Home > Press/Release > บทความวิชาการจากนักวิจัยเนคเทคได้รับเกียรติขึ้นปกวารสารวิชาการระดับโลก

บทความวิชาการจากนักวิจัยเนคเทคได้รับเกียรติขึ้นปกวารสารวิชาการระดับโลก

วารสารวิชาการนานาชาติด้านวิศวรรกรรม สาขาวิศวรกรรมควอนตัมอิเล็กทรอนิกส์ ( Selected Topics in Quantum Electronics ) ประจำเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ปี 2553 ได้เลือกบทความวิชาการของนักวิจัยไทยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เรื่อง กล้องช่วยวินิจฉัยและตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้นอัฉริยะMEMs-Based Dual Axes Confocal Microendoscopy ให้ตีพิมพ์บนหน้าปกของเล่ม

กล้องช่วยวินิจฉัยและตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้นอัฉริยะ [MEMs-Based Dual Axes Confocal Microendoscopy] เป็นผลงานวิจัยพัฒนานวัตกรรม “ระบบเก็บภาพด้วยเอนโดสโคป” ซึ่งจะสามารถตรวจจับ ค้นหาโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้น เพื่อที่จะช่วยรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งให้มีโอกาสหายขาดได้ นวัตกรรมนี้จะช่วยค้นหาโรคมะเร็งทางพื้นผิวชั้นบน ซึ่งจะพบมากในผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมด (85% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมดในประเทศไทย) วิจัยพัฒนาโดย ดร.วิบูลย์ ปิยวัฒนเมธา นักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล้กทรอนิกส์และคอมพิวเตรอ์แห่งชาติ(เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตรืและเทคโนโลยี โดยได้รับทุนการวิจัยอย่างต่อเนื่องจากสภาวิจัยแห่งชาติ และเนคเทค/สวทช. พร้อมมีความร่วมมือทางวิชาการกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งคาดว่าจะมีผลงานวิจัยต้นแบบในต้นปี 2554 นี้

ดร.วิบูลย์ ปิยวัฒนเมธา ปัจจุบันเป็นนักวิจัยประจำศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ มีผลงานเด่น อาทิ การได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกระดับสูง (Senior Member) จากสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ (Institute of Electrical and Electronics Engineers : IEEE) ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพสากลทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงซอฟต์แวร์ เมื่อต้นปี 2553 และมีผลงานการเขียนบทความทางวิชาการติดอันดับ 1 ใน 10 ของ สวทช. ตามดัชนีย์ชีวัดh-index คือ ดัชนีชี้วัดถึงคุณภาพของผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์ชุดใหม่ ที่มีการนำเสนอในราวปี 2548 และมีกระแสตอบรับในทิศทางยอมรับของชุมชนวิจัยระดับนานาชาติในทางบวก เป็นดัชนีที่ได้จากการวัดของจำนวนผลงานตีพิมพ์ และจำนวนที่ได้รับการได้รับการอ้างอิง โดยวัดจาก 2 ค่า พร้อม ๆ ถือว่าเป็นการวัดถึงผลผลิตงานวิจัยวิทยาศาสตร์ (Scientific Productivity) ร่วมกับค่าผลกระทบ (Impact factor)

รายละเอียดของการวัดค่า h-inde

View :1561

Related Posts

Categories: Press/Release Tags: ,
  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.