Archive

Archive for the ‘กระทรวงไอซีที’ Category

ก.ไอซีที ตั้ง สพธอ. เป็นหน่วยงานรับรองสิ่งพิมพ์ออก

March 5th, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะประธานกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ประกาศแต่งตั้งให้ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานรับรองสิ่งพิมพ์ออก ทั้งนี้ เพื่อให้มีหน่วยงานที่มีอำนาจในการรับรองสิ่งพิมพ์ออกของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และให้สามารถใช้อ้างอิงแทนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2551 ที่กำหนดว่า ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้นำเสนอหรือเก็บรักษาข้อความใดในสภาพที่เป็นมาแต่เดิมอย่างเอกสารต้นฉบับ ถ้าได้นำเสนอหรือเก็บรักษาในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพ.ร.บ.ฯ ให้ถือว่าได้มีการนำเสนอหรือเก็บรักษาเป็นเอกสารต้นฉบับตามกฎหมายแล้ว และในกรณีที่มีการทำสิ่งพิมพ์ออกของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวสำหรับใช้อ้างอิง ซึ่งหากสิ่งพิมพ์ออกนั้นมีข้อความถูกต้องครบถ้วนตรงกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และมีการรับรองสิ่งพิมพ์ออกโดยหน่วยงานที่มีอำนาจตามที่คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ประกาศแล้ว ให้ถือว่าสิ่งพิมพ์ออกดังกล่าวใช้แทนต้นฉบับได้

“คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ออกประกาศคณะกรรมการฯ เรื่อง การรับรองสิ่งพิมพ์ออก พ.ศ.2555 และ เรื่อง หน่วยงานรับรองสิ่งพิมพ์ออก พ.ศ.2555 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สิ่งพิมพ์ออกสามารถใช้อ้างอิงแทนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และมีผลใช้แทนต้นฉบับได้ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 ที่ผ่านมา” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว

สำหรับหน่วยงานที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นหน่วยงานรับรองสิ่งพิมพ์ออกได้นั้น จะต้องมีคุณสมบัติ คือ มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ทางเทคนิคที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ในจำนวนที่เพียงพอ โดยอย่างน้อยต้องมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ ด้านเทคโนโลยีการระบุตัวตน และการยืนยันตัวตน ด้านระบบเอกสารที่ทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และด้านการตรวจสอบและประเมินผลความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ นอกจากนี้ยังต้องจัดให้มีเครื่องมือหรือวิธีการที่เพียงพอและมีมาตรฐาน สำหรับใช้ในการตรวจสอบว่าระบบการพิมพ์ออกและกระบวนการจัดทำสิ่งพิมพ์ออกมีความมั่นคงปลอดภัย และสามารถจัดทำสิ่งพิมพ์ออกที่มีข้อมูลถูกต้องครบถ้วนตรงกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่

ที่สำคัญต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการของผู้ขอให้รับรองระบบการพิมพ์ออก รวมทั้งผู้พัฒนา ขาย จัดทำ จัดซื้อ จัดหา หรือให้เช่าระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้กับผู้ขอให้รับรองระบบการพิมพ์ออกอีกด้วย

View :1558

ICT เปิดตัว FREE PUBLIC WIFI

February 27th, 2012 No comments

นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ กระทรวง ICT กล่าวถึงการเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายในที่สาธารณะฟรี (Free Public WiFi) ว่า “จากแนวนโยบาย ของกระทรวง ICT ที่ได้ประกาศไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2554 นั้น ทางกระทรวงฯ ได้ดำเนินการประสานงานและร่วมมือกับผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และผู้ให้บริการภาคเอกชน โดยได้รับการสนับสนุนจาก กสทช. ขณะนี้พร้อมที่จะเปิดตัวโครงข่าย SMART-WIFI@TH ซึ่งเป็นการให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ และยั่งยืน อ้างอิงจากการศึกษาโครงการที่ใกล้เคียงกันในต่างประเทศ ร่วมกับการศึกษาความต้องการเฉพาะของประเทศไทย ทำให้มั่นใจได้ว่า SMART-WIFI@TH จะให้ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งผู้ใช้บริการไม่ว่าจะเป็น นักเรียน นักศึกษา ผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก คนทำงานที่ต้องเดินทางหรือทำงานนอกสถานที่เป็นประจำ (Mobile Workers) รวมทั้งนักท่องเที่ยวก็จะได้รับความสะดวกสบายในด้านข้อมูลข่าวสารออนไลน์อย่างเต็มที่”

สำหรับการเปิดตัวในครั้งนี้ เป็น Phase 1 ครอบคลุมกว่า 20,000 จุดทั่วประเทศ โดยเน้นพื้นที่สาธารณะที่มีความต้องการสูงเป็นพื้นที่ในการให้บริการช่วงแรก เช่น ศาลากลางจังหวัด สนามบิน มหาวิทยาลัย สถานีขนส่ง ฯลฯ โดยมีรัฐวิสาหกิจ ทั้ง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เป็นผู้ร่วมดำเนินการในช่วงเริ่มต้นและจะร่วมมือกับผู้ให้บริการภาคเอกชนในช่วงต่อไป โดยมีเป้าหมายที่จะให้บริการได้มากกว่า 250,000 จุด ภายใน 5 ปี

นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “จากสถิติการศึกษาอัตราการเข้าถึงการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตพบว่า ทุกๆ 10% ของการเข้าถึงที่เพิ่มขึ้น จะสามารถเพิ่ม GDP ได้ 1.3% นั่นหมายความว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างแท้จริงซึ่งรัฐบาลเล็งเห็นศักยภาพของการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตและมุ่งที่จะพัฒนาอย่างเต็มที่ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ เพิ่มการเข้าถึงให้ได้ 80% ของจำนวนหลังคาเรือนภายใน 4 ปี (2558) ซึ่งในการพัฒนารูปแบบการดำเนินการที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทย (Sustainable model for Thailand) กระทรวง ICT เข้าใจเป็นอย่างดีว่า ความต้องการและสถานการณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยนั้นมีลักษณะเฉพาะ ดังนั้นจึงได้พัฒนารูปแบบการดำเนินการสำหรับ “SMART-WIFI@TH” เพื่อให้ได้ผลสำเร็จที่ยั่งยืนในระยะยาว โดยโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการให้บริการจะเป็นการผสมระหว่างโครงข่าย backbone ที่มีอยู่ในปัจจุบันและโครงข่ายใหม่ รวมทั้งจุดเชื่อมต่อ (access point) ของ TOT CAT และผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมภาคเอกชน ซึ่งทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อและเชื่อถือได้ ภายใต้ ID “SMART-WIFI@TH” เดียวกัน และกระทรวง ICT เชื่อมั่นว่า SMART-WIFI@TH จะสร้างความเสมอภาคและชีวิตที่ดีขึ้นเพื่อคนไทย และสำหรับ FREE PUBLIC WIFI 20,000 จุดแรกนี้ รัฐบาล ตั้งใจมอบเป็นของขวัญปีใหม่ 2555 เพื่อพี่น้องชาวไทยทุกคน”

View :1347

ก.ไอซีที สรุปบทเรียนการบริหารจัดการน้ำ และเตรียมพร้อมป้องกันภัยทุกชุมชนในจังหวัดนครนายก

February 26th, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยถึงการจัดทำสรุปบทเรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำในบริบทของการเตือนภัยและการเตรียมพร้อมป้องกันภัยทุกหมู่บ้าน/ชุมชนจังหวัดนครนายก ว่า เหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี 2554 ได้ส่งผลกระทบต่อ GDP ของประเทศไทยประมาณร้อยละ 3 และประเทศยังต้องใช้ทรัพยากรเป็นจำนวนมากในการแก้ไขสถานการณ์ ซึ่งเมื่อรวมกับมูลค่าของความเสียหายที่เกิดขึ้น และงบประมาณที่จะต้องนำมาเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบที่มีมูลค่ามากมายมหาศาลแล้ว ได้ส่งผลโดยรวมต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก

การบริหารจัดการกับสถานการณ์ภัยพิบัติ ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ การรู้ล่วงหน้า การหลีกเลี่ยง การเตรียมตัวที่จะเผชิญกับภัย และการบรรเทาภัยในกรณีที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยการเตรียมความพร้อมเหล่านี้นับเป็นองค์ประกอบหลักของความสำเร็จในทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคประชาชน ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงระบบการทำงาน และลักษณะของความพร้อมให้เข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยการศึกษาและวิเคราะห์จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อนำมาใช้เป็นกุญแจสำคัญในการปรับปรุงแก้ไข

สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ให้ความสำคัญในการจัดทำสรุปบทเรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำในบริบทของการเตือนภัย เพื่อเรียนรู้สาเหตุ ปัญหา อุปสรรค ข้อขัดข้อง ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการเกิดภัย จนกระทั่งการฟื้นฟูเยียวยาภายหลังการเกิดอุทกภัย โดยกระทรวงฯ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกับจังหวัดนครนายก จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการจัดทำสรุปบทเรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำในบริบทของการเตือนภัย และการเตรียมพร้อมป้องกันภัยทุกหมู่บ้าน/ชุมชน จังหวัดนครนายกขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนสถานการณ์อุทกภัยในช่วงปีที่ผ่านมา รวมถึงสรุปแนวโน้มของการเกิดภัยและความรุนแรง เพื่อให้แต่ละหน่วยงานได้ทบทวนแผนงานของตน แล้วนำเอาส่วนที่เกี่ยวกับการเตือนภัยมาหา
รือ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงาน ตลอดจนร่วมแสดงความคิดเห็นในด้าน “ความพร้อม” ภายใต้ภารกิจที่แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบ

นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการประสานงานในบทบาทของหน่วยงานตามขั้นตอนของการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อจัดระบบบริหารการดำเนินงานเผชิญสถานการณ์ในภาพรวม (Unified Command) ให้กระชับ รวมทั้งเพื่อให้ชุมชน/หมู่บ้าน มีการเตรียมความพร้อม และมีแผนปฏิบัติเมื่อเกิดภัย ตามนัยแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ภายใต้กรอบนโยบายการเตรียมความพร้อมแห่งชาติ ตลอดจนเพื่อให้ชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยมีความสามารถในการเตรียมพร้อมป้องกันภัย มีแผนเผชิญเหตุสาธารณภัยภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชน และยังเป็นการสร้างกิจกรรมและเชื่อมโยงให้ชุมชนมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ในด้านการเตรียมความพร้อมป้องกันภัย ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับชุมชนในการเตรียมพร้อมป้องกันภัย และพัฒนาสู่การพึ่งพาตนเองในการบริหารจัดการภัยพิบัติด้วยชุมชนอย่างยั่งยืน รวมถึงยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนชาวต่างชาติ ชาวไทย นักท่องเที่ยว และประชาชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการสถานการณ์ภัยพิบัติอีกด้วย

สำหรับการสัมมนาเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ได้มีการจัดเป็น 2 กิจกรรม คือ การสรุปบทเรียน และการเตรียมพร้อมป้องกันภัย โดยกิจกรรมที่ 1 การจัดทำสรุปบทเรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำในบริบทของการเตือนภัย เป็นการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นจากภาคราชการ ภาคเอกชน มูลนิธิต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาชน มาจัดทำเป็นสรุปบทเรียนฯ เพื่อนำข้อบกพร่องในการบริหารจัดการน้ำช่วงที่ผ่านมา มาใช้เป็นบทเรียนในการแก้ไขปัญหา และกำหนดเป็นแนวทางการบริหารจัดการน้ำ ส่วนกิจกรรมที่ 2 การเตรียมพร้อมป้องกันภัยทุกหมู่บ้านทุกชุมชนของจังหวัดนครนายก จะเป็นการนำสรุปเหตุการณ์อุทกภัยและดินโคลนถล่มที่เกิดขึ้น ในปี 2554 มาเป็นกรณีศึกษา และเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับชุมชนที่จะต้องมีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเพื่อให้หมู่บ้าน/ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสาธารณภัยในเบื้องต้น ตลอดจนมีการจัดทำแผนชุมชนในการเตรียมความพร้อม การเผชิญเหตุ และการปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉินเมื่อเกิดภัยตามหลักสากล คือ หลักการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน (Community Based Disaster Risk Management : CBDRM) อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้านการจัดการภัยพิบัติ

ส่วนกลุ่มเป้าหมายในการสัมมนาฯ ครั้งนี้ ได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกิจกรรมที่ 1 คือ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สื่อมวลชน และมูลนิธิต่าง ๆ กิจกรรมที่ 2 คือ ผู้แทนหน่วยงานในจังหวัดนครนายก ทั้ง หน่วยงานราชการ ทหาร อบจ./นายอำเภอ/ปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคง เทศบาล/องค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชน กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ชุมชน/หมู่บ้าน อาสาสมัคร มูลนิธิ ซึ่งรวมผู้เข้ารับการสัมมนาทั้งหมดประมาณ 1,500 คน

“กระทรวงฯ หวังว่า การสัมมนาฯ ครั้งนี้จะทำให้ได้ข้อสรุปที่จะช่วยในการประเมินภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะทำให้แต่ละหน่วยงานมีข้อมูลในการทบทวนแผนงานของตนให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องกับสภาพปัญหา รวมทั้งช่วยให้เกิดการพัฒนาการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ ขจัดความสับสนในการบริหารสถานการณ์ และความซับซ้อนในการสนับสนุนการปฏิบัติงานในช่วงต้นของการบรรเทาภัย นอกจากนี้ยังช่วยให้ชุมชน/หมู่บ้านที่เสี่ยงภัยมีความพร้อมในการป้องกันภัยพิบัติ สามารถบริหารจัดการ และลดความเสียหายเมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น มีการสร้างคณะกรรมการชุมชน/หมู่บ้านเสี่ยงภัยที่มีความเข้มแข็งสามารถช่วยเหลือประชาชนในหมู่บ้านได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ก่อนที่หน่วยงานภายนอกจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือ รวมถึงมีการสร้างเครือข่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระหว่างชุมชน/หมู่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคราชการ และภาคประชาชน ซึ่งการเตรียมความพร้อมดังกล่าวจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อการบริหารสถานการณ์ภัยพิบัติให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติ ชาวไทย นักท่องเที่ยว รวมทั้งประชาชน และนำมาซึ่งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว

View :1512

ก.ไอซีที ร่วมเป็นเจ้าภาพ ITU Workshop on Emergency Communications and Information Management

February 20th, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม on ว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ร่วมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม on Emergency Communications and Information Management ขึ้น ระหว่างวันที่ 20 – 22 กุมภาพันธ์ 2555 โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และสาธารณรัฐเกาหลี องค์การระหว่างประเทศด้านการจัดการภัยพิบัติ และหน่วยงานธุรกิจภาคเอกชนด้านโทรคมนาคม และ ICT

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


การประชุมฯ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการถ่ายทอดข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์และกรณีศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุมฯ จะได้รับทราบถึงวิธีการบริหารจัดการด้านสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการภัยพิบัติ และในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เพื่อนำไปใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาแผนการบริหารจัดการสารสนเทศและการสื่อสารกรณีเหตุฉุกเฉิน ส่วนเนื้อหาของการประชุมฯ จะครอบคลุมประเด็นสำคัญ คือ นโยบายและกรอบการบริหารจัดการภัยพิบัติและเหตุฉุกเฉิน โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นโยบายการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมเพื่อเอื้อต่อการสื่อสารในกรณีเหตุฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ แผนการรับมือภัยพิบัติและเหตุฉุกเฉินภายในองค์กร รวมถึง business continuity plan

นอกจากนี้ ยังมีการประชุมในประเด็นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาตรฐานระหว่างประเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการภัยพิบัติและเหตุฉุกเฉิน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การบริหารจัดการสารสนเทศและรายการสิ่งของในเหตุภัยพิบัติและกรณีฉุกเฉิน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างประเทศด้วย โดยการประชุมฯ ในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประมาณ 100 คน ซึ่งเป็นผู้แทนจากหน่วยงานรัฐและภาคส่วนต่างๆ ของประเทศไทย ที่รับผิดชอบงานด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติและเหตุฉุกเฉิน ผู้แทนจากประเทศสมาชิก ITU ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก องค์การระหว่างประเทศที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติและการสื่อสารในกรณีเหตุฉุกเฉิน

View :1922

ก.ไอซีที เปิดแผนงานผลักดันโครงการ SMART THAILAND

February 20th, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยในการแถลงข่าว “แผนดำเนินงานเพื่อผลักดันโครงการ ” ว่า ปัจจุบันประเทศไทยเป็น 1 ใน 10 อันดับแรกของประเทศที่มีความพร้อมของโครงข่ายโทรคมนาคมลดลงเป็นอย่างมาก โดยจากการศึกษาของ World Economic Forum พบว่าอันดับความพร้อมใช้งานโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2554 อยู่ที่อันดับ 59 ลดลงจากปี พ.ศ. 2549 ที่อยู่ในอันดับ 37 ขณะที่ประเทศ เพื่อนบ้านอย่างเวียดนามนั้นมีอันดับที่ดีขึ้น ประเทศไทยจึงจำเป็นจะต้องพัฒนาด้าน ICT ทั้งในส่วนโครงสร้างพื้นฐาน และรูปแบบการ ใช้งาน (Applications) รวมทั้งบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อย่างเร่งด่วน เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจในยุค Digital economy

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


ดังนั้น กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะหน่วยงานหลักซึ่งทำหน้าที่กำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาประเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้ดำเนินโครงการ SMART THAILAND ซึ่งเป็นโครงการที่สอดรับกับนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ และนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยสำหรับปี พ.ศ. 2554-2563 หรือ ICT 2020 รวมถึงนโยบายของรัฐบาล โดยกระทรวงฯ ได้ดำเนินงานหลักๆ ใน 2 ส่วน คือ 1. เป็นการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานของโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่เน้นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสงเป็นหลัก โดยมีเป้าหมายในการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมประชากรร้อยละ 80 ในอีก 3 ปีข้างหน้า และร้อยละ 95 ภายในปี พ.ศ. 2563 โดยปัจจุบันประเทศไทยมีโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงไปถึง (Reach) ระดับตำบล ครอบคลุมประชากรประมาณร้อยละ 87 แต่ยังขาดความพร้อมของอุปกรณ์ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานของประชากรได้ประมาณร้อยละ 33 เท่านั้น และเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ รวมทั้งการวางสายเคเบิลใยแก้วนำแสงเพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนของทั้งโครงการประมาณ 80,000 ล้านบาท โดยเป็นเงินลงทุนในการวางโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงเพื่อให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปถึงในระดับตำบล และให้มีบริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ

พร้อมกันนี้ ยังได้วางเป้าหมายด้านราคาด้วยการสนับสนุนให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานให้เกิดการใช้สินทรัพย์โครงข่ายร่วมกัน เพื่อลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน โดยจะเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการเข้ามาลงทุนในส่วน Last mile ต่อจากโครงข่าย SMART NETWORK ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งคาดว่าผลของการดำเนินการนี้จะสามารถลดอัตราค่าใช้จ่ายของประชาชนในการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจากประมาณร้อยละ 6 ของรายได้ต่อประชากร เป็นร้อยละ 3 และลดเหลือร้อยละ 1 ของรายได้ต่อประชากร ซึ่งเป็นอัตราที่เทียบเท่ากับของประเทศที่พัฒนาแล้ว

สำหรับการดำเนินงานในส่วนที่ 2. คือ เป็นการส่งเสริมการให้บริการผ่านโครงข่าย SMART NETWORK ซึ่งบริการอิเล็กทรอนิกส์และธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น มีความสำคัญต่อการกระตุ้นความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง โดยในปี พ.ศ. 2553 ประเทศไทยมีมูลค่าการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สูงถึงประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท (37,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) กระทรวงฯ จึงได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)เป็นผู้ดูแลและส่งเสริมการเติบโตของธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ในขณะเดียวกันยังจะได้ผลักดันบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ของภาครัฐ โดยในขั้นแรกจะเป็นการผลักดันบริการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างทั่วถึง และลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการและโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของประชาชนในเขตเมืองและชนบท เช่น โครงการรักษาพยาบาลทางไกล โครงการศึกษาทางไกล

จีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


ด้านนางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวเพิ่มเติมถึงแผนการดำเนินงานทั้ง 2 ส่วน ว่า ในส่วนของ SMART NETWORK ได้แบ่งแผนการดำเนินงานออกเป็นสองส่วนหลักๆ คือ การขยายโครงสร้างพื้นฐานของโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และการจัดตั้งหน่วยงานบรอดแบนด์แห่งชาติ ในส่วนของการขยายโครงสร้างพื้นฐานของโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จะมุ่งเน้นการนำสินทรัพย์โครงข่ายที่มีอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเป็นการขยายโครงข่ายเคเบิลใยแก้ว นำแสงในส่วนของ Backbone และ Backhaul ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถใช้เป็นทางผ่านของข้อมูลปริมาณมากและรองรับความเร็ว ได้สูง เพื่อเชื่อมต่อไปยังชุมสายในพื้นที่ระดับตำบลและสถานที่ราชการสำคัญ ๆ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ขณะที่โครงข่ายในส่วนที่จะเชื่อมต่อจากชุมสายไปยังผู้ใช้งาน หรือที่เรียกว่า Last mile นั้น จะให้เป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายอื่นเข้ามาลงทุนด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและความคุ้มค่าเชิงพาณิชย์ในแต่ละพื้นที่ เช่น การให้บริการด้วยเทคโนโลยี Mobile 3G, 4G/LTE, Wi-Fi หรือ FTTx เป็นต้น

สำหรับแผนการดำเนินการขยายโครงข่าย SMART NETWORK จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ปี พ.ศ. 2555 – 2558เป็นการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของโครงข่ายที่มีอยู่เดิมให้มีความพร้อมในการรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยไม่ต้องลงทุนลากสายเคเบิลใยแก้วนำแสงเพิ่มเติม ระยะที่ 2 ปี พ.ศ. 2559 – 2563 จะเป็นการลงทุนลากสายเคเบิล ใยแก้วนำแสงเพิ่มเติมไปยังตำบลที่ยังไม่มีโครงข่ายฯ เพื่อให้ครอบคลุมประชากรร้อยละ 95 ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยการขยายโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงนี้ จะให้ความสำคัญกับการปรับปรุงโครงข่ายในจังหวัดที่มีความครอบคลุมของโครงข่ายน้อยก่อน ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สตูล กระบี่ อุดรธานี ร้อยเอ็ด และขอนแก่น เป็นต้น ทั้งนี้ กระทรวงฯ มีแนวคิดที่จะระดมทุนเพื่อนำมาใช้ในการขยายโครงข่าย SMART NETWORK เช่น การระดมทุนผ่านกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยทำให้การขยายโครงข่ายดำเนินไปได้รวดเร็วขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเงินงบประมาณของรัฐเพียงอย่างเดียว

นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินการตามแผนการขยายโครงข่ายบรรลุผลสำเร็จ กระทรวงฯ จะสนับสนุนให้มีการแบ่งแยกบทบาทของผู้ให้บริการในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่ชัดเจน รวมถึงการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งหรือแต่งตั้งหน่วยงานบรอดแบนด์แห่งชาติ หรือที่ในต่างประเทศเรียกว่า หรือ ซึ่งจะเป็นหน่วยงานกลางที่มีหน้าที่รวบรวมโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงของประเทศไทยที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงข่ายของรัฐวิสาหกิจด้านโทรคมนาคม ได้แก่ บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากมาบริหารเพื่อให้มีการบริหารและการลงทุนที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน ซึ่งแนวทางในการรวบรวมโครงข่ายสามารถดำเนินงานได้หลายแนวทาง เช่น การโอนสินทรัพย์มาร่วมกันแล้วก่อตั้ง หรือ การให้ เช่า หรือ ซื้อโครงข่าย เป็นต้น

NBNCo จะทำหน้าที่เป็นผู้ลงทุนในโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงเพิ่มเติมโดยเฉพาะการขยายโครงข่ายไปยังพื้นที่ห่างไกล และให้บริการให้เช่าโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงในระดับขายส่งให้แก่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่สนใจเพื่อนำไปให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ ในระดับขายปลีกต่อไป ซึ่งโครงข่ายของ NBNCo หรือ โครงข่าย SMART NETWORK นี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคม ทุกรายมาใช้บริการอย่างเป็นธรรม รวมทั้งกำหนดอัตราค่าบริการขายส่งที่เท่าเทียมกัน รวมทั้งจะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อย ในท้องถิ่น เช่น องค์การบริการส่วนตำบล (อบต.) เป็นต้น สามารถมาขอเชื่อมต่อและให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนมอบหมายให้ทำหน้าที่บำรุงรักษาโครงข่ายในพื้นที่ที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้มีการสร้างอาชีพและพัฒนาฝีมือแรงงานในพื้นที่ได้

สำหรับการก่อตั้ง NBNCo นั้น กระทรวงฯ มีนโยบายที่จะให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยการโอนสินทรัพย์โครงข่ายมาร่วมลงทุน หรือผ่านการระดมทุนจากภาคเอกชนเพื่อนำมาขยายเพิ่มเติม ซึ่งการให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมนี้จะช่วยให้การบริหารงานและการดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะมีแนวทางและรูปแบบการดำเนินงานของเอกชน อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะเป็นหน่วยงานสำคัญที่เข้ามามีบทบาทในการกำกับดูแลเพื่อช่วยกันส่งเสริมให้มีการใช้สินทรัพย์โครงข่ายร่วมกัน เพื่อลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน

ส่วนแผนการดำเนินงาน SMART GOVERNMENT ซึ่งเป็นการส่งเสริมการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อให้เกิดบริการที่มีประสิทธิภาพ สะดวก ทั่วถึงและเป็นธรรม แก่ประชาชน รวมถึงเป็นการกระตุ้นประชาชนให้มีความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมากขึ้น โดยกระทรวงฯ ได้วางแผนที่จะดำเนินการร่วมกับกระทรวงต่างๆ ในการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐต่างๆ โดยระยะแรกจะเน้นถึงการส่งเสริมให้มีบริการของภาครัฐที่เป็นบริการพื้นฐานหลัก และก่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างแก่ประชาชนคนไทย คือ

1. บริการ Smart – Education เป็นการพัฒนาและส่งเสริมการขยายโครงข่ายการให้บริการการศึกษาไปยังโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล 2. บริการ Smart – Health เป็นโครงการพัฒนาระบบการรักษาพยาบาลทางไกลผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 3. บริการ Smart – Government เป็นโครงการเพิ่มช่องทางการให้บริการทะเบียนราษฎร์ออนไลน์ โดยขยายการให้บ

View :1650

ก.ไอซีที ห่วงใยเยาวชนช่วงวาเลนไทน์แนะใช้สื่อ ICT อย่างมีสติเพื่อความปลอดภัย

February 11th, 2012 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า ในช่วงวันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ 2555 ที่กำลังจะมาถึงนี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีความเป็นห่วงเยาวชนไทยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากปัจจุบันการสนทนาต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถกระทำได้ง่าย เช่น การติดต่อสื่อสารผ่านเว็บไซต์ การสนทนาบนโทรศัพท์มือถือในรูปแบบต่างๆ หรือ การนัดพบเจอกันผ่านเว็บไซต์หาคู่ออนไลน์ ตลอดจนการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ก็ได้มีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ซึ่งการตรวจสอบการใช้งานบนสื่ออินเทอร์เน็ตต่างๆ ข้างต้นนั้นกระทำได้โดยลำบาก เพราะเป็นการสนทนาระหว่างบุคคลที่มีรูปแบบแตกต่างกันไป

“กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตระหนักถึงภัยอันตรายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น จึงขอแนะนำเยาวชนให้ระมัดระวังอันตรายจากการนัดพบกับบุคคลที่ติดต่อกันผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื่องจากบุคคลที่เราสนทนาด้วยนั้น อาจไม่ได้มีคุณสมบัติดีอย่างที่คิด หรือตามที่ได้มีการอวดอ้างไว้ในการสนทนาบนอินเทอร์เน็ตเสมอไป จึงขอให้เยาวชนตระหนักว่า หากมีการชักชวนเพื่อนัดพบกันในวันดังกล่าว ควรไตร่ตรองอย่างมีสติและระมัดระวังหรือปรึกษาผู้ปกครองก่อนไปตามที่นัดหมายกัน รวมทั้งขอให้บอกกล่าวกับบุคคลใกล้ชิดไว้ด้วย เพื่อป้องกันปัญหาการถูกล่อลวงเพื่อหวังทรัพย์สินหรือการกระทำอื่นๆ อันอาจจะเป็นอันตรายต่อเยาวชนได้ ทั้งนี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขอฝากถึงผู้ปกครองทุกท่านร่วมช่วยกันสอดส่อง และดูแลบุตรหลานในวันดังกล่าว เพื่อป้องกันหรือยับยั้งอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น โดยควรให้ความรักความเข้าใจอย่างอบอุ่น รวมทั้งให้เวลากับเยาวชนในช่วงวันเวลาดังกล่าว ให้มากขึ้น” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1383

ก.ไอซีที ร่วมสนับสนุน Smart Korat Wifi Province พร้อมเปิดศูนย์ฯ ICT ชุมชนโคราช

February 10th, 2012 No comments


นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนเทศบาลนครนครราชสีมา ณ อาคารพลังสุริยะ เทศบาลนครนครราชสีมา จ.นครราชสีมา ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนแห่งนี้ ได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากข้อเสนอของชุมชนทั่วประเทศ มากกว่า 2,000 ชุมชน โดยเป็นศูนย์ฯ ที่มีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งสถานที่จัดตั้ง ศักยภาพบุคลากร การบริหารจัดการงบประมาณ ข้อมูล องค์ความรู้ รวมทั้งวิสัยทัศน์ การมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้นำ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนและส่วนราชการอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งกระทรวงฯ ได้ให้การสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย พร้อมระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง รวมทั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการให้บริการแก่ประชาชน นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังได้ร่วมสนับสนุนจังหวัดนครราชสีมาในการดำเนินโครงการประชุมเชิงวิชาการ ICT เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดนครราชสีมา () ตามนโยบาย ของรัฐบาล ซึ่งได้มีการขยายไปสู่จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ภายใต้แนวคิด Smart Province เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนแบบมีส่วนร่วม และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัด โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมทั้งระบบการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นคุณภาพมาใช้ในการบริหารจัดการจังหวัดต่างๆ

View :1377

ก.ไอซีที ระดมสมองวางรูปแบบจัดตั้งห้องเรียนออนไลน์

February 8th, 2012 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดตั้งห้องเรียนออนไลน์ ว่า กระทรวงฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้รับการส่งเสริมการใช้และพัฒนาทักษะด้าน ICT อย่างทั่วถึง และสามารถนำ ICT มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะลดความเหลื่อมล้ำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างสังคมเมืองและชนบท รวมทั้งเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ถือเป็นทุนทรัพย์หลักของประเทศ ตามนโยบายและวิสัยทัศน์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งต้องการให้ “ประเทศไทยเป็นสังคมอุดมปัญญา ()” กระทรวงฯ จึงได้ผลักดันให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการการเรียนการสอนแนวใหม่ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อให้นักเรียน รวมทั้งกลุ่มครูที่สนใจด้าน ICT ได้มีโอกาสพัฒนาและยกระดับการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

“ปัจจุบันเทคโนโลยีการเรียนออนไลน์เป็นรูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราวและเนื้อหา รวมถึงใช้สื่อในการนำเสนอบทเรียน และการเรียนการสอนที่อยู่ในรูปการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ จึงทำให้มีกลุ่มครูผู้สนใจด้าน ICT ร่วมมือกันพัฒนาและยกระดับการเรียนการสอนจนเกิดเป็นห้องเรียนออนไลน์ เพื่อเป็นเครื่องมือให้ครูผู้สอนและนักเรียนได้ถ่ายทอดความรู้ที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด” นางจีราวรรณ กล่าว

ด้าน นายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มครูผู้ที่สนใจด้าน ICT ได้ร่วมกันจัดทำห้องเรียนออนไลน์นำร่องขึ้นบนเว็บไซต์ที่ชื่อว่า www.thaischoolict.net/elearning โดยมีความตั้งใจทำให้ครบทุกสาระวิชา เพื่อให้เกิดห้องเรียนออนไลน์ที่สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การดำเนินงานยังขาดปัจจัยในการพัฒนาอีกหลายด้าน จึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการช่วยเหลือในการส่งเสริม สนับสนุน รวมถึงผลักดันเพื่อให้เกิดห้องเรียนออนไลน์ที่ครบถ้วน และมีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมไปยังกลุ่มคนต่างๆ รวมถึงเครือข่ายอื่นๆ ที่มีความต้องการเหมือนกัน ซึ่งจะช่วยยกระดับครู นักเรียน และประชาชนทั่วไปให้สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้จัดทำโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดตั้งห้องเรียนออนไลน์ขึ้น โดยเชิญผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ สถานศึกษา รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มาระดมความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะ แลกเปลี่ยนแนวความคิด ทัศนคติ มุมมองต่อนวัตกรรมการออกแบบ และพัฒนาศูนย์รวมในการเรียนการสอนให้สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงให้สามารถขยายวงกว้างเพื่อขยายโอกาสไปยังเครือข่ายกลุ่มเป้าหมายที่สนใจในการผลิตหลักสูตร และการใช้ประโยชน์จากห้องเรียนออนไลน์สำหรับจัดกิจกรรมการสอนของครู นักเรียน ผู้นำชุมชน คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส โดยให้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนต่างๆ เพื่อให้กลุ่มคนเหล่านั้นได้มีโอกาสในการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

“การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ กระทรวงฯ มุ่งหวังว่า จะได้รับฟังข้อมูลด้านการจัดทำห้องเรียนออนไลน์จากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวความคิด สร้างสรรค์และพัฒนาองค์ความรู้สู่การปฏิบัติ รวมทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ครู นักเรียน ผู้นำชุมชน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และประชาชนทั่วไป ได้มีกิจกรรมเข้ามาศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ซึ่งกระทรวงฯ ได้จัดตั้งขึ้นจำนวน 1,880 ศูนย์ทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายในระยะแรกจะดำเนินการให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ออนไลน์นำร่องจำนวน 25 ศูนย์ และจะดำเนินการให้ครบทุกศูนย์ภายใน 3 ปีข้างหน้า เพื่อให้เป็นเครือข่ายการเรียนรู้แก่นักเรียน หรือเด็กชนบทที่ห่างไกล และเด็กด้อยโอกาสได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ และนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป” นายสมบูรณ์ กล่าว

View :1478

ก.ไอซีที จับมือ จ.นครราชสีมา พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน

February 3rd, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนเทศบาลนครนครราชสีมา ว่า โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ถือเป็นการ บูรณาการโครงการที่สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือ และความตั้งใจของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและประชาชน ที่จะร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคมไทย ทำให้ประชาชนสามารถรับบริการต่างๆ ผ่านสื่อ ICT ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม บรรลุเป้าหมายในการลดช่องว่างด้านดิจิทัลระหว่างสังคมเมืองและชนบท โดยข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีนี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งเรื่องการสร้างโอกาสการเรียนรู้ที่เท่าเทียม การใช้ประโยชน์ของข้อมูลในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ตนเอง และชุมชน

“กระทรวงฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้ผลักดันการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังว่าจะสามารถสร้างโอกาส และประโยชน์ให้แก่ชุมชนได้อย่างคุ้มค่า ซึ่ปัจจัยที่จะส่งผลต่อความยั่งยืนของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกภาคส่วน ที่จะร่วมมือร่วมใจกันดูแล บริหารจัดการ และดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เป็นศูนย์ของชุมชนอย่างแท้จริง” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว

ด้าน นายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า กระทรวงฯ ได้ดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2550 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันสามารถดำเนินการจัดตั้งแล้วเสร็จ จำนวน 1,880 แห่ง ครบทั้ง 77 จังหวัด โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 จัดตั้งได้ 20 ศูนย์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 จัดตั้งได้ 40 ศูนย์ และในปีงบประมาณ 2552 จัดตั้งได้อีก 217 ศูนย์ กระจายตัวออกไปในทุกจังหวัดทั่วประเทศ แม้กระทั่งในพื้นที่ห่างไกลที่โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมยังเข้าไปไม่ถึง

“นอกจากการจัดตั้งศูนย์ฯ โดยติดตั้งคอมพิวเตอร์ พร้อมอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแล้ว กระทรวงฯ ยังได้จัดกิจกรรมเพื่อสร้างผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน โดยได้คัดเลือกบุคลากรในชุมชน แห่งละ 2 คน เพื่อเข้ารับการอบรมแบบเข้มข้น เป็นระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ ในหลักสูตรต่างๆ ทั้งระดับพื้นฐาน ระดับสูง และหลักสูตรต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นใจ ตลอดจนสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้บริหารศูนย์ ในการที่จะช่วยบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนให้มีความยั่งยืน ตลอดจนได้จัดกิจกรรมการอบรมให้แก่ประชาชนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อสร้างความสามารถด้าน ICT สำหรับการต่อยอดอาชีพ การสร้างรายได้ และพัฒนาองค์ความรู้ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่นอีกด้วย” นายสมบูรณ์ กล่าว

สำหรับ เทศบาลนครนครราชสีมา แห่งนี้ ได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากข้อเสนอของชุมชนทั่วประเทศ มากกว่า 2,000 ชุมชน จึงถือได้ว่ามีความพร้อมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในทุกด้าน ทั้ง สถานที่จัดตั้ง ศักยภาพบุคลากร การบริหารจัดการงบประมาณ ข้อมูล องค์ความรู้ รวมทั้งวิสัยทัศน์การมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้นำ โดยศูนย์ฯ แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ อาคารพลังสุริยะ เทศบาลนครนครราชสีมา เพื่อให้บริการแก่ประชาชนและส่วนราชการอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งกระทรวงฯ ได้ให้การสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายจำนวน 20 ชุด เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายจำนวน 1 ชุด พร้อมระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง รวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานที่จำเป็นสำหรับการให้บริการแก่ประชาชน

นอกจากการเปิด ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนเทศบาลนครนครราชสีมา แล้ว กระทรวงฯ ยังได้ร่วมสนับสนุน จังหวัดนครราชสีมาในการดำเนินโครงการประชุมเชิงวิชาการ ICT เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดนครราชสีมา () ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามนโยบาย ของรัฐบาล ที่ได้ขยายไปสู่จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศภายใต้แนวคิด Smart Province หรือ จังหวัดอัฉริยะ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนแบบ มีส่วนร่วม และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัด โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมทั้งระบบการบริหารจัดการทที่มุ่งเน้นคุณภาพ มาใช้ในการบริหารจัดการจังหวัดต่างๆ

View :1501

สัมมนาประชาคมความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ระดมความคิดเห็นในการจัดทำกรอบนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

February 2nd, 2012 No comments

รัฐมนตรีไอซีทีเร่งผลักดันกรอบนโยบายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ไทย ตั้งเป้าเสร็จภายใน 3 เดือน จัดระดมความคิดเห็นจากกว่า 80 หน่วยงาน เผยทุกวันนี้ภัยคุกคามไซเบอร์สร้างความเสียหายรุนแรงขึ้น จำเป็นต้องมีกรอบนโยบายมารองรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการใช้เทคโนโลยีเพื่อติดต่อสื่อสารหรือทำธุรกรรมที่มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เป็นประธานเปิดงานและบรรยายพิเศษเรื่อง “ประเทศไทยกับการกำหนดทิศทางและกรอบนโยบายเพื่อรับมือภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์”โดยกล่าวถึงความจำเป็นของการมีกรอบนโยบายเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อติดต่อสื่อสารและทำธุรกรรมด้านต่างๆ ที่มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนสูงขึ้น

ปัจจุบันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น การใช้การสื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีทั้งมีสาย เช่น ADSL และเทคโนโลยีไร้สาย เช่น Wi-Fi และ 3G หรือเทคโนโลยีการทำงานแบบคลาวด์ (Cloud Computing) ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีระบบฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟต์แวร์ (Software) ของตนเองในการดำเนินงานหรือจัดการกับระบบสารสนเทศ เป็นต้น และเมื่อประกอบกับจำนวนการใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และอินเทอร์เน็ต ในการติดต่อสื่อสารหรือใช้ในการทำธุรกรรมต่างๆ ที่เพิ่มสูงขึ้น จึงก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการกระทำความผิด ไม่ว่าในรูปการก่อการร้าย การกระทำที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือการกระทำที่มีผลต่อโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบการขนส่งมวลชน เป็นต้น รวมทั้งการสร้างความตื่นตระหนกตกใจแก่ประชาชนหรือภัยที่มีผลคุกคามต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวของประชาชน

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ฯ กล่าวว่า “สำหรับประเทศไทยนั้น ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ หรือ ไทยเซิร์ต (ThaiCERT: Thailand Computer Emergency Response Team) ได้รวบรวมสถิติการแจ้งเหตุภัยคุกคามไซเบอร์ และพบว่ากิจกรรมที่เป็นภัยคุกคามนั้นมี 4 ประเภทหลักคือ หนึ่ง การฉ้อโกงหรือ Phishing พบมากที่สุด ซึ่งครอบคลุมทั้งกรณีที่ธนาคารต่างประเทศพบเว็บไซต์ในประเทศไทยซึ่งไปเลียนแบบเว็บไซต์ธนาคาร และกรณีที่ธนาคารไทยพบเว็บไซต์ในต่างประเทศซึ่งเลียนแบบเว็บไซต์ธนาคาร สองคือการบุกรุกเจาะระบบ ซึ่งรวมถึงกิจกรรมการเตรียมการเจาะระบบ ได้แก่การทดลองแสกนหาช่องโหว่ และเมื่อพบช่องโหว่แล้วจึงทดสอบเจาะระบบ สามคือสแปมเมล คือการส่งเมลออกไปถึงคนจำนวนมากโดยที่ผู้รับไม่ได้ร้องขอ หรือไม่ต้องการ และสี่คือ มัลแวร์ เป็นการส่งซอฟต์แวร์ไม่พึงประสงค์ไปฝังตัวในเครื่องผู้ใช้งาน”

ดังนั้น เพื่อเป็นการรับมือกับภัยคุกคามที่กระทำต่อเครือข่ายการติดต่อสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วไม่อาจคาดเดาได้โดยง่ายว่าจะมาในรูปแบบหรือวิธีการเช่นใด เนื่องจากผู้กระทำสามารถลงมือกระทำความผิดได้แม้อยู่ต่างที่ต่างถิ่น และสามารถสร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศโดยอาศัยคอมพิวเตอร์เพียงหนึ่งเครื่องเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จึงจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องมีการกำหนดทิศทาง นโยบาย มาตรการและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำแผนแม่บทด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติขึ้น โดยให้ครอบคลุมถึงมิติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางการทหาร การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ และรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

โดยการระดมความคิดเห็นครั้งนี้แบ่งเป็นสี่กลุ่มสำคัญ ได้แก่ ด้านความมั่นคงของประเทศ ด้านความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสาธารณูปโภคสำคัญ ผลจากการระดมความคิดเห็นทั้ง 4 กลุ่ม พบว่าประเด็นหลักที่กล่าวถึงกันมากคือ ความกังวลเรื่องการโจมตีระบบ และการใช้เทคโนโลยีเพื่อแพร่กระจายข่าวสารที่บิดเบือน โดยสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าวได้แก่ การสร้างความตระหนักเรื่องการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้เทคโนโลยี การมีกฎหมายรองรับด้านไซเบอร์ ที่ชัดเจนและบังคับได้จริง การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรด้านไอที และบุคลากรด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ส่วนปัญหาที่เหมือนกันในเกือบทุกหน่วยงานก็คือปัญหาทางงบประมาณด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัย และงบประมาณในการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

สำหรับกรอบนโยบายดังกล่าว สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ซึ่งเป็นหน่วยงานน้องใหม่ของกระทรวงไอซีที เป็นหน่วยงานที่ได้รับนโยบายสำคัญจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการผลักดันให้แล้วเสร็จในเดือนมีนาคมนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางการวางยุทธศาสตร์ในแผนแม่บทเป็นลำดับต่อไป โดยเมื่อร่างกรอบนโยบายฯ แล้วเสร็จและมีการนำเสนอต่อคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องแล้ว สพธอ.จะนำร่างกรอบที่ผ่านการพิจารณามาพัฒนาให้เป็นแผนแม่บทความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เพื่อนำไปสู่การเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและนำความคิดเห็นมาแก้ไขเพิ่มเติมจนเป็นแผนแม่บทที่สมบูรณ์ ต่อจากนั้นจะนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติในที่สุด

View :1667