Archive

Author Archive

บริษัทดีเอชเอ สยามวาลาจับมือกับบริษัท ICE Solution เปิดตัวเว๊บไซต์สังคมออนไลน์รูปแบบใหม่ www.iamtrend.com

December 6th, 2011 No comments

คณะผู้บริหารบริษัทดีเอชเอ สยามวาลา ผู้นำในธุรกิจเครื่องเขียน, เครื่องใช้สำนักงานและ บริษัทให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาทางด้าน IT จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวเว๊บไซต์สังคมออนไลน์ในรูปแบบใหม่ที่เกิดจากการรวมตัวของทั้งสองบริษัทในวันที่ 1 ธันวาคม 2554

ความเป็นมา
ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจของบริษัทดีเอชเอ สยามวาลา บริษัทสร้างผลิตภัณฑ์ที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ผู้คนเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ดีเลิศจากผลิตภัณฑ์ของเรา มาจนถึงปัจจุบันที่ยุคสมัยได้เปลี่ยนมาเป็นยุคแห่งการใช้ชีวิตกับอินเตอร์เน็ทอย่างเต็มตัว คนเรามีชีวิตบนโลกออนไลน์มากขึ้นอย่างก้าวกระโดด นั่นทำให้เครือข่ายสังคมออนไลน์กลายเป็นส่วนสำคัญกับชีวิตคนในปัจจุบันมากอย่างไม่น่าเชื่อ จากความน่าสนใจและพลังของสังคมออนไลน์ต่อธุรกิจทำให้ทั้งดีเอชเอ สยามวาลาและ ICE Solution บริษัทดูแลทางด้านซอฟท์แวร์ร่วมมือกันสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในรูปแบบเว็บไซต์เพื่อให้คนได้สัมผัสปรากฎการณ์ใหม่ที่จะนำทุกคนไปสู่อีกระดับของการใช้เว๊บไซต์รูปแบบเครือข่ายสังคมออนไลน์

ที่มาของโอกาสการทำเว๊บไซต์จากช่องว่างในตลาด

ในปัจจุบันเรารับข้อมูลจากสิ่งต่างๆมากมายจนมากเกินไปเนื่องจากมีช่องทางหลากหลายที่จะรับรู้ข่าวสารซึ่งบางครั้งเราไม่สามารถตัดสินใจเชื่อข้อมูลที่มากมายเหล่านั้นได้ เช่นคุณคงเคยพบปัญหาการเลือกร้านอาหารทานกับเพื่อนซึ่งคุณอาจต้องปวดหัวไม่น้อยกว่าจะตัดสินใจได้ ด้วยความต้องการจะช่วยให้คนได้ใช้ชีวิตที่สนุกและง่ายที่สุดเราจึงสร้างแหล่งข้อมูลเพื่อช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจในหลายๆอย่างได้ ช่วยลดความเสี่ยงเวลาจะตัดสินใจในเรื่องต่างๆได้ และเมื่อถามว่าอะไรที่มีอิทธิพลมากที่สุดกับการตัดสินใจของคนในปัจจุบัน สิ่งนั้นก็คือเพื่อนของเราและสิ่งที่เป็นเทรนด์

เราเชื่อเครือข่ายคนที่เรารู้จักโดยเฉพาะเพื่อน บ่อยครั้งที่เราตัดสินใจไปร้านอาหารหรือจะดูหนัง, ฟังเพลงเราจะถามเพื่อนก่อนเสมอ เราเชื่อในเครือข่ายสังคมของเราในการช่วยตัดสินใจทำอะไรหลายๆอย่างในชีวิตประจำวัน แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าที่เราตัดสินใจไปนั้นดีและเป็นสิ่งที่เราต้องการมากที่สุด

จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่จะช่วยคุณหาสิ่งที่เพื่อนและเครือข่ายของคุณกำลังพูดถึงและให้ความสนใจมากที่สุด จากนั้นเราจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาสร้างเทรนด์จากการที่สิ่งๆนั้นมีคนเข้ามาสนใจจากหลายๆการแสดงออกเช่น คนเข้ามา check-in ร้านอาหารนั้นๆมากสุด, มาเขียนรีวิวมากสุด, มากด love มากสุด สิ่งนั้นจะขึ้นเป็นเทรนด์ทันที หากคุณสนใจจะหาร้านอาหารญี่ปุ่นซักร้านคืนนี้ เข้ามาที่ iamtrend.com ภายใน 30 วินาทีคุณจะพบร้านอาหารที่เป็นที่นิยมที่สุดจากการที่เครือข่ายของคุณชอบและให้ความเห็นไว้แล้วมากมาย เราทำให้ชีวิตคุณง่ายและสะดวกที่สุด ที่นี่ยังเป็นที่ที่คุณจะมาแชร์สิ่งที่คุณรักและสนใจ ถ้าคุณมีร้านกาแฟในดวงใจ แชร์ร้านนั้น,สร้างให้ร้านนั้นเป็นเทรนด์และสร้างตัวคุณให้เป็นผู้นำเทรนด์ คุณจะได้พบคนที่ชอบสิ่งเดียวกันกับคุณด้วย นี่คือช่องทางที่เยี่ยมสุดๆในการพบสิ่งใหม่ๆที่คุณรักกับคนใหม่ๆที่หลงรักสิ่งเดียวกับคุณ

i.am.trend คือที่ที่คุณจะได้อัพเดทสิ่งที่คุณรักได้อย่างสมบูรณ์แบบ ติดตามคนที่สนใจเรื่องเดียวกับคุณและสนุกไปกับการค้นพบสิ่งที่คุณรักซึ่งจะเป็นอะไรก็ได้ที่คุณสนใจเช่น อาหาร, เพลง, หนัง, รูปภาพ, แฟชั่น, กีฬาและอีกมากมาย เรื่องที่ทุกคนชอบได้ถูกรวมไว้ให้คุณค้นหาได้อย่างง่ายที่สุด

อาจจะมีคำถามว่าเราต่างจากเว๊บไซต์ social media อื่นๆเช่น facebook, twitter, Google+ และ foursquare อย่างไร เว๊บไซต์ที่ว่าเหล่านั้นก็มีการแชร์ข้อมูลในลักษณะเดียวกันเพียงแต่ที่ iamtrend.com นั้น ทุกอย่างที่เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ของคนจะถูกรวมไว้ทั้งหมด คุณจะสามารถเข้ามาค้นพบสิ่งที่คุณรักไม่ว่าจะเป็นเพลง, หนัง, แฟชั่น, คลิปวิดีโอได้ตลอดเวลา เราสร้างเว๊บไซต์ให้คุณสามารถแชร์ข้อมูลไปบนเว๊บไซต์อื่นๆได้เพียงแต่การแชร์, โพสท์ข้อมูลกับเราจะสามารถสร้างเทรนด์ให้เกิดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, ให้คุณได้รางวัลจากกิจกรรมสนุกๆ, และที่สำคัญจะเชื่อมคุณกับคนอื่นๆที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกับคุณ

ทำไมคุณถึงอยากใช้ i.am.trend

เราทำให้การแชร์สนุกมากขึ้น, คุณสามารถได้สติ๊กเกอร์หลายแบบจากการเขียนรีวิว, สะสมสติ๊กเกอร์จากการทำภารกิจสนุกๆเสร็จสิ้นพร้อมรับรางวัลมากมาย นอกเหนือไปจากความสนุกที่คุณได้รับอยู่แล้วจากการค้นพบสิ่งที่ตัวคุณอยากค้นหา

มาร่วมสนุกกับการรู้จักคนใหม่ที่รักและสนใจในเรื่องเดียวกับคุณ, ติดตามแบรนด์หรือคนดังที่คุณชื่นชอบ, ไม่มีตกเทรนด์ในสิ่งที่คุณรักหรือเรื่องใดๆก็ตามและในที่สุดประกาศตัวเองขึ้นเป็นผู้นำเทรนด์

View :1912

เอชพี สนับสนุนองค์กรธุรกิจและผู้ให้บริการต่างๆ ยกระดับการทำงานสู่ระบบคลาวด์

December 6th, 2011 No comments

รุกพัฒนาการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ การจัดสรรทรัพยากร การรักษาความปลอดภัย และการเรียนรู้ให้ทันสมัยและล้ำยุค

เอชพีเปิดตัวโซลูชั่นคลาวด์ใหม่ เดินหน้าพัฒนาการใช้เทคโนโลยีคลาวด์แบบส่วนตัว สาธารณะ และไฮบริดให้ล้ำสมัย สนับสนุนให้องค์กรธุรกิจ ผู้ให้บริการ และหน่วยงานภาครัฐมีลู่ทางใหม่ๆ ในการดำเนินงานในตลาดเกิดใหม่ได้มากขึ้น

จากความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เอชพีจึงเดินหน้าพัฒนาแนวทางการดำเนินงานแบบไฮบริดที่ง่ายดายและไม่ซับซ้อน เพื่อให้ลูกค้านำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด โดยผนวกรวมบริการไอทีทั้งจากภายในองค์กรและที่ให้บริการโดยหน่วยงานภายนอกเข้าไว้ด้วยกัน ลูกค้าจึงสามารถเลือกแนวทางการให้บริการที่ดีและเหมาะสมที่สุด ตรงตามเวลาในการวางตลาดสินค้ามากที่สุด มีความพร้อมในการใช้งานสูงสุด และมีต้นทุนที่ประหยัดสุด อย่างไรก็ตาม ความกังวลด้านความปลอดภัยและการขาดทักษะภายในองค์กรยังคงเป็นประเด็นที่ท้าทายองค์กรต่างๆ ในการพัฒนาเพื่อก้าวสู่ระบบคลาวด์

ผู้ให้บริการต่างยอมรับว่า แนวทางการให้บริการแบบไฮบริดต้องใช้โมเดลการทำธุรกิจแบบคลาวด์ใหม่ที่สนับสนุนลูกค้าของตนนำเทคโนโลยีไปใช้งานและเป็นตัวแทนให้บริการได้หลากหลายทาง ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องมีพันธมิตรทางเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนผู้ให้บริการให้สามารถขยายลู่ทางการทำธุรกิจในตลาดดังกล่าวได้มากขึ้น

โซลูชั่นเอชพี คลาวด์ พัฒนาจากระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบผนวกของเอชพี (HP Converged Infrastructure) โดยประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บริการ และโปรแกรมต่างๆ เพื่อช่วยผู้ให้บริการ องค์กรธุรกิจ และภาครัฐให้สามารถให้บริการไอที (IT as a service) ได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย

คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ และผู้อำนวยการ โกลบอล เซลส์ และการตลาดเอ็นเทอร์ไพรส์ เอชพี ประเทศไทย กล่าวว่า “ลูกค้าจำเป็นต้องเข้าใจ วางแผน สร้าง และสรรหาทรัพยากรสำหรับระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง ในแนวทางที่ทำให้ตนทำงานได้อย่างคล่องตัว มีความเสี่ยงลดลง สามารถควบคุมการดำเนินงาน และมีความปลอดภัยมากขึ้น ทั้งนี้ โซลูชั่นใหม่จากเอชพีดังกล่าว คือผลพวงจากประสบการณ์อันยาวนานของเอชพีในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีล้ำสมัย พร้อมทั้งให้บริการและสนับสนุนทักษะอันโดดเด่นสำหรับนำไปใช้ขับเคลื่อนองค์กรต่างๆ เพื่อก้าวเข้าสู่ระบบคลาวด์อย่างเต็มรูปแบบ”

โซลูชั่นใหม่ของเอชพีตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์คลาวด์ต่างๆ การให้บริการคลาวด์จากภาครัฐ ตลอดจนการบริหารจัดการ กำกับดูแล และรักษาความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบคลาวด์ทั้งหมด

สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริด

สำหรับองค์กรต่างๆ ที่ต้องการแนวทางการให้บริการที่มีความคล่องตัว การพัฒนา ใช้งาน และบริหารจัดการบริการไอทีให้มีความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ส่วนตัวและสาธารณะรวมทั้งบนระบบการให้บริการไอทีแบบเดิมเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก ดังนั้น เอชพีจึงเดินหน้าพัฒนาระบบคลาวด์อย่างไม่หยุดยั้ง โดยผนึกกำลังกับพันธมิตรใหม่ๆ เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ โซลูชั่น และบริการต่างๆ ดังนี้

· บริการ HP CloudSystem integrations ซึ่งพัฒนาร่วมกับอัลคาเทล-ลูเซ่น เพื่อให้ผู้ให้บริการด้านสื่อสารสามารถให้บริการระบบคลาวด์ที่มีประสิทธิภาพสูง โดยใช้ระบบไอทีและเครือข่ายระดับองค์กร ทั้งนี้ การผนวกรวมระบบโครงสร้างพื้นฐานไอที ซอฟต์แวร์ และเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมเข้าไว้ด้วยกันทำให้ผู้ให้บริการด้านสื่อสารสามารถจัดการและสนับสนุนทรัพยากรคลาวด์บนเครือข่ายที่มีเสถียรภาพสูงได้โดยอัตโนมัติ

· โครงการ HP CloudAgile Service Provider Program สนับสนุนผู้ให้บริการให้สามารถเข้าถึงการขายได้มากขึ้น มีพอร์ทโฟลิโอบริการต่างๆ เพิ่มขึ้น และมีวงจรการขายที่รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยผู้ให้บริการสามารถเข้าถึงสำนักงานขายระดับโลกของเอชพีได้โดยตรง นอกจากนี้ เอชพียังผนึกกำลังกับพันธมิตรในภูมิภาคยุโรปเป็นครั้งแรกเพื่อขยายโครงการนี้ ทั้งยังมีบริการโฮสติ้งใหม่ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ได้รับการรับรองใหม่ล่าสุด เพื่อสนับสนุนผู้ให้บริการในการให้บริการคลาวด์แบบส่วนตัวที่พัฒนาจากโซลูชั่น HP CloudSystem ได้อย่างปลอดภัยและมีเสถียรภาพ

· โซลูชั่น HP CloudSystem Matrix 7.0 ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมปฏิบัติการหลักที่เสริมสร้างพลังให้แก่โซลูชั่น HP CloudSystem ทำให้ลูกค้าสามารถสร้างระบบคลาวด์แบบไฮบริดได้อย่างง่ายๆ ด้วยการใช้ฟังก์ชั่นแบบ push-button เพื่อเข้าใช้ทรัพยากรไอทีบนระบบคลาวด์จากภายนอกองค์กร โดยใช้เทคโนโลยี ‘bursting capability’ ใหม่และเป็นรายแรกในอุตสาหกรรมไอที นอกจากนี้ โซลูชั่น HP CloudSystem Matrix 7.0 ยังสนับสนุนระบบจัดเก็บข้อมูล HP 3PAR storage ซึ่งเป็นระบบออนดีมานด์แบบอัตโนมัติที่ช่วยลดข้อผิดพลาดและเร่งรัดการใช้บริการใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่นาที

· โปรแกรม HP Cloud Protection แบบครบวงจร ครอบคลุมทั้งการดูแลคุ้มครองผู้ใช้งาน กระบวนการทำงาน นโยบาย และเทคโนโลยีเพื่อรักษาความปลอดภัยให้แก่ระบบคลาวด์แบบไฮบริดในระดับเดียวกับระบบไอทีที่ใช้ในองค์กร นอกจากนี้ เพื่อแก้ไขอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดขององค์กรที่ต้องการปรับเปลี่ยนสู่สภาพแวดล้อมแบบคลาวด์ โปรแกรมใหม่ดังกล่าวนี้จึงนำเสนอบริการวางกลยุทธ์แบบครบวงจร การจัดทำโรดแม็ป การออกแบบและการดำเนินการที่พัฒนาต่อยอดจากระบบสถาปัตยกรรมแบบอ้างอิงร่วมกัน และด้วยการสนับสนุนจากศูนย์ Cloud Protection Center of Excellence ส่งผลให้ลูกค้าสามารถดำเนินการทดสอบโซลูชั่นและผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนการปกป้องการก้าวสู่ระบบคลาวด์และเวอร์ช่วลไลเซชั่นของเอชพี พันธมิตร และกลุ่มอื่นๆ ได้อีกด้วย

เลือกสรรบริการคลาวด์ระดับองค์กร

องค์กรต่างๆ ต้องการแหล่งให้บริการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ที่รวดเร็วและปลอดภัย ทั้งยังมีความยืดหยุ่นในการตอบสนองความต้องการเร่งด่วนได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ดังนั้น เอชพีจึงพัฒนานวัตกรรมบริการสุดล้ำต่างๆ ที่สนับสนุนระบบโครงสร้างพื้นฐานของคลาวด์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าว ดังนี้

· โซลูชั่น HP Enterprise Cloud Services – Compute สนับสนุนการกระจายปริมาณงานที่ใช้แอพพลิเคชั่นบนเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ โดยอัตโนมัติ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของแอพพลิเคชั่นต่างๆ ส่งผลให้ลูกค้าสามารถปรับปรุงวิธีการรักษาข้อมูลให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นโดยใช้ระบบการสำรองและจัดเก็บข้อมูลซ้ำซึ่งเป็นออปชั่นใหม่ให้เลือกใช้ พร้อมทั้งติดตั้งและบริหารเครือข่ายแลนแบบเวอร์ช่วลภายในสภาพแวดล้อมคลาวด์ นอกจากนี้ เอชพียังจัดทำโปรแกรม HP proof-of-concept ใหม่ เพื่อให้ลูกค้านำไปใช้ประเมินสมรรถนะของบริการใหม่ของเอชพีดังกล่าวว่าสามารถรองรับปริมาณงานที่มีอยู่เดิมได้มากน้อยเพียงไรก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ

· โซลูชั่น HP Enterprise Cloud Services for SAP Development and Sandbox ช่วยลูกค้าประเมินและพัฒนารูปแบบการทำงานของซอฟต์แวร์ SAP Enterprise Resource Planning บนระบบคลาวด์ส่วนตัวแบบเวอร์ช่วล โดยใช้ระบบประเมินที่มีความยืดหยุ่นสูงและอ้างอิงจากปริมาณการใช้งาน

ก้าวสู่โลกแห่งเทคโนโลยีคลาวด์ – ขจัดปัญหาการขาดแคลนทักษะในการทำงานบนระบบคลาวด์

ลูกค้าสามารถนำคำแนะนำของเอชพีและข้อมูลจากการฝึกอบรมที่จัดโดยเอชพีมาใช้ยกระดับระบบศูนย์ข้อมูลแบบเดิมของตนให้รองรับระบบประมวลผลแบบคลาวด์ พร้อมทั้งพัฒนาทักษะภายในองค์กรของตนให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น เอชพีมีบริการใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าวได้อย่างดีเยี่ยม ดังนี้

· บริการออกใบรับรอง HP ExpertONE เพื่อออกใบรับรองให้แก่ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ได้แก่ การออกใบรับรอง HP ASE Cloud Architectการออกใบรับรอง HP ASE Cloud Integrator และการออกใบรับรอง HP ASE Master Cloud Integrator โดยเป็นระบบการออกใบรับรองแบบคลาวด์ครั้งแรกสำหรับภาคธุรกิจและฝ่ายเทคนิคต่างๆ

· ขยายโปรแกรม HP ExpertONE ด้วยบริการจัดฝึกอบรมใหม่ โดยสถาบันฝึกอบรมเพื่อการพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่สุดในวงการไอทีและมีการทำงานเป็นอิสระรวม 5 แห่งซึ่งเปิดฝึกอบรมให้ความรู้ในหลักสูตรต่างๆ ภายใต้โปรแกรม HP learning solutions ทุกที่ทั่วโลก นอกจากนี้ เอชพียังจัดตั้งโครงการ HP Institute ที่มุ่งเน้นสนับสนุนการเรียนการสอนด้านวิชาการเพื่อพัฒนาผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับใบอนุญาตจากเอชพี โดยมีรูปแบบการเรียนการสอนภายในห้องเรียนเป็นระยะเวลา 2 ปี และ 4 ปี และระบบ HP Press ที่เดินหน้าขยายระบบการเรียนการสอนด้วยตนเองในหลากหลายรูปแบบสำหรับลูกค้า

· บริการหลักสูตร HP Cloud Curriculum from HP Education Services จัดฝึกอบรมหลากหลายหลักสูตรในหลากหลายภาษา ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับความสำเร็จของกลยุทธ์ระบบคลาวด์ที่ทำให้องค์กรต่างๆ มีความสะดวกและคล่องตัวมากขึ้น และมีต้นทุนลดลง โดยมีหลักสูตรการเรียนการสอนให้เลือกมากมาย อาทิ ระบบการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่น มีห้องปฏิบัติการออนไลน์แบบเวอร์ช่วล มีระบบการศึกษาด้วยตนเอง ระบบการศึกษาในห้องเรียน ระบบการศึกษาในห้องเรียนแบบเสมือนหรือเวอร์ช่วล และระบบการเรียนการสอน ณ สถานที่ทำการ ซึ่งทั้งหมดนี้เปิดให้บริการ ณ ศูนย์การศึกษาของเอชพี (HP Education Center) รวมกว่า 90 แห่งทั่วโลก

· บริการจัดประชุม HP Chief Financial Officer (CFO) Cloud Roundtables ภายใต้การสนับสนุนจากฝ่าย HP Financial Services เพื่อสนับสนุนประธานด้านการเงินให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณประโยชน์และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับระบบคลาวด์ ตลอดจนแนวทางการปรับเทคโนโลยีและโรดแม็ปการเงินขององค์กรให้สอดรับกับระบบคลาวด์

· บริการ HP Storage Consulting Services for Cloud ให้คำปรึกษาด้านการจัดเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์ เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจถึงความต้องการในการจัดเก็บข้อมูลภายในองค์กรของตนสำหรับนำไปใช้ในการประมวลผลบนระบบคลาวด์ส่วนตัว และนำข้อมูลความต้องการดังกล่าวมาวางระบบสถาปัตยกรรมตรงตามความต้องการ

· บริการ HP Cloud Applications Services for Windows Azure สนับสนุนการพัฒนาและย้ายแอพพลิเคชั่นต่างๆ สู่บริการแพลทฟอร์ม Microsoft Windows® Azure ได้อย่างรวดเร็ว

ในโลกที่มีการเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบผนวกของเอชพี (HP Converged Infrastructure) คือ องค์ประกอบสำคัญขององค์กรแบบ Instant-On Enterprise ทั้งนี้ แนวคิดแบบ Instant-On Enterprise คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในทุกกิจกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า พนักงาน พันธมิตร และประชาชนได้อย่างตรงจุดและโดยทันที

View :1549

“ไอเน็ต”เล็งถูกจุดเตรียมแผน BCP ล่วงหน้าให้ลูกค้าทันรับน้ำท่วม

December 6th, 2011 No comments

บริษัท จำกัด(มหาชน) หรือไอเน็ต เล็งเห็นถึงความสำคัญของแผนการสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan) นับตั้งแต่เกิดเหตุความไม่สงบในปี 2553 จึงได้มีการวางแผนและเตรียมความพร้อมมาอย่างต่อเนื่อง ทันทีที่เกิดวิกฤตการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย ไอเน็ตจึงได้จัดตั้งโครงการ “ไอเน็ตเตรียมพร้อมรองรับภัยพิบัติ ตลอด 24 ชั่วโมง” พร้อมมาตรการเพิ่มศักยภาพระบบสำรองไฟฟ้าในศูนย์ IDC ทั้ง 2 ศูนย์หากเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ระบบสำรองไฟ้ฟ้าสามารถใช้งานติดต่อยาวนานถึง 7 วัน ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรับมือและช่วยเหลือลูกค้าให้สามารถดำเนินกิจการและธุรกิจได้ต่อไป โดยไอเน็ตได้ปฏิบัติการช่วยเหลือลูกค้าอย่างต่อเนื่องกว่า 999 ชั่วโมง

ดร.ไพโรจน์ ศุภมงคล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า “ในช่วงภาวะวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นหลายครั้งไอเน็ตได้เห็นความสำคัญของธุรกิจลูกค้ามากที่สุด เพราะลูกค้าของเราเป็นองค์กรทั่วประเทศ และส่วนใหญ่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคกลาง รวมถึงหน่วยงานราชการที่สำคัญต่างๆ ที่จะต้องมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง และในมหาอุทกภัยครั้งนี้เราจึงเตรียมมาตรการเชิงรุกเพื่อรองรับและเข้าช่วยเหลือลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2554 เป็นเวลากว่า 999 ชั่วโมงที่ไอเน็ตมุ่งหน้าเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมเพื่อให้ลูกค้าของเราที่ได้รับผลกระทบยังคงทำงานได้อย่างไม่มีสะดุด”

“ไอเน็ตได้จัดตั้งทีมงานดูแลลูกค้าเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกจะสอบถามปัญหาและแก้ไขปัญหาเครือข่าย ระบบให้กับลูกค้าสำหรับอีกกลุ่มเป็นหน่วยเคลื่อนที่ออกช่วยเหลือลูกค้าในพื้นที่ประสบภัย อำนวยความสะดวกในการขนย้ายอุปกรณ์ และซ่อมระบบ รวมถึงเคลื่อนย้ายระบบจากพื้นที่น้ำท่วม ซึ่งตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ครั้งนี้ขึ้น เรามีลูกค้าที่เข้ามาใช้พื้นที่ DR Site กว่า 200 ที่นั่ง และลูกค้าที่ย้ายมาใช้บริการ Co-Location ของเรามากกว่า 10 ราย ” ดร.ไพโรจน์กล่าว
ดร.ไพโรจน์กล่าวเสริมว่า “นอกจากการทำแผนรองรับภัยพิบัติในครั้งนี้แล้ว ไอเน็ตยังคงคำนึงถึงการช่วยเหลือสังคมในยามวิกฤติ ซึ่งเราได้ร่วมกับทางสวทช.ในการอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือคนหูหนวกที่ประสบอุทกภัยหรือ TTRS-R ที่ไอเน็ตสำนักงานใหญ่ เพื่อเป็นการส่งเสริมและให้บริการคนหูหนวกและกลุ่มคนที่บกพร่องทางการพูดที่ประสบภัยในด้านการสื่อสารและขอความช่วยเหลือได้ดียิ่งขึ้น และไอเน็ตยังจัดตั้งโครงการ Thai.com รวมน้ำใจจ้างงานยามวิกฤติ เพื่อเป็นศูนย์กลางประกาศรับสมัครและฝากประวัติสำหรับผู้ว่างงานที่ประสบภัยทั่วประเทศ ภายใต้ชื่อ www.Thai.com ซึ่งเรายังเตรียมแผนพัฒนาและเปิดตัวเว็บไซต์อย่างเป็นทางการต่อไป”

นอกจากนี้ยังมีเสียงตอบรับจากลูกค้าที่มาใช้บริการ DR Site ในช่วงภัยพิบัติ “ศูนย์ DR Site ของไอเน็ตทำให้ธุรกิจของเราไม่สะดุด สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติในเวลารวดเร็ว และยังให้บริการได้อย่างสมบูรณ์ พร้อมทีมงานที่เป็นมิตรในการต้อนรับตลอดช่วงเวลาที่เราใช้บริการ” ตัวแทนลูกค้าสายธุรกิจที่เข้ามาใช้บริการ DR Site ของไอเน็ตกล่าว

“ศูนย์ช่วยเหลือคนหูหนวกที่ประสบอุทกภัย (TTRS – R) มีสำนักงานตั้งอยูที่มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ถ.อรุณอมรินทร์ ได้รับผลกระทบน้ำท่วมสูงประมาณ 1.50 เมตร เจ้าหน้าที่เดินทางเข้าไปปฏิบัติงานไม่สะดวก จึงได้ประสานกับทางไอเน็ตขอพื้นที่จัดตั้งศูนย์ TTRS – R ชั่วคราวขึ้นที่ไอเน็ตสำนักงานใหญ่ โดยได้รับความช่วยเหลือและบริการเป็นอย่างดี ทำให้ศูนย์สามารถกลับมาทำงานได้ในเวลาอันรวดเร็วและต่อเนื่อง ถือเป็นการช่วยเหลือสังคมในช่วงวิกฤติที่ดี” ดร.วันทนีย์ พันธชาติ หัวหน้าศูนย์ TTRS กล่าว

จากเสียงตอบรับของลูกค้าข้างต้น ไอเน็ตได้ยึดมั่นการดูแลธุรกิจของลูกค้าและคอยให้บริการอย่างดีที่สุด แม้สถานการณ์น้ำท่วมจะคลี่คลายลง แต่ไอเน็ตคงยังเฝ้าระวังเตรียมความพร้อมรองรับเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในการใช้บริการกับไอเน็ตอย่างต่อเนื่อง

View :2535

ดัชนีของ เมืองต่างๆที่มีความพร้อมทางด้าน ICT เพื่อชีวิตของพลเมืองที่ดีขึ้น (networked society index)

December 3rd, 2011 No comments

บริษัทอีริคสันและอาร์เธอร์ ดี. ลิตเติลจัดอันดับเมืองที่มีสังคมแบบเครือข่ายและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือ ICT เพื่อประโยชน์ของพลเมืองของเมืองนั้นๆ

สามเมืองแรกที่ได้รับอันดับสูงสุด ได้แก่กรุงโซล สิงคโปร์และลอนดอน ซึ่งต่างก็ได้สะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของสังคมแบบเครือข่ายโดยรวม (networked society)

เมืองที่อยู่ในสิบอันดับแรกที่เหลือคือ สตอกโฮล์ม นิวยอร์ก ปารีส ลอส แองเจลิส โตเกียว เซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง

โปรแกรมประยุกต์ต่างๆที่ใช้ระบบ ICT เช่นรัฐบาลอีเล็กทรอนิกส์ (e-government) และการขนส่งอัจฉริยะนั้นสามารถทำให้ชีวิตของพลเมืองดีขึ้น ช่วยให้สามารถลดปัญหาต่างๆที่มีเหมือนกันในสภาวะแวดล้อมแบบเมืองใหญ่ได้

การทำดัชนีเมืองที่มีสังคมแบบเครือข่ายของบริษัทอีริคสันในฉบับที่สองนี้ได้จัดอันดับเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก 25 อันดับตามความสามารถของเมืองในการเปลี่ยนแปลง ICT เพื่อประโยชน์ทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

เมืองที่อันดับสูงที่สุดสามเมืองแรก ซึ่งคือกรุงโซล สิงคโปร์และลอนดอนสามารถตอบสนองเป้าหมายด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมหลายเรื่องได้อย่างประสบความสำเร็จโดยการลงทุนในระบบ ICT อย่างกว้างขวางครอบคลุม ตัวอย่างเช่น สิงคโปร์กำลังผลักดันนวัตกรรมด้านการบริการสาธารณสุขอิเล็กทรอนิกส์ (e-health) อย่างแข็งขันและเป็นผู้บุกเบิกด้านการบริหารจัดการความคับคั่งของการจราจร ในขณะเดียวกัน โซลก็ได้ใช้ ICT จัดทำการริเริ่มด้านเทคโนโลยีขั้นสูงในการทำให้ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมเป็นจริงได้จำนวนมาก

การศึกษายังได้แสดงว่าเมืองหลายเมืองในกลุ่มประเทศ BRIC (ซึ่งประกอบด้วยประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน) เช่น เซา เปาโลและเดลีมีการริเริ่มที่มีความหวังหลายโครงการเพื่อปิดช่องว่างทางเศรษฐกิจสังคมอย่างรวดเร็วโดยผ่านการทำข้อตกลงด้าน ICT ที่มีผู้มีส่วนได้เสียหลายราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เซา เปาโลได้รับรางวัลในระดับประเทศและระหว่างประเทศหลายรางวัลสำหรับโครงการที่สนับสนุนชุมชนหรือสังคม (e-inclusions) การริเริ่มเหล่านี้ได้เน้นการรับรู้ความต้องการในการปรับปรุงความสามารถในการใช้งานระบบ ICT ที่ดียิ่งขึ้นและบทบาทหลักที่ ICT สามารถทำให้เกิดการพัฒนามากขึ้น

ในเมืองกรุงเดลี มีการริเริ่มที่ดีในหลายโครงการโดยมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากระบบ ICT เพื่อประโยชน์สูงสุดของพลเรือน ตัวอย่างที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งของโครงการที่มีผู้ได้ผลประโยชน์จำนวนมาก คือ เอกโก (Eko) ซึ่งทำให้สามารถทำธุรกรรมทางการเงินที่มีมูลค่าต่ำโดยใช้โทรศัพท์มือถือหรือร้านค้าปลีกได้ โครงการเอกโกนั้นให้บริการกับลูกค้ามากกว่า 1.3 ล้านคนและได้ดำเนินการวงเงิน 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐด้านการฝากเงิน การชำระเงินและการส่งเงินขั้นต่ำ ในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเดลี ชาวเมืองจะได้รับประโยชน์จากการได้รับการเข้าถึงบริการทางการเงินพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น โดยการใช้บริการเหล่านี้ในการดำเนินกิจกรรมการประกอบธุรกิจและรับการชำระเงินสำหรับงานของพวกเขาทำ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีต่อพลเมืองหนึ่งคนที่เพิ่มขึ้นมักจะเทียบเท่ากับการบริโภคที่เพิ่มขึ้น และดังนั้นจึงทำให้ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น เช่น อันเนื่องมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากขึ้น ส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของดัชนีนี้จะระบุวิธีการที่สามารถใช้ ICT เพื่อแบ่งการเติบโตของจีดีพีและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากกัน เช่น เมืองที่มีจีดีพีสูงสามารถใช้ ICT ในการลดการบริโภคของเมือง ตัวอย่างเช่น ด้วยการเดินทางไปมาที่ชาญฉลาด หรือวิธีการที่เมืองใหญ่ในประเทศหรือเมืองที่กำลังพัฒนาสามารถเลือกเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยการได้รับบริการประเภทเดียวกัน แต่โดยทางเสมือน ที่ตรงกันข้ามกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นจริง

“การวิเคราะห์ทัศนคติของพลเรือนแต่ละบุคคลเป็นเรื่องที่สำคัญมาก” แพทริค เรการ์ดห (Patrik Regårdh) แห่ง Networked Society Lab ของบริษัทอีริคสันกล่าว “เมืองที่ประสบความสำเร็จต่างๆ สามารถดึงดูดความคิด เงินทุนและบุคคลที่มีความสามารถได้อย่างยอดเยี่ยม การดึงดูดเชิงบวกดังกล่าวจำเป็นต้องมีความก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนภายในบริบทด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม”

การศึกษาใหม่จะดูที่ประโยชน์ต่างๆที่ ICT สามารถทำได้ในเมืองต่างๆ ในเรื่องต่างๆ เช่น การสาธารณสุข การศึกษา เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและความมีประสิทธิภาพ ตลอดจนปฏิกิริยาโต้ตอบของพลเรือนต่อ ICT

“เมื่อผู้คนได้รับความต้องการขั้นพื้นฐานที่พวกเขาต้องการอย่างมากแล้ว ความสนใจจะเปลี่ยนไป เช่นไปเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตที่สมดุล สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมที่อุดมสมบูรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งและการติดต่อทางธุรกิจที่ดี สุขภาพที่ดีในบั้นปลายของชีวิต การพึงพอใจในชีวิต อาทิ ในแง่ของการมีการศึกษาสูงขึ้นและสภาพแวดล้อมที่สะอาดทั่วทั้งเมือง” อีริค อัลมวิสต์ (Erik Almqvist) ผู้อำนวยการแห่งอาร์เธอร์ ดี. ลิตเติล กล่าว “ICT มีศักยภาพในการปรับปรุงคุณภาพของชีวิตในหลายสาขาเหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้น และความสามารถในการเชื่อมโยงระบบในทุกที่ทุกเวลาจะได้รับการถือว่าเป็นสิทธิของพลเรือนขั้นพื้นฐานเพิ่มมากขึ้น”

ดัชนีเมืองที่มีสังคมแบบเครือข่ายเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้บรรดาเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของเมืองและบรรดาผู้ตัดสินใจตรวจสอบตำแหน่งและความก้าวหน้าของเมืองตามเส้นโค้งการพัฒนา-ICT ควรใช้ดัชนีนี้เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการสนทนาแบบเปิด แทนที่จะเป็นคำชี้ขาดของวิธีการที่เมืองต่างๆสามารถทำให้เกิดความสมดุลกับมุมมองทั้งสามด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของเมืองก้าวหน้าได้อย่างไร

View :1458

ก.ไอซีที จับมือ 3 หน่วยงานร่วมพัฒนาศักยภาพการแข่งขันซอฟต์แวร์ไทย

December 3rd, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ “การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันซอฟต์แวร์ไทยสำหรับองค์กรขนาดเล็กสู่มาตรฐานระดับโลก ISO/IEC 29110” ว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ร่วมกับ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า และมูลนิธิสถาบันเพื่อพัฒนานวัตกรรม (ไอเอฟ) จัดทำบันทึกความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันซอฟต์แวร์ไทย สำหรับองค์กรขนาดเล็กสู่มาตรฐานระดับโลก ISO/IEC 29110 ขึ้น เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันและก้าวสู่ระดับสากล

“การลงนามฯ ในครั้งนี้ ถือเป็นภารกิจสำคัญของกระทรวงฯ ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้เจริญเติบโตอย่างมีศักยภาพ ตลอดจนสามารถยกระดับอุตสาหกรรมให้ทัดเทียมกับระดับสากลได้ ซึ่งมาตรฐาน ISO/IEC 29110 นี้ใช้ในการรับรองกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่มีความเหมาะสมกับทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดเล็ก (Very Small Entities – VSE) จำนวนไม่เกิน 25 คน จึงเป็นมาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับบริษัทซอฟต์แวร์ไทย เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีพนักงานโดยเฉลี่ยบริษัทละประมาณ 20 คน ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวมีความพร้อมใช้แล้ว และประเทศไทยก็มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งสร้างความได้เปรียบแก่องค์กรขนาดเล็กให้แข่งขันได้ในระดับสากล โดยแบ่งโครงสร้างการสนับสนุนออกเป็น 2 ส่วน คือ ภาครัฐ และ ภาคเอกชน ซึ่งภาครัฐจะขับเคลื่อนในด้านการกำหนดเป็นเงื่อนไขในการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้ได้มาซึ่งซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 29110 ส่วนภาคเอกชนจะปรับตัวและกระบวนการตามความต้องการของภาครัฐในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างซอฟต์แวร์ และก่อให้เกิดกระบวนการในการ Outsourcing ต่อไป การเกื้อหนุนซึ่งกันและกันระหว่างภาครัฐและเอกชนย่อมก่อให้เกิดการพัฒนาในกระบวนการของภาคเอกชน ให้พัฒนาตามกรอบมาตรฐานที่ภาครัฐกำหนด และนำไปสู่การยกระดับอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต

สำหรับภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามกรอบความร่วมมือนี้ ก็คือ การให้การ สนับสนุนการสร้างและพัฒนามาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ISO/IEC 29110 เพื่อให้เป็นเกณฑ์เบื้องต้นหนึ่งในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ และเผยแพร่ความสำคัญของมาตรฐานแก่ผู้ประกอบการและประชาชน การประชาสัมพันธ์ จัดหา และสนับสนุนผู้ประกอบการเพื่อเข้ากระบวนการประเมินและการรับรอง (Certification) การสนับสนุนในการจัดสัมมนาด้านมาตรฐาน (ISO/IEC 29110 International Forum) เพื่อสร้างเครือข่ายและความเข้าใจอันดีร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการ ภาครัฐ นักวิชาการและสถาบันการศึกษาต่างๆ การสนับสนุนบริการทางด้านข้อมูลการส่งเสริมการประยุกต์ใช้ (ISO/IEC 29110 Supporting Data Center) ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมการประยุกต์ใช้มาตรฐานแก่ผู้ประกอบการและเป็นแหล่งที่รวบรวมบันทึกฐานข้อมูลของผู้ประกอบการและบุคลากรที่เกี่ยวข้องหรือผ่านกระบวนการประเมินและฝึกอบรม ISO/IEC 29110 ตลอดจนสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการตรวจประเมินและรับรองมาตรฐาน การฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในมาตรฐาน ISO/IEC 29110 สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างและตรวจรับโครงการด้านการจัดหาและพัฒนาซอฟต์แวร์ของภาครัฐ

ขณะที่ นางสาวนิรชราภา ทองธรรมชาติ รักษาการผู้อำนวยการซิป้า กล่าวว่า การพัฒนามาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์จะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์โดยรวมของประเทศ กล่าวคือ ผู้ประกอบการขนาดเล็กก็จะมีช่องทางสร้างการเติบโตและสร้างโอกาสในการแข่งขัน ขณะเดียวกันภาคการศึกษาก็จะมีแนวทางการผลิตบุคลากรที่มีประสิทธิภาพตรงกับความต้องการของตลาด และสามารถแข่งขันต่อยอดในระดับสากล ประเทศไทยก็จะกลายเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่และสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านคุณภาพมาตรฐาน เพื่อที่จะเป็นใบเบิกทางในการแข่งขันในระดับสากล โดยเฉพาะมาตรฐานใหม่หรือ ISO/IEC 29110 Very Small Entity Model ดังนั้น ซิป้า จึงได้ร่วมมือกับภาคเอกชนพัฒนาและผลักดันให้มีการนำไปใช้ ซึ่งจะเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีโอกาสเป็นผู้นำในการพัฒนามาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์ในระดับสากลของ ISO และไทยจะเป็นประเทศแรกที่มีผู้ประกอบการผ่านการรับรองมาตรฐานระดับสากล ISO/IEC 29110 อันจะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นในการเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย

ด้าน นายชัยยง กฤตผลชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวว่า ในการพัฒนาศักยภาพซอฟต์แวร์ภายในประเทศ จำเป็นต้องบูรณาการความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน โดยเริ่มตั้งแต่การให้ความรู้เรื่องมาตรฐาน ISO/IEC 29110 การสนับสนุนส่งเสริม และประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่เกี่ยวข้องให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม ทั้งผู้ประกอบการ ภาครัฐ นักวิชาการ สถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อสร้างแนวร่วมในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมให้แข่งขันได้ในตลาดโลก

โดยที่ผ่านมา สมอ. ได้ให้การสนับสนุนในการส่งผู้แทนจากประเทศไทยให้ไปมีบทบาทเป็นผู้นำและผลักดันการร่างมาตรฐาน ISO/IEC 29110 มาตั้งแต่ต้น และพร้อมประสานความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมให้มีหน่วยงานตรวจสอบและรับรองมาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์ภายในประเทศ ให้มีขีดความสามารถในการตรวจประเมินและรับรองซึ่งเป็นที่ยอมรับ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพซอฟต์แวร์ของไทย

นายอนุกูล แต้มประเสริฐ ประธานมูลนิธิสถาบันเพื่อพัฒนานวัตกรรม หรือ ไอเอฟ (The Innovation Foundation) กล่าวว่า “กว่า 10 ปีที่ผ่านมา ภาครัฐและภาคเอกชนของไทยได้ร่วมกันพัฒนาศักยภาพจนสามารถเป็นผู้ยกร่างมาตรฐานสากล และมีบทบาทสำคัญในเวทีมาตรฐานสากลทางด้านซอฟต์แวร์และระบบ เนื่องจากเป็นผู้ริเริ่มและผู้นำทางด้านมาตรฐานการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรขนาดเล็ก ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวได้รับการยอมรับว่าเหมาะสมและควรจะเป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในกว่า 20 ประเทศทั่วโลก โดยมาตรฐานสากลนี้ได้เอื้อประโยชน์ให้ประเทศไทยทั้งในด้านการลดภาวะขาดดุลทางการค้าในการนำเข้าระบบการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่อาจไม่เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย และยังเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายผู้ผลิตซอฟต์แวร์เพื่อการส่งออก อันเป็นความใฝ่ฝันของอุตสาหกรรมไทยในหลายสิบปีที่ผ่านมา”

หลังจากการลงนามฯ ในครั้งนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงไอซีที จะมีการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการตรวจประเมินและรับรองมาตรฐาน ภายใต้การดำเนินงานของสำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อร่วมมือกับ ไอเอฟ และซิป้า ทำหน้าที่ในการฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในมาตรฐาน ISO/IEC 29110 รวมทั้งประเมินผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ โดยที่ผ่านมาได้มีบริษัทต่างๆ ผ่านการประเมินมาตรฐาน ISO/IEC 29110 จาก ไอเอฟ แล้วจำนวน 119 บริษัท จึงถือเป็นอีกมาตรการหนึ่งในการผลักดันสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมไทยในตลาดโลก

View :1355
Categories: Press/Release, Software Tags:

ซีไอโอทั่วโลกฟันธงการวิเคราะห์ข้อมูล คลาวด์คอมพิวติ้ง และอุปกรณ์เคลื่อนที่กุมความสำเร็จของธุรกิจในยุคนี้

December 2nd, 2011 No comments

สถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม () เปิดเผยผลการสำรวจประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ซีไอโอ) กว่า 3,000 คน จากทั่วโลกเพื่อหาปัจจัยเบื้องหลังความสำเร็จของซีไอโอในยุคนี้ โดยซีไอโอกว่าร้อยละ 80 เห็นสอดคล้องกันว่าความเรียบง่ายในการจัดการกับโครงการต่างๆ และการลดความสลับซับซ้อนของกระบวนการการทำงานภายในองค์กรถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด

นางเจษฎา ไกรสิงขร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซอฟต์แวร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “แม้ในยุคดิจิตอลที่สูตรลับความสำเร็จเฉือนกันด้วยข้อมูลที่มีอยู่ แต่เรากลับพบว่าในความจริงเรากลับมีข้อมูลที่ทั้งมากเกินความจำเป็นและสลับซับซ้อนจนเกินไป ข้อมูลเหล่านี้จึงจำเป็นต้องถูกจัดการให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้พนักงาน พันธมิตร และลูกค้าสามารถเข้าถึงและใช้งานได้ง่ายและทันท่วงที

โดยผลการสำรวจได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าซีไอโอกว่าร้อยละ 60 เลือกที่จะนำระบบคลาวด์คอมพิวติ้งมาใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลเพิ่มขึ้นจากเมื่อ 2 ปีก่อนเกือบ 2 เท่า ซีอีโอร้อยละ 75 ยืนยันถึงบทบาทสำคัญของโมบายคอมพิวติ้ง (Mobile Computing) ที่ช่วยให้พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่าย เพิ่มช่องทางในการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ และช่วยให้บริษัทสามารถปรับตัวเข้ากับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และร้อยละ 83 ของซีไอโอได้ชี้ให้เห็นว่าข้อมูลที่ช่วยให้การทำธุรกิจได้อย่างฉลาด (Business Intelligence) และการวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถหาแนวทางในการนำข้อมูลที่เก็บรวบได้ไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจ

แม้ว่าหน้าที่หลักของซีไอโอคือการหาเทคโนโลยีเพื่อเข้ามาช่วยคลายความยุ่งยากในการดำเนินงาน แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือการออกแบบกลยุทธ์ที่ครอบคลุมรองรับกับทิศทางของอนาคตที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งซีไอโอจะต้องทำหน้าที่ได้เทียบเท่ากับซีอีโอ ใน 3 ประเด็น ได้แก่ การเสริมสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลูกค้า การพัฒนาทักษะของบุคลากร และการกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลทางธุรกิจที่มีอยู่ ซีไอโอจึงไม่เพียงแต่สรรหาเทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเท่านั้น แต่ต้องหาเทคโนโลยีที่ช่วยให้บริษัทเติบโต ในท้ายที่สุด ซีไอโอต้องมุ่งเน้นที่การทำให้ทุกอย่างเรียบง่าย ช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานไปได้แต่ยังต้องนำเทคโนโลยีไปสร้างพันธกิจสำคัญอย่างการสร้างธุรกิจใหม่ๆ การขับเคลื่อนความสามารถในการผลิต รวมไปถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อให้เกิดการต่อยอดทางธุรกิจ

ในอนาคตซีไอโอและซีอีโอจะทำหน้าที่ที่คล้ายคลึงกันในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และนำข้อมูลไปใช้งานจริง รวมถึงการรวมศูนย์การทำงาน โดยบริษัทจะเก็บข้อมูลความเชี่ยวชาญในการทำงานของพนักงานและนำพนักงานเหล่านี้มาทำงานร่วมกันในโครงการเดียวกัน รวมถึงโซเชียลมีเดีย (Social Media) และระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) ที่ช่วยเปิดทางให้ธุรกิจต่างๆ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น และสามารถเปลี่ยนลูกค้าให้กลายเป็นพันธมิตรทางธุรกิจได้อีกด้วย และด้วยเซ็นเซอร์ชิ้นเล็กๆ ผนวกกับซอฟต์แวร์ที่ชาญฉลาดจะช่วยระบบซัพพลายเชน คลังสินค้า ให้กลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เราสามารถค้นหาและใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ได้

การทำทุกอย่างให้เรียบง่ายจึงไม่เพียงแต่เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของซีไอโอเท่านั้น แต่ยังเป็นวิธีการสร้างประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตในการทำงาน ข้อมูลทั้งหลายที่มีอยู่จะกลายมาเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่ช่วยหล่อเลี้ยงให้บริษัทต่างๆ ทำธุรกิจได้ประสบความสำเร็จภายใต้ความเรียบง่าย”

View :1393

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เพิ่มขีดขั้นการบริการด้วยเทคโนโลยี Thin Client จากเอชพี

December 2nd, 2011 No comments

และเอชพี ร่วมเดินหน้ามอบประสบการณ์งานบริการเหนือระดับให้แก่ลูกค้า เสริมสร้างความพึงพอใจสูงสุด ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี ในการดำเนินงานของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ทุกสาขาทั่วประเทศอย่างเป็นทางการ

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย บริหารจัดการงบประมาณการดำเนินงานในธุรกิจการบริการด้านการเงินอย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้มีการทำแบบประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงาน และการให้บริการในทุกภาคส่วน ผ่านผลิตภัณฑ์และการบริการที่ได้รับการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นด้วยโครงสร้างด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เกิดความสอดคล้องกับการควบคุมและจัดการต้นทุนการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพในธุรกิจของธนาคาร ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญของต้นทุนการดำเนินงานส่วนหนึ่งนั้นมาจาก ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนคอมพิวเตอร์เดสก์ทอป ค่าซ่อมบำรุงของแต่ละสาขาที่มีอัตราที่สูงมาก รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการระบบรักษาความปลอดภัย และลดระยะเวลาในการติดตั้ง ใช้งาน และอัพเกรดซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่อง

การประเมินทางเลือกสำหรับโซลูชั่นคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมนั้น ต้องคำนึงถึงกลยุทธ์ความต้องการ ด้านไอที ส่วนแพลทฟอร์มระบบไอที คุณสมบัติการใช้งาน และแผนการดำเนินการติดตั้งใช้งาน โดยขับเคลื่อนด้วยวัตถุประสงค์หลัก อาทิ การปรับลดค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเป็นเจ้าของ พร้อมเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน ความสะดวกในการใช้งานและการจัดการ รวมถึงการเพิ่มความไว้วางใจ และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งานในแผนกต่าง ๆ

ในการนำเอาเทคโนโลยี HP Thin Client มาใช้งาน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สามารถดำเนินงานต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ และทำงานร่วมกันภายในกลุ่มธุรกิจซีไอเอ็มบีได้อย่างไร้รอยต่อ เพื่อส่งมอบประสบการณ์อันคุ้มค่าให้แก่ลูกค้า พร้อมเพิ่มขีดขั้นความสามารถในการส่งมอบบริการที่มีประสิทธิภาพ และมุ่งเน้นการประหยัดต้นทุน ซึ่งโซลูชั่น HP Thin Client นี้ ยังช่วยให้เกิดความมั่นใจในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและสมรรถนะการให้บริการของธนาคารได้อย่างเหนือชั้น

นายกฤษณะ ตรีถาวรยืนยง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านเทคโนโลยี ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เทคโนโลยี Thin Client เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการใช้พลังงานได้ถึงร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับโซลูชั่นเดสก์ทอปแบบเดิม ๆ ลดต้นทุนด้านพลังงาน และยังช่วยลดอัตราการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจกและลดผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนได้มากขึ้นอีกด้วย

“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย มุ่งมั่นในการรักษาสิ่งแวดล้อม และการริเริ่มโครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของระบบไอที ยังเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินงานของธนาคาร ทั้งในด้านการดำเนินงาน จนถึงผลิตภัณฑ์และการบริการ เราจึงเลือกใช้เทคโนโลยี HP Thin Client ซึ่งช่วยให้ธนาคารสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของเทคโนโลยีไอทีล้ำสมัย ช่วยให้ทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น ความปลอดภัย และไว้วางใจได้เพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งลดระยะเวลาในการรอรับบริการของลูกค้าให้น้อยลง” นายกฤษณะ กล่าว

เทคโนโลยี HP Thin Client เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดกะทัดรัด ที่ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีจุดเชื่อมต่อกับหน่วยประมวลผลส่วนกลาง และหน่วยเซิร์ฟเวอร์จัดเก็บข้อมูล โดยไม่มีฮาร์ดไดรฟ์จัดเก็บแอพลิเคชั่นหรือข้อมูลต่าง ๆ ภายในเครื่อง สามารถปกป้องข้อมูลสำคัญของลูกค้าและพัฒนาศักยภาพในระบบรักษาความปลอดภัยของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ในแต่ละสาขา

“ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เคยประสบปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปแบบเดิม ๆ จำนวนมาก จากธนาคารในแต่ละสาขา เราจึงมองหาโซลูชั่นด้านไอทีที่เหมาะสม ที่สามารถอำนวยความสะดวกในการจัดการ ไว้วางใจได้ และที่สำคัญคือระบบความปลอดภัยสูงสุด” นายกฤษณะ กล่าวเพิ่มเติม
ในระหว่างการโยกย้ายระบบไอทีของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารมิได้มีการหยุดระบบไอทีใด ๆ ในการเข้าใช้งานเทคโนโลยี Thin Client แต่อย่างใด ทั้งนี้ การปรับใช้ระบบดังกล่าวเน้นไปที่การให้บริการเคาน์เตอร์ของธนาคารกว่า 350 หน่วย โดยใช้เวลาเพียง 6 เดือนตั้งแต่มกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2554 จึงแล้วเสร็จ โดยใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 30 – 60 นาที ต่อ 1 หน่วย Thin Client

นายมอนตี้ หว่อง ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจเพอร์ซันแนล ซิสเต็มส์ บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด ประเทศไทย) จำกัด) กล่าวว่า “เอชพีรู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่งที่ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ให้ความไว้วางใจเลือกใช้เทคโนโลยี Thin Client จากเอชพี ซึ่ง HP Thin Client นั้นเป็นโซลูชั่นที่ดีที่สุด ที่พร้อมสนับสนุนการทำงานของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ในการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการอันเหนือระดับ และเปี่ยมประสิทธิภาพให้แก่ลูกค้า พร้อมทั้งรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยความง่ายดายในการบริหาร จัดการ ความน่าเชื่อถือและระบบรักษาความปลอดภัยระดับสูง เราเชื่อมั่นว่า HP Thin Client นี้จะสามารถเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางโครงสร้างไอทีของซีไอเอ็มบี ไทย ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ”

นอกจากนี้ นายกฤษณะ ยังเปิดเผยอีกว่า โครงการนำร่องของ HP Thin Client ในแต่ละสาขาที่เลือกไว้นั้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก “เทคโนโลยี HP Thin Client นั้นช่วยลดภาระต้นทุนของธนาคารได้มาก พร้อมทั้งเพิ่มความสะดวกในการบริหารจัดการ เพิ่มความน่าเชื่อถือ และพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยให้ดียิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันเรายังสามารถดำเนินงานด้วยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย”

View :1251

เอไอเอส เปิดลงทะเบียนแสดงความสนใจ iPhone 4S แล้ววันนี้!

December 2nd, 2011 No comments

2 ธันวาคม 2554 : เปิดให้เหล่าสาวก iPhone สามารถเข้ามาร่วมลงทะเบียน เพื่อแสดงความสนใจ จาก ได้แล้ว ตั้งแต่วันนี้ – 11 ธันวาคม 2554 เพื่อรับสิทธิ์จองเครื่องได้ ในวันที่ 13 ธันวาคม 2554 เป็นต้นไป (จนกว่าสินค้าจะหมด) ติดตามอัพเดตความเคลื่อนไหว iPhone 4S จาก ได้ที่เว็บไซด์ www..co.th/iPhone4S

View :1433

ก.ไอซีที เปิดศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อปกป้องสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

December 2nd, 2011 No comments


นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังพิธีเปิดศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อเทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงถวายความจงรักภักดีในปีแห่งมหามงคล ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงมีพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา ว่า เนื่องในโอกาส ปีมหามงคล ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขอถวายความจงรักภักดีด้วยการเทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยการเปิดศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ Cyber Security Operation Center : CSOC ขึ้น เพื่อดำเนินภารกิจในการปกป้องดูแลกลุ่มเป้าหมายต่างๆ โดยเฉพาะสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้มีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์และสังคมเครือข่ายที่ไม่เหมาะสมหรือผิดกฎหมาย ตลอดจนปกป้อง ดูแลเด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไป หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่อาจได้รับผลกระทบดังกล่าวด้วย

“การเทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น ถือเป็นภารกิจสำคัญของรัฐบาลที่ได้แถลงนโยบายไว้ต่อรัฐสภา ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่หลักของกระทรวงฯ ที่จะต้องสนองนโยบายดังกล่าว และดำเนินการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเครือข่าย หรือ Social Network บนโลกอินเทอร์เน็ต ด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีความทันสมัยมาใช้ในการควบคุมอาชญากรรมอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยดำเนินการผ่านทาง ศูนย์ CSOC ซึ่งเป็นการต่อยอดการดำเนินงานจากรัฐบาลชุดต่างๆ ที่ได้ดำเนินการเอาไว้” น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว

ด้าน นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวเพิ่มเติมว่า “ศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ CSOC ที่จัดตั้งขึ้นนี้ เป็นการต่อยอดการดำเนินงานเดิมที่กระทรวงฯ ได้ดำเนินการไว้จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในชื่อว่า ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยอินเทอร์เน็ต หรือ ISOC นั้น ซึ่งศูนย์ CSOC นี้ นอกจากจะมีภารกิจในการปกป้องดูแลสถาบันหลักของประเทศ และประชาชนแล้ว ยังมีหน้าที่ดำเนินการติดตาม เฝ้าระวัง ตรวจสอบวิเคราะห์เว็บไซต์และข้อมูลอินเทอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสมหรือผิดกฎหมายต่างๆ อันเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย”

นอกจากนั้น กระทรวงฯ ยังขอถวายความจงรักภักดีและร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ด้วยการจัดทำ “โครงการถวายพระพรออนไลน์” ผ่าน www.welovekingonline.com เพื่อเป็นช่องทางให้กับประชาชนทุกหมู่เหล่าได้ร่วมแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยการร่วมลงนามถวายพระพร และเลือก e-postcard ภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีทั้งหมด 9 แบบ ซึ่งแต่ละแบบจะนำเสนอวิดีโอสารคดีชุด “ปิดทองหลังองค์พระปฏิมา” อันเป็นสารคดี ที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่าน จากนั้นสามารถเลือกคำถวายพระพรที่ถ่ายทอดถึงความจงรักภักดีต่อพระองค์ ที่มีให้เลือก 5 ข้อความ ได้แก่ 1. ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน 2. ขอพระองค์ทรงมีพระพลานามัยที่สมบูรณ์ 3. ขอพระองค์ทรงหายจากอาการพระประชวรในเร็ววัน 4. ขอพระองค์ทรงอยู่คู่ฟ้าแผ่นดินสยามยิ่งยืนนาน และ 5. ร้อยรัดดวงใจ เพื่อเทิดไท้องค์ราชัน ที่พระองค์ทรงฝ่าฟัน ให้ไทยนั้นได้ร่มเย็น

กระทรวงฯ จึงขอเชิญชวนประชาชนชาวไทยและทุกภาคส่วน ร่วมถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ผ่านเว็บไซต์ www.welovekingonline.com เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ตลอดปี 2554 นี้

View :1904

ทรูมูฟ จัดโปรปีใหม่ Data Roaming Flat Rate วันละ 299 บาท ราคาเดียว 14 ประเทศ 16 เครือข่าย

December 2nd, 2011 No comments

ทรูมูฟ จัดโปรโมชั่นฉลองปีใหม่ ดาต้าโรมมิ่งราคาสุดพิเศษ สำหรับลูกค้าทรูมูฟแบบรายเดือนที่จะเดินทางต่างประเทศ ให้ออนไลน์ไม่อั้นกับแพ็กเกจ “” เพียงวันละ 299 บาท (ราคาปกติวันละ 399 บาท) ใช้งานดาต้าได้ไม่จำกัด ทั้งอีเมล แชต เฟซบุ๊ค และท่องเน็ต ผ่าน 3G, EDGE และ GPRS บนเครือข่ายของผู้ให้บริการที่เป็นสมาชิกกลุ่มคอนเน็กซัส โมบายล์ ใน 10 ประเทศ 12 เครือข่าย และเพิ่มเติมอีก 4 เครือข่าย ใน 4 ประเทศใหม่ ทั้งอเมริกา ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย นอกจากนี้ ยังมีโปรโมชั่นอัตราค่าบริการ Data Roaming ราคาพิเศษในเครือข่ายที่ร่วมรายการ เริ่มต้นเพียง 15 บาท/MB ในหลายประเทศยอดนิยมทั่วโลก อาทิ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส จีน สเปน กรีซ เชค เป็นต้น เต็มอิ่มกับโปรโมชั่นสุดคุ้มได้แล้วตั้งแต่วันนี้ – 31 มกราคม 2555

นายสุพจน์ มหพันธ์ ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจบริการระหว่างประเทศ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “ทรูมูฟ ตอกย้ำผู้ให้บริการที่มอบความคุ้มค่าสูงสุด จัดโปรโมชั่นพิเศษ “Data Roaming Flat Rate” ฉลองปีใหม่ ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนรักการออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟนที่ชอบการเดินทางไปต่างประเทศ โดยทรูมูฟเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่นำเสนอแพ็กเกจดาต้าโรมมิ่งแบบไม่จำกัดปริมาณการใช้งาน และคิดค่าบริการแบบจำกัดค่าบริการสูงสุด (capped max) ไม่ใช่เหมาจ่าย หากใช้งานไม่ถึง 299 บาท คิดค่าบริการตามการใช้งานจริง โดยลูกค้าสามารถใช้แพ็กเกจ Data Roaming Flat Rate เพียงวันละ 299 บาทใน 13 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชีย และล่าสุด ครั้งแรกในที่ให้ลูกค้าออนไลน์ได้ไม่จำกัดในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศหลักของนักเดินทางชาวไทย”

ลูกค้าสามารถใช้โปรโมชั่นดังกล่าวได้ใน 16 เครือข่าย ใน 14 ประเทศ โดยเป็นเครือข่ายที่เป็นสมาชิกกลุ่มคอนเน็กซัส โมบายล์ รวม 10 ประเทศ 12 เครือข่ายในภูมิภาคเอเซีย ได้แก่ สตาร์ฮับ ประเทศสิงคโปร์, อินโดแซท ประเทศอินโดนีเซีย, เอ็นทีที โดโคโม ประเทศญี่ปุ่น, ฟาร์อีสต์โทน ประเทศไต้หวัน, ฮัทชิสัน และ เอช3จี เขตปกครองพิเศษฮ่องกง, บีเอสเอ็นแอล เอ็มทีเอ็นแอล (เดลี) และ เอ็มทีเอ็นแอล (มุมไบ) ประเทศอินเดีย, สมาร์ท ประเทศฟิลิปปินส์, เคที ประเทศเกาหลี, ฮัทชิสัน เขตปกครองพิเศษมาเก๊า และ วิน่าโฟน ประเทศเวียดนาม และอีก 4 เครือข่าย ใน 4 ประเทศใหม่ที่ร่วมรายการ ได้แก่ เอที&ที ประเทศสหรัฐอเมริกา, ลาว เทเลคอม ประเทศลาว, เฮลโล แอ๊คเซียต้า ประเทศกัมพูชา และ ดิจิ ประเทศมาเลเซีย

ลูกค้าที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ทรูมูฟ แคร์ โทร. 1331 และร้านทรูช็อป ทั่วประเทศ หรือ www.truemove.com/ir / www.conexusmobile.com

View :1710