Archive

Archive for August, 2011

กฎหมายปัจจุบันกับการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า

August 12th, 2011 No comments

บทความ: อาจารย์รุจิระ บุนนาค
กรรมการผู้จัดการ สำนักงานกฎหมายมารุต บุนนาค

เมื่อเร็วๆนี้ ผมมีโอกาสร่วมฟังการประชุมนโยบายเรื่องการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า และความเหมาะสมของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง จัดโดยสถาบัน Sasin Institute for Global Affairs (SIGA) ได้ฟังความเห็นของม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท รองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ซึ่งมีแง่คิดที่น่าสนใจ จึงอยากจะเล่าสู่กันฟัง

ม.ล.ชาญโชติ ให้ความเห็นเรื่องนโยบายส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าว่า พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า ที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน ล้าสมัยและไม่ตรงกับวัตถุประสงค์แรกเริ่มในการออกกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของพรบ.ฉบับนี้ ต้องการปกป้องเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันมิให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภค แต่พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้าที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน กลับกลายเป็นกฎหมายที่ออกมากำกับดูแลระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ ซึ่งม.ล.ชาญโชติ มีความเห็นว่า รัฐไม่ควรเข้าไปกำกับผู้ประกอบการมากนัก ควรปล่อยให้ผู้ประกอบการแข่งขันกันโดยเสรี แต่กฎหมายฉบับนี้กลับออกมากำกับไม่ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่เอาเปรียบผู้ประกอบการรายเล็ก ซึ่งควรจะปล่อยให้แข่งขันไปตามกลไกของตลาด ม.ล.ชาญโชติ จึงเห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่น่าจะให้ประโยชน์กับฝ่ายใดเลย แต่กลับเป็นเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการต่างๆยื่นข้อร้องเรียน แล้วเรียกร้องให้รัฐเป็นกรรมการตัดสิน แทนที่รัฐจะทำหน้าที่ในการป้องกันเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันมิให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค ตามวัตถุประสงค์เริ่มแรกในการออกพรบ.ฉบับดังกล่าว

ม.ล.ชาญโชติ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงความล้าหลังของกฎหมายฉบับต่างๆ ที่กว่าจะออกมาได้แต่ละฉบับ ใช้เวลาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 ปี ในขณะที่พัฒนาการทางธุรกิจ ตลอดจนความต้องการของตลาดและผู้บริโภค เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต่อเนื่องตลอดเวลา ดังนั้น กว่ากฎหมายแต่ละฉบับที่เกี่ยวข้องจะแล้วเสร็จ ธุรกิจนั้นๆก็เปลี่ยนแปลงรูปแบบ เงื่อนไขและรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญไปแล้ว ม.ล.ชาญโชติ จึงเห็นว่า การออกกฎหมายของประเทศไทยส่วนใหญ่มักไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้น การออกกฎหมายแต่ละฉบับควรเป็นกฎหมายที่สามารถปฏิบัติได้ด้วย

ม.ล. ชาญโชติ มีความเห็นว่า กฎหมายในบ้านเรามีมากมายหลายฉบับที่มีความซ้ำซ้อนกัน และบางฉบับยังมีข้อกำหนดที่หักล้างกันเอง แทนที่จะส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้น กลับมีผลทำให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ

แต่กระนั้น ม.ล.ชาญโชติ ย้ำว่า ตนมิได้ไม่ต้องการให้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันทางการค้า แต่เห็นว่ากฎหมายที่ออกมาจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ตั้งแต่เริ่มแรก และที่สำคัญจะต้องสามารถนำมาปฏิบัติได้ด้วย เพราะหากกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวยังล้าหลัง ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการเสริมสร้างภาคธุรกิจไทยให้มีศักยภาพที่จะแข่งขันในระดับสากลอีกด้วย

ม.ล. ชาญโชติ ยังกล่าวถึง การเข้ามาของบริษัทต่างชาติในประเทศไทย โดยเห็นว่า เป็นสิ่งที่ดี แต่จำเป็น ต้องมีนโยบายในการกำกับดูแลบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจแข่งขันว่า การที่บริษัทต่างชาติต่างๆ เหล่านั้นเข้ามาใช้ทรัพยากรของประเทศ ก็ควรกำหนดเงื่อนไขค่าตอบแทนที่พึงจ่ายให้กับประเทศด้วย โดยรัฐสามารถออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องดังกล่าว โดยมีเงื่อนไขที่ไม่แตกต่างมากจนเกินไประหว่างบริษัทไทยกับบริษัทต่างชาติ ขณะเดียวกัน รัฐจะต้องมีนโยบาย ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการไทย รวมทั้งผู้ประกอบการขนาดเล็ก ตลอดจนผู้ประกอบการที่อ่อนแอกว่า เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน

นอกจากนี้ ม.ล. ชาญโชติ ยังได้กล่าวถึงนโยบายการเปิดเสรีว่า ความจริงแล้วไม่ใช่เป็นการเปิดเสรีจริงๆ เพราะแต่ละประเทศต่างก็มีกฎหมายแตกต่างกันในการกำกับดูแลกรณีต่างๆ เช่น กรณีที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน ก็มีกฎหมายที่ดินที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับการถือครองกรรมสิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ ม.ล.ชาญโชติกล่าวว่า ต้องยอมรับว่ากฎหมายยังมีความอ่อนแอมาก จึงทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในมือของต่างชาติ จึงจำเป็นที่จะต้อง พิจารณา สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และต้องวางแผน วางหลักเกณฑ์ในการออกกฎหมายใหม่ ตัวอย่างเช่น กรณี BOI ที่ต้องการจูงใจให้ต่างชาติที่เป็นนักลงทุนรายใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศ แต่กลับไม่มีการส่งเสริมสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยให้ออกไปลงทุนแข่งขันในต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งในความเป็นจริง BOI ควรมีมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลางให้สามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศ มากกว่ามาตรการ ลด แลก แจก แถม เพื่อชักจูงให้ผู้ประกอบการต่างชาติรายใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ม.ล.ชาญโชติ มีความเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่เหมาะกับการลงทุน มีหลายประเทศให้ความสนใจเข้ามาลงทุนทำธุรกิจในไทย ยกตัวอย่าง บริษัทที่ปรึกษากฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโดยบริษัทที่ปรึกษากฎหมายต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อคนไทยไปปรึกษาข้อกฎหมาย ข้อมูลต่างๆที่เป็นข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลที่เป็นข้อพิพาทสำคัญๆ ก็จะกลายเป็นข้อมูลของบริษัทที่เป็นต่างประเทศดังกล่าว ดังนั้น รัฐจึงควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล เช่น การจ้างที่ปรึกษาทางกฎหมาย จะต้องเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายที่เป็นคนไทยเท่านั้น โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่น ซึ่งคนไทยมีความสามารถไม่ด้อยไปกว่าชาติอื่นๆ และไม่ควรกลัวต่างชาติ อาจจะยอมเสียเปรียบต่างชาติบ้าง แต่ต้องอยู่ในขอบเขต และที่สำคัญ ม.ร. ชาญโชติ ย้ำว่า จะต้องไม่ยอมให้ต่างชาติเอาเปรียบตลอดเวลา และจะต้องกำหนดประเภทธุรกิจ และข้อจำกัดการประกอบธุรกิจไว้ให้เป็นของคนไทยอย่างชัดเจน

และในตอนท้าย ม.ล.ชาญโชติ ยังกล่าวว่า ที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องบุคลากร ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจต้องเอาคนเป็นที่ตั้ง โดยเริ่มจากประชาชนคนไทย คือการสร้างคนซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญ โดยพิจารณาถึงความสามารถ ว่าคนไทยมีความสามารถในด้านใด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คนไทยมีความสามารถในด้านการให้บริการ ในด้านการบริหารจัดการซึ่งจะต้องพัฒนาให้คนไทยสามารถบริหารจัดการร่วมกันอย่างเป็นทีม แต่อย่างไรก็ตาม แผนเศรษฐกิจของประเทศไทยฉบับปัจจุบัน กลับไม่กล่าวถึงเศรษฐกิจภาคบริการ ทั้งๆที่ภาคบริการมีความสำคัญ นอกจากนี้ ต้องให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ90 ของประเทศเป็น SME ที่มีความสามารถทั้งสิ้น

ผมอยากจะฝากประเด็นแง่คิดของม.ล.ชาญโชติ ซึ่งเป็นรองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนพิจารณา เพราะธุรกิจปัจจุบันพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ก็ควรที่จะหันมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกรอบของกฎหมายให้ทันสมัย รองรับความต้องการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเข้มแข็ง สามารถแข่งขันในเวทีระดับโลกได้อย่างแท้จริง

อาจารย์รุจิระ บุนนาค

กรรมการผู้จัดการ สำนักงานกฎหมายมารุต บุนนาค

View :1460

คณะรัฐมนตรี เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่

August 12th, 2011 No comments

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ ห้องประชุมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้น ๑๔ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ โดยมี น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (แถวที่ 2 ลำดับที่ 3 จากซ้าย) เข้าร่วมในพิธีดังกล่าวด้วย

View :3406

สบท. เตือนใช้บริการโรมมิ่งอันลิมิท ก็หมดตัวได้

August 12th, 2011 No comments

สบท.เตือนใช้บริการโรมมิ่งอันลิมิท ก็หมดตัวได้ หากไม่รู้จักตั้งค่าระบบเครื่องให้เลือกเฉพาะเครือข่ายที่แพ็คเกจกำหนด พบหนุ่มนักศึกษาเที่ยวเกาหลีอาทิตย์เดียว กลับมาเจอบิลกว่าสองแสนบาท เหตุพกไอโฟนไปด้วยและต่อเน็ตตลอดเวลา เพราะนอนใจว่าเลือกแพ็คเกจไม่จำกัดแล้ว

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม () เปิดเผยว่า การใช้บริการโรมมิ่งยังคงเป็นปัญหาสำหรับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีผู้ร้องเป็นนักศึกษาเดินทางไปเที่ยวประเทศเกาหลีเพียง 6 วัน โดยพกโทรศัพท์ไอโฟนพร้อมสมัครใช้แพ็คเกจอันลิมิต แต่กลับมาถึงเมืองไทยถูกเรียกเก็บค่าโทรศัพท์จากการใช้บริการดาต้าเป็นเงินสองแสนกว่าบาท เพราะเครื่องไปเลือกจับสัญญาณเครือข่ายนอกแพ็คเกจเป็นบางช่วง

“แพ็คเกจอันลิมิทหรือแพ็คเกจไม่อั้นทั้งหลายเป็นแพ็คเกจที่บริษัทมักจะเลือกทำสัญญากับเครือข่ายใดเครือข่ายหนึ่งในประเทศปลายทาง ไม่ใช่ทุกเครือข่าย เช่นถ้าเครือข่ายของไทยไปเลือกทำสัญญาการเชื่อมสัญญาณกับ 10 บริษัท บริษัทไทยจะเลือกทำสัญญาอันลิมิตแค่บริษัทเดียว อีก 9 บริษัทไม่ใช่ ดังนั้นเมื่อไปถึงปลายทางผู้ใช้ต้องตั้งค่าระบบเครื่องให้เลือกรับสัญญาณเฉพาะเครือข่ายนั้นด้วยถึงจะอันลิมิทจริง “ ผอ.สบท. กล่าว

นายประวิทย์กล่าวต่อไปว่า หากผู้บริโภคเลือกเครือข่ายได้ถูก ล็อคเครือข่ายได้สำเร็จ การจะใช้ในปริมาณเท่าไหร่ก็จะอยู่ในโปรโมชั่นที่เลือกไปคือ อันลิมิทอาจจะราคา 1,500 หรือ3,000 บาท ไม่เกินนั้น แต่ถ้าเราไม่ได้ล็อคเครือข่าย แล้วเครื่องไปจับสัญญาณเครือข่ายอื่นก็จะไม่อยู่ในเงื่อนไขอันลิมิทและจะกลายเป็นว่า ใช้เท่าไหร่ก็ต้องจ่ายเท่านั้นและคิดตามปริมาณข้อมูลด้วย อย่างเกาหลี ญี่ปุ่นหรืออเมริกา ซึ่งมีบริการ เพราะฉะนั้นข้อมูลจะไหลเร็วมาก เช่นรายนี้เพียงไม่กี่วันที่เครื่องจับสัญญาณดาต้านอกเครือข่ายพบว่าใช้ไปกว่า400 เมกกะไบต์ ถูกเรียกเก็บค่าบริการเมกะไบต์ละ 500 กว่าบาท ขณะที่มีการใช้ในเครือข่ายที่กำหนด 180 เมกะไบต์ ส่วนนั้นถูกเรียกเก็บตามแพ็คเกจ 1,750 บาท

ผอ.สบท.กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้การจำกัดวงเงินสูงสุดไว้ก็อาจไม่ได้ช่วยอะไรมากเพราะปัจจุบันการรายงานการใช้บริการระหว่างประเทศยังทำได้ไม่ตรงตามเวลาที่ใช้จะมีการล่าช้าของการแจ้งผล

“โดยหลักทางเทคนิคค่าใช้จ่ายในต่างประเทศไม่ได้โอนข้อมูลมาเป็นวินาทีอาจรายงานเป็นวันหรือ 24 ชั่วโมง เช่นทำการจำกัดไว้ที่ 5,000 บาท แต่พอใช้ในต่างประเทศวันแรกเป็นแสน แล้วผ่านไปวันหนึ่ง ต่างประเทศเพิ่งแจ้งกลับประเทศไทย เพราะมีการดีเลย์ของข้อมูล ไม่เหมือนอยู่ในเมืองไทยเพราะบริษัทในเมืองไทยคุมค่าใช้จ่ายเองพอถึง 5,000 ก็ตัดได้เลย แต่กรณีโรมมิ่งไม่ใช่ เพราะข้อมูลกว่าจะส่งผ่านมาจะมีความล่าช้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ดังนั้นต่อให้ควบคุมค่าใช้จ่ายไว้ก็อย่าชะล่าใจ เพราะต่อให้มีการใช้เกินวงเงินแล้วเครื่องก็จะยังไม่ตัดยังใช้ได้อยู่” นายประวิทย์กล่าว

ผอ.สบท.กล่าวต่อไปว่า หากผู้บริโภคเดินทางไปต่างประเทศและสมัครใช้บริการโรมมิ่งควร สอบถามชื่อเครือข่ายที่เราต้องใช้เมื่ออยู่ต่างประเทศ แล้วเมื่อไปถึงให้ตั้งระบบเครื่องด้วยตัวเองให้ล็อครับสัญญาณเฉพาะเครือข่ายนั้น รวมถึงสังเกตหน้าจอขณะใช้บริการเป็นระยะๆว่า เครื่องรับสัญญาณของเครือข่ายใดอยู่ นอกจากนี้อาจใช้วิธีการซื้อซิมการ์ดในประเทศนั้นๆแทน เพราะโดยส่วนใหญ่ค่าบริการจะถูกกว่า

“ถ้าเราต้องการติดต่อสื่อสาร มันไม่ได้มีเครื่องมือเดียว ไม่ได้ต้องเอาโทรศัพท์เราไปโรมมิ่งต่างประเทศ เพราะในประเทศนั้นเค้าก็มีซิมขาย ส่วนใหญ่ค่าบริการมักจะถูกกว่าค่าบริการโรมมิ่ง ยกตัวอย่างถ้าชาวต่างชาติมาไทย เค้าซื้อซิม เอไอเอส ดีแทค เค้าจะจ่ายถูกเหมือนเรา ดังนั้นหากเราไปต่างประเทศเราก็ต้องคิดเหมือนกันว่า บ้านเค้ามีซิมอะไรหรือไม่ประเภทอันลิมิทหกเจ็ดร้อยบาท ขณะที่ใช้โรมมิ่งของประเทศเราเนี่ยกลับมาโดนไปสามสี่แสน ดังนั้นเราต้องฉลาดที่จะเลือกด้วย” นายประวิทย์กล่าว

View :1696

เทคโนโลยี 3G กับ Digital Media Channel

August 12th, 2011 No comments

โดย…..บลจ. บัวหลวง จำกัด

ประเด็นเกี่ยวกับเทคโนโลยี ภายใต้คลื่นความถี่ 2.1 MHz ในประเทศไทย เป็นประเด็นที่ถกเถียงและยืดเยื้อมาเกือบ 6 ปี นับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา สาเหตุของความล่าช้าในการประมูลคลื่นนั้น เกิดจากประเทศไทย ยังไม่มีการจัดตั้งหน่วยงานที่มีอำนาจในการรับผิดชอบการจัดสรรและเปิดประมูลคลื่นความถี่ หน่วยงานดังกล่าว ก็คือ กสทช. ก็กำลังจะจัดตั้งได้ในช่วงปลายปีนี้ ทำให้เกิดการคาดหมายกันว่าการประมูลใบอนุญาต จะเริ่มอย่างเร็วสุดในช่วงปลายปีหน้า หรือต้นปี 2556 และหลังจากนั้นประมาณ 5-6 เดือน ผู้ประกอบการที่ได้ใบอนุญาตก็จะทำการพัฒนาระบบให้ตรงกับความต้องการใช้ของผู้บริโภคมากขึ้น

• ทำไมประเทศไทย จึงควรที่จะมีเทคโนโลยี 3G

ในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีเข้ามีบทบาทในชีวิตจนเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว โดยจากผลการวิจัยเกี่ยวกับผู้บริโภคสื่อดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของ นีลเส็น ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2554 ระบุว่า คนไทยเป็นกลุ่มผู้ที่มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตบนมือถือมากที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย 56% ของคนไทยที่ใช้สื่อออนไลน์ โดยคาดว่า ภายใน 1 ปีข้างหน้า คนไทยจะต้องการใช้อินเตอร์เน็ตผ่านทางโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้น และจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชี้ให้เห็นว่าความก้าวหน้าของสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้เกิดการพัฒนาด้านเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถืออย่างรวดเร็วเพื่อทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น และไทยยังมีอัตราการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่ต่ำ และผู้บริโภคมีระดับการเข้าใช้อินเตอร์เน็ตที่ไม่บ่อยนัก จึงสรุปได้ว่าสื่อ “Digital” ยังมีโอกาสที่จะเติบโตอีกอย่างมากในประเทศ

ในปัจจุบัน ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ใช้เทคโนโลยี 2.75G หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) แต่เมื่อวิถีชีวิตและพฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยใช้บริการ Non-voice ในสัดส่วนที่สูงขึ้น เทคโนโลยี 2.75G ที่ใช้อยู่ จึงเกิดข้อจำกัดค่อนข้างมากในการให้บริการระบบเสียงและการส่งข้อมูล เนื่องจากความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดประมาณ 384 กิโลบิตต่อวินาที (Kbps) และจำนวนช่องสัญญาณก็มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้เมื่อผู้บริโภคมีการใช้บริการในการ Download ข้อมูล ก็จะไปแย่งพื้นที่ของช่องสัญญาณที่มีอยู่จนเหลือพื้นที่ในการบริการด้านเสียงลดลง ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถเปิดให้บริการ Non-Voice ได้อย่างเต็มรูปแบบ เพราะจะเกิดผลรบกวนต่อการให้บริการ Voice

จากข้อจำกัดและความต้องการใช้บริการ Non-voice ที่เร็วและมากกว่าคาด สอดคล้องกับจำนวนยอดขายของโทรศัพท์ Smart Phone ที่มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ทำให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่จำเป็นต้องเร่งการเปิดให้บริการ 3G โดยเทคโนโลยี 3G จะสามารถรองรับการใช้บริการมัลติมีเดีย และส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น ซึ่งความเร็วสูงสุดในการ Download ข้อมูล จะอยู่ที่ 42 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) เร็วกว่าเทคโนโลยี 2.75G ถึง 109 เท่า ทำให้สามารถใช้บริการ Multimedia ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การรับส่ง File ที่มีขนาดใหญ่ การประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร การโทรศัพท์ต่างประเทศผ่านระบบ Internet เช่น Skype การโทรศัพท์โดยเห็นหน้าคู่สนทนา รวมถึงการใช้บริการทางด้านสื่อ Entertainment ไม่ว่าจะเป็นการดาวน์โหลดเพลง หรือการชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ โดยเทคโนโลยี 3G นั้น จะมีช่องสัญญาณความถี่และความจุในการรับส่งข้อมูลมากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลและบริการระบบเสียงดีขึ้นกว่าเทคโนโลยีเดิม

• ประโยชน์ที่ผู้บริโภคได้รับจากการมีเทคโนโลยี 3G ภายใต้คลื่น 2.1 MHz

ต้นทุนของผู้ประกอบการไทยในระบบสัมปทานเดิมนั้น จะต้องแบ่งส่วนแบ่งรายได้ 25-30% ให้ทีโอที หรือ กสท. แต่ใบอนุญาตใหม่ของเทคโนโลยี 3G ภายใต้คลื่น 2.1 MHz ผู้ประกอบการจะเสียส่วนแบ่งรายได้ลดลงเหลือประมาณ 6.50% ให้กับหน่วยงาน กสทช. เท่านั้น จะเห็นได้ว่าใบอนุญาต 3G จะช่วยทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการลดลง และทำให้มีการแข่งขันอย่างเท่าเทียมกันของผู้ประกอบการภายใต้เงื่อนไขอันเดียวกัน ซึ่งจะเกิดผลดีกับผู้บริโภค ทำให้เสียค่าบริการในการใช้โทรศัพท์มือถือที่ถูกลง และได้รับบริการทางด้าน Non–voice ที่ดีขึ้น

ข้อดีของการมีเทคโนโลยี 3G จะทำให้ประเทศเกิดการพัฒนาไปในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านการ ศึกษาของเด็กๆ และคนไทยในชุมชนห่างไกลที่จะเรียนรู้ผ่านทาง E-Learning ได้ รวมไปถึงระบบการขนส่งและติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยี 3G จึงช่วยทำให้ประชาชนที่อยู่ห่างไกลเมือง จนไม่สามารถเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ตได้ ในปัจจุบันนี้สามารถมีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงใช้ผ่านทาง Air Card ของผู้ให้บริการ 3G ในระบบต่างๆ และทำให้ชีวิตดีขึ้น เรียนรู้เท่าเทียมคนเมืองมากขึ้น

• เทคโนโลยี 3G กับการทำการตลาด

เนื่องจากการขับเคลื่อนทางด้านเทคโนโลยี ทำให้เกิดปรากฏการณ์ Global Generation ที่เทคโนโลยีกลายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต บริษัทเจ้าของสินค้าและบริการจึงสามารถใช้โลกอินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางการตลาดอีกช่องทางหนึ่งในการขายสินค้าและบริการได้ และให้ความสำคัญกับช่องทางใหม่นี้ ด้วยการจัดสรรงบประมาณสื่อสารทางการตลาดผ่าน Digital Media มากขึ้น ทั้งยังใช้งบประมาณที่ไม่สูง แต่สามารถเข้าตรงถึงกลุ่มลูกค้าผ่านช่องทาง เช่น Facebook, Twitter, Google ที่มีผู้เข้าใช้บริการดูข้อมูลจำนวนมาก ทำให้สามารถเห็นและเกิดการจดจำแบรนด์สินค้าต่างๆ เหล่านั้นได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ การทำธุรกรรมต่างๆ ก็มีช่องทางผ่านทางสื่อโลกออนไลน์มากขึ้น เช่น

• การทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ของธนาคารต่างๆ จะมีการให้บริการระบบ iBanking เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มลูกค้า ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาที่ธนาคารด้วยตัวเอง
• ห้างสรรพสินค้าหรือร้านสะดวกซื้อต่างๆ จะมีบริการให้ลูกค้า Shopping Online สามารถเลือกสั่งสินค้าและจ่ายเงิน โดยการตัดยอดเงินผ่านเครดิตคาร์ด หรือ เดบิตคาร์ด
• โรงภาพยนตร์ ระบบขนส่งมวลชน ต่างเพิ่มช่องทางในการให้บริการจองตั๋วล่วงหน้าผ่านระบบออนไลน์

ดังนั้น บริษัทใดที่สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว ก็ย่อมจะได้รับประโยชน์จากช่องทางนี้มากและได้เปรียบกว่าคู่แข่ง เนื่องจากการกระจายตัวของข้อมูลผ่านทางสื่อออนไลน์นี้ สามารถทำได้อย่างรวดเร็วและขยายตัวในวงกว้าง ถือว่าเป็น Value Added ที่บริษัทได้รับจากการมี Network และมูลค่าที่ Network สร้างขึ้นมาให้กับบริษัทนั้นก็มหาศาล ซึ่ง Network ที่ดีและมีประสิทธิภาพจะช่วยสร้างการเติบโตที่ดีของบริษัท โดยสะท้อนกลับมาในรูปของกำไรและผลการดำเนินงานในที่สุด

—————————-
Disclaimer : ข้อมูลในเอกสารนี้ รวบรวมจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ ทั้งนี้ บลจ.บัวหลวง ไม่สามารถยืนยันหรือรับรองความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าว และไม่ว่ากรณีใด บทวิเคราะห์ในเอกสารนี้ มิได้เป็นการชี้นำในการตัดสินใจ หรือโฆษณาการดำเนินธุรกิจของบริษัท การตัดสินใจใดๆ ของผู้อ่าน ล้วนเป็นการใช้วิจารณญาณของผู้อ่าน ซึ่ง บลจ.บัวหลวง ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือพันธะผูกพันใดๆ ทั้งสิ้น

View :1588

กระทรวงไอซีที ร่วมประชุมสภาบริหารของสหภาพไปรษณีย์แห่งเอเชียและแปซิฟิก

August 12th, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า กระทรวงไอซีที ได้เข้าร่วมการประชุมสภาบริหารของสหภาพไปรษณีย์แห่งเอเชียและแปซิฟิก ประจำปี 2554 หรือ 2011 Asian Pacific Postal Union Executive Council Meetings () ณ กรุงอูลันบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย

“APPU EC Meetings เป็นการประชุมประจำปีของสหภาพไปรษณีย์แห่งเอเชียและแปซิฟิก เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการบริหารและการปฏิบัติการไปรษณีย์ในภูมิภาค รวมทั้งการงบประมาณของสหภาพฯ และประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการไปรษณีย์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินการของสหภาพสากลไปรษณีย์ (Universal Postal Union – UPU)” นางจีราวรรณ กล่าว

โดยการประชุมฯ ครั้งนี้ประกอบด้วย การประชุมเต็มคณะ การประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานด้านต่างๆ รวมทั้งการประชุมคณะกรรมการบริหาร (Governing Board: GB) ของวิทยาลัยการไปรษณีย์แห่งเอเชียและแปซิฟิก (Asian Pacific Postal College: APPC) ซึ่งปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย เป็นประธานกรรมการฯ โดยจะมีการนำผลการประชุมเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สหภาพไปรษณีย์แห่งเอเชียและแปซิฟิก (APPU Congress) ในการประชุม APPU Congress สมัยที่ 11 ซึ่งกำหนดจะจัดให้มีขึ้นในปี 2555 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย

สำหรับสหภาพไปรษณีย์แห่งเอเชียและแปซิฟิกนั้น ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 32 ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน ออสเตรเลีย บังคลาเทศ ภูฏาน บรูไน ดารุส-ซาลาม กัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน ฟิจิ อินเดีย อินโดนีเซีย อิหร่าน ญี่ปุ่น ลาว สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย มัลดีฟส์ มองโกเลีย พม่า นาอูรู เนปาล นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ ซามัว สิงคโปร์ หมู่เกาะโซโลมอน ศรีลังกา ไทย ตองกา วานูอาตู และเวียดนาม

View :1449

ก.ไอซีที เปิดตัวเว็บท่า www.pwdsthai.com สำหรับคนพิการ เพื่อบูรณาการข้อมูลสู่สังคมแห่งความเท่าเทียม

August 11th, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการเปิดใช้งานเว็บท่าสำหรับคนพิการ ว่า กระทรวงไอซีทีมีนโยบาย ส่งเสริม สนับสนุนสังคมแห่งการเรียนรู้ให้กับคนพิการ เพื่อความเท่าเทียมกันในสังคม ด้วยการพัฒนาเว็บท่า (Web Portal) สำหรับคนพิการ ในชื่อว่า เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล องค์ความรู้ เป็นศูนย์กลางบริการข้อมูลให้คนพิการ ได้นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ

“เว็บท่าสำหรับคนพิการนี้ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส สามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร องค์ความรู้ เพื่อประโยชน์ในการศึกษา การใช้ชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ รวมถึงสิทธิและการมีส่วนร่วมในสังคม ตลอดจนเพื่อสร้างเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างกลุ่มคนพิการกับหน่วยงาน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยใช้เป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกรวดเร็ว” นางจีราวรรณ กล่าว

สำหรับจุดเด่นของเว็บท่าสำหรับคนพิการ คือ เป็นเว็บไซต์ที่พัฒนาด้วยเทคนิค TWCAG 2.0 เพื่อให้ทุกๆ คนสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ได้ โดยรวบรวมข้อมูลจัดทำเป็นลักษณะ One Stop Service เช่น ข่าวสารแวดวงคนพิการ ความรู้เกี่ยวกับคนพิการ สถิติข้อมูลคนพิการ สุขภาพกายและจิตใจของคนพิการ บริการด้านการศึกษาของคนพิการ บริการด้านอาชีพของคนพิการ บริการด้านกีฬาและนันทนาการของคนพิการ บริการด้านสังคมของคนพิการ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ ระบบให้ – ยืมคืนอุปกรณ์เครื่องมือ ระบบจัดเก็บข้อมูลครุภัณฑ์คนพิการที่ดำเนินการติดตั้ง ณ ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เป็นต้น

“นอกจากนั้น เพื่อให้สอดรับกับการออกกฎกระทรวงฯ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารและบริการสื่อสาธารณะ สำหรับคนพิการ พ.ศ. 2554 ที่ได้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา และมีผลให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐต้องจัดทำข้อมูล ซึ่งรวมถึงเว็บไซต์เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงได้ แต่จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่าหน่วยงานภาครัฐมากกว่าร้อยละ 90 ยังไม่ได้จัดทำเว็บไซต์ให้รองรับการใช้งานสำหรับคนพิการตามมาตรฐาน TWCAG ดังนั้น ในเว็บท่าสำหรับคนพิการนี้จึงมีข้อมูลความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้รวมอยู่ด้วย เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ สามารถศึกษาและปรับปรุงเว็บไซต์ตามมาตรฐาน TWCAG อีกทั้งเป็นไปตามกฎกระทรวงดังกล่าวด้วย” นางจีราวรรณ กล่าว

ส่วนการประชาสัมพันธ์กิจกรรมพัฒนาเว็บท่าสำหรับคนพิการนั้น กระทรวงฯ จะมีการจัดสัมมนาให้ความรู้แก่คนพิการและผู้สนใจทั่วประเทศ โดยจะจัดขึ้นทั้งในกรุงเทพมหานคร และ 4 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.pwdsthai.com

View :1646

ผลสำรวจชี้บริการเสริมสร้างรายได้แก่ผู้บริการมือถือกว่าเท่าตัวในอีก 3 ปี

August 10th, 2011 No comments

ผู้ให้บริการมือถือคาดว่ารายได้จากบริการเสริมจะเติบโตจาก 14% เป็น 24% ในอีก 3 ปีข้างหน้า

จากการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 120 คน ซึ่งริเริ่มโดยแอมด็อคส์ ผู้นำตลาดในด้านนวัตกรรมระบบบริหารประสบการณ์ลูกค้า (customer experience) พบว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในเอเชียแปซิฟิกคาดว่ารายได้จากบริการเสริม (Value-added services หรือ VAS) เช่น บริการชำระเงินผ่านมือถือ จะเติบโตจากค่าเฉลี่ย 14% ของรายได้ทั้งหมดในปัจจุบัน เป็น 24% ภายในอีก 3 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ คาดว่าอินเดียจะเป็นตลาดที่มีการเติบโตของรายได้ในส่วนของบริการเสริมมากที่สุด โดยเติบโตจาก 12% ของรายได้ทั้งหมดในปัจจุบัน เป็น 29% ในอีก 3 ปี การสำรวจครั้งนี้ยังพบอีกว่า 95% ของผู้ตอบแบบสอบถามกำลังเร่งเปิดให้บริการชำระเงินผ่านมือถือ และส่วนใหญ่เชื่อว่าเว็บท่า (portal) ของตนจะทวีความสำคัญมากขึ้นในช่วง 3 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ 75% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่ากำลังเร่งเปิดให้บริการโฆษณาผ่านมือถือและบริการค้นหา โดย 65% ระบุว่าผู้ใช้บริการยินดีจะเปิดดูโฆษณาผ่านมือถือแลกกับบริการประเภท free content เช่น แอพพลิเคชั่นสำหรับโทรศัพท์มือถือหรือความบันเทิงรูปแบบต่างๆ ผู้ให้บริการกล่าวว่าเหตุผลหลักที่ต้องให้ความสำคัญกับบริการเสริม ก็คือ เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้นและเพื่อสร้างความภักดีของลูกค้า

“บริการเสริมผ่านมือถือ () โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการชำระเงินผ่านมือถือ กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยผู้ให้บริการเชื่อว่า บริการเหล่านี้ช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันกับผู้ให้บริการรายอื่นในตลาด เช่น ธนาคารและผู้ให้บริการบัตรเครดิตได้ทางหนึ่ง ตลอดจนเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social networks) ผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่น (app store) และผู้ให้บริการอื่นๆ” มร. เออร์แวนน์ โธมาเซน ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าว “ขณะที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือกำลังมองหาหนทางสร้างรายได้จากบริการเสริม แอมด็อคส์พร้อมสนับสนุนผู้ให้บริการเหล่านี้ด้วยโซลูชั่นเพื่อการสร้างสรรค์ การจัดหา การนำเสนอบริการแบบเหมารวม (bundling) และการเรียกเก็บเงินจากบริการเหล่านี้ รวมถึงโซลูชั่นในส่วนของการสนับสนุนลูกค้า (customer support)”

กรุณาอ่านรายงานการวิจัยฉบับเต็มที่ดำเนินการโดย Coleman Parkes ได้ ที่นี่ http://www.amdocsinteractive.com/node/108

หรือร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านแอมด็อคส์ ทวีทแช็ท ในหัวข้อ “บริการเสริม กลยุทธ์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ให้บริการค่ายมือถือ หรือ Value-added services – What is the best strategy for mobile operators?” ได้ในวันที่ 10 สิงหาคม เวลา 17.00น. โดยติดตาม #doxchat hashtag บน Twitter

ข้อมูลน่าสนใจจากผลสำรวจ มีดังนี้

· ความสำคัญของบริการเสริม: 62% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า บริการเสริมมีความสำคัญหรือมีความสำคัญมากต่อบริษัทของพวกเขา ในออสเตรเลียและอินเดีย 70% ของผู้ประกอบการเห็นว่าบริการเสริมจะมีความสำคัญ ในขณะที่เพียง 50% ของผู้ตอบแบบสอบถามในไทยและเวียดนามเชื่อว่าบริการเสริมมีความสำคัญ

· ผู้ประกอบการในออสเตรเลียและอินเดียคาดหวังการเติบโตของรายได้จากบริการเสริมไว้สูงสุด: ในออสเตรเลีย สัดส่วนรายได้ในปัจจุบันจากบริการเสริมคิดเป็น 23% ซึ่งคาดว่าจะเติบโตไปถึงระดับ 30% ในอีก 3 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการในอินเดียคาดหวังการเติบโตของรายได้จากบริการเสริมไว้สูงสุดที่ 17% หรือจาก 12% เป็น 29% ในอีก 3 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือได้เปรียบธนาคารในแง่ของการเข้าถึงตลาด เช่น ในอินเดียและอินโดนีเซียมีสัดส่วนของประชากรที่ไม่ได้เป็นลูกค้าธนาคารสูงมาก

· ตลาดบริการชำระเงินผ่านมือถือกำลังเฟื่องฟู: บริการเติมเงินค่าโทร (prepaid top-up) เป็นบริการที่กำลังได้รับความนิยมสูงสุดในกลุ่มบริการชำระเงินผ่านมือถือ ตามด้วยบริการชำระค่าบริการและสาธารณูปโภคอื่นๆ บริการโอนเงิน และการเรียกเก็บเงินแทนผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่น (app store)

· กรณีผลประโยชน์ขัดกันกับสถาบันการเงินที่คาดว่าจะเกิดขึ้น: มีเพียง 42% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าอาจเกิดกรณีผลประโยชน์ขัดกันระหว่างผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือกับกับธนาคาร และบริษัทบัตรเครดิตในเรื่องบริการชำระเงินผ่านมือถือ แม้ว่าผลสำรวจแตกต่างกันมากในแต่ละตลาดที่เลือกทำการสำรวจ ทั้งนี้ ในออสเตรเลียมีเพียง 25% ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยว่าอาจเกิดกรณีผลประโยชน์ขัดกัน เทียบกับ 33% ในอินเดีย 50% ในไทย และ 90% ในเวียดนาม

เกี่ยวกับแอมด็อคส์

แอมด็อคส์ เป็นผู้นำตลาดในด้านนวัตกรรมระบบบริการลูกค้า โดยบริษัทฯ ได้ผสานระบบสนับสนุนธุรกิจและการดำเนินงาน แพลตฟอร์มการส่งมอบบริการ (service delivery platform) บริการต่างๆ ที่ได้รับการยอมรับ และความเชี่ยวชาญเชิงลึกเข้าไว้ในหนึ่งเดียว เพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการ (service provider) และลูกค้าของพวกเขาสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้นในโลกแห่งการเชื่อมต่อ (connected world) ผลิตภัณฑ์และบริการของแอมด็อคส์ช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ๆ สร้างความแตกต่างผ่านประสบการณ์ลูกค้าที่ปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าเฉพาะราย และปรับปรุงการดำเนินงานด้านต่างๆ

แอมด็อคส์ เป็นบริษัทระดับโลกที่มีรายได้ราว 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีการเงิน 2553 ปัจจุบันมีพนักงานกว่า 19,000 คนและให้บริการลูกค้าในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www..com

View :1704

ทรูมูฟ เอช เชิญลูกค้าฮัทช์แบบรายเดือนรับเครื่องซัมซุงฟรี*!

August 10th, 2011 No comments

พร้อมโปรโมชั่นรายเดือนคุ้มเหมือนเดิม ตั้งแต่ 18 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2554
ลูกค้าฮัทช์แบบเติมเงิน เริ่มรับสิทธิ์ตั้งแต่ 15 ธันวาคม 2554 – 31 มีนาคม 2555
ต้อนรับสู่ประสบการณ์ใหม่ที่เหนือกว่าด้วยเครือข่าย +

เรียล มูฟ ผู้ขายต่อบริการ (รีเซลเลอร์) 3G+** ของ CAT ภายใต้แบรนด์ “” เสนอสิทธิพิเศษต้อนรับลูกค้าฮัทช์ที่สมัครเปลี่ยนมาใช้บริการทรูมูฟ เอช อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ 25 เมษายน 2554 ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าใช้บริการมากกว่า 100,000 รายแล้ว ล่าสุด เชิญลูกค้าฮัทช์แบบรายเดือนมากกว่า 300,000 ราย รับเครื่อง “ซัมซุง Caspi” ฟรี*! จากราคาปกติ 1,990 บาท หรือเลือกซื้อ “ซัมซุง กาแล็คซี่ มินิ” ราคาปกติ 4,990 บาท รับส่วนลดค่าเครื่องทันที 2,000 บาท เมื่อสมัครโปรโมชั่นรายเดือนคุ้มเหมือนเดิม สนใจติดต่อได้ที่ร้านทรูช็อป ทั่วกรุงเทพฯ และร้านฮัทช์ ทุกสาขา ตั้งแต่ 18 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2554

สำหรับลูกค้าฮัทช์แบบเติมเงินมากกว่า 400,000 ราย สามารถเริ่มรับเครื่องใหม่ได้ตั้งแต่ 15 ธันวาคม 2554 – 31 มีนาคม 2555 เพียงเปิดใช้บริการและเติมเงินทรูมูฟ เอช มูลค่า 1,500 บาท พร้อมรับโปรโมชั่นคุ้มเหมือนเดิม ทั้งนี้ ทรูมูฟ เอช ยืนยันความตั้งใจที่จะดูแลลูกค้าฮัทช์ พร้อมนำสู่ประสบการณ์ใหม่ที่เหนือกว่ากับเครือข่ายใหม่ไฮสปีดไร้สาย 3G+ ความเร็วสูงสุด 21 Mbps อย่างต่อเนื่อง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฮัทช์ คอล เซ็นเตอร์ โทร 1128 หรือ 02-288-8882, ศูนย์บริการลูกค้าทรูมูฟ เอช โทร 1331, www.hutch.co.th , www.truemove-h.com

View :2144

แคนนอนแนะนำกล้องดิจิตอลคอมแพคในตระกูล IXUS series ใหม่ล่าสุด 3 รุ่นรวด

August 10th, 2011 No comments

แคนนอนส่งน้องเล็กตระกูล IXUS บุกตลาดกลาง-ล่าง IXUS 115 HS ฟังก์ชั่นเกินตัว ราคาโดนใจ

แคนนอนตระกูล IXUS


เมื่อเร็วๆ นี้ – แคนนอนบุกตลาดกล้องดิจิตอลส่งคอมแพคระดับกลางถึงล่าง แคนนอน IXUS 115 HS ใหม่! รูปทรงกะทัดรัด สีสันพาสเทลสดใส อัดเน้นทุกเทคโนโลยีเทียบเท่ารุ่นพี่ระดับพรีเมี่ยม ด้วยเทคโนโลยีใหม่ HS SYSTEM และชิปประมวลผลภาพ DIGIC 4 คมชัดด้วยเซ็นเซอร์ CMOS ความละเอียดสูง 12.1 ล้านพิกเซล ออปติคอลซูม 4 เท่า สามารถปรับภาพอัตโนมัติตามสถานการณ์ต่างๆ มากถึง 32 แบบ ในโหมด Smart Auto ให้ภาพคมชัดทุกสภาวะแสง, บันทึกวีดีโอคุณภาพสูงแบบ Full HD Movie พร้อมระบบป้องกันการสั่นไหว Dynamic IS และโหมด Super Slow Motion Movie Recording ที่สามารถดูย้อนหลังแบบ “Super Slow Motion” ได้ถึง 30 เฟรมต่อวินาที หรือเล่นภาพได้ช้ากว่าปกติถึง 8 เท่า, ใหม่! ฟังก์ชั่น Movie Digest เก็บภาพอัตโนมัติก่อนกดชัตเตอร์ 4 วินาทีในรูปแบบของภาพเคลื่อนไหว พิเศษ! ฟังก์ชั่น Toy Camera เอฟเฟกต์ภาพแนววินเทจคล้ายภาพถ่ายสมัยโบราณ สนนราคากล้องดิจิตอลคอมแพค IXUS 115 HS ราคา 6,990 บาท มี 4 สีเมทัลลิค : น้ำเงิน/ส้ม/ชมพู/เงิน จำหน่ายแล้ววันนี้ ณ ตัวแทนจำหน่ายของแคนนอนทั่วประเทศ

แคนนอนเปิดตัว ดิจิตอลคอมแพค IXUS 220 HS ใหม่! ที่สุดแห่งการผสานดีไซน์สุดชิคเข้ากับเทคโนโลยีสุดล้ำแห่งปี

แคนนอน ดิจิตอลคอมแพค IXUS 220 HS


เมื่อเร็วๆ นี้ – แคนนอนบุกตลาดกล้องดิจิตอลส่งคอมแพคระดับพรีเมี่ยมรูปทรงเพรียวบางที่สุดในโลก เพียง 19.5 มม.[1] แคนนอน IXUS 220 HS ใหม่! รูปทรงสวยเฉี่ยว มีสไตล์ที่มาพร้อมคุณสมบัติชั้นเยี่ยม เทคโนโลยีใหม่ HS SYSTEM และชิปประมวลผลภาพ DIGIC 4 คมชัดด้วยเซ็นเซอร์ CMOS ความละเอียดสูง 12.1 ล้านพิกเซล ออปติคอลซูม 5 เท่า สามารถปรับภาพอัตโนมัติตามสถานการณ์ต่างๆ มากถึง 32 แบบ ในโหมด Smart Auto ให้ภาพคมชัดทุกสภาวะแสง, บันทึกวีดีโอคุณภาพสูงแบบ Full HD Movie พร้อมระบบป้องกันการสั่นไหว Dynamic IS และโหมด Super Slow Motion Movie Recording ที่สามารถดูย้อนหลังแบบ “Super Slow Motion” ได้ถึง 30 เฟรมต่อวินาที หรือเล่นภาพได้ช้ากว่าปกติถึง 8 เท่า, ใหม่! ฟังก์ชั่น Movie Digest เก็บภาพอัตโนมัติก่อนกดชัตเตอร์ 4 วินาทีในรูปแบบของภาพเคลื่อนไหว พิเศษ! ฟังก์ชั่น Toy Camera เอฟเฟกต์ภาพแนววินเทจคล้ายภาพถ่ายสมัยโบราณ สนนราคากล้องดิจิตอลคอมแพค IXUS 220 HS ราคา 8,990 บาท มี 3 สี ดำ / แดง และเงิน จำหน่ายแล้ววันนี้ ณ ตัวแทนจำหน่ายของแคนนอนทั่วประเทศ

แคนนอนเปิดตัวกล้องคอมแพค IXUS 310 HS ใหม่! กล้องทัชสกรีนระดับไฮเอนด์ โดดเด่นด้วยระบบ HS System พร้อมฟังก์ชั่น iFrame ปรับขนาดรูปให้เหมาะกับ iPad

IXUS 310 HS


เมื่อเร็วๆ นี้ – แคนนอนส่งกล้องรุ่นท๊อปตระกูล IXUS บุกตลาดกล้องคอมแพคระดับไฮแอนด์ด้วยรุ่น IXUS 310 HS โดดเด่นด้วยเทคโนโลยี HS System และชิปประมวลผลภาพ DIGIC 4 คมชัดด้วยเซ็นเซอร์ CMOS ความละเอียดสูง 12.1 ล้านพิกเซล ออปติคอลซูม 4.4 เท่า ที่มาพร้อมเลนส์ค่า F สูงสุดถึง 2.0 ให้ความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น หมดปัญหาภาพสั่นและเบลอเวลาถ่ายภาพในที่แสงน้อย หน้าจอ LCD ระบบสัมผัส Touch to Play ขนาด 3.2 นิ้ว กว้าง 8 ซม. ใหม่! สามารถปรับภาพอัตโนมัติตามสถานการณ์ต่างๆ มากถึง 32 แบบ ในโหมด Smart Auto, บันทึกวีดีโอคุณภาพสูงแบบ Full HD Movie พร้อมระบบป้องกันการสั่นไหว Dynamic IS และโหมด Super Slow Motion Movie Recording ที่สามารถดูย้อนหลังแบบ “Super Slow Motion” ได้ถึง 30เฟรมต่อวินาที, พิเศษ! iFrame movie ฟังก์ชั่นปรับขนาดรูปให้เหมาะแก่การแสดงผลบนหน้าจอ iPad หรืออัพโหลดบนอินเตอร์เน็ตและฟังก์ชั่น Movie Digest ที่สามารถเก็บภาพอัตโนมัติก่อนกดชัตเตอร์ 4 วินาทีในรูปแบบของภาพเคลื่อนไหว สร้างสรรค์ภาพถ่ายให้สนุกไม่ซ้ำใครด้วย ฟังก์ชั่นน้องใหม่ Toy Camera เอฟเฟกต์ภาพแนววินเทจคล้ายภาพถ่ายสมัยโบราณ สนนราคากล้องดิจิตอลคอมแพค IXUS 310HS ที่ 12,900 บาท มี 3 สี น้ำตาล/ชมพูและเงิน จำหน่ายแล้ววันนี้ ณ ตัวแทนจำหน่ายของแคนนอนทั่วประเทศ

View :3747
Categories: Press/Release Tags:

ดีแทคแสดงความยินดีกับรมว.ไอซีทีใหม่

August 10th, 2011 No comments

นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่าขอแสดงความยินดีกับนาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ที่เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ดีแทคพร้อมที่จะทำงานร่วมกับรัฐบาล และกระทรวงไอซีที ในการที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทยให้ก้าวไกลต่อไป ซึ่งเป็นรากฐานของเศรษฐกิจและความก้าวหน้าของสังคม ดีแทคเข้าใจถึงพฤติกรรมและความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการเข้าถึงข้อมูลและบริการอินเทอร์เน็ต ดีแทคพร้อมที่จะให้การสนับสนุนรัฐมนตรีในการที่จะผลักดันวาระสำคัญนี้

ทั้งนี้ ดีแทครู้สึกยินดีกับทิศทางของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่จะผลักดันให้มีการจัดตั้ง กสทช และจัดให้มีการประมูลใบอนุญาต 3จี บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เพื่อประโยชน์สูงสุดสำหรับประชาชนและประเทศไทย

View :1418