Archive

Posts Tagged ‘ITU’

กระทรวงไอซีที – กสทช. – ทีเส็บเผยความคืบหน้าเตรียมงาน ITU Telecom World 2013 พร้อมรับผู้นำไอทีโลกถกรับมือการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิตอล

September 26th, 2013 No comments

กรุงเทพฯ / 26 กันยายน 2556 – 3 หน่วยงานผนึกกำลังเป็นเจ้าภาพจัดงาน Telecom World 2013 งานนิทรรศการด้านเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศระดับโลก เผยความคืบหน้าการเตรียมงาน เพื่อรับผู้นำอุตสาหกรรมไอทีทั่วโลกกกว่า 20,000 คนถกแนวทางการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิตอลและการพัฒนามาตรฐานด้านไอทีและโทรคมนาคมของโลก ซึ่งประเทศไทยได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดงานนี้เป็นครั้งแรก ในระหว่างวันที่ 19-22 พฤศจิกายนนี้ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี

น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า ITU Telecom World เป็นงานนิทรรศการใหญ่ระดับโลกประจำปีสำหรับผู้อยู่ในอุตสาหกรรมไอทีที่จัดขึ้นโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) “จากการที่ประเทศไทยได้รับสิทธิเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ITU Telecom World 2013 ขณะนี้ คณะกรรมการอำนวยการจัดงาน ซึ่งมีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ เป็นแกนหลัก ได้ประสานงานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและได้มีการเตรียมความพร้อมในทุกด้านอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการประชาสัมพันธ์การจัดนิทรรศการ การอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง พิธีการ ที่พัก ความปลอดภัย และอื่นๆ เชื่อว่าประเทศไทยมีความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพในงานนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในเวทีโลก และตอกย้ำบทบาทของไทยในการสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานและกฎเกณฑ์ในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโลก รวมทั้งแสดงศักยภาพของประเทศที่จะเป็นศูนย์กลางด้านไอทีของภูมิภาคต่อไป”

แนวคิดหลักของการจัดงานในปีนี้คือ Embracing Change in a Digital World หรือการเตรียมความพร้อมสู่การเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิตอล ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกตระหนักและกำลังร่วมกันเตรียมการเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิตอลต่างๆ

หัวข้อหลักที่จะมีการพูดคุยกันในงานนี้ภายใต้แนวคิดหลักดังกล่าว จะเน้น 5 ประเด็น คือ ความเปลี่ยนแปลงในวิธีการสื่อสารของผู้คน ความจำเป็นของโมเดลธุรกิจในยุคข้อมูลเป็นใหญ่ พลวัตความเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ตลอดจนความจำเป็นของระเบียบควบคุมใหม่ๆ และกระบวนการวางมาตรฐาน อันเกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยีโมบาย โซเชียลเน็ตเวิร์ค คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิตอลต่างๆ

งาน ITU TELECOM WORLD 2013 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2556 มีกิจกรรมหลายรูปแบบทั้งการประชุม การบรรยาย การอภิปรายโดยผู้แทนและผู้นำของหน่วยงานที่รับผิดชอบการกำหนดมาตรฐานด้านโทรคมนาคมของประเทศต่างๆ รวมถึงผู้นำอุตสาหกรรมไอทีและโทรคมนาคมของโลกเข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังเป็นที่สนใจของโลกไอที เพื่อกำหนดแนวทางอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโลก

นอกจากนี้ ยังมีการแสดงนิทรรศการและการสาธิตเทคโนโลยี นวัตกรรม โซลูชั่น ผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ด้านสารสนเทศ การสื่อสาร และโทรคมนาคม ตลอดจนกิจกรรมอื่นๆ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานได้พบปะ พูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็น และข้อมูลระหว่างกัน รวมทั้งเจรจาโอกาสทางธุรกิจหรือความร่วมมือต่างๆ ร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจโทรคมนาคมและการสื่อสารของโลกต่อไป

อีกส่วนหนึ่งของงานคือการประกวด Young Innovators Competition 2013 ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ที่เรียกว่า “social technopreneur” ซึ่งมีความสามารถในการสร้างสรรค์โซลูชั่นด้านการสื่อสารโทรคมนาคม โดย ผู้เข้ารอบสุดท้าย 10 คนที่คัดมาจากผู้สมัครกว่า 600 คนจาก 88 ประเทศทั่วโลก จะได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อป นำเสนอโครงการ และได้มีโอกาสทำงาน พบปะ หรือทำความรู้จักกับผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมจริง รวมทั้งได้รับโอกาสที่จะได้รับเงินสนับสนุนการพัฒนาสูงสุด 10,000 เหรียญสหรัฐอีกด้วย

# # #

เกี่ยวกับ ITU
ITU เป็นทบวงการชำนัญพิเศษภายใต้สหประชาชาติ ซึ่งมีหน้าที่พัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสาร ด้วยประวัติการทำงานเกือบ 150 ปี ITU ได้ประสานความร่วมมือในการจัดสรรการใช้คลื่นวิทยุความถี่ของสังคมโลกส่งเสริมความร่วมมือของนานาชาติในการจัดสรรวงจรดาวเทียม ตลอดจนทำงานภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงระบบการสื่อสารโทรคมนาคมพื้นฐานในประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้ ITU ยังมีบทบาทในการวางมาตรฐานโทรคมนาคมทั่วโลกเพื่อเชื่อมโยงระบบการสื่อสาร คมนาคมรูปแบบต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ITU มุ่งมั่นเชื่อมโยงโลกทั้งใบผ่านระบบสื่อสารต่างๆ ตั้งแต่เครือข่ายบรอดแบนด์ เทคโนโลยีไร้สายยุคใหม่ ระบบนำร่องเพื่อการบินและการเดินทะเล ระบบดาราศาสตร์วิทยุ ระบบพยากรณ์อากาศผ่านดาวเทียม การประสานเทคโนโลยีไร้สายและใช้สายเข้าด้วยกันเพื่อให้สื่อสารได้ทุกที่ทุก เวลา ไปจนถึงเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและระบบออกอากาศของโทรทัศน์

View :1472
Categories: Technology, Telecom Tags:

ก.ไอซีที จับมือ ITU และ UNESCAP จัดประชุมเพื่อพัฒนาด้าน ICT และโทรคมนาคมในภูมิภาค

May 16th, 2012 No comments


นายวรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุม Asia – Pacific Regional Development Forum ว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ร่วมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ) และคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: ) ได้จัดการประชุม ITU Asia – Pacific Regional Development Forum ขึ้นในระหว่างวันที่ 16 – 18 พฤษภาคม 2555 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ

“การประชุมฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อใช้เป็นเวทีสำหรับผู้กำหนดนโยบาย ผู้กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม ผู้นำจากภาคธุรกิจ/ อุตสาหกรรม และผู้เชี่ยวชาญจากภาควิชาการ ในการนำเสนอข้อมูลและร่วมหารือเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาด้าน ICT และโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยจะเปิดโอกาสให้มีการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์การดำเนินงานของภาคส่วนต่างๆ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการโทรคมนาคมและ ICT ซึ่ง ITU ได้กำหนดหัวข้อหลักของการประชุมไว้ว่า “ICTs for Sustainable and Inclusive Development” หรือ “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุมประชากรทุกกลุ่ม” นายวรพัฒน์ กล่าว

สำหรับรายละเอียดของการประชุมฯ นั้น จะแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อย่อย คือ 1. การปกครองที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล (Transparent and Effective Governance in the Digital Age) เน้นประเด็นการให้ความสำคัญกับบทบาทของบรอดแบนด์ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่างๆ รวมถึงการมีกรอบนโยบายด้านบรอดแบนด์ที่เหมาะสม ซึ่งที่ประชุมจะพิจารณาเกี่ยวกับปัจจัยเชิงนโยบายสำคัญๆ ที่จะเอื้อให้เกิดการสร้างโอกาสในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม / ICT รวมทั้งการเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง

2. สังคมดิจิทัลที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Safer and Greener Digital Society) จะมุ่งเน้นบทบาทและประโยชน์ของ ICT ในบริบทต่างๆ อาทิ การพัฒนาไปสู่เป้าหมายแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) การประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยสังคมสารสนเทศ (World Summit on the Information Society: WSIS) ประเด็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกและการรับมือ การใช้งาน ICT ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การลดความเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติ ความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การลดช่องว่าง/ ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึง ICT โดยใช้เศรษฐกิจดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์ – นวัตกรรม (Bridging Digital Divide through Innovative and Creative Digital Economy) การประชุมในช่วงนี้จะเน้นย้ำถึงการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจดิจิทัล ที่สร้างโอกาสในการพัฒนา การสร้างงาน และการขยายตลาดโลกสำหรับเทคโนโลยีและบริการ ตลอดจนลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในสภาพการณ์ดังกล่าว ซึ่งผู้กำหนดนโยบายควรจะมีเป้าหมายในการให้บริการอย่างทั่วถึงแก่ประชาชนทุกกลุ่ม

และ 4. การก้าวไปสู่สังคมที่ชาญฉลาด (Moving towards Smart Society) การประชุมช่วงนี้จะมุ่งเน้นการอภิปรายในเรื่องบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นโยบาย และกฎข้อบังคับต่างๆ ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสังคมที่ชาญฉลาด หรือ “Smart Society” โดยจะมีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น Intelligence transportation, Smart Grid, Intelligent Car, Intelligent Home and Workplace เป็นต้น

นอกจากการประชุมดังกล่าวแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองวันโทรคมนาคมและสังคมสารสนเทศโลกซึ่งตรงกับวันที่ 17 พฤษภาคม ของทุกปี โดยหัวข้อหลักของการจัดงานวันโทรคมนาคมและสังคมสารสนเทศโลก ประจำปี ค.ศ. 2012 นี้ คือ “Women and Girls in ICT” ซึ่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะเป็นผู้แทน นายกรัฐมนตรี นำเสนอถ้อยแถลงในพิธีเฉลิมฉลองดังกล่าว พร้อมกันนี้ กระทรวงฯ ยังมีกิจกรรมคู่ขนานด้วยการจัดแสดงนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ รวมถึงผลงานของกระทรวงฯ และหน่วยงานด้าน ICT และโทรคมนาคมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับ “” อีกด้วย

View :1466

ก.ไอซีที จับมือ ITU และ UN-ESCAP เป็นเจ้าภาพจัดประชุม Asia-Pacific Regional Forum on ICT Applications

May 18th, 2011 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุม ว่า กระทรวงฯ ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Asia – Pacific Regional Forum on ICT Applications ร่วมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ( International Telecommunication Union : ) และคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ ( United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific : ) ในระหว่างวันที่ 18 – 21 พฤษภาคม 2554 โดยมีหน่วยงานสหประชาชาติและหน่วยงานด้านโทรคมนาคม หรือ ICT อาทิ UNESCO, FAO, WHO, ADB, telecentre.org , สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ , รัฐบาลออสเตรเลีย , Intel, Microsoft, DTAC เป็นต้น ให้การสนับสนุน

“ การประชุม Asia-Pacific Regional Forum on ICT Applications ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการถ่ายทอดข้อมูล ความรู้ เทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะระหว่างผู้แทนจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมและพัฒนาการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านต่างๆ อาทิ การศึกษา ( e-Education) สาธารณสุข ( e-Health) การพาณิชย์ ( e-Commerce) การเกษตร ( e-Agriculture) รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Government) เป็นต้น ซึ่งจะมุ่งเน้นในเรื่องการกระจายโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก ICT ไปสู่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ชนบท นอกจากนี้ ยังเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวันโทรคมนาคมและสังคมสารสนเทศโลก ( World Telecommunication and Information Society Day) ในวันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปี โดยปีนี้มีหัวข้อหลักของงาน คือ ‘Better Life in Rural Communities with ICTs’ ” นายจุติ กล่าว

ส่วนกิจกรรมอื่นๆ ที่จัดขึ้นนอกเหนือจากการประชุมหลักนั้น มีการแสดงนิทรรศการผลงานของหน่วยงานด้าน ICT และโทรคมนาคมต่างๆ รวมถึงเทคโนโลยีและตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน ICT ในด้านต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงานสร้างรายได้ และการยกระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมของประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมฟรี และสามารถลงทะเบียนผ่านทางอีเมล์โดยดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ http://www.itu.int/ITU-D/asp/CMS/Events/ 2011/ ict-apps/index.asp

“ นอกจากนิทรรศการแล้ว ยังมีพิธีเฉลิมฉลองเนื่องในวันโทรคมนาคมและสังคมสารสนเทศโลกในวันที่ 19 พฤษภาคม 2554 ซึ่งได้รับเกียรติจากนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธี และงานเลี้ยงต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมในวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 ซึ่งมีหัวข้อหลักของงาน คือ “Impact of Broadband on Information Economy” โดยมีนายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา ( UNCTAD) ให้เกียรติเข้าร่วมกล่าวปาฐกถาในงานเลี้ยงดังกล่าว

สำหรับการประชุมครั้งนี้ มีผู้แทนจากประเทศสมาชิก ITU หน่วยงานด้าน ICT และโทรคมนาคม หน่วยงานภาควิชาการ องค์กรระหว่างประเทศ ตลอดจนผู้แทนจากหน่วยงานภาคเอกชนเข้าร่วมประชุมประมาณ 200 คน ซึ่งกระทรวงฯ จะได้นำผู้เข้าร่วมการประชุม ทั้งหมดไปเยี่ยมชมและศึกษาดูงานศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ที่กระทรวงฯ ได้จัดตั้งขึ้นในกรุงเทพฯ หรือพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย ” นายจุติ กล่าว

View :1470

ก.ไอซีที ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดประชุม ITU -Regional Workshop on IMT for the Next Decade

March 21st, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ -Regional Workshop on IMT for the Next Decade ว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ร่วมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ( International Telecommunication Union : ) ในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Regional Workshop on IMT for Next Decade ขึ้นที่กรุงเทพมหานคร

“การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นการประชุมในระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่จัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเวที ในการอภิปราย เผยแพร่ความรู้ รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในแง่การตลาด และแนวโน้มความต้องการในการใช้งานของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่นับตั้งแต่ได้มี การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายในประเด็น ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินอัตราความต้องการในการใช้โทรศัพท์ไร้สายความเร็วสูง หรือ Mobile Broadband Wireless ของผู้ใช้งานในอนาคต เพื่อรองรับกับการพัฒนา International Mobile Telecommunication หรือ IMT ในระหว่างปี ค.ศ.2012 – 2022 และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยี IMT – Advanced และความสำคัญของคลื่นความถี่วิทยุในการพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารดังกล่าว” นางจีราวรรณ กล่าว

สำหรับ การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว กระทรวงฯ ได้เชิญชวนให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการพัฒนากิจการการสื่อสารของไทยเข้าร่วมการ ประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ด้วย เพื่อให้มีโอกาสได้รับรู้ถึงทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จากผู้เชี่ยวชาญขององค์การระหว่างประเทศ และผู้เชี่ยวชาญจากประเทศผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เป็นต้น

View :1684
Categories: Press/Release Tags: ,

ก.ไอซีทีเสนอคณะรัฐมนตรีขอมติหน่วยงานไทยร่วมสนับสนุนการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาบริหาร ITU

August 16th, 2010 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิด เผยว่า ได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้กระทรวงต่างๆ ของไทยได้พิจารณาหยิบยกประเด็นการสมัครรับเลือกตั้งของประเทศไทย ในตำแหน่งสมาชิกสภาบริหาร (Council) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ( International Telecommunication Union หรือ ) เพื่อขอเสียงสนับสนุนจากประเทศต่างๆ ในโอกาสที่มีผู้แทนระดับสูงหรือเอกอัครราชทูตจากประเทศสมาชิก เข้าพบผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานไทย หรือในโอกาสที่ผู้บริหารระดับสูงของไทยเดินทางไปราชการต่างประเทศ และมีโอกาสพบปะกับผู้บริหารระดับสูงของประเทศสมาชิก

“เนื่องจากการเลือกตั้งในตำแหน่งสมาชิกสภาบริหารของ ITU ในครั้งนี้ มีการแข่งขันสูงกว่าครั้งที่ผ่านๆ มามาก ซึ่งเห็นได้จากจำนวนประเทศที่ลงสมัครในครั้งนี้มีมากขึ้น และประเทศต่างๆ ได้ใช้รูปแบบการหาเสียงและแลกเสียงข้ามสาขา และกระจายไปในองค์การระหว่างประเทศต่างๆ โดยในส่วนของภูมิภาคเอเชียและออสตราเลเซีย ซึ่งมีจำนวนที่นั่ง 12 ที่นั่ง ขณะที่มีประเทศที่ลงสมัครรับเลือกตั้งจำนวนถึง 17 ประเทศ กระทรวงฯ จึงเห็นสมควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาขอให้ทุกหน่วยงานของประเทศไทยร่วมสนับ สนุน” นายจุติ กล่าว

การเลือกตั้งในตำแหน่งสมาชิกสภาบริหารของ ITU กำหนดจะมีขึ้นในระหว่างการประชุมใหญ่ผู้มีอำนาจเต็ม ( ITU Plenipotentiary Conference) ค.ศ. 2010 หรือ PP- 10 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ เมืองฮัวดาลาฮารา ( Guadalajara) ประเทศเม็กซิโก ระหว่างวันที่ 4-22 ตุลาคม 2553 ทั้งนี้ ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาอนุมัติเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 ให้ประเทศไทยโดยกระทรวงไอซีทีสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาบริหาร ของ ITU วาระ ค.ศ. 2010 – 2014 และได้มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการขอเสียงสนับสนุนจากประเทศสมาชิกของ ITU ในการสมัครเข้ารับการเลือกตั้งของประเทศไทย กระทรวงไอซีทีและกระทรวงการต่างประเทศได้ร่วมกันดำเนินการขอเสียง/แลกเสียง ของไทยกับประเทศสมาชิก ITU ในหลายๆ ช่องทาง โดยกระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือถึงสถานเอกอัครราชทูตประเทศสมาชิก ITU ประจำประเทศไทยเพื่อขอรับการสนับสนุน และยังได้มีหนังสือแจ้งไปยัง สถานเอกอัครราชทูตของไทยประจำประเทศที่เป็นสมาชิกสหภาพ ITU เพื่อพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการขอเสียงการสมัครรับเลือกตั้งของไทยอีก ด้วย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีก็ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีด้านโทรคมนาคม/ ICT ของประเทศสมาชิก ITU เพื่อขอเสียง/แลกเสียงด้วย

ขณะเดียวกัน กระทรวงไอซีทีได้ดำเนินการต่างๆ เพื่อมีส่วนร่วมในกิจกรรมของ ITU และเตรียมท่าทีของไทยเพื่อแสดงบทบาทของประเทศไทยในเวทีการประชุมระหว่างประเทศต่างๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยได้แต่งตั้ง “ คณะกรรมการเตรียมการสำหรับการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ปี ค.ศ.2010 ” ซึ่งมีปลัดกระทรวงไอซีทีเป็นประธานกรรมการ และมีผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงไอซีที กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ บมจ. ทีโอที และ บมจ. กสท โทรคมนาคม ร่วมเป็นกรรมการ รวมทั้งได้อนุมัติให้ดำเนิน “โครงการการสมัครเข้ารับการเลือกตั้งซ้ำเป็นสมาชิกสภาบริหารของสหภาพโทร คมนาคมระหว่างประเทศ ปี ค.ศ. 2010” โดยจัดทำเอกสารแผ่นพับหาเสียง รวมถึงของที่ระลึกสำหรับหัวหน้าคณะผู้แทน รองหัวหน้าคณะผู้แทน และผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุม PP- 10

ITU เป็นทบวงการชำนัญพิเศษภายใต้สหประชาชาติ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกจำนวน 191 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส และมีสำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร สำหรับสภาบริหาร ITU ประกอบด้วยประเทศสมาชิกจำนวน 46 ประเทศ ประเทศละ 1 ที่นั่ง ซึ่งมีการแบ่งสัดส่วนในการคัดเลือกออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่ อเมริกา 8 ที่นั่ง ยุโรปตะวันตก 8 ที่นั่ง ยุโรปตะวันออก 5 ที่นั่ง แอฟริกา 13 ที่นั่ง และเอเชียและออสตราเลเซีย 12 ที่นั่ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี โดยมีหน้าที่พิจารณากำหนดนโยบายและวางแผนงานด้านโทรคมนาคม รวมถึงการบริหารงานของ ITU ให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของกิจการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ รวมทั้งประสานงานในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของ ITU , ควบคุมดูแลและบริหารการเงิน รวมถึงทรัพยากรบุคคล ตลอดจนอำนวยความสะดวกให้แก่ประเทศสมาชิกในการบังคับใช้ข้อกำหนดต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในธรรมนูญ อนุสัญญา และระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของ ITU ทั้งนี้ ประเทศไทยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาบริหารครั้งแรกในการประชุมใหญ่ผู้แทน ผู้มีอำนาจเต็ม พ.ศ. 2516 และได้รับการเลือกตั้งซ้ำเป็นสมาชิกสภาบริหารอีก 7 สมัยติดต่อกัน ทำให้ประเทศไทยได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนกลยุทธ์ต่างๆ ตลอดจนการบริหารและแก้ไขปัญหาสำคัญของ ITU มาโดยลำดับ อันเป็นเกียรติแก่ประเทศไทยที่ประเทศสมาชิกอื่นๆ ให้การยอมรับ การปฏิบัติเช่นนี้ได้เอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยในการวางแผนงานการ พัฒนาและการปรับปรุงกิจการโทรคมนาคมของไทยให้ก้าวหน้าและทันสมัยจนอยู่ใน ระดับมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

View :1428