Archive

Posts Tagged ‘กสทช.’

ข้อคิดเห็นต่อแผนการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานอย่างทั่วถึงของ กสทช.

February 2nd, 2012 No comments

โดย สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

กำลังจัดทำร่างแผนการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานอย่างทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมประจำปี 2555-2559 โดยมีเป้าหมายตามตารางประกอบ การจัดทำแผนดังกล่าวนับเป็นพัฒนาการด้านบวกที่สำคัญ เนื่องจากทำให้ ทราบค่าใช้จ่ายในการให้บริการอย่างทั่วถึง และสามารถจัดลำดับความสำคัญของโครงการต่างๆ ได้ จากเดิมที่มีหลักเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจนนัก

นอกจากนี้ กสทช. ยังเปลี่ยนมาใช้กลไกของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการ และน่าจะช่วยลดต้นทุนการจัดให้มีบริการได้ จากการใช้วิธีประมูลแข่งขันมาคัดเลือกผู้ให้บริการอย่างทั่วถึง

ตามแผนใหม่นี้ ค่าธรรมเนียมที่ กสทช. จะจัดเก็บเข้าสู่กองทุนฯ จะอยู่ที่ร้อยละ 4 ของรายได้ในการให้บริการของผู้รับใบอนุญาตทั้งที่มีและไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง จากเดิมที่เก็บในอัตราเดียวกันจากเฉพาะผู้รับใบอนุญาตที่มีโครงข่ายเป็นของตนเองเท่านั้น

เป้าหมายในการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานอย่างทั่วถึงประจำปี 2555-2559
- 99% ของพื้นที่ทั่วประเทศสามารถเข้าถึงบริการโทรศัพท์ส่วนบุคคลได้
- มีโทรศัพท์สาธารณะ 1 เลขหมายต่อหมู่บ้านเล็กและห่างไกลในพื้นที่ที่เหลือ 1%
- มีบริการอินเทอร์เน็ตชุมชน โรงเรียนและสถานีอนามัย ความเร็ว 2 Mbps ในพื้นที่ชนบท 20% ของประเทศ
- มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 2-10 Mbps และ WiFi ครอบคลุมโรงเรียน สถานีอนามัย อบต. และพื้นที่ไม่น้อยกว่า 80% ของประเทศ
- มีบริการอินเทอร์เน็ตสำหรับชุมชนรายได้น้อยในเขตเมือง สถานสงเคราะห์คนชรา และโรงเรียนสอนคนพิการ 500 แห่งทั่วประเทศ
- มีระบบการสื่อสารเฉพาะทางของคนพิการทางตาและการได้ยิน ไม่น้อยกว่า 1 แสนคน
- ส่งเสริมและพัฒนาเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ตที่เป็นประโยชน์
- ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านโทรคมนาคม อาทิ การพัฒนาทักษะและฝีมือแก่แรงงาน การสนับสนุนทุนการศึกษา ตลอดจนฝึกอบรมประชาชนไม่น้อยกว่า 5 แสนคน

โดยรวมแล้ว ผู้เขียนเห็นว่า แผนดังกล่าวมีพัฒนาการในด้านดีหลายประการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเห็นว่าการดำเนินการตามแผนดังกล่าวจะทำให้เกิดต้นทุนในการให้บริการอย่างทั่วถึงในระดับสูงกว่าที่ควรจะเป็น ด้วยเหตุผลหลายประการ

ประการที่หนึ่ง แม้แผนดังกล่าวมีแนวคิดในการแบ่งพื้นที่ซึ่งยังไม่มีบริการโทรคมนาคมออกเป็น พื้นที่ซึ่งไม่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริง (true access gap) ซึ่งต้องการการอุดหนุนจากกองทุนฯ และพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพในเชิงพาณิชย์แต่ยังขาดบริการอยู่ (efficiency gap) ซึ่งการแข่งขันในตลาดจะทำให้เกิดบริการก็ตาม ในทางปฏิบัติ กสทช. ก็ยังมิได้แบ่งพื้นที่ของประเทศไทยออกมาตามแนวคิดดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้ต้องใช้เงินกองทุนฯ ไปอุดหนุนบางพื้นที่โดยไม่จำเป็น

ประการที่สอง ด้วยเหตุผลเดียวกับข้อแรก แผนดังกล่าวมุ่งใช้เงินจากกองทุนฯ เป็นหลักในการทำให้เกิดบริการอย่างทั่วถึง โดยไม่ได้ใช้มาตรการอื่นเท่าที่ควร โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในตลาดเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการจากการออกใบอนุญาตใหม่ๆ และการกำกับดูแลที่ดี

ประการที่สาม แผนดังกล่าวกำหนดเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้อย่างตายตัว เช่น กำหนดว่าต้องมีบริการ WiFi ครอบคลุมพื้นที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของประเทศ
ทำให้ขาดทางเลือกในการใช้เทคโนโลยีอื่นเช่น WiMax หรือดาวเทียมบรอดแบนด์ ซึ่งอาจมีต้นทุนต่ำกว่าในบางพื้นที่

ข้อเท็จจริงที่ชี้ว่า การให้บริการอย่างทั่วถึงตามแผนดังกล่าวน่าจะมีต้นทุนสูงกว่าที่ควรจะเป็นก็คือ การที่ กสทช. จะเก็บค่าธรรมเนียมเข้ากองทุนฯ ที่อัตราร้อยละ 4 ของรายได้ของผู้รับใบอนุญาต ซึ่งสูงกว่าอัตราที่จัดเก็บอยู่ในต่างประเทศ เช่น ชิลี เปรู และแอฟริกาใต้ ต่างเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวในอัตราที่ต่ำกว่าร้อยละ
1 ของรายได้ของผู้ประกอบการ และไม่พบว่ามีประเทศใดที่เก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวถึงร้อยละ 2.5 เลย ยกเว้นอินเดีย (ดูภาพประกอบ)
ค่าธรรมเนียมในระดับสูงของไทยจะเป็นต้นทุนที่ผู้บริโภคทุกคนมีภาระต้องแบกรับ

จากการเหตุผลต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนขอเสนอแนะให้ กสทช. พิจารณาสั่งการให้ สำนักงาน กสทช. ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. จัดทำการประมาณการความแพร่หลายของบริการโทรคมนาคมพื้นฐานในประเทศไทยว่ามีแนวโน้มโดยธรรมชาติอย่างไร และจะมีความแพร่หลายเพิ่มขึ้นอย่างไรหากมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้และกำกับดูแลให้ตลาดมีการแข่งขันอย่างเต็มที่
2. ระบุพื้นที่ซึ่งไม่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริงจากประมาณการข้างต้น ซึ่งจะทำให้ทราบพื้นที่ซึ่งควรได้รับการอุดหนุนอย่างแท้จริง
3. เปิดกว้างให้ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายในการแข่งขันกันให้บริการอย่างทั่วถึง โดยไม่ต้องระบุเทคโนโลยีอย่างตายตัว เช่น ไม่ควรระบุว่า ต้องเป็น WiFi เท่านั้น
4. ตัดโครงการที่ไม่เกี่ยวข้องกับบริการอย่างทั่วถึงออกเช่น การพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงาน และทุนการศึกษา เนื่องจากการใช้จ่ายในลักษณะดังกล่าวน่าจะขัดกับบทบัญญัติตามกฎหมาย ทั้งนี้ หากต้องมีค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมบุคลากร ก็ควรจำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคลที่ขาดทักษะการใช้บริการโทรคมนาคมเท่านั้น
5. ควบคุมการใช้จ่ายของ กสทช. และสำนักงาน กสทช.ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น กำหนดอัตราเงินเดือน หรือสวัสดิการต่างๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และป้องกันการรั่วไหลต่างๆ ในการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งนี้เนื่องจากรายได้ของสำนักงาน กสทช. เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ข้างต้นแล้ว จะมีส่วนที่ถูกนำส่งเป็นรายได้ของกองทุนฯ ด้วย นอกจากนี้ การกำหนดเงินเดือนของ กสทช. ในระดับที่สูงมากโดยการแปลงโบนัสเป็นเงินเดือน น่าจะขัดกับเจตนารมย์ของกฎหมาย และก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อความน่าเชื่อถือในการทำงานเพื่อสาธารณะของ กสทช. เอง
6. ปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมกองทุนฯ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และใกล้เคียงกับมาตรฐานสากล เช่น ไม่ควรเกินร้อยละ 2.5 เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อผู้บริโภคมาก โดยรายได้ดังกล่าวของกองทุนฯ น่าจะเพียงพอต่อการให้บริการอย่างทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคิดถึงฐานรายได้ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีการขยายฐานของผู้จ่ายค่าธรรมเนียมไปยังผู้รับใบอนุญาตทุกประเภทแล้ว

ภาพเปรียบเทียบอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการอย่างทั่วถึงของประเทศต่างๆ

ที่มา: เอกสารประกอบการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะของ สำนักงาน กสทช.

View :1752

กสทช. มุ่งผลักดันอุตฯ โทรคมนาคมไทย ให้เกิดการซื้อขายในงาน CommunicAsia 2011 ที่ผ่านมา

December 21st, 2011 No comments

ผลงานวิจัยและพัฒนาด้านโทรคมนาคมของประเทศ ได้รับการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนา ต่อยอด ตลอดระยะเวลากว่า 4 ปีที่ผ่านมา โดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน ) หรือ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม () เดิม ซึ่งได้ริเริ่มขึ้นการสนับสนุนมาตั้งแต่ปี 2551 ผ่านทาง กลุ่มภารกิจด้านการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หรือ ชื่อเดิมที่รู้จักกันในนาม “ทริดี้” ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนนักวิจัยให้สร้างสรรค์ผลงานวิจัยด้านโทรคมนาคมที่มีศักยภาพไม่แพ้ผลงานในต่างประเทศ จนได้ยื่นจดสิทธิบัตร,ส่งเสริมห้องแล็บโทรคมนาคมในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ, สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และหน่วยงานด้านการวิจัยชั้นนำหลายแห่งในต่างประเทศ, พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถผ่านทางการให้ทุนการศึกษา NTC Scholarship พร้อมเผยแพร่ความรู้ด้วยการจัดฝึกอบรม สัมมนา อย่างสม่ำเสมอตลอดมา และในปีนี้ ทริดี้ ยังได้เปิดโอกาสทางการค้าระดับสากลให้กับผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมไทยได้ขยายตลาด โชว์ศักยภาพของสินค้าไทยในเวทีโลกที่งาน ณ ประเทศสิงค์โปร์ การก่อตั้งกลุ่ม MT2 (เอ็มทีสแควร์) เป็นการรวมกลุ่มของภาคกิจโทรคมนาคม เพื่อต่อยอดธุรกิจในภาพรวมของประเทศ อีกทั้งนำผลงานที่ได้จากการพัฒนาไปช่วยเหลือคนพิการ อาทิ อุปกรณ์คลื่นสมองช่วยคนพิการ จากมหาวิทยาลัยมหิดล

ทริดี้ มองเห็นถึงโอกาสทางธุรกิจภาคอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยที่จะผลักดันออกสู่ตลาดโลกได้ ซึ่งการแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านโทรคมนาคมในเวทีระดับนานาชาติ หรือ CommunicAsia 2011 ณ ประเทศสิงคโปร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้ในเวทีโลกว่า ไทยก็เป็นประเทศผู้ผลิตด้านโทรคมนาคม และสร้างโอกาสให้กับบริษัทผู้ผลิตสัญชาติไทย อันจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จากงานวิจัยที่ สำนักงาน กสทช. สนับสนุน การออกงานครั้งแรกใน CommunicAsia นี้ มีผู้เข้าชมผลงานที่จัดแสดงกว่า 1,200 คน โดยผลงานวิจัยที่ได้รับความสนใจมาก ได้แก่ เครื่องตัดสัญญาณวิทยุ หรือ Jammer ของบริษัท DRC (ซึ่งเคยได้รับรางวัลจาการประกวดนวัตกรรมโทรคมนาคม ปี 2553 ของสำนักงาน กทช. มาแล้ว) ระบบวินิจฉัยทางการแพทย์ระยะไกล (Telediag) ของบริษัท Prodigi และ ผลงานอื่นๆ อีกจากหลากหลายบริษัทฯ ที่ต่างชาติให้ความสนใจเป็นอย่างสูง นอกจากนี้ บริษัทที่ร่วมแสดง สามารถจับคู่ธุรกิจได้สำเร็จแล้วหลายราย สร้างมูลค่าเป็นเม็ดเงินเข้าประเทศนับร้อยล้านบาท

การเปิดตลาดในครั้งนี้ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย โดยมีสะท้อนในทางที่ดีกลับมายังผู้ประกอบการหลายราย เกิดการซื้อขาย สามารถนำไปใช้งานจริงผ่านกลุ่มทุนต่างชาติ ตลอดระยะเวลา 4 ปีในการเดินทางของทริดี้ ตั้งแต่เริ่มต้นจวบจนปัจจุบันได้ดำเนินงานตามภารกิจ นโยบายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่วางเอาไว้ คือ ส่งเสริม สนับสนุน ผลักดัน และมุ่งให้เกิดการนำไปใช้งานจริงในอนาคต ผลงานวิจัยจึงไม่เพียงแต่อยู่บนหิ้งอีกต่อไป แต่ได้รับการผลักดันเข้าสู่ห้าง และต่อยอดจากห้าง ไปสู่ห้างในระดับที่ใหญ่ขึ้นต่อไปอีก ทั้งหมดคือความมุ่งมั่นและตั้งใจของ สำนักงาน กสทช. ผ่านทาง กลุ่มภารกิจด้านการวิจัยฯ หรือ “ทริดี้” ที่ผ่านมา ต้องขอขอบคุณ “ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ” ผู้นำทีมการดำเนินงานต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จและก่อเกิดประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมานี้

View :1519

นโยบาย กสทช. เน้นการมีส่วนร่วมและธรรมาภิบาล

December 20th, 2011 No comments

สุภิญญา ระบุ ภารกิจสำคัญเพื่อปฏิรูปโครงสร้างสื่อใหม่ ต้องทิ้งอำนาจนิยมก้าวสู่ยุค ธรรมาภิบาล ด้าน ประวิทย์ ห่วงการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล หากเข้าสู่ยุคเทเลแบงก์กิ้ง

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้จัดงานสัมมนาทางวิชาการ ประจำปี ๒๕๕๔ หรือ NBTC Year End Conference 2011 “Reaching the next level of communication 2011” ขึ้น ในระหว่างวันที่ ๑๕-๑๖ ธ.ค. ๕๔ โดยในงานมีการจัดช่วง NBTC talk เปิดพื้นที่ให้ กสทช. แสดงจุดยืนและวิสัยทัศน์ โดยมี กสทช. ๙ ใน ๑๑ คนเข้าร่วม

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. ด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กล่าวว่า ภารกิจสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการในฐานะ กสทช. คือการปฏิรูปโครงสร้างวิทยุ โทรทัศน์ ให้เปลี่ยนจากอำนาจนิยมอุปถัมป์ไปสู่ระบบใบอนุญาตที่มีธรรมาภิบาล พร้อมทั้งสร้างเกณฑ์ในการกำกับดูแลให้เสรีภาพทางความคิดต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบและจรรยาบรรณ รวมถึงเปิดพื้นที่ให้คนด้อยโอกาส เด็ก ผู้มีรายได้น้อย สามารถใช้คลื่นความถี่เป็นช่องทางในการสื่อสาร เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาศักยภาพของตัวเอง

ด้านนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า สถานการณ์ปัญหาที่ผู้บริโภคไทยเผชิญในปัจจุบันนั้นมีลักษณะ “รวมยุค” คือ บางพื้นที่บางกลุ่มก็ยังเข้าไม่ถึงบริการ ซึ่งถือเป็นปัญหายุคเก่า นอกจากนั้นยังมีปัญหายุคปัจจุบัน เช่น การเข้าถึงแต่ไม่เท่าทัน ไม่ว่าจะเป็นการไม่เท่าทันแพ็คเกจต่างๆ ไม่เท่าทันอุปกรณ์ ปัญหาคุณภาพบริการมีปัญหา เป็นต้น นอกจากนี้ยังเริ่มมีปัญหาของยุคอนาคต นั่นคือเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัวที่ถูกละเมิดผ่านการเข้าถึงข้อมูลที่ได้จากการใช้บริการโทรคมนาคม ซึ่งปัญหานี้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกากลายเป็นเรื่องร้องเรียนอันดับหนึ่งในช่วงปีหลังๆ มานี้ ต่อไปหากมีบริการ 3G และมีการใช้บริการอื่นๆ ผ่านบริการโทรคมนาคมเพิ่มมากขึ้น เช่น เทเลแบงก์กิ้ง หากไม่มีระบบป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลที่ดี ก็จะเกิดปัญหาที่สร้างความเสียหายได้อย่างมากและกว้างขวาง เพราะเมื่อเข้าถึงข้อมูลด้านโทรคมนาคมได้ก็หมายถึงการเข้าถึงธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ของคนคนนั้นได้ จึงเป็นเรื่องที่ต้องวางมาตรการป้องกัน

กสทช. ประวิทย์ย้ำว่า ตราบเท่าที่ยังมีการใช้บริการโทรคมนาคม มีการสื่อสารกัน ปัญหาย่อมไม่หมดไป แก้ปัญหาเก่าแล้วก็เกิดปัญหาใหม่ เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการออกแบบบริการใหม่ๆ ของผู้ประกอบการ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการมีส่วนร่วมของสังคม ในการสะท้อนปัญหาและร่วมกันแสวงหาแนวทางแกไข

“ผู้บริโภคนั้นถึงอย่างไรก็ต้องการบริการ การกำกับดูแลโดยพื้นฐานจึงต้องส่งเสริมให้เกิดบริการอยู่แล้ว แต่ความท้าทายอยู่ที่ว่าทำอย่างไรให้บริการนั้นมีประโยชน์อย่างแท้จริง หรือมีปัญหาและจุดอ่อนน้อยที่สุด ซึ่งควรต้องเน้นการวางมาตรการเชิงป้องกันหากคาดการณ์ได้ล่วงหน้า ขณะเดียวกันก็ต้องเปิดกว้างให้เกิดการแจ้งหรือสะท้อนปัญหาจากผู้ใช้บริการ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที รวมถึงรับฟังว่าอะไรคือความต้องการของประชาชน ซึ่งไม่ใช่ว่าจะตอบสนองได้ทั้งหมด แต่เพื่อจะทำงานได้ตรงกับความต้องการ” นายประวิทย์กล่าว

View :1509
Categories: Press/Release Tags:

ก.ไอซีที จับมือ กสทช.พัฒนากิจการสื่อสารโทรคมนาคมไทยให้ก้าวหน้า

December 16th, 2011 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจการดำเนินการตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 และนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภา ระหว่าง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ () และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ว่า กระทรวงฯ และ ถือได้ว่าเป็นหน่วยงานหลักของประเทศที่มีความสำคัญในการกำหนดนโยบาย กำกับ ควบคุม รวมทั้งดูแลด้านกิจการสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศให้พัฒนาไปในทิศทางที่จะให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรม โดยยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ ซึ่งที่ผ่านมาทั้งสองหน่วยงานได้ประสานและร่วมดำเนินงานเพื่อพัฒนากิจการสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ รวมทั้งกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีของโลกให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีมาโดยตลอด

และเพื่อให้การดำเนินงานร่วมกันระหว่างสองหน่วยงานเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 รวมทั้งสอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรี แถลงไว้ต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 กระทรวงไอซีที และ กสทช. จึงได้จัดทำบันทึกความเข้าใจในการดำเนินการขึ้น เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติสำหรับความร่วมมือระหว่างกันในการพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมของประเทศให้มีประสิทธิภาพ โดยยึดประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ

“การลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ครั้งนี้ จึงนับเป็นโอกาสดีที่ทั้งสองหน่วยงาน จะได้ร่วมกันดำเนินการเพื่อพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมของประเทศให้มีความก้าวหน้า และก่อให้เกิดเอกภาพในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศตลอดจนเพื่อผลักดันแนวนโยบายของรัฐบาลสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม อันจะก่อให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสื่อสารและโทรคมนาคมของประเทศให้เกิดเสถียรภาพ และยั่งยืนต่อไป” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว

View :1462

กสทช.เตือนผู้ใช้มือถือระวัง ซ้ำรอยคดี “อากงเอสเอ็มเอส”

November 29th, 2011 No comments

ประวิทย์ ระบุ ผลคดี “อากง เอสเอ็มเอส” สะท้อนว่า เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นตัวตนของผู้ใช้ไปแล้ว หากมีการกระทำผิดด้วยมือถือ เจ้าของต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น เตือนต้องระมัดระวังอย่างเข้มงวด หากส่งเครื่องซ่อมให้บันทึกและเก็บหลักฐานไว้ยืนยัน

จากกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาจำคุก 20 ปีคดีหมิ่นเบื้องสูงด้วยการส่งข้อความสั้นผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือกรณีที่มีการเรียกขานกันในสื่อใหม่ว่า “อากงส่งเอสเอ็มเอส” นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมกล่าวว่า บรรทัดฐานจากคำพิพากษาของศาลในครั้งนี้จะส่งผลต่อผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยทั่วไป ให้ต้องระมัดระวังอย่างเคร่งครัดมิให้บุคคลอื่นเข้าถึงหรือมาใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ประจำตัวได้ เนื่องจากระบบกฎหมายเริ่มตีความว่าเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นเท่ากับตัวตนของผู้ใช้

“ในกระบวนการพิจารณาคดีนี้ไม่ได้มีหลักฐานหรือการพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้ลงมือจริงหรือไม่ แต่มีหลักฐานว่า ข้อความสั้นถูกส่งจากเครื่องของจำเลยในบริเวณย่านที่จำเลยอยู่อาศัย แม้ว่าในการส่งจะไม่ได้ทำผ่านซิมการ์ดที่จำเลยใช้เป็นประจำก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าในช่วงเกิดเหตุนั้นเครื่องอยู่นอกความดูแลของตน แนวทางเช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่า ระบบกฎหมายเริ่มให้ความหมายกับโทรศัพท์มือถือว่าคือตัวคุณเลย นี่จึงเป็นการเปลี่ยนหลักคิดอย่างสำคัญ ว่าหากมีการกระทำใดใดที่กระทำผ่านโทรศัพท์มือถือของเรา สันนิษฐานได้เลยว่าเป็นการกระทำโดยเรา ภายใต้หลักเช่นนี้ ต่อไปหากใครหยิบโทรศัพท์เราไปใช้ทำผิดกฎหมาย และเราไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความบริสุทธิ์ก็ต้องเป็นผู้รับโทษ ดังนั้นผู้บริโภคจึงต้องเข้าใจหลักการที่เปลี่ยนไปนี้และต้องระมัดระวัง เพราะไม่ได้แยกระหว่างการเป็นเจ้าของกับการนำไปใช้”

คำเตือนและข้อแนะนำจาก กสทช. ประวิทย์สำหรับผู้บริโภคก็คือ ต่อไปนี้ต้องรักษาดูแลโทรศัพท์มือถือประจำตัวอย่าให้คลาดสายตา ระมัดระวังเรื่องการถูกยืมไปใช้งาน กรณีส่งซ่อมหรือต้องทิ้งเครื่องไว้ห่างตัว แม้ถอดซิมการ์ดออกแล้วก็ใช่จะเพียงพอ ต้องมีพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ด้วยว่า ในเวลานั้นๆ เครื่องไม่ได้อยู่ในความดูแลของเราจริง กรณีเครื่องหายก็ควรต้องแจ้งความ เนื่องจากโทรศัพท์แต่ละเครื่องจะมีเลขอีมี่ประจำเครื่อง ขณะที่ซิมการ์ดมีเลขอิมซี่ ดังนั้นในกรณีมีผู้ไม่หวังดีนำเครื่องเราไปใช้ หลักฐานเลขอีมี่ที่ปรากฏจะมัดตัวผู้เป็นเจ้าของให้ต้องรับผิด

“แทบจะพูดได้ว่า ต่อไปนี้ไม่อาจทิ้งมือถือไว้ห่างตัวเลย แม้เพียงช่วงเดินไปเข้าห้องน้ำก็ไม่ควรวางมือถือไว้ที่โต๊ะทำงาน เพราะหากถูกผู้อื่นนำไปใช้ในทางที่ผิดก็จะกลายเป็นความรับผิดชอบของผู้เป็นเจ้าของ บรรทัดฐานเช่นนี้จะเป็นปัญหายุ่งยากซับซ้อนยิ่งขึ้นหากมีการปรับใช้ในกรณีอีเมลด้วย เพราะอีเมลนั้นถูกเข้าถึงได้ง่ายกว่า และกรณีมีผู้เจาะรหัสเข้าใช้อีเมลของใคร ตำรวจอาจต้องเปิดให้แจ้งความ สรุปว่าผลจากคดีนี้หากถือเป็นบรรทัดฐานก็จะกระทบวิถีการสื่อสารของคนทั้งหมดครับ” นายประวิทย์กล่าวในที่สุด

View :1539
Categories: Press/Release Tags: ,

กสทช. สั่งตรวจคุณภาพสัญญาณเสียง หวั่นกระทบจากการให้บริการ 3G

November 28th, 2011 No comments

ประธานกสทช. พูดชัด งานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นภารกิจที่สำคัญ ล่าสุด สั่งประสานจุฬา ทดสอบคุณภาพสัญญาณ “โทรออก รับสาย” หลัง บ.โทรคมนาคม แห่ให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิมหวั่นส่งผลกระทบ ผู้ใช้บริการประเภทเสียง

เมื่อวานนี้ (24 พ.ย. 54) เวลา 13.30 น. พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ () ได้กล่าวในระหว่างการตรวจเยี่ยมกลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมว่า จากจำนวนเรื่องร้องเรียนที่พบแสดงให้เห็นว่า ภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วนของสังคม และเป็นงานที่ ให้ความสำคัญโดยสิ่งที่ยืนยันได้ชัดเจนคือ การสรรหา ในครั้งนี้มี สายคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้รับการคัดเลือกถึง 2 คน คือนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศาและนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันงานด้านนี้
ด้านนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุม กสทช. ล่าสุดมีการหยิบยกกรณีคุณภาพของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีเสียงบ่นจากผู้ใช้บริการโดยทั่วไปว่ามีปัญหาทั้งการต่อติดและสายหลุด อันอาจมีสาเหตุมาจากกรณีที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายหลักเริ่มมีการเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิม ทั้งนี้ที่ประชุม กสทช. ได้มีนโยบายให้กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมประสานกับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อทำการทดสอบคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทเสียงในบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
“ผู้ใช้บริการ 2G เดิมซึ่งเป็นการใช้บริการประเภทเสียงอาจได้รับผลกระทบด้านคุณภาพการให้บริการ เช่น ไม่มีสัญญาณ สัญญาณมีบ้างไม่มีบ้าง สายหลุดขณะโทร หรือในโทรศัพท์ประเภทสมาร์ทโฟน เช่น iphone หรือ Black Berry ซึ่งตั้งค่าเพื่อหาเครือข่าย 3G ไว้ อาจพบปัญหาการหาเครือข่ายไม่พบ เพราะมีการแย่งพื้นที่ในการใช้ช่องสัญญาณจากการใช้ข้อมูลเสียง หรือEdge เนื่องจากการใช้บริการ 3G เป็นการรับส่งข้อมูลในปริมาณที่มากขึ้น แต่ช่องทางในการส่งสัญญาณมีอยู่เท่าเดิม ดังนั้น กสทช. จึงต้องการให้ตรวจสอบว่า การเปิดให้บริการ 3G กันอย่างกว้างขวางครั้งนี้มีผลกระทบกับผู้บริโภคที่ใช้บริการ 2G หรือไม่” นายประวิทย์ กล่าว
นายประวิทย์กล่าวต่อไปว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นคือ ผู้ให้บริการประเภทเสียงอาจได้รับผลกระทบจากคุณภาพบริการ ขณะที่ผู้ใช้บริการ 3G ก็ไม่ได้รับบริการที่เหมาะสมสำหรับราคาที่ต้องจ่ายไป

View :1585
Categories: Press/Release Tags:

ศาลปกครองพิพากษา กทช. ทำงานล่าช้า

September 16th, 2011 No comments

พิพากษา ทำงานล่าช้าสั่งเร่งพิจารณาแบบสัญญาภายใน ๙๐ วันแก้ปัญหา พรีเพด ด้านว่าที่ ประวิทย์ ฝากการบ้านชุดใหญ่ จี้สำนักงานต้องขยับตัว แก้ปัญหาผู้บริโภคระบบเติมเงิน

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ว่าที่ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคมที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษา คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร โดยมีนายอนุภาพ ถิรลาภเป็นโจทย์ ยื่นฟ้อง คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เนื่องจากโจทย์ได้รับความเสียหายจากการที่ กทช. ไม่มีการบังคับใช้ กฎหมายมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยการพิจารณาแบบสัญญาการให้บริการโทรคมนาคม ฉบับใหม่ให้แล้วเสร็จเพื่อบังคับใช้ให้เป็นไปตามกฎหมาย ส่งผลให้การใช้บริการโทรศัพท์ระบบเติมเงินของผู้ร้องถูกกำหนดวันหมดอายุ และถูกระงับการใช้บริการ รวมถึงถูกยึดหมายเลขโทรศัพท์ซึ่งใช้งานมากว่า ๑๐ ปี ขณะที่ผู้ให้บริการอ้างว่า ได้ปฏิบัติตามสัญญาเดิมของการให้บริการ เนื่องจาก กทช. ยังพิจารณาสัญญาใหม่ไม่แล้วเสร็จ
“กรณีนี้ศาลพิเคราะห์แล้วว่า กทช. ใช้เวลาในการพิจารณาแบบสัญญานานเกินสมควร คือใช้เวลามากกว่า ๓ ปี ศาลจึงมีคำพิพากษาให้ กทช.ปฏิบัติหน้าที่กสทช. ดำเนินการให้ความเห็นชอบหรือกำหนดแบบสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้าของบริษัท ให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน ทั้งนี้เนื่องจากการไม่พิจารณาแบบสัญญาส่งผลให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือยังปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาเดิม คือ หากผู้ใช้บริการไม่มีการเติมเงินเข้าระบบหรือไม่มีการใช้งานภายในระยะเวลาที่กำหนด เลขหมายก็จะถูกระงับสัญญาณ ทั้งที่เป็นการฝ่าฝืนต่อ ข้อ ๑๑ ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม “นายประวิทย์กล่าว
นายประวิทย์กล่าวต่อไปว่า จึงขอฝากการบ้านไปถึง สำนักงาน กสทช.ให้เร่งพิจารณาแบบสัญญาให้เสร็จภายใน ๙๐ วัน หรือกำหนดแบบสัญญามาตรฐานขึ้นมาซึ่งจะช่วยคุ้มครองผู้บริโภคที่ร้องเรียนเรื่องการกำหนดวันหมดอายุโทรศัพท์ระบบเติมเงินได้ และเพื่อไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลปกครอง

View :1526

ภูมิซรอลเสนอระบบโทรคมฯ แจ้งเหตุฉุกเฉินพื้นที่ชายแดน

February 25th, 2011 No comments

กสทช.ลงพื้นที่ พบปัญหาซ้ำเดิมยามเกิดเหตุฉุกเฉิน มือถือบอดใช้งานไม่ได้ ขณะที่ ผู้ว่าฯศรีสะเกษเสนอ หนุนระบบโทรคมนาคมพื้นที่ชายแดน สร้างช่องทางสื่อสารหลากหลายให้ถึงประชาชนเมื่อภัยมาถึง

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (ผอ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16-18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คณะตัวแทนจากสำนักงาน กสทช. ประกอบด้วย ผอ. นายศรีสะเกษ สมาน นางสาวสุภัทรา นาคะผิว อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม นายศรศิลป์ คล่องแคล่ว ตัวแทนจากสำนักงานการบริการอย่างทั่วถึง นายวรุตม์ ว่องโรจนานนท์ ตัวแทนจากสำนักวิศวกรรมและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ได้เดินทางไปสำรวจข้อมูลในพื้นที่ บ้านภูมิซรอล และโรงเรียนภูมิซรอลวิทยา และเข้าหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัด กรณีผลกระทบจากการสู้รบระหว่างทหารไทย กับทหารกัมพูชา รวมถึงสำรวจความเสียหายและความต้องการใช้ระบบโทรคมนาคมในพื้นที่ชายแดนจังหวัดศรีสะเกษ
จากการสำรวจความเสียหายพบว่า ชุมสายโทรศัพท์พื้นฐานของ บมจ.ทีโอที ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษณ์นั้น มีผู้ใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน 40 เลขหมาย และลูกค้า ADSL จำนวน 15 Ports ไม่สามารถใช้งานได้และอยู่ในระหว่างการซ่อมบำรุง ส่วนที่โรงเรียนภูมิซรอลวิทยา บ้านภูมิซรอล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษณ์ ได้รับความเสียหายอย่างมาก โดยอาคารเรียนถูกระเบิดพังเสียหาย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบโทรคมนาคม พบว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับความเสียหาย และไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ เนื่องจากสาย fiber optic ถูกสะเก็ดระเบิดหรือกระสุนปืนใหญ่
นายประวิทย์กล่าวต่อไปว่า ภายหลังหารือร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษมีข้อสรุปว่า ควรจัดให้มี “ศูนย์ประสานงานและแจ้งเหตุป้องกันภัยชายแดน” โดยขอให้ กสทช. สนับสนุนการจัดตั้งระบบโทรคมนาคมเพื่อแจ้งเหตุฉุกเฉิน แบบหลายช่องทางการสื่อสาร เพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารแจ้งให้ทั่วถึงแก่ประชาชนทุกคนได้ทราบในทุกรูปแบบ ซึ่งหากจะดำเนินการต้องมีการทำวิจัยและศึกษาปัญหาความต้องการของประชาชนในพื้นที่ก่อนเสนอแนวทางดำเนินการให้ตรงกับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในชายแดน
“จากคำบอกเล่าของประชาชนในพื้นที่พบว่า วันเกิดเหตุประชาชนต่างแตกตื่นวิ่งหนีหลบภัยแบบไม่มีทิศทาง รถติดยาวกว่า 30 กิโลเมตร ขณะที่ โทรศัพท์มือถือไม่สามารถติดต่อกันได้ในบางช่วงเวลา สถานการณ์ปัญหาการใช้บริการโทรคมนาคมเหมือนกับช่วงที่เกิดเหตุการณ์สึนามิ หรือเหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้ เนื่องจากช่องสัญญาณเต็ม เพราะมีผู้ใช้บริการในคราวเดียวจำนวนมาก และประชาชนในพื้นที่ชุมสายตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษณ์ รวมถึงบ้านภูมิซรอลไม่สามารถใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน และไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้” ผอ.สบท.กล่าว
นายประวิทย์กล่าวอีกว่า การจัดตั้งศูนย์ประสานงานและแจ้งเหตุป้องกันภัยชายแดน จำเป็นต้องวางระบบให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาของการใช้งานอาจแตกต่างจากการตั้งศูนย์เตือนภัยสึนามิ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยต่อไป นอกจากนี้ประชาชนในพื้นที่ยังต้องการให้ผู้ประกอบการขยายสัญญาณโทรศัพท์มือถือให้ครอบคลุมพื้นที่ชายแดน และต้องการให้มีการฝึกทักษะการติดต่อสื่อสารด้วยระบบโทรคมนาคมเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติจากการสู้รบในพื้นที่ชายแดนด้วย

View :1401

กสทช. เปิดแหล่งสืบค้นและวิเคราะห์สิทธิบัตรทั่วโลก สำหรับ R&D และนวัตกรรมไทย พร้อมสร้างมูลค่าให้ธุรกิจไทยในอนาคต

February 24th, 2011 No comments

สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (ทริดี้)สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (สำนักงาน )  เปิดแหล่งข้อมูล สืบค้นและวิเคราะห์สิทธิบัตรทั่วโลก เพื่อง่ายต่อบุคลากร หน่วยงานที่ต้องการศึกษา ค้นคว้าถึงงานด้านสิทธิบัตรจากทั่วโลก ในกลุ่มนวัตกรรม โทรคมนาคม วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ ซึ่งเป็นถือเป็นภารกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ตามกฎหมายใหม่ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ภายใต้การดำเนินงานของ สำนักงาน โดยได้ให้ความสำคัญต่อการดำเนินการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ในรูปแบบสิทธิบัตรตามกฎหมาย มุ่งเน้นสร้างเสริมความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทย
 

ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หรือ ทริดี้ กล่าวว่า การส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมและกิจการโทรคมนาคม ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงาน กสทช. มาโดยตลอด โดยที่ผ่านมาทริดี้ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ () ซึ่งภายหลัง พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ประกาศใช้ ภารกิจในด้านนี้ยังคงอยู่และยังคงได้รับการสนับสนุนเช่นเดิม ดังนั้นเมื่อนักวิจัยไทยที่มีศักยภาพสร้างสรรค์ผลงานวิจัยใหม่ขึ้นมา เราควรให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว ซึ่งถือเป็นประโยชน์ของประเทศที่ในอนาคตผลงานต่าง ๆ เมื่อได้รับการต่อยอด อันจะส่งผลต่อการพัฒนาของประเทศในด้านอุตสาหกรรม โทรคมนาคม โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียงของประเทศ และยังสามารถสร้างรายได้ เม็ดเงินที่จะเข้าประเทศต่อไปในอนาคต ดังนั้นการได้รับการคุ้มครองในด้านทรัพย์สินทางปัญญา เช่นการจดสิทธิบัตรของทางสำนักงาน กสทช. จึงจัดตั้งแหล่งสืบค้นและวิเคราะห์สิทธิบัตรทั่วโลกเอาไว้ในที่เดียวกัน เพื่อให้นักวิจัยสามารถมาสืบค้นก่อนได้ ถึงข้อมูลต่าง ๆ และวิเคราะห์ในด้านผลงานที่จะคิดค้นขึ้นมาใหม่หรือต่อยอดได้ในอนาคต

 

ดร.สุพจน์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาตั้งแต่ ทริดี้ได้ปฏิบัติงานมากว่า 4 ปี ได้ดำเนินงานในด้านสร้างบุคลากร ผลงาน สนับสนุนทั้งในส่วนขององค์กร หน่วยงาน ที่ต้องการให้ทริดี้เขาสนับสนุน ทำให้เราพบว่าประเทศไทยมีนักวิจัยไทยมีความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ไม่แพ้นานาชาติ ดังนั้น สำนักงาน กสทช. จึงไม่เพียงแต่สนับสนุนการจดสิทธิบัตรในระดับประเทศเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนให้เกิดความคุ้มครองในระดับนานาชาติ โดยได้จัดตั้งแหล่งสืบค้นและวิเคราะห์สิทธิบัตรทั่วโลกที่อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาทุน รวมถึงภาคอุตสาหกรรมสามารถใช้บริการได้ นอกจากนี้ การสืบค้นสิทธิบัตร ทำให้สามารถทราบข้อมูลต่างๆ ก่อนที่จะเริ่มงานวิจัย หรือกำหนดทิศทางวิจัย รวมทั้งสามารถใช้ประกอบการเขียนข้อเสนอโครงการขอทุนต่างๆ ได้อีกด้วย

“การบริหารและจัดการทรัพย์สินทางปัญญามีความสาคัญมากสำหรับผู้คิดค้น นักวิจัย และระบบเศรษฐกิจของประเทศ  โดยเป็นการกระตุ้นให้นักวิจัย นักประดิษฐ์และนักธุรกิจลงทุนวิจัยได้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อวงการนั้นๆและเป็นการสร้างระบบเศรษฐกิจแบบฐานความรู้ (Knowledge Based Economy) ที่มีมูลค่าเพิ่มมหาศาลในเชิงธุรกิจ โดยวิธีการบริหารและจัดการทรัพย์สินทางปัญญาเริ่มตั้งแต่การทาวิจัยในห้องปฏิบัติการไปถึงการพัฒนาเพื่อนำเข้าสู่ตลาด ซึ่งการสืบค้นเอกสารสิทธิบัตรเป็นขบวนการแรกเริ่มและเป็นรากฐานที่สาคัญในการเข้าถึงการบริหารและจัดการทรัพย์สินทางปัญญา สำหรับประเทศไทยการบริหารและจัดการทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะด้านโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและที่เกี่ยวข้องยังมีไม่มากเท่าที่ควรซึ่งอาจเป็นเพราะความยุ่งยากในกระบวนการ ซึ่งส่งผลต่อการนำไปใช้งานเชิงพาณิชย์ซึ่งยังมีไม่มากเท่าที่ควร”

ดังนั้นสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของสำนักงาน กสทช. ที่ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนากิจการโทรคมนาคมโดยรวมของประเทศ ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ การสืบค้นเอกสารสิทธิบัตร ” ไปเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา เพื่อกระตุ้นนักวิจัย บุคคลที่สนใจให้เห็นความสาคัญของการบริหารและจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและได้ทราบวิธีการ เทคนิค ตลอดจนได้ฝึกทักษะการสืบค้นสิทธิบัตรให้ง่ายและสะดวกขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างสูงต่อนักวิจัยในการพัฒนาต่อยอดงานวิจัย โดยหากเกิดกระแสความสนใจของกลุ่มนักวิจัย ผู้ผลิตคิดค้นผลงานใหม่ในด้านโทรคมนาคม โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียงเป็นจำนวนที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีในภาพรวมของประเทศในระยะยาว โดยวันนี้เราควรต้องร่วมมือในการสร้าง สนับสนุน ส่งเสริม และผลักดันให้เกิดบุคลากรที่มีคุณภาพ สร้างผลงานที่ได้ศักยภาพ และเกิดมูลค่าในทางเศรษฐกิจ ผ่านรากฐานที่แข็งแกร่งจากแหล่งศึกษาข้อมูลเหล่านี้ ซึ่งจะทำให้เราลดการนำเข้า สร้างผลงานเองได้ ใช้ผลผลิตเองได้จากในประเทศในอนาคตอันใกล้อย่างแน่นอน ดร.สุพจน์ กล่าวสรุป

View :1271
Categories: Press/Release Tags:

กสทช. มีคำสั่งเยียวยาผู้บริโภค 3BB แล้ว

February 11th, 2011 No comments

สั่งเยียวยาความเสียหายให้ผู้บริโภค พร้อมกำชับผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องทุกราย ห้ามระงับหรือยุติการให้บริการด้วย หลัง รศ. สุธรรม ส่งหนังสือเวียนด่วนขอมติเร่งช่วยผู้บริโภค
จากการที่ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม () ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค กรณีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของบริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด หรือ 3BB ถูกตัดสัญญาณในกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบบมีเลขหมายบนโครงข่ายของบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) และพบว่าปัญหาอาจลุกลามกระทบผู้บริโภคที่ใช้บริการในลักษณะดังกล่าวซึ่งมีไม่น้อยกว่า 12,000 ราย นั้น ล่าสุด รศ. สุธรรม อยู่ในธรรม ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้ส่งหนังสือเวียนเป็นการเร่งด่วน เพื่อขออนุมัติเป็นมติที่ประชุม กสทช. ในการเร่งหาทางแก้ไขเนื่องจากส่งผลกระทบกับผู้บริโภคจำนวนมาก ซึ่ง กสทช. ได้เห็นชอบให้มีการดำเนินการเยียวยาแก้ไขให้กับผู้บริโภคแล้ว
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (ผอ.สบท. ) เปิดเผยว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้มีมติเห็นชอบให้มีการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหากรณีบริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด ถูกร้องเรียนว่าระงับสัญญาณอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภค โดยมีคำสั่งให้ผู้ประกอบการยุติการระงับบริการ ในกรณีที่ผู้บริโภคร้องขอ ตามมาตรา 45 วรรค สาม แห่งพรบ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 เพื่อเยียวยาความเสียหายเป็นการชั่วคราวให้แก่ผู้บริโภค และมีคำสั่งแจ้งผู้ประกอบการเป็นการทั่วไปให้ดำเนินการตามมาตรา 20 แห่ง พรบ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ประกาศ เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม และประกาศ ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมอย่างเคร่งครัด โดยห้ามมิให้ระงับบริการแก่ผู้บริโภคในกรณีดังกล่าว รวมทั้งได้มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.พิจารณาความเป็นไปได้ของบริการทดแทนในกรณีที่มีการยกเลิกสัญญาให้บริการวงจรเช่า รวมถึงความเป็นไปได้ในการพิจารณาอนุญาตบริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่งให้กับ TT&T ซึ่งมีสิทธิในโครงข่ายที่เป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน และรายงานต่อที่ประชุมภายใน 14 วัน

View :1554
Categories: Press/Release Tags: ,