Archive

Author Archive

ผลการศึกษาระบุหากไทยยกระดับกรอบนโยบายเพื่อรองรับเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง จะเพิ่มโอกาสการจ้างงานเชิงคุณภาพ และทำให้เกิดธุรกิจใหม่

May 16th, 2012 No comments

การยกระดับกรอบนโยบายของประเทศไทย เพื่อรองรับเทคโนโลยี (Cloud Computing) และเศรษฐกิจแบบดิจิตอล (Digital Economy) จะมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยก้าวไปสู่เป้าหมายการขยายระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพิงนวัตกรรมตามที่มุ่งหวังไว้ นำไปสู่การเติบโตของตลาดงานแบบยั่งยืน โดยมีค่าแรงที่เพิ่มสูง และมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ยังมีอุปสรรคบางประการที่ต้องข้ามผ่านเสียก่อน เป็นข้อมูลจากการศึกษาล่าสุด เรื่องเศรษฐกิจแบบดิจิตอลและคลาวด์ คอมพิวติ้ง โดยกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) และบริษัทวิจัยกาเลกเซีย (Galexia) ที่ศึกษาความพร้อมด้านนโยบาย และกฎหมาย ที่เกี่ยวกับคลาวด์ คอมพิวติ้ง ใน 14 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก

การศึกษาระบุว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีศักยภาพในการเป็นศูนย์รวมการทำธุรกิจบนเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง ระดับโลก อย่างไรก็ดี พบว่าเกือบจะทุกประเทศในภูมิภาคนี้จะได้รับประโยชน์มากขึ้น หากมีการปรับปรุงกฎหมาย และนโยบาย ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ในลักษณะที่แตกต่างกันไป เพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง ระหว่างประเทศ

“การเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งกำหนดนโยบายในเรื่องนี้ เพื่อให้ภาคธุรกิจได้รับโอกาสทางธุรกิจมากที่สุดในระบบเศรษฐกิจแบบดิจิตอล และคลาวด์ คอมพิวติ้ง” นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าว “ประเทศไทยมีจุดแข็งในกรอบนโยบายอย่างชัดเจน แต่เรายังสามารถปรับปรุง และทำให้กรอบนโยบายของเราดียิ่งขึ้น การเพิ่มความเชื่อมั่น และสร้างความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมบนโลกออนไลน์ เป็นเรื่องจำเป็นที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทย ในการดึงดูดนักลงทุน สร้างงานคุณภาพ และส่งเสริมอุตสาหกรรมไอทีของเรา”

ประเทศไทยเริ่มต้นได้ดีแล้วกับนโยบายเพื่อรองรับคลาวด์ คอมพิวติ้ง และเศรษฐกิจแบบดิจิตอล อย่างไรก็ดี ยังต้องแก้ไขช่องโหว่ที่สำคัญ เพื่อให้ทันคู่แข่งอื่นในภูมิภาค การส่งเสริมความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับกรอบนโยบาย ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจของประเทศไทย ในสิ่งแวดล้อมใหม่ที่เป็นคลาวด์ คอมพิวติ้งและเศรษฐกิจแบบดิจิตอล

“บางเรื่องภายใต้กรอบนโยบายเพื่อรองรับเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง ของประเทศไทย ถือว่าเป็นจุดแข็ง แต่หากมีการพัฒนาเนื้อหาในบางเรื่อง ประเทศไทยจะสามารถมีกรอบนโยบายที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจแบบดิจิตอล เกิดผลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น” มร. โรเจอร์ ซอมเมอร์วิลล์ ผู้อำนวยการอาวุโสด้านรัฐบาลและนโยบายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของบีเอสเอกล่าว “การมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลออกมารองรับ จะช่วยให้ไทยสามารถเพิ่มโอกาสได้มากขึ้น จากเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง

มร. โรเจอร์ กล่าวว่า ประเทศไทยได้พัฒนากฎหมายหลายฉบับ ที่มีเนื้อหาครบถ้วน ที่เกี่ยวกับอาชญกรรมบนโลกไซเบอร์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจสำหรับการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีกฎหมายที่ดีหลายฉบับ เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้วด้วย

การศึกษาครั้งนี้ ได้ตรวจสอบกรอบกฎหมายและนโยบายของ 14 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประกอบด้วย ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม และเน้นไปที่ 8 หัวข้อที่สำคัญ ผลการศึกษาที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

• ความปลอดภัย (Security) ประเทศในเอเชียส่วนใหญ่มีกฎหมายว่าด้วยเรื่องลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่ชัดเจนและมีความเป็นกลางในเรื่องเทคโนโลยี และได้กำหนดกฎระเบียบว่าด้วยการรับรองลายมือชื่อเซ็น ตามความจำเป็นไว้แล้ว มีการกำหนดมาตรการเรื่องความปลอดภัยในประเทศส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี มีประเทศเป็นจำนวนไม่น้อย ได้เริ่มต้นกำหนดรูปแบบการปิดกั้น หรือกลั่นกรองเนื้อหาบนอินเตอร์เน็ท ซึ่งอาจขัดขวางการขยายตัวของเศรษฐกิจแบบดิจิตอล และคลาวด์ คอมพิวติ้งได้
• อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime) ประเทศส่วนใหญ่มีกฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หรือไม่ก็มีกฎหมายเกี่ยวกับอาชญกรรมบนโลกไซเบอร์ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว และเนื้อหาส่วนใหญ่ของกฎหมายดังกล่าวมีความสอดคล้องกับสนธิสัญญาว่าด้วยเรื่องอาชญกรรมบนโลกไซเบอร์ อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันอย่างมากในส่วนของกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวน และการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งรวมถึงการเข้าถึงข้อมูลที่เข้ารหัสไว้ และการกระทำความผิดข้ามเขตแดนที่กฎหมายของแต่ละประเทศบังคับใช้อยู่
• ความสามารถในการทำงานข้ามระบบกันได้ (Interoperability) ถึงแม้ว่าประเทศในเอเชียส่วนใหญ่มีกฎหมาย หรือกฎข้อบังคับที่กำหนดกรอบเรื่องความสามารถในการทำงานข้ามระบบ และการถ่ายโอนข้อมูล แต่แนวทางของรัฐบาลที่เกี่ยวกับขั้นตอนการพัฒนาให้เป็นมาตรฐานยังมีความลักหลั่นกันอยู่ มีการตัดสินใจนอกรอบหลายเรื่องโดยไม่ได้อิงกับกรอบการทำงานและนโยบายแห่งชาติ จึงจำเป็นต้องมีการทำงานอย่างจริงจังในส่วนนี้ เพื่อส่งเสริมและเร่งการพัฒนามาตรฐานดังกล่าว
• การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy) ประเทศเอเชียส่วนใหญ่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอยู่แล้ว และได้จัดตั้งกรรมาธิการอิสระขึ้น เพื่อดูแลในเรื่องนี้ มีการปฏิรูปกฎหมายครั้งใหญ่ในเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีการทบทวนและข้อเสนอเกิดขึ้น ในออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน อย่างไรก็ดี ประเทศสำคัญ อย่าง จีน อินเดีย และอินโดนีเซีย ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูล
• สิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Rights) ภูมิภาคนี้กำลังมุ่งหน้าไปในแนวทางต่อเนื่องเกี่ยวกับสิทธิหลายอย่างที่สำคัญ และการคุ้มครองสิทธิเหล่านั้น แม้ว่าจะยังมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ของแนวทางเกี่ยวกับข้อมูลการจัดการสิทธิ และเทคโนโลยีการเข้าสู่ข้อมูล ยังมีช่องว่างในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศสำคัญๆ รวมถึงอินเดีย และฟิลิปปินส์
• การสร้างกฎเกณฑ์ร่วมกันในระดับนานาชาติ (International harmonization of rules) กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคนี้มีเนื้อหาไปในทิศทางเดียวกันมาก โดยประเทศส่วนใหญ่มีการร่างกฎหมาย โดยอิงกับโมเดลกฎหมายของ UNCITRAL ว่าด้วยเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และ/หรือ อนุสัญญาขององค์กรสหประชาชาติว่าด้วยการทำสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ (UN Convention on Electronic Contracting) หลายประเทศได้ลงนามและรับรองอนุสัญญา และนำไปสู่การสร้างกฎเกณฑ์ร่วมกัน ทำให้การเก็บภาษีศุลกากร หรือการกีดกันทางการค้า สำหรับการซื้อขายซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ แบบออนไลน์ เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ยากมากในภูมิภาคนี้
• การค้าเสรี (Free trade) ยังคงมีการจัดซื้อจัดหาที่ให้สิทธิพิเศษหรือไม่เท่าเทียมกันอยู่บ้างประปราย การปฏิบัติเช่นนี้เป็นการจำกัดการแข่งขัน และอาจส่งผลกระทบในระยะยาว ต่อการจัดหาและต้นทุนของผลิตภัณฑ์และบริการแบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง ในบางประเทศ อย่างไรก็ดี มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นภาคีของความตกลงว่าด้วยการจัดซื้อจัดหาของภาครัฐ (WTO Agreement on Government Procurement) เป็นจำนวนมากขึ้น สิ่งนี้ทำให้การจัดซื้อจัดหาของภาครัฐมีความเป็นกลางและเสรีมากขึ้น
• โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) การมีอยู่และการเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ในภูมิภาคมีความแตกต่างกัน และพบว่ามีบางประเทศยังไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ที่สามารถสนับสนุนและใช้แสวงหาประโยชน์จากเศรษฐกิจแบบดิจิตอลและคลาวด์ คอมพิวติ้ง ได้อย่างเต็มที่

“การศึกษาครั้งนี้ไม่ได้จัดอันดับคุณภาพของสภาวะแวดล้อมทางกฎหมายและนโยบายในประเทศที่ทำการศึกษา เพียงแต่มุ่งให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบดูว่า ปัญหาด้านกฎหมายและนโยบายที่จำเป็นต้องแก้ไขในประเทศเหล่านี้ ได้รับการแก้ไขแล้วหรือยัง เพราะเรื่องที่ศึกษามีขอบเขตกว้างขวางและครอบคลุมหลายประเทศ การศึกษานี้จึงเสนอการประเมินในระดับพื้นฐาน เพื่อดูว่าโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นของเศรษฐกิจดิจิตอลมีความพร้อมแล้วหรือยัง มากกว่าจะมุ่งเจาะลึกดูว่าการเตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวดำเนินไปได้ดีเพียงใด” มิสเตอร์ โรเจอร์กล่าว

เราหวังว่าการศึกษาครั้งนี้จะทำให้เกิดการพูดคุยกันในกลุ่มผู้กำหนดนโยบาย เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปสำหรับการแก้ไขที่จำเป็น โดยให้มุมมองว่า การสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจแบบดิจิตอล และคลาวด์ คอมพิวติ้ง ในเอเชีย จำเป็นต้องทำผ่านการยกระดับนโยบาย และการผนึกรวมเรื่องของการค้าและเศรษฐกิจเข้าไว้ด้วยกัน การศึกษาครั้งนี้เป็นเสมือนเครื่องมือ เพื่อช่วยให้ผู้กำหนดนโยบาย สามารถทำการประเมินในเชิงสร้างสรรค์ และวางแผนขั้นต่อไป ที่จำเป็นเพื่อสร้างให้เกิดความเชื่อมั่น ในสิ่งแวดล้อมแบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง โดยเน้นไปที่การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยในธุรกรรมต่างๆ ของผู้ใช้งาน หรือได้รับบริการคลาวด์ คอมพิวติ้ง และเพื่อส่งเสริมให้เกิดการทำงานประสานข้ามระบบ และการถ่ายโอนข้อมูลกันได้ ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมที่จำเป็นต่อการใช้ประโยชน์บนเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งอย่างเต็มที่

View :1157

ไปรษณีย์ดันส่งออกไทย ผุดบริการใหม่ส่งของใหญ่เต็มพิกัดถึง 200 กก.

May 16th, 2012 No comments

์ไทยเปิดบริการใหม่โลจิสโพสต์ระหว่างประเทศส่งของใหญ่น้ำหนัก 20-200 กก. เจาะตลาดส่งออกไทยเอาใจคอ SME ส่งถึงปลายทาง 7 ประเทศภายใน 7-10 วันทำการ พร้อมตรวจสอบสถานะสิ่งของผ่านระบบ Track&Trace ได้ตลอด 24 ชม.

นางปริษา ปานะนนท์ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารการตลาด บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) กล่าวถึงการเปิดให้บริการโลจิสต์โพสต์ระหว่างประเทศว่า เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ส่งออกสินค้าขนาดใหญ่หรือส่งออกคราวละมากๆน้ำหนักตั้งแต่ 20 – 200 กก. อาทิ เครื่องประดับ สินค้าโอทอป ของตกแต่งบ้าน หรือสินค้าตัวอย่างไปยังปลายทางในต่างประเทศ โดยเปิดให้บริการแล้วในระยะแรก 7 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อังกฤษ จีน สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ด้วยระบบการขนส่งทางอากาศที่ได้มาตรฐานในระดับสากล นำจ่ายถึงผู้รับภายใน 7-10 วันทำการ สะดวกคุ้มค่าในราคาประหยัด อัตราค่าบริการคิดตามน้ำหนักและพื้นที่ปลายทาง ผู้สนใจสามารถติดต่อขอใช้บริการได้แล้ว ณ ที่ทำการไปรษณีย์จำนวน 41 แห่งที่เปิดให้บริการทั้งในเขตกรุงเทพ-ปริมณฑล และไปรษณีย์จังหวัด 4 แห่ง อาทิ ไปรษณีย์กลาง ปณ.จตุจักร พระโขนง ลาดพร้าว ปทุมธานี รังสิต หลักสี่ คลองจั่น อ่อนนุช สมุทรปราการ รองเมือง ลาดกระบัง อุดรธานี เชียงใหม่ เชียงราย และภูเก็ต เป็นต้น

“สินค้าหรือสิ่งของที่ผ่านการดำเนินพิธีการศุลกากรขาออกและหุ้มห่อภายในกล่องพัสดุอย่างเรียบร้อยเตรียมพร้อมสำหรับฝากส่ง ณ ที่ทำการฯ จะถูกส่งต่อไปยังสายการบินซึ่งมีเที่ยวบินออกจากประเทศทุกวัน ร่วม 4 เที่ยวบินต่อวัน เพื่อส่งต่อไปยังที่อยู่ผู้รับในต่างประเทศด้วยมาตรฐานเครือข่ายการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ มั่นใจได้ว่าจะช่วยอำนวยความสะดวกและรองรับความต้องการส่งสินค้าของกลุ่มผู้ อาทิ ผู้ส่งออกสินค้าในโครงการ Thaitrade.com ผู้ประกอบการ SMEs ประเภทต่างๆ ที่ต้องการส่งสินค้าในปริมาณมากได้อย่างแน่นอน”

ทั้งนี้ ไปรษณีย์ไทยยังได้จัดโปรโมชั่นพิเศษสำหรับผู้ส่งออกสินค้าในโครงการ Thaitrade.com ที่ใช้บริการโลจิสโพสต์ระหว่างประเทศตั้งแต่วันนี้ ถึง 15 สิงหาคม ศกนี้ รับส่วนลด 10% ต่อชิ้นทันทีที่ใช้บริการ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายตลาดสื่อสารและขนส่ง 0-2831-3213 , 0-2831-3906 หรือเข้าชมได้ทาง www.thailandpost.co.th

View :1323

Thailand’s software piracy rate is dropped.

May 16th, 2012 No comments

Thailand’s software piracy rate is dropped to 72 per cent from 73 per cent in previous year, but the value of pirated software is increased from US$777million to $US852 million or Bt26.4 billion according to the latest release of Business Software Alliance (), the 2011 Global Software Piracy Study.

Thailand is ranked as the 15th from top 20 economies in commercial value of pirated PC software. The value of pirated software in Thailand in 2011 is US$852 million, while value of legal software in Thailand in 2011 is US$331 million.

BSA spokesperson Varunee Ratchatapattanakul said that the software piracy rate in 2011 is 72 per cent that is meaning nearly two out of three programs that used installed were unlicensed. Therefore, the authority would react by increasing police patrols and penalties. Software piracy demands a similar response that are concerted public education and vigorous law enforcement.

Globally, the study found that piracy rate in the emerging market is higher than the mature market. By average, the piracy rate in the emerging market is 68 per cent, while 24 per cent in the mature market.

BSA president and chief executive officer Robert Holleyman said that software piracy persists as a drain on the global economy, IT innovation and job creation. Governments must take steps to modernize their intellectual property (IP) laws and expand enforcement efforts to ensure that those who pirate software face real consequences.

However, the pirated software in Asia Pacific in 2011 is 60 per cent that worth around US$20.99 billion while the pirated software in the global is 42 per cent that worth US$63.45 billion, increased from US$58.8 billion in 2010, a new record, propelled by PC shipments to emerging markets where piracy rates are highest.

Varunee added that the three solutions that BSA proposes the authorities to execute to help reduce the piracy rate. First, the government should increase public education and raise awareness about software piracy and IP rights in cooperation with industry and law enforcement. Second, the government should strengthen enforcement of IP laws with dedicated resources including specialized enforcement units, training for law enforcement and judiciary officials. And third, the government should lead by example by using licensed software, implementing software asset management programs, and promoting the use of legal software on state-own enterprises, and among all contractors and suppliers.

This study is the ninth annual study of global software piracy conducted by BSA in partnership with International Data Corporation (IDC) and Ipsos Public Affairs. Its methodology involves collecting 182 discrete data inputs and assessing PC and software trends in 116 markets. It also include a survey of 15,000 computer users in 33 countries that together constitute 82 per cent of the global PC market.

View :1408
Categories: Software Tags: ,

ก.ล.ต. เปิดตัว Mobile App “start-to-invest” ที่ปรึกษาส่วนตัวด้านการเงินบน iPhone และ iPad

May 16th, 2012 No comments


นำเทคโนโลยี ช่วยวางแผนทางการเงินให้แก่ผู้ลงทุนบน iPhone และ iPad ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์การลงทุน ใช้งานง่าย ตอบคำถามด้านการลงทุนได้ทุกมิติ เสมือนมีที่ปรึกษาด้านการเงินส่วนตัวมาอยู่ใกล้ ๆ ทำให้เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี
บน App store ผ่าน iPhone และ iPad ได้ตั้งแต่วันนี้

นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า “ในการตัดสินใจลงทุนอย่างถูกต้อง ผู้ลงทุนจำเป็นต้องมีข้อมูลคุณภาพ เข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว และต้องมีเครื่องมือช่วยวางแผนที่มีประสิทธิภาพ ก.ล.ต. จึงมุ่งมั่นที่จะให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว เชื่อถือได้ Mobile App “start-to-invest” นี้จึงเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับผู้ลงทุน สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุนได้หลายมิติ อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ของ ก.ล.ต. ในภาพลักษณ์ที่ทันสมัยและด้วยท่าทีที่เป็นมิตรกับทุกภาคส่วน”

นายชาลี จันทนยิ่งยง รองเลขาธิการ ก.ล.ต. ดูแลสายงานให้ความรู้การลงทุน กล่าวว่า “App “start-to-invest” เป็นความตั้งใจของ ก.ล.ต. ที่จะมอบเครื่องมือการวางแผนทางการเงินและคลังข้อมูลสินค้าเพื่อการลงทุนสำหรับผู้ที่เริ่มลงทุน โดยเน้นการใช้งานที่ง่าย ออกแบบให้ดูสบายตา เป็นกันเอง ซึ่ง ก.ล.ต. เชื่อมั่นว่า App นี้จะช่วยให้คนไทยเข้าใจความสำคัญของการวางแผนการเงินและสามารถต่อยอดไปสู่การสร้างอนาคตที่มั่งคั่งด้วยการลงทุนได้”

Mobile App “start-to-invest ได้รับการพัฒนาให้ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยทำงานที่สนใจเรียนรู้การลงทุนบนโลกออนไลน์ App นี้จะช่วยให้การวางแผนการเงินเป็นเรื่องง่าย เพราะมีโปรแกรมทดลองคำนวณเพื่อวางแผนการเงินได้ด้วยตนเอง และสามารรถปรับเปลี่ยนการคำนวณให้เหมาะกับความต้องการที่เปลี่ยนไป สามารถเช็คข้อมูลสินค้าการลงทุนที่อยู่ระหว่างเสนอขายได้อย่างรวดเร็ว เข้าถึงข้อมูลกองทุนรวมที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่น และช่องทางลงทุนในสินทรัพย์รูปแบบต่าง ๆ พร้อมฟังก์ชั่นอำนวยความสะดวกให้ผู้ลงทุนโทรออกถึงผู้ให้บริการทางการเงินได้ทันที นอกจากนี้ ยังมีคลิปความรู้การเงินการลงทุนที่ดูง่ายและให้ความบันเทิง เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส

ดร. สมจินต์ ศรไพศาล นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน กล่าวว่า “น่าดีใจแทนคนรุ่นใหม่ ที่ได้มีเครื่องมือชิ้นใหม่ที่ให้ทั้งข้อมูลที่ทันสมัย และยังช่วยการวางแผนการลงทุนเบื้องต้นได้ด้วย ขอเชียร์ทุกคนโดยเฉพาะคนหนุ่มสาวให้ลองใช้ Mobile App “start-to-invest” และที่สำคัญอยากให้ลงมือลงทุนตั้งแต่อายุยังน้อยอย่างมีวินัย และยิ่งทำให้เป็นอัตโนมัติได้ก็ยิ่งดีครับ”

นายมงคล ลีลาธรรม นายกสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย กล่าวว่า “เงินทองเป็นของหายาก หากมีความรู้ รู้จักการวางแผนที่ดีจะช่วยเพิ่มมูลค่าของเงินได้ Mobile App “start-to-invest” ที่ ก.ล.ต. ได้พัฒนาขึ้นมาช่วยเรื่องการวางแผนการเงินได้เป็นอย่างดี มีเป้าหมาย และทำให้เข้าใจง่ายขึ้น แค่กรอกข้อมูลเข้าไปไม่กี่ตัวก็ได้คำตอบ ไม่ว่าจะวางแผนเพื่อการศึกษาบุตร ซื้อรถ ซื้อบ้าน หรือเพื่อเกษียณอายุ เป็นวิธีการให้ความรู้จับคู่กับเงิน ทำให้เงินงอกเงย น่าสนใจจริง ๆ”

นางวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. บัวหลวง กล่าวว่า “Mobile App “start-to-invest” ที่ ก.ล.ต. ได้พัฒนาขึ้น ถือเป็นความก้าวหน้าของ ก.ล.ต. ที่เข้าถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้ลงทุน โครงการนี้ทำให้ผู้ลงทุนสามารถรับข่าวสารที่ถูกต้องจาก ก.ล.ต. ได้โดยตรง ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ใด เขาก็สามารถศึกษาหาข้อมูลความรู้การลงทุน ค้นหาข้อมูลกองทุนรวมต่าง ๆ ที่คัดกรองมาแล้ว จึงเป็น Application ของหน่วยงานรัฐที่อุดมไปด้วยข้อมูลที่เชื่อถือได้ จึงเชื่อมั่นว่า Mobile App “start-to-invest” นี้จะให้ประโยชน์สูงสุดกับผู้ลงทุนบนโลกออนไลน์ได้เป็นอย่างดี”

คุณอศินา พรวศิน รองบรรณาธิการข่าวไอที และบรรณาธิการโซเชียลมีเดีย The Nation กล่าวว่า “มีโอกาส ได้สัมผัส Mobile App “start-to-invest” ในฐานะที่เป็นนักข่าวและมีการลงทุนอยู่บ้าง ดีใจที่ ก.ล.ต. ให้บริการและเข้าถึงประชาชนให้วางแผนทางการเงินได้อย่างถูกต้อง ทั้งการออมในรูปแบบของการลงทุนในแต่ละเดือน การซื้อ LTF เพื่อวางแผนเรื่องภาษี และยังสามารถคำนวณวันที่ขาย LTF ได้ ที่ผ่านมาต้องพึ่งพาคำแนะนำพนักงานธนาคาร คราวนี้ทำให้มั่นใจมากขึ้น เพราะ ก.ล.ต. เป็นผู้ให้คำตอบ”

View :1456

Show No Limit เปิดตัวเกม “ชนด้วง” โซเชี่ยลเกมบนเฟซบุ๊คเกมแรกของบริษัท

May 16th, 2012 No comments

จับมือ MOL และ PaySbuy “ดึงวัฒนธรรมมาทำให้สนุกได้” ปั้นอดีตนักล่ารางวัลประกวดเกมสู่เวทีมืออาชีพ
“ชนด้วง” ชนลั่น สนั่นป่า บน Facebook แล้ววันนี้

โชว์โนลิมิต แถลงข่าวเปิดตัวเกม “ชนด้วง” โซเชี่ยลเกมบนเฟซบุ๊คเกมแรกของบริษัท เนรมิตรจากการละเล่นพื้นบ้านชาวเหนือของไทย สู่เกมต่อสู้รูปแบบใหม่โดยฝีมือนักพัฒนาเกมดาวรุ่ง “เจี๊ยบ โกวิทย์ ชนะเคน” ที่ผ่านเวทีประกวดสร้างเกมมาอย่างโชกโชน หวังเป็นเกมทางเลือกให้เด็ก เยาวชน และคนรุ่นใหม่ ที่ใช้เฟซบุ๊คอย่างเป็นประจำได้เล่นเกมปลอดภัย สร้างสรรค์ในรูปแบบที่แปลกใหม่

\“ชนด้วง” เป็นเกมประเภท Action RPG แนว Action Fighting บน Facebook รายแรกและรายเดียวในประเทศไทยในขณะนี้ เนื้อหาเหมาะสมสำหรับทุกเพศทุกวัย (เรทติ้ง ท.) เริ่มเรื่องราวด้วยการสวมบทบาทเป็นนักชนด้วง ที่ผู้เล่นจะต้องเลี้ยงดูด้วงและทำการต่อสู้บนสนามชนด้วง ผู้ชนะจะได้รับค่าประสบการณ์และเงินรางวัลเพื่อนำไปแลกไอเทมต่างๆ เช่น เขาด้วง ปีกด้วงแบบพิเศษ ที่ล้วนแต่จะช่วยเพิ่มศักยภาพของด้วง ให้สามารถต่อกรกับคู่แข่งในระดับที่สูงขึ้นได้ นอกจากนี้ ยังมีตัวช่วยพิเศษอื่นๆ ทั้งระบบภูต ไอเทมพิเศษ ไข่ทองคำเพื่อชุบชีวิต ฯลฯ ที่จะทำให้โลกของการ “ชนด้วง” เป็นเกมการแข่งขันที่สนุกสนานไม่รู้เบื่อ
สำหรับระบบการต่อสู้นั้น สามารถเลือกท้าประลองได้จากเพื่อนบน Facebook หรือแม้แต่ผู้เล่นจากทั่วทุกมุมโลก หรือจะต่อกรกับ NPC สุดอัจฉริยะ ที่พร้อมจะท้าทายคุณได้ทุกเมื่อ พร้อมกับระบบ Quest ในการช่วยเหลือผู้เล่น แถมยังได้โบนัสพิเศษทุกครั้งที่ Log In เข้าเล่นเกมในแต่ละวัน เป็นการตอบแทนสำหรับผู้ที่เล่น “ชนด้วง” เป็นประจำ เป็นต้น

เจี๊ยบ – โกวิทย์ ชนะเคน บุรุษผู้ถือคติ “เหนือกว่าได้ ด้วยรายละเอียด” ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของเกมชนด้วง คือนักล่ารางวัลฝีมือฉกาจจากเวทีประกวดเกมระดับประเทศมาตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย กับผลงานชนะเลิศอันดับ 1 จากหลากหลายเวที ทั้ง “Hello Nuclear” โครงการโดยสถาบันนิวเคลียร์แห่งชาติ ร่วมกับรายการสมรภูมิไอเดีย ไทยทีวีสีช่อง3 “White Road” โครงการโดยกองทุนเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน กรมการขนส่งทางบก

“Anurak (อนุรักษ์)” โครงการโดยสำนักงานคณะกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
หนุ่ย – พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทโชว์ไร้ขีด จำกัด (Show No Limit) ผู้อำนวยการสร้างเกมชนด้วง กล่าวถึงความรู้สึกที่ได้กลับมาทำเกมคอมพิวเตอร์อีกครั้งว่า “สิ่งที่ผมภูมิใจที่สุดของโปรดักชั่นนี้คือการได้สนับสนุนดาวรุ่งดวงใหม่ของวงการเกม ‘โกวิทย์ ชนะเคน’ เขาเคยเป็นนักล่ารางวัลที่ในอดีตไม่ว่าเวทีไหนที่ผมไปเป็นกรรมการตัดสิน ผมจะเจอเขาเข้าแข่งขันตลอด จนครั้งหลังสุดที่เวทีประกวดเกมของกระทรวงวัฒนธรรม ผมเดินเข้าไปหาเขาแล้วถามว่า “จะเดินสายประกวดแบบนี้ไปอีกนานแค่ไหน?” จากนั้นเราจึงได้ร่วมงานกันในรูปแบบบริษัท ที่มีฝ่ายการตลาด, ฝ่ายอีเว้นท์, ฝ่ายกราฟฟิค และฝ่ายวิศวกรระบบบิลลิ่ง เพื่อทำให้ฝันของเขาเป็นจริงคือ “สร้างเกมในระดับอาชีพได้”

ส่วนตัวมองว่า “ชนด้วง” ไม่ได้เป็นเกมไทยจ๋า แต่การดึงเอาวัฒนธรรมพื้นบ้านมาประยุกต์ให้อยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ก็ถือเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมทางภาคเหนือแบบอ้อมๆ และการได้สัมผัสคาแรคเตอร์ตัวด้วงผ่านเกม น่าจะเป็นสื่อช่วยกระตุ้นให้ผู้เล่น หันมาสนใจศึกษา และดูแลสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวมากขึ้นได้อีกทางหนึ่ง”

เจี๊ยบเขามีจุดเด่นในเรื่องนี้คือ “ดึงวัฒนธรรมมาทำให้สนุกได้” ซึ่งฉายแววมาตั้งแต่เวทีประกวดแล้ว ผมเชื่อมั่นมากว่า “ชนด้วง” จะสามารถมอบความสนุกสนานแบบใหม่ๆให้กับผู้ใช้เฟซบุ๊คชาวไทยกว่า 14 ล้านคนได้ ชวนค้นหาคำว่า “ชนด้วง” บนเฟซบุ๊ค เพื่อเข้าสู่ตัวเกมได้ง่ายๆ

ปรีชา ไพรภัทรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มอล แอ็คเซสพอร์ทัล จำกัด (MOL Thailand) กล่าวว่า “เกมชนด้วงเป็นเกม Facebook ที่น่าสนใจ ทั้งวิธีการเล่น และ ตัวละคร เพราะเป็นเกมแนวใหม่ที่มาจากฝีมือคนไทย MOL ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายบัตรเติมเงินสำหรับเกมกว่า 2,000 เกมทั้งไทยและต่างประเทศ พร้อมที่จะสนับสนุนและเป็นช่องทางในการเติมเงินที่รวดเร็วสะดวกสบายให้แก่ผู้เล่น”

ทั้งนี้ สมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เพย์สบาย จำกัด กล่าวเสริมว่า “เกมชนด้วง เป็นเกมที่เหมาะกับทุกเพศทุกวัย สามารถเล่นได้บน Facebook เพื่อต่อสู้กับเพื่อน และ NPC นอกจากนี้ PaySbuy ยังเป็นช่องทางการเติมเงินเกมส์ด้วยบัญชีเพย์สบาย บัญชีธนาคาร เคาน์เตอร์เซอร์วิส และเทสโก้โลตัส ที่ทำให้ผู้เล่น มีความสะดวกสบายมากขึ้น
พิเศษ ตั้งแต่วันเปิดตัวเกม 16 พฤษภาคม 2555 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2555 ผู้เล่นที่ Log in เข้ามาเล่นเกม “ชนด้วง” รับไปเลย เงิน 300 B เพื่อนำไปสนุกกับตัวเกมอย่างเพลิดเพลิน สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่facebook.com/beetlebeam และ www.ชนด้วง.com

นอกจากนี้ยังมีการเปิด Youtube Channel “youtube.com/beetlebeam” เพื่อสื่อสารตัวเกมนี้ไปสู่สังคมออนไลน์อีกด้วย
ชวนคุณค้นหาคำว่า “ชนด้วง” บนเฟซบุ๊ค…เราขอท้าชนคุณ!

View :1642

ก.ไอซีที ร่วมมือ ทีดีอาร์ไอ วางกรอบนโยบายโทรคมนาคมแห่งชาติ

May 16th, 2012 No comments

นางเมธินี เทพมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นโครงการจัดทำกรอบนโยบายโทรคมนาคมแห่งชาติ ว่า ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ได้ปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ของรัฐบาล รัฐสภา ประชาชน และ กสทช. ให้ชัดเจนขึ้น และภายใต้กฎหมายดังกล่าวได้กำหนดให้ กสทช.ต้องมีการจัดทำแผนบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม โดยการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนบริการดังกล่าวให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล

“และเพื่อให้การดำเนินการของรัฐบาลเป็นไปตามบทบาทที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งเพื่อให้การดำเนินนโยบายด้านโทรคมนาคมของประเทศไทยในสภาพแวดล้อมปัจจุบันและอนาคตเป็นไปอย่างมีทิศทางที่เหมาะสม ตลอดจนสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทยให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างยั่งยืน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะหน่วยงานฝ่ายบริหารที่ดูแลนโยบายด้านการสื่อสารของประเทศ จึงจำเป็นจะต้องมีการจัดทำกรอบนโนบายโทรคมนาคมแห่งชาติขึ้น” นางเมธินี กล่าว

โดยกระทรวงฯ ได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย () ดำเนินการศึกษาวิจัยในโครงการ “” ที่ครอบคลุมทั้งระยะกลาง 3 – 5 ปี และระยะยาว 10 ปี ซึ่งได้มีการวางเป้าหมายของกรอบนโยบายโทรคมนาคมแห่งชาติเอาไว้ คือ 1. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศด้วยการลดต้นทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับธุรกิจต่างๆ ทั้งอัตราค่าบริการโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของประเทศไทยให้อยู่ในระดับต่ำอย่างน้อยเป็นอันดับที่สองของภูมิภาคอาเซียนภายในปี 2557

2. เพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งระบบมีสายและไร้สายให้สูงขึ้นโดยรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าระดับ ร้อยละ 35 ของประชากร ในปี 2557 และร้อยละ 70 ของประชากร ในปี 2564 รวมทั้งสร้างโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสื่อสารที่สำคัญ และบริการโทรศัพท์ฉุกเฉินอย่างเท่าเทียม 3. สร้างกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพทั้งด้านการเปิดเผยข้อมูล การกำกับดูแลคุณภาพ และอัตราค่าบริการ และ 4. วางโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมที่มีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยคุกคาม และสามารถรับมือกับภัยธรรมชาติและเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ได้

“หลังจากที่กระทรวงฯ ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยโครงการดังกล่าวแล้ว จึงได้มีการจัดสัมมนาขึ้นในทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อนำเสนอผลการศึกษาการจัดทำกรอบนโยบายโทรคมนาคมแห่งชาติ รวมทั้งนำเสนอร่างกรอบนโยบายโทรคมนาคมแห่งชาติ ตลอดจนเปิดรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เข้าร่วมการสัมมนาจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นเหล่านั้น ไปใช้ในการปรับปรุงร่างกรอบนโยบายโทรคมนาคมแห่งชาติให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดย ที่ผ่านมา กระทรวงฯ ได้ร่วมกับ ทีดีอาร์ไอ จัดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นในระดับภูมิภาคไปแล้ว 2 ครั้ง ที่จังหวัดนครราชสีมา และที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” นางเมธินี กล่าว

View :1478

WD เสร็จสิ้นการขายทรัพย์สินให้โตชิบา คอร์เปอเรชั่น

May 16th, 2012 No comments

เวสเทิร์น ดิจิตอล (WD) รายงานวันนี้ว่า บริษัท ได้เสร็จสิ้นการขายสินทรัพย์ในกิจการฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ขนาด 3.5 นิ้วให้แก่โตชิบา คอร์ปอเรชั่น ตามข้อกำหนดของหน่วยงานด้านการวางกฎระเบียบที่ได้ให้การอนุมัติภายใต้เงื่อนไขหลังจากบริษัทได้เสร็จสิ้นการเข้าซื้อกิจการของ วิวีติ เทคโนโลยีส์ จำกัด (Viviti Technologies Ltd) (ชื่อเดิมคือฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์)

โดยกลุ่มสินทรัพย์ที่ครอบคลุมภายใต้ข้อตกลงฉบับนี้ จะทำให้โตชิบาสามารถผลิตและจัดจำหน่ายฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ขนาด 3.5 นิ้วให้กับตลาดเครื่องเดสก์ท็อปและคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ได้ และยังจะเป็นการเพิ่มความสามารถของโตชิบาในการผลิตและจำหน่ายฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ขนาด 3.5 นิ้วสำหรับการใช้งานแบบเนียร์ไลน์ (สำคัญเป็นอย่างมากสำหรับธุรกิจ)

นอกจากนี้ WD ยังได้รายงานว่า บริษัทได้เสร็จสิ้นการซื้อกิจการของบริษัทโตชิบา สตอเรจ ดีไวซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSDT) ซึ่งเคยผลิตฮาร์ดไดรฟ์ก่อนที่จะเกิดน้ำท่วมในประเทศไทย โดยทรัพย์สินหลักๆ ของ TSDT ประกอบด้วยที่ดินในประเทศไทย โรงงาน และพนักงาน ซึ่งหลังจากการดำเนินธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์ WD วางแผนที่จะผนวกรวมโรงงานและพนักงานเข้ากับกิจการของ WD ในประเทศไทย แต่ทั้งนี้ ยังไม่ได้มีการเปิดเผยเกี่ยวกับเงื่อนไขทางการเงินของข้อตกลงทั้งสองฉบับนี้แต่อย่างใด

View :1168
Categories: Press/Release Tags:

เอไอเอส ออกแพ็กเกจ Voice&SMS Roaming รูปแบบใหม่

May 16th, 2012 No comments


สมัครเพียงแพ็กเกจเดียว โทรและส่ง SMS ใน 25 ประเทศทวีปยุโรป

บริการข้ามแดนอัตโนมัติจากเอไอเอส ออกแพ็กเกจ Voice&SMS Roaming รูปแบบใหม่ ครั้งแรกในเมืองไทย ที่อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าจีเอสเอ็ม แอดวานซ์ โทรและส่ง SMS ใน 25 ประเทศยอดนิยมของทวีปยุโรป อาทิ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สวีเดน ฯลฯ ได้ โดยสมัครเพียงแพ็กเกจเดียว ไม่ต้องเลือกเครือข่ายหรือสมัครแพ็กเกจในแต่ละประเทศให้ยุ่งยาก ประหยัดสูงสุดถึง 82% โดยมีแพ็กเกจหลากหลายให้เลือกตามปริมาณการใช้งาน ในราคาเริ่มต้นเพียงแพ็กเกจละ 800 บาท โทรได้ 15 นาที SMS ได้ 15 ครั้ง สมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เอไอเอส คอลล์ เซ็นเตอร์ 1175 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ais.co.th/roaming

View :1369
Categories: Press/Release Tags:

ก.ไอซีที จับมือ ITU และ UNESCAP จัดประชุมเพื่อพัฒนาด้าน ICT และโทรคมนาคมในภูมิภาค

May 16th, 2012 No comments


นายวรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุม Asia – Pacific Regional Development Forum ว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ร่วมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ) และคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: ) ได้จัดการประชุม Asia – Pacific Regional Development Forum ขึ้นในระหว่างวันที่ 16 – 18 พฤษภาคม 2555 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ

“การประชุมฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อใช้เป็นเวทีสำหรับผู้กำหนดนโยบาย ผู้กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม ผู้นำจากภาคธุรกิจ/ อุตสาหกรรม และผู้เชี่ยวชาญจากภาควิชาการ ในการนำเสนอข้อมูลและร่วมหารือเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาด้าน ICT และโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยจะเปิดโอกาสให้มีการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์การดำเนินงานของภาคส่วนต่างๆ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการโทรคมนาคมและ ICT ซึ่ง ITU ได้กำหนดหัวข้อหลักของการประชุมไว้ว่า “ICTs for Sustainable and Inclusive Development” หรือ “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุมประชากรทุกกลุ่ม” นายวรพัฒน์ กล่าว

สำหรับรายละเอียดของการประชุมฯ นั้น จะแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อย่อย คือ 1. การปกครองที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล (Transparent and Effective Governance in the Digital Age) เน้นประเด็นการให้ความสำคัญกับบทบาทของบรอดแบนด์ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่างๆ รวมถึงการมีกรอบนโยบายด้านบรอดแบนด์ที่เหมาะสม ซึ่งที่ประชุมจะพิจารณาเกี่ยวกับปัจจัยเชิงนโยบายสำคัญๆ ที่จะเอื้อให้เกิดการสร้างโอกาสในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม / ICT รวมทั้งการเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง

2. สังคมดิจิทัลที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Safer and Greener Digital Society) จะมุ่งเน้นบทบาทและประโยชน์ของ ICT ในบริบทต่างๆ อาทิ การพัฒนาไปสู่เป้าหมายแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) การประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยสังคมสารสนเทศ (World Summit on the Information Society: WSIS) ประเด็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกและการรับมือ การใช้งาน ICT ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การลดความเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติ ความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การลดช่องว่าง/ ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึง ICT โดยใช้เศรษฐกิจดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์ – นวัตกรรม (Bridging Digital Divide through Innovative and Creative Digital Economy) การประชุมในช่วงนี้จะเน้นย้ำถึงการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจดิจิทัล ที่สร้างโอกาสในการพัฒนา การสร้างงาน และการขยายตลาดโลกสำหรับเทคโนโลยีและบริการ ตลอดจนลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในสภาพการณ์ดังกล่าว ซึ่งผู้กำหนดนโยบายควรจะมีเป้าหมายในการให้บริการอย่างทั่วถึงแก่ประชาชนทุกกลุ่ม

และ 4. การก้าวไปสู่สังคมที่ชาญฉลาด (Moving towards Smart Society) การประชุมช่วงนี้จะมุ่งเน้นการอภิปรายในเรื่องบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นโยบาย และกฎข้อบังคับต่างๆ ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสังคมที่ชาญฉลาด หรือ “Smart Society” โดยจะมีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น Intelligence transportation, Smart Grid, Intelligent Car, Intelligent Home and Workplace เป็นต้น

นอกจากการประชุมดังกล่าวแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองวันโทรคมนาคมและสังคมสารสนเทศโลกซึ่งตรงกับวันที่ 17 พฤษภาคม ของทุกปี โดยหัวข้อหลักของการจัดงานวันโทรคมนาคมและสังคมสารสนเทศโลก ประจำปี ค.ศ. 2012 นี้ คือ “Women and Girls in ICT” ซึ่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะเป็นผู้แทน นายกรัฐมนตรี นำเสนอถ้อยแถลงในพิธีเฉลิมฉลองดังกล่าว พร้อมกันนี้ กระทรวงฯ ยังมีกิจกรรมคู่ขนานด้วยการจัดแสดงนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ รวมถึงผลงานของกระทรวงฯ และหน่วยงานด้าน ICT และโทรคมนาคมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับ “” อีกด้วย

View :1466

AIT มั่นใจรายได้ปีนี้ยังโตตามเป้า 10% เผยธุรกิจ ICT จะคึกคักตั้งแต่ไตรมาส 2

May 16th, 2012 No comments

มั่นใจทิศทางธุรกิจปี 55 ยังสดใส แม้กำไรไตรมาสแรกปีนี้เทียบกับปีที่แล้วลดลงเล็กน้อย ชี้ธุรกิจของ ดูเป็นรายไตรมาสไม่ได้ ต้องดูงานที่รอส่งมอบทั้งปี มั่นใจจะได้รับผลดีจากการเร่งลงทุนระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของภาครัฐ รองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 เผยงานที่รอรับรู้รายได้สิ้นไตรมาสแรกมีประมาณ 2,600 ล้านบาท ไตรมาสแรกทำรายได้แล้ว 952.7 ล้านบาท กำไรสุทธิ 91.9 ล้านบาท ยังยืนยันเป้าหมายรายได้ปีนี้โต 10%

นายศิริพงษ์ อุ่นทรพันธุ์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอ็ดวานซ์อินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)

นายศิริพงษ์ อุ่นทรพันธุ์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอ็ดวานซ์อินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ AIT เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจของ AIT ในปีนี้ยังคงมีทิศทางที่สดใส เนื่องจากภาพรวมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมของไทยมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการ โดยเฉพาะการที่ภาครัฐเร่งขับเคลื่อนนโยบาย ICT แห่งชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงจำเป็นต้องลงทุนอีกมาก เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยในด้านเทคโนโลยีด้านไอทีไม่ให้ด้อยกว่าประเทศชั้นนำในกลุ่มอาเซียน

ทั้งนี้ โครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของภาครัฐได้แก่ โครงการเดินสายไฟเบอร์ออฟติกทั่วประเทศ การวางระบบเครือข่ายไวไฟในสถาบันการศึกษาจำนวน 30,000 แห่ง รองรับการใช้แท็บแล็ตเป็นสื่อการเรียนการสอนในโรงเรียน รวมถึงการเร่งออกใบอนุญาตโทรศัพท์มือถือระบบ 3G ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ก่อให้เกิดการลงทุนด้านเทคโนโลยี 3G เกิดขึ้นในปีนี้ เป็นต้น

“เรามองว่าไตรมาสที่ 2 ต่อเนื่องถึงไตรมาส 4 ปีนี้ หน่วยงานภาครัฐจะเริ่มทยอยเปิดประมูลงานมากขึ้น โดยเฉพาะทีโอที และ กสท โทรคมนาคม ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของบริษัทฯ ที่มีการใช้จ่ายงบประมาณด้านการวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและไอทีเป็นจำนวนมาก รวมถึงกลุ่มลูกค้าสถาบันการเงินของรัฐ ที่ลงทุนไอทีเพื่อรองรับการให้บริการแก่ลูกค้า จึงถือเป็นโอกาสที่ดีที่ AIT จะใช้ความเชี่ยวชาญด้านการวางระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร เข้าแข่งขันประมูลงานสร้างมูลค่างานในมือในปีนี้ให้มากขึ้น เพื่อสร้างรายได้ให้เติบโตตามเป้าที่วางไว้” นายศิริพงษ์ กล่าว

สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาสแรกของปีนี้ (มกราคม-มีนาคม 2555) บริษัทฯ มีรายได้จากงบเฉพาะกิจการรวมทั้งสิ้น 952.7 ล้านบาท ลดลง 164.6 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีรายได้จากงบเฉพาะกิจการอยู่ที่ 1,117.3 ล้านบาท ขณะที่กำไรสุทธิจากงบเฉพาะกิจการอยู่ที่ 91.9 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย ประมาณ 4.1 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 96.0 ล้านบาท ถ้าหากเทียบเป็นอัตราส่วนกำไรสุทธิคิดเป็น 9.6%

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานไตรมาสแรกปีนี้เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้วลดลงเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทำให้การเข้าไปทำงานในบางพื้นที่มีอุปสรรค การส่งมอบงานจึงล่าช้ากว่ากำหนดการที่วางไว้อยู่บ้างในบางโครงการ นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดการชะลอตัวด้านการลงทุนระบบเครือข่ายสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างไรก็ตาม ด้วยการเร่งลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในช่วงที่เหลือของปีนี้ ทั้งภาครัฐและเอกชน บริษัทฯ ยังคงมีความเชื่อมั่นว่า จะสามารถทำรายได้ตามเป้าที่วางไว้ 5,300 ล้านบาทอย่างแน่นอน

นายศิริพงษ์กล่าวด้วยว่า บริษัทฯ มีงานที่อยู่ระหว่างรอการรับรู้รายได้ (Backlog) ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2555 อยู่จำนวน 2,619 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะรับรู้รายได้ในปีนี้ประมาณ 1,800 ล้านบาท และยังมีงานที่รอประมูลในโครงการใหญ่ๆ ของภาครัฐบาลอีกมาก จึงเชื่อว่าครึ่งหลังของปี ผลการดำเนินงานของบริษัทฯจะเติบโตขึ้นได้

“การดูผลงานของ AIT จะดูเป็นรายไตรมาสแล้วตัดสินว่ากำไรของทั้งปีจะโตขึ้นหรือลดลงคงไม่ได้ เพราะการรับรู้รายได้จะขึ้นอยู่กับการส่งมอบงานแต่ละงวดของแต่ละโครงการ ซึ่งในไตรมาสแรกได้รับผลกระทบต่อเนื่องมาจากภาวะน้ำท่วม แต่หลังจากนี้หน่วยงานภาครัฐจะเปิดประมูลด้านการลงทุนพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมากขึ้น ซึ่งเรามั่นใจว่า ด้วยความเชี่ยวชาญของ AIT ที่มีความพร้อมด้านบุคลากรและความเชี่ยวชาญด้านการวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนนั้น จะทำให้บริษัทฯ ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าให้เข้าไปรับงานได้มากขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อผลการดำเนินงานของ AIT ในไตรมาสต่อๆ ไป” นายศิริพงษ์ กล่าว

View :1586
Categories: Press/Release Tags: