Archive

Posts Tagged ‘SAS’

การ์ทเนอร์จัดอันดับ “ แซส ” อยู่ในกลุ่มผู้นำแพลตฟอร์มระบบธุรกิจอัจฉริยะ

June 28th, 2011 No comments

บริษัท ผู้นำตลาดซอฟต์แวร์และบริการด้านการวิเคราะห์ เชิงธุรกิจ เปิดเผยว่า บริษัท การ์ทเนอร์ อิงค์ ได้จัดอันดับให้เป็นบริษัท อยู่ในกลุ่มผู้นำ ด้านแพลตฟอร์มระบบธุรกิจอัจฉริยะหรือบีไอ ( Business Intelligence Platforms) ในรายงานแมจิก ควอดแรนท์ ( Magic Quadrant ) ฉบับล่าสุด 1

แซส ได้รับการอันดับให้อยู่ในกลุ่มผู้ค้าที่บริษัท การ์ทเนอร์ ระบุว่า “มีความแข็งแกร่งอย่างมากในด้านแพลตฟอร์มระบบธุรกิจอัจฉริยะ ( BI ) ที่มีความสามารถอย่างครอบคลุม อีกทั้งยังสามารถนำเสนอการปรับใช้โซลูชั่นที่สนับสนุนกลยุทธ์ BI ได้ทั้งองค์กร โดยผู้นำที่ติดอันดับจะต้องสามารถสื่อข้อเสนอทางธุรกิจได้โดนใจผู้ซื้อ และยังต้องประสบความสำเร็จและสามารถให้บริการลูกค้าได้ในระดับโลก”
” นอกจากรายงานของการ์ทเนอร์แล้ว บรรดาลูกค้าของแซส ยังจะเป็นผู้ตรวจสอบกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ บริการ และวิสัยทัศน์ของเราตลอดเวลาอีกด้วย” นาย จิม เดวิส รองประธานอาวุโสและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด (ซีเอ็มโอ) บริษัท แซส กล่าว และว่า “ซอฟต์แวร์ของเราพัฒนาขึ้นจากพื้นฐานของการวิเคราะห์ที่ดีเยี่ยมและได้รับการปรับใช้มากที่สุดในอุตสาหกรรม ฐานลูกค้าของเราครอบคลุมถึงผู้ที่ประสบความสำเร็จจำนวนมากในการผูกอนาคตขององค์กรไว้กับเทคโนโลยี ® ”

บริษัท แซส ยังคงเดินหน้าสร้างและนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพให้กับ ลูกค้า ทั่วโลก โดยล่าสุดบริษัทได้นำเสนอประสิทธิภาพจาก SAS BI ให้กับผู้ใช้ Microsoft Outlook ซึ่งเป็นโปรแกรมอีเมลทางธุรกิจที่มีการใช้งานมากที่สุดในโลก โดยลูกค้าจะได้รับความสะดวกอย่างที่สุดเมื่อใช้ แอพพลิเคชั่น Microsoft Office รวมถึง Outlook ด้วย กล่าวคือ สามารถเรียกใช้รายงานและดึงข้อมูลสำหรับการตัดสินใจที่สำคัญได้โดยไม่ต้องออกจากการใช้งานแอพพลิเคชั่นดังกล่าว

ด้วยขีดความสามารถที่มีอยู่ใน SAS Business Analytics Framework  ทำให้ SAS Business Intelligence  สามารถช่วยองค์กรตอบคำถามที่ซับซ้อนและผลักดันให้ประสบความสำเร็จสูงสุดได้ เทคโนโลยีที่ครอบคลุมนี้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ทุกระดับ ได้แก่ ผู้บริหารระดับซี      ( C-level executives) ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญทางธุรกิจแถวหน้า และนักวิเคราะห์ที่มีทักษะสูงไปจนถึงผู้ใช้ปกติทั่วไป

SAS Business Analytics Framework ประกอบด้วย BI, การผสานรวมข้อมูล, การวิเคราะห์ขั้นสูง และโซลูชั่นธุรกิจทั่วไปและเฉพาะอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างมุมมองสำหรับการดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ด้วยเทคโนโลยีหลักที่เข้ามาเสริมความสามารถ เช่น SAS Enterprise BI Server ทำให้บริษัท แซส สามารถนำเสนอเทคโนโลยีและโซลูชั่นแบบครบวงจรได้อย่างครอบคลุม

นายทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า

“ ที่ผ่านมาแพลตฟอร์มระบบธุรกิจอัจฉริยะของแซสได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีจากองค์กรชั้นนำมากมายในหลากหลายอุตสาหกรรม และในปีนี้เรา ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นอีกครั้งว่าเทคโนโลยีของแซสเป็นเทคโนโลยีที่สามารถช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพการการจัดอันดับของการ์ทเนอร์ ”

View :1654

แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) ตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดระบบวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ เผยผลประกอบการปี 53 ขยายตัว 44%

April 6th, 2011 No comments

กรุงเทพฯ 29 มีนาคม 2554 – ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) ผู้นำธุรกิจซอฟท์แวร์และบริการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ เผยผลประกอบการปี 53 พุ่ง 44% ได้อานิสงส์จากการที่องค์กรภาครัฐและเอกชนเห็นความสำคัญของระบบวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจขั้นสูงในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมคว้ารางวัลสำนักงานสาขาอันดับหนึ่งที่มีผลการดำเนินงานสูงสุดในกลุ่มประเทศที่มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดจากการจัดอันดับของแซส ระดับโลก พร้อมตั้งเป้ารายได้ปี 54 ขยายตัวต่อเนื่องเพิ่ม

ในปีที่ผ่านมา บริษัทแซสมีรายได้ทั่วโลกรวม 2,430 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นเงินไทย 73,900 ล้านบาท ซึ่งนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมาเป็นเวลา 35 ปี แซสมีผลประกอบการทั่วโลกเติบโตขึ้นต่อเนื่องทุกปี ตอกย้ำความเป็นผู้นำอันดับ 1 อย่างแท้จริงของแซสในตลาดซอฟท์แวร์และบริการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ

นายทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมา ตลาดวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงธุรกิจให้คำปรึกษาด้านความเสี่ยงและอาชญากรรมทางการเงินในประเทศไทยมีมูลค่ารวมกันกว่า 5,000 ล้านบาท เนื่องมาจากหน่วยงานต่างๆ ต้องการนำเทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจขั้นสูงมาประยุกต์ใช้งานมากขึ้น เพื่อประกอบการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจอย่างแม่นยำ โดยในปีที่ผ่านมาบริการของแซสถือว่าสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี จนมีผลประกอบการปี 53 ขยายตัวสูงถึง 44% ในจำนวนนี้เป็นรายได้จากลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยลูกค้ากลุ่มที่ครองสัดส่วนการใช้บริการแซส ประเทศไทยสูงสุดคือ กลุ่มลูกค้าการเงินการธนาคาร และธุรกิจประกันภัย คิดเป็น 42% รองลงมา ได้แก่ ธุรกิจโทรคมนาคม หน่วยงานราชการ และสถาบันการศึกษา

สำหรับในปี 2554 นี้ นายทวีศักดิ์มองว่าธุรกิจการเงินและธนาคาร จะยังคงมีการลงทุนด้านบริการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงอย่างต่อเนื่อง เพราะธุรกิจประเภทนี้มีอัตราการแข่งขันสูง จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือในการออกแบบสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ย และโปรโมชั่นต่าง ๆ ให้ตรงใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้มากที่สุด

“ในภาวะปัจจุบันที่เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วอยู่เสมอ ทำให้ทุกองค์กรต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา การตัดสินใจใดๆ ต้องอยู่บนพื้นฐานของการคาดการณ์ที่แม่นยำเที่ยงตรงโดยอาศัยเทคโนโลยีจัดการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ อย่างเป็นระบบ ทำให้ตลาดโซลูชั่นวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจในประเทศไทยช่วงหลายปีมานี้เติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก หลายองค์กรให้ความสนใจนำระบบนี้มาใช้ในหน่วยงาน เพราะเป็นประโยชน์ในการเจาะตลาดเป้าหมาย พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงใจกับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคมากขึ้น ควบคู่ไปกับการสรรหาระบบการจัดการความเสี่ยง และระบบตรวจสอบป้องกันการทุจริตที่มีประสิทธิภาพมาใช้ร่วมกัน”

นายทวีศักดิ์ชี้ว่า จากปี 2553 ที่ผ่านมา จะเห็นว่าเริ่มมีการรายงานข่าวอาชญากรรมทางการเงินสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งจากการฉ้อโกงโดยคนในเอง หรือจากกลุ่มมิจฉาชีพที่สรรหาวิธีการโกงด้วยรูปแบบต่าง ๆ นั้น สถาบันการเงินในประเทศไทยมีความตื่นตัวในการนำระบบตรวจสอบป้องกันการทุจริตไปใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้เกิดการมอนิเตอร์ของการทำงานทั้งระบบอย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นการป้องกันการโจรกรรมข้อมูล การฟอกเงิน และการกระทำผิดในรูปแบบต่าง ๆ อย่างจริงจัง

“ในปี 2554 นี้ การมาของ 3 G เป็นเรื่องที่น่าจับตามอง เพราะผู้บริโภคจะได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว โดยข้อมูลนั้น ๆ จะถูกคัดกรองและส่งให้แก่ผู้บริโภคแบ่งเป็นรายบุคคล ทำให้เกิดการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ฉับไว ทั้งนี้ในส่วนของการทำธุรกรรมทางการเงิน ก็เช่นกัน จะมีการกระทำผิดในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น จากตัวเลขการฉ้อโกงในระดับ 10 ล้าน – 100 ล้านบาท อาจสูงขึ้นเป็นหลักพันล้านบาทได้ ซึ่งนอกจากสถาบันการเงินจะมีการวางระบบป้องกันอย่างจริงจังแล้ว ตัวผู้บริโภคเองก็จำเป็นต้องอ่านข้อมูลหรือตรวจสอบโปรโมชั่นล่อใจต่าง ๆ อย่างมีสติด้วยเช่นกัน”

ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมาแซส ประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการนำเสนอนวัตกรรมเทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจใหม่ๆ สู่ตลาดไทย เพื่อสร้างขีดความสามารถการแข่งขันแก่องค์กร อาทิ โปรแกรมด้านการกำกับดูแลการบริหารจัดการความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ (® Enterprise Governance, Risk and Compliance: GRC) และโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลจากสื่อสังคม (® Social Media Analytics) ที่กำลังมีบทบาทอย่างมากในเชิงธุรกิจ

ปัจจุบันแซส ประเทศไทย มีลูกค้าชั้นนำมากมาย อาทิ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่เลือกใช้โซลูชั่นของแซสพัฒนาระบบป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน ระบบบริหารจัดการทรัพย์สินและหนี้สิน พร้อมทั้งโปรแกรมเครดิต สกอร์ริ่ง รวมถึงบริษัทซิกน่า ประกันภัย เลือกใช้โปรแกรมระบบการวิเคราะห์ข้อมูลสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น และกลุ่มบริษัทแอกซ่าที่เลือกใช้โซลูชั่นวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจประกอบการกำหนดราคาและการปฏิบัติตามกฎหมาย

สำหรับทิศทางธุรกิจปี 2554 แซส ประเทศไทยยังคงให้ความสำคัญกับการกระชับความสัมพันธ์อันดีกับบรรดาคู่ค้าท้องถิ่นและระดับโลก รวมถึงพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของทีมงาน โดยยึดถือหลัก “ความเป็นเลิศในการให้บริการ” ” สนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าด้วยความรวดเร็ว ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการใช้งานผลิตภัณฑ์ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น ไปพร้อมๆ กับนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ออกสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอ โดยทางบริษัทวางแผนที่จะเจาะกลุ่มลูกค้าภาครัฐให้มากยิ่งขึ้น และคาดการณ์ว่ารายได้โดยรวมจะเพิ่มขึ้นอีกอีกเท่าตัวเมื่อเทียบกับรายได้ในปี 2553

และเพื่อฉลองความสำเร็จครบรอบ 10 ปีของบริษัทแซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) ทางบริษัทยังมีโครงการจัดงานเสวนา SAS Forum ขึ้นในปีนี้ด้วย โดยจะเชิญผู้นำในธุรกิจระบบวิเคราะห์ข้อมูลมาร่วมพูดคุยกันและยังถือเป็นโอกาสอันดีที่จะแสดงศักยภาพและความสำเร็จในธุรกิจนี้ของประเทศไทยให้นานาชาติได้เห็น

การเติบโตอย่างรวดเร็วของบริษัทแซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) ทำให้ในปี 2553 ทางบริษัทได้รับคัดเลือกเป็นสำนักงานสาขาที่มีผลการดำเนินงานสูงสุดในกลุ่มประเทศที่มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดจากการจัดอันดับของแซสระดับโลก

นอกจากความสำเร็จข้างต้น ในปีที่ผ่านมาบริษัทแซสซึ่งเป็นบริษัทแม่ ยังคว้ารางวัลอันดับหนึ่งในกลุ่มรายชื่อ “100 บริษัทที่น่าทำงานที่สุด” แห่งปีจากนิตยสารฟอร์จูน โดยได้คะแนนดีเยี่ยมในเรื่องการดูแลความเป็นอยู่ของพนักงาน ซึ่งนับเป็นปีที่สองแล้วที่ทางบริษัทได้รับเกียรตินี้ เพราะแซสยึดมั่นในหลักการว่าความเป็นเลิศทางธุรกิจจะเกิดขึ้นได้ หากพนักงานทำงานอย่างมีความสุข มีสุขภาพกายแข็งแรง สร้างสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงานได้เป็นอย่างดี

View :1495
Categories: Press/Release Tags:

แซสเผยผลสำรวตหลายบริษัทมองข้ามสื่อสังคม

November 25th, 2010 No comments

การสำรวจของ เผย สื่อสังคมมีศักยภาพอย่างมหาศาลแต่กลับถูกหลายบริษัทมองข้าม

แม้ว่าสื่อสังคมจะมีศักยภาพอย่างมาก แต่ดูเหมือนว่าหลายบริษัทจะยังคงใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมได้ไม่เต็มที่นัก สื่อสังคมไม่เพียงเป็นช่องทางในการรับฟังลูกค้าเท่านั้น แต่เรายังสามารถวิเคราะห์ การสนทนาและเปลี่ยนข้อมูลที่ได้รับให้เป็นประโยชน์แก่ตัวเราได้อีกด้วย จะเห็นได้ว่าหลายองค์กรยังคง ยึดติดกับกรอบเดิมๆ ที่ใช้สื่อสังคมในลักษณะของการรับข้อมูลทางการตลาดเพียงทางเดียว แทนที่จะใช้ประโยชน์ให้เต็มที่จากโอกาสที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นการติดตามตรวจสอบ วิเคราะห์ และเข้าร่วมในการสนทนานับล้านกับกลุ่มผู้บริโภค

จากการสำรวจบริษัทต่างๆ จำนวน 2100 แห่ง โดยมีบริษัท ผู้นำในตลาดการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจได้ให้การสนับสนุนการสำรวจในครั้งนี้ พบว่า

* 75% ของบริษัทที่ตอบแบบสำรวจไม่ทราบว่า ลูกค้าที่สำคัญที่สุดกำลังพูดถึงบริษัทของเขาอยู่

* 31% ไม่เคยวัดประสิทธิภาพของสื่อสังคม

* มีเพียง 23% เท่านั้นที่ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์สื่อสังคม

* และ 7% กำลังผสานรวมสื่อสังคมเข้ากับกิจกรรมทางการตลาด

โดยรวมแล้ว บริษัทต่างๆ ยังคงพยายามค้นหาวิธีที่จะตรวจวัดและแสดงให้เห็นว่าสื่อสังคมที่มี ส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนการดำเนินงาน

ใช้งานอยู่แต่ไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

บริษัทกว่าครึ่งที่ตอบแบบสำรวจกำลังใช้งานสื่อสังคมอยู่ มีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่ทราบตำแหน่งที่อยู่ของลูกค้าที่คุณค่ายิ่งซึ่งกำลัง “พูดคุย” เกี่ยวกับตัวบริษัทอยู่ มีบริษัทเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่กำลังใช้เครื่องมือการวิเคราะห์สื่อสังคม และส่วนใหญ่ไม่มีความพยายามที่จะวิเคราะห์ความรู้สึกนึกคิดของลูกค้า มีเพียง 7% เท่านั้นที่กำลังพยายามผสานรวมสื่อสังคมเข้ากับกลยุทธ์ทางการตลาดโดยรวม เช่น การบริหารจัดการแคมเปญ การวิเคราะห์ร้านค้าปลีก ซีอาร์เอ็ม และระบบธุรกิจอัจฉริยะ

“บริษัทต่างๆ กำลังเสียโอกาสในการทำตลาดให้กับผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนการบริหารจัดการชื่อเสียงของตนด้วย” นายทอม ดาเวนพอร์ต นักเขียนชื่อดังและผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ กล่าว “พวกเขาไม่รู้ว่ามีใครบ้างที่กำลังพูดถึงแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการของตน และยังไม่สนใจความรู้สึกนึกคิดทั้งด้านบวกหรือลบ ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงไม่สามารถรับรู้ถึงอิทธิพลของบางคนที่กำลัง ชื่นชมหรือวิพากษ์วิจารณ์ผลิตภัณฑ์ของพวกเขา อีกทั้งยังไม่สามารถรับรู้ได้ว่าลูกค้าจะเข้าใจในแบรนด์ของตนผ่านข้อความ วิดีโอ และอื่นๆ ที่สื่อออกไปหรือไม่ โดยสรุปแล้ว พวกเขากำลังจะสูญเสียโอกาสทางการตลาดไปนั่นเอง”

มุมมองกับบทพิสูจน์จากกลุ่มผู้ใช้

ดูเหมือนว่าองค์กรจำนวนมากจะให้ความสำคัญกับ “การส่งเสียง” มากกว่าจะทำความเข้าใจและ มีส่วนร่วมในการสนทนาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับตัวพวกเขาเอง ครึ่ง หนึ่งของบริษัทที่ใช้สื่อสังคมมองเห็นถึงการตื่นตัวที่เพิ่มขึ้นขององค์กร และเห็นว่าผลิตภัณฑ์และบริการเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง แม้ว่า 1 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสำรวจคิดว่าสื่อสังคมใช้การได้ดี แต่ก็ยังมีการใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ในระดับต่ำอยู่ ขณะที่อีก 30% ต้องการเพิ่มการจราจรไปยังเว็บไซต์ของตน แต่มีเพียง 29% เท่านั้นที่รายงานว่ามีการเก็บรวบรวมและติดตามคำวิจาณ์ของลูกค้าทางออนไลน์ ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ายังมีข้อดีของสื่อสังคมอีกมากที่ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

แม้ว่า 23% จะยอมรับว่าสื่อสังคมช่วยพวกเขาติดตามตรวจสอบสิ่งที่กำลังถูกกล่าวถึงได้ แต่ก็มีเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่บอกว่าการวัดความถี่ของการสนทนาเกี่ยวกับองค์กรนั้นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในปัจจุบัน และมีเพียง 18% เท่านั้นที่สามารถระบุข้อคิดเห็นด้านบวกและลบได้

คุณประโยชน์ที่น่าสนใจ

เมื่อพิจารณาถึงอนาคต 36% ของบริษัทที่ตอบแบบสำรวจมีแผนจะนำการวิเคราะห์ความรู้สึกนึกคิดของลูกค้ามาใช้ในอีกสองถึงสามปีข้างหน้า 33% กำลังวางแผนโซลูชั่นการติดตามตรวจสอบทางสังคม 27% ต้องการการวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ และ 26% จะวัดผลกระทบของการสนทนาออนไลน์ หลายรายหวังที่จะผสานรวมการติดตามตรวจสอบสื่อสังคมเข้ากับโซลูชั่นการตลาดอื่นๆ เพื่อทำความเข้าใจไม่เพียงแต่สิ่งที่กำลังถูกกล่าวถึงเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงผู้ที่กำลังพูดและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นด้วย

เมื่อเดือนกรกฎาคม 2553 บริการด้านการวิเคราะห์ของ ฮาร์วาร์ด บิสิเนส รีวิว (Harvard Business Review Analytic Services) ได้ทำการสำรวจสมาชิกจดหมายข่าวอิเล็กทรอนิกส์และสมาชิกของนิตยสารฮาร์วาร์ด บิสิเนส รีวิว จำนวน 2100 รายผ่านทางการสำรวจออนไลน์ นอกจากนี้ ยังทำการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพอย่างละเอียดกับอีก 12 รายผ่านทางโทรศัพท์ด้วย สำหรับรายงานฉบับสมบูรณ์ “More Than Talk: The Search for Impact and Analytics of Social Media Use” (มากกว่าพูด: การค้นหาผลกระทบและการวิเคราะห์การใช้สื่อสังคม) มีพร้อมให้บริการบนเว็บไซต์ของบริษัท แซส

สำหรับการเปิดเผยข้อมูลในครั้งนี้มีขึ้นในการประชุม The Premier Business Leadership Series ในลาสเวกัส ซึ่งเป็นงานประชุมนานาชาติที่จัดโดยบริษัท แซส ภายในงานมีผู้เข้าร่วมทั้งในภาครัฐและเอกชนกว่า 600 ราย ที่จะร่วมกันแบ่งปันความคิดและความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่สำคัญทางธุรกิจ

View :1707
Categories: Press/Release Tags: ,

8 สิ่งจำเป็นในการดำเนินวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ

November 6th, 2010 No comments

ต้องค้นหาให้ได้ว่า การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจสามารถทำอะไรให้คุณได้บ้าง
และจะเริ่มต้นอย่างไร
ธนาคารชั้นนำต่างๆ ใช้การวิเคราะห์ทางธุรกิจเพื่อคาดการณ์และป้องกันการฉ้อโกงสินเชื่อ ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถประหยัดเงินได้นับล้าน ขณะที่ผู้ค้าปลีกใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจเพื่อคาดการณ์สถานที่ตั้งที่ดีที่สุดในการเปิดร้านค้าและการจัดการด้านสต็อกสินค้า ส่วนบริษัทยาก็ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจเพื่อให้ได้ตัวยารักษาโรคออกสู่ตลาดรวดเร็วยิ่งขึ้น หรือแม้แต่ทีมกีฬาก็กำลังใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจเพื่อกำหนดกลยุทธ์การแข่งขันและตั้งราคาตั๋วให้เหมาะสมที่สุด
แม้ว่าการใช้งานของธุรกิจเหล่านี้จะเป็นเพียงการบอกเล่าเรื่องราวบางส่วนเท่านั้น แต่จะเกิดอะไรขึ้นกับบริษัทชั้นนำของตลาดที่หันมาให้ความสนใจกับการปรับใช้ดังกล่าว
พวกเขามีความมุ่งมั่นที่จะปรับใช้บุคลากร เทคโนโลยี และกระบวนการทางธุรกิจในแนวทางใหม่ๆ ตลอดจนยึดมั่นต่อวัฒนธรรมที่ตั้งอยู่บนฐานของการตัดสินใจตามข้อเท็จจริง ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถทำนายและแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนทางธุรกิจได้อย่างครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร ในการนำแนวทางด้านการวิเคราะห์เข้ามาใช้ จะช่วยให้บริษัทเหล่านี้สามารถระบุลูกค้าที่สามารถทำกำไรได้สูงสุด ร่นระยะเวลาในการนำผลิตภัณฑ์นวัตกรรมออกสู่ตลาด ปรับห่วงโซ่อุปทานและราคาให้เหมาะสมสูงสุด และสามารถระบุสิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนที่แท้จริงของประสิทธิภาพทางการเงินได้
คุณก็สามารถทำได้เช่นกัน เพียงเริ่มต้นใช้งานการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจด้วยกาทำ 8 ข้อ ที่จำเป็นดังต่อไปนี้
1. ปรับการไหลและความยืดหยุ่นของข้อมูล
ข้อมูลคุณภาพสูงต้องได้รับการผสานรวมและเข้าถึงได้ครอบคลุมทั้งองค์กรของคุณ และควรมีโครงสร้างที่ยืดหยุ่นเพื่อให้นักวิเคราะห์ของคุณสามารถค้นหามุมมองใหม่ๆ และจัดเตรียมข้อมูลที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถนำไปใช้เพื่อปรับกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การเสริมความแข็งแกร่งและปรับโครงสร้างหลักของข้อมูลภายในองค์กรของคุณให้ยืดหยุ่นถือเป็นสิ่งที่คุ้มค่าอย่างยิ่งโดยเฉพาะเมื่อคุณจำเป็นต้องเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ หรือความต้องการของผู้ถือหุ้น
2. เลือกเทคโนโลยีที่ถูกต้องเหมาะสม
องค์กรต้องมีการวิเคราะห์และการบริหารจัดการข้อมูลที่เอื้อต่อการตัดสินใจที่ดีขึ้น ขจัดคลังข้อมูล เทคโนโลยี หรือความเชี่ยวชาญที่ไม่มีความจำเป็นทิ้งไป โดยเทคโนโลยีของคุณควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
– มีการจัดเก็บข้อมูลที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนธุรกิจหลัก และการค้นหามุมมองใหม่ๆ
– มีการผสานข้อมูลและซอฟต์แวร์ที่ดูแลคุณภาพข้อมูล
– มีซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์พร้อมเครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยในการปรับใช้ สำรวจ และรายงานแบ่งปันผลในแนวทางที่เข้าใจได้ง่าย
– มีการรวมแอพพลิเคชันด้านการวิเคราะห์ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่ระบุได้อย่างรวดเร็ว
เมื่อจะต้องเลือกเทคโนโลยีมาใช้งาน จะต้องพิจารณา “ความเสี่ยงที่มีต่อมูลค่า” (risk-to-value) นั่นคือ เทคโนโลยีนี้สามารถนำไปใช้เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ได้หรือไม่ และการได้มาซึ่งเทคโนโลยีที่เหมาะสมนั้นไม่จำเป็นต้องยกเครื่องระบบใหม่ทั้งหมด
3. พัฒนาความสามารถที่คุณต้องการ
พัฒนาหรือเปิดรับผู้ที่ความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์เพื่อค้นหาและสำรวจข้อมูลที่เหมาะสมต่อการสร้างมุมมองใหม่ๆ ในการดำเนินงานวิเคราะห์นั้น นักวิเคราะห์จะต้องสามารถสื่อสารกับผู้นำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเชื่อมโยงการวิเคราะห์กับการตัดสินใจหลักๆ และส่วนที่สำคัญที่สุดได้
4. ความต้องการในการตัดสินใจตามข้อเท็จจริง
บริษัท ด้านการวิเคราะห์แห่งหนึ่งนำเสนอการตัดสินใจที่ครอบคลุม โดยที่การตัดสินใจบางอย่างอาจเป็นเรื่องเฉพาะ บางอย่างอาจเป็นไปโดยอัตโนมัติ และบางอย่างอาจสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งในขั้นตอนการตัดสินใจโดยทั่วไปแล้ว สิ่งสำคัญคือจะต้องมีข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจดังกล่าวทั้งหมด บรรดาผู้จัดการมักจะส่งเสริมให้เกิดการถามคำถามที่เหมาะสมเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อให้ได้มุมมองที่ดีที่สุด และการนำผลลัพธ์ที่ได้ไปปรับใช้ก็ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้ การปรับใช้ผลลัพธ์สามารถเกิดขึ้นได้ผ่านระบบการดำเนินงานต่างๆ เช่น แอพพลิเคชั่นการบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ หรือแอพพลิเคชั่นการตรวจจับการฉ้อโกงแบบเรียลไทม์ ไปจนถึงแดชบอร์ดแบบโต้ตอบได้ การเคลื่อนที่ของข้อมูล และภายในฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดก็ตามจะต้องแน่ใจให้ได้ว่าผู้มีอำนาจตัดสินใจมีข้อมูลที่เหมาะสมเมื่อจำเป็นต้องใช้งาน (และสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด)

5. กระบวนการต้องโปร่งใส
ความโปร่งใส หมายถึงการเปิดกว้าง การสื่อสาร และสำนึกแห่งความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้โครงการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจประสบผลสำเร็จได้ โดยมูลค่าที่ได้จากการลงทุนในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจนั้น จะต้องสามารถมองเห็นและวัดผลได้ นอกจากนี้ การรู้ว่านักวิเคราะห์คือใครและสิ่งที่พวกเขากำลังค้นหาเพื่อให้ประสบความสำเร็จนั้น ควรที่จะมีการสื่อสารต่อภาคธุรกิจอย่างชัดเจน เช่นเดียวกับข้อมูลที่ได้มา
6. พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิเคราะห์
สร้างแนวทางของทีมงานที่ทำงานเป็นศูนย์กลาง นั่นคือ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิเคราะห์ (Analytical Center of Excellence: ACE) ซึ่งส่งเสริมการใช้การวิเคราะห์และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดที่มีความสอดคล้องกัน แม้ว่าการปรับใช้ ACE ของคุณจะขึ้นอยู่กับภาวะและความต้องการขององค์กรคุณเป็นหลัก แต่การปรับใช้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดจะช่วยจัดการกับองค์ประกอบทั้งหมดของโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิเคราะห์ขององค์กร ซึ่งประกอบด้วยบุคลากร กระบวนการ เทคโนโลยี และวัฒนธรรมเพื่อสนับสนุน กลยุทธ์และการดำเนินงานทางธุรกิจได้
7. แปลงโฉมวัฒนธรรม
วัฒนธรรมการวิเคราะห์ที่แข็งแกร่งจะต้องได้รับการสนับนสนุนจากผู้บริหารและส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้น การลองผิดลองถูกควรได้รับการพิจารณาให้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ และพนักงานควรมีสิทธิ์ดำเนินการผิดพลาดได้เมื่อพวกเขาพยายามที่จะเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ

8. ทบทวนกลยุทธ์ของคุณอยู่เสมอ
คู่แข่งของคุณมักจะเดินตามแนวทางการวิเคราะห์เดียวกับคุณอยู่เสมอ การที่จะสามารถอยู่มีชเหนือคู่แข่งได้นั้นจึงจำเป็นต้องมีการทบทวนกลยุทธ์ และมีการพัฒนาทักษะตลอดจนความสามารถใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

เริ่มต้นเดี๋ยวนี้
ค้นหาคำถามสำคัญที่จำเป็นต้องได้รับคำตอบ และตรวจหาปัญหาที่ต้องมีการแก้ไข ตอบคำถามเหล่านั้น แก้ไขปัญหาดังกล่าว และสร้างมูลค่าให้เกิดขึ้นภายในองค์กร การสร้างชัยชนะเล็กๆ ให้เกิดขึ้นในธุรกิจ ระบบ หรือฝ่ายใดก็ตามอยู่เสมอ จะทำให้บริษัทของคุณกลายเป็นคู่แข่งสำคัญทางด้านการวิเคราะห์ได้ในที่สุด
บทความโดย นายทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท (ไทยแลนด์) จำกัด

View :1457
Categories: Press/Release Tags:

กระแสความต้องการการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ ผลักดันให้ “แซส” เติบโตมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

September 30th, 2010 No comments

ธุรกิจค้าปลีก อุตสาหกรรม ธนาคาร โทรคมนาคม และหน่วยงานภาครัฐ สามารถหาโอกาสทางธุรกิจ ลดความเสี่ยง และเพิ่มรายได้ได้

บริษัท ผู้นำด้านซอฟต์แวร์และบริการการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ มียอดจำหน่ายและการเติบโตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 เพิ่มขึ้นสูงมาก ด้วยรายได้รวมของซอฟต์แวร์เป็น 19% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2552

“ปริมาณของการนำซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจเข้ามาใช้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังแซงหน้าภูมิภาคอื่นๆ” นายแดน เวสเซ็ต รองประธานโครงการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ บริษัท ไอดีซี กล่าว และว่า “บริษัท ไอดีซี มองว่าการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในตลาดซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจเป็นผลมาจากซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจกลายเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยระบุปัญหาที่สำคัญได้เป็นอย่างดีภายใต้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน”

ในภูมิภาคเอเซีย แปซิฟิก มีหลายอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมนั้นๆ ต้องการให้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดถูกใช้ และมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังได้จำนวนงานที่มากขึ้นขณะที่รายจ่ายน้อยลง ทำให้การนำเอาซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจเข้ามาใช้กำลังขยายตัวอย่างมาก เนื่องจากได้รับการพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า สามารถช่วยบริษัทเหล่านี้ให้ได้รับมูลค่าเพิ่มขึ้นจากการลงทุนด้านไอทีทั้งในด้านการดำเนินงานหรือการเพิ่มผลผลิตของตน ด้วยการช่วยให้เกิดการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น

“ซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ (Business Analytics) เป็นได้มากกว่าซอฟต์แวร์” ดร.จิม กูดไนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (ซีอีโอ) บริษัท แซส กล่าว และว่า “การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ เป็นส่วนสำคัญ ในการช่วยด้านการปรับเปลี่ยนธุรกิจที่ดี ให้กลายเป็นธุรกิจที่ดีเยี่ยม ทำให้หน่วยงานภาครัฐสามารถดำเนินงานได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น ทำให้มีผลลัพธ์ที่ได้มีลักษณะเชิงนวัตกรรม มีกำไร และได้เปรียบด้านการแข่งขัน นี่ไม่มีเวทย์มนต์หรือการเล่นแร่แปรธาตุแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะ Business Analytics จะใช้ความสามารถทางสถิติ คณิตศาสตร์ และตัวเลขเพื่อช่วยในการดำเนินงานให้กับลูกค้าของเรา ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถให้บริการลูกค้าของตนเองได้ดียิ่งขึ้นด้วยตามลำดับ”

การวิจัยของบริษัท ไอดีซี คาดว่าการขยายตัวโดยรวมต่อปีของตลาดซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจทั่วโลกในอีกห้าปีต่อจากนี้จะอยู่ที่ระดับ 7.2% โดยเวสเซ็ต จากบริษัท ไอดีซี ระบุว่า “มีสามปัจจัยที่กำลังผลักดันให้เกิดการนำเอาซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจมาใช้เพิ่มขึ้น นั่นคือ การลงทุนขององค์กรในด้านคลังข้อมูล ความพร้อมใช้งานของโซลูชั่นการวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และการปรับใช้เครื่องมือข่าวกรองธุรกิจที่แพร่หลายสำหรับใช้ในการสืบค้นและจัดทำรายงานในหลายๆ ระดับขององค์กร”

จุดเด่นในภูมิภาค เอเซีย แปซิฟิก
บริษัท แซส ได้แก้ปัญหาให้กับธุรกิจจำนวนมากด้วยผลลัพธ์ที่สามารถตรวจวัดได้ ส่งผลให้รายได้ของบริษัท แซส ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยผลประกอบการในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 ของบริษัท แซส ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก มีความน่าสนใจ ดังนี้
ในญี่ปุ่น บริษัท แซส มีรายได้เพิ่มขึ้น 16% โดยบริษัทต่างๆ อย่าง บริษัท เคดีดีไอ ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมรายใหญ่อันดับสองของญี่ปุ่น ได้เห็นความสำคัญของซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจอย่างมาก จะเห็นได้ว่าบริษัท เคดีดีไอ ได้เลือกใช้ SAS Customer Experience Analytics และ SAS Customer Link Analytics เพื่อทำความเข้าใจกับลูกค้าของตนได้ดียิ่งขึ้น
บริษัท แซส ในออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นมากกว่า 20% โดยบริษัทผู้ให้บริการทางการเงินต่างๆ เช่น ธนาคารเพื่อการอุตสาหกรรมแห่งเกาหลี (Industrial Bank of Korea) เลือกใช้แซสเพื่อสร้างโมเดลการทำนายที่ดียิ่งขึ้น
ขณะที่ในอินเดีย บริษัท แซส มองเห็นสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ด้วยรายได้รวมของซอฟต์แวร์ที่เพิ่มขึ้น 75% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ อันเป็นผลมาจาก รัฐบาลอินเดียได้เดินหน้าลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการใช้จ่ายอย่างมากในส่วนของหน่วยงานภาครัฐ
และสุดท้าย ในจีน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจแห่งหนึ่งของโลก ก็ยังคงมีผลประกอบการเชิงบวก โดยรายได้รวมซอฟต์แวร์ของบริษัท แซส ในจีน เพิ่มขึ้น 35% ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ อันเป็นผลมาจากการที่บริษัทต่างๆ อย่าง ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งกวางตุ้ง (Guangdong Development Bank) และบริษัท เซียงไฮ้ เจเนอรัล มอเตอร์ส (Shanghai General Motors) ได้พิจารณาเห็นถึงความสามารถของ SAS Business Analytics ในการเปลี่ยนข้อมูลดิบให้มีมูลค่าและสามารถปรับใช้ประโยชน์ได้อย่างทันท่วงที
การใช้ซอฟต์แวร์ของบริษัท แซส ทำให้กระทรวงพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของฮ่องกง (Environmental Protection Department: EPD) สามารถดำเนินการจัดการลดมลพิษทางอากาศได้อย่างมาก
“เราใช้ซอฟต์แวร์ของแซสในการสร้างโมเดลทำนายคุณภาพทางอากาศและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบรรเทามลพิษทางอากาศที่ดีกว่า เพื่อให้ประชาชนในฮ่องกงสามารถหายใจรับอากาศที่สะอาด และ บริสุทธ์ได้” ดร.คริสโตเฟอร์ ฟัง เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของอีพีดี กล่าว

หลักการทำงานสู่ความสำเร็จ
SAS Business Analytics สามารถช่วยสนับสนุนวิสัยทัศน์แก่องค์กรต่างๆ ในการเปลี่ยนข้อมูลดิบที่มีจำนวนมหาศาลให้กลายเป็นการตัดสินใจที่ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รับมือกับการฉ้อฉล ให้บริการลูกค้า ปรับปรุงการทำงาน และอื่นๆ อีกมากมาย มูลค่าจากซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ธุรกิจมักจะได้รับกลับคืนมาภายในเวลาอันรวดเร็วที่ระดับสัปดาห์และเดือน ผลตอบแทนการลงทุนที่รวดเร็วนี้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ผลักดันให้ความต้องการในซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ธุรกิจเกิดการขยายตัวมากยิ่งขึ้น
ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลก โซลูชั่นธุรกิจทั่วไปของแซสสามารถช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยม เช่น การได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้นจากการใช้ลูกค้าสัมพันธ์ การปรับใช้เครือข่ายไอทีที่มีประสิทธิภาพสูง และห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน) การวัดและจัดการความเสี่ยง ตลอดจนการจัดวางกลยุทธ์ การเงิน และกำลังคน
ขณะที่โซลูชั่นธุรกิจเฉพาะของแซส สามารถจัดการกับงานสำคัญต่างๆ ได้อย่างครอบคลุมตั้งแต่การป้องกันการฟอกเงิน และการจัดการความยั่งยืน ไปจนถึงการวิเคราะห์สื่อสังคม การปรับราคาให้เหมาะสม และการทำนายความต้องการ
ทั้งนี้ SAS Business Analytics ประกอบด้วยการบริหารจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ และการสร้างระบบข่าวกรองธุรกิจ/การจัดทำรายงาน จะเห็นได้ว่าความสามารถในด้านการวิคราะห์ของแซสนั้นมีความโดดเด่นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น จากการวิจัยในตลาดธุรกิจการวิเคราะห์ขั้นสูงโดยบริษัท ไอดีซี พบว่าบริษัท แซส มีส่วนแบ่งตลาดทั่วโลก 34.7% มากกว่าคู่แข่งถึงสองเท่า[i]
ตัวอย่างเช่น บริษัท เทลสตรา ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ที่สดในออสเตรเลีย ได้เลือกใช้ซอฟต์แวร์ของบริษัท แซส เพื่อทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของลูกค้าให้ได้มากที่สุด จะเห็นได้ว่าการใช้ข้อมูลที่มีอยู่ร่วมกับซอฟต์แวร์ของแซส ทำให้บริษัท เทลสตรา สามารถดำเนินงานเชิงรุกได้ดียิ่งขึ้น ทั้งที่จริงๆ แล้วบริษัทอาจต้องสูญเสียรายได้จำนวนมากหลังจากที่รัฐบาลออสเตรเลียได้ประกาศให้มีบริการ คงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (mobile number portability) บริษัท เทลสตรา ได้วิเคราะห์ข้อมูลของตนและสร้างเป็นแคมเปญเพื่อรักษาฐานลูกค้าเป้าหมายให้คงอยู่ ซึ่งถือบทพิสูจน์ที่สำคัญถึงมูลค่าที่มีอยู่ใน SAS Business Analytics

[i] ที่มา: ไอดีซี, Worldwide Business Intelligence Tools 2009 Vendor Shares, เอกสารเลขที่ 223725, มิถุนายน 2553

View :1431
Categories: Press/Release Tags: ,

‘แซส’ เข้าซื้อกิจการ ‘เมมเม็กซ์’ ธุรกิจซอฟต์แวร์ด้านข่าวกรองในอังกฤษ

September 14th, 2010 No comments

เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในตลาดด้านความมั่นคงระดับชาติและการบังคับใช้กฎหมายที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว

บริษัท ผู้นำในตลาดซอฟต์แวร์และบริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุกิจ (Business Analytics) เข้าซื้อกิจการบริษัท เมมเม็กซ์ ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นการบริหารจัดการข่าวกรอง ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการข่าวกรอง เสริมความมั่นคงสาธารณะให้แข็งแกร่งขึ้น ตลอดจนป้องกันและยับยั้งอาชญากรรม การก่อการร้าย และภัยคุกคามอื่นๆ โดยบริษัทแห่งนี้มีฐานที่มั่นที่แข็งแกร่งอย่างมากในตลาดด้านการบังคับใช้กฎหมายและความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ

นายจิม กูดไนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (ซีอีโอ) บริษัท แซส กล่าวว่า บริษัท แซส เป็นผู้ที่มีบทบาทรายหนึ่งในตลาดด้านความมั่นคงแห่งมาตุภุมิและความปลอดภัยสาธาราณะ และบริษัทมีความมุ่งมั่นอย่างมากที่จะก้าวเข้าสู่การเป็นผู้นำระดับโลก “การเข้าซื้อบริษัท เมมเม็กซ์ ในครั้งนี้ ถือเป็นส่วนสำคัญของแนวทางระดับโลก ในการปรับปรุงข้อเสนอสำหรับตลาดด้านการบังคับใช้กฎหมาย ความยุติธรรมทางอาญา ความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ และข่าวกรองให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผมต้องการให้บริษัท แซส เป็นบริษัทแรก ที่หน่วยงานด้านการรักษาความปลอดภัยสาธารณะขอรับความช่วยเหลือ เกี่ยวกับการนำการวิเคราะห์ไปใช้ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านอาชญากรรมและการคุ้มครองพลเมืองของตน”

นายเอียน มาโนชา กรรมการบริหารของบริษัท แซส ในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ ซึ่งจะดำรงตำแหน่งเป็นประธานของบริษัท เมมเม็กซ์ กล่าวว่า “ในหลายๆ ประเทศนั้น ตลาดด้านการบังคับใช้กฎหมาย ความยุติธรรม ความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ และข่าวกรองทางการทหาร ได้ถูกแบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจน โดยแต่ละหน่วยงานจะเก็บรักษาข้อมูลของตนเอาไว้เอง ขณะนี้บริษัท แซส กำลังขยายขีดความสามารถให้ทุกหน่วยงาน สามารถแบ่งปันและใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะครอบคลุมทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลก ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างข้อมูลพยากรณ์และการป้องกันอาชญากรรมต่างๆ”

ทั้งนี้ บริษัท เมมเม็กซ์ ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองกลาวโกว์ สก็อตแลนด์ ได้รับการยอมรับและความเชื่อถือเป็นอย่างดีในชุมชนด้านการบังคับใช้กฎหมาย โดยมีลูกค้าระดับโลกหลายราย อาทิ สำนักงานตำรวจด้านการสำรวจและขนส่ง เบดฟอร์ดเชียร์, สำนักงานตำรวจแห่งรัฐเดลาแวร์ มิชิแกน นิวแฮมเชียร์ และเพนซินวาเนีย สำนักงานสืบสวนสอบสวนจอร์เจีย กลุ่มแจ้งเตือนล่วงหน้าเกี่ยวกับการก่อการร้ายเมืองแคนซัส ศูนย์การสนธิข่าวโอไฮโอตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานตำรวจประจำลอสแองเจอลิสและฟิลาเดลเฟีย ศูนย์ข่าวกรองแคลิฟอร์เนียกลาง สำนักงานตำรวจเบไลซ์ สำนักงานตำรวจรัฐอัลบาเนีย และสำนักงานคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรม รวมถึงศูนย์การสนธิข่าวสหรัฐ 13 แห่ง

การเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้ยังจะทำให้บริษัท แซส สามารถตอบสนองความต้องการของศูนย์การสนธิข่าว ( Fusion Center) ซึ่งเป็นการรวมทรัพยากรของหน่วยงานด้านการบังคับใช้กฎหมายจำนวนมากเข้าไว้ด้วยกัน และเป็นตลาดเกิดใหม่ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง โดยขณะนี้มลรัฐและเมืองขนาดใหญ่หลายแห่งของประเทศสหรัฐอเมริกาต่างก็มีศูนย์สนธิข่าวที่กำลังใช้งานเทคโนโลยีของเมมเม็กซ์อยู่

บริษัท แซส ตั้งใจที่จะขยายธุรกิจไปทั่วโลก ภายใต้การดำเนินงานของทีมการบริหารจัดการ ที่มีอยู่เดิม โดย คาร์ริค ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (ซีอีโอ) ของบริษัท เมมเม็กซ์ เชื่อว่าทั้งสองบริษัท สามารถเข้ากันได้อย่างลงตัว “การรวมข้อเสนอระบบธุรกิจอัจฉริยะและการวิเคราะห์ขั้นสูงของบริษัท แซส เข้ากับข้อเสนอการบริหารจัดการด้านข่าวกรอง การประมวลผลสารสนเทศ และการสืบค้นภายในองค์กรขนาดใหญ่ของบริษัท เมมเม็กซ์ สำหรับส่วนความมั่นคงสาธารณะ ถือเป็นข้อเสนอที่โดดเด่นอย่างมากในพื้นที่ตลาดแห่งนี้”

มาตรการครั้งนี้ สอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัท แซส เกี่ยวกับการเข้าซื้อบริษัทต่างๆ ที่มีเทคโนโลยีสำคัญ ซึ่งจะเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพหรือขยายสายผลิตภัณฑ์ของบริษัท แซส ที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าซื้อบริษัท เมมเม็กซ์ จะทำให้บริษัท แซส สามารถจัดตั้งองค์ประกอบที่สำคัญของธุรกิจในแบบสากล ที่สามารถจำหน่ายได้ทั้งโซลูชั่นบริษัท แซส และบริษัท เมมเม็กซ์ แก่ชุมชนด้านความมั่นคงแห่งชาติ ข่าวกรอง และการบังคับใช้กฎหมายได้

อย่างไรก็ตาม ทั้งบริษัท แซส และบริษัท เมมเม็กซ์ เป็นบริษัทที่ยังไม่ได้เข้าตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้นเงื่อนไขทางการเงินของการเข้าซื้อในครั้งนี้จึงไม่ได้รับการเปิดเผย

การประกาศการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้ ได้รับการเปิดเผยในการประชุม The Premier Business Leadership Series ณ กรุงเบอร์ลิน ซึ่งเป็นงานประชุมระดับนานาชาติ

View :1352
Categories: Press/Release Tags:

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เลือกโซลูชั่นการป้องกันการฟอกเงิน การจัดการสินทรัพย์และหนี้สิน และเครดิต สกอริ่งจากแซส ซอฟท์แวร์

August 25th, 2010 No comments

เพิ่มขีดความสามารถการบริการและการบริหารความเสี่ยง ด้วยโซลูชั่นการป้องกันการฟอกเงิน การจัดการสินทรัพย์และหนี้สิน และเครดิต สกอริ่งจากแซส ซอฟท์แวร์

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารผู้ให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพิ่มศักยภาพการบริการและการบริหารความเสี่ยง เลือกโซลูชั่นของ เพื่อพัฒนาระบบป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนการก่อการร้าย ( AML: Anti-Money Laundering) ระบบการบริหารจัดการสินทรัพย์และหนี้สิน ( ALM: Asset and Liability Management) พร้อมทั้งระบบเครดิต สกอริ่ง (Credit Scoring)

นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การแข่งขันทางธุรกิจ และปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เป็นตัวผลักดันที่สำคัญ ที่ทำให้องค์กรหรือหน่วยงานต้องมีการปรับตัวอย่างมาก ไม่ใช่เพียงเพื่อความ
อยู่รอดเท่านั้น แต่สิ่งที่ผู้บริหารทุกคนต้องการ คือ การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกันให้องค์กรมีความแข็งแรง โดยพบว่า องค์กรส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จจะมีโครงสร้างพื้นฐานของระบบสารสนเทศที่มี ความยืดหยุ่น และสามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว

ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วที่เกิดขึ้นจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยไปทั่วโลกนับตั้งแต่วิกฤตการณ์ทางการเงินปี 2551 ที่ส่งผลให้สถาบันการเงินต่างๆ ได้รับผลกระทบ ในด้านหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ( NPL) การบริหารสภาพคล่องของธนาคาร และกฎระเบียบที่บังคับใช้ในการดำเนินธุรกิจธนาคาร เช่น กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ทำให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้จัดทำโครงการเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในด้านการบริการ ภายใต้พันธกิจที่ต้องการเป็นธนาคารที่ ให้ บริการทางการเงินด้านที่อยู่อาศัยอย่างครบวงจร เพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยตามสมควรแก่อัตภาพ และสามารถตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า รัฐบาล และสังคมภายใต้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งตอบสนองกับนโยบายของรัฐบาลที่จะใช้อุตสาหกรรมภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นตัวกลางที่จะผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ

โครงการบริหารความเสี่ยงของธนาคารอาคารสงเคราะห์ประกอบด้วย โซลูชั่นการป้องกันการฟอกเงิน ( AML: Anti-Money Laundering) เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมทางการเงินและรองรับกฎข้อบังคับต่างๆ ของสถาบันการเงิน โซลูชั่นด้านการจัดการสินทรัพย์และหนี้สิน ( ALM: Asset and Liability Management) เพื่อให้การบริหารจัดการสินทรัพย์และหนี้สินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังรวมถึง โซลูชั่นด้านเครดิต สกอริ่ง (Credit Scoring) ที่จะช่วยให้ธนาคารสามารถวิเคราะห์สถานะของผู้กู้ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยธนาคารได้เลือกโซลูชั่นทั้งหมดดังกล่าวจากบริษัท ซอฟท์แวร์ ( ไทยแลนด์) เพราะมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับขยายได้ตามความต้องการด้านธุรกิจและกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนทีมงานที่มีประสบการณ์ทั้งในและต่างประเทศ

นายทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า โซลูชั่นการป้องกันการฟอกเงิน เป็นการติดตามการป้องกันการฟอกเงิน ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดไม่ว่าจะในด้านความปลอดภัย ความโปร่งใสในการดำเนินงาน และความน่าเชื่อถือของธนาคาร ที่ต้องดำเนินการตรวจสอบและติดตามบัญชีลูกค้าทั้งในส่วนของบัญชีเดิมที่มี ความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งบัญชีใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ปัจจุบัน ธนาคารมีสินทรัพย์รวมกว่า 720 , 000 ล้านบาท โดยใน ปี 2552 ธนาคารมีจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นร่วม 170 , 000 บัญชี

ส่วนการนำระบบ การบริหารจัดการสินทรัพย์และหนี้สินของแซสมาใช้เป็นการบริหารจัดการ
ด้านเงินฝาก สินเชื่อ และรวมถึงการลงทุนต่างๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสมดุลกัน และยังส่งผลให้ธนาคารสามารถวัดและควบคุมความเสี่ยงทางการเงิน ที่ธนาคารสามารถบริหารจัดการได้ ทั้งยังให้ผลตอบแทนอย่างเหมาะสมอีกด้วย นอกจากนี้ ระบบเครดิต สกอริ่ง จะเป็นระบบที่ประกอบการพิจารณาวิเคราะห์สถานะของผู้กู้แต่ะละราย ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยสามารถบ่งบอกระดับความเสี่ยงด้านเครดิต ซึ่งจะมีผลต่อการกำหนดวงเงินกู้ยืมและอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขของวงเงินที่ อนุมัติให้แก่ผู้กู้ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการรองรับมาตรฐานของ Basel II ได้อีกด้วย

“ แซสมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ทางธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้ให้ความไว้วางใจกับโซลูชั่นทั้งสามระบบของแซส โดยแซสมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทยที่คอยให้บริการอย่างใกล้ชิด อีกทั้งพร้อมให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก ทั้งนี้แซสมีประสบการณ์ในการติดตั้งระบบดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นสถาบันที่ให้บริการทางการเงินกว่า 55 แห่ง ใช้โซลูชั่นป้องกันการฟอกเงินของแซส เช่น แบนโก เดอ โอโร ยูนิแบงก์ (ฟิลิปปินส์) , ธนาคารแห่งสหรัฐ (สหรัฐ) , ธนาคารควีนส์แลนด์ (ออสเตรเลีย) , บีบีแอนด์ที (สหรัฐ) , แบนโก เดอ ชิลี (ชิลี) , คอสทัล เฟเดอรัล เครดิต ยูเนียน (สหรัฐ) , ธนาคารคอมมอนเวลธ์แห่ง
ออสเตรเลีย (ออสเตรเลีย) , ธนาคารเพื่อการพัฒนาฟิลิปปินส์ ( ฟิลิปปินส์) , ธนาคาอีออน (มาเลเซีย) , เฟิรสต์ ซิติเซ็นส์ (สหรัฐ) , ธนาคารฮานา ( เกาหลี) , ธนาคารฮันติงตัน (สหรัฐ) , ธนาคารกุกมิน (เกาหลี) , ธนาคาร
ที่ดินแห่งฟิลิปปินส์ (ฟิลิปปินส์) , ธนาคารทหารผ่านศึกฟิลิปปินส์ ( ฟิลิปปินส์) , กลุ่มการเงินแซมบา
(ซาอุดิอารเบีย) , บริษัท ซัมซุง ซีเคียวริตีส์ ( เกาหลี) และธนาคารซอฟเวอเรน (สหรัฐ) เป็นต้น ”
นายทวีศักดิ์ กล่าว

View :1741