Archive

Archive for the ‘Technology’ Category

MFEC มั่นใจครึ่งปีหลังทำผลงานโตต่อ หลัง Q2/54โชว์กำไรพุ่งเกือบ 200%

August 18th, 2011 No comments

” แม่ทัพใหญ่ มั่นใจผลประกอบการครึ่งปีหลังมีแนวโน้มโตต่อเนื่องจากครึ่งปีแรก หลังอุตสาหกรรมไอทีขยายตัวคึกคัก หนุนปริมาณงานไหลเข้าตลาดเพิ่มขึ้น เชื่อสิ้นปีปั๊มรายได้ทะลุ 3,500 ลบ.หายห่วง ส่วนผลงานโค้ง 2 ปีนี้โชว์กำไรยอดเยี่ยมพุ่ง 199% จาก 20 ลบ.ในปีก่อน เป็น 61 ลบ. เป็นผลจากรายได้ที่โตถึง 103% จาก 532 ลบ.ในปีก่อนมา เป็น 1,077 ลบ. แถมหนุนผลงานครึ่งปีแรกสดใสกำไรทะลุ 82 ลบ. เพิ่มขึ้น 40ลบ. หรือ 96% จากงวดเดียวกันปีก่อน

ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC

นายศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC ผู้ประกอบธุรกิจให้คำปรึกษา พัฒนาและวางระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชน เปิดเผยถึงแนวโน้มธุรกิจในครึ่งปีหลังว่ายังขยายตัวต่อเนื่องจากครึ่งปีแรกที่ผ่านมาตามทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมไอที โดยเฉพาะนโยบายของรัฐบาลใหม่ที่สนับสนุนอุตสาหกรรมไอทีอย่างชัดเจน จึงเชื่อว่าจะมีงานใหม่ๆ ไหลเข้าสู่ตลาดอีกเป็นจำนวนมาก โดยปัจจุบันบริษัทฯ มีงานในมือที่รอรับรู้เป็นรายได้ (Backlog) อยู่ที่ 2,000 ล้านบาท และคาดว่ารับรู้รายได้ปีนี้ 70 – 80% ส่วนที่เหลือจะรับรู้รายได้ในปีถัดไป นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้เตรียมประมูลงานใหม่ๆ ต่อเนื่องกระจายทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเบื้องต้นเตรียมประมูลงานรัฐวิสาหกิจ มูลค่าอีกประมาณ 800 ล้านบาท ขณะเดียวกันได้เตรียมพัฒนาระบบ Software ต่างๆ เพื่อสร้าง Content ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นรองรับตลาดไอทีที่ขยายตัว ซึ่งในอนาคตมีโอกาสที่บริษัทฯ จะรับงานในภาครัฐบาลเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันบริษัทฯ รับงานภาครัฐบาลสัดส่วน 30% และรับงานภาคเอกชนสัดส่วน 70% ซึ่งการรับงานได้อย่างคล่องตัวดังกล่าวเป็นผลมาจากการรวมตัวกับบริษัทไอทีชั้นนำในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ MFEC GROUP แข็งแกร่งมากขึ้น และมั่นใจว่าในปีนี้จะผลักดันรายได้ทั้งปีให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ 3,500 ล้านบาทได้สำเร็จ

สำหรับผลประกอบการไตรมาส 2/2554 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2554 บริษัทฯ มีรายได้รวม 1,077 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 545 ล้านบาท หรือร้อยละ103จากงวดไตรมาสเดียวกันของปี 2553 ที่มีรายได้ 532 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 61 ล้านบาท หรือหุ้นละ 0.22 บาท เพิ่มขึ้น 41 ล้านบาท หรือร้อยละ 199 จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 20 ล้านบาท หรือหุ้นละ 0.08 บาท

ในขณะที่ผลประกอบการงวด 6 เดือนแรกของปี 2554 (มกราคม – มิถุนายน 2554) บริษัทฯ มีรายได้ 1,826 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 563 ล้านบาท หรือร้อยละ 44.57 จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้ 1,263 ล้านบาท และบริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 82 ล้านบาท หรือหุ้นละ 0.29 บาท เพิ่มขึ้น 40 ล้านบาท หรือร้อยละ 96 จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 42 ล้านบาท หรือหุ้นละ 0.17 บาท สำหรับปัจจัยที่ทำให้ผลประกอบการเพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นผลมาจากการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและการส่งมอบงานได้ดีขึ้น ทำให้รับรู้รายได้เต็มที่ทั้งจากงานปัจจุบัน และงานที่ชะลอการส่งมอบมาจากช่วงไตรมาส1 ที่ผ่านมา

“ผลประกอบการครึ่งปีแรกที่ผ่านมาของบริษัทฯ ถือว่าน่าพอใจ ซึ่งตามปกติผลประกอบการครึ่งปีแรก คิดเป็น 40% ของรายได้รวม ขณะที่ 60% จะรอรับรู้ในครึ่งปีหลัง ซึ่งเป้าหมายรายได้ทั้งปีที่วางไว้ 3.5 พันล้านบาทยังไม่ได้ปรับเปลี่ยน และคาดว่าทำได้ตามที่วางไว้ จากความแข็งแกร่งของ MFEC GROUP ที่ทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นและรองรับงานได้กว้างขวางขึ้น” นายศิริวัฒน์ กล่าว

*************************
ข้อมูลบริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน)

บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC ประกอบธุรกิจบริการให้คำปรึกษา พัฒนา และวางระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าวิสาหกิจ (Enterprise) ขนาดใหญ่ที่เป็นผู้นำในแต่ละอุตสาหกรรม ปัจจุบันมีพนักงานรวมบริษัทในเครือ 4 บริษัททั้งสิ้นกว่า 1,000 คน ในจำนวนนี้ ร้อยละ 80 เป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์ที่มีความเชี่ยวชาญอย่างสูง มีลูกค้าทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 200 บริษัท และเมื่อต้นปีที่ผ่านมาได้ควบรวมกิจการกับ 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านไอที กลายเป็น MFEC GROUP ซึ่ง 3 บริษัทไอทีชั้นนำดังกล่าวประกอบด้วย

บริษัท บิสซิเนส แอพพลิเคชั่น จำกัด หรือ BAC เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนจำหน่ายของ IBM COGNOS ซอฟท์แวร์ด้าน Business intelligence (BI) รายเดียวในประเทศไทย

บริษัท โมทีฟ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจให้คำปรึกษาและบริการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์โดยเป็นบริษัทซอฟต์แวร์สัญชาติไทยผู้วิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์ของตนเอง เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัท Motif เอง ที่ใช้ในระบบงานโอเปอเรชั่นของสถาบันการเงินการธนาคาร งานกฎหมาย การบริหารองค์กรภาครัฐ มีวิศวกรทางด้านซอฟแวร์กว่า 100 คน และมีลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่กว่า 20 แห่ง

บริษัท ซอฟต์สแควร์ กรุ๊ป ให้บริการด้านการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ มีบุคลากรประมาณ 400 คน ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทในเครือ 8 บริษัท ถือเป็นบริษัทซอฟท์แวร์เฮาส์คนไทยที่มีอายุงานยาวนานและมีการเติบโตยั่งยืนต่อเนื่องที่สุด ปัจจุบันกลุ่มบริษัท ซอฟต์สแควร์ ได้รับความไว้วางใจในการจัดหาและติดตั้งระบบงานคอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้กับองค์กรชั้นนำ ทั้งภาครัฐและเอกชนโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจค้าปลีกและอุตสาหกรรมการผลิตกว่า300 ราย ทั้งในและต่างประเทศ

View :1645

สองทีมเยาวชนตัวแทนประเทศไทยพร้อมชิงชัยกับ 17 ประเทศในการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Robocon 2011 28 สค.นี้ ณ อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี

August 6th, 2011 No comments

หลังจากขับเคี่ยวกันในสนามการแข่งขันหุ่นยนต์ ABU ชิงชนะเลิศประเทศไทย ประจำปี 2554 เมื่อช่วงกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยทีม”ลูกเจ้าแม่คลองประปา The Limited” จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คว้าแชมป์ประเทศไทยประจำปี 2554 ไปครองเป็นสมัยที่ 3 เฉือนทีม “ซุ้มกอ” จากวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชรแบบหวุดหวิดกลายเป็นนาทีช็อคโลก สร้างสีสันความสนุกสนานให้กับกองเชียร์รอบสนามมาแล้ว—- วันนี้ทั้งสองทีมจึงได้รับภารกิจสำคัญ ในการเป็นตัวแทนเยาวชนไทยเข้าร่วมแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Asia-Pacific Robot Contest 2011 , Bangkok ครั้งที่ 10 หรือ ABU Robocon 2011, Bangkok ซึ่งปีนี้ ในนามประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน โดยมีทีมตัวแทนเยาวชนจากอีก 17 ประเทศพร้อมเดินทางมาเข้าร่วมชิงชัย ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 28 สิงหาคมศกนี้ ณ อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี

นายพรชัย ปิยะเกศิน ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ทีวี หนึ่งในสมาชิกสหภาพวิทยุและโทรทัศน์แห่งภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (Asia-Pacific Broadcasting Union – ABU) และเป็นตัวแทนโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทีวีพูล) ในการหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพการแข่งขันหุ่นยนต์ ABU Asia-Pacific Robot Contest หรือ ABU Robocon และส่งทีมตัวแทนประเทศไทยไปเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันกับประเทศต่างๆ ซึ่งจัดขึ้นทุกปีนับตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา

“การแข่งขันหุ่นยนต์ ถือเป็นวิทยาการขั้นสูงของการพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่างๆ สอดคล้องกับบทบาทของอสมท ในฐานะที่เป็นองค์กรด้านการสื่อสารที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารอยู่ตลอดเวลา กิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์ ABU Robocon จึงเป็นกิจกรรมหลักของบริษัท ในการขับเคลื่อนโครงการซีเอสอาร์ ตอกย้ำภาพลักษณ์ “สังคมอุดมปัญญา” ของ อสมท ให้เด่นชัดมากขึ้น รวมทั้งช่วยเสริมภาพลักษณ์องค์กร ด้านการส่งเสริมนวัตกรรม สร้างภาพลักษณ์องค์กรทันสมัยได้อีกทาง”

สำหรับการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Asia-Pacific Robot Contest 2011 หรือ ABU Robocon 2011 ในโอกาสครบรอบปีที่ 10 ของการแข่งขัน ประเทศไทยได้รับเกียรติ ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน จึงได้นำเอา ประเพณีลอยกระทง จากโบราณประเพณีอันงดงาม บางส่วนได้ถูกประยุกต์ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ คือหุ่นยนต์ ภายใต้ชื่อการแข่งขัน “จุดประกายแห่งความสุขด้วยมิตรภาพ (Lighting Happiness with Friendship) ผู้ใดเอาชนะใจตนเอง และเอาชนะใจผู้อื่นได้ ผู้นั้นจะเป็นผู้ชนะตลอดกาล ซึ่งเป็นหัวใจของเกมการแข่งขันนี้

“ ประเทศไทยเคยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเมื่อปี 2003 ซึ่งผมมีโอกาสได้เข้าชมการแข่งขันในปีนั้นด้วย และยังประทับใจถึงวันนี้เพราะเป็นเกมส์การแข่งขันที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน ตื่นเต้นเร้าใจ และทีมตัวแทนเยาวชนไทยก็สามารถคว้าแชมป์มาครอง ในปีนี้ผมเชื่อว่าการแข่งขันจะเต็มไปด้วยสนุกสนาน ตื่นเต้นเร้าใจไม่แพ้ปี 2003 อย่างแน่นอน จึงขอเชิญชวนคนไทยมาร่วมเชียร์และเป็นกำลังใจให้กับน้องๆ ทีมตัวแทนประเทศไทยทั้งสองทีม ให้สามารถคว้าแชมป์มาครองได้สำเร็จอีกครั้ง สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาเข้าชมการแข่งขันภายในงานได้ สามารถติดตามชมการถ่ายทอดสด ได้ตั้งแต่เวลา14.15 – 17.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์”

ทีมซุ้มกอ วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร2


รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ประธานคณะทำงานฝ่ายจัดการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Asia – Pacific Robot Contest 2011 กล่าวถึงกติกาการแข่งขันว่า ทีมที่เข้าแข่งขันแต่ละทีมสามารถใช้หุ่นยนต์ทั้งหมดไม่เกิน 3 ตัว ประกอบด้วย หุ่นยนต์บังคับด้วยมือ (Manual Robot) และ หุ่นยนต์อัตโนมัติ 1 หรือ 2 ตัว (Automatic Robots) หุ่นยนต์บังคับด้วยมือ (Manual Robot) ต้องทำภารกิจแรกให้สำเร็จด้วยการหยิบกระถางธูป จำนวน 3 กระถาง นำไปวางไว้บนเสา ก่อนการทำภารกิจอื่นๆ หลังจากนั้นหุ่นยนต์บังคับด้วยมือ นำ ฐานต้นเทียน ไปวาง ณ จุดตกแต่ง (Decoration Point) หุ่นยนต์บังคับด้วยมือ นำธูปเตรียมไปใช้ในการประกอบกระทง หุ่นยนต์อัตโนมัติ นำกลีบกระทง และดอกไม้ ทำการประกอบกระทง ภายหลังจากที่ ทำภารกิจนี้เสร็จ หุ่นยนต์บังคับด้วยมือ จึงจะสามารถนำ ไปเสียบลงไปในกระทง หลังจากนั้น หุ่นยนต์อัตโนมัติ ยกกระทงที่ประกอบเสร็จ นำไปปล่อยลงใน ในฝั่งของตนเอง โดยห้ามมิให้ชิ้นส่วนใดๆของหุ่นยนต์ทุกตัวสัมผัสกับแม่น้ำ

ท้ายสุด หุ่นยนต์อัตโนมัติ เพียง 1 ตัว จะนำเปลวเทียน ไปปล่อยเพื่อสวมลงบนต้นเทียนบนกระทง ที่ลอยอยู่ในแม่น้ำ (River Surface) โดยห้ามมิให้ชิ้นส่วนใดๆของหุ่นยนต์ทุกตัวสัมผัสกับแม่น้ำ และกระทง ที่ประกอบเสร็จเแล้ว ทีมใดที่สามารถปล่อยเปลวเทียน ลงบนต้นเทียน ได้สำเร็จก่อน ทีมนั้นเป็น ฝ่ายชนะ การแข่งขันจะแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ สีแดง และ สีน้ำเงิน การแข่งขันจะใช้เวลาทั้งหมด 3 นาที

แต่ทั้งนี้ รศ.ดร.ชิต กล่าวว่า กิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Roboconจัดขึ้นด้วยความมุ่งหวังที่ต้องการให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยี ตลอดจนเชื่อมมิตรภาพที่ดีต่อกัน โดยมีเกมส์การแข่งขันเป็นจุดเชื่อโยง มิได้มุ่งเน้นที่ชัยชนะเพียงอย่างเดียว และในวันนี้มิติดังกล่าวก็ได้เกิดขึ้นแล้ว โดยมีการร่วมมือร่วมใจการพัฒนาเทคโนโลยี ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

โดยปีนี้มีทีมเยาวชนตัวแทนจาก 18 ประเทศ ได้แก่ บรูไน จีน อียิปต์ ฟิจิ ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ลาว มาเลเซีย มองโกเลีย เนปาล รัสเซีย ศรีลังกา ตุรกี เวียดนามและไทย สำหรับประเทศลาว และรัสเซีย เพิ่งเข้าร่วมการแข่งขันในปีนี้เป็นครั้งแรก เตรียมเดินทางมาเข้าร่วมแข่งขัน ซึ่งแต่ละประเทศสามารถส่งทีมตัวแทนได้ประเทศละ 1 ทีม ส่วนประเทศเจ้าภาพ ส่งได้ 2 ทีม รวมทั้งหมด 19 ทีม แต่ละทีมจะประกอบไปด้วยนักศึกษา 3 คน อาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน ทั้งหมดต้องอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา/อาชีวศึกษาเดียวกันเท่านั้น ทีมเยาวชนตัวแทนประเทศไทย มี 2 ทีม ได้แก่ ทีมลูกเจ้าแม่คลองประปา The Limited” จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ แชมป์ประเทศไทยสมัยที่ 3 ประกอบด้วย นายน้ำเพชร สุขเกษม ,นายสุปรีชา เหมยเป็ง,นายจักรพงศ์ เพ็งแจ่มแจ้ง และดร.ณรงค์เดช กีรติพรานนท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และ “ทีมซุ้มกอ” จากวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร รองแชมป์ประเทศไทย ประกอบด้วย นายประเสริฐ สะมะถะเขตการณ์ ,นายนคร คุยศรี ,นายวุฒิชัย ทิศกระโทก และอ.บัณฑิต ออกแมน เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

ด้านการเตรียมความพร้อม ทีมตัวแทนประเทศไทยทั้ง 2 ทีมได้จัดสร้างหุ่นยนต์ สำหรับการแข่งขันขึ้นใหม่ทีมละ 3 ตัวโดยได้รับการสนับสนุนจาก อสมท ทีมละ 500,000 บาท พร้อมส่งมอบให้กับคณะกรรมการจัดการแข่งขันพร้อมกับทุกประเทศแล้วเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคมที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ในระหว่างการฝึกซ้อมในโค้งสุดท้ายเพื่อชิงแชมป์ระดับนานาชาติในการแข่งขันที่จะมีขึ้นในวันที่ 28 สิงหาคมศกนี้ นอกจากนี้ทั้ง 2 ทีมยังได้เปิดเผยด้วยว่า ในการจัดสร้างหุ่นยนต์เพื่อใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ ยังได้มีการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อพัฒนาหุ่นยนต์ดังกล่าวด้วย โดยทางมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชรได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ทำให้เกิดการพัฒนาหุ่นยนต์ที่มีความสามารถได้ไม่แพ้กับหุ่นยนต์ของประเทศคู่แข่งที่สำคัญอย่างจีน และญี่ปุ่น โดยเฉพาะเรื่องสถิติการทำเวลา ขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เปิดเผยว่า สามารถทำสถิติได้เร็วที่สุด 45 -50 วินาทีในหนึ่งเกมส์การแข่งขัน

ดร.ณรงค์เดช กีรติพรานนท์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และอาจารย์ที่ปรึกษาของทีมลูกเจ้าแม่คลองประปา เปิดเผยว่า

“ ทีมมีความพร้อม และกำลังใจเต็มร้อย โดยเฉพาะหุ่นยนต์ชุดใหม่ทั้ง 3 ตัวที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากการศึกษาข้อมูลหุ่นยนต์ของประเทศคู่แข่งหลักๆ ได้แก่จีน และญี่ปุ่น โดยนำจุดแข็งของคู่แข่ง และจุดแข็งของตนเองมาพัฒนาขึ้นเป็นหุ่นยนต์ชุดใหม่ จนได้มาตรฐานเป็นที่พอใจอย่างมาก และด้วยประสิทธิภาพของหุ่นยนต์ชุดใหม่ กับประสบการณ์การแข่งขันของทีมที่เป็นจุดแข็ง ตลอดจนแผนการแข่งขัน ผมคิดว่าเราสามารถแข่งขันกับจีน คู่แข่งสำคัญได้อย่างสนุกสนานแน่นอนครับ”

ทีมลูกเจ้าแม่คลองประปา The Limited จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์2


นอกจากนี้ ในฐานะที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ดร.ณรงค์เดช ยังกล่าวด้วยว่า เรามีข้อได้เปรียบมาก อย่างน้อยก็ในสนามแข่งขัน เพราะเคยผ่านการใช้สนามลักษณะนี้มาแล้ว ทำให้เข้าใจคุณสมบัติของอุปกรณ์และสนาม รวมทั้งมีความคุ้นเคยภาษาและกติกาการแข่งขัน ทุกปี ภาษาที่ใช้จะขึ้นกับประเทศเจ้าภาพ ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ ทำให้อาจจะเกิดความไม่เข้าใจในการแข่งขัน ซึ่งปีนี้น่าจะมีความคุ้นเคยมากกว่า ไม่ว่าจะใช้ภาษาไทยหรืออังกฤษ นอกจากนี้ กรณีที่หุ่นยนต์ขัดข้องหรือต้องการอะไหล่จะสามารถหาได้ง่าย เพราะรู้แหล่งการจัดซื้ออยู่แล้วอาหาร และวัฒนธรรม ที่คุ้นเคย ทำให้ไม่ต้องเรียนรู้และปรับตัว ที่สำคัญ แรงเชียร์จากคนไทย ที่จะเป็นกำลังใจและให้การสนับสนุนทีมตัวแทนประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

ด้านอาจารย์บัณฑิต ออกแมน อาจารย์ที่ปรึกษาของทีมซุ้มกอ จากวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร เปิดเผยเช่นเดียวกันว่า มีความพอใจกับผลงานการสร้างหุ่นยนต์ที่ใช้ในการแข่งขันมาก เพราะได้รับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและการแนะนำจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนืออย่างมาก ทำให้มีความพร้อมในการเข้าร่วมการแข่งขันย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังได้ฝึกซ้อมทีมแข่งขันเต็มที่เพื่อทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนประเทศไทยให้ดีสุด

“เพื่อเป็นกำลังให้กับตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Asia-Pacific Robot Contest 2011 , Bangkok ทั้งสองทีม อสมท ขอเชิญชวนคนไทยร่วมเชียร์ทีมไทยให้สามารถคว้าแชมป์นานาชาติในครั้งนี้ภายในงาน ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 28 สิงหาคมศกนี้ ณ อิมแพคอารีน่า เมืองทองธานี พร้อมชมการถ่ายทอดสดได้ตั้งแต่เวลา 14.15 – 17.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ติดตามรายละเอียดการแข่งขันได้ทาง www. aburobocon2011.com” ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวในที่สุด

การแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ หรือ ABU Asia-Pacific Robot Contest (ABU Robocon) เริ่มเมื่อปีพ.ศ. 2543(ค.ศ.2000) โดยประเทศสมาชิก ABU (The Asia-Pacific Broadcasting Union) มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ที่ประดิษฐ์โดย นักศึกษาของ ภูมิภาค ในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา เป็นประจำทุก ๆ ปี เพื่อพัฒนาการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ความคิดสร้างสรรค์ และ การพัฒนาทักษะในการประดิษฐ์นวัตกรรมของเยาวชนให้มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจได้อย่างทัดเทียมกัน ควบคู่ไปกับการเชื่อมความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน
————
การแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Robocon เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสมาชิกผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเป็นประจำทุกปี คือ ประเทศไทย (2546/2003) เกาหลี (2547/2004) จีน (2548/2005) มาเลเซีย (2549/2006) เวียดนาม (2550/2007) อินเดีย (2551/2008) ญี่ปุ่น (2552/2009) และอียิปต์ (2553/2010)

ปี พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) เป็นปีที่ครบรอบทศวรรษของการแข่งขัน ประเทศไทยได้รับเกียรติ ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันอีกครั้ง ซึ่งในปีนี้ได้นำเอา ประเพณีลอยกระทง จากโบราณประเพณีอันงดงามบางส่วนได้ถูกประยุกต์ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ คือหุ่นยนต์ ภายใต้ชื่อการแข่งขัน “จุดประกายแห่งความสุขด้วยมิตรภาพ (Lighting Happiness with Friendship) ผู้ใดเอาชนะใจตนเอง และเอาชนะใจผู้อื่นได้ ผู้นั้นจะเป็นผู้ชนะตลอดกาล นั่นคือหัวใจของเกมการแข่งขันนี้ โดยจะจัดการแข่งขันขึ้น ในวันที่ 28 สิงหาคม 2554 ที่อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี

สำหรับทีมที่เข้าแข่งขันนั้น แต่ละประเทศ ส่งตัวแทนได้ ประเทศละ 1 ทีม ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ส่งได้ 2ทีม โดยแต่ละทีม จะประกอบไปด้วยนักศึกษา 3 คน อาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน ทั้งหมดต้องอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา/อาชีวศึกษาเดียวกัน เท่านั้น

ทีมเข้าแข่งขันแต่ละทีมสร้างหุ่นยนต์ทั้งหมดไม่เกิน 3 ตัว ประกอบด้วย หุ่นยนต์บังคับด้วยมือ (Manual Robot) และ หุ่นยนต์อัตโนมัติ 1 หรือ 2 ตัว (Automatic Robots) หุ่นยนต์บังคับด้วยมือ (Manual Robot) ต้องทำภารกิจแรกให้สำเร็จด้วยการหยิบกระถางธูป จำนวน 3 กระถาง นำไปวางไว้บนเสา ก่อนการทำภารกิจอื่นๆ หลังจากนั้นหุ่นยนต์บังคับด้วยมือ นำฐานต้นเทียน ไปวาง ณ จุดตกแต่ง (Decoration Point) หุ่นยนต์บังคับด้วยมือนำธูปเตรียมไปใช้ในการประกอบกระทง

หุ่นยนต์อัตโนมัติ นำกลีบกระทง และดอกไม้ ทำการประกอบกระทง ภายหลังจากที่ ทำภารกิจนี้เสร็จ หุ่นยนต์บังคับด้วยมือ จึงจะสามารถนำ ไปเสียบลงไปในกระทง หลังจากนั้น หุ่นยนต์อัตโนมัติ ยกกระทงที่ประกอบเสร็จ นำไปปล่อยลงใน ในฝั่งของตนเอง โดยห้ามมิให้ชิ้นส่วนใดๆของหุ่นยนต์ทุกตัวสัมผัสกับแม่น้ำ

ท้ายสุด หุ่นยนต์อัตโนมัติ เพียง 1 ตัว จะนำเปลวเทียน ไปปล่อยเพื่อสวมลงบนต้นเทียนบนกระทง ที่ลอยอยู่ในแม่น้ำ (River Surface) โดยห้ามมิให้ชิ้นส่วนใดๆของหุ่นยนต์ทุกตัวสัมผัสกับแม่น้ำ และกระทง ที่ประกอบเสร็จเแล้ว ทีมใดที่สามารถปล่อยเปลวเทียน ลงบนต้นเทียน ได้สำเร็จก่อน ทีมนั้นเป็น ฝ่ายชนะ”การแข่งขันจะแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ สีแดง และ สีน้ำเงิน การแข่งขันจะใช้เวลาทั้งหมด 3 นาที

View :3299

อสมท.จัดการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Robocon 2011

August 3rd, 2011 No comments

ร่วมเชียร์เด็กไทย ชิงชัยกับ 17 ประเทศ 28 สค.นี้ ณ อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี
หลังจากจัดแข่งขันหุ่นยนต์ ABU ชิงชนะเลิศประเทศไทย ประจำปี 2554 เพื่อคัดเลือกทีมตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Asia-Pacific Robot Contest กับประเทศต่างๆ ซึ่ง จัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยปีนี้ประเทศไทยได้รับคัดเลือกเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันดังกล่าว จึงขอเชิญชวนคนไทยร่วมเชียร์เป็นกำลังใจให้กับ สองทีมตัวแทนตัวประเทศไทย ได้แก่ “ทีมลูกเจ้าแม่คลองประปา The Limited” จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ แชมป์ประเทศไทย และ “ทีมซุ้มกอ” จากวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร รองแชมป์ประเทศไทย เพื่อคว้าแชมป์ในการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Asia-Pacific Robot Contest 2011 , Bangkok ครั้งที่ 10 ในวันที่ 28 สิงหาคมศกนี้ ณ อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี พร้อมชมถ่ายทอดสด ตั้งแต่เวลา14.15 – 17.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์

นายพรชัย ปิยะเกศิน ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานโทรทัศน์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ทีวี หนึ่งในสมาชิกสหภาพวิทยุและโทรทัศน์แห่งภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (Asia-Pacific Broadcasting Union – ABU) และเป็นตัวแทนโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทีวีพูล) ในการหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพการแข่งขันหุ่นยนต์ ABU Asia-Pacific Robot Contest หรือ ABU Robocon และส่งทีมตัวแทนประเทศไทยไปเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันกับประเทศต่างๆ ซึ่งจัดขึ้นทุกปีนับตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา

“การแข่งขันหุ่นยนต์ ถือเป็นวิทยาการขั้นสูงของการพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่างๆ สอดคล้องกับบทบาทของอสมท ในฐานะที่เป็นองค์กรด้านการสื่อสารที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารอยู่ตลอดเวลา กิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์ ABU Robocon จึงเป็นกิจกรรมหลักของบริษัท ในการขับเคลื่อนโครงการซีเอสอาร์ ตอกย้ำภาพลักษณ์ “สังคมอุดมปัญญา” ของ อสมท ให้เด่นชัดมากขึ้น รวมทั้งช่วยเสริมภาพลักษณ์องค์กร ด้านการส่งเสริมนวัตกรรม สร้างภาพลักษณ์องค์กรทันสมัยได้อีกทาง”

สำหรับการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Asia-Pacific Robot Contest 2011 หรือ ABU Robocon 2011 ในโอกาสครบรอบปีที่ 10 ของการแข่งขัน ประเทศไทยได้รับเกียรติ ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน จึงได้นำเอา ประเพณีลอยกระทง จากโบราณประเพณีอันงดงาม บางส่วนได้ถูกประยุกต์ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ คือหุ่นยนต์ ภายใต้ชื่อการแข่งขัน “จุดประกายแห่งความสุขด้วยมิตรภาพ (Lighting Happiness with Friendship) ผู้ใดเอาชนะใจตนเอง และเอาชนะใจผู้อื่นได้ ผู้นั้นจะเป็นผู้ชนะตลอดกาล ซึ่งเป็นหัวใจของเกมการแข่งขันนี้

โดยปีนี้มีทีมเยาวชนตัวแทนจาก 18 ประเทศ ได้แก่ บรูไน จีน อียิปต์ ฟิจิ ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ลาว มาเลเซีย มองโกเลีย เนปาล รัสเซีย ศรีลังกา ตุรกี เวียดนามและไทย สำหรับประเทศลาว และรัสเซีย เพิ่งเข้าร่วมการแข่งขันในปีนี้เป็นครั้งแรก เตรียมเดินทางมาเข้าร่วมแข่งขัน ซึ่งแต่ละประเทศสามารถส่งทีมตัวแทนได้ประเทศละ 1 ทีม ส่วนประเทศเจ้าภาพ ส่งได้ 2 ทีม รวมทั้งหมด 19 ทีม แต่ละทีมจะประกอบไปด้วยนักศึกษา 3 คน อาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน ทั้งหมดต้องอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา/อาชีวศึกษาเดียวกันเท่านั้น ทีมเยาวชนตัวแทนประเทศไทย มี 2 ทีม ได้แก่ ทีมลูกเจ้าแม่คลองประปา The Limited” จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ แชมป์ประเทศไทยสมัยที่ 3 ประกอบด้วย นายน้ำเพชร สุขเกษม ,นายสุปรีชา เหมยเป็ง,นายจักรพงศ์ เพ็งแจ่มแจ้ง และดร.ณรงค์เดช กีรติพรานนท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และ “ทีมซุ้มกอ” จากวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร รองแชมป์ประเทศไทย ประกอบด้วย นายประเสริฐ สะมะถะเขตการณ์ ,นายนคร คุยศรี ,นายวุฒิชัย ทิศกระโทก และ อ.บัณฑิต ออกแมน เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ประธานคณะทำงานฝ่ายจัดการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Asia – Pacific Robot Contest 2011 กล่าวถึงการเตรียมความพร้อม ทีมตัวแทนประเทศไทยทั้ง 2 ทีมได้จัดสร้างหุ่นยนต์ สำหรับการแข่งขันขึ้นใหม่ทีมละ 3 ตัวโดยได้รับการสนับสนุนจาก อสมท ทีมละ 500,000 บาท พร้อมส่งมอบให้กับคณะกรรมการจัดการแข่งขันพร้อมกับทุกประเทศแล้วเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคมที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ในระหว่างการฝึกซ้อมในโค้งสุดท้ายเพื่อชิงแชมป์ระดับนานาชาติในการแข่งขันที่จะมีขึ้นในวันที่ 28 สิงหาคมศกนี้

นอกจากนี้ทั้ง 2 ทีมยังได้เปิดเผยด้วยว่า ในการจัดสร้างหุ่นยนต์เพื่อใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ ยังได้มีการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อพัฒนาหุ่นยนต์ดังกล่าวด้วย โดยทางมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชรได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ทำให้เกิดการพัฒนาหุ่นยนต์ที่มีความสามารถได้ไม่แพ้กับหุ่นยนต์ของประเทศคู่แข่งที่สำคัญอย่างจีน และญี่ปุ่น โดยเฉพาะเรื่องสถิติการทำเวลา ขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เปิดเผยว่า สามารถทำสถิติได้เร็วที่สุด 45 -50 วินาทีในหนึ่งเกมส์การแข่งขัน

“เพื่อเป็นกำลังให้กับตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Asia-Pacific Robot Contest 2011 , Bangkok ทั้งสองทีม อสมท ขอเชิญชวนคนไทยร่วมเชียร์ทีมไทยให้สามารถคว้าแชมป์นานาชาติในครั้งนี้ภายในงาน ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 28 สิงหาคมศกนี้ ณ อิมแพคอารีน่า เมืองทองธานี พร้อมชมการถ่ายทอดสดได้ตั้งแต่เวลา 14.15 – 17.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ติดตามรายละเอียดการแข่งขันได้ทาง www. aburobocon2011.com” ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวในที่สุด
————————————————————

การแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ หรือ ABU Asia-Pacific Robot Contest (ABU Robocon) เริ่มเมื่อปีพ.ศ. 2543(ค.ศ.2000) โดยประเทศสมาชิก ABU (The Asia-Pacific Broadcasting Union) มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ที่ประดิษฐ์โดย นักศึกษาของภูมิภาค ในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา เป็นประจำทุก ๆ ปี เพื่อพัฒนาการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ความคิดสร้างสรรค์ และ การพัฒนาทักษะในการประดิษฐ์นวัตกรรมของเยาวชนให้มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจได้อย่างทัดเทียมกัน ควบคู่ไปกับการเชื่อมความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน

การแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Robocon เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสมาชิกผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเป็นประจำทุกปี คือ ประเทศไทย (2546/2003) เกาหลี (2547/2004) จีน (2548/2005) มาเลเซีย (2549/2006) เวียดนาม (2550/2007) อินเดีย (2551/2008) ญี่ปุ่น (2552/2009) และอียิปต์ (2553/2010)

ปี พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) เป็นปีที่ครบรอบทศวรรษของการแข่งขัน ประเทศไทยได้รับเกียรติ ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันอีกครั้ง ซึ่งในปีนี้ได้นำเอา ประเพณีลอยกระทง จากโบราณประเพณีอันงดงามบางส่วนได้ถูกประยุกต์ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ คือหุ่นยนต์ ภายใต้ชื่อการแข่งขัน “จุดประกายแห่งความสุขด้วยมิตรภาพ (Lighting Happiness with Friendship) ผู้ใดเอาชนะใจตนเอง และเอาชนะใจผู้อื่นได้ ผู้นั้นจะเป็นผู้ชนะตลอดกาล นั่นคือหัวใจของเกมการแข่งขันนี้ โดยจะจัดการแข่งขันขึ้น ในวันที่ 28 สิงหาคม 2554 ที่อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี

สำหรับทีมที่เข้าแข่งขันนั้น แต่ละประเทศ ส่งตัวแทนได้ ประเทศละ 1 ทีม ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ส่งได้ 2ทีม โดยแต่ละทีม จะประกอบไปด้วยนักศึกษา 3 คน อาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน ทั้งหมดต้องอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา/อาชีวศึกษาเดียวกัน เท่านั้น ทีมเข้าแข่งขันแต่ละทีมสร้างหุ่นยนต์ทั้งหมดไม่เกิน 3 ตัว ประกอบด้วย หุ่นยนต์บังคับด้วยมือ (Manual Robot) และ หุ่นยนต์อัตโนมัติ 1 หรือ 2 ตัว (Automatic Robots) หุ่นยนต์บังคับด้วยมือ (Manual Robot) ต้องทำภารกิจแรกให้สำเร็จด้วยการหยิบกระถางธูป จำนวน 3 กระถาง นำไปวางไว้บนเสา ก่อนการทำภารกิจอื่นๆ หลังจากนั้นหุ่นยนต์บังคับด้วยมือ นำฐานต้นเทียน ไปวาง ณ จุดตกแต่ง (Decoration Point) หุ่นยนต์บังคับด้วยมือนำธูปเตรียมไปใช้ในการประกอบกระทง

หุ่นยนต์อัตโนมัติ นำกลีบกระทง และดอกไม้ ทำการประกอบกระทง ภายหลังจากที่ ทำภารกิจนี้เสร็จ หุ่นยนต์บังคับด้วยมือ จึงจะสามารถนำ ไปเสียบลงไปในกระทง หลังจากนั้น หุ่นยนต์อัตโนมัติ ยกกระทงที่ประกอบเสร็จ นำไปปล่อยลงใน ในฝั่งของตนเอง โดยห้ามมิให้ชิ้นส่วนใดๆของหุ่นยนต์ทุกตัวสัมผัสกับแม่น้ำ

ท้ายสุด หุ่นยนต์อัตโนมัติ เพียง 1 ตัว จะนำเปลวเทียน ไปปล่อยเพื่อสวมลงบนต้นเทียนบนกระทง ที่ลอยอยู่ในแม่น้ำ (River Surface) โดยห้ามมิให้ชิ้นส่วนใดๆของหุ่นยนต์ทุกตัวสัมผัสกับแม่น้ำ และกระทง ที่ประกอบเสร็จแล้ว ทีมใดที่สามารถปล่อยเปลวเทียน ลงบนต้นเทียน ได้สำเร็จก่อน ทีมนั้นเป็น ฝ่ายชนะ”การแข่งขันจะแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ สีแดง และ สีน้ำเงิน การแข่งขันจะใช้เวลาทั้งหมด 3 นาที

View :1738

เนชั่น จับมืออินเทล ชวนคอไอทีสนทนาเรื่องเทคโนโลยีในอนาคต….NForum: NForum: Beyond Speed & Connected World: What’s Next?

August 3rd, 2011 No comments

เสาร์นี้ บ่ายโมงครึ่งเป็นต้นไป เนชั่น จับมืออินเทล ชวนคอไอทีสนทนาเรื่องเทคโนโลยีในอนาคต….

• เทรนด์ของเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อตอบรับกับความต้องการใ​นการทำงานและไลฟสไตล์ของคนใ​นปัจจุบัน
• การพัฒนาของเทคโนโลยีและพีซ​ีในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาและทิศทางในอนาค​ต
• เทคโนโลยีล้ำสมัยของอินเทลท​ี่มีในปัจจุบัน
• แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีในอ​นาคต

ผู้ร่วมเสวนา ได้แก่….

คุณเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ
กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
ร่วมงานกับอินเทลมาตั้งแต่ต้นปี 2539 ในตำแหน่งผู้จัดการ-อินเทลอาคิเทคเจอร์ ประจำสำนักงานประเทศไทย โดยรับผิดชอบการเผยแพร่กลยุทธ์และเทคโนโลยีของอินเทล ตลอดจนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพัฒนาของวงการอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์แก่ผู้ใช้ ทั้งในกลุ่มองค์กรธุรกิจและผู้ใช้ทั่วไปโดยตรง ก่อนที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้จัดการในปัจจุบัน

คุณพาที สารสิน
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด
(ปริญญาตรี บริหารธุรกิจและวิทยาการคอมพิวเตอร์ จาก Clark University มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา
ปริญญาโท สื่อสารมวลชน (ภาพยนตร์และวิดีทัศน์) จาก มหาวิทยาลัยอเมริกัน วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา)

คุณสมเถา สุจริตกุล
ใช้นามปากกาว่า SP ในการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีกลิ่นอายเป็นเอเซีย ผลงานของสมเถาเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด แต่ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ และได้รับรางวัลเกียรติคุณมากมายในต่างประเทศ ผลงานที่สำคัญได้แก่ “มาริสาราตี” Jasmine Nights, Aquilard กับ Absent Thee From Felicity Awhile (ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล John W.Campbell และรางวัล Hugo), Starship&Haiku (ได้รับรางวัล Locus Award), เรื่องสั้น The Dust (ได้รับรางวัล Edmund Hamilton Memorial Award ในปี 2525), เรื่องสั้นชุด Inquestor เรื่องศูนย์การค้าในอวกาศ Mallworld, ชุด Aquiiad, นวนิยายเรื่อง Starship&Haiku, รวมเรื่องสั้นชุด Fire From The Wine-Dark Sea, นวนิยายเรื่อง The Darkling Wind (ติดอันดับ Locus Bestseller)

คุณสมชัย สิทธิชัยศรีชาติ
กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ค้าส่งอุปกรณ์ไอทีรายใหญ่ของไทย

ผู้ดำเนินรายการในงานนี้ก็ได้แก่ …..

1. วรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง (@worawisut)
ผู้อยู่เบื้องหลัง ‘Marketing Hub’ คอลัมน์นิสต์ประจำ Bangkokbiznews.com และผู้ก่อตั้งเว็บ Appreview.in.th (@appreview)

2. ภิรดี พิทยาธิคุณ (@NuPink)
ทีมกองบรรณาธิการของเว็บ Thumbsup.in.th (@thumbsupTH)

ผู้สนใจสามารถเข้าไปลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการเสวนาที่น่าสนใจครั้งนี้ได้ที่นี่

https://spreadsheets.google.com/spreadsheet/viewform?formkey=dDM3cmV0WTRmeEQxVHhRMGNrajdiVlE6MA

View :1881

อินเทลร่วมฉลองครบรอบ 30 ปีคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกสานต่อนวัตกรรมคอมพิวเตอร์จากปัจจุบันสู่อนาคต

July 29th, 2011 No comments


อินเทลร่วมรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ที่บริษัทมีส่วนสำคัญในการปฏิวัติวงการไอทีตั้งแต่ยุคของคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็มเครื่องแรกไปจนถึงยุคแห่งการเติบโตของคอมพิวเตอร์และยุครุ่งเรืองของแท็บเบล็ต

ในขณะที่เรากำลังฉลองช่วงเวลาครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โลกของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลอยู่นี้ การทำความเข้าใจว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีอิทธิพลสูงเพียงใดต่อชีวิตประจำวันในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมานั้นนับเป็นสิ่งที่ยากทีเดียว ปัจจุบันเราสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้นเพียงปลายนิ้วสัมผัส และราคาของคอมพิวเตอร์ถูกลงมากอย่างที่ไม่มีใครสามารถคาดเดาได้เมื่อ 30 ปีก่อนหน้านี้ ไมโครโปรเซสเซอร์ของอินเทลกลายมาเป็นหัวใจสำคัญในการปฏิวัติวงการคอมพิวเตอร์ โดยมีบทบาทในการส่งเสริมอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง ช่วยยกระดับประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจให้สูงขึ้น อีกทั้งยังมีส่วนช่วยรังสรรค์ไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภคทั่วโลกอย่างมากอีกด้วย

จากจุดเริ่มต้นของ “สิ่งเร้นลับหลังม่านดำ”

ก่อนที่จะเกิดเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปี 2524 ผู้สนใจคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักจำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มที่มีความสนใจในเทคโนโลยี ผู้ที่ซื้อคอมพิวเตอร์โดยส่วนใหญ่จึงเป็นผู้ที่สนใจนำไปใช้ในกิจกรรมอดิเรกของตน และกระหายที่จะเรียนรู้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงการใช้งาน องค์ประกอบต่างๆ และพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมา แต่หลังจากนั้นไอบีเอ็มได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงแนวคิดดังกล่าว โดยการสร้างมาตรฐานสากลขึ้นมาในวงการอุตสาหกรรม และผลักดันการใช้งานคอมพิวเตอร์ให้ออกมาปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการใช้งานทั่วโลกในวงกว้าง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้คนจึงเริ่มเปลี่ยนมุมมองความคิดโดยมองว่า คอมพิวเตอร์คือเครื่องมือชนิดหนึ่งและไม่ใช่ของเล่นอีกต่อไป
ไอบีเอ็มเปิดตัวพีซีเป็นครั้งแรกในเดือนสิงหาคมปี 2524 ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดของยุคแห่งการหลบซ่อนอยู่ในเงามืดของคอมพิวเตอร์ และก้าวสู่ยุคของการพัฒนาอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกของไอบีเอ็มใช้ไมโครโปรเซสเซอร์รุ่น อินเทล 8086 เป็น “สมอง” ภายในคอมพิวเตอร์

การแปรสภาพของเครื่องพิมพ์ดีดที่มีจอเรืองแสง
ระบบประมวลผลผ่านการแปรสภาพต่างไปจากเดิมอย่างมาก นับตั้งแต่ถือกำเนิดขึ้นมาเป็นครั้งแรก
ผู้ที่อายุน้อยกว่า 45 ปีอาจไม่สามารถจินตนาการได้ว่าการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคเริ่มแรกเป็นอย่างไร จอภาพที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นจอโมโนโครมที่แสดงตัวอักษรและตัวเลขสีเขียวเรืองแสงออกมา แม้ว่าในช่วงแรกๆ มีการจำหน่ายจอสีด้วยเช่นกัน แต่จอสีมีการใช้ในแวดวงที่จำกัดและมีราคาค่อนข้างสูงมาก ในยุคนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้ไม่คล่องตัวมากนัก เนื่องจากยังไม่มีการแสดงผลแบบกราฟฟิกและไม่มีเมาส์สำหรับใช้งาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ในยุคปัจจุบันอาจนึกไม่ถึง ในขณะที่ผู้บริโภคในปัจจุบันสามารถซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีไมโครโปรเซสเซอร์ชั้นยอดอย่าง อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 2 ทั้งสามรุ่น คือ อินเทล คอร์ ไอ5 ไอ7 และ ไอ3 ทีมีพลังสมรรถนะในการประมวลผลที่ดีเยี่ยมกว่าสมัยก่อนมาก รวมทั้งยังประกอบด้วยคุณสมบัติต่างๆ อีกมากมาย (ขึ้นอยู่กับรุ่นของโปรเซสเซอร์) อาทิ ® Quick Sync, ® Wireless Display 2.0, ® Turbo Boost Technology 2.0 และเทคโนโลยีรุ่นล่าสุดอื่นๆ อีกหลากหลาย

ในปัจจุบัน เราสามารถเพลิดเพลินกับภาพกราฟฟิกที่มีความละเอียดสูง สร้างวิดีโอหรือภาพยนตร์ได้อย่างง่ายดาย ดาวน์โหลดข้อมูลได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้ล้วนแตกต่างจากสมัยก่อนโดยสิ้นเชิง

เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกมีราคาราวๆ 3,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 91,000 บาท) หรือราคาสูงกว่าเงินเดือนเฉลี่ยของคนไทยในขณะนั้นประมาณ 10 เท่า ปัจจุบันราคาคอมพิวเตอร์เฉลี่ยอยู่ที่ 1.75 เท่าของเงินเดือนเฉลี่ยของคนไทย และในอนาคตราคาอาจจะยิ่งถูกลงเรื่อยๆ

ในยุคนั้นคอมพิวเตอร์จำนวน 10,000 เครื่อง ถือเป็นจำนวนที่มากมายมหาศาลแล้ว จอห์น มาร์คอฟ นักเขียนของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ ผู้เขียนบทความชื่อ “มองย้อนหลังพีซีเครื่องแรกของฉัน” ที่ได้รับการตีพิมพ์เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2544 เล่าว่า ไอบีเอ็มคาดว่าจะจำหน่ายคอมพิวเตอร์ได้ 240,000 เครื่องภายในเวลา 5 ปี แต่ปรากฏว่าไอบีเอ็มได้รับยอดสั่งซื้อจำนวนนี้ภายในเดือนแรกเท่านั้น ปัจจุบันมีการจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์กว่าหนึ่งล้านเครื่องต่อวัน ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในเวลาไม่นานในช่วงชีวิตของเรา

เครื่องคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็มรุ่นแรก และ “เครื่องเลียนแบบ” ที่ปรากฏตามมาในช่วงต้นปี 2525 ถูกผู้คนมองว่าเป็นแค่ “เครื่องพิมพ์ดีดที่มีจอเรืองแสง” หรือ “เครื่องคิดเลขชั้นดีกว่าปกติ” เท่านั้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้ยังทำงานได้อย่างจำกัด แต่ในปัจจุบัน คุณสมบัติต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ได้ขยายขอบเขตออกไปถึงระดับที่ผู้คนในยุคก่อนหน้านี้ไม่เคยจินตนาการว่าจะทำได้มาก่อน คอมพิวเตอร์สามารถทำหน้าที่เป็นโทรศัพท์ ไปรษณีย์ โรงภาพยนตร์ คลังจัดเก็บข้อมูล และเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำรงชีวิตของเราไปแล้ว

วันนี้และอนาคต

กอร์ดอน มัวร์ ผู้ก่อตั้งอินเทลตั้งข้อสังเกตเอาไว้ในปี 2508 ว่า ความจุของโปรเซสเซอร์จะเพิ่มขึ้นสองเท่าทุกๆ 18 เดือน ซึ่งนำไปสู่ประสิทธิภาพในการประมวลผลที่เพิ่มเป็นทวีคูณภายในช่วงเวลาสั้นๆ คำพูดดังกล่าวต่อมาได้กลายเป็น “กฎของมัวร์” และแนวโน้มดังกล่าวยังคงเป็นจริงมาจนถึงทุกวันนี้ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพในการประมวลผลสำหรับผู้บริโภคมากกว่าคอมพิวเตอร์ที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเคยใช้ในการส่งคนไปดวงจันทร์เสียอีก และวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ก็มิได้หยุดนิ่งอยู่แค่นั้นหลังจากผ่านไปแล้ว 30 ปี

นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโคร อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ความก้าวหน้าในสามทศวรรษที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในการปฏิวัติวิธีการที่ผู้คนสื่อสาร ทำงาน ศึกษาและเรียนรู้ ตลอดจนแสวงหาความสุขใส่ตัว ในขณะที่วิวัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วสำหรับโปรเซสเซอร์ของอินเทลจะยิ่งทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการจัดการงานต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นอย่างที่ผู้คนในช่วงหนึ่งหรือสองปีก่อนหน้านี้คาดไม่ถึงว่าจะทำได้”

ปัจจุบันระบบประมวลผลมีการแปลงสภาพต่างไปจากเดิมอย่างมาก จากยุคที่เป็นแค่เครื่องพิมพ์ดีดซึ่งมีจอเรืองแสง ไปจนถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน้ตบุ๊ก เน็ตบุ๊ก และอุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่ใช้งานร่วมกับพีซีได้ สมาร์ทโฟน กระทั่งมาถึงยุคของแท็บเบล็ต คอมพิวเตอร์กลายเป็นอุปกรณ์ที่มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น และยังคงทวีความแข็งแกร่งไปทั่วโลก วิสัยทัศน์ของอินเทลในอนาคตอันใกล้นี้คือ การนำรูปแบบการใช้งานแนวใหม่มาใช้ ซึ่งมาในรูปของคอมพิวเตอร์แบบพกพารุ่นใหม่อย่าง Ultrabook นั่นเอง คอมพิวเตอร์ชนิดนี้จะให้ประสิทธิภาพและคุณสมบัติต่างๆ ของโน้ตบุ๊กที่มีอยู่ในปัจจุบันไปผสมผสานกับคุณสมบัติต่างๆ ของแท็บเบล็ต เพื่อให้มีรูปแบบการใช้งานที่สามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย ด้วยดีไซน์ของเครื่องที่บางมาก (บางไม่ถึง 20 มม.) น้ำหนักเบาและดูเรียบหรู ในราคาทั่วไปที่ต่ำกว่า 1,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 29,900 บาท) นอกจากนั้น คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ยังช่วยส่งเสริมให้ผู้บริโภคแต่ละรายสามารถเป็นเจ้าของคอมพิวเตอร์ได้มากกว่าหนึ่งเครื่อง เพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน ที่บ้าน หรือขณะอยู่บนท้องถนนก็ตาม


นอกจากนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จะกลายเป็นศูนย์กลางสำหรับทุกครัวเรือน ไม่ว่าจะใช้เป็นระบบประมวลผลข้อมูล เพื่อความบันเทิง หรือใช้ระบบสื่อสารก็ตาม โดยใช้เทคโนโลยีที่มีวิวัฒนาการอย่าง Wi-Di (Wireless Display) ซึ่งจะเข้ามาเป็นตัวเชื่อมการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และทีวีได้ และสมาชิกในบ้านทุกคนสามารถหันมาใช้เวลาอันมีค่าร่วมกันได้มากขึ้น ใน “ยุคแห่งการเติบโตของคอมพิวเตอร์” คอมพิวเตอร์ที่บ้านจะได้รับการใช้งานมากขึ้น และผู้บริโภคจะกลายเป็นศูนย์กลางเพื่อกำหนดประสบการณ์การใช้อินเทอร์เน็ตของตนเอง ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่ยากจะคาดเดาว่าจะมีอะไรรอเราอยู่ที่ปลายนิ้วในอนาคตอันใกล้นี้

เมื่อถึงจุดหนึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ อินเทลคาดหวังว่าการก้าวกระโดดของประสิทธิภาพในครั้งต่อไปจะทำให้ระบบประมวลผลก้าวไปสู่ยุคใหม่อีกครั้ง ตัวอย่างเช่นคอมพิวเตอร์ที่สามารถรับคำสั่งที่เป็นเสียงพูดและตอบสนองได้ในทันทีเป็นต้น

เราได้เดินทางมาไกลมาก นับตั้งแต่ยุคที่พัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาที่ผู้คนต้องปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยี จนถึงปัจจุบันที่ไลฟ์สไตล์และความต้องการต่างๆ ของผู้คนได้กลายเป็นปัจจัยหลักของการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับเทคโนโลยีไปแล้ว ระบบประมวลผลส่วนบุคคลได้กลายมามีความเป็นส่วนบุคคลอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

View :2123