Archive

Archive for November, 2010

“คอมมาร์ต คอมเทค ไทยแลนด์ 2010” อานิสงค์ค่าบาทแข็ง ดันยอดขาย 5 วัน 4,000ล้านบาท

November 8th, 2010 No comments

เออาร์ไอพี ปิดท้าย อย่างสวยงาม ผ่านวิกฤตน้ำท่วมแบบมีลุ้น โค้งสุดท้ายปลายปีแฟนพันธุ์แท้ไอทีได้ของดี ราคาถูก ยอดขายกระฉูดประเดิมการจัดงาน 5 วัน เงินสะพัด 4,000ล้านบาท อานิสงค์ค่าเงินบาทแข็งส่งผล โน้ตบุ๊ก สมาร์ทโฟน ราคาถูกสุดในรอบปี อันดับหนึ่งขายดีที่สุด คือโน้ตบุ๊ก รองลงมาสมาร์ทโฟน อันดับสามเป็นของจอมอนิเตอร์ กระแสดีกว่าที่คาด ด้านแท็บเล็ตเปิดตัวได้ดีในงานยอดจองมาแรง มั่นใจปีหน้าตลาดนี้โตแน่นอน

นายปฐม อินทโรดม ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การจัดงาน “คอมมาร์ต คอมเทค ไทยแลนด์ 2010” ที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งทางผู้จัดงานถือว่าประสบความสำเร็จในสถานการณ์บ้านเมืองเกิดภาวะอุทกภัยน้ำท่วมเช่นนี้ สามารถสร้างเม็ดเงินในงานสะพัดกว่า 4,000ล้านบาท ด้วยปัจจัยหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นส่งผลให้ราคาเครื่องโน้ตบุ๊กและ สมาร์ทโฟนถูกลง ทำให้กระตุ้นยอดซื้อเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะโน้ตบุ๊กเพิ่มขึ้น 25-30% ประกอบกับเป็นช่วงเปิดภาคเรียนจึงมีนักเรียน นักศึกษา จำนวนมากมาซื้อโน้ตบุ๊กเพื่อใช้ประกอบการเรียน ส่งผลให้ครั้งนี้ยอดขายปริ้นเตอร์มาแรงเนื่องจากเป็นอุปกรณ์ควบคู่ไปกับโน้ตบุ๊ก รวมทั้งกระแสนิยมสมาร์ทโฟนที่มีแอพพลิเคชันเพิ่มมากขึ้นจึงผลักดันยอดขายเพิ่มขึ้นเช่นกัน

“’งานคอมมาร์ต คอมเทค ไทยแลนด์ 2010 ครั้งนี้ ถือว่าปิดท้ายงานไอทีที่ยิ่งใหญ่แห่งปีอย่างสวยงาม ยอดขายเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งถือว่าเป็นงานคอมพิวเตอร์แห่งปีที่มีแต่ของดี ราคาถูก ตอบโจทย์ผู้บริโภค และเวนเดอร์ ที่งัดกลยุทธ์โปรโมชัน แบบทิ้งทวนปลายปีกันสุดๆ โดยเฉพาะโน้ตบุ๊กยังครองความนิยมเช่นเคย ส่วนสมาร์ทโฟน ครั้งนี้ถือว่ายอดขายเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากเออาร์ไอพีได้เพิ่มโซน “Smartphone pavilion” ทำให้กลุ่มลูกค้ามีโอกาสได้เลือกชมและเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนได้ง่าย รวมทั้งสามารถจองมือถือรุ่นใหม่ล่าสุดในงาน และราคาพิเศษที่นำมาลดราคา ผ่อน 0% พร้อมของแถมอีกเป็นจำนวนมาก ส่วนกระแสนิยมของแท็บเล็ต ที่มีผู้สนใจมากนั้น เนื่องจากมีการจำกัดจำนวนเครื่องในการขายภายในงาน แต่เป็นที่น่าพอใจสำหรับการเปิดตัวครั้งแรก เชื่อว่าภายในปีหน้ากระแสแท็บเล็ตต้องมาแรงอย่างแน่นอน ซึ่งในงานคอมมาร์ตครั้งนี้ได้มีการเปิดจองและวางจำหน่ายแท็บเล็ตรุ่นใหม่อย่างโตชิบา AS 100 , Samsung Galaxy Tab และ Dell Steak ต่างมียอดจองเข้ามาจำนวนมาก คาดว่าภายในปีหน้าจะมีบริษัทไอทีเปิดตัวจำหน่ายแท็บเล็ตอีกหลายบริษัท”

ลำดับสินค้าที่ขายดีที่สุดอันดับหนึ่งคือโน้ตบุ๊ก ที่ยังเป็นพระเอกในงานเช่นเคย ซึ่งยอดขายรวมทั้งงาน2,500 ล้านบาท รองลงมาสมาร์ทโฟนยอดขาย488 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นรุ่นที่ต้องจองในงานอย่าง ไอโฟน 4 ส่วนอันดับสาม จอมอนิเตอร์ 220ล้านบาท นอกจากนี้ พวกอุปกรณ์เสริมต่างๆ ก็ขายดีเช่นกัน

นายปฐมกล่าวว่า เออาร์ไอพี พอใจกับภาพรวมการจัดงานคอมมาร์ตครั้งนี้ ที่ตอบสนองลูกค้าจัดงานถึง 5 วัน และภายในปีหน้าทางคณะผู้จัดงาน จะจัดงานคอมมาร์ต คอมเทค ไทยแลนด์ 2011 ถึง 5 วันเช่นกันเนื่องจากพบว่าผู้เข้าชมงานพอใจกับการขยายวัน โดยเฉพาะวันแรกมีผู้เข้าชมงานจำนวนมาก ซึ่งผู้เข้าชมงานส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80-90% ตั้งใจจะมาซื้อสินค้าโดยเฉพาะ และซื้อสินค้ามากกว่า 1 รายการ โดยจะศึกษาข้อมูลสินค้าเบื้องต้นมาก่อนแล้วผ่านเว็ปไซต์ต่างๆ ซึ่งในปีหน้าทางคอมมาร์ต มีแผนการตลาดเพิ่มยอดขายสินค้าในแต่ละวันให้มากขึ้น อาทิ วันแรกมีโปรโมชันสำหรับสมาร์ทโฟน วันที่สองมีโปรโมชันสำหรับโน้ตบุ๊ก เป็นต้น

สำหรับกิจกรรมเวิร์คชอป และสัมมนาเสริมความรู้ภายในงาน คอมมาร์ต คอมเทค ไทยแลนด์ 2010 ครั้งนี้ตอบโจทย์กระแสนิยมสมาร์ทโฟน “ปะฉะดะ iPhone Vs Black Berry Vs ใครเจ๋งสุดงานนี้ได้รู้กัน” ซึ่งจะพบข้อดีข้อเสียของเหล่าสมาร์ทโฟนเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเต็มทุกหัวข้อ ซึ่งชี้ให้เห็นว่ากระแสความต้องการสมาร์ทโฟนเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคจำนวนมากและแนวโน้มจะมากขึ้นเรื่อยๆ ตามกระแสสังคมโซเชี่ยลเน็ตเวิร์กในโลกมือถือบวกออนไลน์

นายปฐม กล่าวต่อว่า การจัดงาน คอมมาร์ต คอมเทค ไทยแลนด์ 2010 นี้ ได้ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้ม และกระแสความต้องการใช้งานไอทีในปีหน้า ที่ตลาดสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตจะมาแรง ทั้งในการใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดต้นทุนในองค์กร บริษัทห้างร้านต่างๆ ด้วยขนาดและประโยชน์ใช้สอยที่สะดวกกว่า อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีไอทีก็ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างปฏิเสธไม่ได้ รวมถึงผู้บริโภคทั่วไปก็จำเป็นต้องใช้ไอทีในชีวิตประจำวันและเทคโนโลยีก็มีการเปลี่ยนแปลง อัพเกรดตลอดเวลา

ดังนั้นทิศทางของการจัดงาน คอมมาร์ตในปี 2011 ครั้งต่อไป เออาร์ไอพี ยังคงมุ่งมั่นนำเสนอการจัดงาน คอมมาร์ตอย่างต่อเนื่อง จะเน้นในลักษณะที่ให้ความรู้ การใช้งานในแต่ละสินค้าการบริการต่างๆ ที่ครบวงจร ผู้เข้าชมงานจะได้หลายอย่างกลับไปทั้งสินค้า ความรู้และได้ลุ้นโชค โดยยึดมั่นในหลักการที่ต้องการให้ผู้เข้าเยี่ยมชมงานได้รับความคุ้มค่ามากที่สุด ทั้งความคุ้มค่าในการซื้อสินค้า และให้การรับรู้ทางเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยจะเดินหน้าร่วมกับพันธมิตรจัดงานคอมมาร์ตต่อเนื่องตลอดทั้งปี รวม 4 งาน ได้แก่ งานคอมมาร์ต ไทยแลนด์ 2011 ,คอมมาร์ต เอ็กซ์เจน ไทยแลนด์ 2011, งานคอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ มาร์ท (ซีมาร์ท) งานมหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ (ภาพและเสียง) และ คอมมาร์ต คอมเทค ไทยแลนด์ 2011 สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.commartthailand.com

สินค้าขายดีในงาน คอมมาร์ต คอมเทค ไทยแลนด์ 2010 มีรายละเอียดดังนี้

1 Notebook 2,504,033,400

2 Smartphone 488,503,650

3 Monitor / LCD TV 219,850,400

4 Digital Camera 207,562,340

5 Accessory 203,650,000

6 Desktop Computer 154,603,000

7 Printer 134,578,600

8 External Harddisk / Storage 90,708,897

9 Software 42,390,000

10 Air Card 10,905,798

11 Memory + RAM 7,034,385

12 Flash Drive 5,993,198

13 อื่นๆ 32,678,500

TOTAL SALES 4102492168

View :1509

เอ็มเปย์ จับมือ ทีโอที ให้ลูกค้าซื้อรหัส TOT Prepaid ได้ง่ายๆ ผ่านมือถือ

November 6th, 2010 No comments

เอ็มเปย์ จับมือ ทีโอที ร่วมกันเพิ่มความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นให้ลูกค้า สามารถซื้อรหัส Prepaid เพื่อใช้เล่นเกมออนไลน์ Tales Runner / H.A.V.E / WeDo , บริการ อินเทอร์เน็ตไร้สาย wi-fi , บริการโทรประหยัดผ่านเน็ต netcall , บริการคลังข้อสอบ Knowledge+ และบริการ smart SMS ได้ง่ายๆทุกที่ ทุกเวลาทางมือถือ ผ่านบริการเอ็มเปย์ *555 และจุดบริการเอ็มเปย์ สเตชั่น ที่มีอยู่กว่า 40,000 แห่งทั่วประเทศ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้า ทีโอที ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ Contact Center โทร.1100 หรือติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www..co.th/mpay

View :1590
Categories: Press/Release Tags: ,

วิสัยทัศน์ใหม่ซอฟต์แวร์พาร์ค ปรับแผนและบทบาทรับเทคโนโลยีเปลี่ยน

November 6th, 2010 No comments

เปิดวิชั่นใหม่ซอฟต์แวร์พาร์ค ธนชาติ ผอ.ใหม่ชี้ชัดเทคโนโลยีโมบาย และ
คลาวด์คอมพิวติ้ง ทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เปลี่ยน เผย 5 บทบาทหลัก 7 แผนปฏิบัติการเร่งด่วน หวังผลปีหน้าเกิดสาขาใหม่อย่างน้อย 3 สาขา เกิดศูนย์ทดสอบซอฟต์แวร์มือถือ เปิดตัวฟรีแลนซ์สเปซรับกระแสคลื่นลูกใหม่ ผลักดันสัปดาห์โซลูชันซอฟต์แวร์ และเน้นสร้างศูนย์ทดสอบซอฟต์แวร์

นายธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือ ซอฟต์แวร์พาร์ค เปิดเผยว่า จากการที่เทคโนโลยีปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทำให้
แนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของซอฟต์แวร์พาร์คต่อไปนี้จะมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้อง โดยวิสัยทัศน์ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนต่อไปคือ อนาคตของซอฟต์แวร์พาร์คจะไม่ยึดติดกับสถานที่แต่จะปรับเปลี่ยนตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการของชุมชนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ในช่วงแรกที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนเร่งด่วน เนื่องมาจากทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ทั้งของไทยและของโลกนั้น จะใช้ผ่านระบบ Cloud Computing มากขึ้น ซึ่งนั่นจะทำให้สถานที่ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานมีความจำเป็นน้อยลง และตลาดของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะเปลี่ยนไป ความจำเป็นที่ทำให้ซอฟต์แวร์พาร์คต้องเข้าไปช่วยให้ฝั่งผู้ผลิตเตรียมพร้อมรองรับ และสนับสนุนให้ผู้ซื้อเกิดความเชื่อมั่น เพื่อส่งผลระยะยาวจึงต้องมีการปรับทั้งกระบวนการอย่างเร่งด่วน
ดังนั้นบทบาทที่รองรับวิสัยทัศน์ใหม่ของซอฟต์แวร์พาร์ค จะประกอบด้วย 5 ส่วนคือ
บทบาทที่ 1 การคงบทบาทให้ซอฟต์แวร์พาร์คเป็นจุดศูนย์กลาง หรือ Landmark ของธุรกิจซอฟต์แวร์ไทย แม้ว่าตัววิสัยทัศน์นั้นจะเน้นการไม่ยึดติดกับสถานที่ เช่น อาคารของซอฟต์แวร์พาร์ค แต่เนื่องจากในช่วงต้น การเป็นจุดรวมในเชิงสัญลักษณ์ยังมีความสำคัญในด้านความเชื่อมั่น และการติดต่อกับองค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ยังมีความจำเป็นอยู่ อีกทั้งต่อไปแนวทางที่จะเป็นคือ การก่อเกิดของซอฟต์แวร์พาร์คต่างๆ ทั่วประเทศ ก็จะทำให้สถานที่ลดบทบาทลงไป
บทบาทที่ 2 คือ การเป็นที่ปรึกษาทางด้านเทคโนโลยีใหม่ให้กับวงการซอฟต์แวร์ไทย โดยมี 3 ทิศทางหลักคือ ซอฟต์แวร์พาร์คจะเป็นผู้นำในการผลักดันเทคโนโลยีใหม่ที่สำคัญเข้าสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยอย่างรวดเร็ว ซอฟต์แวร์พาร์คจะเป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่เพื่อสร้างความเข้าใจ และสามารถปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ให้แก่นักพัฒนา
ซอฟต์แวร์ไทย และซอฟต์แวร์พาร์คจะถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ทางด้านเทคโนโลยีรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาดให้กับผู้ประกอบการอย่างเต็มที่
บทบาทที่ 3 คือ การสร้างความเข้มแข็งให้กับตลาดอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย โดยงานเร่งด่วนคือการทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ของไทยขับเคลื่อนเข้าสู่ตลาดใหม่ของซอฟต์แวร์ในระดับโลกได้อย่างดีในระยะยาว เนื่องจากระบบตลาดซอฟต์แวร์ได้ปรับเปลี่ยนไปอย่างมาก ซึ่งตลาดซอฟต์แวร์ไทยหากปรับตัวได้ทัน ก็จะทำให้การขยายตลาดในระดับโลกทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นซอฟต์แวร์พาร์คจะอบรม และสร้างองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีใหม่ให้เข้าใจทั้งในส่วนของผู้ผลิตและผู้ใช้ซอฟต์แวร์ไทย
จุดสำคัญของบทบาทในเรื่องนี้อีกประการคือ การขยายตัวจากการเป็นเขตอุตสาหกรรมที่ต้องเป็นสำนักงาน หรือ Park ให้กลายเป็นเขตอุตสาหกรรมเสมือนจริง หรือ Virtual Park สอดคล้องกับการเติบโตของเทคโนโลยี Cloud Computing และทำให้การขยายตัวของการสนับสนุนทำได้อย่างไม่จำกัด
นอกจากนั้น จุดเด่นของซอฟต์แวร์พาร์คแต่เดิมคือ การสนับสนุนให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ของไทยมีระบบการทำงานที่เป็นมาตรฐาน หรือ software process ในจุดนี้ทางซอฟต์แวร์พาร์คจะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวก็จะเพิ่มความเข้มข้นในมาตรฐานใหม่ที่จะรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ อีกด้วย เพื่อทำให้มาตรฐานของซอฟต์แวร์ไทยสามารถสู้กับซอฟต์แวร์ต่างประเทศได้ เพราะตลาด Cloud Computing แม้จะเปิดตลาดให้กับไทยสู่ตลาดโลก แต่ขณะเดียวกันก็เปิดตลาดโลกเข้าสู่ตลาดไทยด้วยเช่นกัน หากซอฟต์แวร์ไทยไม่เข้มแข็งพอก็อาจเสียตลาดในประเทศไปได้ ส่วนเครื่องมือเสริมต่างๆซอฟต์แวร์พาร์คก็จะมีพร้อมให้กับผู้ประกอบการเช่นเคย
บทบาทที่ 4 คือ การสร้างความร่วมมือแนวใหม่ หรือ New Collaborative ในวิสัยทัศน์ใหม่บทบาทของซอฟต์แวร์พาร์คด้านนี้จะเพิ่มความโดดเด่นมากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีใหม่ไม่ว่าจะเป็นโมบาย หรือ Cloud Computing ได้ทำให้ตลาดเปลี่ยนแปลงไป โดยตลาดใหญ่จะเป็นตลาดระดับโลก ทั้ง App Store, Android Store รวมถึง Cloud ใหญ่ๆ ที่รวบรวมซอฟต์แวร์ระดับโลกเอาไว้ ในส่วนนี้ซอฟต์แวร์พาร์คต้องเข้าไปช่วยทำให้ซอฟต์แวร์ไทยสามารถเข้าสู่ตลาดระดับโลกให้ง่ายกว่านี้ เนื่องจากปัจจุบันการเข้าสู่ตลาดนี้ยังเป็นปัญหาใหญ่ของซอฟต์แวร์ไทยอยู่ ขณะเดียวกันตลาดในระดับประเทศซอฟต์แวร์พาร์คก็ให้ความสำคัญด้วย โดยจะเร่งสร้างตลาด Mobile Store และ Cloud Computing ในประเทศไทยให้มากขึ้น และทำให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเกิดความคุ้นเคยกับตลาดนี้โดยเร็ว
ในระยะยาวซอฟต์แวร์พาร์คจะมุ่งสร้างสภาพแวดล้อมของทั้งอุตสาหกรรม ตั้งแต่ระดับภูมิภาค โดยใช้เครือข่ายพันธมิตรของซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ รวมถึงบรรดาสมาคมวิชาชีพทางด้านไอทีทั้งหมด และประสานงานโครงข่ายระดับมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับและสนับสนุนตลาดแบบใหม่
บทบาทที่ 5 ของซอฟต์แวร์พาร์คคือ การมุ่งสร้างความต้องการของตลาดซอฟต์แวร์ในประเทศให้เติบโตแบบยั่งยืน เพราะนอกจากการสนับสนุนให้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์เปลี่ยนแปลงแล้ว ซอฟต์แวร์พาร์คจำเป็นที่จะต้องลงไปในระดับผู้ซื้อด้วย เพื่อสร้างความสมดุลของตลาดให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะแนวโน้มใหม่ของเทคโนโลยีนั้นต้องการแรงผลักจากทั้งสองส่วนไปพร้อมๆ กัน จึงจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในวงกว้าง โดยกลุ่มเป้าหมายหลักทางด้านผู้ซื้อที่ซอฟต์แวร์พาร์คจะเข้าไปดูแลเป็นพิเศษคือ กลุ่ม SMEs และกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความพร้อม เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นต้น
เพื่อให้การปรับเปลี่ยนบทบาทของซอฟต์แวร์พาร์คสมบูรณ์มากขึ้น ทางซอฟต์แวร์พาร์คจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการทำงานภายในบางส่วน โดยในปัจจุบันมีการแบ่งฝ่ายการทำงานหลักออกเป็น 5 ส่วนคือ ส่วนโครงสร้างพื้นฐานและสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวก หรือ Infrastructure and Facility support ที่จะให้บริการสถานที่ทำงาน สถานที่อบรม และอื่นๆ, ฝ่ายที่ปรึกษา หรือ IT Consulting หน้าที่หลักของฝ่ายนี้คือ พัฒนาขีดความสามารถของบริษัทซอฟต์แวร์ไทยให้เกิดมาตรฐานในระดับสากล, ฝ่ายส่งเสริมธุรกิจซอฟต์แวร์ หรือ Software Business Enabling รับผิดชอบด้านการประสานงานกับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ทั้งระบบ รวมถึงการขับเคลื่อนความต้องการของตลาดเข้าสู่ตลาดเทคโนโลยีใหม่, ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยี หรือ Technology Enabling หน้าที่หลักคือ สนับสนุนให้เกิดการบริการบน Cloud Computing เกิดระบบ Enterprise 2.0 ดูแลการผลักดันระบบ Testing หรือธุรกิจการตรวจสอบซอฟต์แวร์ และอื่นๆ ฝ่ายสุดท้ายคือ ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือ Technology Transfer รับผิดชอบเรื่องการสร้างองค์ความรู้ในเทคโนโลยีใหม่และถ่ายทอดให้กับทุกระดับในอุตสาหกรรม
ส่วนงานสำคัญเร่งด่วนในปีงบประมาณ 2554 นี้ ทางซอฟต์แวร์พาร์คจะมีโครงการสำคัญ 7 โครงการ โครงการที่ 1 คือ การขยายสาขาของซอฟต์แวร์พาร์ค ซึ่งจะมีการทำความร่วมมือกับทั้งภาคเอกชน และเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อื่นๆ และอาจจะขยายผลด้วยการใช้ระบบ
แฟรนไชส์ โดยแบ่งเป็นระดับเล็ก กลาง ใหญ่ ซึ่งคาดว่าในปี 2554 นี้จะมีเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ขนาดเล็กเกิดขึ้นใหม่ 2 แห่ง และขนาดกลางเกิดขึ้น 1 แห่ง และในระยะยาวจะมีการเติบโตของธุรกิจซอฟต์แวร์พาร์คถึง 100% ภายใน 5 ปีนี้
โครงการที่ 2 คือ การสร้าง Freelance Space แห่งแรกให้เกิดขึ้นในเมืองไทย โดยซอฟต์แวร์พาร์คอยู่ระหว่างการเจรจาเรื่องสถานที่ และเงื่อนไขทั้งในส่วนของผู้จ้างงาน และผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว Freelance Space จะเป็นสถานที่ที่จะกลายเป็นจุดกำเนิดเทคโนโลยีใหม่ๆ และรองรับรูปแบบการทำงานยุคใหม่ของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่มีแนวโน้มต้องการทำงานแบบอิสระมากขึ้น ขณะที่การทำงานจะเป็นรูปแบบ Mobile office หรือสำนักงานเคลื่อนที่
คาดว่าภายในกลางปีนี้ Freelance Space จะเป็นรูปร่างและสามารถดำเนินการในขั้นต้นได้ ซึ่งจะส่งผลให้เป็นการเริ่มต้นของชุมชนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เป็นสถานที่จริง และจะเติบโตขยายจำนวนทั้งในส่วนของผู้รับจ้างและผู้จ้างจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ในที่สุด โดยขณะนี้สิ่งที่จำเป็นที่สุดของโครงการก็คือ Seed Money หรือเงินลงทุนแรกเริ่ม ที่เข้าในรูปแบบแตกต่างกันไป เชื่อว่าโครงการนี้จะส่งผลเชิงบวกอย่างรุนแรงให้กับทั้งอุตสาหกรรม
โครงการที่ 3 คือ การพัฒนาระบบ Mobile และ Cloud ของวงการซอฟต์แวร์ไทย ซอฟต์แวร์จะใช้เทคโนโลยีทั้งสองเป็นเรือธงในการขับเคลื่อน เนื่องจากเทคโนโลยีนี้มีผลกระทบในวงกว้างกับอุตสาหกรรมอย่างมาก โดยต้องเร่งให้ทั้งอุตสาหกรรมตระหนักและรับรู้แนวโน้มในเชิงลึกโดยเร่งด่วน ปรับเปลี่ยนหลักสูตรการอบรมให้เอื้อกับทั้งสองเทคโนโลยีนี้ในทันที และมีการถ่ายทอดลงไปในทุกส่วนของภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ทั้งในระดับนักพัฒนา นักการตลาด จนถึงผู้บริหาร ฯลฯ ซอฟต์แวร์พาร์คจะมีการตั้ง Mobile Testing Center หรือ ศูนย์ทดสอบซอฟต์แวร์ที่ใช้กับโทรศัพท์มือถือขึ้นมา เนื่องจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้ผ่านระบบโทรศัพท์มือถือเป็นเรื่องยุ่งยากและใช้ต้นทุนสูง เนื่องจากมีหลายระบบปฏิบัติการ และรุ่น ซอฟต์แวร์พาร์คจะขอความร่วมมือกับทั้งเจ้าของระบบปฏิบัติการและเจ้าของโทรศัพท์มือถือให้สนับสนุนโครงการนี้
สำหรับเป้าหมายหลักในปีนี้ ซอฟต์แวร์พาร์คยังมุ่งเน้นที่จะสร้างผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งสองต่อไปได้หรือ train the trainer โดยจำนวนในขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาและประเมินความเป็นไปได้อยู่ นอกจากนั้นยังจะมีโครงการร่วมทุนกับภาคเอกชนในบางส่วนเพื่อสร้างโครงการใหม่ในส่วนนี้ให้เกิดขึ้น เป็นการผลักดันให้เกิดศูนย์ที่พัฒนาเทคโนโลยีทั้งสองได้ง่ายขึ้น
โครงการที่ 4 คือ การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพด้านไอทีป้อนตลาด โครงการนี้ถือเป็นโครงการต่อเนื่อง จากการทำโครงการนำร่องที่จังหวัดเชียงราย โดยรับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมาฝึกงานกับบริษัทซอฟต์แวร์ที่เน้นทำให้บัณฑิตมีความสามารถในการทำงานด้านซอฟต์แวร์อย่างแท้จริง และสามารถเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่าต่อวงการซอฟต์แวร์ไทยทันที โดยไม่ต้องผ่านการเรียนรู้ในสถานที่ทำงานจริงอีกครั้งหนึ่ง โดยในปีนี้จะมีการขยายโครงการออกไปยังภูมิภาคต่างๆ มากขึ้น โดยร่วมมือกับบริษัทซอฟต์แวร์ที่มีความพร้อม รวมถึงการผลักดันเทคโนโลยีใหม่ให้เข้าไปในส่วนของกระบวนการเรียนรู้ของบัณฑิตใหม่ที่มาฝึกงานในทันที นอกจากนั้นยังมีการปรับเป้าหมายให้เกิดบัณฑิตที่มีความสามารถทางด้านการเขียนซอฟต์แวร์ระดับใหญ่ หรือ Software Enterprise ให้มากขึ้น รวมถึงปรับทัศนคติของทั้งนักศึกษาและบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ให้พัฒนาผลงานรองรับความต้องการของตลาดมากขึ้น
โครงการที่ 5 คือ การนำเสนอโซลูชันทางด้านซอฟต์แวร์ ปัจจุบันนักพัฒนาซอฟต์แวร์ของไทยเริ่มผลิตซอฟต์แวร์เจาะเฉพาะตลาดอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยแต่ละอุตสาหกรรมก็จะมีแนวทางที่แตกต่างกันไป ในโครงการนี้ซอฟต์แวร์พาร์ค จะประสานงานกับบริษัทนักพัฒนา สมาคมวิชาชีพ และหน่วยงานรัฐอย่างสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือ SIPA เพื่อรวบรวมและจัดซอฟต์แวร์เป็นหมวดหมู่ให้เป็นกลุ่มเฉพาะแต่ละอุตสาหกรรมเกิดขึ้น ทำให้กลุ่มผู้ซื้อสามารถเลือกใช้ได้โดยง่าย และจะมีการจัดงานใหญ่ร่วมกับทาง SIPA รวมถึงการจัดงานย่อยอย่าง Software Solution Week ขึ้น เพื่อให้แต่ละอุตสาหกรรมได้ทยอยกันมาศึกษา จนถึงเกิด Solution Showcase หรือตัวอย่างการทำงานของซอฟต์แวร์ให้แต่ละอุตสาหกรรมเลือกใช้ในที่สุด
โครงการที่ 6 คือการสร้าง Software Tester หรือ นักทดสอบซอฟต์แวร์ ให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังในประเทศไทย จากการที่ซอฟต์แวร์พาร์คได้ผลักดันมาตรฐาน CMMI มาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเห็นทิศทางของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ว่า นักทดสอบซอฟต์แวร์ ที่ถือว่าเป็นอุตสาหรรมกลางน้ำ ในขณะนี้ยังขาดแคลนอยู่ทั่วโลก ดังนั้นซอฟต์แวร์ถือเป็นโครงการเร่งด่วน โดยจะมีการประสานงานกับ NECTEC, SIPA และมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อสร้างหลักสูตรและพัฒนาบุคลากรที่สามารถเป็นวิทยากรต่อไปได้ให้มากขึ้น จนทำให้เกิดบริษัททดสอบซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพเกิดขึ้นในระดับที่น่าพอใจ
สุดท้ายโครงการที่ 7 คือการทำ e-MarketPlace สำหรับโซลูชันทางด้านซอฟต์แวร์ของไทย เพื่อที่จะนำเสนอซอฟต์แวร์ไทยสู่ตลาด SME และตลาดโลก โดยการใช้ Social Media และ Online Market ที่พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน และสมาคมต่างๆ

View :1637

โนเกียเปิดตัว Nokia C7 สมาร์ทโฟนตัวที่ 2 บนแพลทฟอร์ม Symbian^3

November 6th, 2010 No comments

สื่อสารบนสังคมออนไลน์อย่างมีสไตล์ และเพลิดเพลินกับ แอพพลิเคชั่นใหม่จากเนชั่น กรุ๊ป และสนุก!

กรุงเทพฯ 4 พฤศจิกายน 2553: โนเกียตอกย้ำความเป็นผู้นำแห่งโลกการสื่อสารและสังคมออนไลน์เปิดตัว สมาร์ทโฟนตัวที่ 2 ที่ทำงานบนแพลทฟอร์ม Symbian^3 พร้อมเปิดตัว Nokia Experience Studio และแนะนำแอพพลิเคชั่นใหม่จากเนชั่น กรุ๊ป และสนุก! ตอบสนองไลฟ์สไตล์ผู้ใช้มือถือที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทุกที่ทุกเวลา

Nokia C7 เป็นสมาร์ทโฟนที่เหมาะสำหรับผู้ชื่นชอบการติดต่อสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์อย่างมีสไตล์ ผสมผสาน สแตนเลสสตีลและกระจกบนดีไซน์เพรียวบางได้อย่างสวยงาม หน้าจอระบบสัมผัส AMOLED ขนาด 3.5 นิ้ว เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเชื่อมต่อสังคมออนไลน์ ทั้งการอัพเดต Facebook และทวีตข้อความบน Twitter ซึ่งทำได้โดยตรงจากหน้าจอหลัก รวมถึงการเข้าใช้อีเมล์หลากหลายแอคเคาท์ ทั้ง Ovi Mail, Yahoo Mail, Windows Live Hotmail นอกจากนี้ Nokia C7 ยังเปิดโลกของแอพ เกมส์ วิดีโอ เว็บ และบริการที่เกี่ยวกับแผนที่และตำแหน่ง ผ่าน Ovi Store

มร. ชูมิท คาพูร์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โนเกีย (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “Nokia C7 เป็นสมาร์ทโฟนรุ่นที่ 2 ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Symbian เวอร์ชั่นล่าสุด โดยออกแบบมาเพื่อตอบสนองผู้บริโภคที่ต้องการอุปกรณ์สื่อสารที่มีพร้อมทั้งศักยภาพและดีไซน์ที่สวยงาม Nokia C7 ยังมีความสามารถในการเชื่อมต่อสังคมออนไลน์ จึงเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่สมบูรณ์แบบสำหรับผู้ที่ไม่เคยตกกระแส”

มร. ชูมิท กล่าวเสริมว่า “นอกจากโทรศัพท์ที่มีดีไซน์งดงาม โนเกียยังมุ่งมั่นนำเสนอโซลูชั่นบนมือถืออันประกอบด้วยคอนเทนท์ที่สอดคล้องกับความสนใจและประสบการณ์การใช้งานที่ยอดเยี่ยมให้กับผู้บริโภค ความร่วมมือกับ เนชั่น กรุ๊ป และ สนุก! นับเป็นตัวอย่างที่ดีของนำเสนอคอนเทนท์ที่สอดคล้องกับความสนใจของคนในประเทศและสนับสนุนระบบนิเวศน์ของการสื่อสารของไทย”

แบ่งปัน เข้าสังคม และเปิดรับความบันเทิงอย่างมีสไตล์
Nokia C7 สมาร์ทโฟนเพรียวบางมีสไตล์ บนระบบปฏิบัติการ Symbian^3 ทำให้คุณสามารถ
• โพสต์ความคิดเห็นและรับอัพเดตทันทีจาก Facebook และ Twitter ได้โดยตรงจากหน้าจอหลัก
• แบ่งปันตำแหน่งบน Facebook และพบปะเพื่อนๆ ที่อยู่ใกล้ๆ
• ถ่ายภาพได้คมชัดพร้อมถ่ายวิดีโอ HD ด้วยกล้องขนาด 8 megapixel แล้วโพสต์ขึ้น Facebook จากหน้าจอหลัก
• ฟังเพลงจากระบบสเตอริโอในรถยนต์ด้วยภาคส่งสัญญาณ FM ในตัว
• พลิกดูหน้าปกอัลบั้มและสร้างรายการเล่นเพลงโปรดของคุณ
• เพลิดเพลินกับแอพพลิเคชั่นหลากหลายได้พร้อมกันโดยไม่สิ้นเปลืองแบตเตอรี่

Nokia Experience Studio
สถานที่สำหรับพบปะแห่งใหม่ เพื่อสัมผัสและเรียนรู้การใช้งานอุปกรณ์สื่อสารโนเกีย บริการจาก Ovi และเทคโนโลยีการสื่อสารเคลื่อนที่ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งค่าโทรศัพท์มือถือ ลงทะเบียนใช้บริการใหม่ๆ สัมผัสและทดลองใช้งานโทรศัพท์มือถือโนเกียรุ่นใหม่ โดยมีพนักงานที่เปี่ยมประสบการณ์พร้อมให้ข้อมูล คำแนะนำ และบริการที่ดีแก่ผู้บริโภค Nokia Experience Studio ตั้งอยู่บนชั้น 3 สยามพารากอน เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 11.00 – 21.00 น.

โนเกียแนะนำแอพพลิเคชั่นใหม่จากเนชั่น กรุ๊ป และ สนุก!
เนชั่น โมบาย แอพพลิเคชั่น โดย โนเกีย
ครั้งแรกที่ บริษัท เนชั่น บอร์ดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โนเกีย (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกันพัฒนาแอพพลิเคชั่นข่าวบนโทรศัพท์มือถือโนเกีย เพื่อให้ผู้ใช้โทรศัพท์โนเกียสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในรูปแบบมัลติมีเดียได้อย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และแม่นยำ ทุกที่ทุกเวลา ก้าวต่อไป คือ สร้างชุมชนข่าว Nation ในโลกออนไลน์ คนทำข่าวและผู้อ่านจะใกล้ชิดกันมากขึ้น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาเพื่อ Nokia โดยเฉพาะ
แอพพลิเคชั่นข่าวบนโทรศัพท์มือถือของโนเกีย ประกอบด้วย
• เดอะ เนชั่น อ่านข่าวภาษาอังกฤษโดยนักข่าวมืออาชีพจากเนชั่นบนโทรศัพท์มือถือโนเกีย เดอะ เนชั่น นำเสนอข่าวที่ถูกต้อง และหลากหลาย ทั้งเหตุการณ์ปัจจุบันภายในประเทศและต่างประเทศ ข่าวธุรกิจหรือไลฟสไตล์
• กรุงเทพธุรกิจ กรุงเทพธุรกิจผู้นำด้านข่าวธุรกิจในประเทศไทย นำเสนอข่าวสารฉับไว เที่ยงตรง เจาะลึก และมีความเป็นกลาง
• คมชัดลึก วันนี้คุณสามารถอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์รายวันที่มีคุณภาพ “คมชัดลึก” ได้แล้วผ่านแอพพลิเคชั่นคมชัดลึก ข่าวจากคมชัดลึกแฝงไปด้วยสาระและความบันเทิงเหมาะกับทุกคนในครอบครัว
นอกจากนี้ ทั้ง 3 แอพพลิเคชั่นยังให้คุณอ่านข่าว ชมภาพข่าว และคลิปข่าว ติดตามการรายงานข่าวจากนักข่าวเครือเนชั่นผ่านทางทวิตเตอร์ได้อีกด้วย

สนุก! โมบาย คือ บริการท่องเว็บไซต์สนุกดอทคอมผ่านมือถือ ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการข้อมูล ข่าวสาร และบริการต่างๆ เช่น ข่าว ดวง บันเทิง ซุบซิบดารา กีฬา ผลล็อตเตอรี่ แปลคำศัพท์ รวมถึงแสดงความคิดเห็นผ่านกระทู้ฮอตในเว็บบอร์ด โดยข้อมูลทั้งหมดจะอัพเดทแบบเรียลไทม์ ทำให้ไม่พลาดทุกข่าวสารและความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งวัน ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงสนุก! โมบาย ได้ง่ายๆ ผ่าน 2 ช่องทางคือ เข้าผ่านเบราเซอร์ของมือถือโดยพิมพ์ http://m.sanook.com หรือ ดาวน์โหลด สนุก! โมบาย แอพพลิเคชั่น ผ่าน OVI Store ของโนเกีย เพียงเท่านี้คุณ
ก็สามารถเพลิดเพลินกับเว็บสนุก! ได้ทุกที่ทุกเวลาบนโทรศัพท์มือถือโนเกียของคุณ

โทรศัพท์มือถือ Nokia C7 มีให้เลือก 3 สี คือ ดำ เงิน น้ำตาล วางจำหน่ายแล้ววันนี้ในราคา 13,950 บาท

View :1573
Categories: Press/Release Tags:

ฟูจิตสึปรับโฉมแบรนด์ใหม่ผ่านแนวคิด “Shaping tomorrow with you”

November 6th, 2010 No comments

เน้นสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้ามากกว่าเดิมสู่อนาคตที่รุ่งเรือง

ฟูจิตสึฉลองครบรอบ 75 ปีบริษัท ปรับโฉมแบรนด์ใหม่เน้นการเป็นพันธมิตรกับลูกค้าที่สร้างความพึงพอใจสูงสุด ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Shaping tomorrow with you” แบ่งสายผลิตภัณฑ์ใหม่ 2 กลุ่มหลัก LIFEBOOK คอมพิวเตอร์แบบพกพาและ ESPRIMO คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ พร้อมตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์และคุณสมบัติใหม่สุดล้ำที่จะออกวางจำหน่ายพร้อมคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ของบริษัทในเร็วๆ นี้

นายโทโมกิ ทาคาฮาชิ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ฟูจิตสึ พีซี เอเชีย แปซิฟิค เปิดเผยว่าในการฉลองครบรอบ 75 ปีของบริษัทฯ ฟูจิตสึได้ปรับโฉมแบรนด์ใหม่เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้ามากกว่าเดิม ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Shaping tomorrow with you” ซึ่งแนวคิดดังกล่าวสะท้อนถึงความปรารถนาของฟูจิตสึที่ต้องการมีส่วนร่วมในความสำเร็จของลูกค้า ด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารร่วมกันในการเพิ่มขีดความสามารถของคนในสังคม

“แนวทางใหม่ของฟูจิตสึที่ให้ความสำคัญลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง เป็นปรัชญาที่บริษัทยึดถือเสมอมา นอกจากนี้ยังสื่อถึงความมุ่งมั่นของฟูจิตสึที่จะทำงานร่วมกับลูกค้าเพื่อนำมาซึ่งอนาคตที่เจริญรุ่งเรือง”

นายโทโมกิ กล่าวว่าภาคธุรกิจในปัจจุบันเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการแข่งขันสูงและสากลทั่วโลก ซึ่งทำให้แผนกไอทีของบริษัทจะต้องปรับตัวอย่างหนักเพื่อที่จะควบคุมค่าใช้จ่าย รักษาคุณภาพ และความรวดเร็วให้สอดคล้องกับความต้องการของโลกธุรกิจ ภารกิจของฟูจิตสึต้องสนับสนุนกลยุทธ์ของบริษัทลูกค้า สร้างความมั่นใจในฐานะพาร์ทเนอร์ที่น่าเชื่อถือ ในขณะเดียวกันช่วงเวลานี้ถือเป็นโอกาสสำคัญสำหรับฟูจิตสึที่จะขยายฐานลูกค้าไปทั่วโลก ด้วยความเชี่ยวชาญของทีมงาน คุณภาพ เทคโนโลยี และโซลูชั่น และเพื่อขยายความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าของฟูจิตสึที่มีมานาน กลุ่มบริษัทฟูจิตสึทุกภาคธุรกิจจึงต้องทำงานเป็นหนึ่งเดียวกัน

ทั้งนี้ฟูจิตสึมีนโยบายปฏิบัติที่จะดำเนินธุรกิจแบบ Act local คือการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและความต้องการที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น และดำเนินธุรกิจตามความแตกต่างของพื้นที่นั้นๆ วิธีการนี้มีประสิทธิภาพอย่างมากในการเข้าถึงลูกค้าท้องถิ่น อย่างไรก็ตามวิธีการ act local อย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะรองรับการเติบโตระดับโลกได้ ฟูจิตสึจึงได้เพิ่มองค์ประกอบ Think Global เพื่อให้เกิดวิธีการคิดที่ใช้ร่วมกันทั่วโลก โดยฟูจิตสึมุ่งที่จะเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ในขณะที่มีปรับการเสนอขาย การบริการ และการตลาดให้เหมาะกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละท้องถิ่น

นายโทโมกิ กล่าวว่าฟูจิตสึได้ผนวกรวมผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของบริษัท โดยแบ่งสายผลิตภัณฑ์ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ LIFEBOOK คอมพิวเตอร์แบบพกพา และ ESPRIMO คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ซึ่งมีโครงสร้างการดูแลและให้บริการในมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าจะได้รับการดูแลและการบริการในระดับสูงเช่นเดียวกันทั่วโลก นอกจากนี้ฟูจิตสึยังได้ปรับโลโก้ผลิตภัณฑ์ให้สะท้อนถึงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ของฟูจิตสึ ที่คำนึงถึงผู้ใช้งาน นวัตกรรมที่ล้ำหน้า ความน่าเชื่อถือ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ฟูจิตสึคำนึงถึงผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์เป็นสำคัญ การออกแบบจึงมุ่งตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานเป็นหลัก ประสบการณ์ในการพิมพ์งานบนคีย์บอร์ดของผู้ใช้เป็นสิ่งที่ฟูจิตสึให้ความสำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่ง ฟูจิตสึเชื่อว่า การสัมผัส (stroke) ในการกดแป้นคียบอร์ดสามารถสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างให้กับผู้ใช้ได้เป็นอย่างมาก เราออกแบบโดยนึกถึงความสะดวกสบายของผู้ใช้เป็นหลัก โดยออกแบบตามหลักสรีระศาสตร์ ขอบของแป้นที่ออกแบบให้เว้า ทำให้พิมพ์ได้ง่ายขึ้น ฟูจิตสึยังได้พัฒนา Scroll Wheel คุณสมบัติพิเศษที่ให้ผู้ใช้สามารถทำการซูมเอกสารเข้า/ออก หรือเลื่อนหน้าเอกสารขึ้น/ลงได้อย่างง่ายดายเพียงนิ้วเดียว และคอมพิวเตอร์พีซี Raku Raku เป็นตัวอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี ที่แสดงให้เห็นถึงหลักการผลิตที่คำนึงถึงผู้บริโภคเป็นหลัก โดยออกแบบมาเพื่อกลุ่มลูกค้าผู้สูงอายุ และผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น

ฟูจิตสึตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม ด้วยการพัฒนาคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก ที่มาพร้อมกับฟังก์ชั่น 3 มิติ 3 รูปแบบของ ESPRIMO FH550/3AM* คอมพิวเตอร์เพื่อความบันเทิงแบบ all – in – one และเป็น Desktop PC เครื่องแรกของโลกที่รวม 3 รูปแบบของ 3D ฟังก์ชั่นเอาไว้ด้วยกัน คือ มุมมองแบบ 3D การแปลง 2D เป็น 3D และการสร้างเนื้อหาแบบ 3D

นายโทโมกิ กล่าวว่าในหลายปีที่ผ่านมา ฟูจิตสึไม่ได้โดดเด่นเฉพาะตลาดโน้ตบุ๊กเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยฟูจิตสึถือเป็นผู้นำในการนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ ในอุตสาหกรรม และในเร็วๆ นี้ ฟูจิตสึจะเปิดตัวคุณสมบัติพิเศษที่มากกว่าเดิมในคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก กลุ่มไลฟ์บุ๊ค อาทิ Touch Zone ที่ให้ผู้ใช้สามารถจัดการหน้าจอที่สองด้วยการสไลด์นิ้วผ่าน คุณสมบัติ 5 ลำโพงเสียง 3 ทิศทาง ซึ่งจะพบได้ในไลฟ์บุ๊ค NH900 คุณสมบัติ Scroll Wheel ถือเป็นฟังก์ชั่นเด่นในไลฟ์บุ๊ครุ่น MH380 SH760 SH560 ซึ่งผู้ใช้สามารถซูมเอกสาร เข้า/ออก หรือเลื่อนหน้าเอกสาร ขึ้น/ลง ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูหน้าเวปไซต์ได้อย่างง่ายดายและสะดวกสบาย ฟังก์ชั่น Resistive Type Multi-touch Display ในไลฟ์บุ๊ค UH900 ที่สามารถใช้ 2 นิ้วควบคุมการทำงานบนหน้าจอได้ และ LIFEBOOK Lock ระบบป้องกันเครื่องไลฟ์บุ๊ค เช่น ในไลฟ์บุ๊ค TH700

“ฟูจิตสึได้สร้างองค์กรอันมีชื่อเสียงมาจากการผลิตคอมพิวเตอร์ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลกในด้านคุณภาพ และเป็นการรับประกันให้กับลูกค้าถึงความน่าเชื่อถือในระดับสูงสุด โดยฟูจิตสึได้รวมเอานวัตกรรมด้านการออกแบบ การผลิตที่มีมาตรฐาน และการตรวจสอบเครื่องก่อนวางจำหน่าย เพื่อเป็นการรับประกันถึงคุณภาพและความน่าเชื่อถือที่เหนือกว่าในผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของฟูจิตสึ”

ฟูจิตสึตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ทุกองค์กรควรให้ความใส่ใจรับผิดชอบอย่างจริงจัง ซึ่งรวมถึงการเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และขยายต่อเนื่องไปถึงกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ฟูจิตสึเคร่งครัดในกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงริเริ่มสร้างสรรค์กิจกรรมที่ช่วยรณรงค์ป้องกันการทำลายสิ่งแวดล้อม ฟูจิตสึได้พัฒนาพลาสติกที่มีส่วนผสมมาจากพืช ซึ่งสามารถทนความร้อนได้ดียิ่งขึ้น และได้นำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตเครื่องโน้ตบุ๊ก ซึ่งสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอากาศ การส่งเสริมการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ และอื่นๆ อีกมากมาย

ฟูจิตสึยึดมั่นที่จะส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยสูงให้แก่ผู้บริโภคด้วยการปฏิบัติตามกฎของ European Union’s Restriction of Hazardous Substances directive (RoHS) ที่ฟูจิตสึนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ทุกชนิดของบริษัท นอกจากนี้ฟูจิตสึยังได้ตั้งข้อปฏิบัติที่เกินกว่ามาตรฐานที่ RoHs กำหนดไว้ เพื่อประโยชน์ของลูกค้าของฟูจิตสึอย่างแท้จริง และเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ฟูจิตสึได้ปฏิบัติตามแนวคิดเรื่องเทคโนโลยีสีเขียวอย่างเคร่งครัด โดยการผลิตเครื่องที่ประหยัดพลังงาน ฟูจิตสึยังได้เข้าร่วมขบวนการต่อสู้เพื่อรักษ์โลกโดยการเป็นสมาชิกของ Climate Servers อีกด้วย

เพื่อเป็นการฉลองฟูจิตสึครบรอบ 75 ปี ในปีนี้ กับสโลแกนใหม่ “Shaping tomorrow with you” คือสัญญาที่ฟูจิตสึให้กับลูกค้าคนสำคัญ โดยมุ่งเน้นในการสร้างอนาคตเพื่อเติบโตไปพร้อมกับลูกค้าผ่านผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุด ฟูจิตสึเป็นผู้นำการให้บริการ ICT-based โซลูชั่นทางธุรกิจในระดับโลก โดยการเป็น “One ” ซึ่งเป็นการรวมผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของฟูจิตสึ คือ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค ซึ่งก็คือ โน้ตบุ๊ค LIFEBOOK และ ESPRIMO คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะที่ประหยัดพลังงาน ดังปณิธานของฟูจิตสึที่จะสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่องในระดับสูงสุด

View :1728
Categories: Press/Release Tags:

ไปรษณีย์ตั้งวอร์รูมขนส่งของบริจาคช่วยน้ำท่วม ส่งคาราวานรถขนเมล์ประจำ 13 จังหวัดประสบภัย

November 6th, 2010 No comments

วิกฤติ น้ำท่วมเมืองหาดใหญ่ส่งผลศูนย์ไปรษณีย์ และปณ.ทุกแห่งในเมืองต้องปิดทำการจนกว่าสถานการณ์คลี่คลายไปรษณีย์ไทยกระชับ พื้นที่ช่วยน้ำท่วมเต็มอัตราศึกหลังรับนโยบายรัฐมนตรีไอซีที ส่งรถขนไปรษณีย์ขนาดใหญ่สแตนด์บายให้บริการขนสิ่งของช่วยผู้ประสบภัยใน 13 จังหวัด พร้อมตั้งวอร์รูมประสานการสนับสนุนตลอด 24 ชั่วโมง

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) เปิดเผยว่า ไปรษณีย์ไทยรับมอบนโยบายจากนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ให้นำศักยภาพในการขนส่งมาช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยเป็นการด่วน โดยจัด

รถ ขนส่งขนาด 6-12 ตัน ไปประจำในจังหวัดที่ประสบอุทกภัยขณะนี้ 13 จังหวัด ได้แก่ สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สุราษฎร์ธานี ชุมพร สงขลา หาดใหญ่ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา ตรัง สตูล และพัทลุง เพื่อพร้อมให้การสนับสนุนขนส่งสำเลียงสิ่งของบริจาคเข้าไปช่วยผู้ประสบภัยในพื้นที่ รวมทั้งให้พนักงานนำจ่าย ทำหน้าที่ ส่งอาหาร สิ่งของอุปโภคบริโภค ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวด้วย

“ สำหรับ สถานการณ์น้ำท่วมใน 8 จังหวัดภาคใต้ขณะนี้ ได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อกระบวนการขนส่งในเส้นทางไปรษณีย์ โดยเฉพาะพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักงานไปรษณีย์เขต 9 ต้องสั่งปิดที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่ง รวมเกือบ 30 แห่ง เนื่องจากน้ำท่วมสูงเข้าไปในอาคารที่ทำการจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ขณะที่ศูนย์ไปรษณีย์หาดใหญ่ก็มีน้ำท่วมสูงโดยรอบจนรถยนต์ไม่สามารถวิ่งผ่าน เข้าไปได้ ทำให้การขนถ่ายถุงไปรษณีย์มีอันต้องหยุดชะงัก ”

ในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยทั่วประเทศนั้น ไปรษณีย์ไทยยังได้สั่งการให้ศูนย์ปฏิบัติการไปรษณีย์ ถนนแจ้งวัฒนะ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางรับเรื่องร้องขอการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไม่ว่าจะเป็นยานพาหนะขนส่ง บุคลากรที่เชี่ยวชาญในพื้นที่ประสบภัย ตลอดจนเครือข่ายที่ทำการไปรษณีย์ ทั้งนี้ติดต่อได้โดยตรงที่โทร. 0 2831 3333 0 2831 3333 ตลอด 24 ชั่วโมง

View :1426
Categories: Press/Release Tags:

8 สิ่งจำเป็นในการดำเนินวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ

November 6th, 2010 No comments

ต้องค้นหาให้ได้ว่า การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจสามารถทำอะไรให้คุณได้บ้าง
และจะเริ่มต้นอย่างไร
ธนาคารชั้นนำต่างๆ ใช้การวิเคราะห์ทางธุรกิจเพื่อคาดการณ์และป้องกันการฉ้อโกงสินเชื่อ ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถประหยัดเงินได้นับล้าน ขณะที่ผู้ค้าปลีกใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจเพื่อคาดการณ์สถานที่ตั้งที่ดีที่สุดในการเปิดร้านค้าและการจัดการด้านสต็อกสินค้า ส่วนบริษัทยาก็ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจเพื่อให้ได้ตัวยารักษาโรคออกสู่ตลาดรวดเร็วยิ่งขึ้น หรือแม้แต่ทีมกีฬาก็กำลังใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจเพื่อกำหนดกลยุทธ์การแข่งขันและตั้งราคาตั๋วให้เหมาะสมที่สุด
แม้ว่าการใช้งานของธุรกิจเหล่านี้จะเป็นเพียงการบอกเล่าเรื่องราวบางส่วนเท่านั้น แต่จะเกิดอะไรขึ้นกับบริษัทชั้นนำของตลาดที่หันมาให้ความสนใจกับการปรับใช้ดังกล่าว
พวกเขามีความมุ่งมั่นที่จะปรับใช้บุคลากร เทคโนโลยี และกระบวนการทางธุรกิจในแนวทางใหม่ๆ ตลอดจนยึดมั่นต่อวัฒนธรรมที่ตั้งอยู่บนฐานของการตัดสินใจตามข้อเท็จจริง ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถทำนายและแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนทางธุรกิจได้อย่างครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร ในการนำแนวทางด้านการวิเคราะห์เข้ามาใช้ จะช่วยให้บริษัทเหล่านี้สามารถระบุลูกค้าที่สามารถทำกำไรได้สูงสุด ร่นระยะเวลาในการนำผลิตภัณฑ์นวัตกรรมออกสู่ตลาด ปรับห่วงโซ่อุปทานและราคาให้เหมาะสมสูงสุด และสามารถระบุสิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนที่แท้จริงของประสิทธิภาพทางการเงินได้
คุณก็สามารถทำได้เช่นกัน เพียงเริ่มต้นใช้งานการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจด้วยกาทำ 8 ข้อ ที่จำเป็นดังต่อไปนี้
1. ปรับการไหลและความยืดหยุ่นของข้อมูล
ข้อมูลคุณภาพสูงต้องได้รับการผสานรวมและเข้าถึงได้ครอบคลุมทั้งองค์กรของคุณ และควรมีโครงสร้างที่ยืดหยุ่นเพื่อให้นักวิเคราะห์ของคุณสามารถค้นหามุมมองใหม่ๆ และจัดเตรียมข้อมูลที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถนำไปใช้เพื่อปรับกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การเสริมความแข็งแกร่งและปรับโครงสร้างหลักของข้อมูลภายในองค์กรของคุณให้ยืดหยุ่นถือเป็นสิ่งที่คุ้มค่าอย่างยิ่งโดยเฉพาะเมื่อคุณจำเป็นต้องเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ หรือความต้องการของผู้ถือหุ้น
2. เลือกเทคโนโลยีที่ถูกต้องเหมาะสม
องค์กรต้องมีการวิเคราะห์และการบริหารจัดการข้อมูลที่เอื้อต่อการตัดสินใจที่ดีขึ้น ขจัดคลังข้อมูล เทคโนโลยี หรือความเชี่ยวชาญที่ไม่มีความจำเป็นทิ้งไป โดยเทคโนโลยีของคุณควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
– มีการจัดเก็บข้อมูลที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนธุรกิจหลัก และการค้นหามุมมองใหม่ๆ
– มีการผสานข้อมูลและซอฟต์แวร์ที่ดูแลคุณภาพข้อมูล
– มีซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์พร้อมเครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยในการปรับใช้ สำรวจ และรายงานแบ่งปันผลในแนวทางที่เข้าใจได้ง่าย
– มีการรวมแอพพลิเคชันด้านการวิเคราะห์ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่ระบุได้อย่างรวดเร็ว
เมื่อจะต้องเลือกเทคโนโลยีมาใช้งาน จะต้องพิจารณา “ความเสี่ยงที่มีต่อมูลค่า” (risk-to-value) นั่นคือ เทคโนโลยีนี้สามารถนำไปใช้เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ได้หรือไม่ และการได้มาซึ่งเทคโนโลยีที่เหมาะสมนั้นไม่จำเป็นต้องยกเครื่องระบบใหม่ทั้งหมด
3. พัฒนาความสามารถที่คุณต้องการ
พัฒนาหรือเปิดรับผู้ที่ความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์เพื่อค้นหาและสำรวจข้อมูลที่เหมาะสมต่อการสร้างมุมมองใหม่ๆ ในการดำเนินงานวิเคราะห์นั้น นักวิเคราะห์จะต้องสามารถสื่อสารกับผู้นำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเชื่อมโยงการวิเคราะห์กับการตัดสินใจหลักๆ และส่วนที่สำคัญที่สุดได้
4. ความต้องการในการตัดสินใจตามข้อเท็จจริง
บริษัท ด้านการวิเคราะห์แห่งหนึ่งนำเสนอการตัดสินใจที่ครอบคลุม โดยที่การตัดสินใจบางอย่างอาจเป็นเรื่องเฉพาะ บางอย่างอาจเป็นไปโดยอัตโนมัติ และบางอย่างอาจสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งในขั้นตอนการตัดสินใจโดยทั่วไปแล้ว สิ่งสำคัญคือจะต้องมีข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจดังกล่าวทั้งหมด บรรดาผู้จัดการมักจะส่งเสริมให้เกิดการถามคำถามที่เหมาะสมเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อให้ได้มุมมองที่ดีที่สุด และการนำผลลัพธ์ที่ได้ไปปรับใช้ก็ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้ การปรับใช้ผลลัพธ์สามารถเกิดขึ้นได้ผ่านระบบการดำเนินงานต่างๆ เช่น แอพพลิเคชั่นการบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ หรือแอพพลิเคชั่นการตรวจจับการฉ้อโกงแบบเรียลไทม์ ไปจนถึงแดชบอร์ดแบบโต้ตอบได้ การเคลื่อนที่ของข้อมูล และภายในฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดก็ตามจะต้องแน่ใจให้ได้ว่าผู้มีอำนาจตัดสินใจมีข้อมูลที่เหมาะสมเมื่อจำเป็นต้องใช้งาน (และสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด)

5. กระบวนการต้องโปร่งใส
ความโปร่งใส หมายถึงการเปิดกว้าง การสื่อสาร และสำนึกแห่งความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้โครงการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจประสบผลสำเร็จได้ โดยมูลค่าที่ได้จากการลงทุนในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจนั้น จะต้องสามารถมองเห็นและวัดผลได้ นอกจากนี้ การรู้ว่านักวิเคราะห์คือใครและสิ่งที่พวกเขากำลังค้นหาเพื่อให้ประสบความสำเร็จนั้น ควรที่จะมีการสื่อสารต่อภาคธุรกิจอย่างชัดเจน เช่นเดียวกับข้อมูลที่ได้มา
6. พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิเคราะห์
สร้างแนวทางของทีมงานที่ทำงานเป็นศูนย์กลาง นั่นคือ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิเคราะห์ (Analytical Center of Excellence: ACE) ซึ่งส่งเสริมการใช้การวิเคราะห์และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดที่มีความสอดคล้องกัน แม้ว่าการปรับใช้ ACE ของคุณจะขึ้นอยู่กับภาวะและความต้องการขององค์กรคุณเป็นหลัก แต่การปรับใช้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดจะช่วยจัดการกับองค์ประกอบทั้งหมดของโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิเคราะห์ขององค์กร ซึ่งประกอบด้วยบุคลากร กระบวนการ เทคโนโลยี และวัฒนธรรมเพื่อสนับสนุน กลยุทธ์และการดำเนินงานทางธุรกิจได้
7. แปลงโฉมวัฒนธรรม
วัฒนธรรมการวิเคราะห์ที่แข็งแกร่งจะต้องได้รับการสนับนสนุนจากผู้บริหารและส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้น การลองผิดลองถูกควรได้รับการพิจารณาให้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ และพนักงานควรมีสิทธิ์ดำเนินการผิดพลาดได้เมื่อพวกเขาพยายามที่จะเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ

8. ทบทวนกลยุทธ์ของคุณอยู่เสมอ
คู่แข่งของคุณมักจะเดินตามแนวทางการวิเคราะห์เดียวกับคุณอยู่เสมอ การที่จะสามารถอยู่มีชเหนือคู่แข่งได้นั้นจึงจำเป็นต้องมีการทบทวนกลยุทธ์ และมีการพัฒนาทักษะตลอดจนความสามารถใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

เริ่มต้นเดี๋ยวนี้
ค้นหาคำถามสำคัญที่จำเป็นต้องได้รับคำตอบ และตรวจหาปัญหาที่ต้องมีการแก้ไข ตอบคำถามเหล่านั้น แก้ไขปัญหาดังกล่าว และสร้างมูลค่าให้เกิดขึ้นภายในองค์กร การสร้างชัยชนะเล็กๆ ให้เกิดขึ้นในธุรกิจ ระบบ หรือฝ่ายใดก็ตามอยู่เสมอ จะทำให้บริษัทของคุณกลายเป็นคู่แข่งสำคัญทางด้านการวิเคราะห์ได้ในที่สุด
บทความโดย นายทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด

View :1457
Categories: Press/Release Tags:

เอชทีซี-ไมโครซอฟท์-ดีแทค ประกาศเปิดตลาดวินโดวส์โฟน 7 ครั้งแรกก่อนใครในไทย

November 5th, 2010 No comments

นายเพ็ตเตอร์ เฟอร์เบิร์ก รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงานพาณิชย์ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) (ขวา)
นายณัฐวัชร์ วรนพกุล ผู้จัดการประจำประเทศไทย เอชทีซี (ไทยแลนด์) (ซ้าย) และนางสาวปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด (กลาง) ประกาศความร่วมมือในการทำตลาด ที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์โฟน 7 รายแรกในประเทศไทย สมาร์ทโฟนที่จะทำให้ชีวิตง่ายขึ้นทั้งเรื่องงาน ไลฟ์สไตล์ที่ทันสมัย และความบันเทิงเต็มรูปแบบ ซึ่งสามารถตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ไม่ว่าจะเป็นคนที่จริงจังกับงาน หนุ่มสาวสังคม คอเกมตัวยง หรือคอหนังประสบการณ์เหล่านี้จะสนุกขึ้นบน “เครือข่ายดีแทค” ที่เร็วกว่า ดีกว่า ซึ่งครอบคลุมทั่วประเทศ พร้อมรองรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองต่อจำนวนลูกค้าที่ใช้บริการดาต้าและการใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เตรียมตัวพบกับการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของวงการวินโดวส์โฟน ที่ผสานฟังก์ชั่นมัลติมีเดียล้ำหน้าและการทำงานออฟฟิศอย่างเต็มรูปแบบมากขึ้นในประเทศไทยเร็วๆ นี้แน่นอน

View :1257
Categories: Press/Release Tags: ,

ก.ไอซีที เผยแพร่แนวทางการจัดทำมาตรฐาน TH e-GIF เวอร์ชั่นใหม่

November 4th, 2010 No comments

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิด “ การสัมมนาเพื่อเผยแพร่ผลการจัดทำมาตรฐานข้อมูลตามแนวทาง TH e-GIF ” ว่า กระทรวงฯ ได้ดำเนินโครงการพัฒนากรอบแนวทางมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลแห่งชาติ หรือ “ TH e-GIF ” อย่าง ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่เร่งรัดผลักดันให้เกิดการพัฒนารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ โดยส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐนำเอา “ TH e-GIF ” ไป ใช้เป็นแนวทางในการบูรณาการเชื่อมโยงระบบข้อมูลภาครัฐที่มีความแตกต่างกัน ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ เพื่อมุ่งสู่การให้บริการภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถให้บริการแบบเบ็ด เสร็จ ณ จุดเดียว และยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการ รวมทั้งการให้บริการประชาชน

“ที่ผ่านมาหน่วยงานราชการต่างๆ ได้นำเอา “ TH e-GIF ” ไป ใช้เป็นแนวทางในการเชื่อมโยงข้อมูลกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งได้รับผลเป็นที่น่าพอใจ เช่น การเชื่อมโยงประวัติผู้ประจำรถและบัญชีรถที่ใช้ในการขนส่งของกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานในสังกัด การเชื่อมโยงข้อมูลผลงานวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ เป็นต้น และเพื่อให้สอดรับกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2553 กระทรวงฯ จึงได้ปรับปรุงกรอบแนวทาง “ TH e-GIF ” ให้ เป็นเวอร์ชั่น 2.0 พร้อมจัดทำคู่มือเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐให้ผู้ ปฏิบัติงานสามารถนำไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ยังได้มีการกำหนดแผนการดำเนินงานในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำมาตรฐานการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ให้เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งได้จัดทำมาตรฐานข้อมูลด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข และด้านการเกษตร เพิ่มเติมอีก 3 ระบบข้อมูลด้วย” นายธานีรัตน์ กล่าว

ดังนั้น เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลการจัดทำมาตรฐานการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ตามแนวทาง “ TH e-GIF ” และนำเสนอตัวอย่างการจัดทำมาตรฐานข้อมูล กระทรวงฯ จึงได้จัดการสัมมนาครั้งนี้ขึ้นในหัวข้อเรื่อง “TH e-GIF : Towards Smart Services Innovation” โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักถึงความสำคัญ ของการพัฒนามาตรฐานข้อมูล พร้อมนำเสนอเทคโนโลยีและผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ Smart Services Innovation ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการศึกษา สุขภาพ การเกษตร พลังงาน สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง และการขนส่ง เป็นต้น

“กระทรวงฯ หวังว่า การสัมมนาฯ ครั้งนี้จะเป็นโอกาสอันดีที่ได้เผยแพร่ผลการจัดทำมาตรฐานข้อมูลฯ ของหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งเป็นการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนามาตรฐานข้อมูล ตลอดจนการแลกเปลี่ยนขั้นตอนกระบวนการในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลักของการพัฒนากรอบแนวทางการเชื่อมโยงพัฒนารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ที่ต้องการให้หน่วยงานมีแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานได้อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถบริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นายธานีรัตน์ กล่าว

View :1266
Categories: Press/Release Tags:

ดีแทคสร้างสีสันส่งท้ายปีนำสินค้าไฮเทคร่วมออกบูธงานคอมมาร์ต คอมเทค ไทยแลนด์ 2010

November 4th, 2010 No comments

บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค นำทัพสินค้าหลากหลายตรงใจชาวไอทีพร้อมสิทธิและราคาพิเศษออกบูธงานคอมมาร์ต คอมเทค ไทยแลนด์ 2010 ระหว่างวันที่ 3-7 พฤศจิกายน 2553 เวลา 10.00-20.00 น. บริเวณหน้าเพลนนารี ฮอลล์ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พิเศษสุดในงานนี้จะเปิดขายสมาร์ทโฟนสุดฮิตแห่งปี iPhone 4 ( จำนวนจำกัด) ทั้งเครื่องเปล่าและพร้อมแพ็กเกจ และยังมีสินค้าอีกมากมายที่น่าสนใจ อาทิ

- BlackBerry Curve 3G ราคา 12,500 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ผ่อน 0% นาน 10 เดือนกับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ พร้อมฟรีค่าบริการ BlackBerry Internet UNLIMIT เดือนแรก เฉพาะผู้ที่สมัครแพ็กเกจ BlackBerry Internet UNLIMIT 650 บาท พิเศษสุดยังได้รับฟรีลำโพง X-mini Speaker

- dtac iWiFi 30 อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสัญญาณ WiFi ขนาดเล็กพกพาสะดวก สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้พร้อมกันถึง 5 เครื่อง พร้อมจำหน่ายในราคาเพียง 5,500 บาท พิเศษผ่อน 0% นาน 6 เดือน มาพร้อมดีแทคอินเทอร์เน็ตฟรี 100 ชั่วโมง นาน 3 เดือน ทั้งซิมแบบรายเดือนและเติมเงิน

- dtac aircard flip 158 แบบเติมเงินพร้อมซิม Happy internet 20 ชั่วโมง/เดือน นาน 3 เดือน ราคา 2,100 บาท และแบบรายเดือนพร้อมซิม dtac internet 100 ชั่วโมง/เดือน นาน 3 เดือน ราคา 2,190 บาท พร้อมรับของแถมพิเศษ กระเป๋าใส่โน๊ตบุ๊ก มูลค่า 600 บาท (เฉพาะแบบรายเดือน)

- แคมเปญพิเศษดีแทคร่วมกับเอเซอร์ เพียงเมื่อซื้อโน๊ตบุ๊กเอเซอร์ในงานคอมมาร์ตฯ ขั้นต่ำ 12,900 บาท รับ Voucher ส่วนลดในการซื้อ dtac aircard flip 158 แบบรายเดือน ในราคาเพียง 1,990 บาท หรือ แบบเติมเงิน ในราคาเพียง 1,900 บาทเท่านั้น

สำหรับลูกค้าดีแทค และผู้สนใจที่อยู่นอกพื้นที่กรุงเทพฯ หรือไม่สะดวกมางานนี้ ดีแทคเปิดช่องทางจำหน่ายใหม่เพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าผ่านทาง http://www.dtac.co.th/onlinestore/ ออนไลน์ 24 ชั่วโมง โดยในระยะแรกมีจำหน่ายทั้ง dtac aircard, dtac iWiFi และซิมแฮปปี้อินเทอร์เน็ตในราคาปกติ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร 1678 dtac call center.

View :1414