Archive

Archive for the ‘Technology’ Category

ไอบีเอ็มเผยผลสำรวจซีไอโอแห่งศตวรรษ 3,000 ซีไอโอทั่วโลกเผยบทบาทที่เปลี่ยนไปของซีไอโอยุค2011

September 9th, 2011 No comments

ชี้แนวโน้มบิสสิเนสอินเทลลิเจนซ์ โซลูชันสำหรับอุปกรณ์พกพา และคลาวด์คอมพิวติ้งมาแรง

ไอบีเอ็มเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ (ซีไอโอ)ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปีซึ่งชี้ให้เห็นวิสัยทัศน์ของซีไอโอทั่วโลกที่ใกล้เคียงกับวิสัยทัศน์ของซีอีโออย่างมีนัยสำคัญเป็นครั้งแรก บทบาทของซีไอโอและเทคโนโลยีในปัจจุบันทวีความสำคัญมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในฐานะผู้สร้างนวัตกรรมและความสำเร็จทางธุรกิจให้แก่องค์กร ผลการสำรวจยังเผย “4 พันธกิจของซีไอโอ” หรือบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันในสี่รูปแบบของซีไอโอยุคปัจจุบันซึ่งขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายทางธุรกิจขององค์กร พร้อมชี้แนวโน้มเทคโนโลยีที่ซีไอโอทั่วโลกให้ความสำคัญ

นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ปัจจุบันผู้บริหารซีไอโอไม่ได้ถูกมองว่าเป็นเพียงผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่กลับทวีความสำคัญยิ่งขึ้นในฐานะคู่คิดและพันธมิตรขององค์กรสำหรับการขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ไอทีไม่ได้เป็นเพียงแค่เครื่องมือที่ใช้รองรับธุรกิจอีกต่อไป หากแต่เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเสริมสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันและเป็นสิ่งที่ผสานรวมอยู่ในทุกแง่มุมขององค์กร จากผลสำรวจนี้ ซีไอโอที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือซีไอโอที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อการสนองเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กรได้อย่างตรงจุดมากที่สุด

“เป้าหมายของผลสำรวจของไอบีเอ็มที่รวมเอาความคิดเห็นของซีไอโอกว่า 3,000 คนทั่วโลก และซีไอโอจากบริษัทชั้นนำถึง 40 คนในประเทศไทยครั้งนี้ คือการช่วยให้ซีไอโอตระหนักรู้และมุ่งเน้นบทบาทของตนให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร อันจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับผู้บริหารซีไอโอทั่วโลก และช่วยให้องค์กรธุรกิจได้รับประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยี” นางพรรณสิรีกล่าว

ปัจจุบัน ผู้บริหารระดับซีอีโอและซีไอโอให้ความสำคัญใน 3 ประเด็นหลักที่ตรงกันในการบริหารองค์กร นั่นคือ การเสริมสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลูกค้า การพัฒนาทักษะของบุคลากร และการกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลทางธุรกิจที่มีอยู่ ส่วนในเชิงเทคโนโลยี ผลการศึกษาของไอบีเอ็มบ่งชี้ถึงเทคโนโลยีที่ซีไอโอให้ความสำคัญ ดังนี้

บิสซิเนสอินเทลลิเจนซ์ (Business Intelligence) และระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics)
4 ใน 5 ของซีไอโอทั่วโลก รวมถึงซีไอโอ 86 เปอร์เซ็นต์ในภูมิภาคอาเซียน มองว่าระบบบิสซิเนสอินเทลลิเจนซ์ (Business Intelligence) และระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) มีความสำคัญสูงสุดสำหรับองค์กรธุรกิจในปัจจุบัน เนื่องจากองค์กรต้องรับมือกับข้อมูลที่เพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาล

เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)
เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเหนือภารกิจอื่นๆ ของซีไอโอ โดยซีไอโอถึง 57 เปอร์เซ็นต์ในภูมิภาคอาเซียน พร้อมที่จะปรับใช้คลาวด์คอมพิวติ้งในช่วง 5 ปีข้างหน้า เพื่อขยายธุรกิจให้เติบโตและเสริมสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขัน ซึ่งมากกว่าเกือบ 2 เท่าเมื่อเทียบกับผลการศึกษาของเมื่อ 2 ปีที่แล้ว

โซลูชันสำหรับอุปกรณ์พกพา (Mobility Solutions)
ซีไอโอให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้นต่อโซลูชันสำหรับอุปกรณ์พกพา (Mobility Solutions) เพื่อก้าวให้ทันตลาดปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอุปกรณ์พกพามีจำนวนเพิ่มขึ้นและมีฟังก์ชั่นการทำงานที่ดีขึ้น อีกทั้งจำนวนโมบายล์แอพพลิเคชั่นที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจและโอกาสใหม่ๆ ในตลาดก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผู้บริหารซีไอโอเกือบ 3 ใน 4 รวมทั้ง 68% ของซีไอโอในภูมิภาคอาเซียน จึงมองว่าโซลูชันสำหรับอุปกรณ์พกพา เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะพลิกเกมธุรกิจให้กับองค์กรได้อย่างแท้จริง

นอกเหนือจากนี้ ผลการสำรวจของไอบีเอ็มยังเปิดเผยถึงบทบาทหน้าที่ของซีไอโอในปัจจุบัน หรือ “4 พันธกิจของซีไอโอ” ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดสี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มแตกต่างกันออกไปตามความมุ่งหวังทางธุรกิจของแต่ละองค์กร พันธกิจที่แตกต่างกันของซีไอโอมิได้เป็นเครื่องชี้วัดผลกำไร ความก้าวหน้าหรือความสำเร็จขององค์กร ในทางกลับกัน เป้าหมายและความจำเป็นทางธุรกิจเป็นเครื่องกำหนดพันธกิจที่แตกต่างของซีไอโอ

พันธกิจของซีไอโอ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

พันธกิจเพิ่มประสิทธิผล (Leverage) คือพันธกิจหลักของซีไอโอในองค์กรที่มองว่าบทบาทของไอทีคือการเพิ่มความคล่องตัวในระบบการปฎิบัติงานและเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

พันธกิจเพิ่มขยาย (Expand) คือพันธกิจหลักของซีไอโอในองค์กรที่มองว่า บทบาทของไอทีคือการการปรับปรุงการจัดการระบบงานธุรกิจอย่างครบวงจรและเพิ่มการประสานงานภายในองค์กร องค์กรมุ่งหวังให้ใช้ไอทีเพื่อ re-engineer องค์กร ทำให้องค์กรทำงานได้เร็วขึ้น คล่องตัวสูงขึ้น และพร้อมที่จะเปลี่ยนข้อมูลที่มีอยู่เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับองค์กร

พันธกิจการปฏิรูป (Transform) คือพันธกิจหลักของซีไอโอในองค์กรที่มองว่าบทบาทของไอทีคือการนำไอทีโซลูชันเช่น CRM มาตอบโจทย์และเพิ่มคุณค่าให้กับธุรกิจนั้นๆ ด้วยการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและคู่ค้า

พันธกิจผู้บุกเบิก (Pioneer)
คือพันธกิจหลักของซีไอโอในองค์กรที่มองว่าบทบาทของไอทีมีความสำคัญในการสร้างนวัตกรรมให้กับผลิตภัณฑ์ ช่องทางการตลาด รวมถึงรูปแบบของธุรกิจเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กร

จากผลการสำรวจ บริษัทที่มีผลประกอบการที่โดดเด่น คือบริษัทที่มีทีมผู้บริหารซีไอโอที่มุ่งเน้นพันธกิจทางด้านไอทีที่สอดคล้องกับธุรกิจ โดยองค์กรจะต้องระบุและสื่อสารอย่างชัดเจนเกี่ยวกับหน้าที่หรือ “พันธกิจ” ของผู้บริหารซีไอโอและทีมงาน ซึ่งพันธกิจที่แตกต่างกันตามความต้องการทางธุรกิจของแต่ละองค์กรนี้ สามารถใช้เป็นกลไกหลักสำหรับการพิจจารณาลงทุนด้านไอที การลงทุนด้านการพัฒนาทักษะที่บุคคลากรฝ่ายไอทีจำเป็นต้องแสวงหาและพัฒนาเพิ่มเติม

เกี่ยวกับผลการศึกษาซีไอโอประจำปี 2011
ผลการศึกษาซีไอโอประจำปี 2011 เป็นส่วนหนึ่งของผลการศึกษาเกี่ยวกับผู้บริหารระดับสูงของไอบีเอ็ม ( C-Suite Study Series) ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่โดยสถาบันเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม ( Institute for Business Value) ผลการศึกษาซีไอโอทั่วโลก ) ประจำปี 2011 ของไอบีเอ็มเป็นผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวสำหรับผู้บริหารซีไอโอจากองค์กรทุกขนาดใน 71 ประเทศ และ 18 กลุ่มอุตสาหกรรม ภายใต้ชื่อ “The Essential CIO” โดยข้อมูลที่พบเน้นย้ำถึงบทบาทที่สำคัญมากขึ้นของซีไอโอในฐานะผู้นำด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการเติบโตให้กับธุรกิจ ผลการศึกษาดังกล่าวตีพิมพ์เผยแพร่เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของไอบีเอ็ม โดยบริษัทฯ เคยมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้องค์กรต่างๆ เล็งเห็นถึงความจำเป็นของตำแหน่งซีไอโอในช่วงทศวรรษ 1950 และ 1960 ซึ่งเป็นยุคเริ่มแรกของเทคโนโลยีระบบประมวลผลในเชิงธุรกิจ และยกระดับตำแหน่งดังกล่าวในช่วงหลายทศวรรษต่อมาเพื่อให้ซีไอโอมีบทบาทสำคัญในการประชุมของผู้บริหารระดับสูง

View :1547

เอชพี ขึ้นแท่นผู้นำตลาดระบบเครือข่ายทั่วโลก

September 9th, 2011 No comments

เอชพี ประกาศความสำเร็จครองแชมป์ผู้นำตลาด ส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดทั่วโลกและทุกๆ ภูมิภาคในทุกผลิตภัณฑ์ของระบบเครือข่าย ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554

รายงานฉบับล่าสุดของบริษัทวิเคราะห์ เดลล์’โอโร กรุ๊ป (Dell’Oro Group)(1) ระบุว่า ผลิตภัณฑ์ Networking มีการเติบโตรวดเร็วกว่าตลาดโดยรวม ทั้งยังมีส่วนแบ่งรายได้เพิ่มขึ้นเหนือกว่าสภาวะการแข่งขันในตลาดโดยรวม

นอกจากนี้ รายงานฉบับดังกล่าวยังเผยว่า ในไตรมาส 1 ปี 2554 เอชพีมีส่วนแบ่งด้านรายได้ในตลาดอุปกรณ์อีเทอร์เน็ต สวิตชิ่ง ทั้งประเภทเลเยอร์ 2 และเลเยอร์ 3 ทั่วโลกคิดเป็นร้อยละ 2.5 จุด ขณะที่ซิสโก้มีส่วนแบ่งด้านรายได้ลดลง 5.8 จุดในไตรมาสเดียวกันนี้

อชพีมีส่วนแบ่งรายได้ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เราเตอร์ร้อยละ 2.5 จุด และกลุ่มผลิตภัณฑ์แลนไร้สาย (WLAN) ร้อยละ 2.2 จุดในช่วงเวลาดังกล่าว(1) เทียบกับซิสโก้ที่มีส่วนแบ่งรายได้ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เราเตอร์และกลุ่มผลิตภัณฑ์ WLAN ลดลงร้อยละ 3.1 จุด และ 0.4 จุดตามลำดับ

ทั้งนี้ ด้วยเทคโนโลยีของเอชพี จะช่วยให้ลูกค้าเปลี่ยนไปใช้ระบบเครือข่ายแบบเปิดที่มีการใช้งานที่ง่าย และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อขับเคลื่อนสภาพแวดล้อมขององค์กรให้ก้าวสู่มิติใหม่ที่มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น การเติบโตของส่วนแบ่งการตลาดของเอชพีอย่างรวดเร็วนี้ สามารถสะท้อนให้เห็นว่าลูกค้ามีความมั่นใจในระบบผลิตภัณฑ์เครือข่าย HP Networking เป็นอย่างยิ่งนั่นเอง

เมื่อเร็วๆนี้ เอชพีได้เปิดตัวระบบสถาปัตยกรรม HP FlexNetwork ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบผนวกเพียงระบบเดียวในอุตสาหกรรมไอทีที่รองรับการทำงานของระบบศูนย์ข้อมูลหรือดาต้าเซ็นเตอร์ แคมปัส และสาขา เพื่อเร่งการเติบโตของตลาดระบบเครือข่าย ทั้งนี้ สถาปัตยกรรม HP FlexNetwork เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบผนวก (HP Converged Infrastructure) โดยผนวกรวมคลังเครือข่ายทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสนับสนุนการนำระเบียบวิธีต่างๆ (protocols) มาใช้บนอุปกรณ์เครือข่ายทุกประเภทเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งองค์กร

คุณศักดิ์ชัย ปัญญจเร ผู้อำนวยการ หน่วยธุรกิจ HP Networking เอชพี ประเทศไทย กล่าวว่า “ลูกค้ามีความต้องการอย่างเร่งด่วนในการปลดระวางระบบเครือข่ายที่ไม่ยืดหยุ่น มีความซับซ้อน และมีราคาแพง โดยความต้องการเหล่านี้ขององค์กรธุรกิจเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้หน่วยธุรกิจ HP Networking มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ลูกค้าทั่วโลกไว้วางใจให้เอชพีเป็นผู้พัฒนาระบบเครือข่าย เพราะสามารถบริหารจัดการระบบเครือข่ายได้ง่ายขึ้นและมีความยืดหยุ่นยิ่งขึ้น มีความพร้อมและรองรับการปรับไปสู่ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งและระบบคอมพิวติ้งอื่นๆ ที่มีความยืดหยุ่นได้เป็นอย่างดี”

คุณสมบัติอันโดดเด่นอื่นๆ ของเอชพีตามที่ระบุไว้ในรายงานล่าสุดของเดลล์’ โอโร กรุ๊ป ประกอบด้วย

· ครองอันดับหนึ่งในตลาดอุปกรณ์สวิตช์ที่มีการจัดการอย่างชาญฉลาด โดยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 34 ล้ำหน้าแบรนด์อันดับ 2 ร้อยละ 13 จุด(2)

· มีรายได้และหน่วยหุ้นในตลาดอุปกรณ์สวิตช์และเราเตอร์เป็นอันดับ 2 โดยอุปกรณ์สวิตช์มีส่วนแบ่งด้านรายได้ร้อยละ 12 และส่วนแบ่งหน่วยหุ้นร้อยละ 20.2 ขณะที่อุปกรณ์เราเตอร์มีส่วนแบ่งด้านรายได้ร้อยละ 5.5 และส่วนแบ่งหน่วยหุ้นร้อยละ 10.3 (1)

· มีส่วนแบ่งรายได้จากอุปกรณ์สวิตช์ต่อปีเทียบกับปีที่ผ่านมาในทุกภูมิภาค ดังนี้ : ร้อยละ 1 จุดในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ร้อยละ 2 จุดในภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ร้อยละ 6 จุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น และร้อยละ 4 จุดในภูมิภาคละตินอเมริกา (1)

· มีส่วนแบ่งด้านรายได้ในกลุ่มอุปกรณ์สวิตช์มากกว่าตลาดโดยรวมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่นในไตรมาสแรกของปี 2554 โดยมีการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 จากร้อยละ 14.6 ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และในภูมิภาคละตินอเมริกามีการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 จากร้อยละ 12.6 ในไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา (1)

· มีการเติบโตมากกว่าตลาดโดยรวมในกลุ่มอุปกรณ์สวิตช์ เราติ้ง และ WLAN ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่ในไตรมาสแรกของปี 2552 (1)

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชั่น HP Networking สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.hp.com/networking

ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบผนวกของเอชพี (HP Converged Infrastructure) เป็นองค์ประกอบสำคัญของการเป็นองค์กรแบบ Instant-On Enterprise ทั้งนี้ ในโลกที่มีการเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง แนวคิดแบบ Instant-On Enterprise คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในทุกกิจกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า พนักงาน พันธมิตร และประชาชนได้อย่างตรงจุดและโดยทันที

View :1495
Categories: Press/Release, Technology Tags:

ไอบีเอ็มเผยผลสำรวจ 3,000 ซีไอโอทั่วโลกเผยบทบาทที่เปลี่ยนไปของซีไอโอยุค2011 ชี้แนวโน้มบิสสิเนสอินเทลลิเจนซ์ โซลูชันสำหรับอุปกรณ์พกพา และคลาวด์คอมพิวติ้งมาแรง

September 7th, 2011 No comments

ไอบีเอ็มเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ (ซีไอโอ)ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปีซึ่งชี้ให้เห็นวิสัยทัศน์ของซีไอโอทั่วโลกที่ใกล้เคียงกับวิสัยทัศน์ของซีอีโออย่างมีนัยสำคัญเป็นครั้งแรก บทบาทของซีไอโอและเทคโนโลยีในปัจจุบันทวีความสำคัญมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในฐานะผู้สร้างนวัตกรรมและความสำเร็จทางธุรกิจให้แก่องค์กร ผลการสำรวจยังเผย “4 พันธกิจของซีไอโอ” หรือบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันในสี่รูปแบบของซีไอโอยุคปัจจุบันซึ่งขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายทางธุรกิจขององค์กร พร้อมชี้แนวโน้มเทคโนโลยีที่ซีไอโอทั่วโลกให้ความสำคัญ

นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ปัจจุบันผู้บริหารซีไอโอไม่ได้ถูกมองว่าเป็นเพียงผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่กลับทวีความสำคัญยิ่งขึ้นในฐานะคู่คิดและพันธมิตรขององค์กรสำหรับการขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ไอทีไม่ได้เป็นเพียงแค่เครื่องมือที่ใช้รองรับธุรกิจอีกต่อไป หากแต่เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเสริมสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันและเป็นสิ่งที่ผสานรวมอยู่ในทุกแง่มุมขององค์กร จากผลสำรวจนี้ ซีไอโอที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือซีไอโอที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อการสนองเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กรได้อย่างตรงจุดมากที่สุด

“เป้าหมายของผลสำรวจของไอบีเอ็มที่รวมเอาความคิดเห็นของซีไอโอกว่า 3,000 คนทั่วโลก และซีไอโอจากบริษัทชั้นนำถึง 40 คนในประเทศไทยครั้งนี้ คือการช่วยให้ซีไอโอตระหนักรู้และมุ่งเน้นบทบาทของตนให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร อันจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับผู้บริหารซีไอโอทั่วโลก และช่วยให้องค์กรธุรกิจได้รับประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยี” นางพรรณสิรีกล่าว

ปัจจุบัน ผู้บริหารระดับซีอีโอและซีไอโอให้ความสำคัญใน 3 ประเด็นหลักที่ตรงกันในการบริหารองค์กร นั่นคือ การเสริมสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลูกค้า การพัฒนาทักษะของบุคลากร และการกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลทางธุรกิจที่มีอยู่ ส่วนในเชิงเทคโนโลยี ผลการศึกษาของไอบีเอ็มบ่งชี้ถึงเทคโนโลยีที่ซีไอโอให้ความสำคัญ ดังนี้

บิสซิเนสอินเทลลิเจนซ์ (Business Intelligence) และระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics)
4 ใน 5 ของซีไอโอทั่วโลก รวมถึงซีไอโอ 86 เปอร์เซ็นต์ในภูมิภาคอาเซียน มองว่าระบบบิสซิเนสอินเทลลิเจนซ์ (Business Intelligence) และระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) มีความสำคัญสูงสุดสำหรับองค์กรธุรกิจในปัจจุบัน เนื่องจากองค์กรต้องรับมือกับข้อมูลที่เพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาล

เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)

เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเหนือภารกิจอื่นๆ ของซีไอโอ โดยซีไอโอถึง 57 เปอร์เซ็นต์ในภูมิภาคอาเซียน พร้อมที่จะปรับใช้คลาวด์คอมพิวติ้งในช่วง 5 ปีข้างหน้า เพื่อขยายธุรกิจให้เติบโตและเสริมสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขัน ซึ่งมากกว่าเกือบ 2 เท่าเมื่อเทียบกับผลการศึกษาของเมื่อ 2 ปีที่แล้ว

โซลูชันสำหรับอุปกรณ์พกพา (Mobility Solutions)
ซีไอโอให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้นต่อโซลูชันสำหรับอุปกรณ์พกพา (Mobility Solutions) เพื่อก้าวให้ทันตลาดปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอุปกรณ์พกพามีจำนวนเพิ่มขึ้นและมีฟังก์ชั่นการทำงานที่ดีขึ้น อีกทั้งจำนวนโมบายล์แอพพลิเคชั่นที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจและโอกาสใหม่ๆ ในตลาดก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผู้บริหารซีไอโอเกือบ 3 ใน 4 รวมทั้ง 68% ของซีไอโอในภูมิภาคอาเซียน จึงมองว่าโซลูชันสำหรับอุปกรณ์พกพา เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะพลิกเกมธุรกิจให้กับองค์กรได้อย่างแท้จริง

นอกเหนือจากนี้ ผลการสำรวจของไอบีเอ็มยังเปิดเผยถึงบทบาทหน้าที่ของซีไอโอในปัจจุบัน หรือ “4 พันธกิจของซีไอโอ” ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดสี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มแตกต่างกันออกไปตามความมุ่งหวังทางธุรกิจของแต่ละองค์กร พันธกิจที่แตกต่างกันของซีไอโอมิได้เป็นเครื่องชี้วัดผลกำไร ความก้าวหน้าหรือความสำเร็จขององค์กร ในทางกลับกัน เป้าหมายและความจำเป็นทางธุรกิจเป็นเครื่องกำหนดพันธกิจที่แตกต่างของซีไอโอ

พันธกิจของซีไอโอ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
พันธกิจเพิ่มประสิทธิผล (Leverage) คือพันธกิจหลักของซีไอโอในองค์กรที่มองว่าบทบาทของไอทีคือการเพิ่มความคล่องตัวในระบบการปฎิบัติงานและเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

พันธกิจเพิ่มขยาย (Expand) คือพันธกิจหลักของซีไอโอในองค์กรที่มองว่า บทบาทของไอทีคือการการปรับปรุงการจัดการระบบงานธุรกิจอย่างครบวงจรและเพิ่มการประสานงานภายในองค์กร องค์กรมุ่งหวังให้ใช้ไอทีเพื่อ re-engineer องค์กร ทำให้องค์กรทำงานได้เร็วขึ้น คล่องตัวสูงขึ้น และพร้อมที่จะเปลี่ยนข้อมูลที่มีอยู่เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับองค์กร

พันธกิจการปฏิรูป (Transform) คือพันธกิจหลักของซีไอโอในองค์กรที่มองว่าบทบาทของไอทีคือการนำไอทีโซลูชันเช่น CRM มาตอบโจทย์และเพิ่มคุณค่าให้กับธุรกิจนั้นๆ ด้วยการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและคู่ค้า

พันธกิจผู้บุกเบิก (Pioneer)
คือพันธกิจหลักของซีไอโอในองค์กรที่มองว่าบทบาทของไอทีมีความสำคัญในการสร้างนวัตกรรมให้กับผลิตภัณฑ์ ช่องทางการตลาด รวมถึงรูปแบบของธุรกิจเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กร

จากผลการสำรวจ บริษัทที่มีผลประกอบการที่โดดเด่น คือบริษัทที่มีทีมผู้บริหารซีไอโอที่มุ่งเน้นพันธกิจทางด้านไอทีที่สอดคล้องกับธุรกิจ โดยองค์กรจะต้องระบุและสื่อสารอย่างชัดเจนเกี่ยวกับหน้าที่หรือ “พันธกิจ” ของผู้บริหารซีไอโอและทีมงาน ซึ่งพันธกิจที่แตกต่างกันตามความต้องการทางธุรกิจของแต่ละองค์กรนี้ สามารถใช้เป็นกลไกหลักสำหรับการพิจจารณาลงทุนด้านไอที การลงทุนด้านการพัฒนาทักษะที่บุคคลากรฝ่ายไอทีจำเป็นต้องแสวงหาและพัฒนาเพิ่มเติม

เกี่ยวกับผลการศึกษาซีไอโอประจำปี 2011

ผลการศึกษาซีไอโอประจำปี 2011 เป็นส่วนหนึ่งของผลการศึกษาเกี่ยวกับผู้บริหารระดับสูงของไอบีเอ็ม ( C-Suite Study Series) ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่โดยสถาบันเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม ( Institute for Business Value) ผลการศึกษาซีไอโอทั่วโลก ) ประจำปี 2011 ของไอบีเอ็มเป็นผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวสำหรับผู้บริหารซีไอโอจากองค์กรทุกขนาดใน 71 ประเทศ และ 18 กลุ่มอุตสาหกรรม ภายใต้ชื่อ “The Essential CIO” โดยข้อมูลที่พบเน้นย้ำถึงบทบาทที่สำคัญมากขึ้นของซีไอโอในฐานะผู้นำด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการเติบโตให้กับธุรกิจ ผลการศึกษาดังกล่าวตีพิมพ์เผยแพร่เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของไอบีเอ็ม โดยบริษัทฯ เคยมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้องค์กรต่างๆ เล็งเห็นถึงความจำเป็นของตำแหน่งซีไอโอในช่วงทศวรรษ 1950 และ 1960 ซึ่งเป็นยุคเริ่มแรกของเทคโนโลยีระบบประมวลผลในเชิงธุรกิจ และยกระดับตำแหน่งดังกล่าวในช่วงหลายทศวรรษต่อมาเพื่อให้ซีไอโอมีบทบาทสำคัญในการประชุมของผู้บริหารระดับสูง

View :1514

ธนาคารไทยพาณิชย์และธนาคารกรุงไทยลงนามสัญญาสนับสนุนเงินทุน48,940 ล้านบาทกลุ่มทรู

September 7th, 2011 No comments

ลงนามสัญญาสินเชื่อร่วมกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยมี จำกัด (มหาชน) และ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้เงินกู้หลัก ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เป็นผู้ให้เงินกู้ร่วมจำนวนวงเงินรวมทั้งสิ้น 48,940 ล้านบาท โดยเงินจำนวนดังกล่าวจะนำไปใช้ลงทุนในการขยายธุรกิจสื่อสารไร้สายกลุ่มทรู และชำระคืนหนี้สินเดิมบางส่วน รวมทั้งใช้เป็นเงินลงทุนหมุนเวียนในการขยายธุรกิจเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มทรู

นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารรู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่งที่กลุ่มทรูให้ความไว้วางใจธนาคารอย่างต่อเนื่อง ธนาคารพร้อมให้การสนับสนุนกลุ่มทรูตามยุทธศาสตร์ระยะยาวของกลุ่มในการเป็นผู้นำด้าน Convergence การสนับสนุนธุรกรรมในครั้งนี้ถือเป็นการให้บริการแบบครบวงจร โดยธนาคารเริ่มจากการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของกลุ่มธุรกิจไร้สาย (wireless) ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาจัดโครงสร้างทางธุรกิจและทางการเงินที่เหมาะสมเพี่อช่วยให้กลุ่มทรูสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมไปถึงเป็น Lead Arranger ร่วมกับ ธนาคารกรุงไทย ในการจัดหาแหล่งเงินทุนในระยะยาวเพื่อสนับสนุนการลงทุนเพื่อการให้บริการด้าน 3G

ซึ่งการลงทุนสนับสนุนด้านการเงินจำนวน 48,940 ล้านบาทแก่กลุ่มทรูในครั้งนี้ จะเสริมศักยภาพให้กลุ่มทรูสามารถเดินหน้าให้บริการ 3G ระบบ HSPA อย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุมทั่วประเทศ เป็นการยกระดับพัฒนาไปสู่บรอดแบนด์ไร้สายอย่างเต็มรูปแบบในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค และเป็นประโยชน์แก่กลุ่มทรูซึ่งเน้นยุทธศาสตร์ด้าน convergence มาโดยตลอด พร้อมกันนี้ธนาคารขอขอบคุณธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยที่เป็นพันธมิตรในการให้เงินกู้ร่วมกับธนาคารในครั้งนี้

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ธนาคารเดินหน้าให้การสนับสนุนสินเชื่อกับทุกภาคส่วน และมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ให้การสนับสนุนวงเงินสินเชื่อแก่กลุ่มทรู ซึ่งมียุทธศาสตร์ระยะยาวที่ชัดเจนในการเป็นผู้นำด้าน Convergence การลงทุนในครั้งนี้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพธุรกิจสื่อสารไร้สายและบริการ 3G ในประเทศไทยให้ก้าวหน้าครอบคลุมเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถสนองตอบความต้องการของประชาชน ผู้บริโภคในการสื่อสาร และเข้าถึงแหล่งความรู้ ข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ไร้พรมแดน และเกิดประโยชน์สูงสุด

นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหารกลุ่มทรู บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า กลุ่มทรู ขอขอบคุณกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ทั้งธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) รวมทั้งผู้ให้เงินกู้ร่วมคือธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ที่ให้ความวางใจสนับสนุนทางการเงินกับกลุ่มทรู รวมทั้งเชื่อมั่นในศักยภาพการดำเนินธุรกิจของบริษัทเอกชนไทย ตลอดจนพร้อมร่วมผลักดันธุรกิจโทรคมนาคมไทยให้ก้าวทันโลก โดยมีมูลค่าเงินสนับสนุนครั้งนี้รวมทั้งสิ้น 48,940 ล้านบาท เป็นสินเชื่อระยะยาวอายุไม่เกิน 10 ปี และเป็นสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน โดยบางส่วนจะนำไปชำระคืนหนี้สินเดิม ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นโอกาสสำคัญในการขยายการลงทุนธุรกิจสื่อสารไร้สายของกลุ่ม เพิ่มศักยภาพโครงข่ายและขีดความสามารถการเข้าถึงให้ครอบคลุมเต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สร้างประโยชน์สูงสุดให้ประชาชนชาวไทยทั่วประเทศ สามารถเข้าถึงความรู้ข้อมูล ข่าวสาร ได้ทัดเทียมกัน

View :1483

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทยเลือกไอบีเอ็มวางโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีก้าวสู่การเป็นธนาคารชั้นนำระดับอาเซียน

September 5th, 2011 No comments

มั่นใจเลือกไอบีเอ็มเป็นพันธมิตร วางโครงสร้างพื้นฐานไอที ติดตั้งไอบีเอ็ม เพาเวอร์7 ซิสเต็มส์ และ ไอ ( POWER7 systems with i) เครื่องแรกในไทย พร้อมด้วยสตอเรจ DS8800 และไอบีเอ็ม ซิสเต็มส์เอ็กซ์ ( System X) ระบบหลักของธนาคารที่ให้ประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นสูง ภายใต้โครงการ 1 Platform เพื่อสร้างระบบ Core Banking มาตรฐานหนึ่งเดียวสำหรับธุรกิจของซีไอเอ็มบีในประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ตามยุทธศาสตร์ของกลุ่มซีไอเอ็มบี เพื่อก้าวสู่การเป็นธนาคารระดับอาเซียน

นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทยได้ลงนามในสัญญากับบริษัท ไอบีเอ็ม ให้เป็นผู้วางรากฐานไอทีระบบ Core Banking ในโครงการ 1 Platform ซึ่งมีขนาดใหญ่และครอบคลุมขอบเขตงานหลายด้าน การติดตั้งระบบดังกล่าว จะดำเนินการทีละประเทศ โดยเริ่มจากประเทศไทยที่ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เป็นประเทศแรก ตามด้วยมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ตามลำดับ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันภายในปี 2558 สะท้อนความมุ่งมั่นของกลุ่มซีไอเอ็มบีในการวางกรอบการดำเนินงานภายใต้ระบบเดียวกันจนเป็นธนาคารระดับภูมิภาคที่มีศักยภาพในการแข่งขันอย่างแท้จริง

สำหรับโครงการ 1 Platform คือการติดตั้งและพัฒนาระบบปฏิบัติการหลัก (Core Banking System) ซึ่งเป็นระบบที่อยู่เบื้องหลังการให้บริการ โดยจัดการข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการเงินฝาก สินเชื่อ รวมทั้งบริการโอนเงิน และรับชำระเงิน ของธนาคาร เพื่อปรับการทำงานและการบริการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยใช้ระบบเดียวกัน ของเครือข่ายซีไอเอ็มบีทั้ง 4 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย ซึ่งก็คือ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
นายสุภัค กล่าวว่า โครงการ 1 Platform ถือเป็นส่วนสำคัญในโครงการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ด้วยเงินลงทุนกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท และใช้เวลาดำเนินโครงการ 5 ปี ซึ่งเป็นการดำเนินงานครั้งใหญ่ระดับภูมิภาคของกลุ่มที่มีขนาดลงทุนรวมทั้งสิ้นถึงกว่า 2.1 หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกัน โครงการ Transformation ยังประกอบด้วยส่วนอื่นๆที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ ระบบการจัดการและรายงานทางการเงิน ระบบบริหารทรัพยากรบุคคลครบวงจร ระบบการบริหารงานขายส่วนหน้า (Front-end) ใหม่ทั้งระบบ และระบบ Transaction Banking ระดับภูมิภาค

“การเข้าซื้อกิจการต่างๆของกลุ่มซีไอเอ็มบีในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เครือข่ายในแต่ละประเทศ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย ต่างมีระบบ Core Banking และการดำเนินงานหลังบ้านที่แตกต่างกัน การสร้างระบบการดำเนินงานและระบบไอทีให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งภูมิภาคจะช่วยเพิ่มความคล่องตัว ลดต้นทุนการดำเนินงาน ปรับปรุงผลกำไรจากการดำเนินงาน เพิ่มศักยภาพในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นเพราะทำงานบนระบบ Core Banking ใหม่ที่ลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนและเป็นอัตโนมัติมากขึ้น ซึ่งโครงการ 1 Platform และโครงการ Transformation อื่นๆ จะส่งผลชัดเจนในอีก 3-5 ปีข้างหน้า เพื่อให้มั่นใจได้ว่าธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทยกำลังดำเนินการตามยุทศาสตร์ของการก้าวเป็นธนาคารชั้นนำระดับอาเซียน” นายสุภัค กล่าว

ทางด้านนางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เป็นธนาคารรายแรกที่ติดตั้ง IBM Power Systems ซึ่งเป็นระบบเพาเวอร์7 ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ ไอบีเอ็ม ไอ ด้วยประสิทธิภาพพลังการประมวลผลของระบบที่เป็นเลิศของเพาเวอร์ 7 ที่มีพัฒนาการนวัตกรรมล้ำหน้า ที่ให้เสถียรภาพสูง ทำงานได้ต่อเนื่องตลอดเวลา พร้อมด้วยคุณสมบัติทางด้าน EnergyScale ในเพาเวอร์ 7 ชิพที่ประกอบในแผงวงจรของฮาร์ดแวร์ เฟิร์มแวร์ และระบบซอฟต์แวร์ ที่ให้พลังงานและการจัดการเกี่ยวกับความร้อนของระบบอย่างสมบูรณ์แบบ ช่วยลดโลกร้อน และลดค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานได้เป็นอย่างมาก และ IBM Storage DS8800 ที่มีการจัดการในการเก็บข้อมูลที่ดี รวมทั้ง IBM System X ซึ่งเป็น Blade HX 5 เครื่องแรกที่ติดตั้งในประเทศไทย ที่รวมเซิร์ฟเวอร์หลายตัวไว้ในที่เดียวกัน ทำให้ลดค่าใช้จ่ายและพื้นที่ในการจัดติดตั้งระบบ และที่สำคัญยังเป็นเพาเวอร์ในตระกูล Energy Star ที่มีคุณสมบัติเด่นในการประหยัดพลังงาน

“ไอบีเอ็มมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจจากธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทยให้เป็นผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีเพื่อรองรับโครงการ 1 Platform ให้บรรลุเป้าหมายในการเป็นระบบธนาคารที่มีผลิตภัณฑ์และบริการที่มีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้ประโยชน์สูงสุด ไอบีเอ็มพร้อมในการสนับสนุนธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทยทุกด้านเพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจทั้งในปัจจุบันและมุ่งสู่ความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในอนาคต ในโอกาสที่ไอบีเอ็มครบรอบ 100 ปีในปีนี้ เรายังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจอย่างไม่หยุดยั้ง รวมทั้งช่วยสร้างรายได้และนวัตกรรมใหม่ๆให้แก่ลูกค้า ซึ่งทำให้ธุรกิจของลูกค้าธนาคารประสบความสำเร็จมากขึ้น ส่งผลให้ลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมการเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่างวางใจเลือกไอบีเอ็มเป็นพันธมิตรทางธุรกิจด้วยดีเสมอมา” นางพรรณสิรี กล่าว

View :1436

เอปสัน เกาะกระแสเศรษฐกิจไทยขยายตัว ส่งสินค้ากลุ่มธุรกิจรุกตลาดวงกว้าง ย้ำความมั่นใจของลูกค้าคือหัวใจสำคัญ

August 31st, 2011 No comments


ประเทศไทย ตอบรับกระแสภาวะเศรษฐกิจของไทยขยายตัวต่อเนื่อง ส่งสินค้ากลุ่มธุรกิจรุกตลาดในหลายอุตสาหกรรม พร้อมวางกลยุทธ์ทางการขายและการตลาด สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าองค์กร ทั้งรัฐและเอกชน ต่อสินค้า บริการ และแบรนด์ของเอปสัน เพื่อการเติบโตในระยะยาว

มร.เออิจิ คาโตะ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของไทยในช่วงไตรมาสสองที่ผ่านมามีการขยายตัวขึ้นจากไตรมาสแรกของปี เห็นได้จากความต้องการอุปโภคบริโภคสินค้าของประชาชน และการลงทุนของภาครัฐและเอกชนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงความมั่นใจของตลาดโดยรวมต่ออนาคตของเศรษฐกิจของไทย และคาดว่าในไตรมาส 3 ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจะยังมีแนวโน้มขยายตัวเช่นนี้ต่อไป นี่เป็นโอกาสสำคัญของเอปสัน ในการขยายธุรกิจและฐานลูกค้าใหม่ๆ สำหรับสินค้าในกลุ่มธุรกิจ

“สินค้ากลุ่มธุรกิจของเอปสันประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นดอทเมตริกซ์ พรินเตอร์ พรินเตอร์พาสบุ๊ค ทีเอ็มพรินเตอร์ ที่เอปสันเป็นเจ้าตลาดอยู่ในขณะนี้ รวมถึงเลเซอร์ พรินเตอร์ ที่บริษัทฯ มีแผนที่จะเปิดตัวให้กว้างยิ่งขึ้น หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการขายในลักษณะที่เป็นโปรเจ็ค สำหรับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่มาแล้ว โดยตั้งเป้ายอดรายได้ของปี 2554 ไว้ที่ 2,500 ล้านบาท และเป้ายอดรายได้ของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มธุรกิจ 650 ล้านบาท โดยดอทเมตริกซ์ พรินเตอร์ โตขึ้นอีก 105% ส่วนทีเอ็มพรินเตอร์โต 140%”

“ในเวลาที่ตลาดมีความมั่นใจเช่นนี้ สิ่งที่เอปสันต้องทำคือการตอกย้ำความมั่นใจในการลงทุนของลูกค้า ว่าลูกค้าได้ตัดสินใจถูกแล้วที่เลือกผลิตภัณฑ์เอปสัน บริษัทฯ มีพรินเตอร์หลากหลายประเภท เพื่อรองรับงานต่างๆ ภายในองค์กร ด้วยเทคโนโลยีชั้นเยี่ยม ที่สามารถมอบความคุ้มค่า ความประหยัด รวมถึงงานบริการที่เหนือคู่แข่ง ซึ่งความมั่นใจในทุกๆ ด้านของลูกค้าคือปัจจัยสำคัญในการเติบโตทางธุรกิจในระยะยาวของเอปสัน” มร.คาโตะ สรุป

ทางด้านนายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมา กลุ่มสินค้าธุรกิจของเอปสัน เป็นกลุ่มที่มีการเติบโตมากที่สุด คือมากกว่า 25% ซึ่งบริษัทฯ มั่นใจว่าปัจจัยที่ทำให้ลูกค้าทั้งรัฐและเอกชนเลือกใช้สินค้าเอปสันมากขึ้นนั้น เป็นเพราะความมั่นใจในคุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับในทันทีที่เลือกใช้ แบรนด์เอปสัน ลูกค้าองค์กรหรือสถาบันไม่ได้มองที่ราคาสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่มองที่ความคุ้มค่าในระยะยาวและในทุกด้าน ทั้งความประหยัดต้นทุนในการลงทุน ประหยัดค่าไฟ ความปลอดภัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บริการหลังการซื้อ รวมไปถึงแบรนด์สินค้านั้นต้องมีความเคลื่อนไหวในตลาดอยู่เสมอ มีการเพิ่มสินค้าใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าที่กำลังตัดสินใจลงทุนเพิ่ม หรือกำลังจะเปลี่ยนหรืออัพเกรดเครื่องที่กำลังใช้อยู่

นายยรรยง ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าในกลุ่มธุรกิจของเอปสันว่า “ดอทเมตริกซ์ พรินเตอร์ ซึ่งปัจจุบัน เอปสันครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 85% มียอดขายเพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากการลงทุนเพิ่มขึ้นของหน่วยงานราชการ ในปีนี้ เอปสันยังคงเน้นลูกค้าในกลุ่มราชการที่ต้องการขยายตัวและอัพเกรดระบบการทำงานในสำนักงาน ทั้งยังได้เปิดตัวสินค้าใหม่ LQ-50 ที่ใช้ได้ทั้งกระดาษต่อเนื่องและกระดาษม้วน สามารถพิมพ์ใบเสร็จ ขนาด 4-6 นิ้ว สำหรับตอบสนองความต้องการของกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กถึงกลาง และร้านค้าปลีกอีกด้วย”

“ส่วนพรินเตอร์พาสบุ๊ค เป็นสินค้าที่มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด เป็นที่นิยมในกลุ่มสถาบันการเงินและธนาคาร สำหรับสินค้ารุ่นใหม่ เป็นรุ่นที่มีฟังก์ชั่นครบครัน เพื่อรองรับตลาดนี้มากยิ่งขึ้น และบริษัทฯ มีแผนที่จะเจาะกลุ่มลูกค้าหน่วยงานราชการด้วยเช่นกัน อย่าง เครื่อง PLQ-22CSM ที่เป็นเครื่องมัลติฟังก์ชั่น สามารถพิมพ์ บันทึก สแกนบัตรประชาชนและเช็คได้ ตรวจสอบความถูกต้อง และโอนส่งข้อมูลยังไปยังธนาคารได้ในเครื่องเดียวกัน”

“ทีเอ็มพรินเตอร์ มีการเติบโตในไตรมาสแรกเพิ่มขึ้น 50% เทียบกับปีที่ผ่านมา โดยร้านค้าและห้างสรรพสินค้าเป็นกลุ่มลูกค้าหลัก แต่ในปีนี้ เอปสันจะเริ่มรุกตลาดโรงพยาบาล ซึ่งมีโอกาสทางการตลาดที่ใหญ่มาก เพราะมีงานพิมพ์ฉลากยา ฉลากติดอุปกรณ์การแพทย์ และป้ายชื่อผู้ป่วย ซึ่งในวันนี้ เอปสันได้เปิดตัว TM-C3400 เครื่องพิมพ์ฉลาก ระบบอิงค์เจ็ตสี สำหรับธุรกิจโรงพยาบาลและธุรกิจงานพิมพ์ขนาดเล็กโดยเฉพาะ ส่วนอีกตลาดหนึ่งที่เอปสันให้ความสนใจก็คือกลุ่มตลาดสายการบิน และได้ออก TM-L500A มาประเดิมตลาดเป็นรุ่นแรก”

“สำหรับเลเซอร์พรินเตอร์ ที่ผ่านมาเอปสันเน้นการขายในลักษณะโปรเจ็คให้กับหน่วยงานราชการหรือบริษัทเอกชนมากกว่า ไม่ได้วางขายตามไอทีมอลล์ หรือร้านตัวแทนจำหน่าย แต่สินค้ารุ่นที่กำลังเปิดตัวในวันนี้ บริษัทฯ มีแผนจะทำตลาดในช่องทางค้าปลีกมากขึ้น เพื่อตอบรับกับความต้องการขององค์กรที่ต้องการซื้อทีละไม่มาก โดยเน้นไปที่องค์กรขนาดเล็กถึงขนาดกลาง”

สำหรับกลยุทธ์ในการขายและการทำตลาดที่วางไว้ ประกอบไปด้วย
1) การขยายสินค้าให้ครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้ในทุกกลุ่มตลาด ทั้งการนำเสนอสินค้าใหม่ๆ ให้กับกลุ่มลูกค้าเดิมเพื่อขยายฐานตลาด รวมถึงเจาะตลาดใหม่ๆ ที่เอปสันยังไม่เคยเข้าไป
2) สร้างความแข็งแกร่งให้กับช่องทางการจัดจำหน่าย มุ่งหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อเจาะตลาดในกลุ่มองค์กร และราชการ โดยปัจจุบัน เอปสันได้เพิ่มตัวแทนจำหน่ายในกลุ่มสินค้าธุรกิจให้ครอบคลุมทั่วประเทศมากถึงกว่า 100 ราย
3) เสริมความเข้มข้นให้กับทีมบุคคลากร ทั้งทางด้านทีมขายที่ดูแลกลุ่มลูกค้าในส่วนลูกค้าภาครัฐ (Government) ลูกค้าองค์กร (Corporate) และทีมขาย Specialist ที่ดูแลลูกค้าผลิตภัณฑ์ทีเอ็มพรินเตอร์ นอกจากนั้น ยังมีทีม Presale support เพื่อทำงานใกล้ชิดกับตัวแทนจำหน่าย ในการสนับสนุนการดำเนินงาน และสร้างสรรค์โซลูชันทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับลูกค้า
4) จัดตั้งทีมช่างพิเศษเพื่อให้บริการลูกค้ากลุ่มดังกล่าวโดยเฉพาะ เพื่อให้การบริการหลังการขายเป็นไปด้วยความราบรื่น รวดเร็ว ธุรกิจของลูกค้าจึงเติบโตได้อย่างไม่สะดุด

นายยรรยง กล่าวเปิดตัวเลเซอร์พรินเตอร์รุ่นใหม่ทั้ง 6 รุ่นว่า ในครั้งนี้ เอปสันต้องการนำเสนอแนวคิดผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยความประหยัดคุ้มค่าถึง 4 ด้าน โดยสินค้าทุกรุ่นจะเน้นดีไซน์ที่เล็ก กระทัดรัด ทั้งยังประหยัดพลังงาน และประหยัดค่าพิมพ์ด้วยต้นทุนการพิมพ์ต่อแผ่นที่ต่ำ ท้ายสุดคือความประหยัดคุ้มค่า ด้วยราคาเครื่องที่เหมาะสมในคุณภาพที่เหนือกว่าตามมาตรฐานเอปสัน เลเซอร์พรินเตอร์รุ่นใหม่ทุกรุ่นมีจุดเด่นตรงที่ใช้ผงหมึก Epson AcuBrite™ ที่ทำให้ได้คุณภาพงานพิมพ์คมชัด แม่นยำ และคงทนเก็บได้นานกว่า โดยมีตั้งแต่รุ่นที่เป็นเลเซอร์พรินเตอร์ขาวดำขนาดกะทัดรัด อย่าง Epson AcuLaser M1400 สามารถใช้กับตลับผงหมึกพิมพ์ได้ 2 ขนาด ทั้งตลับความจุสูง พิมพ์ได้มากถึง 2,200 แผ่น เพื่อรองรับงานพิมพ์จำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ช่วยลดต้นทุนการพิมพ์ และตลับความจุมาตรฐาน พิมพ์ได้ถึง 1,000 แผ่น สำหรับงานพิมพ์ที่มีจำนวนน้อย และ Epson AcuLaser C1700 ที่เป็นเลเซอร์พรินเตอร์สี ที่มีคุณภาพการพิมพ์สูงในต้นทุนการพิมพ์ที่ประหยัดคุ้มค่ากว่า

“สำหรับเครื่องมัลติฟังก์ชั่น ได้แก่ Epson AcuLaser MX14 และเครื่องที่สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายได้อย่าง Epson AcuLaser MX14NF ที่เป็นเลเซอร์พรินเตอร์ขาวดำมัลติฟังก์ชั่น และ Epson AcuLaser CX17NF เลเซอร์พรินเตอร์สีมัลติฟังก์ชั่น และสุดท้ายคือ Epson AcuLaser C2900N เลเซอร์พรินเตอร์สี สำหรับระบบเครือข่าย ความเร็วในการพิมพ์สูงสุดที่ 23 หน้าต่อนาที ทั้งสีและขาวดำ รองรับการพิมพ์ต่อเดือนได้สูงถึง 40,000 แผ่น”

“เอปสันมุ่งที่จะนำเสนอโซลูชั่นด้านการพิมพ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นงานในลักษณะใด ลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่าเอปสันมีเทคโนโลยีด้านการพิมพ์ที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรม รวมถึงการให้บริการหลังการขายที่ได้มาตรฐาน และอำนวยความสะดวกราบรื่นให้กับการดำเนินธุรกิจของลูกค้าทุกกลุ่ม” นายยรรยง ทิ้งท้าย

View :2482

‘ifec’ เปิดตัวโปรดักชั่น พริ้นติ้ง ‘ โคนิก้า มินอลต้า’ 2 รุ่นเดินหน้าเจาะลูกค้าโรงพิมพ์

August 31st, 2011 No comments

” ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายเครื่องดิจิทัลมัลติฟังก์ชั่น “โคนิก้า มินอลต้า” เปิดตัวเครื่อง “โปรดักชั่น พริ้นติ้ง” พร้อมกัน 2 รุ่น ได้แก่ bizhub PRESS C8000 และรุ่น bizhub PRESS C70 hc ชูจุดเด่นนวัตกรรมการพิมพ์ชั้นสูง ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ระดับมืออาชีพ โดยเฉพาะรุ่นใหญ่ bizhub PRESS C8000 ที่เปิดตัวเป็นครั้งแรกในเมืองไทยในงาน Pack Print International 2011 ที่ ไบเทค บางนา เผยเตรียมเจาะกลุ่มลูกค้าโรงพิมพ์ ตั้งเป้ายอดขาย 30 เครื่องภายในสิ้นปีนี้ เชื่อกระแสตอบรับดี เหตุรองรับเทรนด์ Print On Demand ช่วยธุรกิจควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการพิมพ์


นายดำริห์ เอมมาโนชญ์ กรรมการและรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ วิศวการ จำกัด (มหาชน) หรือ ifec ผู้นำเข้าและทำตลาดเครื่องดิจิทัลมัลติฟังก์ชั่น ‘โคนิก้า มินอลต้า’ รายเดียวในประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้นำเข้าเครื่องโปรดักท์ชั่น พริ้นติ้ง รุ่น bizhub PRESS C8000 และรุ่น bizhub PRESS C70hc ซึ่งเป็นนวัตกรรมลิขสิทธิ์เฉพาะของ ‘โคนิก้า มินอลต้า’ เพื่อเข้ามาทำตลาดในไทย โดยเครื่องโปรดักท์ชั่น พริ้นติ้ง ทั้ง 2 รุ่น ประสบความสำเร็จในการทำตลาดและได้รับการยอมรับจากลูกค้าในประเทศแถบยุโรป ถึงคุณภาพงานพิมพ์ที่ดีเทียบเท่ากับระบบออฟเซท ซึ่งเป็นระบบการพิมพ์แบบเดิมๆ อีกทั้งยังสามารถรองรับกระแส Print On Demand ในประเทศไทยได้ด้วย โดยบริษัทฯ จะเปิดตัวเครื่องโปรดักท์ชั่น พริ้นติ้ง ทั้ง 2 รุ่น ในงาน Pack Print International 2011 ที่จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม- 3 กันยายนนี้ ที่ศูนย์แสดงสินค้าและนิทรรศการไบเทค บางนา

สำหรับจุดเด่นของเครื่องโปรดักท์ชั่น พริ้นติ้ง รุ่น bizhub PRESS C8000 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ “โคนิก้า มินอลต้า” นำมาเปิดตัวในประเทศไทยนั้น เป็นเครื่องที่ใช้เทคโนโลยีประมวลผลภาพแบบ S.E.A.D. II ที่ให้คุณภาพงานระดับสูง มีความเสถียรของระบบที่ทำให้งานพิมพ์ทุกชิ้นมีคุณภาพสีเหมือนกัน และมีความสามารถในการผลิตขั้นสูง สามารถรองรับกระดาษได้หนาสุดถึง 350 แกรม นอกจากนี้ ยังใช้เทคโนโลยีผงหมึก Simitri HD Plus ที่ได้รับการพัฒนาผงหมึกจาก Simitri HD Toner ในรุ่นเดิม โดยผงหมึกมีอนุภาคขนาดเล็ก ทำให้งานมีคุณภาพที่ดี สามารถพิมพ์งานด้วย ความละเอียดสูงถึง 1,200 x 1,200 dpi 8 บิท ด้วยความเร็ว 80 แผ่นต่อนาที เพื่อจับกลุ่มลูกค้า โรงพิมพ์ที่มีประสบการณ์ในงานพิมพ์ระดับมืออาชีพ ที่ต้องการพิมพ์งานประเภทการ์ดเชิญ อัลบั้มรูป ไดเรคเมล์ และการ์ดเชิญเนื่องในโอกาสพิเศษ

ขณะที่รุ่น bizhub PRESS C70hc จะเป็นเครื่องพิมพ์ดิจิทัล ที่ใช้เทคโนโลยีที่เน้นคุณภาพของสี งานพิมพ์เป็นหลัก โดยเป็นเครื่องพิมพ์เครื่องแรกที่ใช้โทนเนอร์แบบ High Chroma ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีของผงหมึก Simitri HD Toner เช่นกัน โดยสามารถถ่ายทอดสีของงานพิมพ์ได้ เหมือนจริง เพื่อรองรับระบบการจัดการค่าสีเพื่อให้ได้มาตรฐานค่าสีของงานพิมพ์เป็นที่ยอมรับ และสามารถตอบโจทย์ธุรกิจงานพิมพ์ของโฟโต้ แล็ป งานโฟโต้บุ๊คส์ งานกราฟฟิค อาร์ต หรือผู้ทำธุรกิจประเภทสตูดิโอถ่ายภาพ เป็นต้น ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ตั้งเป้ายอดขายเครื่องโปรดักท์ชั่น พริ้ตติ้ง ในปีนี้ไว้ที่ 30 เครื่อง

กรรมการและรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ifec กล่าวว่า เชื่อว่า เครื่องโปรดักชั่น พริ้นติ้ง ทั้งสองรุ่นจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เนื่องจากปัจจุบันองค์กรภาคธุรกิจให้ความสำคัญกับการควบคุมค่าใช้จ่ายจากงานพิมพ์ เพื่อให้มีเกิดประสิทธิภาพงานพิมพ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจสูงสุด ส่งผลให้พฤติกรรมการพิมพ์งานของกลุ่มผู้ใช้บริการเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่สั่งพิมพ์งานต่อครั้งเป็นจำนวนมาก ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการพิมพ์งานต่อครั้งด้วย จำนวนชิ้นไม่มากนัก แต่เพิ่มความถี่ในการสั่งพิมพ์งานมากขึ้นตามปริมาณการใช้งาน หรือที่เรียกว่า Print On Demand ซึ่งกระแสดังกล่าวเป็นกระแสที่เกิดขึ้นทั่วโลกเช่นเดียวกับในประเทศไทย

“การแข่งขันของธุรกิจที่คำนึงถึงต้นทุนค่าใช้จ่าย เป็นแรงผลักดันทำให้พฤติกรรมการพิมพ์แบบ Print On Demand เกิดขึ้น โดยเฉพาะปีนี้ที่หลายๆ องค์กรต้องประหยัดต้นทุนดำเนินงาน ทำให้ การสั่งพิมพ์งานเพื่อใช้ในทำตลาด เช่น โบรชัวร์ หรือแผ่นพับโฆษณา จะสั่งพิมพ์ในจำนวนที่เพียงพอต่อการใช้งานแต่ละครั้ง ภายใต้เงื่อนไขว่า ต้องเป็นคุณภาพงานพิมพ์ที่ดี ดังนั้น จึงเชื่อว่าเครื่องโปรดักชั่น พริ้นติ้งของโคนิก้า มินอลต้า ทั้งสองรุ่นจะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี” นายดำริห์ กล่าว

View :2002

กระทรวงพาณิชย์เตือนผู้ประกอบการไทยใช้ไอทีละเมิดเสี่ยงถูกดำเนินคดีในสหรัฐอเมริกา

August 31st, 2011 No comments

เนื่องด้วย เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา มลรัฐวอชิงตันได้ประกาศใช้ ที่ไม่เป็นธรรมฉบับใหม่ กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้ผู้ผลิตที่ผลิตสิ่งของหรือสินค้าเพื่อขายในมลรัฐวอชิงตันโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ที่ละเมิดหรือขโมยมาในการดำเนินธุรกิจ เช่น การใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในการผลิต การตลาด หรือ การจัดจำหน่ายสินค้า อาจถูกคู่แข่งขันทางการค้าฟ้องร้องตามกฎหมายได้ ทั้งนี้ นอกจากมลรัฐวอชิงตัน มลรัฐหลุยส์เซียนนาก็ได้ประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวแล้ว และอีกหลายมลรัฐก็อยู่ระหว่างพิจารณาและประกาศใช้กฎหมายในลักษณะเดียวกันนี้

กรมทรัพย์สินทางปัญญา จึงขอแจ้งเตือนผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่อาจได้รับผลกระทบ เช่น อุตสาหกรรมอะไหล่รถยนต์ อุตสาหกรรมยางรถยนต์ และอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมกระดาษ ฯลฯ ให้ตรวจสอบกระบวนการผลิตและการจัดจำหน่ายให้ครบวงจรว่ามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) (ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเครื่องจักร) ละเมิดหรือไม่ และทุกครั้งที่ซื้อหรือติดตั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือเครื่องจักรควรขอหนังสือรับรองจากผู้จำหน่ายว่าฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ หรือเครื่องจักรนั้นถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อหลีกเลี่ยงความสุ่มเสี่ยงในการถูกดำเนินคดี

หากมีข้อสงสัยใดๆ สามารถสอบถามได้ที่ กรวิการ์ ไฝแก้ว ได้ที่หมายเลข (02) 684-1551- 2

View :1775

อสมท ระเบิดศึกการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Robocon 2011 อย่างยิ่งใหญ่ 18 ประเทศร่วมชิงชัย ณ อิมแพคอารีนา พร้อมส่งไม้ต่อให้ฮ่องกงเป็นเจ้าภาพปีหน้า

August 29th, 2011 No comments

อิมแพ็คอารีน่า เมืองทองธานี : บมจ.อสมท ระเบิดศึกการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Asia-Pacific Robot Contest 2011 , Bangkok ครั้งที่ 10 ซึ่งปีนี้ประเทศไทยได้รับคัดเลือกเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันอย่างยิ่งใหญ่ โดยมี “ทีมลูกเจ้าแม่คลองประปา The Limited” จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และ “ทีมซุ้มกอ” จากวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร สองทีมตัวแทนประเทศไทย ร่วมชิงชัยกับตัวแทนนักศึกษาจากอีก 17 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ภายใต้แนวคิด “จุดประกายแห่งความสุขด้วยมิตรภาพ (Lighting Happiness with Friendship) ผู้ใดเอาชนะใจตนเอง และเอาชนะใจผู้อื่นได้ ผู้นั้นจะเป็นผู้ชนะตลอดกาล พร้อมส่งไม้ต่อให้กับประเทศฮ่องกง รับหน้าที่เจ้าภาพการแข่งขันในปีหน้า

นายธนวัฒน์ วันสม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความเป็นมาของการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Asia-Pacific Robot Contest (ABU Robocon) ว่า การแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ เริ่มขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2543(ค.ศ.2000) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยประเทศสมาชิก ABU (The Asia-Pacific Broadcasting Union) มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ที่ประดิษฐ์โดย นักศึกษาของภูมิภาค ในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา เป็นประจำทุก ๆ ปี เพื่อพัฒนาการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ความคิดสร้างสรรค์ และ การพัฒนาทักษะในการประดิษฐ์นวัตกรรมของเยาวชนให้มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจได้อย่างทัดเทียมกัน ควบคู่ไปกับการเชื่อมความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกันด้วยเจตนารมณ์ที่ดีของการร่วมมือกันสร้างสรรค์สังคมของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Robocon ในแต่ละปีประเทศสมาชิกจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ

สำหรับการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Asia-Pacific Robot Contest 2011 หรือ ABU Robocon 2011 ในโอกาสครบรอบปีที่ 10 ของการแข่งขัน ประเทศไทยได้รับเกียรติ ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน โดยสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ทีวี หนึ่งในสมาชิกสหภาพวิทยุและโทรทัศน์แห่งภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (Asia-Pacific Broadcasting Union – ABU) และเป็นตัวแทนโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทีวีพูล) ในฐานะผู้จัดการแข่งขันในครั้งนี้จึงได้นำเอา ประเพณีลอยกระทง จากโบราณประเพณีอันงดงามของไทยบางส่วนมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ คือหุ่นยนต์ ภายใต้ชื่อการแข่งขัน “จุดประกายแห่งความสุขด้วยมิตรภาพ (Lighting Happiness with Friendship) ผู้ใดเอาชนะใจตนเอง และเอาชนะใจผู้อื่นได้ ผู้นั้นจะเป็นผู้ชนะตลอดกาล ซึ่งเป็นหัวใจของเกมการแข่งขันนี้

โดยปีนี้มีทีมเยาวชนตัวแทนจาก 18 ประเทศ ได้แก่ บรูไน จีน อียิปต์ ฟิจิ ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ลาว มาเลเซีย มองโกเลีย เนปาล รัสเซีย ศรีลังกา ตุรกี เวียดนามและไทย สำหรับประเทศลาว และรัสเซีย เพิ่งเข้าร่วมการแข่งขันในปีนี้เป็นครั้งแรก เดินทางมาเข้าร่วมแข่งขัน ซึ่งแต่ละประเทศสามารถส่งทีมตัวแทนได้ประเทศละ 1 ทีม ส่วนประเทศเจ้าภาพ ส่งได้ 2 ทีม รวมทั้งหมด 19 ทีม แต่ละทีมจะประกอบไปด้วยนักศึกษา 3 คน อาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน ทั้งหมดต้องอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา/อาชีวศึกษาเดียวกันเท่านั้น ในส่วนของประเทศไทย ทีมเยาวชนตัวแทนประเทศไทย มี 2 ทีม ได้แก่ ทีมลูกเจ้าแม่คลองประปา The Limited” จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ แชมป์ประเทศไทยสมัยที่ 3 และ “ทีมซุ้มกอ” จากวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร รองแชมป์ประเทศไทย

“แนวคิดหลักของการแข่งขันในครั้งนี้ ผู้ชมการแข่งขันจะต้องเข้าใจกติกาได้ง่าย ให้ความสนุกสนานและตื่นเต้นต่อผู้ชม หุ่นยนต์มีความฉลาด สามารถทำงานได้ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อีกทั้งหุ่นยนต์มีกลไกหยิบจับและวางสิ่งของได้ในแนว 3 มิติ ที่สำคัญจะต้องมีการร่วมมือกันระหว่างหุ่นยนต์ทั้งสองฝ่าย ในขณะแข่งขัน นำเรื่องราวจากวัฒนธรรมประเพณีของไทย มาประยุกต์เข้ากับกติกาการแข่งขัน การออกแบบเกมการแข่งขัน เพื่อให้ทีมผู้เข้าร่วมแข่งขัน มีความเพลิดเพลินร่วมไปกับการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม ในภารกิจสุดท้ายคือการปล่อยเปลวเทียนลงบนยอดสุดของเทียนซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดของเกม ได้ถูกออกแบบเพื่อให้หุ่นยนต์ของทีมใดๆก็ตาม ที่สามารถปฏิบัติการได้สำเร็จในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา สมควรได้รับชัยชนะ โดยรางวัลในการแข่งขันจะประกอบด้วย รางวัลชนะเลิศ, รองชนะเลิศอันดับที่ 1, รองชนะเลิศอันดับที่ 2, Best IDEA Award, Best ENGINEERING Award, Best DESIGN Award, SPECIAL Awards และ ABU ROBOCON Award และในปีหน้าประเทศฮ่องกง จะรับช่วงต่อในการเป็นเจ้าภาพการแข่งขัน ABU Robocon 2012 ” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวในที่สุด

View :1711

“ไอทีพลาซ่า” เดินหน้าเปิดศูนย์การค้าไอทีทั่วประเทศเล็งขยายสาขาเพิ่มอีก 3 แห่ง เป็น 8 แห่งภายในปีนี้

August 23rd, 2011 No comments

เดินหน้าเปิดศูนย์การค้าไอทีครบวงจรทั่วประเทศ เน้นการเป็นศูนย์การค้าไอทีชั้นนำของไทยที่มีสาขาครอบคลุมทั่วประเทศ และสามารถตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์และรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าไอทีได้เป็นอย่างดี พร้อมเล็งขยายสาขาเพิ่มอีก 3 แห่ง เป็น 8 แห่งภายในปีนี้จนถึงต้นปีหน้า โดยในปี 2554 ทางบริษัทฯตั้งเป้ารายได้โตกว่า 30% จากปีที่แล้ว มั่นใจสามารถทำรายได้ให้บริษัทฯสูงถึง 260 ล้านบาทในปีนี้อย่างแน่นอน

นายสมชาย จันทนะประสาทพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอที พลาซ่า จำกัด กล่าวว่า “ปัจจุบันภาพรวมตลาดสินค้าไอทียังคงเป็นตลาดที่มีการแข่งขันกันสูงและจะทวีความรุนแรงขึ้นในอนาคต โดยไอทีพลาซ่าได้มองความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก ซึ่งจากการสำรวจตลาดที่เป็นศูนย์การค้าไอทีในประเทศไทย พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ค่อยนิยมที่จะลงทุนเปิดศูนย์การค้าไอทีตามต่างจังหวัดกันมากนัก เนื่องจากมีข้อจำกัดทางด้านทำเลที่ตั้ง รวมถึงปัจจัยเรื่องสภาพเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย แต่ในขณะเดียวกันผู้บริโภคยังคงมีความต้องการสินค้าไอทีอยู่อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ไอทีพลาซ่าได้เล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจจึงได้ทำการขยายสาขาออกสู่กลุ่มลูกค้าที่อยู่ต่างจังหวัดมากขึ้น และตั้งเป้าว่าไอทีพลาซ่าจะเป็นผู้นำทางด้านศูนย์การค้าไอทีที่มีสาขาครอบคลุมทั่วประเทศ และเชื่อมั่นว่าไอทีพลาซ่าจะสามารถตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์และความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าไอทีได้เป็นอย่างดี โดยในปี 2554 ทางบริษัทฯตั้งเป้ารายได้โตกว่า 30% จากปีที่แล้ว มั่นใจสามารถทำรายได้ให้บริษัทฯสูงถึง 260 ล้านบาทในปีนี้อย่างแน่นอน””

““ในปีนี้ทางบริษัทฯมีแผนที่จะขยายสาขาเพิ่มจากเดิมที่มีอยู่แล้ว 5 แห่ง เป็น 8 แห่งภายในปีนี้จนถึงต้นปีหน้า และจะมีการจัดกิจกรรม โปรโมชั่น รวมถึงการจัดแสดงสินค้า และติดต่อแบรนด์สินค้าใหม่ๆเข้ามาลงในพื้นที่ให้มากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสทางการค้าสำหรับผู้ที่ต้องการที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย เนื่องจากปัจจุบันนี้ความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าไอทีมีสูงมาก และผู้บริโภคมีกำลังการซื้อที่มากขึ้น จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้แนวโน้มตลาดโตขึ้นในปีนี้อีกด้วย”” นายสมชายกล่าว

ปัจจุบัน ไอทีพลาซ่า มีจำนวนทั้งสิ้น 5 แห่ง ได้แก่ ห้างอิมพีเรียลเวิร์ล สำโรง , โซนโทรศัพท์มือถือ ศูนย์การค้าเซียร์ รังสิต , คลองถมคอนเนอร์ , บริเวณแยกทางเข้า อนุสาวรีย์ ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา , โครงการสุนีย์ทาวน์เวอร์ จังหวัดอุบลราชธานี และในอนาคตมีแผนจะเปิดเพิ่มอีก 3 แห่ง ได้แก่ ตึกสยามนครินทร์ หาดใหญ่ , โครงการเนวาด้าคอมเพล็กซ์ จังหวัดอุดรธานี และ โครงการบูกิส ติดกับห้างเซ็นทรัลภูเก็ต ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปีนี้ไปจนถึงต้นปีหน้า โดยผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.itplaza.co.th ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

View :1314