ สวทช.จะร่วมกันนำเทคโนโลยีจากการค้นคว้าวิจัยจากทั้งสอง หน่วยงาน เข้ามา Matching หรือจับคู่ เพื่อทำให้ระดับการวิจัยมีความเท่าเที่ยมกัน จนสามารถ เกิดการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ต่อยอดไปได้ กระบวนการดำเนินการในเบื้องต้นต่อจากนี้ ทาง ม.อ.กับสวทช.จะร่วมกันหารือเพื่อกำหนดขอบข่ายของการให้บริการร่วมกัน กลุ่มเป้าหมาย และ สร้างทิศทางในการสนับสนุน ทั้งนี้ทางสวทช. จะอบรมและพัฒนาเจ้าหน้าที่ของ ม.อ. เพื่อให้ใช้ บริการที่มีอยู่ของสวทช.อย่างเต็มที่ ซึ่งจะเป็นการลดขั้นตอนในการเข้ามาใช้บริการอย่างมาก และ ต่อไปก็จะทำให้หน่วยงานในท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถนำแหล่งทุนและเทคโนโลยีมาสนับสนุนผู้ ประกอบการท้องถิ่นได้อย่างสะดวก ในอนาคต

รศ. ดร. รังสรรค์ วงศ์สรรค์ รองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เปิดเผย ว่า การที่สวทช. ร่วมกับ มทส. จัดตั้งศูนย์เครือข่ายในพื้นที่จะทำให้ผู้ประกอบการจะได้รับ ประโยชน์จากการ ให้บริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ มทส. มากขึ้นตั้งแต่ การมีพื้นที่วิจัยที่อยู่ใกล้กับ นักวิจัย มทส. ซึ่งจะทำให้การดำเนินการวิจัยร่วมกันได้เสร็จเร็ว สะดวกขึ้น ค่าใช้จ่ายในการวิจัย และพัฒนาน้อยลง ด้วยการบริการแบบ One Stop Service ของอุทยานวิทยาศาสตร์ มทส. และ การเดินทางที่ไม่ไกล ได้รับการให้บริการด้านธุรกิจและบริการด้านอื่นๆ ของ อุทยานวิทยาศาสตร์ มทส. ที่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ ได้รับความสะดวกในการหาข้อมูลนักวิจัย และข้อมูล เทคโนโลยี เมื่อต้องการวิจัย ได้รับข้อมูลและการสนับสนุนช่วยเหลือของภาครัฐอื่นๆ ได้ง่ายขึ้นและ ครบถ้วนสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากความร่วมมือคือ สามารถยกระดับผลิตภัณฑ์และความสามารถการแข่งขันให้สูง ขึ้น เป็นการส่งเสริมให้เกิดการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ ส่งผลให้เกิดการสร้างรายได้ เกิดการ จ้างงานในท้องถิ่นทำให้ไม่ต้องย้ายถิ่นฐานเพื่อไปทำมาหากินที่อื่น เกิดความช่วยเหลือเกื้อกูลกันของ คนในชุมชน ทำให้เกิดการพัฒนาในระดับภูมิภาคอย่างยั่งยืนต่อไป มทส. จึงเป็นกลไกที่สำคัญในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจได้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

View :1529

ประกาศความเข้าใจเรื่อง “กางเกงแก้ว” ที่ถูกต้อง ในส่วนของ สวทช.

November 8th, 2011 No comments
View :1313

สวทช. เปิด 2 โครงการ เรียนรู้ ประดิษฐ์ สร้างสรรค์ ผลิตกล้องดูดาวจากท่อพีวีซี 

February 2nd, 2011 No comments

พร้อมส่งเสริมเยาวชนร่วมทดลองผลงานวิจัยบนสถานีอวกาศนานาชาติ ที่ประเทศญี่ปุ่น

 

วันที่ 2  กุมภาพันธ์ 2554  ณ อาคารอิมแพค เมืองทองธานี  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ () จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการกล้องดูดาวพีวีซีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามลคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554  โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่าง และ บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน)  เพื่อเฉลิมพระเกียรติและเผยแผ่พระเกียรติคุณ  และพระบุญญาธิการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยดำเนินโครงการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ผ่านกิจกรรมค่าย “การสร้างกล้องดูดาวพีวีซีเฉลิมพระเกียรติฯ ๘๔ พรรษา” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนไทยได้เรียนรู้หลักการทางวิศวกรรมในการออกแบบและประดิษฐ์กล้องดูดาว และเยาวชนจะได้ประดิษฐ์กล้องดูดาวด้วยตนเอง  โดยนำท่อพีวีซีซึ่งหาง่ายและราคาถูกมาประยุก์ใช้เป็นส่วนประกอบของลำตัวกล้อง  กล้องที่ประดิษฐ์ขึ้นสามารถใช้ดูดาว แกแลกซี และดูดวงอาทิตย์ได้

นอกจากนี้ยังมีโครงการที่เป็นความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับองค์กรอวกาศญี่ปุ่น (Japan Aerospace Exploration Agency; JAXA) ที่เปิดโอกาสให้นักวิจัย นักเรียน และนักศึกษา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอวกาศของไทย โดยส่งผลงานวิจัยขึ้นไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ และขึ้นทำการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำบนเที่ยวบินพาราโบลิก

นายก้องศักดิ์ ยอดมณี ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า  “โครงการกล้องดูดาวพีวีซีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ นี้ เป็นโครงการที่ส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิศวกรรมให้แก่เด็กและเยาวชนไทย  โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนได้มาเรียนรู้ ร่วมประดิษฐ์ ออกแบบกล้องดูดาวที่ทำมาจากท่อพีวีซี ด้วยตนเอง  ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่กำลังรุดหน้าก้าวไกล ช่วยให้เยาวชนเกิดความคิดอย่างเป็นระบบและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อันเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมกันพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ นับว่าเป็นโอกาสดีสำหรับโรงเรียน ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา และศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่น ที่จะได้รับกล้องดูดาวเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป สำหรับโครงการ JAXA เป็นที่คาดหมายได้ว่า ผลจากความร่วมมือนี้น่าจะนำไปสู่ความสำเร็จในการค้นพบผลงานวิจัยใหม่ ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ที่นอกจากจะเป็นสิ่งที่นำมาซึ่งความตื่นตาตื่นใจมาสู่สาธารณชนแล้ว ยังเปิดโลกแห่งการค้นคว้าวิจัย ให้กับวงการวิชาการในหลายๆสาขา  ไม่ว่าจะเป็นด้านยารักษาโรค วัสดุชนิดใหม่ รวมไปถึงการแปรเปลี่ยนยีนส์ที่ทำให้ได้พืชพันธุ์ชนิดใหม่ๆ ซึ่งการวิจัยทดลองด้านต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ได้ทั้งข้อมูลและการปรับประยุกต์ใช้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติต่อไปในอนาคต”

ด้านดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า “สวทช. มีโครงการความร่วมมือที่ดีกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนด้านต่างๆ ด้วยดีเสมอมา อย่างเช่นโครงการกล้องดูดาวพีวีซีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ เป็นโครงการที่ สวทช. ได้ร่วมมือกับบริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) ที่มีความตั้งใจที่จะนำเสนอโครงการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และการสร้างสิ่งประดิษฐ์ให้แก่เยาวชนไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติและเผยแผ่พระเกียรติคุณ  และพระบุญญาธิการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงมีบทบาทในการส่งเสริมการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อการพัฒนาชุมชนในชนบทของไทยให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนและเยาวชนไทยได้เรียนรู้หลักทางวิศวกรรมพร้อมกับความรู้เกี่ยวกับจักรวาลและเอกภพ รวมทั้งการออกแบบและประดิษฐ์กล้องดูดาวด้วยตนเอง ที่ต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์และทักษะทางวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งแต่การออกแบบและการลงมือประดิษฐ์ ทำให้เยาวชนได้มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ ได้ลงมือปฏิบัติ เพื่อเรียนรู้การแก้ปัญหา เกิดการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ให้เกิดนวัตกรรมที่เป็นรูปธรรมที่นำไปพัฒนาต่อยอดจนเกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ได้

สำหรับโครงการความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับองค์กรอวกาศญี่ปุ่น หรือ JAXA ก็เป็นอีกโครงการหนึ่งที่เปิดโอกาสให้นักวิจัย นักเรียนและนักศึกษา ส่งข้อเสนอโครงการทดลองในอวกาศหรือการทดลองในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงเข้าร่วมประกวด โดยผลงานที่ผ่านการคัดเลือกพร้อมเจ้าของผลงานจะได้ขึ้นทำการทดลองบนเครื่องบินที่ทำการบินแบบพาลาโบลา  โดย สวทช. จะมีทีมนักวิจัยช่วยเป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาชุดการทดลอง และสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำการทดลองที่ประเทศญี่ปุ่นด้วย”

View :1517
Categories: Press/Release Tags: