Archive

Archive for February, 2012

สัมมนาประชาคมความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ระดมความคิดเห็นในการจัดทำกรอบนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

February 2nd, 2012 No comments

รัฐมนตรีไอซีทีเร่งผลักดันกรอบนโยบายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ไทย ตั้งเป้าเสร็จภายใน 3 เดือน จัดระดมความคิดเห็นจากกว่า 80 หน่วยงาน เผยทุกวันนี้ภัยคุกคามไซเบอร์สร้างความเสียหายรุนแรงขึ้น จำเป็นต้องมีกรอบนโยบายมารองรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการใช้เทคโนโลยีเพื่อติดต่อสื่อสารหรือทำธุรกรรมที่มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เป็นประธานเปิดงานและบรรยายพิเศษเรื่อง “ประเทศไทยกับการกำหนดทิศทางและกรอบนโยบายเพื่อรับมือภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์”โดยกล่าวถึงความจำเป็นของการมีกรอบนโยบายเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อติดต่อสื่อสารและทำธุรกรรมด้านต่างๆ ที่มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนสูงขึ้น

ปัจจุบันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น การใช้การสื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีทั้งมีสาย เช่น ADSL และเทคโนโลยีไร้สาย เช่น Wi-Fi และ 3G หรือเทคโนโลยีการทำงานแบบคลาวด์ (Cloud Computing) ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีระบบฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟต์แวร์ (Software) ของตนเองในการดำเนินงานหรือจัดการกับระบบสารสนเทศ เป็นต้น และเมื่อประกอบกับจำนวนการใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และอินเทอร์เน็ต ในการติดต่อสื่อสารหรือใช้ในการทำธุรกรรมต่างๆ ที่เพิ่มสูงขึ้น จึงก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการกระทำความผิด ไม่ว่าในรูปการก่อการร้าย การกระทำที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือการกระทำที่มีผลต่อโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบการขนส่งมวลชน เป็นต้น รวมทั้งการสร้างความตื่นตระหนกตกใจแก่ประชาชนหรือภัยที่มีผลคุกคามต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวของประชาชน

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ฯ กล่าวว่า “สำหรับประเทศไทยนั้น ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ หรือ ไทยเซิร์ต (ThaiCERT: Thailand Computer Emergency Response Team) ได้รวบรวมสถิติการแจ้งเหตุภัยคุกคามไซเบอร์ และพบว่ากิจกรรมที่เป็นภัยคุกคามนั้นมี 4 ประเภทหลักคือ หนึ่ง การฉ้อโกงหรือ Phishing พบมากที่สุด ซึ่งครอบคลุมทั้งกรณีที่ธนาคารต่างประเทศพบเว็บไซต์ในประเทศไทยซึ่งไปเลียนแบบเว็บไซต์ธนาคาร และกรณีที่ธนาคารไทยพบเว็บไซต์ในต่างประเทศซึ่งเลียนแบบเว็บไซต์ธนาคาร สองคือการบุกรุกเจาะระบบ ซึ่งรวมถึงกิจกรรมการเตรียมการเจาะระบบ ได้แก่การทดลองแสกนหาช่องโหว่ และเมื่อพบช่องโหว่แล้วจึงทดสอบเจาะระบบ สามคือสแปมเมล คือการส่งเมลออกไปถึงคนจำนวนมากโดยที่ผู้รับไม่ได้ร้องขอ หรือไม่ต้องการ และสี่คือ มัลแวร์ เป็นการส่งซอฟต์แวร์ไม่พึงประสงค์ไปฝังตัวในเครื่องผู้ใช้งาน”

ดังนั้น เพื่อเป็นการรับมือกับภัยคุกคามที่กระทำต่อเครือข่ายการติดต่อสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วไม่อาจคาดเดาได้โดยง่ายว่าจะมาในรูปแบบหรือวิธีการเช่นใด เนื่องจากผู้กระทำสามารถลงมือกระทำความผิดได้แม้อยู่ต่างที่ต่างถิ่น และสามารถสร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศโดยอาศัยคอมพิวเตอร์เพียงหนึ่งเครื่องเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จึงจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องมีการกำหนดทิศทาง นโยบาย มาตรการและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำแผนแม่บทด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติขึ้น โดยให้ครอบคลุมถึงมิติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางการทหาร การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ และรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

โดยการระดมความคิดเห็นครั้งนี้แบ่งเป็นสี่กลุ่มสำคัญ ได้แก่ ด้านความมั่นคงของประเทศ ด้านความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสาธารณูปโภคสำคัญ ผลจากการระดมความคิดเห็นทั้ง 4 กลุ่ม พบว่าประเด็นหลักที่กล่าวถึงกันมากคือ ความกังวลเรื่องการโจมตีระบบ และการใช้เทคโนโลยีเพื่อแพร่กระจายข่าวสารที่บิดเบือน โดยสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าวได้แก่ การสร้างความตระหนักเรื่องการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้เทคโนโลยี การมีกฎหมายรองรับด้านไซเบอร์ ที่ชัดเจนและบังคับได้จริง การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรด้านไอที และบุคลากรด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ส่วนปัญหาที่เหมือนกันในเกือบทุกหน่วยงานก็คือปัญหาทางงบประมาณด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัย และงบประมาณในการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

สำหรับกรอบนโยบายดังกล่าว สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ซึ่งเป็นหน่วยงานน้องใหม่ของกระทรวงไอซีที เป็นหน่วยงานที่ได้รับนโยบายสำคัญจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการผลักดันให้แล้วเสร็จในเดือนมีนาคมนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางการวางยุทธศาสตร์ในแผนแม่บทเป็นลำดับต่อไป โดยเมื่อร่างกรอบนโยบายฯ แล้วเสร็จและมีการนำเสนอต่อคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องแล้ว สพธอ.จะนำร่างกรอบที่ผ่านการพิจารณามาพัฒนาให้เป็นแผนแม่บทความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เพื่อนำไปสู่การเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและนำความคิดเห็นมาแก้ไขเพิ่มเติมจนเป็นแผนแม่บทที่สมบูรณ์ ต่อจากนั้นจะนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติในที่สุด

View :1667

สวทช. ม.สงขลาฯ ม.ขอนแก่น ม.เทคโนโลยีสุรนารี เปิดหน้าร้านร่วมบริการเทคโนโลยีสู่ภูมิภาค

February 2nd, 2012 No comments

รวมพลัง 3 มหาวิทยาลัยชื่อดัง เปิดหน้าร้านร่วมบริการเทคโนโลยีสู่ภูมิภาคด้วยกัน เน้นนโยบายเชิงรุกปลุกสร้างอุตสาหกรรมปลายน้ำจากวัตถุดิบหลักในพื้นที่ เผยลดขั้นตอนการสนับสนุนพร้อมตอบโจทย์ธุรกิจท้องถิ่นได้ถูกต้อง

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า สวทช.ได้ร่วมลงนามกับ เครือข่ายมหาวิทยาลัยที่มีฐานการวิจัยและมีความพร้อม คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อจัดตั้ง หน่วยงานเครือข่ายส่งเสริมเทคโนโลยี สวทช. – หน่วยงานเครือข่าย โดยแต่ละหน่วยงานภายใต้ ความร่วมมือในครั้งนี้สามารถช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ ประกอบการโดยใช้กลไกบริการสนับสนุนผู้ ประกอบการด้านต่างๆ ทั้งสวทช. และหน่วยงานเครือข่ายได้อย่างครบวงจรสิ่งที่ผู้ประกอบการในท้องถิ่นจะได้รับจากความร่วมมือครั้งนี้คือ เข้าถึงผลงานวิจัยพัฒนาการสนับสนุน ด้านการเงินจากโครงการสนับสนุนด้านสิน เชื่อดอกเบี้ยต่ำ (CD) ศูนย์ลงทุน (NIC) การให้บริการ ด้านทรัพย์สินทางปัญญา (IPS) โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถขอรับการรับรองจาก สวทช. เพื่อขอยกเว้นภาษี 200% (RDC) หรือแม้แต่การสนับสนุนส่วนอื่นๆ อีกมากมายตามแต่ที่โจทย์ ของภาคธุรกิจในพื้นที่จะร้องขอ

“มหาวิทยาลัยทั้ง 3 นั้น แต่ละแห่งมีความโดดเด่นทางด้านงานวิจัย และฐานของธุรกิจที่รองรับ ถือ เป็นการผนึกกำลังกับภาคการศึกษาที่มีความพร้อม ใช้จุดแข็งของแต่ละฝ่ายเสริมซึ่งกันและกัน เพื่อ ประโยชน์และเสริมศักยภาพให้กับอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ในพื้นที่” ดร.ทวีศักดิ์กล่าว

การรวมพลังในครั้งนี้ถือเป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกของสวทช. ที่เน้นความร่วมมือกับพันธมิตรเครือ ข่ายกระจายบริการลงสู่ภูมิภาคอย่างเป็น ระบบ สวทช. จะบูรณาการการทำงานร่วมกันกับเครือ ข่ายส่งเสริมเทคโนโลยีสู่ผู้ประกอบการแบบ ครบวงจรเพื่อผลักดันให้เกิดการใช้มูลค่าเพิ่มจากการคิด ค้นนวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ ที่มีขีดความสามารถในการแข่ง ขันสูง อันจะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ รวมถึงการกระตุ้น เศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนความร่วมมือครั้งนี้เป็นการเพิ่มช่องทางให้กับผู้ประกอบการ มีโอกาสเข้าถึงกลไกบริการและองค์ ความรู้ต่างๆ ผ่านเครือข่ายในแต่ละพื้นที่ ซึ่งสามารถส่งต่อโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ ระหว่างหน่วยงานเครือข่าย และสวทช. และหาแนวทางเพื่อตอบโจทย์ให้กับผู้ประกอบการให้ได้รับ ประโยชน์สูงสุด ในการนำเทคโนโลยีไปต่อยอดธุรกิจและสร้างโอกาสใหม่ๆ แก่ธุรกิจให้ประสบ ความสำเร็จ ในขณะ เดียวกันยังเป็นการลดขั้นตอนการประสานงานต่างๆ ให้กับผู้ประกอบการ

สำหรับภาพใหญ่ของสวทช. ส่วนหนึ่งจะเน้นการสนับสนุนให้เกิดการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ใน กลุ่มผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง และยางพารา ในปีนี้นั้นการร่วมมือหน่วยงานเครือข่ายดังกล่าว ถือว่าสอดคล้องกับแผนนี้อย่างมาก โดยภาคอีสานจะมีความโดดเด่นในด้านข้าว และมันสำปะหลัง ส่วนในภาคใต้ก็โดดเด่นในด้านยางพาราการที่สวทช.ได้ตั้งเป้าหมายใหญ่ไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมทั้งสามด้านนี้ เพื่อต้องการขับเคลื่อนให้เกิดการ นำเทคโนโลยีไปสร้างมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากสวทช.มีงานวิจัยจำนวนมากที่สนับสนุน แต่ขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจยังไม่ได้รับข้อมูลและการผลักดันในระดับพื้นที่มา ก่อน ทำให้สถานะของการใช้เทคโนโลยีด้านนี้ยังน้อยอยู่ และเกิดอุตสาหกรรมปลายน้ำไม่มากนัก ซึ่งหากบทบาทของหน่วยงานเครือข่ายส่ง เสริมเทคโนโลยีเกิดขึ้นได้จริงผลที่ เกิดขึ้นคือจะเกิดภาคธุรกิจเกิดใหม่ขึ้นจำนวนมากที่ใช้วัตถุดิบหลัก เหล่านี้ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม ทำให้ภาคการผลิตของไทยพัฒนามากขึ้น และลดการนำเข้าสินค้าจากต่าง ประเทศไปได้อย่างมาก จนในที่สุดเกิดความแข็งแกร่งจนกลายเป็นจุดแข็ง เพราะมีตั้งแต่กระบวน การต้นน้ำถึงปลายน้ำแบบครบวงจร

รศ. ดร. ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล รองอธิการบดี ฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า แนวทางและดำเนินการความร่วมมือกับอุตสาหกรรมของมอ.ในพื้นที่ภาคใต้มี หลาก หลายรูปแบบมาเป็นเวลานาน ทั้งในส่วนที่ม.อ.ดำเนินการเอง และร่วมกับหน่วยงานภายนอก อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสวทช. และเพื่อให้ชัดเจนในการดำเนินการเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง โดย เฉพาะการพัฒนาด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ. จึงจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระขับเคลื่อนกลไกความร่วมมือนี้ และยังจัดตั้งสำนัก งานความร่วมมืออุตสาหกรรม หรือ “OIL” (Office of Industrial Liaison) ภายใน อุทยานวิทยาศาสตร์ เพื่อดำเนินการและประสานงานความร่วมมือกับอุตสาหกรรม ในการพัฒนาศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรมให้มีขีดความ สามารถเพิ่มมากขึ้น สอด คล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม เชื่อมโยงระหว่างงานวิจัยและพัฒนากับภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นอุตสาหกรรมในภาคใต้จะขึ้นอยู่กับฐานวัตถุดิบในพื้นที่เป็นสำคัญ ซึ่งอันดับหนึ่งก็คือยางพารา ส่วนที่ กำลังมาแรงในขณะนี้ก็คือปาล์ม จากการให้ความสำคัญขององค์ความรู้ทางด้านการผลิตเกี่ยวกับ ยางพารา จะทำให้ สวทช. กับ ม.อ. ซึ่งมีองค์ความรู้และผลงานวิจัยจำนวนมากจะร่วมมือกันเข้า ไปส่งเสริมและสนับ สนุนการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีให้กับธุรกิจในภาคใต้เติบโตขึ้นได้ถึง 30%

ในระยะเวลาอันสั้นต่อจากนี้ ผู้ประกอบการในภาคใต้จะเข้ามาใช้บริการต่างๆ ของ สวทช. และ ของ ม.อ.มากขี้น ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษาโดยเฉพาะทางด้าน เทคโนโลยี สามารถดึงงานวิจัยที่เกี่ยวกับยางพาราและอื่นๆ ตามที่ผู้ประกอบการสนใจมาใช้ในเชิง พาณิชย์ได้อย่างง่ายดาย และลดขั้นตอนการเข้าถึงและใช้บริการ มีแผนสนับสนุนทางการตลาดที่จะ ผลักดันงานวิจัยตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำ และการตลาดที่จะเข้าไปช่วยตั้งแต่ต้นจนถึงการจับคู่ทาง ธุรกิจของผู้ ประกอบการ เกิดโรงงานใหม่ในภาคการผลิตระดับปลายน้ำมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการสร้าง มูลค่าเพิ่มระยะยาวของการผลิตน้ำยางพารา

ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ นั้น ม.อ.และ สวทช.จะร่วมกันนำเทคโนโลยีจากการค้นคว้าวิจัยจากทั้งสอง หน่วยงาน เข้ามา Matching หรือจับคู่ เพื่อทำให้ระดับการวิจัยมีความเท่าเที่ยมกัน จนสามารถ เกิดการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ต่อยอดไปได้ กระบวนการดำเนินการในเบื้องต้นต่อจากนี้ ทาง ม.อ.กับสวทช.จะร่วมกันหารือเพื่อกำหนดขอบข่ายของการให้บริการร่วมกัน กลุ่มเป้าหมาย และ สร้างทิศทางในการสนับสนุน ทั้งนี้ทางสวทช. จะอบรมและพัฒนาเจ้าหน้าที่ของ ม.อ. เพื่อให้ใช้ บริการที่มีอยู่ของสวทช.อย่างเต็มที่ ซึ่งจะเป็นการลดขั้นตอนในการเข้ามาใช้บริการอย่างมาก และ ต่อไปก็จะทำให้หน่วยงานในท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถนำแหล่งทุนและเทคโนโลยีมาสนับสนุนผู้ ประกอบการท้องถิ่นได้อย่างสะดวก ในอนาคต

รศ. ดร. รังสรรค์ วงศ์สรรค์ รองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เปิดเผย ว่า การที่สวทช. ร่วมกับ มทส. จัดตั้งศูนย์เครือข่ายในพื้นที่จะทำให้ผู้ประกอบการจะได้รับ ประโยชน์จากการ ให้บริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ มทส. มากขึ้นตั้งแต่ การมีพื้นที่วิจัยที่อยู่ใกล้กับ นักวิจัย มทส. ซึ่งจะทำให้การดำเนินการวิจัยร่วมกันได้เสร็จเร็ว สะดวกขึ้น ค่าใช้จ่ายในการวิจัย และพัฒนาน้อยลง ด้วยการบริการแบบ One Stop Service ของอุทยานวิทยาศาสตร์ มทส. และ การเดินทางที่ไม่ไกล ได้รับการให้บริการด้านธุรกิจและบริการด้านอื่นๆ ของ อุทยานวิทยาศาสตร์ มทส. ที่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ ได้รับความสะดวกในการหาข้อมูลนักวิจัย และข้อมูล เทคโนโลยี เมื่อต้องการวิจัย ได้รับข้อมูลและการสนับสนุนช่วยเหลือของภาครัฐอื่นๆ ได้ง่ายขึ้นและ ครบถ้วนสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากความร่วมมือคือ สามารถยกระดับผลิตภัณฑ์และความสามารถการแข่งขันให้สูง ขึ้น เป็นการส่งเสริมให้เกิดการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ ส่งผลให้เกิดการสร้างรายได้ เกิดการ จ้างงานในท้องถิ่นทำให้ไม่ต้องย้ายถิ่นฐานเพื่อไปทำมาหากินที่อื่น เกิดความช่วยเหลือเกื้อกูลกันของ คนในชุมชน ทำให้เกิดการพัฒนาในระดับภูมิภาคอย่างยั่งยืนต่อไป มทส. จึงเป็นกลไกที่สำคัญในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจได้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

View :1529

ข้อคิดเห็นต่อแผนการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานอย่างทั่วถึงของ กสทช.

February 2nd, 2012 No comments

โดย สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

กำลังจัดทำร่างแผนการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานอย่างทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมประจำปี 2555-2559 โดยมีเป้าหมายตามตารางประกอบ การจัดทำแผนดังกล่าวนับเป็นพัฒนาการด้านบวกที่สำคัญ เนื่องจากทำให้ ทราบค่าใช้จ่ายในการให้บริการอย่างทั่วถึง และสามารถจัดลำดับความสำคัญของโครงการต่างๆ ได้ จากเดิมที่มีหลักเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจนนัก

นอกจากนี้ กสทช. ยังเปลี่ยนมาใช้กลไกของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการ และน่าจะช่วยลดต้นทุนการจัดให้มีบริการได้ จากการใช้วิธีประมูลแข่งขันมาคัดเลือกผู้ให้บริการอย่างทั่วถึง

ตามแผนใหม่นี้ ค่าธรรมเนียมที่ กสทช. จะจัดเก็บเข้าสู่กองทุนฯ จะอยู่ที่ร้อยละ 4 ของรายได้ในการให้บริการของผู้รับใบอนุญาตทั้งที่มีและไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง จากเดิมที่เก็บในอัตราเดียวกันจากเฉพาะผู้รับใบอนุญาตที่มีโครงข่ายเป็นของตนเองเท่านั้น

เป้าหมายในการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานอย่างทั่วถึงประจำปี 2555-2559
- 99% ของพื้นที่ทั่วประเทศสามารถเข้าถึงบริการโทรศัพท์ส่วนบุคคลได้
- มีโทรศัพท์สาธารณะ 1 เลขหมายต่อหมู่บ้านเล็กและห่างไกลในพื้นที่ที่เหลือ 1%
- มีบริการอินเทอร์เน็ตชุมชน โรงเรียนและสถานีอนามัย ความเร็ว 2 Mbps ในพื้นที่ชนบท 20% ของประเทศ
- มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 2-10 Mbps และ WiFi ครอบคลุมโรงเรียน สถานีอนามัย อบต. และพื้นที่ไม่น้อยกว่า 80% ของประเทศ
- มีบริการอินเทอร์เน็ตสำหรับชุมชนรายได้น้อยในเขตเมือง สถานสงเคราะห์คนชรา และโรงเรียนสอนคนพิการ 500 แห่งทั่วประเทศ
- มีระบบการสื่อสารเฉพาะทางของคนพิการทางตาและการได้ยิน ไม่น้อยกว่า 1 แสนคน
- ส่งเสริมและพัฒนาเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ตที่เป็นประโยชน์
- ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านโทรคมนาคม อาทิ การพัฒนาทักษะและฝีมือแก่แรงงาน การสนับสนุนทุนการศึกษา ตลอดจนฝึกอบรมประชาชนไม่น้อยกว่า 5 แสนคน

โดยรวมแล้ว ผู้เขียนเห็นว่า แผนดังกล่าวมีพัฒนาการในด้านดีหลายประการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเห็นว่าการดำเนินการตามแผนดังกล่าวจะทำให้เกิดต้นทุนในการให้บริการอย่างทั่วถึงในระดับสูงกว่าที่ควรจะเป็น ด้วยเหตุผลหลายประการ

ประการที่หนึ่ง แม้แผนดังกล่าวมีแนวคิดในการแบ่งพื้นที่ซึ่งยังไม่มีบริการโทรคมนาคมออกเป็น พื้นที่ซึ่งไม่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริง (true access gap) ซึ่งต้องการการอุดหนุนจากกองทุนฯ และพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพในเชิงพาณิชย์แต่ยังขาดบริการอยู่ (efficiency gap) ซึ่งการแข่งขันในตลาดจะทำให้เกิดบริการก็ตาม ในทางปฏิบัติ กสทช. ก็ยังมิได้แบ่งพื้นที่ของประเทศไทยออกมาตามแนวคิดดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้ต้องใช้เงินกองทุนฯ ไปอุดหนุนบางพื้นที่โดยไม่จำเป็น

ประการที่สอง ด้วยเหตุผลเดียวกับข้อแรก แผนดังกล่าวมุ่งใช้เงินจากกองทุนฯ เป็นหลักในการทำให้เกิดบริการอย่างทั่วถึง โดยไม่ได้ใช้มาตรการอื่นเท่าที่ควร โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในตลาดเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการจากการออกใบอนุญาตใหม่ๆ และการกำกับดูแลที่ดี

ประการที่สาม แผนดังกล่าวกำหนดเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้อย่างตายตัว เช่น กำหนดว่าต้องมีบริการ WiFi ครอบคลุมพื้นที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของประเทศ
ทำให้ขาดทางเลือกในการใช้เทคโนโลยีอื่นเช่น WiMax หรือดาวเทียมบรอดแบนด์ ซึ่งอาจมีต้นทุนต่ำกว่าในบางพื้นที่

ข้อเท็จจริงที่ชี้ว่า การให้บริการอย่างทั่วถึงตามแผนดังกล่าวน่าจะมีต้นทุนสูงกว่าที่ควรจะเป็นก็คือ การที่ กสทช. จะเก็บค่าธรรมเนียมเข้ากองทุนฯ ที่อัตราร้อยละ 4 ของรายได้ของผู้รับใบอนุญาต ซึ่งสูงกว่าอัตราที่จัดเก็บอยู่ในต่างประเทศ เช่น ชิลี เปรู และแอฟริกาใต้ ต่างเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวในอัตราที่ต่ำกว่าร้อยละ
1 ของรายได้ของผู้ประกอบการ และไม่พบว่ามีประเทศใดที่เก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวถึงร้อยละ 2.5 เลย ยกเว้นอินเดีย (ดูภาพประกอบ)
ค่าธรรมเนียมในระดับสูงของไทยจะเป็นต้นทุนที่ผู้บริโภคทุกคนมีภาระต้องแบกรับ

จากการเหตุผลต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนขอเสนอแนะให้ กสทช. พิจารณาสั่งการให้ สำนักงาน กสทช. ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. จัดทำการประมาณการความแพร่หลายของบริการโทรคมนาคมพื้นฐานในประเทศไทยว่ามีแนวโน้มโดยธรรมชาติอย่างไร และจะมีความแพร่หลายเพิ่มขึ้นอย่างไรหากมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้และกำกับดูแลให้ตลาดมีการแข่งขันอย่างเต็มที่
2. ระบุพื้นที่ซึ่งไม่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริงจากประมาณการข้างต้น ซึ่งจะทำให้ทราบพื้นที่ซึ่งควรได้รับการอุดหนุนอย่างแท้จริง
3. เปิดกว้างให้ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายในการแข่งขันกันให้บริการอย่างทั่วถึง โดยไม่ต้องระบุเทคโนโลยีอย่างตายตัว เช่น ไม่ควรระบุว่า ต้องเป็น WiFi เท่านั้น
4. ตัดโครงการที่ไม่เกี่ยวข้องกับบริการอย่างทั่วถึงออกเช่น การพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงาน และทุนการศึกษา เนื่องจากการใช้จ่ายในลักษณะดังกล่าวน่าจะขัดกับบทบัญญัติตามกฎหมาย ทั้งนี้ หากต้องมีค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมบุคลากร ก็ควรจำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคลที่ขาดทักษะการใช้บริการโทรคมนาคมเท่านั้น
5. ควบคุมการใช้จ่ายของ กสทช. และสำนักงาน กสทช.ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น กำหนดอัตราเงินเดือน หรือสวัสดิการต่างๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และป้องกันการรั่วไหลต่างๆ ในการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งนี้เนื่องจากรายได้ของสำนักงาน กสทช. เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ข้างต้นแล้ว จะมีส่วนที่ถูกนำส่งเป็นรายได้ของกองทุนฯ ด้วย นอกจากนี้ การกำหนดเงินเดือนของ กสทช. ในระดับที่สูงมากโดยการแปลงโบนัสเป็นเงินเดือน น่าจะขัดกับเจตนารมย์ของกฎหมาย และก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อความน่าเชื่อถือในการทำงานเพื่อสาธารณะของ กสทช. เอง
6. ปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมกองทุนฯ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และใกล้เคียงกับมาตรฐานสากล เช่น ไม่ควรเกินร้อยละ 2.5 เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อผู้บริโภคมาก โดยรายได้ดังกล่าวของกองทุนฯ น่าจะเพียงพอต่อการให้บริการอย่างทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคิดถึงฐานรายได้ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีการขยายฐานของผู้จ่ายค่าธรรมเนียมไปยังผู้รับใบอนุญาตทุกประเภทแล้ว

ภาพเปรียบเทียบอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการอย่างทั่วถึงของประเทศต่างๆ

ที่มา: เอกสารประกอบการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะของ สำนักงาน กสทช.

View :1752

รัฐ ผนึกกำลังภาคเอกชน สร้างปรากฏการณ์ 4G บรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงครั้งแรกในประเทศไทย

February 1st, 2012 No comments

ครั้งแรกของประเทศไทยที่ภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ , ทีโอที, กสท.โทรคมนาคม, เอไอเอส และดีพีซี ผนึกกำลังเปิดประสบการณ์ บรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงครั้งแรกในประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี 4G หรือ Long Term Evolution-LTE ยืนยันศักยภาพความพร้อมเต็มรูปแบบ พร้อมเปิดให้ผู้บริโภคได้สัมผัสเทคโนโลยี 4G ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ก่อนเตรียมเปิดประมูลอย่างเป็นทางการเร็วๆนี้

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร กล่าวในพิธีเปิดงาน “ The First 100 Mbps” ว่า “จากแนวนโยบาย “สมาร์ท ไทยแลนด์” ของกระทรวง ICT ซึ่งนอกเหนือจากการเร่งเดินหน้านำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารของประเทศ สร้างการเติบโตของอัตราการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของคนไทยแล้ว อีกด้านคือ การหาเทคโนโลยีใหม่ๆที่มีความทันสมัยสร้างโอกาสในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงให้แก่ประชาชนทุกกลุ่ม อันจะเป็นการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศด้วยอีกทางหนึ่ง นำไปสู่ที่มาของการจัดทดสอบเทคโนโลยี 4G หรือ Long Term Evolution-LTE ในวันนี้ ภายใต้การผนึกกำลังระหว่างภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ในฐานะมีบทบาทสำคัญที่สุดในการอนุมัติให้เกิดการทดสอบครั้งนี้ , บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) , บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) , บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด ในฐานะผู้ประกอบการ อันถือเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกและเป็นนิมิตรหมายอันดียิ่งถึงความร่วมมือที่จะนำพาให้ประเทศเดินหน้าอย่างเข้มแข็งโดยมีเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัยที่สุดสนับสนุน”

ด้าน พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และ พันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติและประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ในฐานะองค์กรผู้กำกับดูแลและอนุมัติให้เกิดการทดสอบทดลองในครั้งนี้ได้ร่วมกันเปิดเผยถึงรายละเอียดการทดสอบครั้งนี้ว่า “บทบาทหน้าที่ของ นอกเหนือจากหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่ ตลอดจนเทคโนโลยี ทั้งในส่วนของกิจการโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อให้ผู้ใช้บริการและประเทศชาติได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง เกิดประโยชน์ และสร้างความเท่าเทียมกันแล้ว เรายังมีหน้าที่ติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เล็งเห็นว่าจะเพิ่มโอกาสให้แก่ประชาชน และประเทศ จากนั้นนำมาทดลอง ทดสอบเพื่อกำหนดมาตรฐานก่อนที่จะเปิดประมูลอย่างเป็นทางการในอนาคต”
“เทคโนโลยี LTE-Long Term Evolution หรือ ที่เรารู้จักกันในชื่อของ 4G เป็น 1 ในเทคโนโลยีอนาคต ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถตอบสนองการใช้งานบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง การเรียนรู้เพื่อเข้าใจถึงคุณสมบัติของเทคโนโลยีนี้อย่างถ่องแท้จึงเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น กสทช.จึงได้อนุมัติให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) , บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด ได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์ดำเนินการทดสอบใน 2 เทคโนโลยี และ 2 พื้นที่ ประกอบด้วย

1. โครงการทดสอบและทดลองระบบบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง Broadband Wireless Access-BWA ในย่านความถี่ 2300 MHz ด้วยเทคโนโลยี Long Term Evolution ซึ่งใช้คลื่นความถี่ในลักษณะ Time Division Duplex หรือ TDD ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งในเขตพื้นที่ชั้นใน บริเวณถนนพระรามหนึ่งตั้งแต่ มาบุญครองถึงเซ็นทรัลเวิลด์ รวมถึงชั้นนอกจากศูนย์ราชการ กระทรวงไอซีที และ สำนักงานทีโอที แจ้งวัฒนะ โดยมีจำนวนสถานีฐาน 20 แห่ง เปิดให้ทดสอบถึงช่วงประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2555

2. โครงการทดสอบและทดลองระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 4 ในย่านความถี่ 1800 MHz ด้วยเทคโนโลยี Long Term Evolution ซึ่งใช้คลื่นความถี่ในลักษณะ Frequency Division Duplex หรือ FDD ในพื้นที่ จ.มหาสารคาม ในเขตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม โดยเบื้องต้นมีจำนวนสถานีฐาน 8 แห่ง เปิดให้ทดสอบถึงช่วงประมาณต้นเดือนมีนาคม 2555

โดยการทดสอบครั้งนี้เป็นรูปแบบของการทดสอบเชิงเทคนิคชั่วคราว หรือ Technical Trial ซึ่งมิได้แสวงหากำไรเชิงพาณิชย์ หรือ Non Commercial ทั้งนี้จะได้มีการเปิดโอกาสให้ทั้งกลุ่มเจ้าหน้าที่ทางเทคนิค พร้อมทั้งกลุ่มตัวอย่างของประชาชน นักเรียนนักศึกษา ได้ทำการทดสอบด้วย เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการและเข้าใจถึงรูปแบบ

ความต้องการใช้งานของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างครอบคลุม ก่อนที่ทางกสทช.จะได้นำข้อมูลดังกล่าวมาประกอบการจัดการประมูลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ต่อไป”

ทั้งนี้ คุณธนวัฒน์ อัมพุนันทน์ รักษาการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ,คุณขจรศักดิ์ สิงหเสนี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกัน กล่าวว่า “ทั้ง ทีโอที และ กสท.นอกเหนือจากบทบาทของผู้ประกอบการที่มุ่งมั่นส่งมอบบริการที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าแล้ว เรายังพร้อมร่วมกับพาร์ทเนอร์อย่าง เอไอเอส และ ดีพีซี ซึ่งทำงานร่วมกันมายาวนานและสร้างความสำเร็จมาด้วยกันในฐานะคู่สัญญาสัมปทาน เพื่อสรรหาและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ในอันที่จะเพิ่มพูนประสบการณ์และเตรียมความพร้อมก่อนที่ภาครัฐจะเปิดการประมูลอย่างเป็นทางการ”

“เรากำลังพูดถึงการเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมของ “Smart Thailand” ซึ่งส่วนหนึ่งคือการขยาย Broadband ให้ประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงโลอินเตอร์เน็ต หรือ การใช้งาน Data ผ่าน High Speed Internet ได้ง่ายๆการมาถึงของเทคโนโลยี 4G นอกเหนือจากการใช้งานส่วนบุคคลแล้ว เรายังมองถึงการสร้างโอกาสทางการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ไร้สายความเร็วสูงผ่าน Wifi ได้ง่ายๆเพียงใช้ Aircard 4G และ WiFi Adaptor ซึ่งจะส่งผลทำให้ภาพของ National Broadband ตามนโยบายของกระทรวงICT มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นอีกทางหนึ่ง” นายธนวัฒน์ กล่าว

“นอกจากนี้การเรียนรู้เชิงวิศวกรรมในพื้นที่หลากหลายก็สำคัญ วันนี้ตลาดต่างจังหวัด มีอัตราการเติบโตของ Data มากขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งจ.มหาสารคามมีคุณสมบัตินี้อยู่ครบ จึงเป็นที่มา ของการเลือกเป็นจุดทดสอบ รวมถึงคลื่น 1800 MHz เองก็มีเพียงพอที่จะทำการทดสอบได้อย่างไม่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการปัจจุบัน เราจึงคาดหวังว่าจะได้ผลการทดสอบในภาพรวมอย่างครบถ้วนทั้งด้านเทคนิคและมุมมองความต้องการของผู้บริโภค”นายขจรศักดิ์กล่าว

ส่วนที่มาของการเปิดทดสอบรวมถึงรายละเอียดการทดสอบจากภาคเอกชนนั้น นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส และนายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร กรรมการผู้อำนวยการ ดีพีซี กล่าวว่า “วันนี้ผู้ใช้บริการ Data โดยเฉพาะในเครือข่ายของเรามีมากกว่า 10 ล้านราย แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความต้องการด้านนี้จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดในเวลาอันใกล้ การมองหาเทคโนโลยีอนาคตที่จะตอบโจทย์ดังกล่าวจึงเป็น เรื่องสำคัญที่ต้องทำควบคู่กับการให้บริการปัจจุบันอย่างดีที่สุด เอไอเอสและดีพีซี ในฐานะเอกชนที่มีความพร้อม และมีประสบการณ์ในการให้บริการเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายมากกว่า 20 ปี ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความชำนาญ ด้านวิศวกรรม, ทักษะในการปรับจูนเครือข่าย ตลอดจนความเข้าใจถึงการนำเสนอ Application ไปยังกลุ่มเป้าหมาย ที่จะเป็นไปในลักษณะของการส่งมอบประสบการณ์องค์รวม จึงเสนอขอทดลองทดสอบเทคโนโลยี 4G

ใน 2 รูปแบบ 2 คลื่นความถี่ และ 2 สถานที่ ดังกล่าวข้างต้น เพื่อจะได้เสริมทักษะ และเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ตลอดจนมองถึงการผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีที่ให้บริการในปัจจุบัน เพื่อจะได้เตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่รับกับการประมูลที่เชื่อมั่นว่าจะมาถึงในอนาคตอันใกล้”

“วัตถุประสงค์หลักอีกประการคือ เราตั้งใจทำเพื่อประเทศโดยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาให้คนไทยได้สัมผัส ก่อนใคร อันจะทำให้มองเห็นถึงประโยชน์ที่จะปรับประยุกต์ใช้ในกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการศึกษา, ด้านการแพทย์, ด้านความบันเทิง ตลอดจนอุตสาหกรรมหลักทุกๆด้าน ที่ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยระบบสื่อสารไร้สายความเร็วสูงเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการต่อยอดการเติบโต ซึ่งเราเองเชื่อมั่นว่าจะเป็นการเตรียมความพร้อมรับเทคโนโลยีใหม่จากทุกมุมมองที่จะทำให้เมื่อมีการประมูลเกิดขึ้น ทุกภาคส่วนจะพร้อมเริ่มงานได้ทันทีโดยไม่ต้องรอที่จะเรียนรู้”

นายวีรวัฒน์ กล่าวถึงรูปแบบการทดสอบในครั้งนี้ว่า “เอไอเอสและดีพีซีเน้นศึกษา 4G ในด้านความเร็วและความเสถียร, รัศมีในการส่งสัญญาณ (Coverage Area), ลักษณะการใช้งานในขณะเคลื่อนที่ การ Handover ภายใต้ Coverage ที่มีความต่อเนื่อง (เฉพาะการทดสอบที่ จ.มหาสารคาม) , ความสัมพันธ์ของย่านความถี่และช่วงกว้างความถี่ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานของเทคโนโลยี LTE, ความเร็วของการเข้าถึง Content ด้าน Multi Media แบบ HD , รูปแบบของ Application ที่เหมาะสมและตรงใจผู้บริโภค, ฯลฯ ทั้งนี้จากการศึกษาดูงานในต่างประเทศพบว่า การให้บริการ 3G และ 4G จะดำเนินควบคู่กัน โดย 3G จะเป็นโครงสร้างหลักที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ตอบโจทย์คนที่ใช้งาน Data ใน Daily Life และ Lifestyle ในขณะที่ 4G จะเหมาะกับกลุ่มเฉพาะที่มีการใช้งานเชิงลึก เช่น สถาบันการศึกษา ที่ต้องเข้าถึงข้อมูลทางวิชาการ, โรงพยาบาล หรือศูนย์วิจัยทางการแพทย์ต่างๆผ่านทาง Telemedicine หรือแม้แต่กลุ่ม ที่ทำธุรกิจด้านความบันเทิงที่ต้องใช้งาน Multimedia มากๆ ซึ่งการทดลองทดสอบครั้งนี้จะช่วยยืนยันถึง Trend ดังกล่าวได้อย่างชัดเจน”

นายวิเชียร กล่าวตอนท้ายว่า “การทดสอบครั้งนี้เป็นไปในลักษณะของ Technology Trial ซึ่งภาครัฐได้ให้ความสำคัญและร่วมมือกับเราอย่างดียิ่ง โดยเราได้รับการสนับสนุนจากพาร์ทเนอร์ ผู้ผลิต ประกอบด้วย Cisco, Huawei, Nokia-Siemens Network โดยเราคาดหวังว่าผลจากการทดสอบที่ครบถ้วนในทุกมุมมองครั้งนี้ จะเป็นการยืนยันถึงความพร้อมของผู้ประกอบการอย่างเราที่มีความรู้ความสามารถในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้งาน รวมถึงความพร้อมในระดับประเทศที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ๆอย่าง 4G หรือ แม้แต่ 3G ที่ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาคน สังคม และระบบเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศเข้ามาเริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการผ่านการเปิดประมูลอย่างเป็นธรรม สำหรับภาคเอกชนอย่างเอไอเอส และ ดีพีซีนั้น ขอยืนยันผ่านการทำงานครั้งนี้ว่าเรามีความพร้อมเป็นอย่างยิ่งในทุกด้านที่จะดำเนินการและส่งมอบบริการแก่คนไทย

ไม่ว่าจะเป็น 3G หรือ 4G รวมถึงเทคโนโลยีอนาคตอื่นๆ ให้แก่คนไทยเสมอ หากเวลาที่ภาครัฐเปิดโอกาสผ่านการประมูลใบอนุญาตมาถึง”
การจัดทดสอบ 4G Thailand The First 100 Mbps นั้น เปิดให้ประชาชนได้ร่วมทดสอบเทคโนโลยี 4G ด้วยเช่นกัน โดยจะมีการตั้งจุดทดสอบในพื้นที่ซึ่งมี Coverage เพื่อจะได้รับมุมมอง ความเห็นของผู้บริโภคตัวจริงอันจะถือได้ว่าเป็นเสียงสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในการนำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาให้บริการอย่างเป็นทางการในอนาคตอันใกล้ ทั้งนี้จะมีการเผยแพร่จุดทดสอบ 4G ทั้งในกรุงเทพ และ จ.มหาสารคามให้ได้ทราบเพื่อร่วมทดสอบต่อไป

View :1882
Categories: 3G, Press/Release Tags:

รมว.ไอซีที หนุนศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เดินหน้าพัฒนาแผนงานบูรณาการร่วม 3 ระบบ

February 1st, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนงานและโครงการในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ระบบพยากรณ์ และระบบ เตือนภัยในเชิงบูรณาการ ว่า จากเหตุการณ์มหาอุทกภัยที่ผ่านมา รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ ที่อาจเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2555 เห็นชอบกรอบวงเงินสำหรับแผนพัฒนาคลังข้อมูลระบบพยากรณ์และเตือนภัย โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ใน 3 ระบบ คือ ระบบฐานข้อมูล ระบบพยากรณ์ รวมทั้งระบบเตือนภัย และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาระบบไอซีทีดังกล่าว จำเป็นจะต้องมีการจัดทำแผนงานและโครงการในแนวทางของการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ดังนั้น กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนงานและโครงการในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ระบบพยากรณ์ และระบบเตือนภัยในเชิงบูรณาการ โดยเชิญผู้บริหารและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรับผิดชอบแผนงาน โครงการ รวมถึงงบประมาณของหน่วยงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการทั้ง 17 ด้าน ได้แก่ การแจ้งเตือนภัย น้ำ นิวเคลียร์และรังสี พิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลและนิติวิทยาศาสตร์ คมนาคม ฐานข้อมูลและสารสนเทศ เชื้อเพลิงและพลังงาน การศึกษา การบริหารจัดการภัยพิบัติ การแพทย์และสาธารณสุข การสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การบริจาค การฟื้นฟูบูรณะ การต่างประเทศ และความมั่นคง มานำเสนอแผนงานและโครงการในด้านที่รับผิดชอบ เพื่อให้มีการนำผลที่ได้จากการระดมความคิดเห็นไปปรับแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการระดับกระทรวงทั้ง 17 ด้านของแต่ละหน่วยงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล รวมถึงสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งจะช่วยลดความซ้ำซ้อนในการใช้งบประมาณ อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจ ความร่วมมืออันดีระหว่างหน่วยงานด้วย

ในการดำเนินโครงการดังกล่าวยังมีความสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงฯ ในการเพิ่มขีดความสามารถให้เป็นหน่วยงานที่มีเทคโนโลยีในการเป็นคลังและศูนย์กลางของข้อมูล เพื่อให้ผู้บริหารได้ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ก็สามารถเข้ามาใช้ข้อมูลประกอบการปฏิบัติงานได้อีกด้วย นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักรับ ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง เทคโนโลยีระบบสัญญาณเตือนภัยจากภัยพิบัติ ดินถล่ม โดยให้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะให้หน่วยงานต่างๆ ได้มีการหารือในประเด็นดังกล่าวไปพร้อมๆ กันด้วย

การสัมมนาฯ ครั้งนี้ จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้รัฐบาลมีแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการในภาพรวมของประเทศในเชิงบูรณาการที่เป็นไปในทิศทางและมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์เดียวกัน โดยหน่วยงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการ ระดับกระทรวงทั้ง 17 ด้าน จะมีแผนปฏิบัติการในด้านที่ตนรับผิดชอบไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง และหน่วยงานระดับกรม สำนัก ศูนย์ฯ ต่างมีความเข้าใจอันดีในการจัดทำแผนงานร่วมกันอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

View :1379