Archive

Posts Tagged ‘IBM’

ไอบีเอ็มเผยกลยุทธ์ สร้างสมาร์ทเตอร์ ซิตี้ เชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคทางการแพทย์และศูนย์การผลิตและจัดส่งสินค้าทางการเกษตร

May 3rd, 2011 No comments

ไอบีเอ็มเผยกลยุทธ์ สร้างสมาร์ทเตอร์ ซิตี้ เชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคทางการแพทย์และศูนย์การผลิตและจัดส่งสินค้าทางการเกษตร
 

เชียงใหม่ – 3 พฤษภาคม 2554…บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เผยกลยุทธ์ร่วมกับผู้บริหารเมืองเชียงใหม่ สร้างสมาร์ทเตอร์ซิตี้ เชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคทางการแพทย์ใน 3 ด้านคือ สร้างเสริมประสิทธิภาพของโรงพยาบาล สร้างระบบการรักษาและสถานพยาบาลให้เชื่อมต่อกันทั่วทั้งจังหวัด และเสริมศักยภาพการรักษาพยาบาลให้มีคุณภาพมาตรฐานการบริการทางการแพทย์ในระดับสูง ควบคู่กับการพัฒนาสร้างแบรนด์และการตลาด เพื่อดึงดูดผู้ป่วยจากทั่วโลก พร้อมเสนอแนวทางการเป็นศูนย์การผลิตและจัดส่งสินค้าทางการเกษตร ให้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญส่งตรงถึงโทรศัพท์มือถือเกษตรกร นำไปใช้วางแผนจัดการปลูก เก็บเกี่ยว และตั้งราคาผลผลิตผ่าน SMS หรือ เว็บพอร์ทัล อี-ฟาร์เมอร์ นำเทคโนโลยีมาช่วยจัดการเรื่องน้ำ และตรวจสอบกระบวนการจากแหล่งผลิตจนถึงมือผู้บริโภค สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ทำการตลาดสร้างตราสินค้าเชียงใหม่ฟู้ด  สร้างศักยภาพการผลิตและส่งออกไปต่างประเทศ คณะผู้บริหารเมืองเชียงใหม่ เตรียมสานต่อ โครงการให้บรรลุเป้าหมาย ภายในระยะเวลาที่กำหนด พร้อมต่อยอดวิสัยทัศน์ เชียงใหม่ เมืองสร้างสรรค์ หรือครีเอทีฟ ซิตี้

หลังจากที่ไอบีเอ็ม ได้ส่งทีม เอ็กซ์เซ็คคิวทีฟ เซอร์วิส คอร์ป ( Executive Service Corps)  หรือ ESC ที่มีความเชี่ยวชาญจากหลายประเทศทั่วโลก ลงพื้นที่ทำงานร่วมกับคณะผู้บริหารเมืองเชียงใหม่ ในการสร้างสมาร์ทเตอร์ ซิตี้ เชียงใหม่ ตามแนวทางสมาร์ทเตอร์ ซิตี้โมเดลของไอบีเอ็ม โดยคณะทำงานใช้เวลาทำงานร่วมกันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่จะทำให้เชียงใหม่บรรลุเป้าหมายหลัก 2 ด้านคือ การสร้างเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ และศูนย์กลางการผลผลิตและจัดส่งสินค้าทางการเกษตร  วันนี้ ไอบีเอ็มได้เปิดเผยแผนการดำเนินงานเป็นโรดแมพที่ชัดเจน เพื่อให้คณะผู้บริหารเมืองเชียงใหม่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม 2 แผนงาน ได้แก่

กลยุทธ์การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) สรุปแนวทางในการก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ด้วยกลยุทธ์หลัก 3 ข้อคือ

1. Hospital Efficiencies สร้างเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่และ ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการนำเทคโนโลยีและกระบวนการทางการวิเคราะห์ข้อมูล มาใช้ในการตรวจรักษา ปรับปรุงเวลาในการให้บริการ เพิ่มความถูกต้องของการใช้อุปกรณ์ สร้างระบบอาคารอัจฉริยะ เพื่อประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่าย

2. Ecosystem Integration สร้างระบบการรักษาและสถานพยาบาลในเชียงใหม่ให้เชื่อมต่อเป็นข้อมูลเดียวกันทั้งโรงพยาบาลของรัฐ เอกชน สปา สถานบริการนวดแผนไทย โดยการนำเทคโนโลยีมาช่วยเก็บรวบรวมข้อมูล ประวัติการรักษา ยา การให้บริการ เพื่อสะดวกในการรักษาคนไข้

3. Service Identification and Marketing เสริมศักยภาพการรักษาพยาบาลให้มีคุณภาพมาตรฐานและความแตกต่างในการให้บริการ จัดกลุ่มคนไข้ชาวไทยและชาวต่างชาติที่ต้องการการรักษาพยาบาลในระดับสูง คนไข้ที่ต้องการพักฟื้นระยะยาว และนักท่องเที่ยว จัดลำดับความต้องการในการรักษาพยาบาลของคนไข้กลุ่มต่างๆ พร้อมกับการพัฒนาสร้างแบรนด์และการตลาดให้เกิดการรับรู้ ในการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและคนไข้จากต่างประเทศที่มองหาศูนย์การแพทย์ที่มีมาตรฐาน ซึ่งนอกจากคนไข้ในชุมชนทั้งในเมืองและจังหวัดใกล้เคียงจะได้รับบริการด้านการแพทย์ที่มีคุณภาพดีขึ้นแล้ว ยังจะช่วยสร้างเชียงใหม่ให้ขยายการให้บริการรักษาพยาบาลระยะยาวอีกด้วย

กลยุทธ์การเป็นศูนย์การผลิต จัดส่งสินค้าทางการเกษตร

1. Creating insight to enable smart decision making สร้างข้อมูลเชิงลึกเพื่อให้รัฐบาลและเกษตรกรมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องมากเพียงพอที่จะช่วยในการตัดสินใจ โดยการพัฒนาคุณภาพและการรายงานข้อมูลที่สามารถนำมาช่วยวางแผนการปลูก เก็บเกี่ยว คาดการณ์ล่วงหน้า พยากรณ์อากาศในพื้นที่ ตลาดการซื้อขาย ตั้งราคาผลผลิต ด้วยการใช้ อี-ฟาร์มเมอร์ เว็บ พอร์ทัล (e-Farmer Portal) พร้อมทั้งมี SMS แจ้งเตือน ทางโทรศัพท์มือถือที่ให้ข้อมูลที่สำคัญดังกล่าวกับเกษตรกรได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ

2. Chiang Mai Food Branding สร้างตราสินค้าทางด้านอาหารของเชียงใหม่ โดยกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ทางการตลาด ให้เป็นอาหารจากธรรมชาติที่มีความปลอดภัยสูงเพื่อบริโภคในประเทศ และเป็นอาหารที่มีราคาเหมาะสมมีคุณภาพดีเพื่อการส่งออก

3. Focusing Improvements มุ่งเน้นการปรับปรุงทางด้าน การตรวจสอบแหล่งที่มาทุกขั้นตอนของอาหาร (Food Tracebility) การบริหารจัดการเรื่องน้ำ แหล่งน้ำบริเวณไหนที่เหมาะสมกับการปลูก การจัดการเรื่องน้ำท่วม เป็นต้น

โครงการนี้ช่วยทำให้ผลผลิตการเกษตรทั้งระบบของเชียงใหม่ดึขึ้น ขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรมในระบบจะสามารถประมาณการณ์การเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ดีขึ้น ลดความสูญเปล่าในขั้นตอนต่างๆ มีระบบตรวจสอบแหล่งผลิต รวมถึงการจัดการเรื่องน้ำและความปลอดภัยของอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้กับเชียงใหม่ทั้งในระดับประเทศและการส่งออกผลผลิตอาหารไปยังต่างประเทศ

นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าว “การที่ไอบีเอ็ม ประเทศไทย สามารถผลักดันให้เชียงใหม่ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญทั่วโลก 24 เมืองที่ไอบีเอ็มจะลงทุนในโครงการ Excecutive Service Corps ด้วยการนำเอาความแข็งแกร่งของนวัตกรรมไอที ความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่ไอบีเอ็มมี เพื่อสร้างเมืองเชียงใหม่ให้เป็นเมืองอัจฉริยะในปีนี้ รวมถึงการที่สามารถนำคณะผู้บริหารระดับสูงของไอบีเอ็มจากต่างประเทศทั้ง 5 ท่าน ซึ่งล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการทำโครงการ Smarter Cities ในประเทศอื่นเป็นอย่างดีมาแล้ว เข้ามาช่วยเราจัดทำโครงการ Executive Service Corps ให้กับเมืองเชียงใหม่ จนสามารถบรรลุผลในขั้นตอนที่วางไว้ นับเป็นความภาคภูมิใจของไอบีเอ็มอย่างยิ่ง

แผนโรดแมพที่ชัดเจนที่คณะทำงานของไอบีเอ็ม ESC และคณะทำงานของจังหวัดร่วมกันศึกษาและจัดทำขึ้นนี้ นับเป็นก้าวแรกและก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายของการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคทางการแพทย์ และการเป็นศูนย์การผลิตและจัดส่งสินค้าทางการเกษตร หรือ Smart Food ของเชียงใหม่เป็นจริงขึ้นได้ การสานต่อแผน Roadmap ทั้งสองให้คืบหน้าต่อไปอย่างเป็นรูปธรรมและเห็นผลจริงจะเป็นประโยชน์อย่างสูงต่อจังหวัดเชียงใหม่และสอดรับกับวิสัยทัศน์ ‘เชียงใหม่ เมืองสร้างสรรค์’ ของจังหวัดในการเตรียมพร้อมที่จะขยายการเติบโตและรองรับการแข่งขันของจังหวัดในระดับประเทศต่อไป”
 

มล. ปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า “จังหวัดเชียงใหม่ขอขอบคุณ บริษัทไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ทีม ESC คณะทำงานครีเอทีฟเชียงใหม่ และทุกหน่วยงาน ที่ได้ร่วมศึกษาและจัดทำแผนโรดแมพเพื่อสร้างเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ และศูนย์กลางการผลิต จัดส่งสินค้าทางการเกษตร ซึ่งแผนงานนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในภารกิจที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ นั่นคือ การเป็นศูนย์กลางที่ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ นวัตกรรมและการสร้างสรรค์กิจกรรม มีความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ ความพร้อมด้านไอที และมีการสนับสนุนนวัตกรรมที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมหลัก เช่นเดียวกับการสร้างเมืองน่าอยู่ครบครัน ไม่ว่าจะเป็นสภาพสังคมสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และผู้คน เป็นเมืองที่น่าสนใจสำหรับการใช้ชีวิต, การลงทุน, การท่องเที่ยว การศึกษาและการทำงาน
จังหวัดเชียงใหม่มีผลงานเด่นเป็นรูปธรรมในการพัฒนาให้เชียงใหม่เป็นเมืองสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องทุกปี ความช่วยเหลือของไอบีเอ็มในโครงการนี้ นับเป็นการนำเอาไอทีเข้ามาช่วยพัฒนาต่อยอดศักยภาพของเชียงใหม่ทางด้านการแพทย์ และอุตสาหกรรมการเกษตร พัฒนาความสามารถ และส่งเสริมเมืองเชียงใหม่ให้เป็นสถานที่ที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนและธุรกิจ, พัฒนากลุ่มสร้างสรรค์กลุ่มใหม่ ๆ อีกทั้งยกระดับอุตสาหกรรมที่มีอยู่โดยให้การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในทุกระดับ”

View :1356
Categories: Press/Release Tags: ,

ไอบีเอ็มซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ผนึกกำลัง รุกตลาดติดอาวุธให้ทุกธุรกิจ IBM Netezza และ DB2 pureScale บนเซิร์ฟเวอร์ IBM Power Systems สำหรับการประมวลผลธุรกรรมออนไลน์

April 25th, 2011 No comments

บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ตอกย้ำจุดยืน “ Solutions for all Purposes, irrespective of size” ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดที่รวมกันแล้วจะเหมาะสำหรับการใช้งานได้ทุกอย่าง แต่ไอบีเอ็มมีการออกแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมลงตัวทุกความต้องการ ด้วยการเปิดตัวสองเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ไอบีเอ็ม เน็ตทีซ่า ( Netezza) กลุ่มผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ใหม่ล่าสุดของไอบีเอ็ม สำหรับคลังข้อมูล (Data Warehouse) เป็นเทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงให้กับทุกสายงานธุรกิจ ใช้งานง่าย เปี่ยมประสิทธิภาพ ช่วยธุรกิจนำข้อมูลอัจฉริยะ มาสร้างความแตกต่าง รองรับความต้องการของลูกค้า และซอฟต์แวร์ไอบีเอ็ม ดีบีทู เพียวสเกล () บนเซิร์ฟเวอร์ ไอบีเอ็ม เพาเวอร์ซิสเต็มส์ (IBM Power Systems) สำหรับ การประมวลผลธุรกรรมออนไลน์ OLTP (Online Transaction Processing Workloads) ที่ช่วยให้ลูกค้ารองรับการประมวลผลธุรกรรมออนไลน์ได้มากขึ้น พร้อมลดความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายในการขยายระบบไอที และ ขยายขีดความสามารถด้านการแข่งขัน เหมาะสำหรับทุกความต้องการของธุรกิจ เหนือชั้นกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง

นางเจษฎา ไกรสิงขร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจซอฟต์แวร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ”จากผลการศึกษาของไอบีเอ็มในปี 2552 ผู้บริหารระดับ CIO 84% ระบุว่า ระบบวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ (Business Analytics) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งการที่นำข้อมูลที่มีอยู่จำนวนมาก มากลั่นกรองเพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึก และนำมาใช้วิเคราะห์ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำนั้น ไอบีเอ็มมองว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีระบบคลังข้อมูล (Data warehouse) ที่จัดเก็บและทำงานได้อย่างทรงประสิทธิภาพ และมีการออกแบบระบบเฉพาะสำหรับการทำ Data warehouse เท่านั้น เพื่อความรวดเร็วในการทำงานและประหยัดค่าใช้จ่าย จึงได้เปิดตัวเทคโนโลยีล่าสุดคือ ซึ่งเป็นระบบ Data warehouse ที่มีทั้งซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ พร้อมใช้งานสามารถติดตั้งได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว

โดย IBM Netezza เป็นเทคโนโลยีสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้งานง่าย เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ รองรับการใช้งานทั่วทั้งองค์กร ช่วยให้องค์กร สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลภายในเวลาอันรวดเร็ว เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และขยายขีดความสามารถด้านการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ข้อมูลจำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมสื่อดิจิตอล, พลังงาน, บริการด้านการเงิน, ภาครัฐ, สุขภาพและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ, ค้าปลีก และโทรคมนาคม เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการให้ความช่วยเหลือลูกค้าทำความเข้าใจและสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อุปกรณ์ของ Nettezza ติดตั้งง่าย นับเป็นเทคโนโลยีที่สมบูรณ์แบบสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง โดยไม่ต้องอาศัยทักษะทางด้านไอทีและการบริหารจัดการระบบ

นอกจากนี้ การประมวลผลธุรกรรมออนไลน์ หรือ OLTP (Online transaction Processing) นับเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญสำหรับการทำธุรกิจในปัจจุบันเช่นกัน โดยไอบีเอ็มมีเทคโนโลยีที่รองรับการทำงานดังกล่าว คือ DB2 pureScale บนระบบ IBM Power System เป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับองค์กรที่มีการทำธุรกรรมออนไลน์จำนวนมาก ต้องการเครื่องมือมาจัดการประมวลผลธุรกรรมต่างๆให้มีประสิทธิภาพ ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ในเวลาอันรวดเร็ว IBM DB2 pureScale เป็นระบบประมวลผลธุรกรรมออนไลน์ฟีเจอร์ใหม่ล่าสุด ที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพบนเซิร์ฟเวอร์ IBM Power System เทคโนโลยี pureScale ได้รับการออกแบบบนสถาปัตยกรรมของ DB2 ช่วยให้องค์กรลดความเสี่ยงและ ต้นทุนการเติบโตทางธุรกิจ รองรับข้อมูลที่ไร้ขีดจำกัด ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถขยาย pureScale ในกรณีที่ต้องการได้โดยที่ไม่ต้องทำการแก้ไขแอพพลิเคชั่นที่ใช้งาน

นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจคอมพิวเตอร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า” DB2 PureScale บน Power Systems ช่วยให้ลูกค้าขยายโครงสร้างพื้นฐานไอทีได้อย่างมีเสถียรภาพและประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าเดิม ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจในปัจจุบัน พร้อมนวัตกรรมอันทันสมัยของ Power Systems จะช่วยเพิ่มความพร้อมในการใช้งานอย่างต่อเนื่อง และพลังประมวลผลที่ไร้ขีดจำกัด โดยฟีเจอร์ pureScale ที่ปรับแต่งโดยเฉพาะสำหรับระบบ Power Systems จะช่วยรองรับความต้องการทางธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลของไอดีซี ไอบีเอ็มเป็นผู้นำ ยูนิกซ์เซิร์ฟเวอร์ในประเทศไทยต่อเนื่องกันถึง 2 ปีซ้อนตั้งแต่ปี 2552-2553 ซึ่งเป็นการยืนยันถึงความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่ยาวนาน และแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจและการยอมรับของลูกค้าที่มีต่อไอบีเอ็ม Power Systems ของไอบีเอ็มอย่างแพร่หลาย

ด้วยความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และการบริการทางด้านเทคโนโลยี ประกอบกับความมุ่งมั่นทุ่มเทในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อขยายความสามารถด้านธุรกิจการวิเคราะห์ข้อมูลของไอบีเอ็ม อย่างยาวนานมาจนถึง 100 ปีในปีนี้ ทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่า DB2 pureScale ที่ทำงานบน IBM Power System และ IBM Netezza จะสามารถสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด ยิ่งกว่าผลิตภัณฑ์อื่นใดในตอนนี้ เพราะเราเชื่อว่า “IBM Solutions for all Purposes, irrespective of size”
ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดที่ที่รวมกันแล้วจะเหมาะสำหรับการใช้งานได้ทุกอย่าง แต่ไอบีเอ็มมีการออกแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมลงตัวทุกความต้องการ”

View :1722

ไอบีเอ็มเปิดตัว "Social Business" กลุ่มผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์เพื่อเสริมศักยภาพทางธุรกิจ สู่สังคมออนไลน์

March 17th, 2011 No comments

ไอบีเอ็มตอกย้ำผู้นำตลาด ส่งซอฟต์แวร์จัดการคลังข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล อย่างชาญฉลาด พร้อมเครื่องมือสู่สังคมออนไลน์
ช่วยองค์กรกลั่นกรองข้อมูลเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ

ไอบีเอ็มเปิดตัว “Social Business” กลุ่มผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์เพื่อเสริมศักยภาพทางธุรกิจ สู่สังคมออนไลน์ และช่วยบริหารจัดการคลังข้อมูลในองค์กร นำเสนอซอฟต์แวร์ บริการ และทักษะใหม่ๆ ที่จะช่วยให้องค์กรธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่ มาวิเคราะห์และใช้สนับสนุนการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องแม่นยำ พร้อมปฏิรูปการดำเนินงานและรองรับกระบวนการต่างๆ จากอุปกรณ์พกพาหลากหลายSmart Phone หลากหลายประเภท

นางเจษฎา ไกรสิงขร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซอฟต์แวร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า
“ไอบีเอ็มได้เปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์สำหรับ Social Business โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือองค์กรต่างๆ ในการผสานรวมข้อมูลเชิงลึกทางด้านธุรกิจจากระบบวิเคราะห์ข้อมูลและ นำสู่สังคมออนไลน์ที่มีความปลอดภัยขั้นสูงของไอบีเอ็ม
ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่การทำให้ข้อมูลที่มีอยู่ในองค์กรเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ การกำกับใช้ข้อมูลหรือ Data Governance
และนำเข้าสูการจัดเก็บในคลังข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถนำไปใช้ในการวิเคระห์ข้อมูลเชิงธุรกิจได้ พร้อมกันนี้ไอบีเอ็มมีเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด คือ Netezza ซึ่งเป็น all in one ฮาร์ดแวร์ที่มีซอฟต์แวร์พร้อมใช้งานแล้ว (Appliance) สามารถใช้ในจัดทำคลังข้อมูลโดยเฉพาะ และนำมาวิเคระห์กลั่นกลองข้อมูลเชิงธุรกิจที่ให้ผลเชิงลึกได้รวดเร็ว ตั้งแต่ 10-100 เท่า เมื่อเทียบกับระบบเดิม อีกทั้งยังสามารถติดตั้งและใช้งานได้ง่าย รวดเร็วจากเดือนเป็นวัน โดยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดต้นทุนได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ปัจจุบันจำนวนคนที่ใช้เครือข่ายทางสังคมได้ทวีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งภาคธุรกิจได้เห็นถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ใช้งาน ทำให้ซอฟต์แวร์ทางสังคมเป็นเครื่องมือสำคัญทางด้านธุรกิจเพิ่มมากขึ้น โดยจะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถปรับปรุงทุกแง่มุมของการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่กิจกรรมด้านการตลาด บริการลูกค้า งานขาย ไปจนถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และทรัพยากรบุคคล วันนี้ไอบีเอ็มได้เปิดตัวกรอบโครงสร้างใหม่เพื่อรองรับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นรุ่นอนาคตที่สนับสนุนการใช้งานทางด้านสังคม พร้อมทั้งแนะนำซอฟต์แวร์ใหม่ที่จะช่วยให้วิสัยทัศน์ดังกล่าวกลายเป็นจริง ตัวอย่างเช่น ไอบีเอ็มกำลังปรับเปลี่ยนกล่องอินบ๊อกซ์ด้วย “Activity Steam” ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตั้งที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถแสดงและโต้ตอบกับเนื้อหาจาก Twitter, LinkedIn, Facebook, SAP, Microsoft และแพลตฟอร์มอื่นๆ ควบคู่ไปกับเนื้อหาของบริษัท
ไอบีเอ็มพยายามที่จะผนวกรวม Activity Stream เข้ากับแพลตฟอร์มด้านการประสานงานร่วมกันทางสังคมรุ่นอนาคตของไอบีเอ็มที่มีระบบความปลอดภัยสูงเหมาะกับการทำธุรกิจ โดยจะสามารถเข้าใช้งานได้จากอุปกรณ์พกพาสมาร์ทโฟน เช่น BlackBerry, Playbook, iPad, iPhone เพื่อช่วยให้บุคคลากรภายในองค์กรสามารถติดต่อและทำงานร่วมกันได้รวดเร็วและง่ายขึ้น เพราะผู้ใช้ไม่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยสามารถใช้อีเมล์ Instant Mesaging, การประชุมผ่านเว็บและฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ทางสังคมอื่นๆเช่น Blog, Wiki, Activity

View :1526
Categories: Press/Release Tags: ,

ไอบีเอ็มชี้ ผลการสำรวจ CHRO Study ระบุองค์กรต่างๆทั่วโลก เตรียมลงทุนสรรหาบุคลากรทำงานข้ามพรมแดนมากขึ้น

March 15th, 2011 No comments

บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เผยบทสรุปผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคลทั่วโลกประจำปี 2553 ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม ( Institute for Business Value) ภายใต้ชื่อ “การทำงานข้ามพรมแดน” (Working Beyond Borders) ระบุว่าองค์กรต่างๆ พยายามที่จะพัฒนาและจัดหาบุคลากรในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลก จากการสำรวจความคิดเห็นของประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (Chief Human Resource Officer – CHRO) และผู้บริหารระดับสูงกว่า 700 คนจาก 61 ประเทศ และ 31 เขตอุตสาหกรรมทั่วโลก  ผลการศึกษาดังกล่าวสรุปว่าบริษัทต่างๆ ในตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว พยายามที่จะขยายธุรกิจให้ครอบคลุมทั่วโลก จึงต้องสรรหาบุคลากร และส่งเสริมผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัวสูง เพื่อตอบสนองแนวโน้มความต้องการบุคลากรเพื่อทำงานข้ามพรมแดนในช่วงเวลา 3 ปีข้างหน้า
 
ไอบีเอ็มได้จัดทำผลสำรวจในกลุ่มผู้บริหารระดับสูง (C-Suite) มาอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดได้จัดทำผลสำรวจในกลุ่มของ CHRO ซึ่งสะท้อนผลลัพธ์สำคัญที่เป็นประโยชน์อย่างมากในวงการบริหารงานบุคคล โดยพบว่าองค์กรต่างๆมีการลงทุนด้านบุคลากรเพิ่มขึ้นในช่วง 3 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดที่กำลังพัฒนา เช่น จีนและอินเดีย เนื่องจากต้องเพิ่มโอกาสทางการตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ จึงจำเป็นต้องผลักดันการลงทุนบุคลากรในอนาคต
 
สืบเนื่องจากเมื่อ 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ประเทศสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ส่งผลกระทบต่อทุกประเทศทั่วโลก ทำให้ธุรกิจต่างๆ เริ่มดำเนินการอย่างระมัดระวัง และมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพของการปฏิบัติการ (Operational efficiency) แต่ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่สภาวะฟื้นตัว ผู้นำในส่วนของการจัดการทรัพยากรบุคคลในปัจจุบัน ต่างมุ่งเน้นไปที่การสร้างการเติบโตขององค์กร (Drive growth) แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงต้องเน้นที่ประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจต่อไป ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวในยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ซึ่งตลาดแรงงานเปลี่ยนเป็นโลกที่ไร้พรมแดนนั้น ต้องเตรียมพร้อม เพื่อการพัฒนาบุคลากร รวมถึงการเคลื่อนย้ายบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง
 
นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “สำหรับประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน เราจะเห็นว่าโลกของตลาดแรงงานที่ไร้พรมแดนจะกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวยิ่งกว่าครั้งใดที่ผ่านมาอันเป็นผลจากอาเซียน 2015 ที่กำลังจะเกิดขึ้น ปัจจัยผลักดันจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีซึ่งจะทำลายอุปสรรคขวางกั้นในเรื่องเวลา ระยะทาง และแม้กระทั่งภาษา ทำให้การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันเป็นไปอย่างไร้พรมแดน ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจแล้วยังก่อให้เกิดความท้าทายในเชิงการแข่งขันให้เพิ่มทวีมากขึ้น การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีก 4 ปีข้างหน้า นอกจากเรื่องของสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการแล้ว ยังเป็นการเปิดประตูสู่การแข่งขันของตลาดแรงงานในระดับภูมิภาค ในฐานะผู้นำองค์กรทางด้านทรัพยากรบุคคลการจัดการทางด้านทรัพยากรบุคคล จึงจะเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมในการวางกลยุทธ์องค์กรให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
 
ในการสำรวจครั้งนี้ไอบีเอ้มได้พูดคุยและสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้นำด้านการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลกว่า 707 คน จาก 61 ประเทศทั่วโลก เราพบว่า ผู้นำ HR ต่างเห็นพ้องกันว่าปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลมี 3 ข้อหลักด้วยกัน
 
1. การสร้างผู้นำที่สร้างสรรค์ (Cultivating Creative Leaders)
การพัฒนาผู้นำให้เป็นผู้นำที่สร้างสรรค์ สามารถรับมือกับวัฒนธรรมที่แตกต่าง มีรูปแบบการสื่อสารที่หลากหลายและความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนองค์กรให้สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจได้ทันท่วงที ไอบีเอ็มได้มีการเตรียมพร้อมให้กับผู้นำขององค์กรมาโดยตลอด ตัวอย่างโครงการพัฒนาผู้นำของไอบีเอ็ม เช่น
 
GET (Global Enablement Team) เป็นโครงการที่นำผู้บริหารระดับสูงของไอบีเอ็มสำนักงานใหญ่เดินทางเข้ามายังประเทศต่างๆ เพื่อถ่ายทอดทักษะและประสพการณ์การบริหารงานระดับสูง การสร้างสรรค์ผู้นำยุคใหม่และการสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานในองค์กรแก่ผู้นำองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจของไอบีเอ็มและผู้บริหารไอบีเอ็มในประเทศนั้นๆ
ESC (Executive Service Corps.) เป็นโครงการที่ผู้บริหารระดับสูงของไอบีเอ็มเข้ามาทำงานร่วมกับชุมชนทั้งภาครัฐและภาคประชาคม (NGO) เพื่อทำความเข้าใจถึงความท้าทายและปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจริงในชุมชน พร้อมทั้งช่วยจัดสร้างแผนพัฒนาชุมชนที่ตรงกับความต้องการจริงๆ เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผลในอนาคต
 
ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จะดำเนินการจัดทำโครงการทั้งสองภายในปีนี้
 
2. การจัดสรรและเคลื่อนย้ายบุคลากรด้วยความยืดหยุ่นและรวดเร็ว (Mobilizing for Speed and Flexibility)
องค์กรต้องสามารถจัดสรรเคลื่อนย้ายบุคลากรจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งที่และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ไอบีเอ็มประสพความสำเร็จในการนำโมเดลทางธุรกิจที่เรียกว่า (Globally Integrated Enterprise) หรือ GIE มาใช้ GIE เป็นการดำเนินธุรกิจโดยมองโลกเป็นผืนเดียวกัน มีการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีทักษะความเชี่ยวชาญในงานที่เหมือนกันจากส่วนต่างๆของโลกมารวมเป็นศูนย์กลางของทักษะของงานนั้น หรือ Center of Competency โดย Center of Competency จะเป็นศูนย์บริการเฉพาะด้านที่มีความเชี่ยวชาญและสามารถให้บริการกับไอบีเอ็มประเทศต่างทั่วโลกรวมไปถึงลูกค้าที่มีความต้องการใช้บริการนั้นๆ ปรากฏการณ์ของโมเดลการทำธุรกิจแบบ GIE ทำให้ไอบีเอ็มสามารถลดค่าใช้จ่ายและการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และสามารถนำเงินที่เหลือนั้นไปลงทุนในส่วนของงานหลักของธุรกิจ เพื่อสร้างความเจริญเติบโตให้กับธุรกิจในอนาคตต่อไป
 
 
3. การประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์อันสูงสุด (Capitalizing on Collective Intelligence)
การเรียนรู้และการเข้าถึงแหล่งองค์ความรู้ในองค์กรจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาบุคลากร เช่นเดียวกับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อเอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถ่ายทอดความรู้ สร้างการเชื่อมโยงข้อมูลอัจฉริยะในองค์กร ให้บุคลากรและหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กร รวมไปถึงลูกค้าและบุคคลภายนอกสามารถนำข้อมูลความรู้มาเพื่อการดำเนินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ยกตัวอย่างเช่น การนำเครื่องมือทางด้าน Social Business เข้ามาช่วย จัดการให้เป็นแหล่งข้อมูลเพื่อให้พนักงานได้เรียนรู้ เช่น วิกิ LotusConnection หรือ w3 Intranet เป็นต้น
 
นางพรรณสิรี ได้กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า “ผลการสำรวจ CHRO Study ครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าองค์กรที่จะประสพความสำเร็จต้องมีการเตรียมบุคลากรให้พร้อมกับการทำงานแบบไร้พรมแดน มีการลงทุนในการพัฒนาทักษะผู้นำองค์กร มีการนำเทคโนโลยีมาสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์เชื่อมโยงการสื่อสารภายในองค์กร และเลือกใช้เครื่องมือด้านวิเคราะห์ข้อมูล (Business Analytic) เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาใช้งานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น”
 
รายงานฉบับสมบูรณ์ รวมถึงข้อมูลที่พบและกรณีศึกษา มีอยู่ที่:  ibm.com/chrostudy
 

View :1842
Categories: Press/Release Tags:

ทิสโก้เลือกไอบีเอ็มพัฒนาระบบไอที รองรับบริการเต็มรูปแบบ มุ่งก้าวสู่การเป็น “ระบบธนาคารอัจฉริยะ”

March 13th, 2011 No comments

กลุ่มทิสโก้ เลือกไอบีเอ็ม พัฒนาระบบไอที เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทางการเงินเต็มรูปแบบ ก้าวสู่การเป็นระบบธนาคารอัจฉริยะ มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร รองรับการขยายธุรกิจภายใน 3- 5 ปีนี้
นางอรนุช อภิศักดิ์ศิริกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทิสโก้ บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่มทิสโก้ ในฐานะสถาบันการเงินชั้นนำที่พร้อมด้วยบริการทางการเงินที่ครบวงจร โดยมีวิสัยทัศน์คือ การตอบสนองทุกความต้องการทางด้านการเงินด้วยความทุ่มเท เพื่อช่วยสร้างความมั่งคั่ง และสร้างสรรค์คุณค่าที่ยั่งยืนให้แก่ลูกค้า ปัจจุบัน กลุ่มทิสโก้มีการขยายธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านธุรกิจธนาคาร ธุรกิจจัดการกองทุน และธุรกิจหลักทรัพย์ โดยในปีที่ผ่านมาธุรกิจมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด และมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำหรับกลยุทธ์ในปีนี้ กลุ่มทิสโก้จะมุ่งขยายและพัฒนาการให้บริการ โดยการเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ของทิสโก้ เพื่อให้บริการทางการเงินให้แก่ลูกค้าอย่างครบวงจร และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายยิ่งขึ้น ดังนั้น หนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญของบริษัท คือการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความพร้อม เพื่อรองรับการขยายธุรกิจดังกล่าว
“นอกจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ดีที่สุด การมีเทคโนโลยีหรือระบบหลังบ้านที่ดีก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เราให้ความสำคัญ เพื่อเสริมศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ และให้บริการลูกค้าเต็มรูปแบบได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ เชื่อถือได้ สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าที่สูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ เราจึงเลือกไอบีเอ็มเป็นพันธมิตรทางเทคโนโลยี เพื่อเข้ามาช่วยวางระบบของเราให้มีความคล่องตัวมากขึ้น”
นางยุถิกา สนธยานาวิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่มทิสโก้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการขยายตัวทางธุรกิจและระบบงานอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่มีประสิทธิภาพ และมีความยืดหยุ่นให้รองรับการขยายตัว ตลอดจนตอบสนองเรื่องระยะเวลา กลุ่มทิสโก้จึงใช้เทคโนโลยีของไอบีเอ็มใน 3 ด้านหลัก คือ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์, ระบบบริหารจัดการและตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานไอที และบริการเอาท์ซอร์สด้านไอที เพื่อพัฒนาให้ระบบไอทีของกลุ่มทิสโก้ มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร
• ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ สำหรับฮาร์ดแวร์ ได้แก่ เซิร์ฟเวอร์ Power Systems 770 โดยกลุ่มทิสโก้ถือเป็นรายแรกในประเทศไทยที่ใช้ เซิร์ฟเวอร์ Power Systems 770 เซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ล่าสุดของไอบีเอ็ม ที่มีความโดดเด่นทั้งในแง่ประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นสำหรับเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่น (Virtualization) หรือเทคโนโลยีเสมือน ทั้งยังช่วยประหยัดไฟ ประหยัดพื้นที่ พร้อมหน่วยประมวลผลที่สามารถรองรับการขยายตัวของปริมาณงานของทิสโก้ได้มากกว่าเดิม 2 เท่า นอกจากนี้ กลุ่มทิสโก้ยังพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ทำงานอยู่บนซอฟต์แวร์ Websphere บนเครื่อง Power Systems 770 ของไอบีเอ็ม โดยประกอบด้วยระบบงานที่ให้บริการลูกค้าผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต เช่น e-Banking บริการข้อมูลเงินฝากและสินเชื่อของกลุ่มทิสโก้, TISCOASSET E-Trading Service บริการซื้อ/ขายกองทุนรวมออนไลน์ของ บลจ. ทิสโก้ เป็นต้น
• ระบบบริหารจัดการและตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานไอที (IT Infrastructure Management & Monitoring System) กลุ่มทิสโก้เลือกใช้ซอฟแวร์ Tivoli สำหรับการบริหารจัดการ การตรวจสอบคุณภาพและประสิทธิภาพของโครงสร้างไอทีของกลุ่มทิสโก้ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานไอที เช่น เซิร์ฟเวอร์ เครือข่าย ฐานข้อมูล ธุรกรรม และแอพพลิเคชั่น โดยจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาแสดงบนหน้าจอส่วนกลาง หรือแดชบอร์ด เพื่อใช้รายงานสถานะและติดตามความคืบหน้า โดยสามารถแจ้งเตือนเหตุการณ์ผิดปกติให้ผู้ดูแลระบบสามารถเข้าไปตรวจสอบและแก้ไขปัญหาได้ล่วงหน้าและทันท่วงที เพื่อไม่ให้กระทบกับบริการต่างๆ โดยสามารถตรวจสอบระบบและแจ้งเตือนโดยส่ง SMS ไปยังผู้ดูแลระบบ เพื่อให้ผู้ดูแลระบบสามารถค้นหาต้นเหตุของปัญหาได้ง่ายขึ้น เพื่อเป็นการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทางด้านไอทีขององค์กร
• บริการเอาท์ซอร์สด้านไอทีอื่นๆ (Outsourcing Service & Others) เช่นการบริการจัดการระบบและปฏิบัติการ Core Banking System, การออกแบบและสร้างศูนย์คอมพิวเตอร์สำรอง เป็นต้น โดยเป็นบริการต่อเนื่องหลังจากที่กลุ่มทิสโก้ให้ไอบีเอ็มดูแลระบบ Core Banking มาตั้งแต่ปี 2548
“โดยในภาพรวม จากการปรับปรุงระบบไอทีครั้งนี้ กลุ่มทิสโก้จะได้ประโยชน์หลัก 3 ประการ ได้แก่ ลูกค้าได้รับความพึงพอใจมากขึ้น จากช่วงเวลาตอบสนองต่อปัญหา (Response time) ที่รวดเร็วขึ้น ทั้งยังช่วยลดต้นทุนทางด้านไอที เนื่องจากใช้เซิร์ฟเวอร์และซอฟต์แวร์จำนวนน้อยลง และยังเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานจากการผนวกส่วนงานต่างๆ ให้เป็นเอกภาพมากขึ้น และการพัฒนาระบบไอทีครั้งนี้จะรองรับการเติบโตทางธุรกิจของกลุ่มทิสโก้ไปได้อีก 3 – 5 ปี” นางยุถิกา กล่าว
นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ไอบีเอ็มมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจจากกลุ่มทิสโก้ให้เป็นผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีเพื่อรองรับการเติบโตต่อเนื่อง มุ่งสู่การเป็นระบบธนาคารอัจฉริยะ และพัฒนาโซลูชั่นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยอาศัยความเป็นผู้นำในด้านการนำเสนอโซลูชั่นแบบครบวงจรโดยยึดตามหลักมาตรฐานของไอบีเอ็ม ในฐานะที่ไอบีเอ็มเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับกลุ่มทิสโก้มาเป็นเวลานาน ทางไอบีเอ็มพร้อมสนับสนุนกลุ่มทิสโก้ทุกด้านเพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจทั้งในปัจจุบันและมุ่งสู่ความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในอนาคต
ในโอกาสที่ไอบีเอ็มครบรอบ 100 ปีในปีนี้ เรายังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโยลีอย่างต่อเนี่อง เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจอย่างไม่หยุดยั้ง รวมทั้งช่วยสร้างรายได้และนวัตกรรมใหม่ๆให้แก่ลูกค้า ซึ่งทำให้ธุรกิจของลูกค้าธนาคารประสบความสำเร็จมากขึ้น ส่งผลให้ลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมการเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่างวางใจเลือกไอบีเอ็มเป็นพันธมิตรทางธุรกิจด้วยดีเสมอมา”

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมของไอบีเอ็มได้ที่ www.facebook.com/IBMThailand

View :1693
Categories: Press/Release Tags: ,

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีผนึกไอบีเอ็ม จัดตั้ง “ศูนย์บ่มเพาะความเป็นเลิศทางเทคโนโลยี” แห่งแรกในประเทศไทย

January 26th, 2011 No comments

มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยนำหลักสูตร Academic Initiative เพื่อเสริมสร้างความรู้ และพัฒนาความสามารถในทักษะทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้ง ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน และเอาชนะความท้าทาย เพื่อช่วยให้โลก ‘ฉลาดขึ้น’

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (มจธ.) ร่วมกับ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เปิด “ศูนย์บ่มเพาะความเป็นเลิศทางเทคโนโลยี” หรือ Center of Excellence ศูนย์ผลิตผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับประกาศนียบัตรอย่างเป็นทางการจากไอบีเอ็ม พร้อมเสริมสร้างทักษะของบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของไอบีเอ็ม พร้อมปฏิวัติการเรียนการสอนอย่างล้ำสมัย โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ มุ่งผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ทักษะ และความสามารถด้านไอที เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ในประเทศไทย

ในปัจจุบัน ปัญหาท้าทายของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศประการหนึ่ง คือ ขาดแคลนผู้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถทางด้านไอที จำนวนบุคลากรที่สถาบันการศึกษาผลิตออกมาในแต่ละปียังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงานและภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเมนเฟรม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีมากว่า 45 ปี และใช้งานกันอย่างแพร่หลายในองค์กรธุรกิจ แต่ก็ยังมีจำนวนบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในด้านดังกล่าวไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงาน ศูนย์บ่มเพาะความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีจึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อช่วยเอาชนะความท้าทายในด้านดังกล่าว

ศูนย์ดังกล่าวจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของสถาบันการศึกษาด้านไอทีอย่าง มจธ. ในการผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิตที่มีทักษะสูงและพร้อมทำงานอย่างมืออาชีพต่อไป โดย มจธ. จะเป็นผู้จัดหาสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย ส่วนไอบีเอ็มจะรับหน้าที่จัดหาซอฟต์แวร์ชั้นนำ สื่อการเรียนการสอน การฝึกอบรม การพัฒนาหลักสูตร และการจัดสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรจากไอบีเอ็มเมื่อนักศึกษาจบหลักสูตรฯ

อีกทั้ง นักศึกษายังได้มีโอกาสฝึกทักษะความรู้ในเทคโนโลยีหลาย ๆ ด้านของไอบีเอ็ม เช่น เมนเฟรมหรือซิสเต็ม ซี (System z) ดีบีทู (DB2) เว็บสเฟียร์ (WebSphere) โลตัส (Lotus) ทิโวลี (Tivoli) และเทคโนโลยีใหม่ เช่น คลาว์คอมพิวติ้ง การวิเคราะข้อมูลเชิงธุรกิจ วิทยาศาสตร์บริการ การจัดการและวิศวกรรม ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้นักศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างให้โลกชาญฉลาดขึ้น เนื่องด้วยสามารถนำความรู้ความสามารถไปใช้งานได้อย่างเชี่ยวชาญเมื่อสำเร็จการศึกษาทันที โดยส่วนใหญ่ของงานจำเป็นต้องมีความเข้าใจทั้งภาคธุรกิจและเทคโนโลยี นอกจากนั้น กระบวนการเรียนรู้ในห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยยังจะช่วยให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรง ได้รับความคุ้นเคยกับการสร้างนวัตกรรม และสามารถพัฒนาเป็นแรงงานที่มีขีดความสามารถแข่งขันทั้งในประเทศและในตลาดโลกได้ เป็นอย่างดี

ผศ.ดร.นิพนธ์ เจริญกิจการ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดเผยว่า “มจธ. เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศที่เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา ทางมหาวิทยาลัยมีแผนพัฒนาศักยภาพทุกด้านอย่างต่อเนื่อง ทั้งภาควิชาการและภาคปฏิบัติ รวมถึงการพัฒนาความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีและการวิจัย เพื่อมุ่งไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก ในส่วนของคณะเทคโนโลยีและสารสนเทศ ซึ่งถือเป็นความเชี่ยวชาญหลักและเป็นสาขาหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย ขณะนี้ได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างทักษะและความเชี่ยวด้านไอทีของนักศึกษาให้ทันกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ไอบีเอ็มเป็นหนึ่งในพันธมิตรที่ร่วมทำงานกับทางคณะฯ มาอย่างยาวนาน โดยได้นำทั้งความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านไอทีระดับโลกมาถ่ายทอดให้กับคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยอย่างต่อเนื่อง”

“เราเล็งเห็นว่าผู้เชี่ยวชาญทางด้านไอทีเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรในทุกหน่วยงาน แต่กลับมีบุคลากรที่มีความสามารถด้านไอทีรอบด้านจำนวนน้อย ดังนั้นเพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของสังคม รวมถึงเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านไอทีของคณะ จึงได้จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีขึ้น ด้วยความมุ่งหวังที่จะผลิตบุคลากรที่มีความรอบรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ มีทักษะการวิเคราะห์ วางแผนและการบริหารจัดการด้านไอทีได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการบุคลากรด้านพลังงานของประเทศ การจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีในครั้งนี้เป็นอีกก้าวหนึ่งของความร่วมมือระหว่างสององค์กรที่จะมุ่งสร้างมืออาชีพด้านไอทีผ่านนวัตกรรมการเรียนรู้ที่เน้นความร่วมมือกันการปฏิบัติจริง”

นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ไอบีเอ็มมีความยินดีที่ได้สานต่อความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาที่มีความโดดเด่นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง มจธ. ในโครงการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีซึ่งจะเป็นแหล่งผลิตผู้เชี่ยวชาญทางด้านไอทีที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศ นอกจากนี้ เราจะเดินหน้าในความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำแห่งอื่น ๆ อีกเพื่อขยายขอบข่ายการเรียนรู้ที่ไร้ขีดจำกัดเช่นนี้ไปในวงกว้างขึ้น นับเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เปิดกว้างและส่งเสริมให้ผู้เกี่ยวข้องพัฒนานวัตกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป”

ผศ.ดร.ประเสริฐ คันธมานนท์รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหารและผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวเสริม “ปัจจุบันมีบัณฑิตที่จบด้านไอทีและสาขาที่เกี่ยวข้องกว่ามากกว่า 50,000 คนต่อปี แต่น่าเสียดายที่มีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่มีความรู้และทักษะระดับมืออาชีพ ซึ่งประเทศไทยกำลังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านนี้เป็นอย่างมาก ดังนั้น การจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีนี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. ให้สามารถผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพสนองตามความต้องการของตลาด สามารถสร้างผลงานที่มีคุณค่า เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม องค์กรของรัฐและเอกชน ทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติต่อไป”

ในส่วนของการพัฒนาเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐาน หนึ่งในเทคโนโลยีจากไอบีเอ็มที่ มจธ. นำมาใช้เป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยขณะนี้ คือ เซิร์ฟเวอร์ ไอบีเอ็ม ซิสเต็ม ซี (IBM System z) หรือเมนเฟรมที่มาพร้อมกับคุณสมบัติที่สอดรับกับวิสัยทัศน์ “โลกฉลาด” (Smarter Planet) ของไอบีเอ็มได้อย่างครบครัน โดยผสานรวมความยืดหยุ่นของระบบประมวลผลขั้นสูงเข้ากับเสถียรภาพและความสามารถในการปรับขนาดของระบบเมนเฟรมเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น ทั้งยังมีความโดดเด่นในแง่ความเสถียรในการประมวลผล เอื้อต่อการลดค่าใช้จ่ายและการประหยัดพลังงานต่อการใช้งานในองค์กรชั้นนำ ทั้งนี้ นับถึงปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่ได้นำเมนเฟรมหรือ ไอบีเอ็ม ซิสเต็ม ซี ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนด้านไอทีแล้วกว่า 500 แห่ง โดยมีนักศึกษากว่า 50,000 คนที่ได้เรียนรู้และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีฯ ดังกล่าว

เกี่ยวกับศูนย์บ่มเพาะความเป็นเลิศทางเทคโนโลยี

ศูนย์บ่มเพาะความเป็นเลิศทางเทคโนโลยี (Center of Excellence) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “ไอบีเอ็ม อคาเดมิค อินนิชิเอทีฟ” (IBM Academic Initiative) ซึ่งไอบีเอ็มได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษากว่า 2,000 แห่งหลายประเทศทั่วโลก ถือเป็นโครงการสำคัญอีกโครงการหนึ่งของไอบีเอ็มที่มุ่งเน้นพัฒนาความรู้และทักษะด้านไอทีให้กับบุคลากร นักเรียน นิสิต/นักศึกษาทั่วโลก

โครงการ “ไอบีเอ็ม อคาเดมิค อินนิชิเอทีฟ” (IBM Academic Initiative) จัดตั้งในปี 2547 เพื่อสนับสนุนความร่วมมือระหว่างไอบีเอ็มและสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ โดยมุ่งเน้นเพิ่มพูนความรู้ พัฒนาทักษะและความชำนาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับคณาจารย์ นิสิต นักศึกษาและบุคลากรทั่วไป เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาความรู้ ทักษะ ความชำนาญโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับบุคลากรในประเทศต่าง ๆ ให้สามารถสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานที่กำลังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในด้านดังกล่าว ปัจจุบันมีคณาจารย์กว่า 30,000 คน จากสถาบันการศึกษากว่า 5,900 แห่งทั่วโลกร่วมมือกับไอบีเอ็มในโครงการนี้ และมีนักศึกษากว่า 2.5 ล้านคนทั่วโลกที่ได้ผ่านการอบรมในโครงการดังกล่าว

View :1436

ไอบีเอ็มครองตำแหน่งสร้างสรรค์นวัตกรรมมากที่สุดในโลก จดสิทธิบัตรในสหรัฐฯ 18 ปีติดต่อกัน

January 17th, 2011 No comments

จากนักประดิษฐ์ได้รับสิทธิบัตรกว่า 5,000 รายการในปี 2553

ไอบีเอ็มได้รับสิทธิบัตรของสหรัฐฯ 5,896 รายการในช่วงปี 2553 ซึ่งนับเป็นปีที่ 18 ติดต่อกันที่ครองตำแหน่งบริษัทที่สร้างสรรค์นวัตกรรมมากที่สุดในโลก และเป็นบริษัทแรกที่ได้รับสิทธิบัตรของสหรัฐฯ มากถึง 5,000 รายการภายในระยะเวลาเพียงปีเดียว ทั้งนี้ในอดีตนักประดิษฐ์ของไอบีเอ็มต้องใช้เวลากว่า 50 ปีสำหรับการจดสิทธิบัตร 5,000 รายการแรก นับจากที่บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2454

นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ไอบีเอ็มเป็นองค์กรระดับโลกที่ได้สร้างคุณค่านวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยี ที่ช่วยพัฒนาการทำงานให้กับองค์กรธุรกิจต่างๆทั่วโลกมาอย่างยาวนานถึง 100 ปีแล้ว กับภารกิจสำคัญซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างทั่วถึง เพื่อให้ระบบที่หลากหลายทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์โลกที่ฉลาดมากขึ้นภายใต้แนวคิด Smarter Planet สิทธิบัตรและผลงานประดิษฐ์คิดค้นเหล่านี้นับเป็นเครื่องยืนยันถึงความมุ่งมั่นของไอบีเอ็มและบุคลากรของบริษัทฯ ตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ในความเป็นผู้นำด้านสิทธิบัตร ความสำเร็จด้านงานประดิษฐ์คิดค้นของไอบีเอ็มเป็นผลมาจากความมุ่งมั่นทุ่มเทของบริษัทฯ ในการสำรวจ วิจัย และพัฒนาสิ่งใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง โดยไอบีเอ็มใช้งบประมาณราว 6,000 ล้านดอลลาร์ต่อปีสำหรับงานวิจัยและพัฒนา”

ไอบีเอ็มได้คิดค้น วิจัยและพัฒนา งานประดิษฐ์ที่หลากหลายในช่วงปี 2553 โดยได้จดสิทธิบัตรจากนักประดิษฐ์กว่า 7,000 คนของไอบีเอ็มใน 46 รัฐของสหรัฐฯ และอีก 29 ประเทศ ซึ่งได้สร้างสรรค์ผลงานที่ทำให้บริษัททำลายสถิติการจดสิทธิบัตรสูงสุดในปี 2553 รวมทั้งบรรดานักประดิษฐ์ที่อยู่นอกสหรัฐฯ มีส่วนร่วมในผลงานที่ได้รับการจดสิทธิบัตรกว่า 22% ของบริษัทฯ และนับเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น 27% ของนักประดิษฐ์ในต่างประเทศในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ปีนี้เป็นวาระครบรอบ 100 ปีของไอบีเอ็ม และนับตั้งแต่ที่ไอบีเอ็มได้รับสิทธิบัตรใบแรกเมื่อปี 2454 สำหรับบัตรเจาะรูที่ใช้ในการบันทึกคำสั่งควบคุม เรื่อยมาจนถึงสิทธิบัตรที่นักประดิษฐ์ของบริษัทฯ ได้รับในปี 2553 สำหรับระบบวิเคราะห์ข้อมูล, เทคโนโลยีซอฟต์แวร์และการประมวลผลหลัก, ระบบ Smart Utilities, ระบบจราจร และระบบสาธารณสุข บริษัทฯ ยังคงดำเนินกลยุทธ์ที่เหมาะสมและรอบด้านในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งก่อให้เกิดเป็นโซลูชั่นที่รองรับการใช้งานจริง และทำให้ระบบต่างๆ รวมถึงกระบวนการ และโครงสร้างพื้นฐานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังปรับปรุงขีดความสามารถในการผลิต และเพิ่มความรวดเร็วฉับไวในการตอบสนอง

ตัวอย่างสิ่งประดิษฐ์สำคัญๆ ที่น่าสนใจของไอบีเอ็มซึ่งได้รับการจดสิทธิบัตรในช่วงปี 2553 ได้แก่:
• สิทธิบัตรสหรัฐฯ เลขที่ 7,761,440: วิธีการระบบ และผลิตภัณฑ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการสังเคราะห์ข้อมูลการวินิจฉัยในฐานข้อมูลทางการแพทย์ – สิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรนี้จะช่วยปรับปรุงการวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ เพื่อรองรับระบบสาธารณสุขแบบอัจฉริยะ สิทธิบัตรเลขที่ 7,761,440 ออกให้แก่ โทนี่ โช, โรเบิร์ต ฟรีดแลนเดอร์, ริชาร์ด เฮนเนสซี และอันวาร์ คาห์น คณะนักประดิษฐ์ของไอบีเอ็ม
• สิทธิบัตรสหรัฐฯ เลขที่ 7,760,112: ระบบและวิธีการที่อาศัยระบบสื่อสารไร้สายระยะใกล้เพื่อแจ้งเตือนผู้ขับขี่เกี่ยวกับสภาพการจราจรที่ผิดปกติ – สิ่งประดิษฐ์นี้คาดการณ์สภาพการจราจรโดยอาศัยข้อมูลที่รับส่งผ่านระบบสื่อสารไร้สายระยะใกล้ระหว่างรถยนต์แต่ละคน สิทธิบัตรเลขที่ 7,760,112 ออกให้แก่ เฟรเดอริค โบชอท และเจอราร์ด มาร์มิเกอร์ คณะนักประดิษฐ์ของไอบีเอ็ม
• สิทธิบัตรสหรัฐฯ เลขที่ 7,693,663: ระบบและวิธีการตรวจหาแผ่นดินไหวและสึนามิ และอินเทอร์เฟซสำหรับระบบเตือนภัย – สิทธิบัตรนี้อธิบายถึงเทคนิคที่ใช้ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากเซ็นเซอร์บนฮาร์ดไดรฟ์ในคอมพิวเตอร์ เพื่อดำเนินการวิเคราะห์อย่างถูกต้องแม่นยำเกี่ยวกับการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก เช่น ภายหลังการเกิดแผ่นดินไหว โดยข้อมูลวิเคราะห์ที่ได้จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการรับมือกับเหตุฉุกเฉินหลังจากที่เกิดภัยธรรมชาติ สิทธิบัตรเลขที่ 7,693,663 ออกให้แก่นักประดิษฐ์ของไอบีเอ็ม โรเบิร์ต ฟรีดแลนเดอร์ และเจมส์ เครเมอร์
• สิทธิบัตรสหรัฐฯ เลขที่ 7,790,495: อุปกรณ์ออปโตอิเล็กทรอนิกส์ (Optoelectronic) ที่ประกอบด้วยเครื่องตรวจจับแสงที่ใช้ธาต์เจอร์เมเนียม – สิ่งประดิษฐ์นี้รองรับเทคโนโลยีชิป CMOS Integrated Silicon Nanophotonics ที่ไอบีเอ็มได้เปิดตัวเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา โดยจะมีการผนวกรวมอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์แสงไว้บนซิลิคอนชิ้นเดียวกัน เพื่อให้ชิปคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันโดยใช้พัลส์ของแสง (แทนการใช้สัญญาณไฟฟ้า) และนับเป็นผลงานการพัฒนาต่อยอดจากงานวิจัยกว่า 10 ปีของห้องปฏิบัติการทั่วโลกของไอบีเอ็ม สิทธิบัตรเลขที่ 7,790,495 มอบให้แก่นักประดิษฐ์ของไอบีเอ็ม โซโลมอน อัสเซฟา, วอลเตอร์ เบเดลล์, ยูริ วลาซอฟ และเฟิงเนียน เซีย
จำนวนสิทธิบัตรทั้งหมดของไอบีเอ็มในปี 2553 มีมากกว่าฮิวเลตต์-แพคการ์ดถึง 4 เท่า และเกินกว่าสิทธิบัตรที่ไมโครซอฟท์, ฮิวเลตต์-แพคการ์ด, ออราเคิล, อีเอ็มซี และกูเกิลได้รับรวมกัน
บริษัทที่ได้รับสิทธิบัตรสหรัฐฯ มากที่สุดในปี 2553*
1 ไอบีเอ็ม 5,896
2 ซัมซุง 4,551
3 ไมโครซอฟท์ 3,094
4 แคนนอน 2,552
5 พานาโซนิค 2,482
6 โตชิบา 2,246
7 โซนี่ 2,150
8 อินเทล 1,653
9 แอลจี อิเล็กทรอนิกส์ 1,490
10 เอชพี 1,480
ข้อมูลจาก IFI CLAIMS Patent Services
ข้อมูลเพิ่มเติมมีอยู่ที่: http://www..com/research
หมายเหตุสำหรับสื่อมวลชน:สามารถรับชมและดาวน์โหลดวิดีโอและภาพข่าวสิทธิบัตรของไอบีเอ็มได้จาก http://www.thenewsmarket.com/ibm โดยวิดีโอมีให้เลือกทั้งแบบ HD, ความละเอียดมาตรฐาน และแบบสตรีมมิ่ง [สามารถลงทะเบียนผ่านทางออนไลน์]

View :1332
Categories: Press/Release Tags:

ไอบีเอ็ม ประเทศไทย แต่งตั้งพรรณสิรี อมาตยกุล เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่

January 6th, 2011 No comments

ไอบีเอ็มประกาศแต่งตั้งคุณพรรณสิรี อมาตยกุล เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด แทนคุณธันวา เลาหศิริวงศ์
 
นาง คอร์ดีเลีย ชุง ผู้จัดการทั่วไป ไอบีเอ็ม ภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า “ไอบีเอ็มถือว่าประเทศไทยเป็น 1 ใน 20 ตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อธุรกิจไอบีเอ็มทั่วโลก บริษัทฯดำเนินการลงทุนอย่างจริงจังในตลาดกลุ่มนี้เพื่อผลักดันการขยายธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จ ภายใต้การดำเนินงานของคุณธันวา ไอบีเอ็มประเทศไทยสามารถเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง วันนี้ เรากำลังก้าวสู่ความสำเร็จอีกขั้นหนึ่ง คุณพรรณสิรีเป็นผู้บริหารที่มีประสบการณ์การทำงานที่หลากหลาย เปี่ยมด้วยความรู้ความสามารถและความทุ่มเทในการทำงาน ตลอดจนการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้ลูกค้าประสบความสำเร็จตลอดระยะเวลา 18 ปีที่ผ่านมา ดิฉันเชื่อมั่นว่าคุณพรรณสิรีมีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะนำพาทีมงานและพัฒนาธุรกิจของไอบีเอ็มประเทศไทย เพื่อให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต”
 
ก่อนหน้าที่จะเข้ารับตำแหน่งนี้ คุณพรรณสิรีเคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารหลากหลายตำแหน่งในไอบีเอ็ม ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค  ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คุณพรรณสิรีประสานงานร่วมกับองค์กรต่างๆ อย่างจริงจัง เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและบทบาทระดับชาติให้กับบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด โดยเข้าร่วมในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์การบริการ(SSME) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงไอซีที ปัจจุบัน คุณพรรณสิรีดำรงตำแหน่งประธานร่วมในคณะกรรมการไอซีทีของหอการค้าอเมริกัน  ทั้งนี้ เมื่อปี 2547 คุณพรรณสิรีได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้บริหารรุ่นใหม่ไฟแรง 20 อันดับแรกโดยนิตยสาร Positioning ในเมืองไทย
 
คุณพรรณสิรีได้ประสานงานร่วมกับองค์กรต่างๆ อย่างจริงจัง เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและบทบาทระดับชาติให้กับบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด  และด้วยความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร คุณพรรณสิรีจึงทำหน้าที่ประธานโครงการ Women Diversity Council ในไอบีเอ็ม ประเทศไทยอีกด้วย
 
คุณพรรณสิรีกล่าวว่า “ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับโอกาสครั้งสำคัญนี้ เป้าหมายของดิฉันคือการนำพาทีมงานและส่งเสริมบุคลากรของไอบีเอ็มเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวาระที่ไอบีเอ็มจะครบรอบ 100 ปีในปี 2554 นี้ เราจะมีการสานต่อและปรับใช้มิติใหม่ๆในการสร้าง Smarter System เพื่อความสำเร็จและประโยชน์ต่อลูกค้าในทุกภาคอุตสาหกรรมตลอดจนสังคมไทยในระดับมหภาค เป้าหมายของเราไม่จำกัดเฉพาะการเติบโตทางธุรกิจเท่านั้น แต่จะครอบคลุมถึงการพัฒนาความสามารถและคุณค่าของพนักงานไอบีเอ็มทุกคน เพื่อสร้างสรรค์และส่งมอบการทำงานที่ดีที่สุดให้แก่ทั้งลูกค้า พันธมิตรธุรกิจ และสังคมไทย”
 
คุณพรรณสิรีจะดูแลรับผิดชอบการดำเนินงานทั้งหมดของไอบีเอ็มในประเทศไทย ทั้งในส่วนของฝ่ายขายและจัดจำหน่าย ฝ่ายเทคโนโลยี ฝ่ายบริการ และฝ่ายโกลบอล ไฟแนนซิ่ง รวมถึงบริษัท ไอบีเอ็ม โซลูชั่นส์ ดิลิเวอรี่ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของไอบีเอ็ม

View :1401
Categories: Press/Release Tags: ,

ไอบีเอ็มจับมือมูลนิธิโรนัลด์แมคโดนัลด์ มอบคอมพิวเตอร์เติมรอยยิ้มให้น้องด้อยโอกาส

January 4th, 2011 No comments

นายธันวา เลาหศิริวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด (ที่สองจากซ้าย) มอบชุดเครื่องคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็มคิดสมาร์ทเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 10 เครื่องให้แก่ มร.เฮสเตอร์ ชิว รองประธานกรรมการ (ที่สองจากขวา) เพื่อนำไปติดตั้งในห้องสันทนาการเด็กของมูลนิธิ ช่วยบรรเทาความเครียดและเสริมทักษะการเรียนรู้ให้แก่ผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาลทั่วประเทศ

ชุดเครื่องคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็มคิดสมาร์ทประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์เพื่อการศึกษาสำหรับช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเด็กก่อนวัยเรียนให้คุ้นเคยกับการใช้คอมพิวเตอร์และเสริมสร้างทักษะด้านวิชาการ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และศิลปะ

View :1439

กทม.และไอบีเอ็ม ผนึกกำลังนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมล้ำสมัยสร้าง Smart Bangkok

December 14th, 2010 No comments

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ขวา) มอบของที่ระลึกให้กับ นายธันวา เลาหศิริวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด (ซ้าย) ในงานประชุม “ Summit: กรุงเทพเมืองสวรรค์” ในโอกาสครบรอบสถาปนากรุงเทพมหานครในปีที่ 38 กทม.ร่วมกับไอบีเอ็มสร้างกรุงเทพฯให้เป็น Smart City มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมล้ำสมัยขับเคลื่อนพัฒนากรุงเทพฯแนวใหม่ การประชุมครั้งนี้ได้ระดมความคิดเห็นจากอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และผู้บริหารระดับสูงจากภาครัฐและเอกชน เพื่อตอบโจทย์นโยบาย 5 ด้านหลักที่สำคัญของกทม. พร้อมนำความคิดเห็นทั้งหมดมาพัฒนาต่อยอดด้วยการจัดทำเวิร์คช็อปเพื่อสร้างโครงการที่นำมาพัฒนากรุงเทพมหานครได้อย่างแท้จริง

View :1350
Categories: Press/Release Tags: ,