Archive

Posts Tagged ‘True’

ทรูมูฟมอบสิทธิพิเศษแก่ลูกค้าที่จองเครื่องซัมซุง แกเล็คซี่ เอส ทู รับฟรีบัตรคอนเสิร์ต MTV Exit

June 15th, 2011 No comments

จากซ้าย : กิตติณัฐ ทีคะวรรณ รองผู้อำนวยการหัวหน้าสายงานการตลาดเชิงพาณิชย์และบริหารงานขาย บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น, จูดิธ บี เซอร์กิน นักการฑูตของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย, อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม MTV Exit Campaign Ambassador, เจมส์ ไวส์ เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย และแมท เลิฟ ผู้อำนวยโครงการ MTV Exit ทรูมูฟมอบสิทธิพิเศษแก่ลูกค้าที่จองเครื่องซัมซุง แกเล็คซี่ เอส ทู พร้อมสมัครแพ็คเกจ ทรูมูฟรายเดือน รับฟรีบัตรคอนเสิร์ต MTV Exit ที่จะได้มันส์สุดๆ กับ Super Junior M และศิลปินทั้งในและต่างประเทศมากมาย ในวันที่ 25 มิถุนายน นี้ ที่เชียงใหม่ ลูกค้าที่สนใจสั่งจองเครื่องล่วงหน้าได้ที่ทรูช้อปทุกสาขา ทั่วประเทศ

View :1639
Categories: ภาพข่าว Tags:

True ชี้แจงต่อการคาดเดาเพิ่มเติมของ TDRI วันที่ 17 พฤษภาคม 2554

May 18th, 2011 No comments

ตามที่ได้ปรากฏบทความของ ในหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2554 บริษัทฯ จึงขอชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อแก้การเข้าใจผิดของผู้ที่อ่านบทความครั้งล่าสุดของ ดังต่อไปนี้

1. ประเด็นของ TDRI: ทรูมีสิทธิใช้โครงข่ายของ กสท ถึง 80% ซึ่งทำให้สัญญาขายส่งนี้มีผลบังคับผู้ขายเกินกว่าสัญญาขายส่งทั่วไปและกีดกันรายอื่น

ข้อชี้แจงของ : การตั้งข้อสังเกตดังกล่าวเป็นการคาดเดาจากการที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงในสัญญาที่ทำขึ้น ดังนี้

1. กสท มีความประสงค์ที่จะเป็นบริษัทที่ให้บริการทางด้านโครงข่าย (Network Provider) กสท จึงต้องการจะมีกรรมสิทธิ์ในตัวเสา(Towers) ในกรณีของเรื่องนี้ทางกลุ่มทรูเป็นผู้ลงทุนในเสาอากาศ (antenna) บนเสา (Towers)ทั้งหมดแล้วให้ กสท เช่าเพื่อนำไปใช้ประกอบกับทรัพย์สินอื่นๆ (รวมทั้งคลื่นความถี่) ของ กสท เพื่อผลิตความจุ (capacity) ออกมา เมื่อได้ความจุ (capacity) แล้ว กลุ่มทรูซื้อไปใช้ขายต่อบริการร้อยละ 80 ส่วน กสท นำไปใช้เองหรือนำไปให้คนอื่นขายต่อบริการร้อยละ 20
ทั้งนี้ เมื่อเสา (Towers) เป็นของกสท แล้ว ถ้ากสท. หรือมีลูกค้าของ กสท รายใหม่ประสงค์ที่จะใช้ความจุ (capacity) มากกว่าร้อยละ 20 ที่ผลิตออกมา กสท ก็ดี หรือลูกค้าของ กสท ก็ดีสามารถดำเนินการแบบเดียวกับกลุ่มทรู นั่นคือลงทุนในเสาอากาศ (antenna)นำไปติดบนเสา (Towers) เพื่อให้กสท ผลิต ความจุเพิ่มเพื่อซื้อเอาไปขายต่อบริการตามเงื่อนไขเดียวกับกลุ่มทรูดังที่กำหนดโดยกติกาของ กทช. ก็ได้อยู่แล้ว

2. ตัวเลข 80% เป็นอัตราเพดาน กล่าวคือเรียลมูฟจะซื้อความจุโครงข่ายได้ไม่เกิน 80% ไม่ได้หมายความว่าเรียลมูฟจะต้องซื้อความจุที่ 80%

3. ตัวเลข 80% นั้น ไม่ได้หมายความว่าเรียลมูฟจะต้องซื้อบริการความจุโครงข่ายที่ 80% เนื่องจากในการให้บริการ เรียลมูฟ ต้องคำนึงถึงความต้องการ (Demand) ของผู้ใช้บริการเป็นสิ่งสำคัญด้วย

4. กสท. ในฐานะที่เป็นผู้ขายส่งบริการจึงเป็นผู้มีหน้าที่สร้างโครงข่าย เพื่อให้บริการขายส่งบริการตามปริมาณเพื่อสนองความต้องการทางตลาดของลูกค้า(เรียลมูฟ/ผู้ขายต่อบริการ) ซึ่งจะเป็นลูกค้าผู้ชำระค่าซื้อความจุ (Capacity) ที่ตนสั่ง การจะสั่งลงทุนขยายโครงข่ายมากหรือน้อยเท่าใด เรียลมูฟจึงต้องพิจารณาถึงความต้องการของตลาดไม่ใช่จำนวน % ตามที่กล่าวอ้าง

5. ทรูจะไม่ดำเนินธุรกิจสร้างการผูกขาดด้วยการขาดทุน (ถ้า TDRI เข้าใจธุรกิจ) จะเห็นได้ว่า กสท มีกลไกในการสร้างการแข่งขันโดยมิให้มีการผูกขาดได้อยู่แล้ว ในทางกลับกัน การที่ TDRI พยายามให้เหตุผลยับยั้ง กสท และ ทรูในฐานะหนึ่งในผู้ขายปลีก ต่างหาก ที่เป็นการขัดขวางรัฐวิสาหกิจเช่น กสท และเอกชนไทยรายเล็กในการแข่งขัน ทำให้เกิดการผูกขาดโดย 2 ผู้ประกอบการใหญ่ต่างชาติ ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดกว่า 75% ทำให้รัฐเสียประโยชน์อย่างแท้จริง รวมทั้งเป็นการยับยั้ง การลดการแข่งขันของ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการใหญ่ทั้ง 2 เจ้า นอกจากผูกขาดและรักษาความได้เปรียบของสัญญาและปริมาณคลื่นแล้ว ยังไม่มีความจำเป็นต้องเร่งขยายการลงทุนอีก ซึ่งทำให้ประเทศชาติสูญเสีย GDP ถึง 8 แสน ถึง 1 ล้านล้านบาทจากการไม่มี ใช้อย่างทั่วถึง

6. ตัวเลข 80% มีที่มาจากสัดส่วนแบ่งทางการตลาดของจำนวนผู้ใช้บริการของ กสท. ในส่วนกลาง (8 แสนราย) และในส่วนภูมิภาค (2 แสนราย) จึงใช้ตัวเลขดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อรองรับความจุโครงข่ายในแต่ละส่วนที่เพียงพอในกรณีที่ผู้ใช้บริการเปลี่ยนจากระบบ CDMA มาเป็นระบบ HSPA

2. ประเด็นของ TDRI: สัญญาดังกล่าวมีข้อกำหนดที่เกินจากสัญญาเช่าทั่วไปโดยกำหนดว่า “กสท. จะนำคลื่นความถี่ในย่าน 800 MHz จำนวน 15×2 MHz…. มาใช้กับเครื่องและอุปกรณ์ของบริษัทเท่านั้น” (ข้อ 2.12)

ข้อชี้แจงของ True: การตั้งข้อสังเกตดังกล่าวเป็นการคาดเดาจากการที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงในสัญญาที่ทำขึ้น ดังนี้

1. จำเป็นต้องมีการระบุย่านคลื่นความถี่ที่จะนำมาใช้กับอุปกรณ์ เนื่องจากอุปกรณ์โทรคมนาคมมีการตั้งค่าคลื่นความถี่ไว้ตั้งแต่ตอนซื้อ การสั่งซื้ออุปกรณ์โทรคมนาคมจึงจะมีความเสี่ยงสูงถ้าไม่ระบุให้ชัดเจนถึงค่าของคลื่นความถี่ที่จะใช้กับอุปกรณ์

2. ผู้ที่เข้าใจและมีประสบการณ์ในการทำสัญญาย่อมทราบดีว่าในสัญญาเช่าอุปกรณ์โดยทั่วไปจะต้องมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการรักษาคุณภาพการให้บริการ (SLA หรือ performance guarantee) ดังนั้น หากไม่ระบุคลื่นความถี่ที่จะนำมาใช้กับอุปกรณ์ เช่นหากนำคลื่นความถี่อื่นมาใช้กับอุปกรณ์นั้นจะทำให้อุปกรณ์นั้นไม่สามารถใช้งานได้หรืออาจใช้งานได้แต่มีประสิทธิภาพต่ำไม่ถึงเกณฑ์คุณภาพการให้บริการตามที่กำหนดในสัญญา

3. ประเด็นของ TDRI: ทรูฯ เริ่มให้บริการ 3G ก่อน AIS และ ทำให้ทรูฯ ได้เปรียบในการแข่งขันเป็นอย่างมาก
ข้อชี้แจงของ True:

1. AIS และ DTAC มีการเปิดให้บริการ 3G ไปแล้ว โดย AIS มีการเปิดให้บริการ 3G ในปี 2008 ก่อนรายอื่นกว่า 1 ปี รวมทั้งกรณี TOT ก็ให้บริการ 3G ก่อนคนอื่นกว่า 2ปี โดยได้คลื่น 3G โดยไม่ต้องประมูล การอ้างไม่ให้ กสท. ให้บริการจะเป็นการให้สิทธิผูกขาด 3G ยังอยู่ที่ AIS และ DTAC

2. DTAC มีอายุสัญญาเหลืออีก 8ปี โดยทรูมูฟเหลือสองปี เมื่ออายุสัญญาของทรูมูฟหมดจะเป็นการให้ DTAC ให้บริการแต่เพียงผู้เดียว

3. DTAC มีคลื่นย่าน 2G จำนวนถึง 50 MHz และย่าน 3G จำนวน 10 MHz เมื่อเทียบกับทรูมูฟซึ่งมีคลื่นความถี่ 2G เพียง 12.5 MHz และย่าน 3G เพียง 5 MHz เพราะเหตุใด TDRI จึงเข้าข้าง DTACโดยไม่ยกประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมในเรื่องนี้ด้วย หากจะอ้างว่าเป็นเรื่องของสัญญาเดิมที่ทำมา ก็ไม่แตกต่างกับกรณีของ ทรูฯ เนื่องจากก็เป็นสัญญาที่มีความเป็นมาจากสัญญา Hutch เดิมแล้วถึง 9 ปี โดยสัญญาทั้งหลายก็ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอดเช่นกัน หากเห็นว่าสัญญา Hutch ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเหตุใดถึงไม่ยกตั้งแต่ 9 ปีที่แล้ว แต่เพิ่งมายกในตอนนี้

4. การที่ กสท. นำคลื่น 3G มาใช้งานเป็นความชอบธรรมและเป็นสิทธิของ กสท. ไม่ใช่เรียลมูฟ

5. การที่ AIS และ DTAC มิได้เปิดให้บริการ 3G อย่างเป็นทางการ (โดย AIS ทดลองถึง 1800 สถานีและ DTAC ทดลองถึง 1400 สถานี) ก็ไม่ได้หมายความว่าหน่วยงานของรัฐจะไม่ให้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ DTAC ก็มีความพยายามมาโดยตลอดที่จะขอเปิดให้บริการก่อนที่จะฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครอง

6. ในกรณีของการขายต่อบริการ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว หาก DTAC ต้องการขายต่อบริการ 3G เช่นเดียวกันกับเรียลมูฟ ก็สามารถเข้าไปร่วมในโครงการของ กสท ได้อยู่แล้ว โดย DTAC ต้องลงทุนในเสาอากาศทำนองเดียวกันกับกลุ่มทรู ส่วนคลื่นนั้น DTAC สามารถให้กสท นำคลื่นย่าน 850 MHz ไปใช้เพื่อผลิตความจุ (Capacity) เช่นเดียวกัน

4. ประเด็นของ TDRI: การทำสัญญาดังกล่าวทำให้รัฐเสีย 3.9 หมื่นล้าน
ข้อชี้แจงของ True: การกล่าวว่าการทำสัญญาดังกล่าวจะทำให้รัฐเสีย 3.9 หมื่นล้านนั้น เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและบิดเบือนข้อเท็จจริง

1. ผู้เขียนเข้าใจผิดว่าผู้ที่ต้องจ่าย 3.9 หมื่นล้านให้กับรัฐคือเอกชน ซึ่งที่จริงแล้วผู้ที่จะต้องรับต้นทุนคือผู้ใช้บริการทั้งหมด ที่ผู้เขียนพูดว่ารัฐเสียหายหมายถึงรัฐที่เป็นประชาชน หรือกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง หรือรัฐต่างประเทศ

2. ตัวเลข 3.9 หมื่นล้านที่พูดเป็นตัวเลขที่มาจากการประมูลคลื่น 2.1 GHz จำนวน 45 MHz แต่ กสท มีคลื่นที่ย่าน 800 MHz อยู่เพียง 10 MHz ดังนั้น จึงไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้

3. คลื่นความถี่ที่เป็นของ กสท. ไม่ใช่คลื่นที่สามารถนำมาประมูลได้ เนื่องจากเป็นคลื่นเดิมที่ทั้ง กสท และ TOT ได้รับจัดสรรจาก กทช. ตามใบอนุญาต

4. ผู้เขียนคาดเดาเอาเองว่า ทรูฯ จะไม่เข้าร่วมประมูลคลื่นย่าน 2.1 GHz ซึ่งเป็นการคาดเดาที่คลาดเคลื่อน ซึ่งทรูฯ ก็เคยกล่าวไว้แล้วว่าจะเข้าร่วมประมูล

5. ประเด็นของ TDRI: สัญญาดังกล่าวเป็นสัมปทานที่ต้องทำตาม พรบ. ร่วมทุนฯ
ข้อชี้แจงของ True : ในส่วนของคลื่นความถี่ที่ได้จัดสรรและกำกับดูแลโดย กทช. นั้น อยู่นอกข่ายของ พรบ. ร่วมทุนฯ ไม่เช่นนั้น คลื่นความถี่ทั้งหมดที่ กทช. ได้จัดสรรไปแล้วทั้งหมดจะต้องเข้า พรบ. ร่วมทุนฯ ซึ่งรวมถึงคลื่นความถี่ที่ กทช. ได้จัดสรรให้กับบริษัท กสท. และบริษัท ทีโอที ไปตั้งแต่แรกด้วย

6. ประเด็นของ TDRI: นักกฎหมายที่ ทรูฯ อ้างว่าได้ตรวจสอบสัญญาล้วนเป็นนักกฎหมายที่ปรึกษาของทรูหรือธนาคารผู้ให้กู้ซึ่งล้วนมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องหรือได้รับค่าตอบแทนจากทรูหรือ กสท.
ข้อชี้แจงของ True

1. อยากจะให้ TDRI ได้ทราบว่านักกฎหมายที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องคือฝ่ายกฎหมายของ กสท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของรัฐตามกฎหมาย โดยที่ผ่านมาก็ได้รักษาผลประโยชน์ของรัฐอย่างเต็มที่ ซึ่งคงไม่เหมาะสมถ้าจะให้ทรูฯ พูดแทน กสท.
2. นักกฎหมายอื่นๆที่ TDRI กล่าวถึงนั้น มีหน้าที่ทั้งด้านจรรยาบรรณและตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่จะต้องรักษาผลประโยชน์ของลูกความตน ซึ่งทรูก็มีความเคารพในศักดิ์ศรีวิชาชีพของท่านทั้งหลายในการตีความกฎหมาย
3. การที่ผู้เขียนมีการอ้างถึง กสท. และสำนักงานอัยการสูงสุด ทรูฯ มั่นใจว่าหน่วยงานดังกล่าวจะใช้ความรอบคอบในการพิจารณาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และเอกสารที่ผ่านออกมาจากหน่วยงานดังกล่าวนั้นผ่านขั้นตอนถูกต้องตามระเบียบของหน่วยงานดังกล่าว
4. ในทางกลับกันการที่ TDRI ใช้นักวิจัยผู้เป็นวิศวกรไม่ได้จบการศึกษาทางกฎหมายมาทำการวิจัยทางกฎหมายในสัญญาที่สลับซับซ้อนนั้น สอดคล้องกับ “ภารกิจหลักของ TDRI” ที่จะ “ผลิตงานวิจัยเชิงนโยบายที่มีคุณภาพสูง อยู่บนพื้นฐานของหลักวิชาการ และข้อมูลที่ถูกต้อง” หรือไม่

Source: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น

View :1667
Categories: Press/Release Tags: ,

ข้อชี้แจงจากทรู ต่อบทความของ TDRI ภายใต้หัวข้อว่า "คดีโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G: ประโยชน์สาธารณะอยู่ที่ไหนและใครถ่วงความเจริญ?"

May 15th, 2011 No comments

ตามที่ได้ปรากฎบทความของ ในหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ภายใต้หัวข้อว่า “ คดีโทรศัพท์เคลื่อนที่ : ประโยชน์สาธารณะอยู่ที่ไหนและใครถ่วงความเจริญ ?” โดยมีเนื้อหาส่วนใหญ่วิพากษ์วิจารณ์ถึงกรณีที่ศาลปกครองได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในคดีที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ยื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมเมื่อปลายปี ๒๕๕๓ และในตอนท้ายของบทความดังกล่าว ได้กล่าวพาดพิงถึงทางบริษัททรูอย่างคลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริง ทางบริษัทซึ่งเป็นบริษัทมหาชนมีหน้าที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น บริษัทฯ จึงขอชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อแก้การเข้าใจผิดของผู้ที่อ่านบทความดังกล่าวของ

เรื่องแรกที่ TDRI กล่าวว่าหากดีแทคไม่ได้ทำการฟ้องร้องต่อศาลปกครองแล้ว TDRI คาดว่า “ นอกจากทีโอทีแล้ว ประเทศไทยจะมีผู้ให้บริการ 3G อีกรายเดียวคือ ทรู ” บริษัทฯขอชี้แจงว่าการคาดเดาของ TDRI ซึ่งอาจจะเกิดจากความหลงผิดในเนื้อหาสาระของกฎหมายและประกาศ กฎเกณฑ์ต่างๆ ของ กทช. นั้นเป็นเรื่องที่ผิดในสาระสำคัญ ตามโครงสร้างของสัญญาต่างๆและการดำเนินการนี้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องก็คือ นอกจากทีโอทีซึ่งจะเป็นผู้ให้บริการ 3G หลัก โดยมี บริษัทต่างๆหลายบริษัท เข้ารับดำเนินการในลักษณะของ MVNO แล้ว ผู้ให้บริการ 3 G หลักอีกรายหนึ่งคือ กสทฯ ซึ่งจะเป็นผู้ให้บริการในฐานะ “ ผู้ขายส่งบริการ ” ตามประกาศคณะกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการ ลงวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๙ โดยมี กสทฯ และบริษัท เรียลมูฟ จำกัด รวมสองรายเข้ารับดำเนินการในฐานะ “ ผู้ขายต่อบริการ ” ตามประกาศดังกล่าวของ กทช.

ในเรื่องการให้บริการภายใต้ความเสมอภาคนั้น ภายใต้กฎเกณฑ์ของ กทช. บรรดาผู้ให้บริการ MVNO ของทีโอที จะต้องให้บริการภายใต้เงื่อนไขเดียวกันที่กำหนดโดยทีโอที และเช่นเดียวกัน บรรดาผู้ให้บริการ “ ขายต่อบริการ ” ของ กสทฯ ก็จะต้องให้บริการภายใต้เงื่อนไขเดียวกันที่กำหนดโดย กสทฯ

ทั้ง เอไอเอส และ ดีแทค ก็สามารถเข้าร่วมให้บริการ 3G ได้โดยเลือกเอาว่าจะเข้ากลุ่ม MVNO โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขของทีโอที หรือจะขอเข้ากลุ่ม “ ผู้ขายต่อบริการ ” โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขของ กสทฯ

การแข่งโดยแบ่งเป็นกลุ่มเช่นนี้ มีข้อดีก็คือ ป้องกันการถือครองตลาดโดยกลุ่มของทีโอที หรือกลุ่มของ กสทฯ เพราะทั้งสองกลุ่มต้องแข่งกันเองไปจนกว่า กสทช.จะจัดสรรคลื่นความถี่ให้มีผู้ให้บริการ 3G หลักมากกว่านี้

เรื่องที่สองที่ TDRI คาดเดาคือ “ รัฐจะเสียหายจากการไม่ได้รับค่าประมูลคลื่นความถี่ไม่ต่ำกว่า สามหมื่นเก้าพันล้านบาท เนื่องจาก กสทฯ นำคลื่นของตัวเองไปให้ทรูใช้ ฯลฯ ” บริษัทฯขอชี้แจงว่าการคาดเดาดังกล่าวเป็นไปอย่างไร้การวิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงที่นักวิชาการพึงจะกระทำ คลื่นความถี่ที่กล่าวถึงกันนี้เป็นคลื่นความถี่ที่เดิม กสทฯ ได้รับมาจากกรมไปรษณีย์ในครั้งที่กสทฯยังเป็น การสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาเมื่อภาครัฐโอนถ่ายอำนาจการกำกับดูแลโทรคมนาคมไปให้ กทช. โดยจัดตั้ง กทช.ขึ้นเป็นองค์กรอิสระ และแปรสภาพของการสื่อสารแห่งประเทศไทยให้กลายเป็นเพียงบริษัทมหาชนนั้น กทช.ก็ออกใบอนุญาตให้ กสทฯใช้คลื่นความถี่ต่างๆได้ ซึ่ง กสทฯ ก็ใช้คลื่นความถี่นี้เองภายใต้เครื่องหมายการให้บริการ Hutch โดยเช่าอุปกรณ์จากบริษัทบีเอฟเคทีจำกัด และให้บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด เป็นผู้ช่วยดำเนินการทางการตลาด ในปัจจุบันบริษัทในเครือของบริษัทฯ ได้ซื้อหุ้นในบริษัทบีเอฟเคทีจำกัดและบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด จากผู้ถือหุ้นเดิม กสทฯก็ยังคงดำเนินการโดยใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวของตนเองต่อไป กสทฯไม่ได้โอนใบอนุญาตการใช้คลื่นไปให้บุคคลภายนอก โดยกสทฯเพียงแต่ประกอบกิจการ “ ขายส่งบริการ ” และใช้คลื่นความถี่นั้นในการให้บริการดังกล่าว โดยที่ผู้ให้บริการ “ ขายต่อบริการ ” รุ่นแรกจะประกอบไปด้วย กสทฯ เอง และบริษัท เรียล มูฟ จำกัด กสทฯมิได้นำคลื่นความถี่ไปให้บริษัทฯใช้ดังการคาดเดาของ TDRI แต่อย่างไร

เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าเมื่อใดที่ กสทช. จะนำคลื่นที่เหมาะสมกับ 3G คือคลื่นย่าน 2.1 MHz หรือคลื่นที่เหมาะสมกับ 4G ฯลฯ ออกมาให้ประมูล ผู้ให้บริการหลักทางด้านโทรคมนาคมไม่มีทางเลือกนอกจากจะเข้าร่วมประมูล แต่การที่แต่ละรายจะสู้ที่เงินเท่าใดนั้น ก็จะขึ้นอยู่กับการการคาดการทางพาณิชย์ในด้านจุดคุ้มทุนของแต่ละรายซึ่งย่อมจะแตกต่างกันออกไป

ยิ่งไปกว่านั้น ในการประมูลคลื่นความถี่โดย กสทช. นั้น มาตรา ๕๓ (๒) ของพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

บัญญัติว่าให้เงินที่ได้จากการประมูลคลื่นนั้นเข้าไปที่ กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ของกสทช. ซึ่งจะตกอยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ซึ่ง กสทช. เป็นหน่วยงานอิสระออกจากการบริหารกิจการบ้านเมืองของรัฐบาล รายได้จากการประมูลคลื่นจึงไม่อาจกล่าวได้ว่าจะประหยัดงบประมาณแผ่นดินแต่อย่างใด เรื่องนี้หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องคงจะต้องติดตามเฝ้าดูการใช้จ่ายเงินของกองทุนนี้ต่อไป

เรื่องที่สามที่ TDRI คาดเดานั้น คือสัญญาที่ กสทฯทำกับบริษัทในเครือของบริษัทฯ “ มีลักษณะคล้ายสัมปทานระหว่าง กสทฯ และทรู จะทำให้เกิดความไม่โปร่งใส ฯลฯ ” การคาดเดานี้ไม่ได้แสดงเหตุผลประกอบการคาดเดา บริษัทฯขอเรียนว่าสัญญาระหว่าง กสทฯ และทรูนี้ผ่านยกร่าง ปรับปรุง และเจรจา และตรวจสอบจากนักกฎหมายมืออาชีพผู้มีประสบการณ์ในด้านการสัญญามาอย่างมากมายหลายกลุ่ม เป็นต้นว่า (๑) ที่ปรึกษากฎหมายของคณะกรรมการของ กสทฯ (๒)ฝ่ายกฎหมายของกสทฯ (๓)สำนักงานกฎหมายผู้เป็นที่ปรึกษากฎหมายของกสทฯ (๔)สำนักงานกฎหมายผู้เป็นที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทฯ (๕)ฝ่ายกฎหมายของบริษัทฯ (๖)สำนักงานกฎหมายผู้เป็นที่ปรึกษากฎหมายของธนาคารผู้ให้กู้ (๗)ฝ่ายกฎหมายของธนาคารผู้ให้กู้ และ (๘)สำนักงานอัยการสูงสุด รวมจำนวนนักกฎหมายอาชีพผู้มีประสบการณ์หลายสิบท่าน ก็ไม่มีใครเห็นว่าสัญญาดังกล่าวมีลักษณะเหมือนสัมปทาน ดังการกล่าวอ้างของนักกฎหมาย TDRI

View :1447
Categories: Press/Release Tags: , ,

ทรู ดิจิตอลฯ เผยลุคใหม่ weloveshopping เปิดตัวโซนใหม่ GroupBuy ซื้อชิ้นเดียวราคาเหมือนซื้อยกโหล

May 4th, 2011 No comments

เปิดประสบการณ์ช้อปปิ้งล้ำสมัย เอาใจโซเชี่ยลเทรนด์ เลือกช้อป แชร์ สะดวกง่ายยิ่งขึ้น ทั้งออนไลน์ โมบายล์ ทีวี

ทรู ปรับโฉม ดึงกระแสโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค สร้างประสบการณ์ใหม่เอาใจนักช้อปสุดๆ เลือกซื้อสินค้ากว่า 5 ล้านรายการ ทั้งอัพเดทสินค้าใหม่ยอดนิยม หรือแชร์ต่อเพื่อนได้ทันที พร้อมแนะนำโซนใหม่มาแรง GroupBuy ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ ซื้อยกกลุ่ม ” รวมกลุ่มซื้อสินค้า และบริการราคาพิเศษสุด ให้ซื้อสินค้าชิ้นเดียวในราคาเหมือนซื้อยกโหล ช้อปสะดวก ง่ายยิ่งขึ้น ทุกที่ทุกเวลา ผ่านทุกช่องทางคอนเวอร์เจนซ์ ทั้งออนไลน์ .com มือถือสมาร์ทโฟนผ่านเว็บไซต์ m..com หรือเลือกดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นใหม่บนไอโฟนและแอนดรอยด์ และง่ายยิ่งขึ้นสำหรับมือถือทั่วไปผ่านระบบอัตโนมัติ เพียงกด *872# เลือกตามเมนู หรือโทร *872 ช้อปปิ้งผ่านระบบอัตโนมัติ พร้อมขยายช่องทางใหม่ในรายการโทรทัศน์ Gsquare ช่อง ทรูวิชั่นส์ และ Internet TV บนเว็บ Truelife.com รวมถึงนิตยสาร Catalog สั่งซื้อผ่าน Call Center 02900 9500

นายสรรเสริญ สมัยสุต ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สายงาน Web Business บริษัท ทรู ดิจิตอล คอนเท้นท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด กล่าวว่า การปรับโฉมและรูปแบบใหม่ของ Weloveshopping ครั้งนี้ เป็นไปตามเทรนด์ของคนยุคปัจจุบัน ที่กระแสโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คเข้ามามีบทบาทอย่างสูงต่อไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต โดยปรับให้สามารถอัพเดทสินค้าใหม่ สินค้าที่กำลังเป็นที่นิยม และสินค้าที่ได้รับการแนะนำได้ทันที ทุกที่ทุกเวลา ขณะเดียวกันก็ยังแชร์สินค้าที่ชื่นชอบไปยังกลุ่มเพื่อนที่มีไลฟ์สไตล์เดียวกันในสังคมอินเทอร์เน็ตอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ยังเปิดโซนใหม่ GroupBuy ภายใต้แนวคิด “ ซื้อยกกลุ่ม ” เปิดให้ชวนเพื่อน หรือแชร์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ รวมกลุ่มช้อปสินค้าและบริการในปริมาณมากให้ครบดีล เพื่อรับสินค้าราคาถูกเหมือนซื้อของยกโหล โดยมีสินด้าดีลพิเศษใน Weloveshopping ให้เลือกถึง 50 ดีล ช้อปได้ทุกที่ตลอด 24 ชั่วโมง

นอกจากนี้เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคปัจจุบันที่ต้องการช้อปปิ้งทุกที่ ทุกเวลาที่ต้องการ จึงขยายช่องทางเพิ่มจากเว็บไซต์ Weloveshopping.com สู่ช่องทางคอนเวอร์เจนซ์ใหม่ ทั้งมือถือสมาร์ทโฟนผ่านเว็บไซต์ m.weloveshopping.com หรือเลือกดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นใหม่บนไอโฟนและแอนดรอยด์ และมือถือทั่วไปผ่านระบบอัตโนมัติ เพียงกด *872# เลือกตามเมนู หรือโทร *872 ช้อปปิ้งผ่านระบบอัตโนมัติ รายการโทรทัศน์ Gsquare ช่อง ทรูวิชั่นส์ 67 และ Internet TV บนเว็บ Truelife.com รวมถึงนิตยสาร Weloveshopping Catalog สั่งซื้อผ่าน Call Center 02900 9500

“มั่นใจว่า การปรับโฉมและขยายช่องทางของ Weloveshopping ครั้งนี้จะเพิ่มความสะดวก ง่ายดาย ตรงใจนักช้อปได้เลือกซื้อสินค้าคุณภาพ ที่มีให้เลือกสรรกว่า 5 ล้านรายการ ในราคาพิเศษแล้ว ยังเพิ่มโอกาสขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้เจ้าของร้านค้าที่มีอยู่มากกว่า 250,000 ร้าน สามารถนำเสนอสินค้าสู่สายตากลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางใหม่ อาทิ มือถือ ทีวี ซึ่งปัจจุบันมีผู้เข้าชมผ่านเว็บไซต์ Weloveshopping.com ร่วม 4 ล้านคนต่อเดือน อีกด้วย” นายสรรเสริญ กล่าวสรุป

View :1564

ทรูมูฟ เปิดสยามจำหน่าย iPhone 4 สีขาว อย่างเป็นทางการ ให้ลูกค้ารับเครื่องได้ทันที

April 29th, 2011 No comments

จากภาพ : ปพนธ์ รัตนชัยกานนท์ (ตรงกลาง) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และรองหัวหน้ากลุ่มคณะผู้บริหารด้านการพาณิชย์, อริยะ พนมยงค์ (ขวาสุด) หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการพาณิชย์ คอนเวอร์เจนซ์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยท็อป พีรยสถ์ ศิริเกียรติสูง (ซ้ายสุด) และสองสาว พลอย รัตนรัตน์ และเพชร รัตนารัตน์ เอื้อทวีกุล

ทรูมูฟ ผู้จำหน่ายไอโฟนรายแรกของไทย สร้างปรากฏการณ์นำเทรนส์ด้วยสมาร์ทโฟนสีขาวอีกครั้ง เปิดทรูช้อปทุกสาขาในพื้นที่สยามสแควร์ เพื่อจำหน่ายทรูมูฟ iPhone 4 สีขาว อย่างเป็นทางการในประเทศไทย หลังได้รับความไว้วางใจให้จำหน่ายพร้อมสหรัฐอเมริกาจากความสำเร็จในการทำยอดขายทะลุเป้าอย่างต่อเนื่อง ลูกค้าทรูมูฟและผู้ที่สนใจสามารถหาซื้อและรับเครื่องได้ทันทีที่ทรูช้อปในสยามสแควร์ ได้แก่ ทรูมูฟสแควร์ สยามซอย 2, ทรู ไลฟ์ สยามซอย 3, ดิจิตอลเกตเวย์ และทรูช้อป สาขาสยามพารากอน จนกว่าของจะหมด หรือสั่งจองเครื่องได้ที่ทรูช้อปทุกสาขาทั่วประเทศ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.truemove.com/iphone/

View :1748
Categories: Press/Release Tags: ,

ทรู ห่วงลูกค้าซีดีเอ็มเอของ กสท และฮัทช์ปัจจุบันกว่าล้านราย กระทบหนัก ประกาศจุดยืนชัดเจน สู้เพื่อประโยชน์ลูกค้า คนไทย และประเทศไทย

April 27th, 2011 No comments

    
กรุงเทพ ฯ 27 เมษายน 2554 : ทรูห่วงหนักลูกค้าซีดีเอ็มเอของ กสท และฮัทช์กว่า 1 ล้านรายทั่วประเทศ   ใช้บริการไม่ได้ หากศาลปกครองมีคำสั่งให้ กสท โทรคมนาคม หยุดดำเนินการการให้บริการสื่อสาร ย้ำชัด       ผู้ประกอบการไทยต้องสู้ เพื่อประโยชน์ลูกค้า คนไทย และประเทศไทย      
 
นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ตามที่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ได้ยื่นฟ้องศาลปกครองเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2554 ให้ศาลมีคำสั่งให้ กสท โทรคมนาคม ระงับการดำเนินการต่างๆ ตามสัญญาระหว่าง บมจ. กสท โทรคมนาคม และกลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ในการร่วมลงทุนเพื่อให้บริการสื่อสารในระบบ          ซีดีเอ็มเอ และเอชเอสพีเอ  กลุ่มทรูรู้สึกกังวลและเป็นห่วงอย่างมากที่สุดว่า หากศาลมีคำสั่งให้หยุด       ดำเนินการให้บริการสื่อสารในระบบซีดีเอ็มเอ และเอชเอสพีเอดังกล่าว จะสร้างความเดือดร้อนต่อลูกค้า     ซีดีเอ็มเอของ กสท และฮัทช์กว่า 1 ล้านราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่ใช้บริการซีดีเอ็มเอมายาวนานเกือบ 10 ปี ทำให้ไม่สามารถใช้บริการได้ตามปกติ  ซึ่งความเดือดร้อนดังกล่าวไม่ได้เป็นความผิดของลูกค้า  รวมทั้งไม่ได้เกิดจากความขัดข้องของสัญญาณ และเครือข่ายการให้บริการทั้งสิ้น
 
“ปัจจุบันการสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการดำเนินชีวิต หากลูกค้าทั้ง 1 ล้านรายไม่สามารถใช้บริการ     ติดต่อสื่อสารได้ จะเกิดผลกระทบอย่างหนักต่อลูกค้า ทั้งการใช้งานตามปกติและกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน        ซึ่งความเดือดร้อนดังกล่าวจะกระจายถึงลูกค้าที่อยู่ในทุกภาคส่วนของประเทศ กลุ่มทรู ขอย้ำว่าจะยืนหยัดต่อสู้จนถึงที่สุดเพื่อไม่ให้ลูกค้าซีดีเอ็มเอของ กสท และฮัทช์ทั้ง 1 ล้านรายได้รับความเดือดร้อนอย่าง
แน่นอน ” นายศุภชัย กล่าวสรุป

View :1280
Categories: Press/Release Tags: ,

ดีแทคยื่นฟ้อง กสท กรณีสัญญาระหว่าง กสท และกลุ่มบริษัททรู

April 25th, 2011 No comments

กรุงเทพฯ – 25 เมษายน 2554 – บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ “ ดีแทค ” ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองวันนี้เพื่อให้มีการพิจารณาถึงความ ถูกต้องตามกฏหมายของสัญญาระหว่าง บมจ. กสท โทรคมนาคม และกลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ในการร่วมลงทุนเพื่อให้บริการสื่อสารในระบบซีดีเอ็มเอและเอชเอสพีเอ นอกจากนั้น ดีแทคยังยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งให้ กสท โทรคมนาคม ระงับการดำเนินการต่างๆ ภายใต้สัญญาดังกล่าวจนกว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ทั้งหมดจะได้ทำการตรวจสอบและรับรองการดำเนินการทางธุรกิจดังกล่าวตามขั้นตอน ที่ถูกต้อง

ทั้ง นี้ บมจ. กสท โทรคมนาคม ได้มีการลงนามในสัญญาหลายฉบับกับบริษัทในเครือของกลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งรวมถึงบริษัท เรียล มูฟ จำกัด และบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อร่วมลงทุนในการให้บริการสื่อสารระบบซีดีเอ็มเอและเอชเอสพีเอ ที่ผ่านมา การดำเนินการทางธุรกิจดังกล่าวระหว่าง กสท และกลุ่มบริษัททรู ได้รับการตรวจสอบเนื่องจากมีการหยิบยกถึงความผิดปกติและข้อกังวลต่าง ๆ โดยหน่วยงานกำกับดูแล คือ รักษาการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ตลอดจนกลุ่มนักวิชาการและหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบหลายฝ่าย รวมถึงสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน แม้กระนั้น รัฐบาลยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ เพื่อเป็นการยืนยันว่าการดำเนินการทางธุรกิจดังกล่าวมีความสอดคล้องถูกต้อง ตามกฎหมาย และส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรมในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า “ การดำเนินการทางธุรกิจครั้งนี้เป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับ หลักการแข่งขันทางธุรกิจ ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และเข้าข่ายการเลือกปฏิบัติต่อผู้ให้บริการสื่อสารรายอื่น ๆ รวมถึงดีแทคด้วย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมในภาพรวมและ เกิดความเสียหายต่อดีแทค เรารู้สึกผิดหวังที่รัฐบาลไม่ได้มีท่าทีอย่างจริงจังเท่าที่ควรเพื่อเป็นการ ยืนยันว่าการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ มาตรา 46 พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ และขัดต่อข้อกำหนดของกฎหมายการแข่งขันทางการค้า ”

“ เราจึงจำเป็นที่จะต้องดำเนินการในวันนี้เพื่อเป็นการปกป้อง ผลประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ผู้บริโภคชาวไทย และประเทศไทยเป็นหลัก โดยไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของดีแทคเพียงฝ่ายเดียว ” นายอับดุลลาห์กล่าว

ดี แทคมีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมการพัฒนาบริการด้านสื่อสารโทร คมนาคมในประเทศไทย และมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภคด้วยเทคโนโลยีด้านสื่อสารโทร คมนาคมที่ทันสมัยเพื่อ ประโยชน์สูงสุดของประเทศไทย “ เราต้องการผลักดันให้รัฐบาลเข้ามามีบทบาทอย่างจริงจัง ใน การวางโครงสร้างด้านกฎระเบียบที่โปร่งใส เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีการปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียม และส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ซึ่ง ในส่วนของ ดีแทคเองก็พร้อมที่จะเจรจาอย่างเปิดเผยกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น รักษาการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการคลัง และ กสท โทรคมนาคม ทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่ กำลังประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้ ” นายอับดุลลาห์กล่าว สรุป

View :1490
Categories: Press/Release Tags: , ,

ทรูมูฟ ขยายเวลาช่วยเหลือลูกค้าจากเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิ ในประเทศญี่ปุ่น

March 14th, 2011 No comments

ทรูมูฟ ขยายเวลาช่วยเหลือลูกค้าจากเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิในประเทศญี่ปุ่นให้ลูกค้าติดต่อหากันได้อย่างต่อเนื่องถึง 17 มีนาคม 2554  ดังนี้
สำหรับลูกค้าทรูมูฟแบบรายเดือน
รับสายจากเมืองไทย ฟรี
รับ SMS ฟรี
โทรติดต่อทรูมูฟ แคร์ +66891001331 ฟรี
โทรกลับจากญี่ปุ่นมาเมืองไทย จ่ายเพียงครึ่งราคา

สำหรับลูกค้าทรูมูฟแบบเติมเงิน
ทรูมูฟเติมเงินให้ลูกค้าที่อยู่ในญี่ปุ่น รายละ 1,000 บาท เพื่อใช้งานระหว่างอยู่ในต่างประเทศหรือให้โทรศัพท์กลับไทย

รับ SMS ฟรี
โทรติดต่อทรูมูฟ แคร์ +66891001331 ฟรี

View :1446

ทรู จับมือ สสว. เดินหน้าโครงการ "พันธมิตรให้สิทธิประโยชน์สมาชิก สสว."

March 13th, 2011 No comments

ผสานเทคโนโลยีสื่อสารคอนเวอร์เจนซ์ เสริมศักยภาพผู้ประกอบการไทย เป็นปีที่ 2
พร้อมมอบสิทธิพิเศษในงาน “

นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ (ที่4 จากซ้าย) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือ สานต่อโครงการ “พันธมิตรให้สิทธิประโยชน์สมาชิก สสว.” ระหว่างสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) โดย นายยุทธศักดิ์ สุภสร (ที่4 จากขวา) ผู้อำนวยการ และ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น โดย นายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข (ที่3 จากขวา) กรรมการผู้จัดการสายงานคอนเวอร์เจนซ์ และกรรมการผู้จัดการกลุ่มลูกค้าธุรกิจ ในงาน “Thailand SME Expo 2011” ณ ฮอลล์ 2 อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพค เมืองทองธานี ซึ่ง กลุ่มทรู ได้รับความไว้วางใจต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ให้เป็นผู้สนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นสมาชิก สสว. จำนวนกว่า 109,000 ราย โดยร่วมดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ที่จะอำนวยสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกอบธุรกิจ พร้อมต่อยอดความคิด พัฒนาเข้าสู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ และเติบโตอย่างยั่งยืน สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดแพ็กเกจพิเศษต่างๆ ได้ที่ บูธทรู ในงานดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 10 – 13 มีนาคม 2554

ทั้งนี้ ทรู มีโซลูชั่นเพื่อธุรกิจ ให้เลือกหลากหลายแพ็กเกจตามขนาดความต้องการ เริ่มต้นเพียง 699 บาท/เดือน ทั้ง Starter Pack สำหรับผู้ที่เริ่มต้นธุรกิจ Smart Pack สำหรับธุรกิจที่ต้องการความคุ้มค่า และ Professional Pack สำหรับธุรกิจที่ต้องการรองรับการเติบโต ซึ่งแต่ละแพ็กเกจได้รวมบริการของทรู ทั้ง hi-speed Internet โทรศัพท์พื้นฐาน และหน้าร้านออนไลน์จาก www..com ไว้อย่างครบวงจร

นอกจากนี้ ยังมีบริการทรูมูฟเพื่อธุรกิจ แพ็กเกจพิเศษเพียง 169 บาท/เดือน สำหรับสมาชิก สสว. ที่ต้องการเน้นการประหยัดค่าโทรและต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือ โดยสามารถโทรหากันระหว่างสมาชิก และทรูมูฟหมายเลขอื่นๆ ในช่วงเวลาธุรกิจ รวมถึงหมายเลข 1301 ของสสว. พร้อมเล่นอินเทอร์เน็ตบนมือถือสูงสุด 40 ชั่วโมง/เดือน และอีกหลากหลายแพ็กเกจให้เลือกสรร

พิเศษยิ่งขึ้น ทรู มอบส่วนลด 50% ให้กับสมาชิก สสว. ที่เปิดใช้บริการหน้าร้านออนไลน์จาก www.weloveshopping.com ภายในงานอีกด้วย

สำหรับกลุ่มลูกค้าธุรกิจ สมาชิก สสว. สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และแพ็กเกจของกลุ่มทรู โทร.02-900-9100 ตั้งแต่ วันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 08.30 – 17.30 น. หรือที่เว็บไซต์ www.trueforbusiness.com

View :1523

ทรู โชว์ศักยภาพสื่อสารคอนเวอร์เจนซ์ สนับสนุนงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 32

March 8th, 2011 No comments

บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น โดย นายประวิทย์ ศรีอนุวัติพงศ์ ผู้จัดการทั่วไป Regional Management BMA1 (ขวา) และบริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดย ดร.ปราจิน เอี่ยมลำเนา (กลาง) ประธานบริหาร และประธานจัดงาน, นายจาตุรนต์ โกมลมิศร์ (ซ้าย) รองประธานกรรมการบริหารอาวุโส และรองประธานจัดงาน ร่วมแถลงข่าวจัดงานมหกรรมยานยนต์ บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 32 ซึ่งกลุ่มทรู ยังคงได้รับความไว้วางใจให้รับผิดชอบศูนย์บริการสื่อมวลชน และห้องรับรอง VIP อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 ทั้งบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจากทรูออนไลน์, อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย, บริการฟรีโทรทางไกลต่างประเทศ รหัส 006, บริการอัพเดทข่าวสารทั่วโลกตลอดงานจากทรูวิชั่นส์, และมอบฟรี hi-speed Net SIM จากทรูมูฟ * ให้นักข่าวสัมผัสประสบการณ์ * ความเร็วสูงสุด 7.2 Mbps มั่นใจสามารถรองรับสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ กว่า 1,100 คน ที่จะมาร่วมงาน ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี ในวันที่ 25 มีนาคม – 5 เมษายนนี้

นายประวิทย์ ศรีอนุวัติพงศ์ ผู้จัดการทั่วไป True Regional Management BMA1 บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า เพื่อให้สอดคล้องแนวคิดของงาน “Discovery A new Innovation – เปิดโลกยนตรกรรมสู่อนาคต” ของงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 32 กลุ่มทรู ผู้นำเทคโนโลยีสื่อสารครบวงจร คัดสรรบริการคอนเวอร์เจนซ์ภายในกลุ่ม อำนวยความสะดวกสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ รวมกว่า 1,100 คน ทั่วโลก ในศูนย์บริการสื่อมวลชน อาทิ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจากทรูออนไลน์ ความเร็วสูงสุด 50 – 100 Mbps, Wi-Fi, รวมถึงโทรทางไกลฟรีทั้งในและต่างประเทศ รหัส 006, บริการอัพเดทข้อมูลข่าวสารทั้งในและต่างประเทศกับทรูวิชั่นส์, พร้อมมอบประสบการณ์ 3G* ความเร็วสูงสุด 7.2 Mbps ซึ่งเร็วกว่าปกติถึง 30 เท่า ผ่าน hi-speed Net SIM จากทรูมูฟ 3G* ฟรี โดยแบ่งศูนย์บริการสื่อมวลชนออกเป็น 2 ห้อง คือห้องจูปิเตอร์15 สำหรับรับรองสื่อมวลชนต่างประเทศ และห้องจูปิเตอร์16 สำหรับรับรองสื่อมวลชนในประเทศตลอดงาน ยิ่งไปกว่านั้น ทรู ยังได้รับความไว้วางใจให้ติดตั้งสัญญาณ 3G* ให้ผู้เข้าชมงานได้สนุกกับการท่องเน็ตความเร็วสูงทั่วทั้งงาน

ทั้งนี้ กลุ่มทรู ยังนำนวัตกรรมสินค้าและบริการ ตอกย้ำความเป็นผู้นำชีวิตคอนเวอร์เจนซ์ ร่วมโชว์และจำหน่ายด้วย อาทิ แพ็กเกจคอนเวอร์เจนซ์, แพ็กเกจพิเศษจากทรูออนไลน์ ทั้ง Ultra hi-speed Internet และ hi-speed Internet, รวมถึง hi-speed Net SIM จากทรูมูฟ 3G* แบบรายเดือน/เติมเงิน, และแพ็กเกจสุดคุ้มจากทรูวิชั่นส์ พิเศษเฉพาะในงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 32 นี้เท่านั้น ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บูธทรู ฮอลล์ 1 อาคารชาเลนเจอร์ ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม – 5 เมษายนนี้

* บริการ 3G (บนคลื่นความถี่ 850MHz) เป็นส่วนหนึ่งในการปรับปรุงและพัฒนาโครงข่ายในบางพื้นที่ เพื่อให้บริการของทรูมูฟดีขึ้น ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล พัทยา ชลบุรี เชียงใหม่ ภูเก็ต

View :1559