Archive

Archive for the ‘Science’ Category

นักวิจัยเนเทค คว้ารางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ในเวที “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี ๒๕๕๕

February 3rd, 2012 No comments


(ซ้ายมือ)ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ นักวิจัยและหัวหน้าห้องปฏิบัติการนาโนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกลจุลภาค ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี ประจำปี ๒๕๕๕ ในสาขาด้านเกษตรศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตร จากผลงานวิจัยเรื่อง “เครื่องวัดความขุ่นสำหรับตรวจเชื้อไวรัสในกุ้ง”

(ขวามือ) ดร.จันตรี ผลประเสริฐ นักวิจัยจากหน่วยปฎิบัติการวิจัยนวัตกรรมไร้สาย ข้อมูลความมั่นคง และนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี ในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ จากวิทยานิพนธ์หัวข้อ “การส่งสัญญาณแบบความถี่กว้างบนช่องสัญญาณที่มีการกระจายทั้งในทางเวลาและความถี่ (Wideband Communications over Time and Frequency Spread Fading Channels)”, University of Washington, Seattle, USA

ในงานพิธีการมอบรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประกอบด้วยรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์ โดยมีพลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ร่วมเป็นประธานในพิธีมอบรางวัล ซึ่งพิธีการดังกล่าวจัดขึ้นในงาน “” ประจำปี ๒๕๕๕ ณ ฮอลล์ ๙ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

View :1660

นักวิชาการม.อ.คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่น ปี 2554

February 2nd, 2012 No comments

คิดค้นชุดตรวจวัดฟอร์มาลดีไฮด์ราคาถูก ลดเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งในโรงงาน

นักวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.หาดใหญ่ คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่น ประจำปี 2554 สาขาวิทยาศาสตร์ เคมีและเภสัช จาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หลังคิดค้นประดิษฐ์ชุดตรวจวัดฟอร์มาลดีไฮด์ราคาประหยัด ตรวจวัดระดับสารระเหยอินทรีย์ที่มีพิษก่อให้เกิดโรคมะเร็งในโรงงานอุตสาหกรรม

รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า การคัดเลือกผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2554 ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติสูงสุดสำหรับนักวิจัย โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นั้น ปรากฏว่า รองศาสตราจารย์ ดร.เพริศพิชญ์ คณาธารณา หัวหน้าทีมวิจัยและอาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้รับเลือกให้รับรางวัลดังกล่าว ในสาขาวิทยาศาสตร์ เคมีและเภสัช

โดยในปีนี้ มีนักวิจัย 10 คน ได้รับรางวัล “” ใน 8 สาขา ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์ และสาขาสังคมวิทยา

สำหรับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ เป็นรางวัลที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ มอบให้นักวิจัยไทยที่มีคุณสมบัติโดดเด่น เป็นผู้ที่อุทิศตนให้แก่การวิจัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายเรื่อง ในกลุ่มวิชาการหรือสหวิทยาการอย่างต่อเนื่อง มีผลงานวิจัยดีเด่นที่แสดงถึงความคิดริเริ่มและเป็นผลงานวิจัยที่ทําสะสมกันมาไม่น้อยกว่า 5 ปี มีจริยธรรมของนักวิจัยจนเป็นที่ยอมรับและยกย่องในวงวิชาการนั้นๆ ผลงานวิจัยสร้างคุณูปการต่อวงวิชาการและประชาชน สมควรเป็นแบบอย่างแก่นักวิจัยผู้อื่นได้ และเป็นผู้ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ และสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติให้เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมและเชิดชูเกียรติ เหมาะสมที่จะได้รับการยอมรับยกย่อง เพื่อเป็นแบบอย่างแก่นักวิจัยอื่นๆ ต่อไป

อธิการบดี ม.อ. กล่าวด้วยว่า รองศาสตราจารย์ ดร.เพริศพิชญ์ คณาธารณา หัวหน้าทีมวิจัยและเป็นผู้อำนวยการสถานวิจัยการวิเคราะห์สารปริมาณน้อยและไบโอเซนเซอร์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ซึ่งเป็นผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นประจำปี 2554 ในสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชนั้น เป็นผู้เริ่มคิดค้นประดิษฐ์ชุดตรวจวัดฟอร์มาลดีไฮด์ราคาประหยัด โดยพัฒนาตัวดูดซับสำหรับการวิเคราะห์สารพิษ ด้วยวัสดุคอมโพสิทของท่อนาโนคาร์บอนและครัยโอเจล ที่ง่ายต่อการใช้งาน มีขนาดเล็ก เพื่อนำไปใช้ตรวจวัดฟอร์มาลดีไฮด์ ซึ่งเป็นสารระเหยอินทรีย์ที่มีพิษก่อให้เกิดโรคมะเร็งในโรงงานอุตสาหกรรมและอากาศทั่วไป ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งของแรงงานที่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตกาว

“รองศาสตราจารย์ ดร.เพริศพิชญ์ เป็นหัวหน้าทีมวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์เคมีและเป็นนักวิชาการที่มีผลงานวิจัยและการประดิษฐ์ที่ได้รับการยอมรับ ที่คิดค้นงานวิจัยด้านกระบวนการวิทยาศาสตร์เคมีที่มีความหลากหลาย ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งจากการได้รับสารพิษ ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยที่ผลิตนักวิจัยที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์ และงานวิจัย ที่จะยังผลต่อการเติบโตอย่างมั่นคงของประเทศในอนาคต” อธิการบดี ม.อ.กล่าว

ทั้งนี้ พิธีมอบรางวัลแก่นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จัดขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2555 ณ ฮอลล์ 9 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี โดยรางวัลที่นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติจะได้รับครั้งนี้ ประกอบด้วย เงินรางวัลมูลค่า 500,000 บาท เหรียญนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ และประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติคุณ

View :1610

สวทช. ม.สงขลาฯ ม.ขอนแก่น ม.เทคโนโลยีสุรนารี เปิดหน้าร้านร่วมบริการเทคโนโลยีสู่ภูมิภาค

February 2nd, 2012 No comments

รวมพลัง 3 มหาวิทยาลัยชื่อดัง เปิดหน้าร้านร่วมบริการเทคโนโลยีสู่ภูมิภาคด้วยกัน เน้นนโยบายเชิงรุกปลุกสร้างอุตสาหกรรมปลายน้ำจากวัตถุดิบหลักในพื้นที่ เผยลดขั้นตอนการสนับสนุนพร้อมตอบโจทย์ธุรกิจท้องถิ่นได้ถูกต้อง

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า สวทช.ได้ร่วมลงนามกับ เครือข่ายมหาวิทยาลัยที่มีฐานการวิจัยและมีความพร้อม คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อจัดตั้ง หน่วยงานเครือข่ายส่งเสริมเทคโนโลยี สวทช. – หน่วยงานเครือข่าย โดยแต่ละหน่วยงานภายใต้ ความร่วมมือในครั้งนี้สามารถช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ ประกอบการโดยใช้กลไกบริการสนับสนุนผู้ ประกอบการด้านต่างๆ ทั้งสวทช. และหน่วยงานเครือข่ายได้อย่างครบวงจรสิ่งที่ผู้ประกอบการในท้องถิ่นจะได้รับจากความร่วมมือครั้งนี้คือ เข้าถึงผลงานวิจัยพัฒนาการสนับสนุน ด้านการเงินจากโครงการสนับสนุนด้านสิน เชื่อดอกเบี้ยต่ำ (CD) ศูนย์ลงทุน (NIC) การให้บริการ ด้านทรัพย์สินทางปัญญา (IPS) โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถขอรับการรับรองจาก สวทช. เพื่อขอยกเว้นภาษี 200% (RDC) หรือแม้แต่การสนับสนุนส่วนอื่นๆ อีกมากมายตามแต่ที่โจทย์ ของภาคธุรกิจในพื้นที่จะร้องขอ

“มหาวิทยาลัยทั้ง 3 นั้น แต่ละแห่งมีความโดดเด่นทางด้านงานวิจัย และฐานของธุรกิจที่รองรับ ถือ เป็นการผนึกกำลังกับภาคการศึกษาที่มีความพร้อม ใช้จุดแข็งของแต่ละฝ่ายเสริมซึ่งกันและกัน เพื่อ ประโยชน์และเสริมศักยภาพให้กับอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ในพื้นที่” ดร.ทวีศักดิ์กล่าว

การรวมพลังในครั้งนี้ถือเป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกของสวทช. ที่เน้นความร่วมมือกับพันธมิตรเครือ ข่ายกระจายบริการลงสู่ภูมิภาคอย่างเป็น ระบบ สวทช. จะบูรณาการการทำงานร่วมกันกับเครือ ข่ายส่งเสริมเทคโนโลยีสู่ผู้ประกอบการแบบ ครบวงจรเพื่อผลักดันให้เกิดการใช้มูลค่าเพิ่มจากการคิด ค้นนวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ ที่มีขีดความสามารถในการแข่ง ขันสูง อันจะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ รวมถึงการกระตุ้น เศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนความร่วมมือครั้งนี้เป็นการเพิ่มช่องทางให้กับผู้ประกอบการ มีโอกาสเข้าถึงกลไกบริการและองค์ ความรู้ต่างๆ ผ่านเครือข่ายในแต่ละพื้นที่ ซึ่งสามารถส่งต่อโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ ระหว่างหน่วยงานเครือข่าย และสวทช. และหาแนวทางเพื่อตอบโจทย์ให้กับผู้ประกอบการให้ได้รับ ประโยชน์สูงสุด ในการนำเทคโนโลยีไปต่อยอดธุรกิจและสร้างโอกาสใหม่ๆ แก่ธุรกิจให้ประสบ ความสำเร็จ ในขณะ เดียวกันยังเป็นการลดขั้นตอนการประสานงานต่างๆ ให้กับผู้ประกอบการ

สำหรับภาพใหญ่ของสวทช. ส่วนหนึ่งจะเน้นการสนับสนุนให้เกิดการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ใน กลุ่มผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง และยางพารา ในปีนี้นั้นการร่วมมือหน่วยงานเครือข่ายดังกล่าว ถือว่าสอดคล้องกับแผนนี้อย่างมาก โดยภาคอีสานจะมีความโดดเด่นในด้านข้าว และมันสำปะหลัง ส่วนในภาคใต้ก็โดดเด่นในด้านยางพาราการที่สวทช.ได้ตั้งเป้าหมายใหญ่ไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมทั้งสามด้านนี้ เพื่อต้องการขับเคลื่อนให้เกิดการ นำเทคโนโลยีไปสร้างมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากสวทช.มีงานวิจัยจำนวนมากที่สนับสนุน แต่ขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจยังไม่ได้รับข้อมูลและการผลักดันในระดับพื้นที่มา ก่อน ทำให้สถานะของการใช้เทคโนโลยีด้านนี้ยังน้อยอยู่ และเกิดอุตสาหกรรมปลายน้ำไม่มากนัก ซึ่งหากบทบาทของหน่วยงานเครือข่ายส่ง เสริมเทคโนโลยีเกิดขึ้นได้จริงผลที่ เกิดขึ้นคือจะเกิดภาคธุรกิจเกิดใหม่ขึ้นจำนวนมากที่ใช้วัตถุดิบหลัก เหล่านี้ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม ทำให้ภาคการผลิตของไทยพัฒนามากขึ้น และลดการนำเข้าสินค้าจากต่าง ประเทศไปได้อย่างมาก จนในที่สุดเกิดความแข็งแกร่งจนกลายเป็นจุดแข็ง เพราะมีตั้งแต่กระบวน การต้นน้ำถึงปลายน้ำแบบครบวงจร

รศ. ดร. ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล รองอธิการบดี ฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า แนวทางและดำเนินการความร่วมมือกับอุตสาหกรรมของมอ.ในพื้นที่ภาคใต้มี หลาก หลายรูปแบบมาเป็นเวลานาน ทั้งในส่วนที่ม.อ.ดำเนินการเอง และร่วมกับหน่วยงานภายนอก อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสวทช. และเพื่อให้ชัดเจนในการดำเนินการเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง โดย เฉพาะการพัฒนาด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ. จึงจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระขับเคลื่อนกลไกความร่วมมือนี้ และยังจัดตั้งสำนัก งานความร่วมมืออุตสาหกรรม หรือ “OIL” (Office of Industrial Liaison) ภายใน อุทยานวิทยาศาสตร์ เพื่อดำเนินการและประสานงานความร่วมมือกับอุตสาหกรรม ในการพัฒนาศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรมให้มีขีดความ สามารถเพิ่มมากขึ้น สอด คล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม เชื่อมโยงระหว่างงานวิจัยและพัฒนากับภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นอุตสาหกรรมในภาคใต้จะขึ้นอยู่กับฐานวัตถุดิบในพื้นที่เป็นสำคัญ ซึ่งอันดับหนึ่งก็คือยางพารา ส่วนที่ กำลังมาแรงในขณะนี้ก็คือปาล์ม จากการให้ความสำคัญขององค์ความรู้ทางด้านการผลิตเกี่ยวกับ ยางพารา จะทำให้ สวทช. กับ ม.อ. ซึ่งมีองค์ความรู้และผลงานวิจัยจำนวนมากจะร่วมมือกันเข้า ไปส่งเสริมและสนับ สนุนการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีให้กับธุรกิจในภาคใต้เติบโตขึ้นได้ถึง 30%

ในระยะเวลาอันสั้นต่อจากนี้ ผู้ประกอบการในภาคใต้จะเข้ามาใช้บริการต่างๆ ของ สวทช. และ ของ ม.อ.มากขี้น ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษาโดยเฉพาะทางด้าน เทคโนโลยี สามารถดึงงานวิจัยที่เกี่ยวกับยางพาราและอื่นๆ ตามที่ผู้ประกอบการสนใจมาใช้ในเชิง พาณิชย์ได้อย่างง่ายดาย และลดขั้นตอนการเข้าถึงและใช้บริการ มีแผนสนับสนุนทางการตลาดที่จะ ผลักดันงานวิจัยตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำ และการตลาดที่จะเข้าไปช่วยตั้งแต่ต้นจนถึงการจับคู่ทาง ธุรกิจของผู้ ประกอบการ เกิดโรงงานใหม่ในภาคการผลิตระดับปลายน้ำมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการสร้าง มูลค่าเพิ่มระยะยาวของการผลิตน้ำยางพารา

ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ นั้น ม.อ.และ สวทช.จะร่วมกันนำเทคโนโลยีจากการค้นคว้าวิจัยจากทั้งสอง หน่วยงาน เข้ามา Matching หรือจับคู่ เพื่อทำให้ระดับการวิจัยมีความเท่าเที่ยมกัน จนสามารถ เกิดการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ต่อยอดไปได้ กระบวนการดำเนินการในเบื้องต้นต่อจากนี้ ทาง ม.อ.กับสวทช.จะร่วมกันหารือเพื่อกำหนดขอบข่ายของการให้บริการร่วมกัน กลุ่มเป้าหมาย และ สร้างทิศทางในการสนับสนุน ทั้งนี้ทางสวทช. จะอบรมและพัฒนาเจ้าหน้าที่ของ ม.อ. เพื่อให้ใช้ บริการที่มีอยู่ของสวทช.อย่างเต็มที่ ซึ่งจะเป็นการลดขั้นตอนในการเข้ามาใช้บริการอย่างมาก และ ต่อไปก็จะทำให้หน่วยงานในท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถนำแหล่งทุนและเทคโนโลยีมาสนับสนุนผู้ ประกอบการท้องถิ่นได้อย่างสะดวก ในอนาคต

รศ. ดร. รังสรรค์ วงศ์สรรค์ รองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เปิดเผย ว่า การที่สวทช. ร่วมกับ มทส. จัดตั้งศูนย์เครือข่ายในพื้นที่จะทำให้ผู้ประกอบการจะได้รับ ประโยชน์จากการ ให้บริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ มทส. มากขึ้นตั้งแต่ การมีพื้นที่วิจัยที่อยู่ใกล้กับ นักวิจัย มทส. ซึ่งจะทำให้การดำเนินการวิจัยร่วมกันได้เสร็จเร็ว สะดวกขึ้น ค่าใช้จ่ายในการวิจัย และพัฒนาน้อยลง ด้วยการบริการแบบ One Stop Service ของอุทยานวิทยาศาสตร์ มทส. และ การเดินทางที่ไม่ไกล ได้รับการให้บริการด้านธุรกิจและบริการด้านอื่นๆ ของ อุทยานวิทยาศาสตร์ มทส. ที่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ ได้รับความสะดวกในการหาข้อมูลนักวิจัย และข้อมูล เทคโนโลยี เมื่อต้องการวิจัย ได้รับข้อมูลและการสนับสนุนช่วยเหลือของภาครัฐอื่นๆ ได้ง่ายขึ้นและ ครบถ้วนสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากความร่วมมือคือ สามารถยกระดับผลิตภัณฑ์และความสามารถการแข่งขันให้สูง ขึ้น เป็นการส่งเสริมให้เกิดการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ ส่งผลให้เกิดการสร้างรายได้ เกิดการ จ้างงานในท้องถิ่นทำให้ไม่ต้องย้ายถิ่นฐานเพื่อไปทำมาหากินที่อื่น เกิดความช่วยเหลือเกื้อกูลกันของ คนในชุมชน ทำให้เกิดการพัฒนาในระดับภูมิภาคอย่างยั่งยืนต่อไป มทส. จึงเป็นกลไกที่สำคัญในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจได้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

View :1529

ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์: บุคคลคุณภาพแห่งปี 2554 ด้านวิทยาศาสตร์

January 4th, 2012 No comments

คณะกรรมการมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้จัดพิธีมอบรางวัล “บุคคลคุณภาพแห่งปี 2554” (QUALITY PERSONS OF THE YEAR 2011) ขึ้น โดยมี ฯพณฯ พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี เป็นประธานมอบรางวัล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกาศเกียรติคุณและยกย่องบุคคลที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต ทั้งชีวิตส่วนตัว ชีวิตการทำงาน และการอุทิศตนทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในด้านต่างๆ ซึ่งสมควรเป็นแบบอย่างที่ดีและควรค่าต่อการส่งเสริมเพื่อประกาศเชิดชูเกียรติยศแห่งความภาคภูมิใจ บุคคลผู้ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่น จะได้รับการบันทึกชื่อและเกียรติประวัติไว้ในทำเนียบเกียรติยศ (Hall of Fame) ของมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ในพิธีดังกล่าว มีผู้ได้รับการยกย่องและเชิดดูเกียรติ ได้เป็นบุคคลคุณภาพแห่งปี 2554 ประกอบด้วย
1. ด้านวิทยาศาสตร์ – ศ.
2. ด้านเทคโนโลยี – ศ.ดร.ประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ
3. ด้านสาธารณสุข – รศ.นพ.สภา ลิมพาณิชย์การ
4. ด้านสังคม – พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
5. ด้านเด็กและเยาวชน – คุณปวีณา หงสกุล

ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ (อายุ 67 ปี)
(ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยอาวุโส)

1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน ( 2554 )
 ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยอาวุโส
 ที่ปรึกษางานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาคเอกชนและกรรมการมหาวิทยาลัยหลายแห่ง

2. ประวัติการศึกษา
 พ.ศ. 2551 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
 พ.ศ. 2536 ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยโตไก ประเทศญี่ปุ่น
 พ.ศ. 2516 ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร
 พ.ศ. 2512 ปริญญาตรี วิศวกรรมไฟฟ้า (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จาก Imperial College of Science and Technology มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร
 พ.ศ. 2512 ได้รับ Associate of the City and Guilds Institute (ACGI) of London จาก Imperial College of Science and Technology มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร
 พ.ศ. 2509 ได้รับ Advanced Level General Certificate of Education (GCE A-Level) และ Ordinary Level General Certificate Education (ACE O-Level) จากการศึกษาที่ วิทยาลัยเมืองนอริช สหราชอาณาจักร
 พ.ศ. 2507 ระดับอุดมศึกษา เตรียมแพทย์ศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัย แพทย์ศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน)
 พ.ศ. 2506 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท
 พ.ศ. 2504 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนประจำจังหวัดกำแพงเพชร

3. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน
ทำหน้าที่ให้เต็มที่ด้วยความสุจริตตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยใช้ความรู้เป็นพลังสำคัญ
4. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน
การมีส่วนร่วมในการสร้างองค์กรที่สำคัญได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช) เป็นต้น
5. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประการแรกประเทศไทยมีผู้มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ไม่ด้อยกว่าประเทศอื่นดังจะเห็นได้จากการวิจัยและพัฒนาที่สามารถตีพิมพ์ในวารสารที่มีชื่อเสียงระดับสากล แต่ที่ประเทศเราด้อยกว่าคือมีจำนวนนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อจำนวนประชากรน้อยกว่ามาตรฐานสากล ประการที่สองประเทศไทยสามารถร่างแผนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ดีได้แต่ขาดกลไกในการแปลงแผนดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติเพราะขาดพลังการเมือง (political will) ที่จะผลักดัน
6. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล
- รองประธานคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- กรรมการสภากาชาดไทย
- ประธานมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย

7. รางวัลเกียรติยศหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ
พ.ศ. 2550 Order of the Rising Sun, Gold Rays with Neck Ribbon From the Government of Japan.
พ.ศ. 2548 ทุติยจุลจอมเกล้า
พ.ศ. 2541 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
พ.ศ. 2540 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2537 มหาวชิรมงกุฎ
พ.ศ. 2534 ประถมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2531 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย

- รางวัลเกียรติคุณที่ได้รับ
พ.ศ. 2548 รางวัล Leadership in Technology Management จาก PICMET (Portland International Center for Management of Engineering and Technology)
พ.ศ.2547 รางวัลนักเรียนทุนรัฐบาลดีเด่นประจำปี 2547โดยสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย
พ.ศ.2541 รางวัลยกย่องส่งเสริมการใช้ดาวเทียมระหว่างประเทศในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จากกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ.2538 รางวัลบุคคลดีเด่นด้านไอที จากสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย
พ.ศ.2534 รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
พ.ศ.2530 รางวัลโครงการวิจัยกองทุนพระราชทานพระจอมเกล้าลาดกระบัง ของสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เรื่องการสร้างภาพคอมพิวเตอร์ถ่ายภาพตัดขวางของร่างกายและสมอง
พ.ศ.2529 รางวัลผลงานวิจัยอุตสาหกรรมดีเด่น จากบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ด้านการประมวลสัญญาณภาพถ่ายดาวเทียมด้วยคอมพิวเตอร์
พ.ศ.2527 รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยมด้านวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
พ.ศ.2512 รางวัลเหรียญทองเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากสามัคคีสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ (สมาคมนักเรียนไทยในสหราชอาณาจักร) เนื่องจากได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากอิมพีเรียลคอลเลจ มหาวิทยาลัยลอนดอน

8. ประวัติส่วนตัวและประวัติการทำงาน
ศ.ดร. ไพรัช เกิดและเติบโตที่จังหวัดกำแพงเพชร ใช้ชีวิตวัยเด็กกับครอบครัวพี่น้อง 8 คน บิดามารดามีอาชีพค้าขาย นอกจากเรียนหนังสือแล้วต้องช่วยทำงาน มีความตั้งใจในการเรียนหนังสือตั้งแต่เด็ก มีผลการเรียนดีตลอด เมื่อเรียนจบระดับมัธยมศึกษาตอนต้นแล้วมาสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มีความใฝ่ฝันอยากไปเรียนต่อต่างประเทศ สอบชิงทุนรัฐบาลไปเรียนวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าที่ประเทศอังกฤษ ระดับปริญญาตรีและเอก ใช้เวลาอยู่ที่อังกฤษ 10 ปี ระหว่างเรียนปริญญาเอก ได้ดำรงตำแหน่งนายกสามัคคีสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นองค์กรสำหรับนักเรียนไทยในอังกฤษ เมื่อจบการศึกษากลับมาประเทศไทย ทำงานใช้ทุน เป็นอาจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 เป็นต้นมา มีความก้าวหน้ามีตำแหน่งวิชาการตามลำดับ ได้เป็นศาสตราจารย์ระดับ 10 เมื่ออายุ 39 ปีและศาสตราจารย์ระดับ 11 เมื่ออายุ 40 ปีเศษ ในด้านบริหารดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์ รองคณบดีคณะวิศวกรรม และอธิการบดี เมื่อปี พ.ศ. 2535 ของสถาบันดังกล่าว นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งผู้บริหารกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ผู้อำนวยการคนแรกของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ()และปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเมื่อ พ.ศ. 2547 เกษียณอายุจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2548 และหลังเกษียณอายุราชการ ดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่ปรึกษางานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาคเอกชนและกรรมการมหาวิทยาลัยหลายแห่งจนปัจจุบัน

- ประวัติการทำงาน
ตำแหน่งทางวิชาการ
พ.ศ. 2532 – 2541 ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พ.ศ. 2526 ศาสตราจารย์ ระดับ 10 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พ.ศ. 2521 รองศาสตราจารย์ ภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ตำแหน่งบริหาร
ก.ย. 2548 – ปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ต.ค. 2547 – ก.ย. 2548 ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ก.ค. – ก.ย. 2547 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฝ่ายข้าราชการประจำ
พ.ศ. 2541 – มิ.ย. 2547 ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
พ.ศ. 2535 – 2541 อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พ.ศ. 2529 –2541 ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2524 – 2535 ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พ.ศ. 2522 – 2524 รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พ.ศ. 2521 – 2522 หัวหน้าภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ตำแหน่งกรรมการในส่วนราชการหรือในภาคเอกชน
- รองประธานคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ผู้ช่วยประธานฝ่ายวิศวกรรมและคอมพิวเตอร์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
- ประธานคณะกรรมการเงินทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมูลนิธิโทเรประเทศไทย
- กรรมการสภากาชาดไทย
- ประธานกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
- ประธานกรรมการบริหารศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
- กรรมการธนาคารกสิกรไทย
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยรังสิต
- ประธานกรรมการบริหารสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
- ประธานกรรมการบริหารสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
- กรรมการบริหารสถาบันบริหารสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร
- กรรมการการอุดมศึกษา

โครงการ “บุคคลคุณภาพแห่งปี 2011”
(QUALITY PERSONS OF THE YEAR 2011)
ความเป็นมา
มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2551
เป็นองค์กรเพื่อการกุศลสาธารณะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา อาจารย์ และบุคคลทั่วไปด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนเสนอแนะนโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศ ในปี 2554 คณะกรรมการมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้ดำริให้มีการจัดทำโครงการ “บุคคลคุณภาพแห่งปี 2011” (QUALITY PERSONS OF THE YEAR 2011) ขึ้น เพื่อประกาศเกียรติคุณและเป็นการยกย่องบุคคลที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต ทั้งชีวิตส่วนตัว ชีวิตการทำงาน และการอุทิศตนทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในด้านต่างๆ ซึ่งสมควรเป็นแบบอย่างที่ดีและควรค่าต่อการส่งเสริมเพื่อประกาศเชิดชูเกียรติยศแห่งความภาคภูมิใจ นอกจากนี้ คณะกรรมการมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยยังเห็นชอบให้จัดกิจกรรมประกาศเกียรติคุณ “บุคคลตัวอย่างภาคธุรกิจแห่งปี 2011” เพื่อยกย่องเชิดชูบุคคลภาคธุรกิจที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการทางานและทำประโยชน์เพื่อสังคม และกิจกรรมมอบทุนการศึกษา “ทุนเยาวชนคุณภาพแห่งปี 2011” ให้แก่ นิสิต นักศึกษา ที่มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาต่างๆ และทากิจกรรมหรือผลงานเพื่อสาธารณประโยชน์ เพื่อสนับสนุนและเป็นขวัญกาลังใจให้กับบุคลากรด้านการศึกษาและด้านการค้นคว้า เพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ

คณะกรรมการฯ ได้กำหนดให้มีการจัดงานเพื่อเผยแพร่กิจกรรมดังกล่าวข้างต้น เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย ในวันพุธที่ 19 ตุลาคม 2554 ซึ่งตรงกับวันเทคโนโลยีแห่งชาติ (สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 หรือเมื่อ 38 ปีที่แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงอำนวยการสาธิตฝนเทียมสูตรใหม่ครั้งแรกของโลกด้วยพระองค์เอง ณ เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และทรงพระปรีชาสามารถบังคับให้ฝนตกลงตรงเป้าหมาย ท่ามกลางสายตาของคณะผู้แทนของรัฐบาลจากต่างประเทศ ข้าราชการและพสกนิกรชาวไทยที่เข้าชมการสาธิตต่างพากันชื่นชมยินดีในพระปรีชา การสาธิตฝนเทียมครั้งนั้น ถือเป็นต้นกำเนิดเทคโนโลยีฝนหลวงที่พัฒนาเป็นการทำฝนเทียมมาถึงปัจจุบัน และเพื่อจารึกไว้เป็นเหตุการณ์สาคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2543 คณะรัฐบาลจึงมีมติให้เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และกำหนดให้วันที่ 19 ตุลาคมของทุกปีเป็น “วันเทคโนโลยีของไทย” เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด โดย ได้ทรงศึกษาค้นคว้าวิจัย และทรงนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาความเดือดร้อนของ ประชาชน ตลอดจนเป็นการแสดงเทคโนโลยีที่คิดค้นประดิษฐ์และพัฒนาโดยคนไทย เพื่อเป็นการ กระตุ้นให้สาธารณชนเกิดความเชื่อมั่นและเข้าร่วมพัฒนาเทคโนโลยีของไทย) และยังเป็นวันครบรอบปีที่ 3 ของการสถาปนามูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยอีกด้วย

View :1676

สวทช.กระทรวงวิทย์ฯส่งนวัตกรรมแก้น้ำเน่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้วในชื่อ nCA หรือ เอ็นค่า

December 22nd, 2011 No comments

ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานงานแถลงข่าว นวัตกรรมแก้น้ำเน่าเสียเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือระบบ”น้ำใส หายเหม็น ออกซิเจนสูง”หลังทดสอบสำเร็จได้ผลดีมากในระดับหมู่บ้านแถบลำลูกกา ปทุมธานี ในพื้นที่กว่า 9000 ล้านลูกบาศก์เมตร ปรากฏว่าน้ำที่ขังเน่าเสียมีสภาพใสและดีขึ้น ตลอดจนออกซิเจนสูง จนสามารถสูบออกจากชุมชนโดยไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้น้ำที่สูบออกยังสามารถนำไปเลี้ยงปลาในบ่อได้อีกด้วย ซึ่ง สวทช.ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้วในชื่อ nCA หรือเอ็นค่า โดย ดร.ปลอดประสพกล่าวในรายละเอียดว่า

“มหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น นอกจากความสูญเสียแล้ว สิ่งดีๆที่เกิดขึ้นหลายอย่าง ยังแสดงให้เห็นถึงน้ำจิตน้ำใจของคนไทยที่ไม่ทอดทิ้งและไม่ปล่อยให้ผู้เสียหายต่อสู้กับโชคชะตาทุกข์โศกโดยลำพัง หากแสดงให้เห็นถึงพลังจิตอาสาในทุกๆระดับ หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทุ่มเทงบประมาณ CSR เพื่อการเยียวยาผู้ประสบภัย มีไม่น้อยที่จับมือกันทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อเข้าไปร่วมฟื้นฟูชุมชนที่ถูกน้ำท่วมขัง เพื่อให้ฟื้นกลับคืนโดยเร็ว อาทิการดำเนินการของ สวทช.ร่วมกับเครือข่ายในการดำเนินการนำนวัตกรรมที่เกิดจากการค้นคว้าวิจัยของ สวทช.คือสารจับตะกอนจากสารสกัดธรรมชาติและเครื่องเพิ่มออกซิเจนแบบประหยัด เข้าไปร่วมฟื้นฟูหมู่บ้านทรงพลคลอง 2 ลำลูกกา ซึ่งเป็นที่มาของการจัดงานแถลงข่าวในวันนี้

ทั้งนี้ ผลการนำนวัตกรรมเอ็นค่าเข้าไปทดสอบในระดับหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่หมู่บ้านทรงพล ชุมชนแถบคลอง 2 ลำลูกกา ซึ่งมีน้ำท่วมขัง 30-40 cm ขนาดปริมาณปริมาตรน้ำท่วมขังทั้งหมด = 100x220x0.4 = 8,800 ลบ.ม มีชาวบ้านพักอาศัยประมาณ184 หลังคาเรือน พื้นที่เป็นแอ่ง มีขยะ ยุงมาก มีพื้นที่เป็นซอยย่อยบ้าง โดยชาวบ้านมีสภาพความเป็นอยู่น่าเห็นใจและอยากได้รับความช่วยเหลือมาก โดยหลังจากที่นำเทคโนโลยีดังกล่าวเข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่น้ำที่ท่วมขังกว่า ~9,000 ลบ ม ปรากฎว่าน้ำที่ขังและเน่าเสียดีขึ้น น้ำใสขึ้น ไม่เหม็น ยุงน้อยลง ซึ่งพอน้ำดีขึ้น ก็เริ่มมีการสูบออกตั้งแต่วันที่13 ธค. 54 โดยได้รับการสนับสนุนวางแผนการสูบน้ำและดำเนินการโดยร.12 พัน 3 ดำเนินการสูบน้ำที่มีคุณภาพดีแล้วออกจากชุมชนโดยไม่ไปสร้างผลลบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทราบจากผู้นำชุมชนว่าน้ำสูบออกไปบ่อเลี้ยงปลาเก่าที่ติดกับหมู่บ้านและอาจลงสู่คลองต่อไป

ผลจากนวัตกรรมดังกล่าว นอกจากจะดีและมีประโยชน์ต่อทั้งเรื่องการจัดการกับน้ำเสียที่ท่วมขังเพื่อให้ชาวบ้านในบริเวณที่น้ำท่วมขังได้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เด็กๆได้กลับคืนสู่ห้องเรียนแล้ว นวัตกรรมนี้ยังสามารถนำมาใช้ในระดับอุตสาหกรรมในอนาคต เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีในอนาคตของคนไทยและสอดคล้องกับกลยุทธ์การสร้างโอกาสในการแข่งขันสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดการปล่อยของเสียจากภาคอุตสาหกรรมอันจะนำไปสู่การแก้ไขและลดปัญหาเรื่องมลภาวะและการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อไปด้วย “ ดร.ปลอดประสพกล่าว

นอกจากนี้ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ () กล่าวเพิ่มเติมว่าผลสำเร็จของงานวิจัยดังกล่าว ทางเอ็มเทค/) ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)โดยระบบดังกล่าว ประกอบด้วย สารจับตะกอนเพื่อให้น้ำใส หรือ สาร nCLEAR (เอ็น-เคลียร์) และ เครื่องเติมอากาศด้วยปั๊มที่ออกแบบอย่างง่าย ราคาประหยัด โดยเรียกว่า nAIR (เอ็น-แอร์) ทั้งนี้ “สารจับตะกอนเพื่อให้น้ำใส”นั้น ผลิตจากสารสกัดธรรมชาติและผงถ่าน ไม่มีอะลูมิเนียมหรือโลหะหนักผสมอยู่ สามารถจับตะกอนในน้ำได้อย่างรวดเร็ว และสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ฉะนั้นจึงมีความปลอดภัยในการนำไปใช้งานและไม่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม น้ำที่ได้หลังจากตกตะกอนและกรองตะกอนออก จะเป็นน้ำใส กลิ่นไม่เหม็น ดังนั้นหากต้องการนำน้ำนี้ไปใช้อุปโภค หรือบริโภคจำเป็นต้องผ่านกรรมวิธีในการฆ่าเชื้อโรคที่ถูกต้อง เช่น การฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยการต้ม หรือ การผสมสารคลอรีนเจือจาง เป็นต้น

ทั้งนี้ระบบน้ำใส-หายเหม็น-ออกซิเจนสูง ดังกล่าว สวทช.รวมเรียกว่า nCA (เอ็น-ค่า) ซึ่ง สวทช.ได้ดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า nCA นี้ กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาไว้เรียบร้อยแล้ว ดร.ทวีศักดิ์ กล่าว

View :1573

รมว.วิทย์ฯ ลงพื้นที่จัดโซนนิ่ง (Zoning) ปลูกข้าวพร้อมแจกจ่ายพันธุ์ “หอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน” ให้แก่เกษตรกร อ.ผักไห่ อยุธยา เพื่อเป็นพื้นที่ต้นแบบบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

December 22nd, 2011 No comments

ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลงพื้นที่แจกจ่ายพันธุ์ข้าวหอม “หอมชลสิทธิ์ ทนน้ำท่วมฉับพลัน” พร้อมร่วมหว่านข้าวกับเกษตรผู้ประสพอุทกภัยน้ำท่วม อ.ผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดย โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สังกัด () และสหกรณ์การเกษตรผักไห่ จำกัด ภายใต้โครงการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีในระดับชุมชน

ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า อุทกภัยในประเทศไทย ปี 2554 เป็นอุทกภัยรุนแรงที่เกิดขึ้น มีประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 12.8 ล้านคน พื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 12.61 ล้านไร่ โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวถูกน้ำท่วมและได้รับผลกระทบเกือบ 10 ล้านไร่ โดยเฉพาะในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล็งเห็นความสำคัญของการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัย โดยได้จัดทำโครงการช่วยเหลือทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรของไทยที่ประสบอุทกภัย เช่น โครงการแผนฟื้นฟูโดยการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่นาปรัง โดยในระยะแรก จะรวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีจากเครือข่ายเกษตรกร เพื่อกระจายให้กับเกษตรกรในเขตภาคกลางที่ประสบอุทกภัยปลูก เช่น จ.พระนครศรีอยุธยา จ.นครสวรรค์ เพื่อใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ปลูกในฤดูนาปี 2555 ต่อไป และในระยะยาว จะเน้นส่งเสริมชุมชนเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ใช้ปลูกเอง และนำไปสู่ธุรกิจการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ และเพื่อความยั่งยืนในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวสำรองสำหรับรองรับภัยธรรมชาติ

จากข้อมูล พื้นที่ จ.อยุธยา พบปัญหาน้ำท่วมทุกปี ในเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูการทำนาปรังทำให้เกษตรกรไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ดังนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะใช้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการนำความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในงานบริหารทรัพยากร เช่น การจัดทำ Zoning พื้นที่ปลูกข้าวที่เหมาะสมในการปลูกข้าวนาปีและข้าวนาปรัง การบริหารจัดการน้ำ และประยุกต์ใช้แบบจำลอง เพื่อคาดการณ์ระยะเวลาที่ควรปลูก-เก็บเกี่ยวล่วงหน้า รวมถึงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคแมลง เพื่อให้เกษตรกรวางแผนการผลิตได้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ เป็นการลดความเสี่ยงหรือความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับเกษตรกร เป็นต้น

จากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในปีนี้ ส่งผลกระทบโดยตรงกับเกษตรกรที่มีอาชีพทำนาเป็นหลัก ไร่นามากกว่าหลายล้านไร่เกิดความเสียหาย เมื่อข้าวไม่ทนต่อสภาวะน้ำท่วมขังย่อมส่งผลต่อความเสียหายของผลผลิต ดังนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้มอบหมายให้

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ไบโอเทค/สวทช. มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพปรับปรุงพันธุ์ข้าว พันธุ์หอมชลสิทธิ์ ทนน้ำท่วมฉับพลัน โดยเป็นการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ข้าว IR57514 ซึ่งเป็นพันธุ์ทนน้ำท่วมฉับพลันกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าวหอมชลสิทธิ์ถูกคัดเลือกให้มีคุณสมบัติการหุงต้มแบบข้าวขาวดอกมะลิ เมล็ดข้าวมีกลิ่นหอม สามารถปลูกได้มากกว่า 1 ครั้งต่อปี และสามารถทนอยู่ในน้ำได้นานถึง 2-3 สัปดาห์ มีผลผลิตข้าวเปลือกในระดับ 900 – 1000 กิโลกรัมต่อไร่ เหมาะกับพื้นที่ ภาคกลางที่เกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ง่าย เช่น พื้นที่ ต.ผักไห่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพื้นที่น้ำท่วมเป็นประจำทุกปี

ปัจจุบัน ไบโอเทค/ สวทช. ประสบผลสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย โรค และแมลงศัตรูพืชต่าง ๆ ได้แก่ สายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน, สายพันธุ์ กข 6 ต้านทานโรคไหม้, สายพันธุ์ข้าวแก้วเกษตรต้านทานโรคไหม้ และ ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน ซึ่ง สวทช. ได้นำสายพันธุ์ข้าวใหม่ ๆ ดังกล่าวไปเผยแพร่ ส่งเสริมให้เกษตรกรในหลาย ๆ พื้นที่แล้ว ได้แก่ จ.สกลนคร อุบลราชธานี น่าน เชียงราย นครพนม ลำปาง ชัยภูมิ นครพนม สุพรรณบุรี นครปฐม ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ อุตรดิตถ์ ร้อยเอ็ด มุกดาหาร พิจิตร เฉพาะพันธุ์หอมชลสิทธิ์นี้ ได้มีการเผยแพร่ไป ที่เกษตรกรที่ประสบภัยน้ำท่วมที่พิจิตร ตั้งแต่ปี 2551 แต่ได้มาส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่สหกรณ์การเกษตรผักไห่เป็นแห่งแรก

ด้าน ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วท กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ แก่เกษตรกร อ.ผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตนยังมีกำหนดการที่จะไปร่วมปักป้ายเพื่อตรวจวัดระดับปริมาณท่วมสูงสุดในเขตพื้นที่ดังกล่าว เพื่อให้เห็นความชัดเจนของระดับที่ท่วมในการแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด พร้อมทั้งเสนอที่จะสนับสนุนงบประมาณในการบริหารจัดการน้ำและเป็นโมเดลในปีต่อไปอีกด้วย”

View :1678
Categories: Press/Release, Science, Technology Tags:

งานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย ประจำปี 2554

December 21st, 2011 No comments

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทยประจำปี 2554 พร้อมเผยแพร่การพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมของไทย โดยจัดชื่อว่า หรือ TechnoMart-InnoMart 2011 โดยงานนี้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ.2554 ซึ่งเป็นถือโอกาสครบรอบ 10 ปี งานวันเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย (TechnoMart-InnoMart 2011) ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมมือกับ BOI FAIR 2011 จัดงานภายใต้หัวข้อ “โลกสดใส ไทยยั่งยืน” หรือ Going Green for the Future โดยไฮไลท์ต่างๆในงานประกอบด้วย นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ การอบรม-สัมมนาหัวข้อต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของประชาชน การออกบูทโชว์นิทรรศการทางด้านเทคโนโลยีล้ำยุคมากมาย และ ที่พลาดไม่ได้คือการให้ความรู้เรื่องวิกฤติท่วมแล้ง และ การอ่านดาวเทียมเมื่อมีภัยพิบัติมาเยือน และจากเดิมที่งานนี้จะถูกจัดขึ้นในวันที่10-25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา แต่เนื่องจากสภาวะอุทกภัย จึงมีความจำเป็นต้องเลื่อนมาเป็นวันที่ 5-13 มกราคม 2555 นี้ โดยสถานทีจัดงาน ยังคงเป็น Hall 9 อิมแพค อารีน่าเมืองทองธานี เช่นเดิม

View :1659

ทุน NSTDA Chair Professor ประจำปี 2554

December 19th, 2011 No comments

มูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ร่วมกับ () มอบทุน NSTDA Chair Professor ประจำปี 2554 จำนวน 20 ล้านบาท ให้แก่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อวิจัยและพัฒนาสบู่ดำสายพันธุ์ใหม่สำหรับเป็นพลังงานและอาหารสัตว์

(16 ธันวาคม 2554) ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มอบทุน NSTDA Chair Professor ประจำปี 2554 จำนวน 20 ล้านบาท ให้แก่ ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ จากภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในโครงการวิจัยเรื่อง “การปรับปรุงพันธุ์เพื่อเร่งการปลูกเลี้ยงสบู่ดำสำหรับเป็นพลังงานและอาหารสัตว์” โดยมี ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. และ รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธี ณ ห้องเทเวศร์ ชั้น 2 อาคารหอประชุมสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ถ.นครราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพฯ

โครงการทุน NSTDA Chair Professor จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้าง “ศาสตราจารย์ผู้นำกลุ่ม” ที่เป็นผู้ทำงานภาควิชาการ พัฒนา และเชื่อมโยงกับภาคการผลิตและบริการ สนับสนุนและผลักดันให้นักวิจัยที่มีความสามารถสูง สามารถทำงานวิจัย และผลิตผลงานที่มีศักยภาพเชื่อมโยงไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งจะเป็นการยกระดับความสามารถในการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทยต่อไป

โดยในปีนี้คณะกรรมการได้พิจารณามอบทุนให้แก่ ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ และคณะทำงานวิจัย จากม.เกษตรศาสตร์ ซึ่งเสนอโครงการวิจัยเรื่อง “การปรับปรุงพันธุ์เพื่อเร่งการปลูกเลี้ยงสบู่ดำสำหรับเป็นพลังงานและอาหารสัตว์” เนื่องจากเป็นการพัฒนาสายพันธุ์สบู่ดำในรูปแบบที่ไม่มีทีมวิจัยที่ใดในโลกริเริ่มทำมาก่อน นั่นก็คือสร้างสบู่ดำสายพันธุ์ใหม่ให้สามารถใช้ข้อเด่นของพืชชนิดอื่นๆ ที่นำมาทดลองร่วมได้ อาทิ ละหุ่ง ซึ่งมีผลออกเป็นช่อ เก็บเกี่ยวง่าย, สบู่แดง ซึ่งทนฝน หรือ หนุมานนั่งแท่น ซึ่งให้ปริมาณน้ำมันมากเมื่อเทียบสัดส่วนกับขนาดของผล

“สบู่ดำเหมาะที่จะนำมาเป็นพืชพลังงาน เพราะคนบริโภคไม่ได้ ราคาจึงยังถูกและไม่ผันผวนตามสภาวะขาดแคลนอาหารเหมือนพืชพลังงานประเภทอื่นๆ ดังนั้นหากสามารถวิจัยปรับปรุงพันธุ์จนได้สบู่ดำที่เหมาะกับการเป็นพืชพลังงานอย่างแท้จริง คือ เก็บเกี่ยวง่าย ให้ผลผลิตสูงและผลออกพร้อมกัน ประเทศไทยและโลกก็จะได้สบู่ดำสายพันธุ์ใหม่เป็นพลังงานทดแทนที่มีคุณค่า มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจในอนาคต” ศ.ดร.พีระศักดิ์ ผู้ได้รับทุนในปีนี้กล่าว

เนื่องจาก ศ.ดร.พีระศักดิ์ เป็นผู้ที่อุทิศตนให้กับงานวิจัยและสร้างผลงานด้านพันธุศาสตร์และการปรับปรุงพันธ์พืชมากที่สุดผู้หนึ่งในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรับปรุงพันธุ์พืชตระกูลถั่ว ให้มีความต้านทานต่อโรคพืชและแมลง ผลงานวิจัยของท่านนับว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อวงวิชาการด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช และได้รับยกย่องให้เป็น “นักปรับปรุงพันธุ์ดีเด่น” จากสมาคมปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย คณะกรรมการมอบทุน NSTDA Chair Professor จึงมีความเชื่อมั่นว่างานวิจัยนี้จะทำให้วงการวิจัยพืชพลังงานของโลกก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง

เช่นเดียวกับงานวิจัยของผู้ได้รับทุน NSTDA Chair Professor ในปีแรก ศ.ดร.จำรัส ลิ้มตระกูล และคณะผู้วิจัย ม.เกษตรศาสตร์ ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “การออกแบบและผลิตวัสดุนาโนที่เป็นประโยชน์อย่างสูงต่ออุตสาหกรรม” ที่ปัจจุบันพบว่าโครงการดังกล่าวซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานในปีที่ 3 ประสบผลสำเร็จในการผลิตผลงานวิจัยที่จะเป็นพื้นฐานต่อการประยุกต์ใช้ในเชิงอุตสาหกรรม ทั้งยังได้รับเชิญให้เข้าร่วมการนำเสนอผลงานการวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติแล้วกว่า 40 ครั้ง

View :1287

สวทช/ก.วิทย์ ฯร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา/ก.พาณิชย์ ร่วมมือกันในการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศ ด้วยการคุ้มครองผลงานวิจัย

September 19th, 2011 No comments

ร่วมกับ ()จัดพิธีลงนาม “บันทึกความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนางานด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม” โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์) เป็นประธานและสักขีพยาน พร้อมด้วยผู้บริหารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ()

โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสวทช. กล่าวว่า “ผลงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งมีมากมาย และล้วนแล้วแต่เป็นผลงานที่สำคัญของประเทศ ผลงานวิจัยเหล่านี้เป็นผลงานที่สามารถได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในประเภทต่างๆ อาทิ สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ แบบผังภูมิวงจรรวม เป็นต้น นอกเหนือจากที่ สวทช.ได้ดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนคุ้มครองผลงานของตนแล้ว ยังให้บริการแก่ประชาชนในการยื่นขอจดทะเบียนคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาด้วย และทางด้านกรมทรัพย์สินทางปัญญาในฐานะที่เป็นหน่วยงานให้บริการจดทะเบียนคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาก็ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของ สวทช. ที่จะร่วมมือกันในการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับการคุ้มครองผลงานวิจัย การส่งเสริมการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และการส่งเสริมความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ตามนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ ซึ่งกำหนดเป้าหมายในการยกระดับขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของไทย ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ 11”

ดร.ทวีศักดิ์ กล่าวเสริมอีกว่า“นอกจากนี้ เพื่อให้บันทึกความตกลงนี้มีผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง ทั้งสองหน่วยงานได้ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการแนบท้ายบันทึกความตกลง โดยในปี2555จะมุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาระบบการตรวจสอบสิทธิบัตรให้มีประสิทธิภาพโดยการจัดทำคู่มือและการจัดการอบรมในเรื่องการตรวจสอบการประดิษฐ์ให้แก่เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี( หรือ TLO) ทั้งภายใต้สังกัด สวทช. และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั่วประเทศ จัดให้มีการสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมด้านการออกแบบ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้คำปรึกษาแก่นักวิจัยในประเด็นการพิจาณาความใหม่และขั้นการประดิษฐ์ของสิทธิบัตร รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติงาน “

View :1561

สองทีมเยาวชนตัวแทนประเทศไทยพร้อมชิงชัยกับ 17 ประเทศในการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Robocon 2011 28 สค.นี้ ณ อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี

August 6th, 2011 No comments

หลังจากขับเคี่ยวกันในสนามการแข่งขันหุ่นยนต์ ABU ชิงชนะเลิศประเทศไทย ประจำปี 2554 เมื่อช่วงกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยทีม”ลูกเจ้าแม่คลองประปา The Limited” จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คว้าแชมป์ประเทศไทยประจำปี 2554 ไปครองเป็นสมัยที่ 3 เฉือนทีม “ซุ้มกอ” จากวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชรแบบหวุดหวิดกลายเป็นนาทีช็อคโลก สร้างสีสันความสนุกสนานให้กับกองเชียร์รอบสนามมาแล้ว—- วันนี้ทั้งสองทีมจึงได้รับภารกิจสำคัญ ในการเป็นตัวแทนเยาวชนไทยเข้าร่วมแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Asia-Pacific Robot Contest 2011 , Bangkok ครั้งที่ 10 หรือ ABU Robocon 2011, Bangkok ซึ่งปีนี้ อสมท ในนามประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน โดยมีทีมตัวแทนเยาวชนจากอีก 17 ประเทศพร้อมเดินทางมาเข้าร่วมชิงชัย ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 28 สิงหาคมศกนี้ ณ อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี

นายพรชัย ปิยะเกศิน ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ทีวี หนึ่งในสมาชิกสหภาพวิทยุและโทรทัศน์แห่งภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (Asia-Pacific Broadcasting Union – ABU) และเป็นตัวแทนโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทีวีพูล) ในการหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพการแข่งขันหุ่นยนต์ ABU Asia-Pacific Robot Contest หรือ ABU Robocon และส่งทีมตัวแทนประเทศไทยไปเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันกับประเทศต่างๆ ซึ่งจัดขึ้นทุกปีนับตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา

“การแข่งขันหุ่นยนต์ ถือเป็นวิทยาการขั้นสูงของการพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่างๆ สอดคล้องกับบทบาทของอสมท ในฐานะที่เป็นองค์กรด้านการสื่อสารที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารอยู่ตลอดเวลา กิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์ ABU Robocon จึงเป็นกิจกรรมหลักของบริษัท ในการขับเคลื่อนโครงการซีเอสอาร์ ตอกย้ำภาพลักษณ์ “สังคมอุดมปัญญา” ของ อสมท ให้เด่นชัดมากขึ้น รวมทั้งช่วยเสริมภาพลักษณ์องค์กร ด้านการส่งเสริมนวัตกรรม สร้างภาพลักษณ์องค์กรทันสมัยได้อีกทาง”

สำหรับการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Asia-Pacific Robot Contest 2011 หรือ ABU Robocon 2011 ในโอกาสครบรอบปีที่ 10 ของการแข่งขัน ประเทศไทยได้รับเกียรติ ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน จึงได้นำเอา ประเพณีลอยกระทง จากโบราณประเพณีอันงดงาม บางส่วนได้ถูกประยุกต์ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ คือหุ่นยนต์ ภายใต้ชื่อการแข่งขัน “จุดประกายแห่งความสุขด้วยมิตรภาพ (Lighting Happiness with Friendship) ผู้ใดเอาชนะใจตนเอง และเอาชนะใจผู้อื่นได้ ผู้นั้นจะเป็นผู้ชนะตลอดกาล ซึ่งเป็นหัวใจของเกมการแข่งขันนี้

“ ประเทศไทยเคยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเมื่อปี 2003 ซึ่งผมมีโอกาสได้เข้าชมการแข่งขันในปีนั้นด้วย และยังประทับใจถึงวันนี้เพราะเป็นเกมส์การแข่งขันที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน ตื่นเต้นเร้าใจ และทีมตัวแทนเยาวชนไทยก็สามารถคว้าแชมป์มาครอง ในปีนี้ผมเชื่อว่าการแข่งขันจะเต็มไปด้วยสนุกสนาน ตื่นเต้นเร้าใจไม่แพ้ปี 2003 อย่างแน่นอน จึงขอเชิญชวนคนไทยมาร่วมเชียร์และเป็นกำลังใจให้กับน้องๆ ทีมตัวแทนประเทศไทยทั้งสองทีม ให้สามารถคว้าแชมป์มาครองได้สำเร็จอีกครั้ง สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาเข้าชมการแข่งขันภายในงานได้ สามารถติดตามชมการถ่ายทอดสด ได้ตั้งแต่เวลา14.15 – 17.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์”

ทีมซุ้มกอ วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร2


รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ประธานคณะทำงานฝ่ายจัดการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Asia – Pacific Robot Contest 2011 กล่าวถึงกติกาการแข่งขันว่า ทีมที่เข้าแข่งขันแต่ละทีมสามารถใช้หุ่นยนต์ทั้งหมดไม่เกิน 3 ตัว ประกอบด้วย หุ่นยนต์บังคับด้วยมือ (Manual Robot) และ หุ่นยนต์อัตโนมัติ 1 หรือ 2 ตัว (Automatic Robots) หุ่นยนต์บังคับด้วยมือ (Manual Robot) ต้องทำภารกิจแรกให้สำเร็จด้วยการหยิบกระถางธูป จำนวน 3 กระถาง นำไปวางไว้บนเสา ก่อนการทำภารกิจอื่นๆ หลังจากนั้นหุ่นยนต์บังคับด้วยมือ นำ ฐานต้นเทียน ไปวาง ณ จุดตกแต่ง (Decoration Point) หุ่นยนต์บังคับด้วยมือ นำธูปเตรียมไปใช้ในการประกอบกระทง หุ่นยนต์อัตโนมัติ นำกลีบกระทง และดอกไม้ ทำการประกอบกระทง ภายหลังจากที่ ทำภารกิจนี้เสร็จ หุ่นยนต์บังคับด้วยมือ จึงจะสามารถนำ ไปเสียบลงไปในกระทง หลังจากนั้น หุ่นยนต์อัตโนมัติ ยกกระทงที่ประกอบเสร็จ นำไปปล่อยลงใน ในฝั่งของตนเอง โดยห้ามมิให้ชิ้นส่วนใดๆของหุ่นยนต์ทุกตัวสัมผัสกับแม่น้ำ

ท้ายสุด หุ่นยนต์อัตโนมัติ เพียง 1 ตัว จะนำเปลวเทียน ไปปล่อยเพื่อสวมลงบนต้นเทียนบนกระทง ที่ลอยอยู่ในแม่น้ำ (River Surface) โดยห้ามมิให้ชิ้นส่วนใดๆของหุ่นยนต์ทุกตัวสัมผัสกับแม่น้ำ และกระทง ที่ประกอบเสร็จเแล้ว ทีมใดที่สามารถปล่อยเปลวเทียน ลงบนต้นเทียน ได้สำเร็จก่อน ทีมนั้นเป็น ฝ่ายชนะ การแข่งขันจะแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ สีแดง และ สีน้ำเงิน การแข่งขันจะใช้เวลาทั้งหมด 3 นาที

แต่ทั้งนี้ รศ.ดร.ชิต กล่าวว่า กิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Roboconจัดขึ้นด้วยความมุ่งหวังที่ต้องการให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยี ตลอดจนเชื่อมมิตรภาพที่ดีต่อกัน โดยมีเกมส์การแข่งขันเป็นจุดเชื่อโยง มิได้มุ่งเน้นที่ชัยชนะเพียงอย่างเดียว และในวันนี้มิติดังกล่าวก็ได้เกิดขึ้นแล้ว โดยมีการร่วมมือร่วมใจการพัฒนาเทคโนโลยี ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

โดยปีนี้มีทีมเยาวชนตัวแทนจาก 18 ประเทศ ได้แก่ บรูไน จีน อียิปต์ ฟิจิ ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ลาว มาเลเซีย มองโกเลีย เนปาล รัสเซีย ศรีลังกา ตุรกี เวียดนามและไทย สำหรับประเทศลาว และรัสเซีย เพิ่งเข้าร่วมการแข่งขันในปีนี้เป็นครั้งแรก เตรียมเดินทางมาเข้าร่วมแข่งขัน ซึ่งแต่ละประเทศสามารถส่งทีมตัวแทนได้ประเทศละ 1 ทีม ส่วนประเทศเจ้าภาพ ส่งได้ 2 ทีม รวมทั้งหมด 19 ทีม แต่ละทีมจะประกอบไปด้วยนักศึกษา 3 คน อาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน ทั้งหมดต้องอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา/อาชีวศึกษาเดียวกันเท่านั้น ทีมเยาวชนตัวแทนประเทศไทย มี 2 ทีม ได้แก่ ทีมลูกเจ้าแม่คลองประปา The Limited” จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ แชมป์ประเทศไทยสมัยที่ 3 ประกอบด้วย นายน้ำเพชร สุขเกษม ,นายสุปรีชา เหมยเป็ง,นายจักรพงศ์ เพ็งแจ่มแจ้ง และดร.ณรงค์เดช กีรติพรานนท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และ “ทีมซุ้มกอ” จากวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร รองแชมป์ประเทศไทย ประกอบด้วย นายประเสริฐ สะมะถะเขตการณ์ ,นายนคร คุยศรี ,นายวุฒิชัย ทิศกระโทก และอ.บัณฑิต ออกแมน เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

ด้านการเตรียมความพร้อม ทีมตัวแทนประเทศไทยทั้ง 2 ทีมได้จัดสร้างหุ่นยนต์ สำหรับการแข่งขันขึ้นใหม่ทีมละ 3 ตัวโดยได้รับการสนับสนุนจาก อสมท ทีมละ 500,000 บาท พร้อมส่งมอบให้กับคณะกรรมการจัดการแข่งขันพร้อมกับทุกประเทศแล้วเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคมที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ในระหว่างการฝึกซ้อมในโค้งสุดท้ายเพื่อชิงแชมป์ระดับนานาชาติในการแข่งขันที่จะมีขึ้นในวันที่ 28 สิงหาคมศกนี้ นอกจากนี้ทั้ง 2 ทีมยังได้เปิดเผยด้วยว่า ในการจัดสร้างหุ่นยนต์เพื่อใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ ยังได้มีการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อพัฒนาหุ่นยนต์ดังกล่าวด้วย โดยทางมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชรได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ทำให้เกิดการพัฒนาหุ่นยนต์ที่มีความสามารถได้ไม่แพ้กับหุ่นยนต์ของประเทศคู่แข่งที่สำคัญอย่างจีน และญี่ปุ่น โดยเฉพาะเรื่องสถิติการทำเวลา ขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เปิดเผยว่า สามารถทำสถิติได้เร็วที่สุด 45 -50 วินาทีในหนึ่งเกมส์การแข่งขัน

ดร.ณรงค์เดช กีรติพรานนท์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และอาจารย์ที่ปรึกษาของทีมลูกเจ้าแม่คลองประปา เปิดเผยว่า

“ ทีมมีความพร้อม และกำลังใจเต็มร้อย โดยเฉพาะหุ่นยนต์ชุดใหม่ทั้ง 3 ตัวที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากการศึกษาข้อมูลหุ่นยนต์ของประเทศคู่แข่งหลักๆ ได้แก่จีน และญี่ปุ่น โดยนำจุดแข็งของคู่แข่ง และจุดแข็งของตนเองมาพัฒนาขึ้นเป็นหุ่นยนต์ชุดใหม่ จนได้มาตรฐานเป็นที่พอใจอย่างมาก และด้วยประสิทธิภาพของหุ่นยนต์ชุดใหม่ กับประสบการณ์การแข่งขันของทีมที่เป็นจุดแข็ง ตลอดจนแผนการแข่งขัน ผมคิดว่าเราสามารถแข่งขันกับจีน คู่แข่งสำคัญได้อย่างสนุกสนานแน่นอนครับ”

ทีมลูกเจ้าแม่คลองประปา The Limited จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์2


นอกจากนี้ ในฐานะที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ดร.ณรงค์เดช ยังกล่าวด้วยว่า เรามีข้อได้เปรียบมาก อย่างน้อยก็ในสนามแข่งขัน เพราะเคยผ่านการใช้สนามลักษณะนี้มาแล้ว ทำให้เข้าใจคุณสมบัติของอุปกรณ์และสนาม รวมทั้งมีความคุ้นเคยภาษาและกติกาการแข่งขัน ทุกปี ภาษาที่ใช้จะขึ้นกับประเทศเจ้าภาพ ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ ทำให้อาจจะเกิดความไม่เข้าใจในการแข่งขัน ซึ่งปีนี้น่าจะมีความคุ้นเคยมากกว่า ไม่ว่าจะใช้ภาษาไทยหรืออังกฤษ นอกจากนี้ กรณีที่หุ่นยนต์ขัดข้องหรือต้องการอะไหล่จะสามารถหาได้ง่าย เพราะรู้แหล่งการจัดซื้ออยู่แล้วอาหาร และวัฒนธรรม ที่คุ้นเคย ทำให้ไม่ต้องเรียนรู้และปรับตัว ที่สำคัญ แรงเชียร์จากคนไทย ที่จะเป็นกำลังใจและให้การสนับสนุนทีมตัวแทนประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

ด้านอาจารย์บัณฑิต ออกแมน อาจารย์ที่ปรึกษาของทีมซุ้มกอ จากวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร เปิดเผยเช่นเดียวกันว่า มีความพอใจกับผลงานการสร้างหุ่นยนต์ที่ใช้ในการแข่งขันมาก เพราะได้รับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและการแนะนำจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนืออย่างมาก ทำให้มีความพร้อมในการเข้าร่วมการแข่งขันย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังได้ฝึกซ้อมทีมแข่งขันเต็มที่เพื่อทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนประเทศไทยให้ดีสุด

“เพื่อเป็นกำลังให้กับตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Asia-Pacific Robot Contest 2011 , Bangkok ทั้งสองทีม อสมท ขอเชิญชวนคนไทยร่วมเชียร์ทีมไทยให้สามารถคว้าแชมป์นานาชาติในครั้งนี้ภายในงาน ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 28 สิงหาคมศกนี้ ณ อิมแพคอารีน่า เมืองทองธานี พร้อมชมการถ่ายทอดสดได้ตั้งแต่เวลา 14.15 – 17.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ติดตามรายละเอียดการแข่งขันได้ทาง www. aburobocon2011.com” ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวในที่สุด

การแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ หรือ ABU Asia-Pacific Robot Contest (ABU Robocon) เริ่มเมื่อปีพ.ศ. 2543(ค.ศ.2000) โดยประเทศสมาชิก ABU (The Asia-Pacific Broadcasting Union) มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ที่ประดิษฐ์โดย นักศึกษาของ ภูมิภาค ในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา เป็นประจำทุก ๆ ปี เพื่อพัฒนาการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ความคิดสร้างสรรค์ และ การพัฒนาทักษะในการประดิษฐ์นวัตกรรมของเยาวชนให้มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจได้อย่างทัดเทียมกัน ควบคู่ไปกับการเชื่อมความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน
————
การแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Robocon เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสมาชิกผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเป็นประจำทุกปี คือ ประเทศไทย (2546/2003) เกาหลี (2547/2004) จีน (2548/2005) มาเลเซีย (2549/2006) เวียดนาม (2550/2007) อินเดีย (2551/2008) ญี่ปุ่น (2552/2009) และอียิปต์ (2553/2010)

ปี พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) เป็นปีที่ครบรอบทศวรรษของการแข่งขัน ประเทศไทยได้รับเกียรติ ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันอีกครั้ง ซึ่งในปีนี้ได้นำเอา ประเพณีลอยกระทง จากโบราณประเพณีอันงดงามบางส่วนได้ถูกประยุกต์ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ คือหุ่นยนต์ ภายใต้ชื่อการแข่งขัน “จุดประกายแห่งความสุขด้วยมิตรภาพ (Lighting Happiness with Friendship) ผู้ใดเอาชนะใจตนเอง และเอาชนะใจผู้อื่นได้ ผู้นั้นจะเป็นผู้ชนะตลอดกาล นั่นคือหัวใจของเกมการแข่งขันนี้ โดยจะจัดการแข่งขันขึ้น ในวันที่ 28 สิงหาคม 2554 ที่อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี

สำหรับทีมที่เข้าแข่งขันนั้น แต่ละประเทศ ส่งตัวแทนได้ ประเทศละ 1 ทีม ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ส่งได้ 2ทีม โดยแต่ละทีม จะประกอบไปด้วยนักศึกษา 3 คน อาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน ทั้งหมดต้องอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา/อาชีวศึกษาเดียวกัน เท่านั้น

ทีมเข้าแข่งขันแต่ละทีมสร้างหุ่นยนต์ทั้งหมดไม่เกิน 3 ตัว ประกอบด้วย หุ่นยนต์บังคับด้วยมือ (Manual Robot) และ หุ่นยนต์อัตโนมัติ 1 หรือ 2 ตัว (Automatic Robots) หุ่นยนต์บังคับด้วยมือ (Manual Robot) ต้องทำภารกิจแรกให้สำเร็จด้วยการหยิบกระถางธูป จำนวน 3 กระถาง นำไปวางไว้บนเสา ก่อนการทำภารกิจอื่นๆ หลังจากนั้นหุ่นยนต์บังคับด้วยมือ นำฐานต้นเทียน ไปวาง ณ จุดตกแต่ง (Decoration Point) หุ่นยนต์บังคับด้วยมือนำธูปเตรียมไปใช้ในการประกอบกระทง

หุ่นยนต์อัตโนมัติ นำกลีบกระทง และดอกไม้ ทำการประกอบกระทง ภายหลังจากที่ ทำภารกิจนี้เสร็จ หุ่นยนต์บังคับด้วยมือ จึงจะสามารถนำ ไปเสียบลงไปในกระทง หลังจากนั้น หุ่นยนต์อัตโนมัติ ยกกระทงที่ประกอบเสร็จ นำไปปล่อยลงใน ในฝั่งของตนเอง โดยห้ามมิให้ชิ้นส่วนใดๆของหุ่นยนต์ทุกตัวสัมผัสกับแม่น้ำ

ท้ายสุด หุ่นยนต์อัตโนมัติ เพียง 1 ตัว จะนำเปลวเทียน ไปปล่อยเพื่อสวมลงบนต้นเทียนบนกระทง ที่ลอยอยู่ในแม่น้ำ (River Surface) โดยห้ามมิให้ชิ้นส่วนใดๆของหุ่นยนต์ทุกตัวสัมผัสกับแม่น้ำ และกระทง ที่ประกอบเสร็จเแล้ว ทีมใดที่สามารถปล่อยเปลวเทียน ลงบนต้นเทียน ได้สำเร็จก่อน ทีมนั้นเป็น ฝ่ายชนะ”การแข่งขันจะแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ สีแดง และ สีน้ำเงิน การแข่งขันจะใช้เวลาทั้งหมด 3 นาที

View :3296