Archive

Posts Tagged ‘Cloud Computing’

แนวโน้มการให้บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์กำลังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นเทรนด์ไมโคร แจ้งเตือนผู้ใช้เพิ่มความปลอดภัยสำหรับข้อมูลส่วนบุคคล

October 9th, 2012 No comments

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 9 ตุลาคม 2555 – รายงานจากบริษัทเทรนด์ไมโคร และศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ เปิดเผยว่า ด้วยฟังก์ชันที่หลากหลายซึ่งช่วยจัดการงานต่างๆ ที่ปกติจะต้องใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์แบบดาวน์โหลดได้มาช่วยดำเนินการ ทำให้การสมัครใช้บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์ส่วนบุคคลเกิดการขยายตัวอย่างเห็นได้ชัดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และจากผลการสำรวจเกี่ยวกับระบบคลาวด์ครั้งล่าสุดของบริษัท ไอดีซี พบว่า 19% ของร้านค้าปลีกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้เริ่มนำบริการการประมวลผลแบบคลาวด์บางอย่างมาปรับใช้แล้ว และมีอีกกว่า 30% กำลังประเมินการปรับใช้ระบบคลาวด์ในอีก 2 – 5 ปีจากนี้
การเพิ่มจำนวนของการใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์ส่วนบุคคลนั้น เป็นผลมาจากความสะดวกและความคุ้มค่า ตัวอย่างเช่น บริการจดบันทึกด้วยคลิกเดียวและบริการบุ๊กมาร์ก เช่น Evernote กำลังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในประเทศญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน และเกาหลีใต้ โดยผู้ใช้จะใช้ฮาร์ดแวร์ในจำนวนที่น้อยลงเพื่ออัพโหลดข้อมูล ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและมีความสามารถด้านการประมวลผลที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากระบบคลาวด์จะเข้ามาช่วยจัดการปริมาณงานดั้งเดิมได้ในสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่ง โดยขณะนี้แอพพลิเคชั่นฟรีหรือราคาถูกที่อำนวยความสะดวกสำหรับการดาวน์โหลดสื่อข้อมูล การแบ่งปันข้อมูลทางสังคมออนไลน์ การธนาคาร และบริการโทรศัพท์มีพร้อมให้บริการอย่างแพร่หลาย
นางสาวไมลา ปิลาโอ ผู้อำนวยการฝ่ายการสื่อสารด้านการตลาด ศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ กล่าวว่า “จากการวิจัยล่าสุดพบว่ากิจกรรมเกี่ยวกับระบบคลาวด์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อีเมลผ่านเว็บ การธนาคารออนไลน์ การช้อปปิ้งออนไลน์ การอัพโหลดรูปภาพ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผู้คนสมัยนี้นิยมจัดเก็บรูปถ่ายไว้บนเฟซบุ๊ก อินสตราแกรม หรือปิคาซ่า โดยไฟล์จะถูกอัพโหลดไปยังดร็อปบ็อกซ์ หรือกูเกิล ไดร์ฟ ในขณะที่ผู้ใช้กำลังเดินหน้าเข้าสู่ระบบคลาวด์อย่างต่อเนื่อง พวกเขาอาจยังไม่ทราบว่ามีภัยคุกคามรูปแบบใดบ้างที่พวกเขาจะต้องเผชิญ ปัจจุบันผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียโดยทั่วไปมักเต็มใจที่จะเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของตนเพื่อแลกกับบริการฟรีและโฆษณาที่ตรงตามเป้าหมายมากขึ้น ซึ่งนั่นอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดข้อมูลรั่วไหลได้”
สำหรับความเสี่ยงที่เป็นไปได้หลายอย่างที่ผู้ใช้อาจเผชิญในขณะที่ใช้บริการแบบคลาวด์ มีดังนี้
• แคมเปญภัยคุกคาม แคมเปญภัยคุกคามในจำนวนที่มากขึ้นจะกำหนดเป้าหมายไปที่ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ในรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยอาชญากรไซเบอร์สามารถเจาะระบบบัญชีที่ใช้รหัสผ่านที่คาดเดาง่ายหรือนำรหัสผ่านเดิมๆ กลับมาใช้ หรือข้อมูลที่ไม่มีการเข้ารหัสลับไว้
• ข้อบกพร่องในระบบหรือช่องโหว่ของแอพพลิเคชั่นอาจทำให้ข้อมูลตกอยู่ในภาวะเสี่ยงได้ เนื่องจากจะเปิดช่องให้อาชญากรไซเบอร์สามารถเข้ามาเจาะระบบ โดยช่องโหว่เหล่านี้สามารถเริ่มต้นได้จากอินเตอร์เฟสของแอพพลิเคชั่นเอง และแอพพลิเคชั่นฟรีที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่อาจทำให้ฐานข้อมูลผู้ใช้ในประเภทต่างๆ ตกอยู่ในความเสี่ยงได้เช่นกัน
• ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ผู้ใช้บริการอาจถูกเรียกเก็บค่าใช้จ่ายการใช้ข้อมูลหรือแอพพลิเคชั่นผ่านระบบมือถือ โดยแอพพลิเคชั่นที่เป็นอันตรายสามารถทำให้บริการระดับพรีเมียมเรียกเก็บค่าบริการในใบแจ้งหนี้ถัดไปได้
• การเข้าถึงที่ยากลำบาก การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีสัญญาณไม่แรงพอ การหยุดให้บริการของระบบ และภาวะไฟฟ้าดับอาจทำให้การเข้าถึงข้อมูลหรือซอฟต์แวร์ในระบบคลาวด์ล่าช้าได้
• ข้อมูลรั่วไหลของผู้ให้บริการ การใช้บริการแบบคลาวด์จะให้สิทธิ์ในการควบคุมแก่ผู้ให้บริการ โดยจะเห็นได้จากกรณีตัวอย่างของการโจมตีผู้ใช้ดร็อปบ็อกซ์ที่โดนสแปมโจมตี โดยมีสาเหตุมาจากไซต์ของบุคคลที่สามที่เชื่อมโยงอยู่กับบริการดังกล่าวนั่นเอง นอกจากนี้แฮคเกอร์ยังได้ปล่อยข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้อุปกรณ์ Apple จำนวน 1 ล้านราย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ถูกกล่าวอ้างว่ามาจากอุปกรณ์ Apple iOS ที่มีจำนวนมากกว่า 12 ล้านเครื่อง
• ปัจจัยด้านมนุษย์ บุคคลที่เป็นอันตรายหรือผู้โจมตีจะหลอกลวงพนักงานในองค์กรที่รู้ไม่เท่าทันโดยเลือกใช้เทคนิควิศวกรรมสังคม

บริษัทเทรนด์ไมโคร และศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ ขอแนะนำเคล็ดลับสำหรับผู้ใช้บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์ส่วนบุคคลเพื่อปกป้องตัวเอง ดังนี้:
• อัพเดตแอพพลิเคชั่นของคุณอยู่เสมอ ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นจะจัดการข้อบกพร่องของบริการและแก้ไขช่องโหว่ต่างๆ ในรูปของโปรแกรมอัพเดต
• ระวังลิงก์ที่ไม่รู้จัก อย่าคลิกลิงก์หรือเปิดสิ่งที่แนบมาจากอีเมลที่ดูน่าสงสัย เคล็ดลับเดียวกับที่ใช้ในบริการข้อความโต้ตอบแบบทันที (IM) และข้อความส่วนตัวบนไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์
• ใช้บริการแบบคลาวด์ เช่น เทรนด์ไมโคร เซฟซิงค์ ที่มีการเข้ารหัสข้อมูลที่คุณสามารถอัพโหลดได้โดยอัตโนมัติเช่นเดียวกับการสำรองข้อมูลและซิงค์ข้อมูลของคุณในพีซี, เครื่อง Mac, iOS, Android และด้วยการเชื่อมต่อตลอด 24 ชั่วโมงในทุกวันผ่านทางเครื่องเดสก์ท็อป ระบบมือถือ และไซต์ต่างๆ โดยใช้ศูนย์ข้อมูลของบริษัทเทรนด์ไมโคร ส่งผลให้การแบ่งปันข้อมูลทั้งหมดจะได้รับการรักษาความปลอดภัยด้วยอาศัยตัวเลือกต่างๆ เช่น รหัสผ่าน วันที่หมดอายุ และการปิดใช้งานลิงก์ต่างๆ
• ป้องกันอุปกรณ์มือถือของคุณ ใช้โปรแกรมรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบมือถือ เช่น เทรนด์ไมโคร โมบาย ซิเคียวริตี้ เพื่อป้องกันแอพพลิเคชั่นที่เป็นอันตราย
• ยกระดับการรักษาความปลอดภัยสำหรับรหัสผ่านของคุณ เปลี่ยนรหัสผ่านที่คาดเดาง่ายให้เป็นวลีที่ยากต่อการจดจำสำหรับบุคคลอื่นๆ โดยอาจะเลือกใช้ตัวจัดการรหัสผ่าน เช่น เทรนด์ไมโคร ไดเร็คพาสจะช่วยให้คุณสามารถใช้รหัสผ่านหลักเพียงรหัสผ่านเดียวสำหรับบัญชีทั้งหมดของคุณได้
• สำรองข้อมูลมือถือคุณ โดยเลือกใช้เทรนด์ไมโคร โมบาย แบ็คอัพ และรีสโตร์ ซึ่งจะพร้อมทำงานในทันทีที่อุปกรณ์ของคุณเกิดปัญหาหรือถูกขโมย

View :1362

ก.ไอซีที จับมือ กลุ่มบีเอสเอ ศึกษาแนวทางนำ Cloud Computing มาใช้พัฒนาเศรษฐกิจเพื่อรองรับ AEC 2015

May 29th, 2012 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในงานสัมมนาเชิงวิชาการ หัวข้อ “Thailand’s Economic Growth in Digital Environment and amid Transmission to AEC 2015: Readiness of Laws and Regulations” ว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ร่วมกับกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) จัดงานสัมมนาครั้งนี้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทศึกษาเปรียบเทียบเรื่องนโยบายและกฎหมายของประเทศต่างๆ ทั้งหมด 24 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียน สำหรับการประเมินความพร้อมของนโยบายและกฎหมายของประเทศต่าง ๆ เหล่านี้ ในมุมมองที่เกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจในโลกยุคดิจิตอล (Digital Economy) บนสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเติบโตของเศรษฐกิจระหว่างการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

“กระทรวงฯ มีหลักการและนโยบายที่ชัดเจนเพื่อใช้ประโยชน์จากระบบ Cloud Computing ในการส่งเสริมศักยภาพด้านการแข่งขันทางธุรกิจในตลาดภูมิภาคนี้ รวมถึงสร้างศักยภาพทางธุรกิจแก่ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ ประชาชนโดยทั่วไป และภาครัฐ ซึ่งรายงานการศึกษาดังกล่าวถือเป็นเครื่องมือสำคัญอันหนึ่งที่จะช่วยให้ประเทศไทยมีความพร้อมในการส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจบนระบบ Cloud Computing และนำไปสู่การสนับสนุนภาคธุรกิจและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศให้เดินหน้าเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” นางจีราวรรณ กล่าว

งานสัมมนาเชิงวิชาการครั้งนี้ เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากงานสัมมนาเชิงวิชาการ ในหัวข้อ “Digital Economy and Cloud Computing Scorecard” ซึ่งกระทรวงฯ ได้เคยร่วมกับ บีเอสเอ จัดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา โดยเนื้อหาหลักของงานสัมมนาปีนี้ได้เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับประเด็นด้านนโยบายและกฎหมาย เพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจในยุคดิจิตอล (Digital Economy) และ Cloud Computing รวมทั้งเน้นเรื่องการเชื่อมโยงเข้ากับการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศไทยและอาเซียน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักในการสัมมนาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารระดับสูง หรือผู้มีอำนาจสั่งการ (CIO) ของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน

สำหรับสาระสำคัญที่น่าสนใจของการสัมมนาฯ ครั้งนี้ ได้แก่ 1. เกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพของ Cloud Computing ที่ใช้สำหรับวัดความพร้อมของประเทศไทย และผลกระทบต่อการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย 2. Cloud Computing มีส่วนช่วยในการกำหนด ASEAN ICT Master Plan ได้อย่างไร 3.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศในโลก Cloud Computing และนโยบายด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับ Cloud Computing ในระดับชาติ เป็นต้น

ส่วน มร.โรเจอร์ ซัมเมอร์วิลล์ ผู้อำนวยการอาวุโส ด้านนโยบายภาครัฐของบีเอสเอ ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก กล่าวว่า Cloud Computing เป็นระบบใหม่ที่ใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก โดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาล หน่วยงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะต้องวางโครงสร้างพื้นฐานที่ดีเพื่อให้ระบบ Cloud Computing เติบโตต่อไป และสร้างประโยชน์สูงสุดในการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันให้แก่ประเทศนั้นๆ ในตลาดโลก ซึ่งรายงานการศึกษาที่จัดทำโดย บีเอสเอ ฉบับนี้ยังจะช่วยประเทศไทย และประเทศอื่นๆ อีก 23 ประเทศ สำรวจตรวจสอบสิ่งแวดล้อมด้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อดูว่ามีปัจจัยใดบ้างที่จะส่งผลกระทบทำให้ประเทศต่างๆ ไม่สามารถรับประโยชน์สูงสุดจากระบบ Cloud Computing ได้

รายงานการศึกษาดังกล่าวได้นำเสนอแนวทางการริเริ่มและวางนโยบายที่ประเทศต่างๆ สามารถนำไปใช้ และควรจะพิจารณานำไปใช้ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากระบบ Cloud Computing และในรายงานยังนำเสนอการพิจารณาปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการสร้างงานบนระบบ Cloud Computing ที่จะเพิ่มโอกาสความได้เปรียบทางเศรษฐกิจได้อย่างมากมาย

นอกจากนี้ รายงานการศึกษาดังกล่าว ยังระบุว่าประเทศไทยได้รับคะแนนสูงในบางด้าน เช่น ความพร้อมของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่สนับสนุนการทำธุรกรรมบนระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) และการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature) แต่สำหรับความพร้อมด้านอื่นๆ ได้แก่ ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เช่น การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy Protection) กลับมีคะแนนไม่สูงมากนัก ถึงกระนั้น ประเทศไทยยังคงมีความพร้อมในเรื่องอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์ (Cybercrime) เพราะมีการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้อง และประกาศใช้แล้ว ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจในการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลบนระบบ Cloud Computing โดยไม่ได้รับอนุญาต อย่างไรก็ตาม ยังต้องส่งเสริมและสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว รวมถึงการสืบสวน สอบสวนอาชญากรรมบนโลก ไซเบอร์ และการพัฒนาเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy) การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Rights) มาตรฐานการระงับและการคัดกรองข้อมูลข่าวสาร (Censorship, Filtering) รวมทั้งการบังคับใช้ระบบเทคโนโลยีเฉพาะทาง (Technology Mandates) อีกด้วย

View :1689

ซีไอโอทั่วโลกฟันธงการวิเคราะห์ข้อมูล คลาวด์คอมพิวติ้ง และอุปกรณ์เคลื่อนที่กุมความสำเร็จของธุรกิจในยุคนี้

December 2nd, 2011 No comments

สถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม () เปิดเผยผลการสำรวจประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ซีไอโอ) กว่า 3,000 คน จากทั่วโลกเพื่อหาปัจจัยเบื้องหลังความสำเร็จของซีไอโอในยุคนี้ โดยซีไอโอกว่าร้อยละ 80 เห็นสอดคล้องกันว่าความเรียบง่ายในการจัดการกับโครงการต่างๆ และการลดความสลับซับซ้อนของกระบวนการการทำงานภายในองค์กรถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด

นางเจษฎา ไกรสิงขร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซอฟต์แวร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “แม้ในยุคดิจิตอลที่สูตรลับความสำเร็จเฉือนกันด้วยข้อมูลที่มีอยู่ แต่เรากลับพบว่าในความจริงเรากลับมีข้อมูลที่ทั้งมากเกินความจำเป็นและสลับซับซ้อนจนเกินไป ข้อมูลเหล่านี้จึงจำเป็นต้องถูกจัดการให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้พนักงาน พันธมิตร และลูกค้าสามารถเข้าถึงและใช้งานได้ง่ายและทันท่วงที

โดยผลการสำรวจได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าซีไอโอกว่าร้อยละ 60 เลือกที่จะนำระบบคลาวด์คอมพิวติ้งมาใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลเพิ่มขึ้นจากเมื่อ 2 ปีก่อนเกือบ 2 เท่า ซีอีโอร้อยละ 75 ยืนยันถึงบทบาทสำคัญของโมบายคอมพิวติ้ง (Mobile Computing) ที่ช่วยให้พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่าย เพิ่มช่องทางในการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ และช่วยให้บริษัทสามารถปรับตัวเข้ากับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และร้อยละ 83 ของซีไอโอได้ชี้ให้เห็นว่าข้อมูลที่ช่วยให้การทำธุรกิจได้อย่างฉลาด (Business Intelligence) และการวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถหาแนวทางในการนำข้อมูลที่เก็บรวบได้ไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจ

แม้ว่าหน้าที่หลักของซีไอโอคือการหาเทคโนโลยีเพื่อเข้ามาช่วยคลายความยุ่งยากในการดำเนินงาน แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือการออกแบบกลยุทธ์ที่ครอบคลุมรองรับกับทิศทางของอนาคตที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งซีไอโอจะต้องทำหน้าที่ได้เทียบเท่ากับซีอีโอ ใน 3 ประเด็น ได้แก่ การเสริมสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลูกค้า การพัฒนาทักษะของบุคลากร และการกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลทางธุรกิจที่มีอยู่ ซีไอโอจึงไม่เพียงแต่สรรหาเทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเท่านั้น แต่ต้องหาเทคโนโลยีที่ช่วยให้บริษัทเติบโต ในท้ายที่สุด ซีไอโอต้องมุ่งเน้นที่การทำให้ทุกอย่างเรียบง่าย ช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานไปได้แต่ยังต้องนำเทคโนโลยีไปสร้างพันธกิจสำคัญอย่างการสร้างธุรกิจใหม่ๆ การขับเคลื่อนความสามารถในการผลิต รวมไปถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อให้เกิดการต่อยอดทางธุรกิจ

ในอนาคตซีไอโอและซีอีโอจะทำหน้าที่ที่คล้ายคลึงกันในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และนำข้อมูลไปใช้งานจริง รวมถึงการรวมศูนย์การทำงาน โดยบริษัทจะเก็บข้อมูลความเชี่ยวชาญในการทำงานของพนักงานและนำพนักงานเหล่านี้มาทำงานร่วมกันในโครงการเดียวกัน รวมถึงโซเชียลมีเดีย (Social Media) และระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) ที่ช่วยเปิดทางให้ธุรกิจต่างๆ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น และสามารถเปลี่ยนลูกค้าให้กลายเป็นพันธมิตรทางธุรกิจได้อีกด้วย และด้วยเซ็นเซอร์ชิ้นเล็กๆ ผนวกกับซอฟต์แวร์ที่ชาญฉลาดจะช่วยระบบซัพพลายเชน คลังสินค้า ให้กลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เราสามารถค้นหาและใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ได้

การทำทุกอย่างให้เรียบง่ายจึงไม่เพียงแต่เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของซีไอโอเท่านั้น แต่ยังเป็นวิธีการสร้างประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตในการทำงาน ข้อมูลทั้งหลายที่มีอยู่จะกลายมาเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่ช่วยหล่อเลี้ยงให้บริษัทต่างๆ ทำธุรกิจได้ประสบความสำเร็จภายใต้ความเรียบง่าย”

View :1393

ก.ไอซีที จับมือภาคเอกชนส่งเสริมเทคโนโลยี Cloud Computing

September 5th, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงวิชาการ หัวข้อ “Digital Economy and Scorecard” ว่า ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจในโลกยุคดิจิทัล ได้ทำให้รัฐบาลของแต่ละประเทศรวมถึงประเทศไทยตื่นตัว และเตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้าน เพื่อใช้ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีมาสนับสนุนและเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยในเวทีโลกยุคดิจิทัล

โดยเทคโนโลยี Cloud Computing จัดเป็นความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่กระทรวงฯ ได้ให้ความสำคัญในระยะเวลาที่ผ่านมา และได้วางแผน ส่งเสริม สนับสนุน รวมทั้งประสานงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ความพร้อมในเรื่องบุคลากร ตลอดจนความพร้อมในเรื่องนโยบายและกฎหมาย โดยกระทรวงฯ ได้ร่วมกับกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) จัดงานสัมมนา “Digital Economy and Cloud Computing Scorecard” สำหรับผู้บริหารระดับสูง และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขึ้น เพื่อนำเสนอผลการศึกษาเปรียบเทียบเรื่องกรอบนโยบายและกฎหมายของประเทศในกลุ่มเอเชียและแปซิฟิกทั้งหมด 14 ประเทศ ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วยการใช้เทคโนโลยี Cloud Computing ความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล โดยจะประเมินความพร้อมของกรอบนโยบายและกฎหมายของประเทศต่างๆ เหล่านี้ภายใต้สิ่งแวดล้อมใหม่ ที่เรียกว่า เศรษฐกิจในโลกยุคดิจิทัล

“งานสัมมนาครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดตัวผลการศึกษาสิ่งแวดล้อมทางด้านนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล (Digital Economy) ของ 14 ประเทศในกลุ่มเอเชีย-แปซิฟิกขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อให้ผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งนักกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้าร่วมสัมมนาได้รับทราบ โดยผลการศึกษานี้เน้นในเรื่องความพร้อมสำหรับการรองรับเทคโนโลยี Cloud Computing รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคนจะสามารถนำกลับไปพิจารณาให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากรอบนโยบายและกฎหมายในส่วนงานได้

เพราะแม้ว่าประเทศไทยจะมีจุดแข็งอย่างชัดเจนในกรอบนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Cloud Computing แต่ก็ยังจำเป็นต้องพิจารณาโอกาสที่จะพัฒนากรอบนโยบายและกฎหมายที่มีอยู่ เพื่อให้ประเทศไทยได้ชื่อว่ามีความพร้อมที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิค และให้ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี Cloud Computing ” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1548

ก.ไอซีที จับมือภาคเอกชนส่งเสริมเทคโนโลยี Cloud Computing

September 5th, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงวิชาการ หัวข้อ “Digital Economy and Scorecard” ว่า ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจในโลกยุคดิจิทัล ได้ทำให้รัฐบาลของแต่ละประเทศรวมถึงประเทศไทยตื่นตัว และเตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้าน เพื่อใช้ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีมาสนับสนุนและเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยในเวทีโลกยุคดิจิทัล

โดยเทคโนโลยี Cloud Computing จัดเป็นความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่กระทรวงฯ ได้ให้ความสำคัญในระยะเวลาที่ผ่านมา และได้วางแผน ส่งเสริม สนับสนุน รวมทั้งประสานงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ความพร้อมในเรื่องบุคลากร ตลอดจนความพร้อมในเรื่องนโยบายและกฎหมาย โดยกระทรวงฯ ได้ร่วมกับกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) จัดงานสัมมนา “Digital Economy and Cloud Computing Scorecard” สำหรับผู้บริหารระดับสูง และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขึ้น เพื่อนำเสนอผลการศึกษาเปรียบเทียบเรื่องกรอบนโยบายและกฎหมายของประเทศในกลุ่มเอเชียและแปซิฟิกทั้งหมด 14 ประเทศ ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วยการใช้เทคโนโลยี Cloud Computing ความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล โดยจะประเมินความพร้อมของกรอบนโยบายและกฎหมายของประเทศต่างๆ เหล่านี้ภายใต้สิ่งแวดล้อมใหม่ ที่เรียกว่า เศรษฐกิจในโลกยุคดิจิทัล

“งานสัมมนาครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดตัวผลการศึกษาสิ่งแวดล้อมทางด้านนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล (Digital Economy) ของ 14 ประเทศในกลุ่มเอเชีย-แปซิฟิกขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อให้ผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งนักกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้าร่วมสัมมนาได้รับทราบ โดยผลการศึกษานี้เน้นในเรื่องความพร้อมสำหรับการรองรับเทคโนโลยี Cloud Computing รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคนจะสามารถนำกลับไปพิจารณาให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากรอบนโยบายและกฎหมายในส่วนงานได้

เพราะแม้ว่าประเทศไทยจะมีจุดแข็งอย่างชัดเจนในกรอบนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Cloud Computing แต่ก็ยังจำเป็นต้องพิจารณาโอกาสที่จะพัฒนากรอบนโยบายและกฎหมายที่มีอยู่ เพื่อให้ประเทศไทยได้ชื่อว่ามีความพร้อมที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิค และให้ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี Cloud Computing ” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1611

ทรู ไอดีซี เปิดบริการ “True Cloud Protection by Double Take”

June 16th, 2011 No comments

บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด ผู้นำบริการดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์ คอมพิวติ้ง ผนึก บริษัท แซนฟินิตี้ จำกัด ผู้นำบริการด้านเทคโนโลยีระบบ Back Up และ Disaster Recovery เปิดบริการ “True Cloud Protection” by Double Take ขับเคลื่อนองค์กรยุคใหม่ด้วยบริการสำรองข้อมูลและกู้คืนระบบไอทีจากภัยคุกคามต่างๆ ( Back Up & Recovery) สร้างความมั่นใจและแต้มต่อในการแข่งขันให้กับลูกค้าองค์กรแม้ในภาวะวิกฤติ ชูจุดเด่นคิดค่าบริการตามการใช้งานจริง ( Pay Per Use) สามารถเลือกใช้บริการเป็นครั้ง รายวัน หรือรายเดือน ( On Demand) ไม่ต้องซื้อไลเซ่นส์แบบเหมารวม พิเศษ โปรโมชั่นสำหรับองค์กรธุรกิจที่สนใจ ทดลองใช้บริการบริการทรูคลาวด์ พร้อมระบบสำรองและกู้คืนข้อมูล นาน 20 วัน มูลค่า 6,000 บาท ฟรี สมัครทดลองใช้บริการได้ตั้งแต่วันนี้ – 30 ตุลาคม 2554

นายเจนวิทย์ คราประยูร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวว่า “ ทรู ไอดีซี เพิ่มทางเลือกใหม่ในการสำรองข้อมูลบนเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง ร่วมกับ บริษัท แซนฟินิตี้ จำกัด พัฒนาบริการ “True Cloud Protection by Double Take” ตอบสนองความต้องการขององค์กรธุรกิจในการจัดเก็บและสำรองข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบันองค์กรธุรกิจเล็งเห็นความสำคัญในการปกป้องข้อมูลจากไวรัส แฮกเกอร์ ภัยคุกคามต่างๆ บนระบบไอที รวมทั้งภัยธรรมชาติและภัยพิบัติต่างๆ เช่น สึนามิ แผ่นดินไหว เป็นต้น บริการสำรองข้อมูลและกู้คืนระบบสารสนเทศจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในเสถียรภาพและความปลอดภัยของข้อมูลสำคัญขององค์กร อีกทั้งยังสามารถเรียกใช้งานข้อมูลต่างๆ ได้จากทุกที่ทั่วโลกตลอดเวลาที่ต้องการ   องค์กรต่างๆ จึงสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและราบรื่นแม้ในภาวะวิกฤติ ”

นาย ชาน วี เม็ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซนฟินิตี้ จำกัด ผู้นำบริการด้านเทคโนโลยีระบบ Back Up และ Disaster Recovery กล่าวว่า “ บริษัท แซนฟินิตี้ รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกับทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ ให้บริการสำรองและกู้คืนข้อมูลบนคลาวด์ คอมพิวติ้ง   ซึ่ง Double Take เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ชั้นนำในประเทศสหรัฐอเมริกา มีความเชี่ยวชาญในระบบ High Availability และ Disaster Recovery มายาวนานกว่า 15 ปี ให้บริการรองรับระบบปฏิบัติการทุกแพลตฟอร์ม ทั้ง Windows, Linux, UNIX และเมนเฟรม โดดเด่นในการสำรอง ปกป้อง และกู้คืนข้อมูลบนคลาวด์ คอมพิวติ้ง มาตรฐานระดับโลก โดยความร่วมมือในครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่แซนฟินิตี้ คิดค่าบริการตามการใช้งานจริงเป็นครั้ง รายวัน และรายเดือน ทั้งนี้ แซนฟินิตี้ มั่นใจว่า บริการ “True Cloud Protection by Double Take” จะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับลูกค้าในการสำรองและกู้คืนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ มีเสถียรภาพ และสามารถกู้คืนข้อมูลให้กลับมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งช่วยประหยัดต้นทุนด้านไอทีขององค์กรด้วย ”

“ บริการ “True Cloud Protection by Double Take” ช่วยให้ลูกค้าสามารถสำรองและกู้คืนข้อมูลได้อย่างง่ายดายและสะดวกยิ่งขึ้น มีจุดเด่นในการคิดค่าบริการตามการใช้งานจริงแบบ On Demand สามารถเลือกใช้บริการเป็นครั้ง รายวัน หรือรายเดือน โดยลูกค้าไม่จำเป็นต้องเสียค่าไลเซ่นส์แบบเหมารวม จึงยืดหยุ่นและช่วยประหยัดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทรู ไอดีซี ออกแบบบริการ True Cloud Protection by Double Take สำหรับลูกค้าทรู คลาวด์ ที่ใช้บริการคลาวด์ เซิร์ฟเวอร์ และคลาวด์ สตอเรจ รวมทั้งลูกค้าที่ใช้บริการฝากเซิร์ฟเวอร์ ( Co-Location) หรือมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ขององค์กรเอง ให้สามารถสำรองข้อมูลไว้บนเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง   ตอบโจทย์การสำรองและกู้คืนข้อมูลขององค์กรได้อย่างสมบูรณ์และครอบคลุมครบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ต่างๆ พื้นที่เก็บข้อมูล และซอฟต์แวร์การจัดเก็บ พร้อมอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายคลาวด์ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยทรู ไอดีซี ร่วมกับ Power-All Networks พันธมิตรจากต่างประเทศที่เชี่ยวชาญเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง เชื่อมโยงโครงข่ายจากอินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ ของทรูไอดีซีไปยังหน่วยงานพันธมิตรที่กระจายอยู่ทั่วโลก ” นายเจนวิทย์ กล่าวเสริม

นอกจากนี้ ทรู ไอดีซี ยังร่วมกับ แซนฟินิตี้ จัดโปรโมชั่นพิเศษให้ลูกค้าองค์กรทดลองใช้บริการ “ ทรู คลาวด์ ” พร้อมระบบสำรองและกู้คืนข้อมูลฟรี 20 วัน มูลค่า 6 , 000 บาท สมัครทดลองใช้บริการได้แล้วตั้งแต่วันนี้ – 31 ตุลาคม 2554 ที่ cloud@trueidc.co.th หรือดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ http://www.trueidc.co.th/product_Cloud.htm

View :1524

เอชพีผนึกวีเอ็มแวร์เดินหน้าพัฒนา โซลูชั่นระบบ ความปลอดภัย Intrusion Prevention System – IPS รุ่นแรก รองรับการใช้งานแบบเวอร์ช่วล และคลาวด์

April 25th, 2011 No comments

เอชพี โดย นายศักดิ์ชาย ปัญญจเร (ขวา) ผู้อำนวยการ หน่วยธุรกิจ Networking กลุ่มธุรกิจ เอ็นเทอร์ไพรส์ บิสิเนส และ วีเอ็มแวร์ โดย ดร. ชวพล จริยาวิโรจน์ (ซ้าย) ผู้จัดการประจำประเทศไทย ประกาศ ความ ร่วม มือ พัฒนาและ นำเสนอโซลูชั่น Intrusion Prevention System – IPS รุ่นใหม่ ล่าสุด ที่ได้รับการออกแบบให้รองรับสภาพแวดล้อมแบบเวอร์ช่วลและคลาวด์ โดยใช้เทคโนโลยี vSphere®

ความร่วมมือครั้งนี้ เป็น การพัฒนาต่อยอดจากความสำเร็จในการนำโซลูชั่น HP TippingPoint IPS ( Intrusion Prevention System ) ไปใช้ ในการทำงานร่วมกับ VMware vSphere ทั้งยังเป็นการต่อยอดจากกลยุทธ์ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบผนวกของเอชพี (HP Converged Infrastructure) และถือเป็น การเปิดมิติใหม่ของการทำอินเทเกรชั่นในปัจจุบัน

นอกจากนี้ เอชพีและวีเอ็มแวร์ยังประกาศความร่วมมือสนับสนุนการทำตลาดโซลูชั่นฮาร์ดแวร์และซอฟ ต์ แวร์ที่ผนวกรวมเทคโนโลยี HP TippingPoint vController แอพพลิเคชั่น VMware vShield และระบบป้องกัน Edge เข้าไว้ด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว ทำให้ระบบบรักษาความปลอดภัยระดับองค์กรมี การทำงานที่ง่ายขึ้น โซลูชั่น HP TippingPoint IPS vController ที่ผนวกรวมกับโซลูชั่น VMware vShield จึงเป็นการผนวกรวมเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัย firewall และ IPS เข้าไว้ด้วยกันอย่างสมบูรณ์แบบ โดยมีประสิทธิภาพใน การรักษาความปลอดภัยทั้งในสภาพแวดล้อมแบบปกติและ แบบ เวอร์ช่วล

โซลูชั่นแบบผนวกดังกล่าวสนับสนุนเทคโนโลยีการป้องกันการบุกรุกที่ได้รับ การคิดค้นและพัฒนาโดย Digital Vaccine Labs (DVLabs) ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยและพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยของเอชพี ทั้งนี้ เทคโนโลยีป้องกัน การบุกรุกดังกล่าวจะมีฟิลเตอร์เพื่อทำหน้าที่ป้องกันการบุกรุกและโจรกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบผนวกของเอชพี (HP Converged Infrastructure) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรแบบ Instant-On Enterprise ทั้งนี้ สำหรับในโลกของการสื่อสารเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง แนวคิดแบบ Instant-On Enterprise คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในทุกกิจกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า พนักงาน พันธมิตร และประชาชนได้อย่างตรงจุดและโดยทันที

View :1867
Categories: Press/Release Tags: , ,

ไมโครซอฟท์และทรูผนึกกำลังครั้งสำคัญพร้อมนำเสนอบริการคลาวด์คอมพิวติ้งสู่องค์กรธุรกิจไทย

April 20th, 2011 No comments

ความร่วมมือครั้งสำคัญที่จะนำมาซึ่งบริการคลาวด์คอมพิวติ้งแบบครบวงจร ด้วยดิจิตัลคอนเทนท์ โฮมเอนเตอร์เทนเมนท์ อีเมล เครื่องมือในการติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน

อุตสาหกรรมไอทีเตรียมต้อนรับประวัติศาสตร์หน้าใหม่ด้วยความร่วมมือระหว่าง 2 ผู้นำทางด้านไอที บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กับความร่วมมือครั้งล่าสุดเพื่อส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าขึ้นอีกระดับของการพัฒนาทางด้านผลิตภัณฑ์และบริการทางด้านคลาวด์คอมพิวติ้งสำหรับผู้บริโภค ผู้บริหารสำคัญจากทั้งสององค์กรที่ได้ร่วมในงานดังกล่าว ได้แก่ มร. เควิน เทอร์เนอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการของไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น นายพีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และนายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข กรรมการผู้จัดการสายงานคอนเวอร์เจนซ์ และกรรมการผู้จัดการกลุ่มลูกค้าธุรกิจ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ความร่วมมือระหว่างไมโครซอฟท์และทรูในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและคลาวด์คอมพิวติ้งอีกขั้นหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการบริการที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพิ่มทางเลือกและคุณค่าทางธุรกิจที่มากขึ้นให้กับผู้ใช้งาน ทั้งนี้ การผนึกกำลังดังกล่าวจะช่วยสร้างประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับอุตสาหกรรมของประเทศด้วยผลิตภัณฑ์และบริการยุคใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยยกระดับไลฟ์สไตล์และรูปแบบการทำงานของผู้ใช้งานชาวไทยไปสู่การใช้งานทางธุรกิจได้ ความร่วมมือกันระหว่างไมโครซอฟท์และทรูมุ่งเน้นไปที่การนำเสนอเทคโนโลยีและโซลูชั่นทางธุรกิจที่ล้ำสมัย ผนวกกับคอนเทนท์ที่หลากหลายทั้งจากในและต่างประเทศ เพื่อการใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้งได้ในหลากหลายช่องทางและอุปกรณ์

ความร่วมมือครั้งสำคัญของไมโครซอฟท์และทรูตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของคลาวด์คอมพิวติ้งในฐานะเครื่องมือที่จะช่วยนำประโยชน์และมิติใหม่ๆ มาสู่องค์กรทางธุรกิจในยุคดิจิตัล โดยผลการสำรวจล่าสุดของ Springboard Research เกี่ยวกับการใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้งในประเทศไทยพบว่า ร้อยละ 50 ขององค์กรที่ร่วมตอบแบบสำรวจวางแผนที่จะใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้งในอนาคต ซึ่งนับเป็นอัตราสูงสุดในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ ร้อยละ 76 ขององค์กรมองว่าคลาวด์คอมพิวติ้งเป็นเครื่องมือทางไอทีที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรกสุด ทั้งยังมีงบประมาณเตรียมพร้อมสำหรับการลงทุนในเรื่องดังกล่าว ผลสำรวจดังกล่าวชี้ชัดว่าคลาวด์คอมพิวติ้งมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 2 – 3 ปีต่อจากนี้ ทั้งนี้ ร้อยละ 41 ขององค์กรที่ร่วมตอบแบบสำรวจระบุว่าไมโครซอฟท์จะเป็นตัวเลือกของพวกเขาในการใช้งานบริการคลาวด์คอมพิวติ้งในอนาคต

“ในฐานะผู้นำทางด้านเทคโนโลยี ไมโครซอฟท์มีความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อส่งเสริมให้ผู้คนรวมทั้งองค์กรต่างๆ บรรลุถึงศักยภาพของตนและมีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจผ่านการใช้งานเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง” มร. เควิน เทอร์เนอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการของไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น กล่าว “ความร่วมมือระหว่างทรูและไมโครซอฟท์ในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ใช้งานชาวไทย รวมทั้งระบบนิเวศน์อุตสาหกรรมไอทีของประเทศได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งอย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อช่วยจัดการกับความท้าทายต่างๆทางธุรกิจ ทั้งยังตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิผลมากกว่าที่ผ่านมา”

ด้วยความร่วมมือดังกล่าว ไมโครซอฟท์และทรูจะนำเสนอบริการทางเลือกคลาวด์คอมพิวติ้งแบบเต็มรูปแบบจากไมโครซอฟท์ พร้อมด้วยบริการคอนเวอร์เจนซ์จากทรูสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีและองค์กรในประเทศ โดยลูกค้าจะได้รับประโยชน์จากการผนึกกำลังที่แข็งแกร่งและความเชี่ยวชาญจากทั้งสองบริษัท และจะได้รับบริการในระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์ที่มีประสิทธิภาพในราคาสมเหตุสมผล ทั้งยังมีความน่าเชื่อถือและสามารถลดหรือเพิ่มการใช้งานตามที่ต้องการได้ โดยเครื่องมือต่างๆ รวมไปถึง อีเมล ปฏิทินนัดหมาย เครื่องมือการติดต่อสื่อสาร การทำงานร่วมกัน การประชุม และบริการคอนเวอร์เจนซ์ในรูปแบบต่างๆ

ไมโครซอฟท์มีประสบการณ์ที่ยาวนานกว่าสิบปีในการให้บริการทางด้านคลาวด์คอมพิวติ้ง และเครื่องมือไอทีต่างๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการผนึกกำลังกับทรู ไมโครซอฟท์จะนำเสนอบริการรูปแบบใหม่เข้าสู่ตลาดที่สามารถใช้งานผ่านแพล็ทฟอร์มและอุปกรณ์ที่หลากหลาย ทั้งยังมีความรวดเร็ว สะดวกและปลอดภัย ทั้งนี้ ทรู คอร์ปอเรชั่น และ ไมโครซอฟท์ จะทำงานร่วมกันเพื่อประเมินการออกแบบ การพัฒนา รวมทั้งรูปแบบในการทำตลาดร่วมกันสำหรับบริการคลาวด์คอมพิวติ้งดังกล่าวต่อไป

ด้านนายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการสื่อสารทั่วโลก นำโดย ไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นผู้นำอุตสาหกรรมไอทีระดับสากล กำลังพัฒนาสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ซึ่งกลุ่มทรูในฐานะผู้ประกอบการหลักในอุตสาหกรรมไอทีและโทรคมนาคมในไทย ถือเป็นภารกิจสำคัญในการเตรียมความพร้อมเปิดรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในครั้งนี้ กลุ่มทรู จึงยินดีและถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมีบทบาทสำคัญกับ ไมโครซอฟท์ ในการพลิกโฉมและเปิดประสบการณ์มิติใหม่ของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการสื่อสารของประเทศ ซึ่งนวัตกรรมเทคโนโลยีที่พัฒนาการแบบก้าวกระโดด ส่งผลให้ไลฟ์สไตล์และเวิร์คสไตล์ของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การสื่อสารโทรคมนาคมจึงมีบทบาทสำคัญต่อรูปแบบใหม่ในการดำเนินชีวิต และการทำงานยุคคอนเวอร์เจนซ์ในปัจจุบัน ความร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำเช่นไมโครซอฟท์ครั้งนี้ จะเพิ่มขีดความสามารถพัฒนานวัตกรรมบริการ ตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มให้ลูกค้าชาวไทยอย่างเต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กลุ่มทรูในฐานะผู้ให้บริการสื่อสารครบวงจรหนึ่งเดียวของประเทศ และเป็นผู้นำชีวิตคอนเวอร์เจนซ์ไลฟ์สไตล์ มุ่งมั่น สร้างสรรค์ ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายทุกระดับ ด้วยการผสมผสานสินค้าบริการและเครือข่ายต่างๆ ภายในกลุ่มทรู โดยเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาโซลูชั่นตอบโจทย์ความต้องการหลากหลายของกลุ่มลูกค้าทุกระดับ รวมทั้งลูกค้ากลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศ ดังนั้น ความร่วมมือระหว่างกลุ่มทรูกับไมโครซอฟท์ซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำระดับโลก ร่วมกันนำเสนอบริการและโซลูชั่นใหม่ที่เป็นมาตรฐานสากลในครั้งนี้ จะช่วยยกระดับลูกค้ากลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจ ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งและความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบันการใช้งานบริการคลาวด์ที่ทันสมัย เริ่มแพร่หลายเป็นที่ต้องการในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น และมีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมต่างๆ กลุ่มทรู ในฐานะผู้นำและผู้เชี่ยวชาญด้านดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งมีเครือข่ายครอบคลุมทั้งมีสายและไร้สาย ผ่านหลากหลายแพลทฟอร์ม รวมทั้งนวัตกรรมด้านคอนเทนต์และโซลูชั่น จึงพร้อมที่จะร่วมมือกับไมโครซอฟท์ ร่วมกันยกระดับอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม ทั้งด้านการสื่อสารและการบริโภคคอนเทนต์ด้านต่างๆ ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารคือหัวใจสำคัญต่อไลฟ์สไตล์และเวิร์คสไตล์ของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน”

View :1559

ไอดีซีกล่าวว่า การประยุกต์ใช้คลาวด์ยังโตต่อเนื่องและจะถูกนำมาพูดเชิงธุรกิจมากขึ้น

March 15th, 2011 No comments

จากข้อมูลของไอดีซี พบว่า การใช้บริการคลาวด์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้น ญี่ปุ่น กำลังเริ่มที่จะใกล้สู่ภาวะอิ่มตัว  จากสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจในช่วงปี 2552-2553 ที่ผ่านมานั้น ได้กระตุ้นความสนใจในบริการคลาวด์คอมพิวติ้งเป็นอย่างมากในฐานะที่ตอบโจทย์ในเรื่องของการนำเสนอบริการที่สอดคล้องทั้งการให้บริการในปัจจุบันและบริการใหม่ ๆ   ของธุรกิจการให้ บริการคลาวด์ในส่วนที่เป็น โครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอที ซึ่งจะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในปี 2554 นี้ และเมื่อมีการนำเสนอบริการคลาวด์ใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด ผู้ใช้งานก็เริ่มจะมองการณ์ไกลขึ้นสำหรับการให้บริการพื้นฐานของ Software-as-a-Service (SaaS) และ Infrastructure-as-a-Service (IaaS) เพื่อเป็นแหล่งของการให้บริการเชิงธุรกิจ ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรเสริมสร้าวความแข็งแกร่งของตนเองได้อย่างรวดเร็วในภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว
 
จากรายงานล่าสุดของไอดีซี เรื่อง “Asia/Pacific (Excluding Japan) Cloud Services and Technologies 2011 Top 10 Predictions: Dealing with Mainstream Cloud” (Doc#AP6684401T) ไอดีซีได้ศึกษาแนวโน้มหลัก ๆ ที่คาดว่าจะส่งผลต่อคลาวด์คอมพิวติ้งกับระบบไอทีในองค์กรต่าง ๆ ของภูมิภาคนี้ในปี 2554  ประเทศในภูมิภาคนี้ยังคงมีความแตกต่างกัน  ในหลาย ๆ ด้านเมื่อเทียบกับภูมิภาค อื่น ๆ ทั่วโลก และ แผนงานสำหรับการประยุกต์ใช้งานคลาวด์ในอนาคตจะแตกต่างกันไปตามลักษณะที่ถูกกำหนดขึ้นจากงบประมาณที่จำกัด และ กฎหมายของแต่ละประเทศ แต่แนวโน้มที่สำคัญประการหนึ่ง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นแรงผลักดันมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และ อีกส่วนหนึ่งมาจากความพร้อมของการให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่งจะกลายเป็นเรื่องที่คนกลับมาสนใจอีกครั้ง เพื่อการปรับปรุงระบบไอทีในองค์กรต่าง ๆ ใช้ผลักดันการเสริมสร้างธุรกิจใหม่ ๆ และยังใช้เป็นตัวเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรได้
 
ความพร้อมของการให้บริการคลาวด์เป็นแรงส่งให้กับแนวโน้มดังกล่าวนี้ องค์กรส่วนมากจะมีโครงสร้างไอทีที่มีลักษณะเป็นลำดับชั้น ซึ่งบริการในรูปแบบของคลาวด์ก็จะเปิดให้บริการตามลำดับต่าง ๆ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในรูปของ Infrastructure  Platforms และ Applications-as-a-Service แต่เมื่อการให้บริการคลาวด์เริ่มจะถึงภาวะอิ่มตัว ไอดีซี มองต่อไปในเรื่องของรูปแบบของการให้บริการคลาวด์ว่าจะมีความซับซ้อนขึ้น โดยจะมีการรวมเรื่อง ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ การให้คำปรึกษา การออกแบบ และ การบริหารจัดการเข้ามาด้วย
 
“ตอนจบของแนวโน้มนี้จะเป็นแผนงานด้านไอทีที่ผู้บริหารธุรกิจทั้งหลายสามารถบริหารจัดการ จัดซื้อจัดหาและใช้บริการต่าง ๆ ครบทั้งหมด รวมถึงขั้นตอนการทำงานและระบบที่พวกเขาต้องการเพื่อที่จะทำให้ธุรกิจของเขาดำเนินไปได้ดีที่สุดและทันสมัยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และในแผนงานนี้จะไม่มีการคำนึงถึงคำว่า “เป็น” หรือ “ใช้เป็น” สำหรับไอที แต่จะเห็นเป็นแค่เพียงการบริการที่มีความสำคัญเท่านั้น” ก่ลาวโดย คริส มอริส ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ด้านเทคโนโลยีคลาวด์และเซอร์วิส ประจำ ไอดีซี เอเชียแปซิฟิก
 
ซึ่งสิ่งนี้กำลังหมายความว่า หน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญของ ซีไอโอ จะขยายขอบเขตกว้างขึ้นไปจากเดิม ที่ทำหน้าที่ส่วนใหญ่ในการตรวจสอบผู้ให้บริการในแง่ของประสิทธิภาพการทำงานและการปฏิบัติตามข้อตกลง บทบาทของ ซีไอโอในอนาคตจะมุ่งเน้นเชิงธุรกิจมากขึ้น และจะเน้นเกี่ยวกับการบริหารสัญญาและการสร้างความสัมพันธ์ ดังนั้นเรื่องเทคโนโลยีสำหรับซีไอโอนั้นกำลังจะมีความสำคัญน้อยลงทุกที” คริส กล่าวเสริม
 
อย่างไรก็ตามในขณะที่เทคโนโลยีอาจจะไม่ได้เป็นจุดโฟกัสของแผนงานนี้ แต่เทคโนโลยีก็ยังเป็นสิ่งจำ เป็นอย่างแท้จริงเพื่อทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็น คลาวด์ส่วนตัว คลาวด์ประเภทไฮบริด หรือ คลาวด์สาธารณะ หรือแม้กระทั่งบนแพลตฟอร์มของไอทีแบบดั้งเดิม เทคโนโลยีก็ยังเป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงนี้ที่มีผลต่อไอทีที่กำลังถูกมองว่าไม่ก่อให้เกิดบริการใด ๆ
 
“ซีไอโอทั้งหลายในวันนี้ควรจะมุ่งเน้นไปที่ทางเลือกของพวกเขาว่า ไอทีสามารถช่วยองค์กรให้บรรลุถึงเป้าหมายทางธุรกิจได้อย่างไร การประยุกต์ใช้ไอที แผนงานด้านไอที และ กลยุทธ์ด้านไอทีในวันนี้ควรจะมองว่าเป็นตัวจุดประกายในเรื่องใดได้บ้าง เมื่อระบบไอทีขององค์กรต่าง ๆ ต้องปรับเปลี่ยนมุมมองที่เคยเน้นหนักในเรื่องของเทคโนโลยีมาเป็นการบริหารในเชิงธุรกิจมากขึ้น ซีไอโอควรจะมุ่งไปที่การใช้ไอทีเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใต้แนวคิด [ไอทีแบบไร้เทคโนโลยี]” กล่าวโดย คลาวส์ มอร์เทนเซน หัวหน้ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยเทคโนโลยีเกิดใหม่ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
 
รายละเอียดเพิ่มในเรื่องดังกล่าวจะมีอยู่ในงานสัมมนา ’s Asia/Pacific Cloud for Business Conference 2011 งานสัมมนาประเด็นร้อนนี้จะถูกจัดขึ้นใน 11 หัวเมืองใหญ่ในแถบเอเชียแปซิฟิก เนื้อหาที่สำคัญของงานจะมุ่งไปที่ “การขจัดเทคโนโลยีออกจากไอที” สำหรับงานสัมมนาที่ฮ่กรุงเทพฯ จะจัดขึ้นที่ โรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ ในวันที่ 5 เมษายน 2554 หากท่านสนใจหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมของงานสัมมนาดังกล่าวนี้ ท่านสามารถเข้าค้นหาข้อมูลได้ที่ http://www..co.th/ businesscloud2011

View :1517
Categories: Press/Release Tags: ,

อัตราการใช้คลาวด์ คอมพิวติ้งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเติบโตรวดเร็วขึ้น

November 9th, 2010 No comments

วีเอ็มแวร์เผยผลการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูงฝ่ายธุรกิจและไอทีเกือบ 7,000 คนในเอเชีย-แปซิฟิก ชี้การปรับใช้คลาวด์คอมพิวติ้งเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา

วีเอ็มแวร์ อิงค์ (NYSE: VMW) ผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่นและโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสัดส่วนขององค์กรในเอเชีย-แปซิฟิกที่มองว่าเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง () มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจของตนเพิ่มขึ้นสองเท่าไปสู่ระดับ 83 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา โดยระดับสูงสุด 92 เปอร์เซ็นต์อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งที่นั่นตลาดไอทีมีการพัฒนาอย่างมาก

ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม 6,953 คนในช่วงเดือนกันยายน ซึ่งดำเนินการโดย Springboard Research ภายใต้การสนับสนุนของวีเอ็มแวร์ ชี้ว่า การปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์มีอัตราการขยายตัวรวดเร็วขึ้นใน 7 ตลาดทั่วเอเชีย-แปซิฟิกในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบริษัทขนาดใหญ่

ปัจจุบัน 59 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทในระดับภูมิภาคมีการใช้หรือวางแผนเกี่ยวกับระบบคลาวด์ เปรียบเทียบกับ 45 เปอร์เซ็นต์เมื่อ 6 เดือนที่แล้ว และ 22 เปอร์เซ็นต์ในปี 2552 องค์กรต่างๆ ในญี่ปุ่นและออสเตรเลียเป็นผู้นำในการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ โดย 36 เปอร์เซ็นต์ และ 31 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ กำลังดำเนินโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีคลาวด์ ส่วนอินเดียและจีนเป็นผู้นำในภูมิภาคนี้ในแง่ของแผนการปรับใช้ โดย 43 เปอร์เซ็นต์ และ 39 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ มีแผนที่จะปรับใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง

ในภูมิภาคอาเซียน สิงคโปร์ (23 เปอร์เซ็นต์) นำหน้ามาเลเซียและไทยเล็กน้อย (21 เปอร์เซ็นต์ทั้งสองประเทศ) ในแง่ของการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ แต่องค์กรในมาเลเซีย (39 เปอร์เซ็นต์) และไทย (39 เปอร์เซ็นต์) มีแผนที่จะปรับใช้ระบบคลาวด์ในสัดส่วนที่มากกว่าสิงคโปร์ ซึ่งอยู่ที่ 30 เปอร์เซ็นต์

องค์กรที่มีความรู้ด้านไอทีมากที่สุด เช่น ผู้ให้บริการโทรคมนาคม และบริษัทเทคโนโลยี เป็นผู้นำในการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ รวมถึงการวางแผนเกี่ยวกับการปรับใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในอนาคต บริษัทขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่มีพนักงานมากกว่า 10,000 คน เป็นผู้นำด้านการปรับใช้ระบบคลาวด์ที่สัดส่วน 39 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับองค์กรที่มีพนักงาน 100 ถึง 999 คน ซึ่งมีอัตราการปรับใช้ 20 เปอร์เซ็นต์

เทคโนโลยีคลาวด์ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบไอทีในรูปแบบบริการ
สัดส่วนสูงสุดขององค์กรในญี่ปุ่น (86 เปอร์เซ็นต์), สิงคโปร์ (84 เปอร์เซ็นต์) และไทย (74 เปอร์เซ็นต์) เชื่อมโยงเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งเข้ากับระบบไอทีในรูปแบบบริการ ขณะที่ในออสเตรเลีย มาเลเซีย และอินเดีย บริษัทส่วนใหญ่ (80 เปอร์เซ็นต์, 78 เปอร์เซ็นต์ และ 75 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) เชื่อมโยงเทคโนโลยีคลาวด์เข้ากับแอพพลิเคชั่นออนดีมานด์ ส่วนในจีน 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าเทคโนโลยีคลาวด์จะรองรับการจัดสรรทรัพยากรสตอเรจและเครือข่ายในแบบออนดีมานด์

มร.ไมเคิล บาร์น รองประธานฝ่ายซอฟต์แวร์และการวิจัยในเอเชีย-แปซิฟิกของ Springboard Research กล่าวว่า “สำหรับผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ในเอเชีย-แปซิฟิก ไอทีในรูปแบบบริการนับเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด บริษัทเหล่านี้กำลังมองหาผู้ขายและที่ปรึกษาที่สามารถให้ความช่วยเหลือเพื่อใช้ประโยชน์จากบริการไอทีอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านโครงสร้างพื้นฐานและการจัดการระบบคลาวด์”

องค์กรส่วนใหญ่ (60 เปอร์เซ็นต์) ต้องการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์เนื่องจากความสามารถในการปรับขนาดตามความต้องการทางธุรกิจ และเหตุผลในอันดับรองลงมาได้แก่ การลดค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานฮาร์ดแวร์ และการเพิ่มความสะดวกในการจัดสรรทรัพยากร/เซิร์ฟเวอร์

การประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นปัจจัยระยะสั้นสำหรับการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งในสัดส่วน 57 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทในเอเชีย-แปซิฟิก และมีเพียง 37 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ได้ปรับใช้หรือมีแผนที่จะปรับใช้ระบบคลาวด์สำหรับการลงทุนในระยะยาว ซึ่งโดยมากแล้วเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีพนักงานมากกว่า 10,000 คน

ระบบคลาวด์แบบผสมผสานได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น
บริษัทที่ต้องการปรับใช้ทั้งระบบคลาวด์สาธารณะและระบบคลาวด์ส่วนตัวคิดเป็นสัดส่วน 38 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถาม ในขณะที่ราว 37 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าจะพิจารณาเฉพาะระบบคลาวด์ส่วนตัวเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มธุรกิจธนาคารและหน่วยงานราชการ โดยระบบพับลิค คลาวด์ยังคงได้รับการต่อต้านเป็นอย่างมาก ที่จริงแล้ว แม้กระทั่งในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ให้การตอบรับต่อระบบคลาวด์ดีที่สุดจากการสำรวจในครั้งนี้ ก็ยังมีองค์กรเพียงแค่ 15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ต้องการใช้ระบบพับลิค คลาวด์

ในอาเซียน การยอมรับระบบคลาวด์แบบผสมผสานมีสัดส่วนที่สูงกว่า 4 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเอเชีย-แปซิฟิก

สตอเรจ (58 เปอร์เซ็นต์) ถือเป็นเวิร์กโหลดอันดับ 1 ในภูมิภาคนี้สำหรับระบบไพรเวท คลาวด์ โดยญี่ปุ่น (62 เปอร์เซ็นต์) และจีน (61 เปอร์เซ็นต์) มีแนวโน้มที่จะปรับใช้สตอเรจบนระบบไพรเวท คลาวด์ ส่วนแอพพลิเคชั่นระดับองค์กรบนระบบคลาวด์ตามมาเป็นอันดับ 2 ที่สัดส่วน 49 เปอร์เซ็นต์

ในแง่ของแผนการปรับใช้ 93 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า การปรับใช้ระบบคลาวด์ในอนาคตจะครอบคลุมการประชุมผ่านเว็บ, IM, การทำงานร่วมกัน และอีเมล

มร.แอนดรู ดัทตัน รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่นของ วีเอ็มแวร์ กล่าวว่า “เป็นที่ชัดเจนว่าแวดวงธุรกิจมีความสนใจเป็นพิเศษในระบบคลาวด์แบบผสมผสาน โดยสิ่งสำคัญก็คือ องค์กรต่างๆ ต้องการที่จะเข้าใช้แพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ รวมถึงรูปแบบการจัดการร่วมกันและบริการแอพพลิเคชั่นที่เชื่อมโยงระบบไพรเวท คลาวด์และพับลิค คลาวด์เข้าด้วยกัน เพื่อนำเสนอระบบคลาวด์ที่สามารถทำงานร่วมกันอย่างกลมกลืน รองรับการใช้งานข้อมูลและแอพพลิเคชั่นทุกที่ทุกเวลา”

ความท้าทายสำคัญสำหรับการปรับใช้ระบบคลาวด์คือเรื่องความปลอดภัย
การผนวกรวมเทคโนโลยีคลาวด์เข้ากับระบบที่ใช้งานอยู่ยังคงถูกขัดขวางด้วยอุปสรรคสำคัญ นั่นคือ ความกังวลใจในเรื่องความปลอดภัย โดย 46 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าความปลอดภัยคืออุปสรรคที่สำคัญที่สุด

ในตลาดใหม่ ปัจจัยหลักที่ยับยั้งขัดขวางการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ก็คือ องค์กรต่างๆ ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ จากความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม 44 เปอร์เซ็นต์ในจีน, 40 เปอร์เซ็นต์ในมาเลเซีย และ 40 เปอร์เซ็นต์ในไทย เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยระดับภูมิภาคที่ 36 เปอร์เซ็นต์

ผลลัพธ์ดังกล่าวบ่งชี้ว่า การใช้โซลูชั่นคลาวด์ที่อ้างอิงมาตรฐาน และการให้ความรู้ ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่จะกระตุ้นการปรับใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในเอเชีย-แปซิฟิก

เวอร์ช่วลไลเซชั่นคือรากฐานของคลาวด์คอมพิวติ้ง
องค์กรต่างๆ ในเอเชีย-แปซิฟิก (59 เปอร์เซ็นต์) ระบุว่าโครงสร้างพื้นฐานเวอร์ช่วลไลเซชั่นคือส่วนประกอบสำคัญสำหรับคลาวด์คอมพิวติ้ง

ดัทตันอธิบายถึงความเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีทั้งสอง โดยกล่าวว่า “เวอร์ช่วลไลเซชั่นช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถแยกแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจและข้อมูลสำคัญๆ ออกจากระบบฮาร์ดแวร์ที่รองรับ และในทางกลับกัน ก็นับเป็นวิธีที่รวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับระบบคลาวด์ องค์กรในเอเชีย-แปซิฟิกตระหนักถึงความเป็นจริงข้อนี้กันมากขึ้น และพยายามที่จะใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากการลงทุนในเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่น”

การปรับใช้เวอร์ช่วลไลเซชั่นในเอเชีย-แปซิฟิกมีอัตราสูงที่สุดในออสเตรเลีย (87 เปอร์เซ็นต์) และญี่ปุ่น (82 เปอร์เซ็นต์) และเมื่อแบ่งตามภาคธุรกิจ จะพบว่ามีการปรับใช้เวอร์ช่วลไลเซชั่นในธุรกิจประกันภัยมากที่สุด (82 เปอร์เซ็นต์) ตามมาด้วยธุรกิจธนาคาร/บริการด้านการเงิน (76 เปอร์เซ็นต์)

ประเทศไทย (67 เปอร์เซ็นต์), สิงคโปร์ (65 เปอร์เซ็นต์) และมาเลเซีย (65 เปอร์เซ็นต์) ตามด้วยออสเตรเลียและญี่ปุ่นในเรื่องการปรับใช้เทคโนโลยีในปัจจุบัน ในขณะที่ความแพร่หลายของ เวอร์ช่วลไลเซชั่นในอาเซียนอยู่ที่ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์

บริษัทส่วนใหญ่ในเอเชีย-แปซิฟิกใช้เวอร์ช่วลไลเซชั่นสำหรับเซิร์ฟเวอร์และดาต้าเซ็นเตอร์ โดยหลายๆ องค์กรมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากเวอร์ช่วลไลเซชั่นเพื่อรองรับการรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินงานและการกู้คืนระบบเมื่อเกิดภัยพิบัติ

โอกาสการเติบโตที่สำคัญที่สุดสำหรับเวอร์ช่วลไลเซชั่นในเอเชีย-แปซิฟิกอยู่ที่ระบบประมวลผลสำหรับผู้ใช้ แม้ว่าองค์กรส่วนใหญ่จะระบุว่าเดสก์ท็อปเวอร์ช่วลไลเซชั่นมีความสำคัญน้อยมากต่อภารกิจขององค์กร

อย่างไรก็ดี ผู้ใช้งานอาจได้รับประโยชน์ที่สำคัญจากแนวทางใหม่สำหรับระบบคอมพิวติ้ง ซึ่งมีการทำเวอร์ช่วลไลซ์เดสก์ท็อป ด้วยการแยกระบบปฏิบัติการ ข้อมูลส่วนตัว และแอพพลิเคชั่นออกจากกัน ดังนั้นจึงช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการนำเสนอแอพพลิเคชั่นและข้อมูลให้แก่ผู้ใช้ทุกที่ทุกเวลาที่ผู้ใช้ต้องการบนทุกอุปกรณ์

ดัทตัน กล่าวว่า “เดสก์ท็อปเวอร์ช่วลไลเซชั่นรองรับการบริการตนเอง (self-service) สำหรับผู้ใช้จำนวนมาก และนับเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้องค์กรยุคใหม่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น สามารถปรับขนาดได้อย่างเหมาะสม และตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้อย่างฉับไว”

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ vForum ของวีเอ็มแวร์ และผลการสำรวจความคิดเห็นของ Springboard โปรดเยี่ยมชมพอร์ทัลสื่อประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่นของวีเอ็มแวร์
http://www.vmwareapjmedia.com/

View :1491
Categories: Press/Release Tags: ,