Archive

Author Archive

ก.ไอซีที ร่วมมือ มสธ. พัฒนาศักยภาพชุมชนตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงด้วย ICT

January 30th, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพชุมชนตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงด้วย ICT ระหว่างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช () ว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีบทบาทสำคัญยิ่งกับการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในช่วงการเตรียมความพร้อมของประชาชนและชุมชนให้มีศักยภาพพร้อมก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งเครื่องมือที่จะพัฒนาคนในภาคส่วนต่างๆ อย่างเท่าเทียม ที่กระทรวงฯ มีอยู่ นั่นคือ ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนที่พร้อมจะให้หน่วยงาน ภาคส่วน และภาคีร่วมกันใช้ประโยชน์เชิงบูรณาการให้เกิดขึ้นกับชุมชน

“ในอนาคต ICT จะกลายเป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมของการพัฒนาในทุกๆ เรื่อง รวมถึงการดำรงชีวิตตาม วิถีเศรษฐกิจพอเพียง อันเป็นแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานให้กับพสกนิกรชาวไทยไว้เป็นแนวทาง ในการดำรงชีวิต การเรียนรู้ การทำความเข้าใจ การทดลองเปลี่ยนแปลง และการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง จึงมีความสำคัญในการน้อมนำมาสู่การปฏิบัติในชีวิตจริง ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมของประชาชนต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ดังนั้น กระทรวงไอซีที และ มสธ. จึงได้จัดทำข้อตกลงร่วมกันในการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงด้วย ICT โดยจะมีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนและวางแนวทางการใช้ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เป็นเครื่องมือของชุมชนพอเพียง” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว

สำหรับการดำเนินโครงการฯ นั้น กระทรวงฯ จะร่วมกับ มสธ. และหน่วยงานภาคีพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงด้วย ICT อย่างน้อย 4 หลักสูตร ได้แก่ 1.หลักสูตรการสร้างความรู้ ความเข้าใจและภูมิคุ้มกัน ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 2.หลักสูตรสำหรับผู้นำสตรีเพื่อสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว 3.หลักสูตรสำหรับผู้นำเยาวชนในศูนย์ชุมชนสร้างสรรค์ และ 4.หลักสูตรสำหรับผู้สูงอายุในเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยใช้การเรียนรู้ผ่านการศึกษาทางไกล และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุนชน ซึ่งปี 2555 นี้ จะดำเนินการในชุมชนนำร่อง จำนวน 840 แห่ง เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษาในปี 2554 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในปี 2555 ก่อนจะขยายผลไปยังชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่พสกนิกรอย่างเป็นรูปธรรม

ด้าน นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวเพิ่มเติมว่า การลงนามความร่วมมือกับ มสธ. ครั้งนี้ เป็นการขยายพันธมิตรเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมและการสร้างประโยชน์จากศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนที่มีอยู่ ทั่วประเทศ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งในปี 2555 นี้ กระทรวงฯ มีเป้าหมายที่จะร่วมกับ มสธ.ในการคัดสรรชุมชนที่มีศักยภาพ มีความพร้อม และต้องการที่จะเป็นชุมชนนำร่องจำนวน 840 ชุมชน และส่งเสริมให้ชุมชนเหล่านั้นได้ใช้สื่อและหลักสูตรออนไลน์ที่จะพัฒนาขึ้น โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาผลักดันในเกิดการเรียนรู้ เข้าใจ รวมถึงการติดตามแก้ไขปัญหาในเชิงเทคนิค เพื่อให้ชุมชนได้ใช้เครื่องมือที่มีอยู่ในศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนได้ทุกเมื่อ และเกิดการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

View :1556

ซอฟต์แวร์พาร์ค/สวทช.เร่งสร้างมาตรฐานผู้ประกอบการซอฟต์แวร์

January 29th, 2012 No comments

เพื่อวางรากฐานและยกระดับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้เข้มแข็งและเติบโตอย่างมีศักยภาพพร้อมก้าวสู่การแข่งขันในเวทีระดับโลกอย่างมั่นใจ พร้อมประกาศผลผู้ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์ที่ผ่านมาตรฐาน ® จากวงการซอฟต์แวร์โลก

แถลงข่าวผลการดำเนินการโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจซอฟแวร์ในการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ รุ่นที่ 2 ( II) และการแสดงความยินดีมอบโล่เกียรติคุณให้กับบริษัทที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน Capability Maturity Model Integration หรือ CMMI® โดยรศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า

“เนื่องจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกทำให้บริษัทข้ามชาติ และ ธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่นๆ หันมามุ่งเน้นธุรกิจและกิจกรรมที่เป็น Core Business เป็นหลัก และเน้นการ Outsource งานในส่วนของ IT ออกไปมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ตลาด IT Outsourcing ทั้งในและต่างประเทศโตขึ้น มาตรฐานการผลิตซอฟต์แวร์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการแข่งขัน ซึ่งในการเข้าไปรับงาน Outsource ทั้งตลาดภายในประเทศและเวทีโลก โดยเกณฑ์การคัดเลือก Supplier ที่สำคัญ ก็คือ CMMI®

ซึ่งหลายประเทศที่ต้องการมีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นใน Global Outsourcing Market ที่กำลังโตขึ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ภาครัฐในประเทศต่างๆเร่งผลักดันบริษัทซอฟต์แวร์ให้ได้รับมาตรฐาน CMMI® มากขึ้น ผ่านการให้ทุนสนับสนุนในการเตรียมความพร้อมและการประเมินตั้งแต่ 70%-100% ของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านของเรา เช่น เวียดนาม ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีบริษัทที่ผ่าน CMMI® มากกว่า 100 ราย ภายใน 4 ปี และมาเลเซีย ตั้งเป้าให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกรวมเป็น 100 ราย

และจากผลสำรวจของบริษัทซอฟต์แวร์ในโครงการ SPI@ease Phase 1 พบว่าการสื่อสารภายในองค์กรและกับลูกค้าดีขึ้นมาก การประมาณการ (Estimate) แม่นยำมากขึ้น สามารถส่งมอบงานได้ตรงตามกำหนดเวลามากขึ้น ได้รับความเชื่อถือ เป็นที่รู้จัก ยอมรับจากลูกค้ามากขึ้น และลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้การรับงานจากทั้งภายในและภายนอกประเทศเพิ่มมากขึ้นด้วย จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นข้อสรุปที่ชัดเจนว่าโครงการ SPI@ease Phase 1 เป็นกลไกสำคัญที่ส่งเสริมให้บริษัทซอฟต์แวร์ไทย สร้างความเข้มแข็งจากภายในให้เกิดขึ้นในองค์กร และสามารถพัฒนาสายสัมพันธ์กับลูกค้าเก่าให้ดีขึ้น พร้อมสร้างโอกาสในการขยายฐานลูกค้าใหม่ทั้งในและต่างประเทศ

รศ.ดร.ธนชาติ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ทาง สวทช.โดยซอฟต์แวร์พารค์ จึงเล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจซอฟต์แวร์ จึงเปิดโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์ในการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ เป็นรุ่นที่ 2 (SPI@ease II) หลังจากที่เปิดโครงการฯ รุ่นที่ 1 (SPI@ease I) เมื่อ 3 ปีที่แล้วประสบความสำเร็จและมีบริษัทซอฟต์แวร์เข้าร่วม โครงการฯ จำนวน 26 บริษัท และผ่านการรับรองมาตรฐาน CMMI® จำนวน 23 บริษัท แบ่งเป็น

s Level 5 จำนวน 1 บริษัท

s Level 3 จำนวน 13 บริษัท

s Level 2 จำนวน 9 บริษัท

และโครงการฯ SPI@ease II (ยังไม่สิ้นสุดโครงการฯ) มีบริษัทซอฟต์แวร์เข้าร่วม จำนวน 22 บริษัท ผ่านการรับรองมาตรฐาน CMMI® จำนวน 6 บริษัท แบ่งเป็น

s Level 3 จำนวน 3 บริษัท

s Level 2 จำนวน 3 บริษัท

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เรากำลังเป็นที่จับตามมองในวงการซอฟต์แวร์โลกจากการประกาศผลอย่างเป็นทางการล่าสุดจาก Software Engineering Institute (SEI) เมื่อเดือนกันยายน 2552 ที่ผ่านมา ขณะนี้ประเทศไทยมีบริษัทที่ผ่านการประเมิน CMMI® จัดเป็นอันดับ 2 ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากมาเลเซีย ซึ่งมีทั้งสิ้น 71 บริษัท และการที่ประเทศไทยจะปรากฏในแผนที่ซอฟต์แวร์โลกได้นั้น การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมอย่างจริงจังและต่อเนื่องจากภาครัฐในการขยายผลและต่อยอดโครงการ SPI@ease ใน Phase 2 จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการเสริมสร้างรากฐานอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้เข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน สร้างความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นให้กับประเทศ พร้อมที่จะก้าวสู่การแข่งขันในเวทีโลกอย่างมั่นใจ”

นอกจาก CMMI® จะสร้างความน่าเชื่อถือในระดับประเทศ และบริษัทเองแล้วนั้น จากรายงานการสำรวจถึงประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับจากการทำ CMMI® ล่าสุดประจำปี 2008 โดย DACs หรือ Data Analysis Center for Software, ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับจากการทำ CMMI® อย่างเป็น รูปธรรมมีดังต่อไปนี้

r ผลตอบแทนการลงทุน หรือ ROI เพิ่มขึ้น 3 เท่า

r ประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มขึ้น 39%

r ค่าใช้จ่ายในโครงการ ลดลง 30%

r Cycle Time ลดลง 38%

r ค่าความเบี่ยงเบนจากแผนการดำเนินงานลดลง 40%

r ลดการทำงานซ้ำซ้อน หรือ Rework ลงถึง 60%

r ลดจำนวนความผิดพลาด หรือ Defect ลง 50%

เมื่อเดือนธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา Gartner ประกาศผลการจัดอันดับ Top 30 Countries for Offshore Services และเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ติดอันดับ โดย Gartner ได้คัดเลือกและจัดอันดับจาก 72 ประเทศทั่วโลก โดยส่วนหนึ่งก็เป็นผลจากการที่ภาครัฐให้การสนับสนุนและผลักดันบริษัทซอฟต์แวร์ไทยอย่างจริงจังในเรื่องมาตรฐานการผลิตและคุณภาพซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญที่จะขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเติบโต เข้มแข็งและยั่งยืน รวมถึงมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้น เพื่อให้ประเทศไทยปักธงในเวทีซอฟต์แวร์ระดับสากล และ เริ่มมีส่วนแบ่งในตลาด Outsource เพิ่มขึ้น

View :1608
Categories: Software Tags: ,

ก.ไอซีที เดินหน้าป้องกันภัยแฝงจากอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ และเกมคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสมให้เยาวชน

January 29th, 2012 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในงานสัมมนาเรื่อง “การป้องกันภัยแฝงจากอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ และเกมคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเยาวชน” ภายใต้ โครงการจัดการดูแลและเฝ้าระวังภัยแฝงจากการใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสม ว่า ปัจจุบันเยาวชนไทยมีการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลาย ทั้งในครัวเรือน สถานศึกษา และร้านอินเทอร์เน็ตต่างๆ โดยใช้ทั้งเพื่อการติดต่อสื่อสาร สร้างความบันเทิง และเสริมสร้างความรู้ อย่างไรก็ตาม การใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตนั้น อาจเป็นช่องทางให้เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ได้รับทราบข่าวสาร ข้อมูล และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อันอาจทำให้เยาวชนนำไปเป็นแบบอย่างในทางเสื่อมเสีย ทั้งในการแสดงออก การกระทำและการดำเนินชีวิต เช่น ภาพลามกอนาจาร พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ การชักชวนให้เล่นพนัน การติดยาเสพติด การใช้ความรุนแรง การล่วงละเมิดทางเพศของนักเรียนหรือเยาวชน เป็นต้น ซึ่งมีแนวโน้มว่าในปัจจุบันผู้กระทำความผิดในกลุ่มเยาวชนที่มีอายุน้อยได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น

ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จัดการสัมมนาเรื่อง “การป้องกันภัยแฝงจากอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ และเกมคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเยาวชน” ภายใต้โครงการจัดการดูแลและเฝ้าระวังภัยแฝงจากการใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสมขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนรับทราบข้อมูลและเกิดการเรียนรู้ถึงภัยจากเว็บไซต์ และเกม ที่ไม่เหมาะสมต่างๆ พร้อมทั้งส่งเสริมประชาชน สถาบันครอบครัว และสถานศึกษาทุกแห่งทั่วประเทศ ให้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์

พร้อมกันนี้ ยังมีจุดประสงค์เพื่อแจกจ่ายชุดโปรแกรมเฮ้าส์คีปเปอร์ แก่ผู้ปกครอง สถานศึกษา ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดูแลจัดการ การใช้งานอินเทอร์เน็ต การป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่อาจเป็นอันตรายต่อเยาวชน โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 6 ถึง 20 ปี เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งกระทรวงฯ ได้เชิญผู้แทนจากสถานศึกษา ผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษา ทั้งภาครัฐและเอกชน ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร ตัวแทนหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนประชาชนทั่วไป กว่า 500 ท่าน เข้าร่วมการสัมมนา

“การสัมมนาในครั้งนี้ ถือเป็นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลการป้องกันภัยแฝงจากการใช้อินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเยาวชน รวมทั้งยังเป็นการเผยแพร่โปรแกรมเฮ้าส์คีปเปอร์ ที่กระทรวงฯ ได้ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัดทำขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ปกครองและโรงเรียนใช้ในการดูแลและปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งสามารถควบคุมและจัดการเวลาการเล่นอินเทอร์เน็ต ตลอดจนการใช้งานคอมพิวเตอร์ของเยาวชน โดยโปรแกรมเฮ้าส์คีปเปอร์นี้ได้พัฒนาให้เป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่าย และมีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งแจกจ่ายฟรีสำหรับทุกคน เพื่อใช้ปกป้องเยาวชนไทยจากภัยแฝงที่มาพร้อมกับการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1600

ก.ไอซีที จัดอบรมคำสั่งประยุกต์ด้านการจัดการเชิงพื้นที่รหัสเปิด

January 27th, 2012 No comments

นายชัยโรจน์ จิรพัฒนเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยถึงการอบรมในหลักสูตรชุดคำสั่งประยุกต์ด้านการประมวลผลข้อมูล จากภาพถ่ายดาวเทียมรหัสเปิด ภายใต้โครงการศึกษาและพัฒนาชุดคำสั่งประยุกต์ด้านการจัดการเชิงพื้นที่รหัสเปิด ว่า ปัจจุบันข้อมูลเชิงพื้นที่ () ซึ่งหมายถึง ข้อมูลที่แสดงถึงวัตถุต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนพื้นโลก และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่แสดงอยู่ในรูปของตำแหน่งโดยกำหนดเป็นพิกัด (Coordinate) ซึ่งเมื่อนำมาพิจารณาในลักษณะที่เป็นข้อมูลจะเรียกว่า “” นั้น ได้มีกระบวนการจัดทำและผลิตที่ก้าวหน้าไปจากเดิมเป็นอย่างมาก โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำและผลิตข้อมูลดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานภาครัฐที่กระจายอยู่ตามกระทรวงต่างๆ เข้าไปเกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงพื้นที่จำนวนเพิ่มมากขึ้น และมีความต้องการที่จะนำไปใช้งานในการจัดการเชิงพื้นที่เพิ่มขึ้นทุกปีด้วย

ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้มีการจัดทำโครงการศึกษาและพัฒนาชุดคำสั่งประยุกต์ด้านการจัดการเชิงพื้นที่รหัสเปิดด้านภูมิสารสนเทศทั้งระบบขึ้น เพื่อลดภาระการใช้จ่ายงบประมาณของประเทศในการจัดซื้อชุดคำสั่งประยุกต์ด้านการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านภูมิสารสนเทศประเภทต่างๆ จากต่างประเทศในราคาที่ค่อนข้างสูง โดยการพัฒนาชุดคำสั่งประยุกต์ด้านการจัดการเชิงพื้นที่รหัสเปิดดังกล่าวจะทำให้ได้ชุดคำสั่งที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดหา รวมทั้งมีศักยภาพที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าชุดคำสั่งที่จัดซื้อมาในราคาแพง

และเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุดคำสั่งประยุกต์ด้านการจัดการเชิงพื้นที่รหัสเปิดที่พัฒนาขึ้น กระทรวงฯ จึงได้จัดการอบรม 4 หลักสูตรเพื่อให้ครอบคลุมเทคโนโลยีด้านภูมิสารสนเทศ คือ 1.หลักสูตรชุดคำสั่งประยุกต์ด้านการจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์รหัสเปิด (Desktop GIS) 2.หลักสูตรชุดคำสั่งประยุกต์รหัสเปิดด้านการจัดทำระบบให้บริการข้อมูลเชิงพื้นที่โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Web-based GIS) 3.หลักสูตรชุดคำสั่งประยุกต์ด้านการประมวลผลข้อมูล จากภาพถ่ายดาวเทียมรหัสเปิด (Remote Sensing) และ 4.หลักสูตรชุดคำสั่งประยุกต์ด้านการจัดทำแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศรหัสเปิด (Photogrammetry)

“การจัดอบรมทั้ง 4 หลักสูตรนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการดำเนินงานของโครงการฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การประยุกต์ใช้ชุดคำสั่งประยุกต์ด้านการจัดการเชิงพื้นที่รหัสเปิดที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านภูมิสารสนเทศ ให้แก่กลุ่มผู้ใช้งานในทุกภาคส่วนได้รับทราบ รวมทั้งเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้คำสั่งฯ ที่จะสามารถนำไปต่อยอดและประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน พร้อมกันนี้ยังเป็นการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่เข้ารับการอบรมฯ ทั้งหมดประมาณ 103 หน่วยงาน ซึ่งได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ 61 แห่ง หน่วยงานภาคเอกชน 18 แห่ง และสถาบัน การศึกษา 24 แห่ง

ส่วนการอบรมฯ ในครั้งนี้เป็นการอบรมในหลักสูตรชุดคำสั่งประยุกต์ด้านการประมวลผลข้อมูล จากภาพถ่ายดาวเทียมรหัสเปิด รุ่นที่ 3 จำนวน 30 คน ซึ่งใช้เวลาอบรมให้ความรู้ 4 วัน และผู้ที่ผ่านการอบรมทั้งหมดจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองความรู้อีกด้วย” นายชัยโรจน์ กล่าว

View :1575

ก.ไอซีที ระดมความคิดเห็นพัฒนา ICT และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ

January 26th, 2012 No comments

นายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังการประชุมระดมความคิดเห็น (Focus Group) ครั้งที่ 5 ตามกฎกระทรวงมาตรา 20 (6) แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ภายใต้ โครงการพัฒนา ICT และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับคนพิการทุกประเภท ว่า กระทรวงฯ มีนโยบายในการส่งเสริมให้ประชาชนทุกภาคส่วนในสังคมได้รับ การส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านไอซีทีและมีโอกาสเข้าถึงไอซีทีอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ซึ่งรวมไปถึงกลุ่มคนพิการที่ขาดโอกาส และความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่รอบตัวในปัจจุบัน โดยกระทรวงฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ และมีความเชื่อมั่นว่ากลุ่มคนเหล่านี้ จะเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่มีความรู้ความสามารถ และมีศักยภาพที่จะพัฒนาสังคมและประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืนได้เช่นกัน หากได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนทั้งในด้านความสะดวก เครื่องมือหรืออุปกรณ์เฉพาะทาง ที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลและความรู้ด้านไอซีทีสำหรับคนพิการทุกประเภทได้อย่างทั่วถึง

ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนา ICT และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับคนพิการทุกประเภท เพื่อศึกษา สำรวจ และรวบรวมข้อมูลความต้องการทางด้านการบริการ หรือข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อมูลความต้องการของคนพิการแต่ละประเภท เพื่อนำมาใช้ในการกำหนดกรอบแนวทางเชิงนโยบาย และข้อเสนอแนะทางด้านกิจกรรม และวิธีการปฏิบัติของกระทรวงฯ ตลอดจนเพื่อนำไปใช้ในการให้บริการและสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของคนพิการทุกประเภทได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

โดยในการดำเนินโครงการดังกล่าว ต้องมีการจัดเวทีสำหรับระดมความคิดเห็นซึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร สำหรับคนพิการทุกประเภท ตลอดจนบริการสื่อสาธารณะ ตามกฎกระทรวงมาตรา 20 (6) แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 จำนวน 10 ครั้ง โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน คนพิการและหน่วยงานที่ปฏิบัติงานด้านคนพิการ สถาบันการศึกษาของรัฐ/เอกชน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น เข้าร่วมครั้งละประมาณ 20 คน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ ความต้องการต่างๆ จากบุคคลที่เกี่ยวข้องด้านคนพิการเหล่านั้น ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้นับเป็นการระดมความคิดเห็น ครั้งที่ 5 ที่กระทรวงฯ จัดขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูล ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดแนวทางเชิงนโยบายที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการอย่างแท้จริง

View :1611

เชื่อมั่น UIH บริการอย่างมีคุณภาพในทุกสถานการณ์

January 26th, 2012 No comments

วางแผนความพร้อมรับมืออุบัติภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นด้วยมาตรการระดับสูงสุดสำหรับทุกเหตุการณ์ เพื่อปกป้องโครงข่ายสื่อสารของลูกค้าทุกราย ให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องหากเกิดภัยพิบัติ พร้อมทำงานหนักอยู่เคียงข้างเพื่อให้คำปรึกษา และดำเนินการ จากประสบการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นหลายครั้งทั่วประเทศใน 2 ปีที่ผ่านมา

ด้วยสภาวะแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติร้ายแรงอย่างกระทันหันสร้างความเสียหายต่อสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ทั้งในส่วนของภาคธุรกิจ และภาคประชาชนเป็นอย่างมาก จากความไม่แน่นอนของภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลานี้ การเตรียมความพร้อมสำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดจึงเป็นความสำคัญที่ต้องคำนึงถึง

บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด หรือ “UIH” ผู้ให้บริการวงจรสื่อสารความเร็วสูงผ่านเครือข่ายใยแก้วนำแสงทั่วประเทศ ให้แก่องค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการ เตรียมความพร้อม และการจัดการในภาวะวิกฤติ (Crisis Management) ตลอดจนการจัดทำแนวปฏิบัติการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management หรือ BCM) เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าหากเกิดภัยพิบัติที่ร้ายแรง UIH สามารถให้บริการที่มีคุณภาพแก่ลูกค้าได้เป็นอย่างดี พร้อมกับอยู่เคียงข้างลูกค้าเพื่อเป็นที่ปรึกษาและดูแลด้านโครงข่ายสื่อสารในทุกสถานการณ์ เพื่อให้ลูกค้าทุกรายของ UIH สามารถดำเนินธุรกิจไปได้อย่างราบรื่น โดย พันเอกเรืองทรัพย์ โฆวินทะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด กล่าวว่า

“เราต้องวางมาตรการและมาตรฐานในส่วนของการจัดการในภาวะวิกฤติ หรือ Crisis Management และทบทวนแนวการปฏิบัติการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ หรือ Business Continuity Management (BCM) โดยมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องให้เหมาะสมกับสถานการณ์

โดยนำมาตรการที่เหมาะสมที่ได้วางไว้มาใช้กับสำนักงานและชุมสายของ UIH ทั้งหมด เพื่อไม่ให้เกิดผล กระทบกับลูกค้าของ UIH ทั้งโครงข่ายสื่อสาร อินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะบริการ Data Center ให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้แล้ว เรายังได้ดูแลลูกค้าที่ประสบภัยพิบัติ ในการยกระดับการเชื่อมต่อของ DR site ของลูกค้า ให้เป็นสำนักงานใหญ่ชั่วคราวอย่างทันท่วงที ทีมงาน UIH พร้อมจะเป็นเสมือนทีมงานของลูกค้า

โดยแบ่งปันประสบการณ์ในรูปแบบการให้คำปรึกษา และร่วมวางแผนกับลูกค้า โดยไม่ได้แบ่งว่าเป็น Network ของ UIH หรือ Network ของลูกค้า แต่เราจะมองเป็นองค์รวมว่าเป็น Network ของเราทั้งคู่ เพื่อช่วยกันและกันในการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจเพื่อจัดการด้าน Network ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และธุรกิจของลูกค้าดำเนินไปโดยไม่สะดุด

จากประสบการณ์ในการดำเนินการตามแผนการ BCM ที่ UIH เราได้วางแผนล่วงหน้ากันเอาไว้แล้วนั้น ได้พิสูจน์ให้เห็นเป็นอย่างดีว่าการทำ BCM ทำให้เรามีความเสี่ยงในด้านต่างๆ ลดลงเป็นอย่างมาก และสามารถให้บริการแก่ลูกค้าของเราได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าบทเรียนจากวิกฤติมหาอุทกภัยที่ผ่านมาจะเกิดผลกระทบในหลายพื้นที่ UIH พร้อมที่ยืนหยัดเคียงข้างลูกค้าในทุกสถานการณ์อย่างมุ่งมั่นให้ลูกค้าจะผ่านทุกวิกฤติไปได้ครับ”

และยังทิ้งท้ายอีกว่า “โดยทั้งหมดนี้ UIH มุ่งหวังให้ธุรกิจของลูกค้าทุกรายสามารถดำเนินการได้อย่าง ราบรื่น ไม่สะดุด และไว้วางใจใช้บริการของ UIH ตลอดไป โดยเราสัญญาว่าจะอยู่เคียงข้างเป็นเพื่อนคุณในทุกสถานการณ์”

View :2608
Categories: Cloud Computing, Technology Tags:

โซนี่ อีริคสัน โชว์เหนือยกทัพสุดยอดสมาร์ทโฟนตระกูล Xperia กว่า 10 รุ่น ร่วมงาน Thailand Mobile Expo 2012

January 26th, 2012 No comments

โซนี่ อีริคสัน โชว์เหนือด้วยการยกทัพสุดยอดสมาร์ทโฟนตระกูล Xperia กว่า 10 รุ่น มาให้เลือกช้อปกันอย่างจุใจในงาน ตั้งแต่วันนี้ ถึง 29 มกราคม 2012 ณ บูธ โซนี่ อีริคสัน ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยไฮไลท์เด่นอยู่ที่ arc s สุดยอดสมาร์ทโฟนกับประสิทธิภาพที่สูงขึ้นไปอีกระดับด้วยความเร็ว 1.4 กิกะเฮิรตซ์ และ neo v ที่ตอนนี้ขึ้นแท่นเป็น Best Seller ไปเรียบร้อยแล้ว โดยลูกค้าโซนี่อีริคสันสามารถซื้อและรับสินค้าได้ทันที นอกจากนี้จะได้พบกับ Xperia ray , Xperia Play , Live With Walkman ฯลฯ สมาร์ทโฟนจากโซนี่อีริคสันที่รองรับเครือข่าย 3G ได้ทั้ง 2 ค่ายคือ 900/2100 Mhz และ 850 /2100 Mhz พร้อมโปรโมชั่นสุดว้าวและเลือกรับของสมนาคุณต่างๆอีกมายมาย พบกันได้ที่บูธโซนี่ อีริคสัน ในงาน Thailand Mobile Expo 2012 หรือติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านทาง www.facebook.com/sethailand

View :1574

โนเกียโชว์โฉม Nokia Lumia 800 สมาร์ทโฟนบนระบบปฎิบัติการ Windows Phone ครั้งแรกในเมืองไทยในงาน Thailand Mobile Expo 2012

January 26th, 2012 No comments

โนเกียเผยโฉม สมาร์ทโฟนบนระบบปฏิบัติการ Windows Phone รุ่นแรกของโนเกีย นำเสนอประสบการณ์ใหม่ที่ออกแบบให้ทุกวันของคุณเต็มไปด้วยความมหัศจรรย์ยิ่งขึ้น ในงาน ในระหว่างวันที่ 26-29 มกราคม 2555 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พร้อมเปิดตัวแอพใหม่สุดร็อค Nokia Car Mode สำหรับมือถือระบบปฏิบัติการ Nokia Belle ให้คุณได้เชื่อมต่อสมาร์ทโฟนกับเครื่องเสียง Alpine ในรถยนต์ของคุณอย่างสมบูรณ์แบบ

Nokia Lumia 800


Nokia Lumia 800 ทรงประสิทธิภาพในการใช้งานสังคมออนไลน์และอินเตอร์เน็ตที่รวดเร็วและง่ายดาย พรั่งพร้อมด้วยระบบสื่อสารที่ดีเยี่ยม และฟีเจอร์หลักของโนเกีย เช่นความสามารถด้านการถ่ายภาพ และประสบการณ์การใช้งานใหม่ๆ หน้าจอ AMOLED ClearBlack 3.7 นิ้ว ของ Nokia Lumia 800 เชื่อมต่อกับตัวเครื่องได้อย่างสวยงามเพรียวบาง สามารถเข้าสู่สังคมออนไลน์ได้ง่ายเพียงสัมผัสเดียว มาพร้อม Internet Explorer 9 และ processor 1.4 GHz เสริมด้วยเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฮาร์ดแวร์และระบบประมวลผลให้ทำงานได้เร็วขึ้น Nokia Lumia 800 มอบประสบการณ์การถ่ายภาพที่ยอดเยี่ยมด้วยเลนส์ Carl Zeiss และแชร์ภาพได้ทันที สามารถถ่ายและเล่นวิดีโอคุณภาพ HD หน่วยความจำภายใน 16GB และฟรี SkyDrive หน่วยความจำออนไลน์ เพื่อเก็บรูปภาพและเพลงโปรด

โนเกียยังเปิดตัวแอพใหม่สุดล้ำ “Nokia Car Mode” ที่เกิดจากการผสานเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายของสมาร์ทโฟนและระบบการสั่งการภายในรถยนต์ไว้ด้วยกันอย่างลงตัว “Nokia Car Mode” เป็นแอพพลิเคชั่นที่เชื่อมต่อสมาร์ทโฟนโนเกียเข้ากับเครื่องเสียง Alpine ในรถยนต์ เพื่อให้คุณใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่อยู่บนสมาร์ทโฟน ไม่ว่าจะเป็น ระบบแผนที่นำทาง ฟังเพลงโปรด รวมถึงการใช้งานโทรศัพท์ ผ่านหน้าจอสัมผัสขนาด 7 นิ้วของระบบเครื่องเสียงรถยนต์ Alpine ICS-X8 เสมือนสั่งงานตรงบนสมาร์ทโฟน ช่วยให้คุณใช้งานสมาร์ทโฟนโนเกียขณะขับรถได้อย่างปลอดภัยและทรงประสิทธิภาพสูงสุดทั้งนี้ สมาร์ทโฟนที่รองรับ Nokia Car Mode ได้แก่ สมาร์ทโฟนบนระบบปฏิบัติการ Nokia Belle เช่น Nokia 603, Nokia 700 และ Nokia 701

View :2012

ไอดีซีฟันธง 2555 จะเป็นปีที่เต็มไปด้วยความท้าทายสำหรับวงการไอทีไทย

January 26th, 2012 No comments

คลื่นความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ที่ไหลบ่ารวมเข้ากับมหาอุทกภัย ได้ส่งผลกระทบใหญ่ต่ออำนาจการซื้อและการลงทุนในประเทศไทย นั่นทำให้ผู้ขายสินค้าและบริการด้านไอที ต้องเผชิญกับความยากลำบากมากขึ้น ในการรักษาระดับการเติบโตของรายได้ภายใต้สถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความท้าทายในอุตสาหกรรมไอซีทีในปี 2555 อย่างไรก็ตามไอดีซียังคงเชื่อว่าระดับการลงทุนขององค์กรใหญ่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจะทำให้ตลาดในช่วงครึ่งปีหลังพลิกกลับมาสดใสอีกครั้ง

โดยนายอรรถพล สาธิตคณิตกุล ผู้จัดการฝ่ายงานวิจัยและที่ปรึกษา ( Asia/Pacific’s Research Manager for Cross products & Consulting) เผยว่า “ไอดีซีคาดการณ์ว่าการใช้จ่ายและการลงทุนด้านไอทีจะได้รับแรงหนุนจากการผสมผสานกันของเทคโนโลยีและรูปแบบการประกอบธุรกิจใหม่ๆ ถึงแม้จะเป็นเรื่องยากที่จะรักษาระดับการขยายตัวของตลาดไอซีที แต่ก็มีเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่จะกลายเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นตลาดในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ smart-devices, consumerization และบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ cloud-computing” ซึ่งตัวเลขการคาดการณ์ล่าสุดของไอดีซีแสดงให้เห็นว่าตลาดไอซีทีของไทยน่าจะสามารถเติบโตได้ถึง 10.4% โดยมีมูลค่าตลาด 1.68 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปี 2555

ไอดีซีได้ใช้ข้อมูลที่ได้จากงานศึกษาวิจัยล่าสุด ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการระดมสมองของนักวิเคราะห์ทั้งที่ประจำประเทศไทยและประจำภูมิภาค มาจัดทำเป็นงานวิจัยเรื่องการคาดการณ์ถึงแนวโน้มสำคัญ 10 ประการที่จะส่งผลกระทบมากที่สุดต่อทิศทางของอุตสาหกรรมไอซีทีในประเทศไทยโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

การใช้จ่ายยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องในอุตสาหกรรมไอซีทีของไทย

แม้ว่าสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยจะยังไม่สดใสนักแต่ไอดีซีเชื่อว่าในปี 2555 การใช้จ่ายจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในทุกภาคส่วนของไอซีที ไม่ว่าจะเป็นตลาด hardware software การบริการด้านไอทีหรือการบริการด้านโทรคมนาคม โดยจะเป็นอีกปีที่การเติบโตหลักมากจากฝั่ง hardware ซึ่งไอดีซีคาดการณ์ว่าตลาดรวมไอซีทีทั้งหมดของไทยจะเติบโต 10.4% ไปสู่ระดับ 1.68 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐได้

การใช้จ่ายด้าน Data จะเป็นพระเอกของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

ไอดีซีคาดการณ์ว่า บริการด้านข้อมูลไร้สาย (mobile data services) จะเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้ตลาดบริการโทรคมนาคมในประเทศไทยเติบโตขึ้นจากปีที่แล้ว 15.5% ไปอยู่ที่ระดับ 968 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริการยอดนิยมหนีไม่พ้นด้านมัลติมีเดียทั้งการท่องอินเทอร์เน็ต เข้าเว็บไซต์ ดูวิดีโอ และส่งอีเมล์ผ่านโทรศัพท์มือถือ

Consumerization: นิยามใหม่ของไอที
ตัวเลขการคาดการณ์ล่าสุดของไอดีซีชี้ให้เห็นว่า ในปี 2555 smart-phone และ media-tablet จะเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้นทั้งในส่วนของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ระบบ ปฏิบัติการณ์ iOS และ android ยังคงได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากตลาดเนื่องจากมีฟีเจอร์ที่หลากหลายภายใต้อินเตอร์เฟซที่สวยงามใช้งานง่าย ซึ่งทำให้พนักงานในองค์กรได้เริ่มนำแกดเจ็ทเหล่านี้มาใช้ในที่ทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่ตามมาก็คือองค์กรต่างๆ ก็ต้องพยายามหาโซลูชันหรือเทคโนโลยีที่จะมารองรับการทำงานร่วมกับแกดเจ็ทที่มีหลากหลายขนาด และ หลากหลายระบบ ปฏิบัติการเหล่านี้ ไอดีซีคาดว่าโซลูชันที่มีแนวโน้มจะได้รับความนิยมที่สุดคือ client-virtualization และโซลูชั่นที่มีพื้นฐานจาก cloud นอกจากนี้องค์กรต่างๆ ก็ยังเริ่มมองหาทางเลือกเช่น พัฒนาการโซลูชันแบบ non-virtualization ของตัวเอง ใช้ประโยชน์จากโซลูชันแบบ non-virtualization ที่มีขายอยู่ในตลาด หรือแม้กระทั่งนำโซลูชันและเครื่องมือเดิมที่มีอยู่แล้วมาปรับใช้ให้ครอบคลุมถึงแพลตฟอร์มที่หลากหลายมากขึ้น

ฟ้าสดใสสำหรับ Cloud-Computing
ไอดีซีได้เห็นการพัฒนาเทคโนโลยีและการบริการที่เกี่ยวกับ cloud มาโดยตลอด นับตั้งแต่ cloudเข้ามาสู่ประเทศไทยในปี 2553 ซึ่งในปี 2554 ที่ผ่านมานั้นเหล่าผู้ให้บริการด้านไอที ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และผู้ให้บริการ data center ได้เริ่มนำ cloud ในรูปแบบ infrastructure-as-a-service (IaaS) และ application-as-a-service (AaaS) มาประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจมากขึ้น ถือเป็นการพัฒนาครั้งสำคัญที่ช่วยสร้างพื้นฐานที่ดีของ cloud และเทคโนโลยีหรือการบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ดังนั้นไอดีซีเชื่อว่าในปีนี้องค์กรต่างๆ จะให้ความสนใจกับ cloudมากขึ้น ทั้งองค์กรในภาคการเงิน การสื่อสาร การผลิต และการบริการ ซึ่งบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดน่าจะเป็น Iaas รองลงมาคือ AaaS และ PaaS นั่นเป็นเพราะว่าผู้ให้บริการได้ลงทุนอย่างต่อเนื่องในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของระบบ cloud ของตัวเองให้รองรับกับความต้องการจากตลาดที่มากขึ้นและหลากหลายมากขึ้นนั่นเอง

เตรียมเปิดประตูบ้านรับ FTTx
การบริการโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านไฟเบอร์ หรือที่เรียกกันแพร่หลายว่า FTTx จะเกิดขึ้นในประเทศไทยในปี 2555 และจากการที่ภาครัฐและเอกชนต่างก็เพิ่มการลงทุนในเทคโนโลยีนี้ทำให้ FTTx น่าจะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในอีก 2 – 3 ปีที่จะถึงนี้ แต่อย่างไรก็ตามความแพร่หลายของ FTTx ขึ้นอยู่กับความสามารถในการขยายขอบเขตการให้บริการของผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม โดยลูกค้าที่มีกำลังซื้อในระดับสูงน่าจะเป็นกลุ่มแรกที่ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่นี้

ศึกระหว่าง PC และ Smart-Devices ยังคงเข้มข้น
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หากกล่าวถึง PC อุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมอันดับแรกคือ notebook และdesktop แต่ในปัจจุบันกระแสของ smart-devices (smart-phone และ media-tablet) กำลังทะยานก้าวข้ามกระแสเดิมของ notebook และ desktop ถือได้ว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของ PC ไอดีซีเชื่อว่าทั้งผู้บริโภคและองค์กรต่างๆ ยังคงมีความต้องการใช้ notebook และdesktop อยู่ แต่ในปี 2555 จะเป็นครั้งแรกที่ยอดจัดส่งของ smart- devices (ทั้งหมด 6.7 ล้านเครื่อง) มีจำนวนสูงกว่ายอดจัดส่งของ notebook และ desktop (ทั้งหมด 4.1 ล้านเครื่อง)

ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือจะหันมาหา Wi-Fi ในขณะที่รอ 3G
ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ของไทยได้เริ่มทดสอบให้บริการ 3G มาตั้งแต่ปีที่แล้ว และด้วยสภาพการแข่งขันด้าน data ที่สูงขึ้นทำให้ผู้ให้บริการบางรายในประเทศได้นำบริการ Wi-Fi มารวมเข้าใน data package เพื่อสร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่ง โดยจุดประสงค์ของการขยายเครือข่าย Wi-Fi ของผู้ให้บริการในไทยไม่ใช่เพียงแค่รองรับความต้องการของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการขยายพื้นที่ครอบคลุมให้กว้างขึ้นอีกด้วย ไอดีซีเชื่อว่าในปี 2555 Wi-Fi จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากการที่ต้นทุนของการวางระบบบรอดแบนด์ไร้สายนั้นยังอยู่ในระดับที่สูง ทำให้เราน่าจะได้เห็นความร่วมมือที่แนบแน่นมากขึ้นระหว่างผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต นี่จะช่วยลดภาระในเรื่องของต้นทุนในการปฏิบัติการณ์ให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ และช่วยแบ่งเบาภาระของการส่งผ่านข้อมูลผ่านเครือข่าย 3G เพียงอย่างเดียวลงได้ ในขณะเดียวกันผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก็สามารถเพิ่มรายได้จากการให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายของตนได้ด้วย

Business Continuity และ Disaster Recovery จะกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับไอทีในองค์กร
Business Continuity และ Disaster Recovery (BC/DR) ได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว แต่ความนิยมมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นมากในปี 2555 ด้วยอานิสงค์จากความต้องการในการเข้าถึงการบริการแบบ 24×7 ของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับความจำเป็นที่จะต้องรับมือกับความเสี่ยง และ ความไม่แน่นอนที่นับวันจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นของภาคธุรกิจนั่นเอง ไอดีซีขอแนะนำให้องค์กรต่างๆ เลือกใช้บริการ BC/DR จากผู้ให้บริการที่มีประสบการณ์และมีโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ และนอกจากนี้ไอดีซีเชื่อว่าความต้องการใช้บริการ BC/DR โดยมากจะมาจากภาคการเงิน การสื่อสาร และภาคการผลิต

มองลูกค้าเป็นศูนย์กลาง: วิธีใหม่ๆ ที่จะร่วมมือกับลูกค้า
การเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายและลงทุนด้านไอทีในปี 2555 มีแนวโน้มที่จะอยู่ในระดับต่ำ โดยองค์กรต่างๆ จะให้ความสำคัญกับการลงทุนที่ช่วยในการลดต้นทุน และปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเป็นอันดับแรก ความต้องการของลูกค้าทุกวันนี้นั้นหลากหลายมากขึ้น และลูกค้าก็มีตัวเลือกเพิ่มมากขึ้น บังคับให้องค์กรต่างๆ ต้องใช้แนวคิดแบบลูกค้าเป็นศูนย์กลางเพื่อปรับปรุงสินค้าและบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการให้ได้ดีและมากที่สุด การมีลูกค้าเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริงต้องการมากกว่าแค่การทำ CRM แต่จะต้องหาวิธีเรียนรู้ลูกค้าให้มากขึ้นด้วย เครื่องมือที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ก็คือเครื่องมือด้านไอที ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของลูกค้าที่มีอยู่ในแหล่งต่างๆ รวมทั้งโซเชียลเน็ตเวิร์ค เพื่อให้นำไปสู่เป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือการชี้ชัดให้ได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการกันแน่

ความต้องการที่จะวิเคราะห์ Big Data จะเพิ่มมากขึ้น
ข้อมูลที่มีขนาดมหึมาหรือ big data นั้นถือเป็นหนึ่งในกระแสที่มีการถกเถียงกันในแวดวงไอทีในปัจจุบัน ในระยะหลังนั้นปริมาณของแหล่งข้อมูลได้เพิ่มสูงมากขึ้น ทั้งข้อมูลจากการใช้ notebookโทรศัพท์มือถือ media-tablet social-network และแหล่งข้อมูลที่ให้ข้อมูลแบบ real-time ต่างๆ ซึ่งส่งผลให้ปริมาณของข้อมูลถีบตัวสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด และก็ได้มีเครื่องมือที่สามารถวิเคราห์ข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลจำนวนมหาศาลเหล่านี้ได้ ความนิยมของการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อช่วยในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยนั้นมีมากขึ้นเรื่อยๆ องค์กรทั้งในภาครัฐและเอกชนเริ่มลงทุนในการหาเครื่องมือวิเคราะห์ความคิดเห็นจากสังคมออนไลน์ และไอดีซีเชื่อว่าการวิเคราะห์ big data คือเทรนด์ใหม่ที่องค์กรต่างๆ ไม่อาจเพิกเฉยได้อีกต่อไป

View :1622

ฟูจิตสึส่งไฮไลต์โปรดักส์ “ไลฟ์บุ๊ก SH771” เจาะตลาดไทย

January 25th, 2012 No comments

โน้ตบุ๊กจอ 13.3 นิ้ว รวมที่บางเบาที่สุดแถมแบตเตอรี่ยาวนานกว่า 8 ชม.

ฟูจิตสึเปิดตัว ไลฟ์บุ๊ก SH771 โน้ตบุ๊กขนาด 13.3 นิ้ว ทั้งบางและเบา ด้วยน้ำหนักเพียง 1.22 กิโลกรัม ไลฟ์บุ๊ก SH771 จึงเป็นเครื่องที่บางที่สุดและเบาที่สุดในกลุ่ม LIFEBOOK ที่มาพร้อมกับอายุการใช้แบตเตอรี่ยาวนานกว่า 8 ชั่วโมง

นายวรวุฒิ โกศลกิจวงศ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฟูจิตสึ พีซี เอเชีย แปซิฟิก จำกัด
เปิดเผยว่าทางบริษัทได้เปิดตัว “ฟูจิตสึ ไลฟ์บุ๊ก SH771” ครั้งแรกในตลาดเมืองไทย ด้วยความโดดเด่นทางด้านดีไซน์ใหม่ล่าสุดจากฟูจิตสึที่เต็มเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพการพกพาสะดวก เหมาะสำหรับผู้ที่มองหาความสมบูรณ์แบบในการใช้ชีวิต ยกระดับคอมพิวเตอร์แบบพกพาไปอีกระดับหนึ่ง ไลฟ์บุ๊ก SH771 ถือเป็นผลิตภัณฑ์เรือธงของฟูจิตสึ ที่ให้ความเบาและบางที่สุด ด้วยขนาดหน้าจอขนาด 13.3 นิ้ว พร้อมกับอายุการใช้งานแบตเตอรี่ยาวนานกว่า 8 ชั่วโมง


“ฟูจิตสึเข้าใจถึงความต้องการระหว่างประสิทธิภาพที่สูงสุดและความสะดวกในการพกพาสำหรับการใช้ชีวิตสมัยใหม่ ฟูจิตสึจึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ก้าวขีดจำกัดด้านการออกแบบและนวัตกรรมเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีและเป็นที่ไว้วางใจสำหรับลูกค้าของเรา” นายวรวุฒิ กล่าวและเสริมว่า “การเปิดตัว ฟูจิตสึ ไลฟ์บุ๊ก SH771 นับเป็นจุดเริ่มต้นของผลิตภัณฑ์ไลน์อัพใหม่ที่จะผลักดันการออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไปสู่อีกระดับ”

สำหรับความโดดเด่นของไลฟ์บุ๊ก SH771 นี้อยู่ที่ความบางอย่างมีสไตล์ เบาอย่างเหนือชั้น และเต็มเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพ ไลฟ์บุ๊ก SH771 จึงถูกออกแบบให้เป็นโน้ตบุ๊กแบบ 2 แกนพับที่บางและเบาที่สุด ด้วยขนาดหน้าจอ 13.3 นิ้ว มีน้ำหนักเพียง 1.22 กิโลกรัม ตัวเครื่องที่ทำจากแมกนีเซียม อัลลอยที่เบาและคงทน

ฟูจิตสึยังได้นำเสนอทางเลือกในการใช้งานที่เหมาะสม โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์ระหว่าง Intel® Core™ i7 หรือ Intel® Core™ i5 พร้อมรองรับการอัพเกรดฮาร์ดดิสก์ถึง 500GB และหน่วยความจำ 4GB ลูกค้าจึงสามารถมั่นใจได้ถึงประสิทธิภาพระดับสูงสุดและคุณสมบัติด้าน multi-tasking ส่งผลให้ผู้ชั้งานสามารถสนุกกับการทำงานแบบไร้ข้อจำกัดและสนุกกับการท่องอินเทอร์เน็ตที่รวดเร็วกว่าเดิม

นายวรวุฒิ กล่าวว่าในยุคปัจจุบันที่คนรุ่นใหม่มีแกดเจ็ตพกพาอย่างหลากหลาย ไลฟ์บุ๊ก SH771 จึงมาพร้อมกับคุณสมบัติ USB Anytime Charging และพอร์ต USB 3.0 เพื่อให้ลูกค้าสามารถชาร์จสมาร์ทโฟน เครื่องเกมส์ PSP เครื่องเล่น MP3 และอุปกรณ์อื่นๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา

ไลฟ์บุ๊ก SH771 ยังมาพร้อมกับหน้าจอแบบ SuperFine HD back-light LED ที่มอบความสว่างถึง 300nits รองรับความสามารถด้านมัลติมีเดียอันยอดเยี่ยม ผู้ใช้งานสามารถเต็มอิ่มกับการชมภาพยนตร์ที่ได้อรรถรสสูงสุดด้านไลฟ์บุ๊กรุ่นนี้

ยิ่งไปกว่านั้นไลฟ์บุ๊ก SH771 มี DTS BoostTM ช่วยสร้างประสบการณ์ด้านเสียงที่คมชัด ด้วยการตัดเสียงรบกวนโดยรอบเพื่ออรรถรสทางเสียงที่สมบูรณ์ รองรับ Intel Wireless Display ให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับโทรทัศน์แบบ HD ได้แบบไร้สาย เพื่อการแบ่งปันรูปภาพหรือวิดีโอกับครอบครัวและเพื่อน หรือเพื่อการใช้งานในการนำเสนอ

นอกจากนี้ไลฟ์บุ๊ก SH771 เน้นถึงเรื่องความปลอดภัยอย่างสูงสุด เซ็นเซอร์ลายนิ้วมือที่มาพร้อมกับกับระบบการยืนยันตัวตน เพื่อปกป้องข้อมูลและไฟล์ที่สำคัญ ด้วยระบบเซ็นเซอร์ลายนิ้วมือที่มีไฟ LED โดยไฟจะเปลี่ยนเป็นสีฟ้า เมื่อสแกนลายนิ้วมือผ่าน โดยไลฟ์บุ๊ก SH771 ใช้เซ็นเซอร์แบบ semi-conductor เป็นคลื่นวิทยุในการจับภาพลายพิมพ์นิ้วมือ เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดทุกครั้ง ทำให้ผู้ใช้สบายใจทุกการใช้งานข้อมูลและไฟล์สำคัญ

ไลฟ์บุ๊ก SH771 ยังล้ำหน้าด้วยคอนเซ็ปต์การออกแบบของฟูจิตสึในปี 2012 “เดอะ ทาคูมิ” ที่เน้นออกแบบให้โน้ตบุ๊กสนองความต้องการใช้งานอย่างสูงสุด ไลฟ์บุ๊ก SH771 จึงโดดเด่นด้วยเส้นโค้งสวยงามเมื่อเปิดหน้าจอ LCD ให้ภาพที่คมชัดทุกมุมมอง สร้างรู้สึกได้ถึงความแตกต่างทันทีที่ได้สัมผัสตัวไลฟ์บุ๊ก SH771

การออกแบบอันโดดเด่นของไลฟ์บุ๊ก SH771 ยังรวมถึงคุณสมบัติ F-line ซึ่งถือเป็นการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ และคีย์บอร์ดขนาด 1.7 มม. ด้วยรูปลักษณ์ของคีย์บอร์ดที่ให้ผู้ใช้สามารถพิมพ์งานได้อย่างยาวนานโดยไม่รู้สึกถึงความเมื่อยล้า คีย์บอร์ดของไลฟ์บุ๊ก SH771 เป็นแบบ double injection ที่ให้สีฟ้าสวยงาม บ่งบอกถึงความหรูหรา นอกจากนั้นไลฟ์บุ๊ก SH771 ยังมาพร้อมกับ touch pad ขนาดใหญ่ และ scroll wheel ที่ให้คุณสามารถท่องเว็บไซต์และดูงานเอกสารได้อย่างง่ายดาย

ฟูจิตสึตอกย้ำถึงความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีสีเขียว และเพื่อการใช้งานที่ยาวนานขึ้น โดยไลฟ์บุ๊ก SH771 มาพร้อมกับอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่ยาวนานกว่า 8 ชั่วโมง ด้วยขุมพลัง Intel Huron River แพลตฟอร์ม และชิปเซ็ต HM65 ทำให้เครื่องไลฟ์บุ๊กตอบสนองทุกการใช้งานด้วยปลายนิ้วสัมผัส ในทางกลับกันผู้ใช้สามารถประหยัดพลังงานได้มากขึ้นเพื่อสิ่งแวดล้อม ด้วยฟูจิตสึ 0 watt adaptor ซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่า 99% เมื่อเทียบกับ adaptor รุ่นอื่นๆ

ฟูจิตสึยึดมั่นที่จะส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยสูงให้แก่ผู้บริโภคด้วยการปฏิบัติตามกฎของ European Union’s Restriction of Hazardous Substances directive (RoHS) ที่ฟูจิตสึนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ทุกชนิด นอกจากนี้ฟูจิตสึยังได้ตั้งข้อปฏิบัติที่เกินกว่ามาตรฐานที่ RoHs กำหนดไว้ เพื่อประโยชน์ของลูกค้าของฟูจิตสึอย่างแท้จริง และเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ฟูจิตสึได้ปฏิบัติตามแนวคิดเรื่องเทคโนโลยีสีเขียวอย่างเคร่งครัด โดยการผลิตเครื่องที่ประหยัดพลังงาน ฟูจิตสึยังได้เข้าร่วมขบวนการต่อสู้เพื่อรักษ์โลกโดยการเป็นสมาชิกของ Climate Servers อีกด้วย

View :1344