Archive

Archive for August, 2011

ก.ไอซีที ระดมความคิดเห็นภาครัฐ – เอกชนร่วมรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ

August 18th, 2011 No comments

นายวรพัฒน์  ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังร่วมเป็นประธานเปิด      การสัมมนาวิชาการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ว่า ปัจจุบันการพัฒนาด้านเทคโนโลยีได้นำโลกไปสู่ยุคไซเบอร์ที่มีการใช้ทั้งคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เช่น การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การใช้ระบบควบคุมบังคับบัญชา เป็นกุญแจสำคัญต่อการพัฒนาขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของชาติ ดังนั้น ภัยคุกคามในไซเบอร์ที่เกิดจากผู้ไม่ประสงค์ดีที่มีขีดความสามารถในการใช้จุดอ่อนหรือช่องโหว่ของไซเบอร์ เข้ามาทำลายหรือรบกวนขัดขวางการทำงานของภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของชาติที่ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน ถือเป็นภัยคุกคามที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของชาติ ซึ่งภัยคุกคามเหล่านี้อาจมาจากทั้งระดับบุคคล องค์กร ระบบบริหารงานที่ไม่ได้มาตรฐาน กลุ่มอาชญากรรม หรือเครือข่ายก่อการร้าย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างความตระหนักให้กับทุกภาคส่วนถึงภัยคุกคามในไซเบอร์ที่เกิดขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือ

“ประเทศไทยต้องเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ด้วยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และมิตรประเทศ รวมถึงต้องสร้างความพร้อมของบุคลากร เครื่องมือ และกระบวนการทำงานในการรับมือการโจมตีในไซเบอร์ด้วยการปกป้องคุ้มครองและการเก็บรักษาข้อมูล การปกป้องเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยจะต้องมีการจัดทำแผนและทรัพยากรต่างๆ ไว้ให้พร้อม ดังนั้น กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้ร่วมกับกระทรวงกลาโหม จัดการสัมมนาวิชาการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ () ขึ้น” นายวรพัฒน์ กล่าว

การสัมมนาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวกับภัยคุกคามที่มาจากไซเบอร์ ด้วยการระดมบุคลากรด้าน      ไซเบอร์มาร่วมกันวางแผนปฏิบัติการป้องกันภัยคุกคามที่มาจากไซเบอร์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งถือเป็นการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการป้องกันภัยคุกคามที่มาจากไซเบอร์ ตลอดจนเป็นการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาความรู้ และเทคโนโลยีการป้องกันภัยคุกคามที่มาจากไซเบอร์ รวมถึงการวิจัยทางด้านการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์

“การสัมมนาฯ ครั้งนี้ จึงเป็นงานครั้งสำคัญของประเทศไทยที่ได้ระดมผู้บริหาร ผู้ดูแลระบบ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับสายงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์จากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน มาร่วมการสัมมนาฯ อย่างพร้อมเพรียงกว่า 250 คน ซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นเครือข่ายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย ที่ส่งผลให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของชาติในที่สุด” นายวรพัฒน์ กล่าว

View :1362

เดลล์ เปิดตัว Dell Office Connect โซลูชันครบทุกความต้องการเพื่อธุรกิจเอสเอ็มอี

August 17th, 2011 No comments


เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศเปิดตัว โซลูชันใหม่ที่จะเข้ามาช่วยให้องค์กรกลุ่มขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถเริ่มต้นธุรกิจได้จากเดลล์เพียงจุดเดียว โซลูชัน เป็นชุดแพ็คเกจระบบไอทีพร้อมใช้งาน ที่เป็นมาตรฐานครบวงจรตั้งแต่ต้นจนจบ ครอบคลุมการบริการด้านการให้คำปรึกษา ติดตั้งระบบและบริการหลังการขาย

นายเอกราช ปัญจวีณิน ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เดลล์ คอร์ปอเรชัน(ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า“ทุกวันนี้ลูกค้ามีความตื่นตัวมากขึ้น และรู้ว่าอะไรคือโซลูชั่นที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจที่ดีที่สุด สิ่งที่องค์กรธุรกิจเอสเอ็มอีมองหาก็คือระบบไอทีที่มีความยืดหยุ่น และความคุ้มค่าสูงสุด แต่มีความซับซ้อนน้อยที่สุด เดลล์พยายามทำให้ระบบไอทีกลายเป็นเรื่องง่ายเพื่อช่วยให้ลูกค้าของเราสามารถมุ่งเน้นไปที่การทำธุรกิจและสร้างกำไร”

โซลูชัน Dell Office Connect ครอบคลุมบริการและผลิตภัณฑ์ใน 4 กลุ่มหลัก ประกอบด้วย

1. Client&Mobility: ประกอบไปด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ โน้ตบุ๊คตระกูลวอสโทร และละติจูด โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต และเครื่องบันทึกการขาย (POS : Point Of Sale) รวมถึง Microsoft Dynamic สำหรับการใช้งานระบบ ERP

2. Efficient Office: ประกอบไปด้วยเซิร์ฟเวอร์และสตอเรจที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ตามที่ได้เลือกเอาไว้เพื่อที่ เอสเอ็มอี จะสามารถนำไปใช้งานได้ทันที พร้อมด้วยระบบ ERP ที่พร้อมใช้งานได้ทันที

3. One Stop Service: บริการด้านต่างๆ รวมถึงบริการคลาวด์สาธารณะในการให้บริการการจัดการอีเมล บริการให้คำปรึกษาและบริการหลังการขาย Dell ProSupport ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการสนทนาผ่านระบบแชทและคอลล์เซ็นเตอร์

4. Smart Office: ผลิตภัณฑ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น เครื่องฉายภาพ LCD, เครื่องพิมพ์เลเซอร์ และจอมอนิเตอร์

นายเอกราช ยังกล่าวเสริมว่า “การประกาศครั้งนี้ถือเป็นการตอกย้ำภาพของการเปลี่ยนเดลล์ไปสู่บริษัทที่นำเสนอบริการและโซลูชันและเรายังคงให้สัญญาว่าจะนำเสนอโซลูชันที่ครบวงจรบนระบบเปิด ใช้งานได้จริง และในราคาที่สามารถเป็นเจ้าของได้ เพื่อช่วยให้ลูกค้าได้ผลประกอบการที่ดีที่สุด”

ราคาและการวางตลาด

Dell Office Connect พร้อมวางตลาดแล้ววันนี้ พร้อมกันนี้ เดลล์นำเสนอบริการด้านต่างๆ และข้อเสนอราคาพิเศษตั้งแต่วันนี้ – ถึงสิ้นเดือนสิงหาคมนี้

แพ็คเกจเอ : ชุดรวมคุ้มค่าแก่การลงทุนชุดเดียวที่ทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีบริหารจัดการรวมศูนย์ทั้งระบบฮาร์ดแวร์และระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) ที่ดีที่สุด โดยมาพร้อมกับฐานข้อมูลพร้อมใช้งานได้ทันที ประกอบด้วย แบ็คเอนด์เซิร์ฟเวอร์ Dell PowerEdge R410 จำนวน 2 เครื่อง สำหรับรันงาน Dynamic และ AD และเซิร์ฟเวอร์ Dell PowerEdge R510 สำหรับรันงาน SQL เครื่องเดสก์ท็อป Dell Optiplex 380 จำนวน 5 เครื่อง และระบบ Microsoft Dynamics AX: Business Essential Edition ราคาโปรโมชั่น ราคา 1,436,000 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

แพ็คเกจบี: โชลูชันจุดบริการสำหรับธุรกิจค้าปลีก ประกอบด้วยเครื่องเดสก์ท็อป Dell Optiplex 1 เครื่อง อุปกรณ์ต่อพ่วงระบบ POS และ Microsoft Dynamic Retail Management Software พร้อมรับประกัน 3 ปีราคาโปรโมชั่น 188,000 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
พร้อมกันนี้ เดลล์นำเสนอผลิตภัณฑ์ราคาพิเศษสำหรับกลุ่มเอสเอ็มอี เช่น เซิร์ฟเวอร์ PowerEdge R210 ราคา 27,000 บาท โน้ตบุ๊ค Dell Vostro 1450 ราคา 17,550 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)พร้อมโปรโมชั่นพิเศษ ถ้าซื้อแพ็คเกจเอ หรือแพ็คเกจบี มีสิทธิเลือกซื้อพรินเตอร์ได้ในราคาพิเศษ

View :1480

มีเดีย อินฟินีตี้ เอาใจแฟนพันธุ์แท้ตระกูลมือถืออาม่า พร้อมส่ง “อาม่าพลัส ลิมิเต็ด อิดิชั่น”(R’Ma Plus Limited Edition) ลงตลาด

August 17th, 2011 No comments


หลังจากได้รับกระแสตอบรับแรงเกินคาดกับมือถือ “ซุปเปอร์อาม่า มัมอิดิชั่น” () จึงทำให้มีกระแสเรียกร้องที่อยากจะให้มีอาม่าพลัสจอขาวดำมีรุ่นกล่องดอกมะลิออกมาบ้าง ล่าสุด บริษัท มีเดีย อินฟินีตี้ จำกัด กระตุ้นตลาดมือถือเฮ้าส์แบรนด์ พร้อมเอาใจลูกค้าแฟนพันธุ์แท้ตระกูลมือถืออาม่าอีกครั้ง ด้วยการส่ง “อาม่าพลัส ลิมิเต็ด อิดิชั่น”(R’Ma Plus Limited Edition) ลงตลาดปิดท้ายปลายเดือนสิงหาคม ด้วยหน้าจอขาวดำ ปุ่มกดใหญ่ ใช้งานง่าย รองรับ 2 ซิม วิทยุ FM Radio แฮนด์ฟรีในตัว และรองรับทุกฟังก์ชั่นพื้นฐานและที่สำคัญฟังก์ชั่นตัวแทนความห่วงใย S.O.S. อีกทั้งความพิเศษที่มาพร้อมกับคีย์แพดสีฟ้าสดใสสไตล์ โลลิป๊อป (lollipop) พร้อมกล่องสุดหรูลายดอกมะลิ เหมาะสำหรับเป็นของฝากของขวัญให้ผู้สูงอายุหรือคุณพ่อคุณแม่

“อาม่าพลัส ลิมิเต็ด อิดิชั่น”(R’Ma Plus Limited Edition) วางจำหน่ายแล้วในราคาเพียง 1,490 บาท โดยผู้สนใจสามารถหาซื้อได้ที่ตัวแทนจำหน่ายโทรศัพท์มือถือมีเดีย อินฟินีตี้ ได้แก่ แมคโคร, และดีแทคช็อป ทุกสาขา โดยผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านทางคอลเซ็นเตอร์ โทร : 02-374-7733 หรือ www.media-infinity.com , www.infinity-phone.com

View :3771

แคนนอนเปิดตัว Cloud Connect โซลูชั่นบริการคลาวด์ คอมพิวติ้ง

August 17th, 2011 No comments

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) ผู้นำในกลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับธุรกิจ SME และองค์กรขนาดใหญ่ของประเทศไทย ต่อยอดความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดประกาศเปิดตัวบริการ Cloud Connect การบริหารจัดการระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง ดีที่สุดสำหรับลูกค้าองค์กรที่มาพร้อมโซลูชั่นเชื่อมต่อระหว่างเครื่องถ่ายเอกสารมัลติฟังก์ชั่น imageRUNNER ADVANCE และบริการคลาวด์เพื่อการสแกนและจัดส่งเอกสาร พร้อมสั่งพิมพ์จากแอพพลิเคชั่นได้โดยตรง ตอบโจทย์งานพิมพ์ระดับองค์กร ด้วยข้อดีช่วยลดต้นทุนด้านไอที ใช้ง่ายงานสะดวกสบาย และประหยัดเวลาในการทำงาน

ร้อยเอกสุนทร ปัณฑรมงคล ผู้อำนวยการอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ส่วนงานบิสซิเนส อิมเมจจิ้ง โซลูชั่น กรุ๊ป บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยว่าท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในตลาดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การบริหารจัดการงานภายในองค์กรเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่นำธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งการรู้จักพัฒนาระบบการบริหาร การคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพื่อลดขั้นตอนแต่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานจะช่วยลดต้นทุนของบริษัทและเป็นวิธีที่ชาญฉลาดที่ช่วยประหยัดเวลาในการทำงานให้องค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“คลาวด์ คอมพิวติ้ง เป็นเทคโนโลยีที่เอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศผ่านเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นบริการสาธารณูปโภคที่ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของแต่สามารถใช้บริการได้ตามความต้องกาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถสั่งพิมพ์งานได้จากทุกอุปกรณ์การพิมพ์ที่รองรับบริการดังกล่าวได้โดยไม่ต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ จากปกติที่จะพิมพ์เอกสารสักชิ้นจะต้องเริ่มจากการดาวน์โหลดหรือเปิดเอกสารนั้นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการลงไดรฟ์เวอร์ของเครื่องพิมพ์ติดตั้งอยู่ จากนั้นผู้ใช้จึงจะส่งคำสั่งพิมพ์ไปยังเครื่องพิมพ์ได้ แต่ด้วยแนวคิดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถรองรับบริการคลาวด์ รวมไปถึงซอฟท์แวร์เอกสิทธ์เฉพาะของแคนนอนที่เรียกว่า Cloud Connect จึงสามารถลดทอนขั้นตอนที่ยุ่งยากและนำประโยชน์ของบริการคลาวด์มาต่อยอดและประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจให้ง่ายและประหยัดขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดการลงทุนมากมายด้านไอที โดยสามารถเลือกเสียค่าใช้จ่ายให้ตรงกับความต้องการ หรือเพิ่มความอุ่นใจในด้านความปลอดภัยของระบบไอที และที่สำคัญยังช่วยประหยัดพลังงานตามแนวคิด Green Technology ของแคนนอน ที่มุ่งรณรงค์ให้ใช้ทรัพยากรอย่างสมเหตุสมผลและตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ ที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม”

โดยในส่วนของแคนนอนเองได้ริเริ่มบริการคลาวด์ Cloud Connect ซึ่งประกอบไปด้วย บริการ Therefore Online, Maintenance Cloud และบริการ eCopy Online ที่สามารถทำงานร่วมกับเครื่องถ่ายเอกสารมัลติฟังก์ชั่นของแคนนอนและบริการคลาวด์อื่นๆ ดังต่อไปนี้

Therefore Online เป็นโซลูชั่นจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อประสานงาน ที่สามารถเชื่อมต่อระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) หรือระบบการบริหารเพื่อวางแผนและจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั่วทั้งบริษัท, ระบบเก็บข้อมูล ระบบจัดการไฟล์ข้อมูล และเครื่องถ่ายเอกสารมัลติฟังก์ชั่น ซึ่งบริการ Therefore Online จะทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์หลักของระบบ Therefore บนอินเตอร์เน็ต โดยที่องค์กรไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Therefore Server Client ในองค์กรแต่อย่างใด

แอพพลิเคชั่นอีกตัวที่โดดเด่นคือ Maintenance Cloud หรือระบบคลาวด์เพื่อการบำรุงรักษาและให้บริการหลังการขาย ช่วยให้เครื่องมัลติฟังก์ชั่นจากทั่วโลกเชื่อมโยง และส่งข้อมูลการทำงานของเครื่องมายังระบบผ่านอินเตอร์เน็ต เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการหลังการขายของแคนนอน ให้บริการรวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยลดภาระในการดูแลระบบ การตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องได้อย่างแม่นยำและช่วยลดต้นทุนการดูแลรักษาเครื่องของลูกค้าให้ต่ำลง

ในขณะที่บริการ eCopy Online เป็นบริการเชื่อมต่อเครื่องถ่ายเอกสารมัลติฟังก์ชั่น imageRUNNER ADVANCE เข้ากับบริการคลาวด์ยอดนิยมต่างๆ ได้อย่างลงตัว ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสแกนเอกสารขึ้นไปเก็บไว้บนคลาวด์หรือสั่งพิมพ์จากแอพพลิเคชั่นบนคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งบริการดังกล่าวปัจจุบันให้บริการแล้วที่แคนนอนสิงคโปร์ ส่วนประเทศไทยจะสามารถใช้บริการได้ในอนาคต

นอกจากนี้ยังมีบริการอื่นๆ อาทิ Scan to Cloud บริการที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสแกนเอกสารแล้วส่งไปเก็บไว้ยังระบบคลาวด์ของบริการ GoogleDocs หรือ MS SharePoint Online ได้โดยตรงจากหน้าจอของเครื่อง imageRUNNER ADVANCE และในขณะเดียวกันผู้ใช้ก็สามารถเข้าถึงและสั่งพิมพ์เอกสารต่างๆ ที่อยู่ในระบบคลาวด์ ได้โดยตรงจากหน้าจอเครื่อง imageRUNNER ADVANCE ผ่านบริการ Print from Cloud ได้อีกด้วย

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.canon.co.th ที่เบอร์ 0-2344-9999

View :7787

ไทยพาณิชย์ ร่วมกับ การไฟฟ้านครหลวง นำร่องเสริมศักยภาพด้านช่องทางการชำระเงินผ่านระบบออนไลน์

August 17th, 2011 No comments

ธนาคารไทยพาณิชย์ มุ่งมั่นในการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมในการให้บริการด้านการเงินต่างๆ กับภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เปิดบริการ ชำระค่าไฟฟ้าออนไลน์ ด้วย ผ่านเว็บไซต์ นับเป็นบริการสาธารณะที่นำเอานวัตกรรมด้านระบบความปลอดภัยของธนาคารมาสร้างความมั่นใจและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าในการชำระเงินได้ทุกที่ ทุกเวลา และสามารถทราบผลทันที (Real Time)

นางพรรณแข นันทวิสัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส สาย Global Transaction Services กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า “ธนาคารให้ความสำคัญกับการตอบสนองความต้องการด้านบริการทางการเงินแก่หน่วยงานภาครัฐมากขึ้น มุ่งคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และการให้บริการอย่างต่อเนื่องโดยบริการใหม่นี้ ธนาคารได้รับความไว้วางใจจากทาง กฟน.ให้เป็นผู้ให้บริการชำระเงินค่าไฟฟ้าออนไลน์ผ่าน SCB Payment Gateway เป็นธนาคารแรก ทั้งนี้ด้วยประสิทธิภาพของระบบงานธนาคารที่ปลอดภัย อีกทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถชำระเงินออนไลน์ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว เนื่องจากเป็นระบบ Online Real Time ที่ทำให้ทราบข้อมูลการชำระเงินแบบทันทีสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าอีกด้วย

นายฐานิสต์ เจนถนอมม้า รองผู้ว่าการธุรกิจ กล่าวถึงการเปิดให้บริการในครั้งนี้ว่า “MEA e-Service เป็นบริการใหม่ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า ไม่ต้องเสียเวลากับการเดินทางในการชำระเงินค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือน โดยผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถสอบถามยอดค่าไฟฟ้าแบบออนไลน์และชำระค่าไฟฟ้าผ่านเว็บไซต์ของ กฟน.ได้ด้วยตนเอง ซึ่งไทยพาณิชย์เป็นธนาคารแรกที่ร่วมพัฒนาระบบการให้บริการชำระเงินค่าไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ไฟฟ้า ให้สามารถชำระเงินผ่านระบบนี้ได้อย่างปลอดภัยและสะดวกมากขึ้น พร้อมกันนี้ผู้ใช้ไฟฟ้ายังสามารถขอรับบริการเสริมการแจ้งใบแจ้งค่าไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ทาง e-mail และบริการแจ้งยอดค่าไฟฟ้าทาง SMS เมื่อมียอดค่าไฟฟ้าเกิดขึ้น นอกเหนือจากการได้รับใบแจ้งค่าไฟฟ้าปกติ ซึ่ง กฟน. คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบริการใหม่นี้จะสามารถสร้างความพึงพอใจและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี”

บริการชำระค่าไฟฟ้าออนไลน์ผ่าน SCB Payment Gateway เปิดให้บริการชำระค่าไฟฟ้ากับผู้ใช้ไฟฟ้า ที่มีบัญชีออมทรัพย์ หรือ บัญชีกระแสรายวันของไทยพาณิชย์ สามารถลงทะเบียนขอใช้บริการนี้ได้ทางเว็บไซต์ www.mea.or.th โดยกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน และเลือกชำระผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ นอกจากนี้ยังสามารถขอรับบริการเสริมแจ้งใบแจ้งค่าไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ทาง e-mail และบริการแจ้งยอดค่าไฟฟ้าทาง SMS เมื่อมียอดค่าไฟฟ้าเกิดขึ้น นอกเหนือจากการได้รับใบแจ้งค่าไฟฟ้าตามปกติ เพียงเท่านี้ก็จะสามารถชำระค่าไฟฟ้าได้อย่างสะดวก ทุกที่ ทุกเวลา และมั่นใจในเรื่องของความปลอดภัย พร้อมให้บริการตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ SCB Call Center 02-777-7777 และ MEA Call Center 1130 ตลอด 24 ชั่วโมง

View :1697

ริม ประกาศจัดประชุม BlackBerry DevCon ในภูมิภาคเอเชียที่กรุงเทพฯ ปลายปีนี้

August 16th, 2011 No comments

รีเสิร์ช อิน โมชั่น หรือ ริม (Research In Motion – ) (NASDAQ: RIMM; TSX: ) ประกาศการกลับมาอีกครั้งของการประชุม BlackBerry® DevCon Asia เพื่อนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งปีนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 8 ธันวาคม 2554 ณ เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพ ประเทศไทย
 
การประชุม จะมีการรวบรวมหัวข้อการบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญชั้นนำจำนวนมาก รวมทั้งกิจกรรมสัมมนา และการอบรมเชิงปฏิบัติการอีกมากมาย เพื่อแสดงและสาธิตเครื่องมืออันหลากลาย ที่จะช่วยนักพัฒนาในการสร้างสรรค์แอพพลิเคชั่น ทั้งนี้ กำหนดการต่างๆ ไม่ได้เจาะจงไปที่การอบรมเชิงเทคนิคเพื่อสร้างแอพพลิเคชั่นสำหรับแบล็กเบอร์รี่® สมาร์ทโฟน และแบล็กเบอร์รี่ ® เพลย์บุ๊ค™ เท่านั้น แต่ผู้เข้าร่วมประชุมยังสามารถขอคำปรึกษาและรับฟังข้อมูลจากนักพัฒนาท่านอื่นๆ เกี่ยวกับวิธีการสร้างแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ให้ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์บนแพลตฟอร์มของแบล็กเบอร์รี่
 
ผู้เข้าประชุม BlackBerry DevCon Asia จะมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนามากมาย ซึ่งจะครอบคลุมหัวข้อ ดังนี้:
·       แพล็ตฟอร์ม BlackBerry® Messenger (BBM™) Social
·       Adobe® Flash® และ Adobe AIR®
·       ชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ BlackBerry® Java SDK 6.0
·       ชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการบริการ (ประกอบด้วย บริการด้านการชำระเงิน, บริการด้านการโฆษณา, บริการระบบดันข้อมูลแสดงผ่านหน้าจอของแบล็กเบอร์รี่ และอื่นๆ อีกมากมาย)
·       ความสำเร็จในเชิงธุรกิจและกรณีศึกษา (การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาแอพพลิเคชั่น กลยุทธ์การค้าแบบ B2C – จากธุรกิจสู่ผู้บริโภค หรือกรณีศึกษาจากการปฏิบัติการภายธุรกิจ)
·       เครื่องมือพัฒนาและแพล็ตฟอร์มอื่นๆ อีกมากมาย
·       เครื่องมือพัฒนา BlackBerry Native C/C++
·       เครื่องมือพัฒนาแอพพลิเคชั่น BlackBerry® WebWorks™
·       เครื่องมือพัฒนาบนเว็บ BlackBerry Web Development
·       มัลติมีเดีย
 
การประชุม BlackBerry DevCon เป็นการประชุมซึ่งจัดขึ้นสำหรับนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่มีความคุ้นเคยและมีประสบการณ์การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนแพล็ตฟอร์มแบล็กเบอร์รี่ รวมทั้งนักพัฒนาทั่วไปที่เริ่มสนใจการสร้างสรรค์ผลงานบนแพล็ตฟอร์มแบล็กเบอร์รี่
 
การประชุม BlackBerry DevCon Asia จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 7 – 8 ธันวาคม 2554 ผู้ที่สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ http://www.blackberrydevcon.com/asia โดยจะเปิดให้ลงทะเบียนภายในไม่กี่อาทิตย์ข้างหน้านี้

View :1401

3G พลิกโฉมการสื่อสารไร้สายของไทย คนกรุงกว่าร้อยละ 89 มีแผนใช้งานในอนาคต

August 15th, 2011 No comments

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ปัจจุบัน การสื่อสารโทรคมนาคมได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนยุคใหม่ นอกเหนือจากการสื่อสารในรูปแบบเสียงแล้ว การสื่อสารในยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคการสื่อสารที่เน้นข้อมูลในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีทั้งภาพและเสียงหรือที่เรียกกันว่ามัลติมีเดียมากยิ่งขึ้น ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการตอบสนองความต้องการในการสื่อสารของยุคนี้ คือ ความเร็วในการรับและส่งผ่านข้อมูล ซึ่งเป็นที่มาของเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงในยุคที่ 3 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า (Third Generation)

ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เอกชนรายหลักได้มีการเปิดทดสอบให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิม (HSPA) มาตั้งแต่ปี 2552 โดยจำกัดขอบเขตในบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนเกิดความคุ้นเคยและได้ทดลองใช้งานบริการ 3G มาก่อนหน้านี้ ในขณะที่การเปิดประมูลใบอนุญาตให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1GHz จะต้องรอการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งคาดว่าอย่างเร็วที่สุดน่าจะจัดตั้งได้ในช่วงปลายไตรมาส 3 ของปี 2554 และการประมูลน่าจะถูกจัดขึ้นได้ในช่วงกลางปี 2555 เป็นอย่างเร็ว อย่างไรก็ดี ผู้ให้บริการเอกชนรายหลักได้เริ่มทยอยเปิดตัวให้บริการ 3G เชิงพาณิชย์บนคลื่นความถี่เดิมในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 นี้ ซึ่งนับได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนแปลงสำคัญที่จะพลิกโฉมการสื่อสารโทรคมนาคมของไทยให้เข้าสู่ยุคการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ทำการสำรวจในหัวข้อพฤติกรรมการใช้งานบริการ 3G ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ โดยมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 629 ชุด เพื่อศึกษาความต้องการการใช้งานบริการ 3G และบริการเสริมด้านข้อมูลต่างๆบนอุปกรณ์เคลื่อนที่

 ผลสำรวจความต้องการใช้บริการ 3G…คนกรุงมีแผนใช้ 3G ในอนาคตสูงถึงร้อยละ 89.5

การเปิดทดสอบให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิมตั้งแต่ปี 2552 นับได้ว่ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความคุ้นเคยในหมู่ผู้บริโภคในการใช้งานบริการ 3G นอกจากนี้ ยังมีส่วนสำคัญในการให้ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผน และกำหนดยุทธวิธีการทำตลาดในช่วงระยะถัดไปที่จะมีการทยอยเปิดให้บริการ 3G เชิงพาณิชย์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 ไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาบริการเสริมด้านข้อมูล หรือแม้แต่การพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่นใหม่ๆที่ต้องอาศัยการสื่อสารความเร็วสูง จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานบริการ 3G ในระยะที่ผ่านมา พบประเด็นต่างๆ ดังนี้

 คนกรุงเทพฯกำลังใช้งานบริการ 3G อยู่ร้อยละ 36.6 ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้ใช้งานที่มีแผนจะใช้งานในอนาคตมีถึงร้อยละ 89.5

จากการสอบถามถึงการใช้งานบริการ 3G ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามราวร้อยละ 36.6 กำลังใช้งานบริการ 3G อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นสัดส่วนที่ไม่น้อย ในช่วงที่การเปิดให้บริการ 3G เชิงพาณิชย์เพิ่งจะอยู่ในระยะเริ่มต้น อย่างไรก็ดี ผู้ตอบแบบสอบถามราวร้อยละ 54.4 ให้ข้อมูลว่ายังไม่เคยใช้งานบริการ 3G มาก่อน โดยมีเหตุผลหลัก คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ของตนไม่รองรับระบบ 3G คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53.5 ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มที่ให้เหตุผลดังกล่าวมีแผนที่จะใช้งานบริการ 3G ในอนาคตสูงถึงร้อยละ 85.2 แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ผู้บริโภคในกลุ่มดังกล่าวจะเปลี่ยนโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหม่เพื่อให้สามารถใช้งาน 3G ได้

นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามยังให้เหตุผลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุที่ยังไม่เคยใช้งานบริการ 3G อีกว่า พื้นที่ให้บริการ 3G ยังไม่ครอบคลุม คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 52.3 สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจาก การเปิดให้บริการ 3G ในช่วงก่อนหน้านี้ ยังคงเป็นลักษณะการทดสอบให้บริการ ซึ่งจำกัดอยู่เฉพาะบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่เท่านั้น อย่างไรก็ดี ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายหลักมีแผนที่จะเปิดให้บริการ 3G ครอบคลุมเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ ภายในสิ้นปี 2554 นี้ และจะครอบคลุมทั่วประเทศภายใน 3 ปี ทำให้ข้อจำกัดเกี่ยวกับพื้นที่ให้บริการ 3G มีแนวโน้มลดลงในอนาคต

จากผลการสำรวจยังพบอีกว่า โดยภาพรวมแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถามที่ยังไม่เคยใช้บริการ 3G มีแผนที่จะใช้บริการในอนาคตสูงถึงร้อยละ 89.5 ของผู้ที่ยังไม่ได้ใช้บริการในปัจจุบัน สะท้อนถึงโอกาสทางการตลาดอันสำคัญสำหรับผู้ให้บริการโครงข่าย 3G รวมไปถึงผู้ให้บริการเสริมด้านคอนเทนต์ และนักพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่น ที่จะพัฒนาบริการหรือแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่ต้องอาศัยการสื่อสารความเร็วสูง

 ร้อยละ 80 ของผู้ใช้งานบริการ 3G ในปัจจุบัน ใช้บริการ 3G ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่

ปัจจุบัน การเชื่อมต่อเพื่อใช้งานบริการ 3G สามารถกระทำผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้หลากหลาย ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ เน็ตบุ๊ค แท็บเล็ต และโน๊ตบุ๊คผ่านแอร์การ์ด 3G จากผลการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯราวร้อยละ 80 ใช้บริการ 3G ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ และมีสัดส่วนการใช้บริการผ่านสมาร์ทโฟนสูงถึงร้อยละ 84.8 ของผู้ใช้บริการ 3G ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของผู้บริโภคในการถือครองสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่มีสมรรถนะสูง และสามารถใช้งานได้หลากหลายวัตถุประสงค์ผ่านทางโมบายล์แอพพลิเคชั่น ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการรองรับการพัฒนาบริการเสริมทางด้านข้อมูลใหม่ๆในอนาคตมากยิ่งขึ้น

ในขณะเดียวกัน อุปกรณ์เคลื่อนที่ประเภทแท็บเล็ต ซึ่งมีสัดส่วนผู้ใช้งานบริการ 3G ผ่านอุปกรณ์ดังกล่าวถึงร้อยละ 13.0 ก็เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่น่าจับตามองเช่นกัน เนื่องจาก ฟังก์ชั่นการทำงานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมาร์ทโฟน แต่ด้วยความเร็วในการประมวลผลข้อมูลที่สูงกว่า ขนาดของหน้าจอแสดงผลที่ใหญ่ และสามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนาสำหรับสมาร์ทโฟนได้ ประกอบกับผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ไอซีทีในไทยเริ่มเข้ามาทำตลาดอย่างจริงจังตั้งแต่ช่วงปลายปี 2553 ทำให้ผู้บริโภคเริ่มให้ความสนใจใช้งานแท็บเล็ตในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

 ผลสำรวจบริการด้านข้อมูล…คนกรุงต้องการช่องทางสื่อสารรูปแบบใหม่ที่เน้นมัลติมีเดีย

ปัจจุบัน ผู้บริโภคมีแนวโน้มใช้งานบริการด้านข้อมูล (Non-Voice) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2553 บริการด้านข้อมูลมีมูลค่ากว่า 2.6 หมื่นล้านบาท ขยายตัวราวร้อยละ 24.4 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.2 ของมูลค่ารวมบริการด้านเสียงและข้อมูล ในขณะที่ปี 2554 บริการด้านข้อมูลมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยได้แรงสนับสนุนจากการทยอยเปิดตัวการให้บริการ 3G เชิงพาณิชย์ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายหลักในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 ประกอบกับการเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟนที่กำลังอยู่ในกระแสความนิยม ซึ่งจะมีส่วนผลักดันการใช้งานบริการด้านข้อมูลให้เพิ่มสูงยิ่งขึ้น โดยในปี 2554 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า บริการด้านข้อมูลจะมีมูลค่าราว 3.3 ถึง 3.5 หมื่นล้านบาท ขยายตัวราวร้อยละ 27.0 ถึง 34.6 คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 20.8 ของตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยรวม

จากผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเกี่ยวกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯต่อบริการด้านข้อมูลบนระบบ 3G พบว่า บริการที่มีผู้ต้องการใช้ผ่านระบบ 3G มากที่สุด ได้แก่ เครือข่ายสังคมออนไลน์ (ร้อยละ 71.6) รองลงมาคือ ชมทีวีออนไลน์ (ร้อยละ 64.7) บริโภคข่าวสาร (ร้อยละ 59.3) และฟังเพลงออนไลน์ (ร้อยละ 54.7) สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของผู้บริโภคในการใช้งานเครือข่าย 3G เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารรูปแบบใหม่ในการส่งผ่านข้อมูลปริมาณมาก ทั้งในรูปแบบข้อความ ภาพและเสียง ทั้งนี้ เพื่อการอัพเดทข้อมูลกิจกรรมที่ตนทำอยู่ให้แก่เครือข่ายเพื่อนฝูง หรือเพื่อสร้างความบันเทิงส่วนตัว รวมไปถึงการบริโภคข่าวสารในรูปแบบมัลติมีเดีย ซึ่งบริการกลุ่มนี้ค่อนข้างเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในวงกว้างได้ทุกเพศทุกวัย ขณะที่บริการที่ค่อนข้างมีวัตถุประสงค์ในการใช้ที่เฉพาะเจาะจง อย่างเช่น ธนาคารบนมือถือ การซื้อสินค้าออนไลน์ เป็นต้น จะมีผู้สนใจในสัดส่วนที่น้อยกว่า

เมื่อพิจารณาความต้องการใช้งานบริการด้านข้อมูลบนระบบ 3G แยกตามช่วงอายุ อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่ในช่วงอายุ 15 ถึง 29 ปี มีความต้องการใช้บริการด้านข้อมูลบนระบบ 3G ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ และบริการเพื่อความบันเทิงต่างๆ ในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มช่วงอายุอื่น นอกจากนี้ ยังเป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่ก็มีความสนใจบริการด้านข่าวสารเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่ากลุ่มช่วงอายุอื่น แต่ก็มีสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 56.1

สำหรับกลุ่มที่มีอายุอยู่ในช่วง 30 ถึง 44 ปี ให้ความสนใจกับบริการด้านข้อมูลทุกประเภท และมีสัดส่วนปานกลางเมื่อเทียบกับผู้ตอบแบบสอบถามในช่วงอายุอื่น ยกเว้น บริการที่เกี่ยวกับการจับจ่ายซื้อสินค้าหรือบริการ ซึ่งกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามในช่วงอายุดังกล่าวมีผู้ให้ความสนใจสูงกว่าผู้ตอบแบบสอบถามในช่วงอายุอื่น สำหรับกลุ่มผู้มีอายุมากกว่า 44 ปี ให้ความสนใจใช้บริการเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร และธนาคารบนมือถือในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มช่วงอายุอื่น และไม่ค่อยให้ความสนใจในการจับจ่ายซื้อสินค้าหรือบริการมากนัก

 ผลสำรวจบริการด้านความบันเทิงออนไลน์…คนกรุงต้องการบริการที่มีคอนเทนต์หลากหลาย

ปัจจุบัน การบริโภคดิจิทัลคอนเทนต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่นั้น มักจะเป็นไปเพื่อความสนุกสนานบันเทิงใจ ไม่ว่าจะเป็นการชมทีวี ฟังเพลง หรือเล่นเกม โดยบริการเหล่านี้รวมเรียกว่า โมบายล์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (Mobile Entertainment) สำหรับประเทศไทย ในอดีตที่ผ่านมา บริการดังกล่าวมักมีข้อจำกัดจากความเร็วของโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งอยู่ระหว่าง 80 ถึง 200 กิโลบิตต่อวินาที ทำให้คุณภาพการให้บริการไม่ค่อยเป็นที่พอใจของผู้บริโภค อย่างไรก็ดี การทยอยเปิดให้บริการ 3G ในช่วงครึ่งหลังของปี ย่อมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะพลิกโฉมการให้บริการโมบายล์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ให้มีทั้งคุณภาพและความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดบริการด้านข้อมูลที่เกี่ยวกับความบันเทิงแบบออนไลน์ โดยผู้บริโภคสามารถชมทีวี ฟังเพลง หรือเล่นเกม ในขณะที่เชื่อมต่อการใช้บริการได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอการดาวน์โหลดเนื้อหามาเก็บไว้ที่อุปกรณ์เคลื่อนที่ก่อน จึงจะสามารถบริโภคเนื้อหาดังกล่าวได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการสำรวจความต้องการของผู้บริโภคต่อลักษณะเนื้อหาและการชำระเงินในการใช้บริการความบันเทิงแบบออนไลน์บนระบบ 3G โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้

 ผู้บริโภคสนใจชมภาพยนตร์มากที่สุด และอยากจะจ่ายรายเดือนเพื่อชมหนึ่งช่องรายการไม่อั้น

บริการทีวีออนไลน์เป็นบริการลักษณะมัลติมีเดียซึ่งมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียง ข้อจำกัดที่สำคัญอย่างหนึ่งของการให้บริการดังกล่าว คือ ขนาดของข้อมูลมักจะใหญ่ ทำให้ความเร็วของโครงข่ายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดถึงคุณภาพของการให้บริการ โดยความเร็วขั้นต่ำที่พอจะเปิดให้บริการแบบออนไลน์ คือ 64 ถึง 80 กิโลบิตต่อวินาที จึงทำให้มีผู้ให้บริการบางรายเปิดให้บริการดังกล่าวบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไปจากการที่ต้องรับส่งข้อมูลจำนวนมาก เมื่อเทียบกับอรรถรสของการชมที่ได้รับ ทำให้บริการดังกล่าวได้รับความนิยมไม่ค่อยสูงนัก ทั้งนี้ การเปิดให้บริการ 3G จะมีส่วนช่วยผลักดันให้คุณภาพของการให้บริการดีขึ้น รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการรับส่งข้อมูลที่ลดลง ซึ่งจะมีส่วนผลักดันให้บริการดังกล่าวขยายตัวยิ่งขึ้น

จากผลการสำรวจเกี่ยวกับรายการทีวีออนไลน์ที่ผู้บริโภคมีความต้องการชม พบว่า มีผู้ต้องการชมรายการภาพยนตร์มากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 78.6 รองลงมาคือ รายการข่าวและมิวสิกวีดีโอ ซึ่งมีสัดส่วนใกล้เคียงกันที่ราวร้อยละ 52 และเมื่อสอบถามถึงรูปแบบการชำระค่าชมรายการที่ต้องการจะเลือกชำระ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ราวร้อยละ 50 เลือกที่จะชำระแบบรายเดือนเพื่อชมหนึ่งช่องรายการแบบไม่อั้น ในขณะที่การจ่ายรายเดือนเพื่อชมหลายช่องรายการตามที่กำหนดไว้แบบไม่อั้น ซึ่งมักจะมีค่าใช้จ่ายรายเดือนสูงกว่านั้น กลับมีสัดส่วนที่ต่ำที่สุดคือร้อยละ 22.2 สะท้อนถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่อยากจะเลือกชมทีวีเฉพาะประเภทรายการที่ตนโปรดปรานจริงๆ และพร้อมที่จะจ่ายเฉพาะช่องรายการที่ชอบ เพื่อสามารถรับชมได้แบบไม่จำกัดในรอบเดือนนั้น

 ผู้บริโภคราวร้อยละ 30.5 ชอบเลือกเพลงจากค่ายใดก็ได้และซื้อเฉพาะเพลงที่ตนชอบ

ธุรกิจเพลงดิจิทัลบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ของไทยนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น สืบเนื่องจาก ความเร็วของโครงข่ายสื่อสารไร้สายยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก ทำให้ธุรกิจเพลงดังกล่าวถูกจำกัดอยู่แต่เพลงที่ได้รับการตัดต่อความยาวประมาณ 30 ถึง 60 วินาที เพื่อนำมาใช้เป็นเพลงในบริการเสียงรอสาย หรือติดตั้งเป็นเพลงเสียงเรียกเข้าบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือถ้าเป็นเพลงฉบับเต็มก็จำเป็นต้องดาวน์โหลดมาไว้ที่อุปกรณ์เคลื่อนที่ของตนก่อนแล้วฟังแบบออฟไลน์ สำหรับธุรกิจบริการฟังเพลงออนไลน์ ซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกฟังเพลงและเก็บเพลงไว้บนอินเทอร์เน็ตได้นั้น ยังคงถูกจำกัดอยู่แต่บนอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเป็นหลัก อย่างไรก็ดี การเปิดให้บริการ 3G จะเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้เกิดบริการดังกล่าวได้

จากผลการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเกี่ยวกับลักษณะการชำระค่าบริการฟังเพลงออนไลน์ที่ผู้บริโภคต้องการ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการชำระเป็นรายเพลงและเลือกเพลงจากค่ายใดก็ได้ เป็นสัดส่วนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 30.5 สะท้อนถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในการฟังเพลงที่มักจะเลือกเฉพาะเพลงที่ชอบจริงๆ จากความหลากหลายที่นำเสนอโดยค่ายต่างๆ โดยไม่อยากจะชำระแบบรายเดือน ซึ่งโดยรวมแล้วอาจมีค่าใช้จ่ายโดยเปรียบเทียบที่สูงกว่า ถ้าจำนวนเพลงที่ตนชื่นชอบมีไม่มากนัก

 ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเนื้อหาและราคาของเกมออนไลน์มากกว่าแหล่งพัฒนาเกม

ลักษณะของรูปแบบธุรกิจเกมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน คือ การขายเกมโดยให้ผู้บริโภคดาวน์โหลดเกมที่ต้องการมาไว้ที่อุปกรณ์คลื่อนที่ก่อนแล้วเล่นแบบออฟไลน์ ไม่ได้เล่นกันแบบออนไลน์เหมือนเกมออนไลน์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีขนาดเกมที่ใหญ่และซับซ้อนกว่า ทั้งนี้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านความเร็วของโครงข่ายสื่อสารไร้สาย อย่างไรก็ดี ข้อจำกัดดังกล่าวน่าจะหมดไปเมื่อมีการเปิดให้บริการ 3G

จากการสอบถามถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเกมออนไลน์บนระบบ 3G พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าร้อยละ 58 ต้องการเกมออนไลน์ที่เล่นง่ายและสนุก ประกอบกับราคาที่ไม่แพงจนเกินไปนัก ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัจจัยเกี่ยวกับแหล่งที่มาของเกม ได้แก่ ต้องเป็นเกมต่างประเทศมีผู้ตอบเพียงร้อยละ 7.8 และชื่อเสียงบริษัทเกมมีผู้ตอบเพียงร้อยละ 13.0 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเนื้อหา และราคาเป็นสำคัญ โดยให้ความสำคัญกับแหล่งที่มาเป็นลำดับรองลงมา

บทสรุป
การเริ่มทยอยเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิมของผู้ให้บริการเอกชนรายหลักในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนโฉมหน้าการสื่อสารไร้สายของไทยให้เข้าสู่ยุคการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง และเป็นแรงผลักดันอันสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคการบริการด้านข้อมูลในหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดบริการด้านข้อมูลที่เกี่ยวกับความบันเทิงแบบออนไลน์ โดยผู้บริโภคสามารถชมทีวี ฟังเพลง หรือเล่นเกม ในขณะที่เชื่อมต่อการใช้บริการได้ทันที

จากผลการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยต่อผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯเกี่ยวกับการใช้บริการ 3G ซึ่งผู้ให้บริการเอกชนรายหลักได้เปิดทดสอบการให้บริการมาตั้งแต่ปี 2552 พบว่า ในเขตกรุงเทพฯมีผู้ที่กำลังใช้บริการ 3G อยู่ราวร้อยละ 36.6 ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ใช้บริการ 3G ในปัจจุบันส่วนใหญ่ราวร้อยละ 80 ใช้งานผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่วนที่เหลือเป็นการใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค เน็ตบุ๊ค และแท็บเล็ต ในขณะที่ผู้ที่ยังไม่เคยใช้งานเลยมีอยู่ราวร้อยละ 54.4 อย่างไรก็ดี กลุ่มผู้ที่ยังไม่ได้ใช้งาน 3G ในปัจจุบันราวร้อยละ 89.5 มีแผนที่จะใช้งานในอนาคต สะท้อนถึงโอกาสทางการตลาดอันสำคัญสำหรับผู้ให้บริการโครงข่าย 3G และเครื่องลูกข่าย/ตัวเครื่อง รวมถึงผู้ให้บริการด้านคอนเทนต์ และนักพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่น ที่จะพัฒนาบริการเสริมหรือแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่ต้องอาศัยการสื่อสารความเร็วสูง

ความต้องการใช้งานบริการ 3G ของผู้บริโภคที่อยู่ในระดับสูงดังกล่าว ประกอบกับกระแสการเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟนจะมีส่วนผลักดันให้บริการด้านข้อมูลมีการขยายตัวเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2554 บริการด้านข้อมูลจะมีมูลค่าราว 3.3 ถึง 3.5 หมื่นล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 27.0 ถึง 34.6 คิดเป็นสัดส่วนราว 20.8 ของมูลค่ารวมบริการด้านเสียงและข้อมูล

จากผลการสำรวจเกี่ยวกับความต้องการใช้งานบริการเสริมด้านข้อมูลบนระบบ 3G พบว่า บริการที่มีผู้ต้องการใช้ผ่านระบบ 3G มากที่สุด ได้แก่ บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ชมทีวีออนไลน์ บริโภคข่าวสาร และฟังเพลงออนไลน์ สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการช่องทางการสื่อสารแบบใหม่ของผู้บริโภค ที่สามารถส่งผ่านข้อมูลในปริมาณมาก ทั้งในรูปแบบข้อความ ภาพและเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการที่อยู่ในลักษณะความบันเทิงแบบออนไลน์ ที่ผู้บริโภคสามารถเชื่อมต่อการใช้บริการได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอการดาวน์โหลดเนื้อหามาเก็บไว้ที่อุปกรณ์เคลื่อนที่ก่อนจึงจะสามารถบริโภคเนื้อหาดังกล่าวได้

ความสนใจดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจของบริการด้านความบันเทิงแบบออนไลน์ หรือโมบายล์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์บนระบบ 3G ในอนาคต ซึ่งจากแบบสอบถาม พบว่า ผู้ที่ต้องการใช้บริการทีวีออนไลน์ มีความต้องการชมรายการภาพยนตร์มากที่สุด รองลงมาเป็น ข่าว มิวสิกวีดีโอ ละคร เป็นต้น และส่วนใหญ่อยากใช้บริการแบบรายเดือน โดยสามารถชมเฉพาะช่องประเภทรายการที่ตนโปรดปรานได้แบบไม่อั้น ซึ่งแตกต่างจากบริการฟังเพลงออนไลน์ ที่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ต้องการความหลากหลายของเพลง โดยสามารถเลือกได้จากหลายๆค่าย และต้องการซื้อเฉพาะเพลงที่ตนชอบจริงๆ ในขณะที่บริการเกมออนไลน์นั้น ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการเกมที่เล่นง่ายและสนุก ประกอบกับราคาที่ไม่แพงเกินไปนัก

จากแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการความบันเทิงรูปแบบใหม่ ซึ่งสามารถสร้างความบันเทิงแบบพกพาได้ทุกที่ทุกเวลา และยังพร้อมที่จะจ่ายค่าบริการ เพื่อสามารถเลือกคอนเทนต์ที่ตนชื่นชอบได้จากคลังคอนเทนต์ที่มีความหลากหลาย สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจของผู้ให้บริการคอนเทนต์ที่จะเข้ามาพัฒนาบริการด้านความบันเทิงบนช่องทางการสื่อสารรูปแบบใหม่ ที่มีศักยภาพในการเติบโตและมีโอกาสจะเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดบางส่วนจากช่องทางให้บริการความบันเทิงแบบดั้งเดิมได้ในอนาคต ขณะเดียวกัน พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มหันมาใช้เวลากับอุปกรณ์เคลื่อนที่มากขึ้น และฐานผู้ใช้ที่สามารถเข้าถึงเครือข่ายสื่อสาร (Coverage) ที่มีโอกาสขยายออกไปกว้างขึ้นในอนาคต อาจเป็นทิศทางที่ธุรกิจต่างๆต้องหันกลับมาพิจารณากลยุทธ์ทางการตลาด และโอกาสทางธุรกิจผ่านช่องทางอุปกรณ์เคลื่อนที่มากขึ้น

——————————————
Disclaimer
รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณของตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

View :2326

เอเชียซอฟท์เสริมกลยุทธ์เชิงรุกเปิดตัวเกมใหม่เพิ่มอีก 9 เกม

August 15th, 2011 No comments

บมจ. หรือ AS พื้นฐานแข็งแกร่ง ยังคงรักษาระดับอัตรากำไรสุทธิไว้ได้ที่ระดับ 21% โดยมีรายได้รวมในช่วงไตรมาสสอง 421.80 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 17.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อันเป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นอย่างมากของผลประกอบการในต่างประเทศ โดยเติบโตสูงถึง 37% จากความสำเร็จของเกมใหม่และเกมเก่า

นายปราโมทย์ สุดจิตพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ ช่วงไตรมาส 2/2554 บริษัทมีรายได้รวม 421.80 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 17.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวม 358.6 ล้านบาท ส่งผลให้มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงถึง 46% โดยมีกำไรสุทธิ 83.71 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 73.88 ล้านบาท โดยเป็นการเติบโตของรายได้จากต่างประเทศถึง 37.2% จากรายได้ 147.92 ล้านบาท เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 107.82 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเติบโตจากความสำเร็จในส่วนของเกมออนไลน์ทั้งเกมเก่าและเกมใหม่

ขณะที่ในไตรมาสนี้มีการเปิดเกมใหม่ทั้งหมดในไทย 4 เกมคือ Gigaslave 3 Kingdoms Warriors Online Gangza Band Master และเปิดที่สิงคโปร์ 1 เกม คือ AIKA ทั้งนี้ บริษัทฯได้มีการพัฒนาเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายต่างๆในด้านการชำระเงินของร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่และผู้เล่นเกมให้ง่ายขึ้น อาทิเช่นการชำระเงินร้านสมาชิกผ่านระบบออนไลน์ การชำระเงินของผู้เล่นผ่านบัตร 1-2 Call Paysbuy รวมทั้งล่าสุดเพิ่มช่องทางชำระเงินของเกม Facebook ผ่านบัตรเติมเงิน@Cash ขณะที่บริษัทฯ ใกล้จะเปิดเกม AVA ซึ่งเป็นเกมประเภท FPS ใน Platform ใหม่ที่จะทำการบุกตลาดในระดับภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ส่วนผลการดำเนินงานช่วงครึ่งปีแรกบริษัทฯ มีรายได้จากทั้งในประเทศและต่างประเทศรวม 823.3 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 13.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวม 725.1 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นรายได้ในประเทศ 554.9 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 67.40 ของรายได้รวม และในต่างประเทศรายได้รวม 268.4ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32.6 ของรายได้รวม โดยสาเหตุที่รายได้เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการดำเนินการตามแผนธุรกิจเชิงรุกในปีนี้ ส่งผลให้บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 153.75 ล้านบาท เติบโต 12.5 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 136.7 ล้านบาท

“สำหรับแผนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจยังคงใช้นโยบายเชิงรุกต่อเนื่อง โดยมีแผนจะทยอยเปิดเกมเพิ่มอีกในช่วงครึ่งหลังของปีเป็นจำนวน 9 เกม ทำให้ภาพรวมในปีนี้เป็นการเปิดเกมใหม่รวมทั้งสิ้น 16 เกม โดยมีแผนการเปิดเกมในสิงคโปร์/มาเลเซียอีก 2 เกม พร้อมทั้งการเปิดเกมใหม่ในไทยอีก 7 เกม ส่วนการลงทุนในประเทศอินโดนีเซีย คาดว่าจะสามารถเปิดเกมได้ในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ นอกจากนี้บริษัทอยู่ระหว่างพิจารณาการลงทุนอีก 1 บริษัทในไทยที่จะช่วยเสริมและต่อยอดธุรกิจหลักได้ รวมทั้งพิจารณาลงทุนในบริษัทให้บริการเกมออนไลน์รายใหญ่ในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและขยายฐานรายได้เพิ่มขึ้นในอนาคตด้วยแผนการดำเนินงานข้างต้น ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าจะส่งผลให้รายได้ในปีนี้โตขึ้น 20% อย่างแน่นอน” นายปราโมทย์ กล่าวสรุป

กลุ่มบริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการเกมออนไลน์ (Online Game) ชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีส่วนแบ่งการตลาด เป็นอันดับ 1 ในไทย และสิงคโปร์ อันดับ 3 ในมาเลเซีย และอันดับ 4 ในเวียดนาม แม้ปัจจุบันเป็นเพียงการ sub-license ให้กับคู่ค้า ทั้งนี้บริษัทฯยังคงมีความตั้งใจที่จะลงทุนอย่างแน่นอน ซึ่งมีความพร้อมที่จะเปิดดำเนินการทันที โดยอยู่ระหว่างรอรัฐบาลเวียดนามเปิดให้ใบอนุญาตในการให้บริการเกมในอนาคต

View :1747

ลูกค้าดีแทคได้อัพเกรดใช้บริการ dtac 3G ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม เริ่ม 16 สิงหาคมนี้

August 15th, 2011 No comments


บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) เปิดให้ลูกค้าดีแทคได้ใช้บริการ dtac บนคลื่น 850 เมกะเฮิร์ตซ์ ในพื้นที่ให้บริการตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2554 นี้ มั่นใจ dtac ช่วยให้การใช้งานดาต้าบนดีแทคอินเทอร์เน็ตเร็วและราบรื่น จากจุดเริ่มต้นในวันเปิดบริการนี้ตั้งเป้าหมายจะพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้นและครอบคลุมยิ่งขึ้นเพื่อเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายดาต้าที่ดีที่สุด พนักงานทุกฝ่ายร่วมใจ พร้อมจัดแคมเปญที่ใหญ่ที่สุดของปี

นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า “บริการ คือส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของเราในการมอบนวัตกรรมโซลูชั่นและบริการที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยบริการนี้เป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าดีแทคปัจจุบันซึ่งสมัครใช้บริการแพ็กเกจดาต้าอยู่แล้ว โดยไม่มีการเก็บค่าบริการเพิ่มเติม เราเชื่อมั่นว่าบริการ บนคลื่น 850 เมกะเฮิร์ตซ์ จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ผู้บริโภค อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยและประเทศไทยโดยรวม ทั้งยังเป็นผลดีต่อ บมจ. กสท โทรคมนาคม เนื่องจากการให้บริการ 3G บนคลื่น 850 เมกะเฮิร์ตซ์ นี้ทำอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานปัจจุบัน”

“การอัพเกรดบริการ dtac 3G บนคลื่น 850 เมกะเฮิร์ตซ์ นับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย เราเชื่อมั่นว่าการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และการเปิดประมูลใบอนุญาต 3จี บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ จะสามารถยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ เราพร้อมที่จะทำงานร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ กสทช. เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายนั้น” นายอับดุลลาห์กล่าว

นายปกรณ์ พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายผลิตภัณฑ์ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า ดีแทคมั่นใจว่าการเปิดให้บริการ dtac 3G ในวันที่ 16 สิงหาคมนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาบริการให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บริการที่ครอบคลุมต่อไป ลูกค้าดีแทคทุกหมายเลขมีสิทธิ์ใช้บริการ dtac 3G ได้ในพื้นที่ให้บริการของเราในเขตกรุงเทพมหานคร เพียงมีมือถือหรืออุปกรณ์ที่รองรับ 3G บนคลื่น 850 เมกะเฮิร์ตซ์ และใช้งานในพื้นที่ให้บริการ โดยสามารถใช้บริการได้เหมือนการใช้งานดาต้าที่เคยใช้อยู่ด้วยความเร็วสูงและคุณภาพสัญญาณดีกว่าเดิม ไม่ต้องเสียค่าบริการเพิ่มจากเดิมแต่อย่างใด เรามั่นใจว่าบริการ dtac 3G มีจุดเด่นในด้านความเร็ว (speed) สูงที่สุดเนื่องจากดีแทคมีช่องสัญญาณแบนด์วิธขนาดใหญ่มากถึง 10 เมกะเฮิร์ตซ์ รองรับการใช้งานได้มากกว่า โดยระบบของเราออกแบบมาให้สามารถรองรับความเร็วสูงสุดในการดาวน์โหลดข้อมูลถึง 42 เมกะบิตต่อวินาที และมีความเร็วในการอัพโหลดข้อมูลระดับเมกะบิตต่อวินาที จากการทดสอบระบบด้วยทีมพนักงานของเราเองและผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกในช่วงที่ผ่านมาทำให้เรามั่นใจที่จะให้บริการลูกค้าอย่างเต็มรูปแบบและจะเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีและคุณภาพของบริการให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป

“dtac 3G คือแคมเปญที่ใหญ่ที่สุดของดีแทคในรอบปี เป็นความรับผิดชอบและความร่วมมือของทุกหน่วยงานในบริษัทรวมทั้งพนักงานทุกคนที่ร่วมใจกันทำงานและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อให้บริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า” นายปกรณ์กล่าวปิดท้าย

ปัจจุบัน ดีแทคลงทุนเพื่อปรับปรุงเครือข่ายสู่ระบบ 3G ครอบคลุมสถานีฐาน (Cell Site) ทั้งหมด 1,220 แห่งและมีแผนการที่จะลงทุนเพื่อครอบคลุม 40 จังหวัดด้วยสถานีฐานทั้งหมด 2,000 สถานี ภายในปี 2555

ลูกค้าดีแทคสามารถตรวจสอบพื้นที่บริการ รายละเอียดอื่นๆ รวมทั้งอุปกรณ์หรือมือถือรุ่นที่รองรับ 3G และการตั้งค่ามือถือได้ที่ www.dtac.co.th/3G ลูกค้าดีแทคปัจจุบันที่ใช้แพ็กเกจอินเทอร์เน็ตแบบไม่จำกัด (Unlimited) สามารถใช้ dtac 3G ได้ทันที สำหรับลูกค้าที่ใช้งานแพ็กเกจอื่นๆ สามารถกด *3000# และกดโทรออก (ไม่คิดค่าบริการ) เพื่อใช้บริการ dtac 3G ได้ ระบบจะอัพเกรดจาก EDGE เป็น 3G อัตโนมัติเมื่อใช้งานในพื้นที่ให้บริการ โดยลูกค้าชำระค่าบริการดาต้าปกติตามแพ็กเกจเดิมที่เลือกไว้ ไม่มีค่าบริการใช้งานเพิ่ม
ในเวลาเดียวกันนี้ ดีแทคยังได้เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณา ชุด “ห่วงใย” ที่แสดงให้เห็นถึงด้านดีของเทคโนโลยีกับชีวิต ตามแนวความคิด “ที่สุดของเทคโนโลยีคือการเชื่อมต่อความรู้สึกถึงกันอย่างราบรื่น” พร้อมจัดแคมเปญสำหรับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ลูกค้าสามารถติดตามพบกับแคมเปญใหญ่ของ dtac 3G พร้อมทั้งกิจกรรมร่วมสนุกมากมายในเร็ว ๆ นี้

View :3252

กสิกรไทย-วีซ่าเปิดตัวระบบชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือครั้งแรกของโลก

August 15th, 2011 No comments

ร่วมกับวีซ่า โชว์ความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีพัฒนาระบบชำระเงินค่าสินค้าและบริการผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นครั้งแรกของโลก หวังสร้างความสะดวกพร้อมความปลอดภัยด้วยบริการโมบาย เวอริฟาย บาย (Mobile Verified by Visa) ตั้งเป้าปี 54 จะมียอดรับชำระบัตรเครดิตออนไลน์ 40,000 ล้านบาท

นายอาจ วิเชียรเจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถที่หลากหลายมากขึ้นนอกเหนือจากการใช้เป็นอุปกรณ์สื่อสารทั่วไป โดยสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่สามารถใช้ซื้อสินค้าและบริการผ่านเวบไซต์ หรือแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้ และมีแนวโน้มที่ช่องทางดังกล่าวจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นตามการขยายตัวของปริมาณการใช้สมาร์ทโฟนที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม การซื้อสินค้าและบริการผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำเป็นต้องมีระบบชำระเงินที่มีมาตรฐานสูง เพื่อให้ลูกค้ามีความมั่นใจและปลอดภัยในการทำธุรกรรม ดังนั้นธนาคารกสิกรไทย จึงร่วมกับบริษัท วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (VISA) พัฒนาบริการโมบาย เวอริฟาย บาย วีซ่า ซึ่งเป็นระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อรองรับธุรกรรมการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นครั้งแรกในประเทศไทยและครั้งแรกของโลก

ทั้งนี้ เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต และทำธุรกรรมจนถึงขั้นตอนการชำระเงิน ซึ่งหน้าชำระเงินจะเชื่อมต่อมายังระบบบริการรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตออนไลน์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ (K-Payment Gateway on Mobile) เพื่อให้ผู้ถือบัตรกรอกข้อมูลบัตร ตรวจสอบรายการชำระเงิน และยืนยันการทำธุรกรรมโดยธนาคารจะส่งรหัสแบบใช้ครั้งเดียว (One-time password: OTP) ผ่านทางเอสเอ็มเอส (SMS) ไปยังหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ถือบัตรที่ได้ลงทะเบียนไว้ เพื่อให้ผู้ถือบัตรใช้กรอกบนหน้าจอชำระเงิน ซึ่งระบบจะทำการตรวจสอบความถูกต้องและแสดงผลการทำธุรกรรมให้ผู้ถือบัตรทราบในลำดับถัดไป

บริการโมบาย เวอริฟาย บาย วีซ่า แบบ OTP เป็นระบบตรวจสอบและรักษาความปลอดภัยของการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีมาตรฐานสูงสุดในขณะนี้ ผู้ถือบัตรไม่ต้องกังวลว่าผู้อื่นจะทราบรหัสและนำไปใช้ เพราะเป็นเอสเอ็มเอสที่ส่งตรงเข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเจ้าของบัตร และใช้ได้เพียงครั้งเดียว ผู้ถือบัตรจึงไม่จำเป็นต้องจำรหัสผ่าน ทั้งนี้ ผู้ถือบัตรที่เคยลงทะเบียนใช้บริการ เวอริฟาย บาย วีซ่า แบบ OTP จะสามารถใช้บริการดังกล่าวต่อเนื่องได้ ส่วนผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียน ระบบจะแจ้งให้ลงทะเบียน และสามารถกลับเข้ามาทำรายการช้อปปิ้งออนไลน์ต่อได้ในทันที

นายศีลวัต สันติวิสัฎฐ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ในช่วงแรกบริการโมบาย เวอริฟาย บาย วีซ่า จะมีพันธมิตรทางธุรกิจที่เข้าร่วมให้บริการ ได้แก่ แอมเวย์ นกแอร์ เพย์สบาย เอสเอฟซีนีม่า ตลาดดอทคอม การบินไทย และไทยทิคเก็ตเมเจอร์ ซึ่งผู้ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น หรือทำรายการช้อปปิ้งออนไลน์ผ่านทางเวบไซต์ของพันธมิตรธุรกิจดังกล่าวได้

ปัจจุบัน ธนาคารกสิกรไทย มีลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตและบัตรเดบิตรวมกันมากกว่า 9 ล้านใบ และมีผู้ลงทะเบียนกับระบบเวอริฟาย บาย วีซ่า เพื่อช้อปปิ้งออนไลน์แล้วกว่า 400,000 ราย โดย 70 % ของผู้ลงทะเบียนใช้ระบบ เวอริฟาย บาย วีซ่า แบบ OTP

นอกจากนี้ ธนาคารฯ มียอดขายผ่านร้านค้าออนไลน์บนบริการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยบัตรเครดิตทางอินเทอร์เน็ต (K-Payment Gateway) ที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 80 % ต่อปี และคาดว่าในปี 2554 จะมียอดขายผ่านระบบไม่น้อยกว่า 40,000 ล้านบาท

View :1752