Home > Press/Release > ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน คาดยอดขายสมาร์ทการ์ดเพิ่มขึ้นกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ในอีกสองปีข้างหน้า

ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน คาดยอดขายสมาร์ทการ์ดเพิ่มขึ้นกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ในอีกสองปีข้างหน้า

รูเบน ฟูง นักวิเคราะห์จาก ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรที่ปรึกษาทางธุรกิจและวิจัยระดับโลกคาดการณ์ว่ายอดขายสมาร์ทการ์ดจะเพิ่มถึงจุดสูงสุดจากปี 2555 ถึง 2559 ด้วยอัตราการเจริญเติบโต 20 และ 25 เปอร์เซ็นต์ในแต่ละรอบปี โดยมียอดเติบโตเฉลี่ย CAGR (compound annual growth rate) ที่ 16.4 เปอร์เซ็นต์ (2552-2559) และเมื่อสิ้นปี 2559 บัตรสมาร์ทการ์ดจะมียอดถึง 1.9 พันล้านชิ้น ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค โดยเพิ่มจาก 590 ล้านชิ้นในปี 2552

บทวิเคราะห์ล่าสุดจาก ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน (http://www.smartcards.frost.com), Asia-Pacific Smart Card Integrated Circuit on Different Form Factors ประเมินยอดขายสมาร์ทการ์ดสูงถึง 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2559 ที่ยอดเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 13 เปอร์เซ็นต ์ (2552-2559) มีมูลค่ารวม 775 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2552 เทียบกับมูลค่าตลาดรวม (แบบสัมผัสและไร้สัมผัส) 1.94 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ มร. ฟูงคาดว่ายอดจัดส่งจะเพิ่มสูงขึ้นถึงกึ่งหนึ่งภายในปี 2559 โดย มร.ฟูงอธิบายว่า ความต้องการของสมาร์ทการ์ดนั้น ได้สืบเนื่องมาจากการใช้งานในรูปแบบต่างๆ อาทิ เทคโนโลยีสื่อสารแบบไร้สาย NFC (Near Field Communication), พาสปอร์ตอิเล็คโทรนิกส์ (e-Passport) และโครงการขนส่งมวลส่งขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคและภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก

ฟูงกล่าวว่า “ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค เราสามารถคาดการณ์การดำเนินโครงการ NFC ขนาดใหญ่บนมือถือภายในสองปีนี้ สำหรับประเทศไทยนับได้ว่ามีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจนี้สูงมาก โดยมีโครงการทดลอง NFC เกิดขึ้นแล้วในปี 2551และ 2552”

เขากล่าวเสริมว่า เทคโนโลยีสื่อสารแบบไร้สายNFC บนมือถือจะมีส่วนกระตุ้นให้เกิดความสนใจต่อการใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตแบบไร้สัมผัสถหากมาตราการรักษาความปลอดภัยจากการโจรกรรมต่างๆมีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น

นอกจากนี้ การใช้ของสมาร์ดการ์ดในรูปแบบของอีพาสปอร์ตยังได้รับการยอมรับไปทั่วโลกโดยการสนับสนุนจากองค์กรการบินพลเรือนสากล (International Civil Aviation Organization- ICAO) จากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป และกว่า 80 ประเทศ ฟูงคาดว่าความต้องการสมาร์ทการ์ดสำหรับการใช้งานอีพาสปอร์ตและบัตรประชาชนจะเพิ่มมากขึ้นในเอเชีย

“บัตรประชาชนนั้นเป็นตลาดที่ใหญ่ทีสุดสำหรับสมาร์ทการ์ด (66 เปอร์เซ็นต์ของยอดจัดส่งในปี 2552) และจะยังเป็นต่อไปอีกห้าปีข้างหน้า เพราะว่าหลายประเทศต้องการเปลี่ยนจากบัตรประชาชนแบบเดิมมาเป็นแบบสมาร์ทการ์ดมากขึ้น นอกจากนี้อีพาสปอร์ตนั้นก็ต้องทำใหม่ทุกๆ ห้าถึงสิบปีเช่นกัน”

ประเทศในแถบเอเชีย อาทิ อินเดีย จีน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนามต่างวางแผนที่จะเริ่มใช้งานอีพาสปอร์ตภายในห้าปีนี้ และจะเริ่มต้นการใช้งานสมาร์ทการ์ดในโครงการขนส่งมวลชนต่างๆในรูปแบบของบัตรโดยสารสาธารณะก่อน แล้วจึงขยายไปสู่รูปแบบอื่นๆ ตามลำดับ

สำหรับประเทศไทย ซึ่งได้เริ่มมีการใช้งานอีพาสปอร์ตไปแล้วตั้งแต่ปี 2548 นั้น มร.ฟูงกล่าวว่า การใช้งานสมาร์ทการ์ดของประเทศไทยไม่ต่างจากประเทศอื่นๆในแถบเอเชียนัก กล่าวคือ มีการใช้งานของสมาร์ทการ์ดในโครงการขนส่งมวลชน ทั้ง MRT และ BTS และในอีกประมาณ 2-4 ปีข้างหน้า คาดว่าประชาชนจะสามารถใช้บริการขนส่งมวลชนทั้งสองอย่างได้ด้วยสมาร์ทการ์ดเพียงใบเดียว นอกจากนี้ ปริมาณการใช้อีพาสปอร์ตของประเทศไทยยังเพิ่มสูงขึ้น คิดเป็น ประมาณ 1.3 ล้านใบ ต่อปี

โดยการใช้งานเทคโนโลยีของสมาร์ทการ์ดในระยะแรกเริ่มนั้นจะมาจากโครงการขนส่งมวลชนต่างๆ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ในรูปแบบใหม่ที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้มากยิ่งขี้น สำหรับการใช้สมาร์ทการ์ทในรูปแบบต่างๆนั้น การใช้ในรูปแบบของบัตรโดยสารสาธารณะมีมากเป็นอันดับสองรองจากบัตรประชาชน โดยคิดเป็น 28 เปอร์เซ็นต์ของยอดจัดส่งในปี 2552

ฟูงเชื่อมั่นว่าแนวโน้มของสมาร์ทการ์ดจะยังคงสูงขึ้นจากโครงการขนส่งมวลชนต่างๆ ทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค
นอกจากนี้ สมาร์ทการ์ดยังมีการใช้งานในรูปทรงอื่นๆอีก เช่น อุปกรณ์ USB ต่างๆ ทั้งแบบสัมผัส อาทิ โทเคน (Token) และแบบสายคาดข้อมือและนาฬิกาแบบต่างๆ และถึงแม้ว่ารูปทรงเหล่านี้จะได้ถูกใช้งานมาระยะหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเท่าที่ควร

มร.ฟูงสรุปในตอนท้ายว่า “สมาร์ทการ์ดก็เหมือนกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่อาจต้องใช้เวลาและความพยายามในการหาจุดลงตัวในการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และความสะดวกสบายที่ได้รับต้องคุ้มค่าเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายต่างๆ”

View :1324

Related Posts

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.