Archive

Archive for February, 2011

ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) แต่งตั้งผู้บริหารใหม่

February 24th, 2011 No comments

บริษัท จำกัด แต่งตั้งคุณเชษฐา ธรรมวัน เพื่อเข้าดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายการขาย กลุ่มธุรกิจค้าปลีก ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศไทย โดยจะรับผิดชอบในการสร้างการเติบโตและเสริมสร้างความแข็งแกร่งในส่วนของฐานลูกค้าในปัจจุบัน พร้อมทั้งขยายโอกาสทางธุรกิจใปสู่ลูกค้าใหม่

คุณเชษฐามีประสบการณ์ยาวนานด้านไอที โดยก่อนหน้าที่จะร่วมงานกับบริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม
บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด คุณเชษฐา ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท Anchor Solutions และในช่วงปี 2551-2552 ได้ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อวานาด (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Accenture และไมโครซอฟท์

คุณเชษฐายังเคยทำงานให้กับบริษัท ฮิวเลตต์ แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด เกือบ 10 ปี ในตำแหน่งต่างๆ โดยตำแหน่งสุดท้ายในเอชพี เขาดำรงตำแหน่งผู้จัดการธุรกิจอาวุโสส่วนงานสตอเรจและเซิร์ฟเวอร์สำหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร นอกจากนั้นในช่วงปี 2539-2542 เขาดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปในกลุ่มเอสวีโอเอ ก่อนหน้านี้ เขายังเคยมีประสบการณ์ในด้านวิศวกรรมและการผลิตในซิลิคอน วัลเลย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาในฐานะวิศวกรออกแบบระบบ

คุณเชษฐา สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทด้านการเงิน จาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

View :1422

ก.ไอซีที จัดงานสัมมนาผลงานวิจัย ICT Award 2010 กับการต่อยอดเชิงพาณิชย์

February 22nd, 2011 No comments

นายวรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังการสัมมนาผลงานวิจัยไอซีทีกับการต่อยอดเชิงพาณิชย์และการรายงานผลงานวิจัยที่ได้ผ่านการคัดเลือกในการประกวดผลงานวิจัย  ICT Award 2010 ว่า การจัดงานสัมมนาผลงานวิจัยไอซีทีกับการต่อยอดเชิงพาณิชย์ฯ ครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรม ICT ไทยระยะที่ 2 ที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและผลักดันอุตสาหกรรม ICT ของประเทศ รวมถึงส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถของนักวิจัย ตลอดจนเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานวิจัย อันจะนำไปพัฒนาต่อเนื่องทางธุรกิจและเชิงพาณิชย์ต่อไป
ในการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาฯ  ระยะที่ 2 กระทรวงฯ ได้มีการจัดทำโครงการประกวดผลงานวิจัย “ICT Award 2010” ขึ้น โดยมีผลงานวิจัยที่ส่งเข้าร่วมประกวดในโครงการฯ จำนวน 202 ผลงาน และมีผลงานที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกในรอบแรกจำนวน 176 ผลงาน ซึ่งสามารถแบ่งผลงานออกเป็นกลุ่มย่อย 5 กลุ่ม คือ ฮาร์ดแวร์ประเภทที่ 1 ได้แก่ Baseband/Integrated Circuit/ RF/HF/Antenna จำนวน 17 ผลงาน ฮาร์ดแวร์ประเภทที่ 2 ได้แก่ Application จำนวน 35 ผลงาน ซอฟต์แวร์ประเภทที่ 1 ได้แก่ Network Application จำนวน 47 ผลงาน ซอฟต์แวร์ประเภทที่ 2 ได้แก่ GIS, ITS, Biometric, Image Processing จำนวน 47 ผลงานและซอฟต์แวร์ประเภทที่ 3 ได้แก่ AI Support, Decision Support System จำนวน 30 ผลงาน
หลังจากนั้นคณะกรรมการประเมินผลงานได้พิจารณาผลงานวิจัยที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้าย จำนวนทั้งหมด 20 ผลงาน และได้เชิญเจ้าของผลงานมานำเสนองานวิจัยแก่คณะกรรมการประเมินผลงาน เพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือกรางวัลที่ 1, 2, 3 และรางวัลชมเชย ซึ่งผลงานที่ชนะการประกวดผลงานวิจัย “ICT Award 2010” ในครั้งนี้ จะได้รับเงินรางวัล และเกียรติบัตร ดังนี้ รางวัลที่ 1 เงินรางวัล จำนวน 30,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จำนวน 2 รางวัล แบ่งเป็นประเภทฮาร์ดแวร์ 1 รางวัล และประเภทซอฟต์แวร์ 1 รางวัล  รางวัลที่ 2 เงินรางวัล จำนวน 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จำนวน 2 รางวัล คือ แบ่งเป็นประเภทฮาร์ดแวร์ 1 รางวัล และประเภทซอฟต์แวร์ 1 รางวัล รางวัลที่ 3 เงินรางวัล จำนวน 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จำนวน 2 รางวัล คือ ประเภทฮาร์ดแวร์ 1 รางวัล และประเภทซอฟต์แวร์ 1 รางวัล และรางวัลชมเชย ได้รับเกียรติบัตร จำนวน 14 รางวัล แบ่งเป็นประเภทฮาร์ดแวร์ 7 รางวัล และประเภทซอฟต์แวร์ 7 รางวัล
“การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรม ICT ไทย ระยะที่ 2 กระทรวง ฯ มุ่งหวังที่จะรวบรวมผลงานวิจัยด้าน ICT จากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรอิสระต่าง ๆ เพื่อมาคัดเลือกผลงานวิจัยที่โดดเด่นเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักในอุตสาหกรรม ICT พร้อมกันนี้ยังต้องการที่จะยกย่องและมอบรางวัลให้แก่ผลงานวิจัยดีเด่นเหล่านั้น เพื่อเป็นกำลังใจและผลักดันให้นักวิจัยได้สร้างสรรค์ผลงานอันเป็นประโยชน์ต่อไป” นายวรพัฒน์ กล่าว

View :1370

ทิศทางอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลในปี 2554

February 22nd, 2011 No comments

ในปี 2554 นี้ เอชพีเชื่อว่า ปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดทิศทางของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลคือ ความต้องการที่จะเอาชนะสิ่งท้าทายสำคัญนานัปการ ซึ่งหากทำสำเร็จจะช่วยบริษัททั่วโลกให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คล่องแคล่วรวดเร็ว และมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น ซึ่งความท้าทายต่างๆ ได้แก่ การบริหารระบบโครงสร้างองค์กรที่ไม่มีความยืดหยุ่นให้มีความคล่องตัวเพิ่มขึ้น การพัฒนาสถาปัตยกรรมไอทีที่อัดแน่นให้มีความคล่องตัวขึ้น การจัดการปัญหาการขยายตัวอย่างไร้ระเบียบของระบบไอที การบริหารระบบจัดเก็บข้อมูลที่ซับซ้อนให้มีการทำงานที่สะดวกและง่ายดาย และการยกระดับระบบโครงสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

เพิ่มความยืดหยุ่นและคล่องตัวให้แก่ระบบโครงสร้างองค์กร
องค์กรที่ต้องการประสบความสำเร็จในปัจจุบันจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับระบบไอที หมายรวมถึงระบบจัดเก็บข้อมูลว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของโครงสร้างทางไอที มิใช่เป็นเพียงเครื่องมือช่วยจัดเก็บข้อมูลเท่านั้น ทั้งนี้ ทิศทางดังกล่าวได้นำเสนอไว้ในงานวิจัยชิ้นใหม่ที่จัดทำขึ้นในนามของเอชพี โดยระบุว่าผู้บริหารในภาครัฐและเอกชนร้อยละ 76 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (และร้อยละ 85 ทั่วโลก) กล่าวว่า องค์กรที่ต้องการประสบความสำเร็จจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินธุรกิจหรือการให้บริการของภาครัฐ 1

เทคโนโลยีสื่อสารเคลื่อนที่และคลาวด์คอมพิวติ้ง ได้รับการยอมรับและนำมาใช้งานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีความคาดหวังจากลูกค้าเพิ่มขึ้นว่า องค์กรภาครัฐและธุรกิจจะมีสมรรถนะที่สามารถตอบสนองและให้บริการได้โดยทันที ไม่จำเป็นต้องใช้เวลานานเป็นวันๆ หรือหลายสัปดาห์เหมือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ เพื่อตอกย้ำทิศทางที่ชัดเจนและโดดเด่นดังกล่าว เอชพีจึงประกาศวิสัยทัศน์ Instant-On Enterprise ในเดือนพฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา โดยนำเสนอแนวคิดสำหรับองค์กรให้นำเทคโนโลยีต่างๆ อาทิ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เซิร์ฟเวอร์ ระบบเครือข่าย และซอฟต์แวร์มาใช้ในการดำเนินงานอย่างเหมาะสมทุกด้าน เพื่อตอบสนองความต้องการแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

หลักการทำงานขององค์กรแบบ Instant-On Enterprise คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานทุกด้าน ส่งผลให้องค์กรต่างๆ มีแต้มต่อในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ทั้งยังสามารถให้บริการตรงตามความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ทันที และเข้าใจถึงความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ดีขึ้น

พัฒนาสถาปัตยกรรมไอทีที่อัดแน่นให้มีความคล่องตัวขึ้น

ระบบสถาปัตยกรรมไอทีที่ล้าสมัย ไร้ความยืดหยุ่น และอัดแน่นด้วยข้อมูลมากเกินไป ทำให้องค์กรต่างๆ มีปัญหาในการบริหารคลังข้อมูลหลากหลายแห่ง นอกจากนี้ เครื่องเซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และระบบไอทีต่างๆ ที่ติดตั้งกระจายอยู่ตามสายงานต่างๆ จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของไอทีภายในองค์กร

ในปี 2554 ความท้าทายด้านนี้ขององค์กรสามารถแก้ไขได้โดยใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบผนวกของเอชพี (HP Converged Infrastructure) ซึ่งเป็นการผนวกรวมอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เครื่องเซิร์ฟเวอร์ และระบบเครือข่ายเข้าไว้ด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว ทำให้คลังข้อมูลเหล่านี้เป็นทรัพยากรที่สามารถทำงานร่วมกันได้และมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวทางด้านไอทีเพิ่มขึ้น ทั้งยังมีความรวดเร็วและคล่องตัวในการทำงานมากขึ้น ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้มากขึ้นอีกด้วย

ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบผนวกของเอชพี (HP Converged Infrastructure) คือ ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีความเรียบง่ายในการทำงาน มีการผนวกรวมระบบการทำงานต่างๆ อย่างเป็นเอกภาพ และมีการทำงานแบบอัตโนมัติซึ่งเป็นคุณสมบัติที่โดดเด่นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ธุรกิจต่างๆ ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น ดังนั้น จึงเร่งระยะเวลาในการสร้างรายได้จากการดำเนินงานโดยใช้ระบบไอทีที่มีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวในการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจด้วยระบบบริหารจัดการที่เรียบง่าย และมีความเสี่ยงลดลงเนื่องจากมีระบบสำรองข้อมูลและการกู้ระบบที่มีเสถียรภาพมากขึ้น

มุ่งจัดการปัญหาการขยายตัวอย่างไร้ระเบียบของระบบไอที

การขยายตัวของปริมาณข้อมูลในอัตราที่แพร่กระจายและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดปัญหาการล้นทะลักของข้อมูลตามมา ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องเผชิญกับความท้าทายว่าจะจัดเก็บและจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิผลและคุ้มค่าได้อย่างไร โดยที่ยังคงสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเสถียรภาพสูงสุดเช่นเดิม

ดังนั้น ในปี 2554 องค์กรต่างๆ จึงควรให้ความสำคัญกับการจัดการความซ้ำซ้อนของข้อมูล ซึ่งจะช่วยควบคุมปัญหาการขยายตัวอย่างไร้ระเบียบของข้อมูล (data sprawl) ช่วยให้เกิดความต้องการระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีสมรรถนะเพิ่มขึ้น การกำจัดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนจะทำให้ระบบจัดเก็บข้อมูลมีสมรรถนะในการจัดเก็บ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้องค์กรต่างๆ สามารถจัดเก็บข้อมูลสำคัญๆ ได้มากขึ้น และมีค่าใช้จ่ายลดลงไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนทิศทางการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าว เอชพีจึงพัฒนาซอฟต์แวร์กำจัดข้อมูลซ้ำซ้อน HP StoreOnce data deduplication software ที่ได้รับการออกแบบให้ทำงานบนสถาปัตยกรรมแบบเดี่ยวแต่มีสมรรถนะสูงและดี เยี่ยม สามารถขจัดความซ้ำซ้อนของข้อมูลภายในองค์กร ทั้งยังทำให้การบริหารจัดการข้อมูลมีความง่ายดาย และปกป้องข้อมูลได้อย่างดีเยี่ยม โดยสามารถรันระบบสำรองข้อมูล (backup) ได้พร้อมๆ กันหลายที่ และทำสำเนาข้อมูลได้ทุกที่ทั้งจากสำนักงานย่อยที่ตั้งอยู่ห่างไกลจนถึงศูนย์ ข้อมูลที่ตั้งอยู่ในส่วนกลาง

บริหารระบบจัดเก็บข้อมูลที่ซับซ้อนให้มีการทำงานที่สะดวกและง่ายดาย

ปัจจุบัน องค์กรต่างๆ ประสบปัญหาด้านระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ไม่สามารถปรับขยายหรือลดให้ตรงตามความต้องการ และมีการใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่า องค์กรหลายแห่งต้องนำงบประมาณไอทีมาใช้ในการบริหารจัดการระบบโครงสร้างพื้น ฐานการจัดเก็บข้อมูลที่ล้าสมัยและมีขนาดเทอะทะ ทั้งยังทำให้เกิดความซับซ้อนในการดำเนินงานเป็นระยะเวลานาน

สำหรับองค์กรที่ต้องการพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลให้ทำงานง่ายและคล่องตัว จำเป็นต้องใช้ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบเสมือน (storage virtualization) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานทั่วทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านฮาร์ดแวร์ไอทีทั้งหมด โดยสามารถกำหนดหรือปรับเปลี่ยนสมรรถนะการทำงานอย่างรวดเร็วและทันทีเพื่อสนับสนุนแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจหลากหลายประเภท ส่งผลให้ลูกค้าสามารถบริหารและดำเนินการเปลี่ยนแปลงต่างๆ แบบเรียลไทม์

เพื่อให้ธุรกิจต่างๆ ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีเสมือนหรือเวอร์ช่วลไลเซชั่นมากที่สุด เอชพีจึงเปิดตัวโซลูชั่น P4000 ซึ่งสนับสนุนธุรกิจต่างๆ ให้นำทรัพยากรการจัดเก็บข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าสูงสุด โดยมีสมรรถนะในการใช้งานเพิ่มขึ้น และมีแอพพลิเคชั่นแบบเสมือนหรือเวอร์ช่วลเพื่อรองรับการจัดเก็บข้อมูลที่มีความพร้อมในการใช้งานสูง

ยกระดับระบบโครงสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

ระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ดีจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นและมีเสถียรภาพทั้งทางด้านการจัดเก็บและการเข้าถึงข้อมูล ระบบโครงสร้างพื้นฐานการจัดเก็บข้อมูลที่ล้าสมัยเป็นระบบที่ขาดความคล่องตัว มีการใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่า และไม่มีความคุ้มทุน องค์กรต่างๆ จึงจำเป็นต้องมองหาแนวทางการจัดเก็บข้อมูลใหม่ๆ ที่สามารถจัดการสิ่งท้าทายต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยม และตอบสนองความต้องการในการจัดเก็บข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

เทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง คือ หนึ่งในทิศทางไอทียอดนิยมสูงสุดตลอดปี 2553 และยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2554 สำหรับการจัดเก็บข้อมูล เทคโนโลยีคลาวด์ได้ถูกนำมาใช้พัฒนาโซลูชั่นจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพซึ่งทำให้องค์กรต่างๆ ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลอีกต่อไป จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน นอกจากนี้ ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์ยังมีความยืดหยุ่นสูง และสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ใช้ร่วมกันได้จากทุกที่ ส่งผลให้องค์กรต่างๆ มีการดำเนินงานที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง

เอชพีพัฒนาโซลูชั่นจัดเก็บข้อมูล HP 3PAR utility storage system ใหม่ มุ่งเน้นให้องค์กรต่างๆ ที่ต้องการเพิ่มแต้มต่อในการแข่งขันโดยนำเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งมาใช้ สนับสนุนระบบการจัดเก็บข้อมูลของตน ทั้งนี้ HP 3PAR utility storage system คือ ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบเสมือนหรือเวอร์ช่วลที่สนับสนุนระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง ทั้งแบบสาธารณะและแบบส่วนตัว ทั้งยังเป็นแพลทฟอร์มจัดเก็บข้อมูลเดียวที่มาพร้อมกับฟีทเจอร์อันโดดเด่นของ เทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง ซึ่งได้แก่ สามารถใช้งานร่วมกันหลายราย (multi-tenancy) มีการทำงานแบบอัตโนมัติ และมีการทำงานแบบเสมือนหรือเวอร์ช่วล ซึ่งฟีทเจอร์เหล่านี้ไม่มีในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบเดิม

ปัจจุบัน โซลูชั่นจัดเก็บข้อมูล HP 3PAR utility storage system ช่วยองค์กรต่างๆ กว่า 6,000 รายให้สามารถรันแอพพลิเคชั่นของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังเร่งการปรับเปลี่ยนสู่ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งทั้งแบบสาธารณะและแบบส่วนตัวได้อย่างรวดเร็ว และสนับสนุนการให้บริการไอที (IT–as-a-Service) ให้มีประสิทธิภาพและแพร่หลายยิ่งขึ้น

View :1500

ประเทศไทยเผยศักยภาพเป็นเจ้าภาพจัดคอมพิวเตอร์โอลิมปิก ครั้งที่ ๒๓

February 22nd, 2011 No comments

โอกาสทองกระตุ้นเด็กไทย ยกระดับคุณภาพการเรียนรู้

ประเทศไทยพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ ๒๓ ระหว่างวันที่ ๒๒ – ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณ เมืองพัทยา พร้อมรับ ๘๔ ประเทศทั่วโลกร่วมแข่งขัน ชี้โอกาสทองกระตุ้นเด็กไทยสนใจวิทยาการคอมพิวเตอร์ ยกระดับคุณภาพการเรียนรู้วิชานี้ให้เข้มแข็งรองรับความต้องการในอนาคต

นายไชยยศ จิรเมธากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ ๒๓ ระหว่างวันที่ ๒๒ – ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณ โรงแรมรอแยล คลิฟ บีช รีสอร์ท เมืองพัทยา อันเป็นกิจกรรมระดับโลกที่นานาประเทศให้ความสำคัญ ซึ่งในปีที่ผ่านมาผู้แทนประเทศไทยสามารถทำคะแนนได้สูงเป็นอันดับที่ ๑๒ ของโลก จากประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน ๘๔ ประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของเยาวชนไทย ในโอกาสที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันครั้งนี้นับเป็นวาระสำคัญที่จะส่งเสริมให้เกิดการปรับปรุงหลักสูตร การเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มมาตรฐานการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์บ้านเราให้สูงยิ่งขึ้น กระตุ้นความสนใจเรียนรู้ของนักเรียนในวงกว้าง ส่งผลให้โรงเรียนเร่งพัฒนาขีดความสามารถในการจัดการเรียนการสอนวิชาดังกล่าวให้ทันกับความต้องการของผู้เรียน และเกิดการขยายตัวของงานวิจัยทางด้านนี้มากยิ่งขึ้น

รศ.ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ กล่าวว่าคาดว่าจะมีเยาวชน ๘๔ ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมแข่งขัน แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่นานาประเทศมีต่อศักยภาพของประเทศไทย การ แข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกเป็นการส่งเสริมให้นำความรู้คณิตศาสตร์และ คอมพิวเตอร์มาใช้แก้ปัญหาด้วยกระบวนการคิด วิเคราะห์ อย่างมีเหตุผล เพื่อการวางแผนและสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ การจัดการแข่งขันโอลิมปิกวิชานี้ในประเทศไทยจึงช่วยกระตุ้นให้เยาวชนคนรุ่น ใหม่สนใจเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น ขณะนี้การเตรียมการจัดแข่งขันมีความก้าวหน้าในทุกด้าน โดยด้านข้อสอบได้รับความร่วมมือจากอดีตผู้แทนประเทศไทยที่เคยเข้าร่วมการ แข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกหลายๆ รุ่นและคณาจารย์จากหลายสถาบัน เตรียมความพร้อมของข้อสอบคุณภาพซึ่งเป็นโจทย์ใหม่ที่ท้าทายความสามารถในการ แก้ปัญหา พัฒนากระบวนการคิด ส่วนด้านบทบาทของเจ้าบ้านที่ดีก็ได้รับความร่วมมือจากเมืองพัทยาทั้งด้าน สถานที่และการอำนวยความสะดวก

กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้สสวท.ร่วมกับหน่วยงานหลัก ๗ แห่งคือ มูลนิธิสอวน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ สวทช. และเมืองพัทยา ร่วมกันดำเนินการจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ ๒๓ ระหว่างวันที่ ๒๒ – ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ โรงแรมรอแยล คลิฟ บีช รีสอร์ท เมืองพัทยา

View :1619

DLSs ของแพคเน็ทได้รับรางวัล IT Square Ed itors ’ Choice

February 22nd, 2011 No comments

ในฐานะ สถานีภาคพื้นดินสำหรับข้อมูลแห่งแรกในระดับภูมิภาคโดย ผู้นำผู้ให้บริการโทรคมนาคมแห่งเอเชีย แปซิฟิก

แพคเน็ทได้รับรางวัล สถานีภาคพื้นดินสำหรับข้อมูล หรือ แห่งแรกในระดับภูมิภาค และรางวัล “The Best Business Internet Data Center” จากกองบรรณาธิการนิตยสารไอที สแควร์ ( IT Square ) ในงานพิธีมอบรางวัล Sing Tao IT Square Editors ’ Choice ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวานนี้ ไอที สแควร์เป็นนิตยสารเทคโนโลยีรายสัปดาห์สำหรับกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ ที่สอดแทรกอยู่ในหนังสือพิมพ์ Sing Tao ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาจีนฉบับหนึ่งที่มียอดผู้อ่านมากที่สุดในฮ่องกง

“ เรายินดีมากที่ได้รับรางวัลจาก กองบรรณาธิการนิตยสารไอที สแควร์อีกครั้งหนึ่ง สำหรับการนำเสนอศูนย์ข้อมูล ( Data Centers) รูปแบบใหม่ผ่าน DLSs ของเรา ซึ่ง ตอบสนองความต้องการในตลาดที่มีเพิ่มมากขึ้นสำหรับบริการโค – โลเคชั่นที่เชื่อมต่อด้วยความเร็วสูงสุด มีเวลาหน่วงน้อยที่สุด ” วิลเฟรด กวาน ซีทีโอ แพคเน็ทกล่าว

DLSs ของแพคเน็ทมีความเป็น หนึ่งที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ ด้วยการเป็นเครือข่ายของศูนย์ข้อมูลที่มีการต่อเชื่อมกันข้ามภูมิภาคแบบหลาย ชั้น มีศักยภาพ เชื่อถือได้ และมีความหลากหลาย โดยเชื่อมต่อโดยตรงเข้ากับโครงข่ายเคเบิ้ลใต้น้ำ EAC-C2C ของแพคเน็ท ซึ่งเป็น โครงข่ายเคเบิ้ลใต้น้ำของเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย DLSs ของแพคเน็ทยัง เหนือ ชั้นด้วยกำลังไฟ พื้นที่ และเครือข่ายที่เชื่อมต่อเข้ากับสิ่งอำนวยความสะดวก และเทคโนโลยีอันทันสมัยที่มีอยู่ในสถานีฐานเคเบิ้ลภาคพื้นดิน ทั้ง ความหนาแน่นสำหรับไฟฟ้าสูงถึง 8 KVA ต่อตู้ ระบบไฟฟ้าสำรองเต็มรูปแบบ และระบบทำความเย็น ระบบตรวจจับและป้องกันอัคคีภัย รวมทั้งระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าใช้งานอันทันสมัยตลอด 24 ชั่วโมง

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 แพคเน็ทได้ประกาศการเปิดตัว DLS แห่งแรกในฮ่องกง และแห่งที่สองในสิงคโปร์ ด้วย DLSs ของแพคเน็ทในสิงคโปร์ และฮ่องกง บริษัทจึงสามารถให้บริการการเชื่อมต่อที่มีเวลาหน่วงเวลาต่ำสุดระหว่างศูนย์ ข้อมูลในสิงคโปร์กับศูนย์ข้อมูลในฮ่องกง นอกจากนี้ลูกค้าของแพคเน็ทยังได้รับประโยชน์มหาศาล ทั้งการเชื่อมต่อความเร็วสูง เวลาหน่วงต่ำระหว่างเอเชียและอเมริกา และยังมีหลากหลายเส้นทางให้เลือกใช้บริการ ทั้งระบบโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำ EAC-C2C และ EAC Pacific ของแพคเน็ท

“ เราภูมิใจมากที่ได้รับรางวัลนี้ ปีนี้เป็นปีที่สองแล้วที่เราได้รับการยอมรับจากกองบรรณาธิการไอที สแควร์ ” อลิส ทิง กรรมการผู้จัดการของแพคเน็ท ฮ่องกงกล่าว โดยแพคเน็ทได้รับรางวัล “Managed Services Solution Award” เมื่อปีที่แล้ว “ เรา ยืนยันที่จะนำเสนอนวัตกรรมและบริการที่มีคุณค่าทางธุรกิจผ่านโซลูชั่นระดับ มาตรฐานอุตสาหกรรมเช่นที่เราเคยนำเสนอสู่ตลาดมาอย่างต่อเนื่อง ” คุณทิง กล่าวเสริม

DLS s ของแพคเน็ทนับเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การเติบโตของบริษัท ซึ่งตอบสนองความต้องการในบริการศูนย์ข้อมูลที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น และยังเป็นส่วนสนับสนุนโซลูชั่นคลาวด์คอมพิวติ้งด้วย

View :1362

ก.ไอซีที เดินหน้าผลักดันศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนสู่ระดับสากล

February 22nd, 2011 No comments

นายภุชพงค์ โนดไธสง ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง เปิดเผยว่า กระทรวงไอซีที ได้ดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน โดยติดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์พร้อมอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงตามสถานที่ต่างๆ ในชุมชนที่มีความพร้อมและเหมาะสม ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่รัฐบาลได้วาง นโยบายไว้ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านไอซีทีรองรับการพัฒนาประเทศ และขยายโอกาสการเข้าถึงสารสนเทศให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ลดช่องว่างระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบท ด้วยการสร้างแหล่งเรียนรู้ด้านไอซีที แหล่งสืบค้นสารสนเทศ พัฒนาศูนย์ฝึกอบรมด้าน ไอซีที สร้างห้องเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เป็นแหล่งรับบริการข้อมูลข่าวสาร และบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ตลอดจนสร้างโอกาสทางการตลาดแก่สินค้าและอาชีพของชุมชน

“ โครงการฯ นี้ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 โดยขณะนี้สามารถจัดตั้งศูนย์ฯ ไปทั้งหมด 878 ศูนย์ ซึ่งแบ่งเป็น ปีงบประมาณ 2550 จัดตั้งได้ 20 ศูนย์ ปีงบประมาณ 2551 จัดตั้งได้ 40 ศูนย์ ปีงบประมาณ 2552 จัดตั้งได้อีก 219 ศูนย์ และปีงบประมาณ 2553 จัดตั้งเพิ่มอีก 600 ศูนย์ ให้กระจายตัวออกไปในระดับอำเภอทั่วประเทศ กล่าวคือ ภาคเหนือ จำนวน 84 ศูนย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 223 ศูนย์ ภาคกลาง 187 ศูนย์ และภาคใต้ 106 ศูนย์ ซึ่งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน บ้านคกมาด อ.เชียงคาน และ ต.ร่องจิก อ.ภูเรือ จ.เลย นี้ จัดตั้งขึ้นตามโครงการฯ ในปีงบประมาณ 2553 ส่วนในปีงบประมาณ 2554 กระทรวงฯ ได้ดำเนินโครงการดังกล่าวภายใต้ชื่อ โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เพื่อพ่อหลวง จำนวน 1 , 000 ศูนย์ โดยกระทรวงฯ ได้ลงนามสัญญาซื้อขายครุภัณฑ์และวัสดุสำนักงานโครงการดังกล่าว ร่วมกับบริษัท สุพรีม ดิสทิบิวชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด ที่ชนะการประกวดราคาเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2554 ที่ผ่านมา พร้อมกันนี้ กระทรวงฯ ยังจะมีการพัฒนาหลักสูตรออนไลน์สำหรับ ICT ชุมชน จำนวน 10 หลักสูตร และเพิ่มการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อให้เกิดกิจกรรมสร้างสรรค์แก่ประชาชนผ่านทางศูนย์ฯ ต่างๆ จำนวน 1,800 แห่ง ” นายภุชพงค์กล่าว

และเพื่อให้การดำเนินงานพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ของประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนารูปแบบและทิศทางการดำเนินโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการของ ประชาชน จึงได้มีการจัดทำโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอีกหลายโครงการ อาทิ การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนให้ก้าวสู่ระดับสากล ด้วยการจัดทำโครงการ Thai Telecentre Academy เพื่อเป็นการสร้างโอกาสการเรียนรู้ที่เท่าเทียมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยให้ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนเป็นเสมือนห้องเรียนตามอัธยาศัย ซึ่งโครงการฯ นี้เป็นความร่วมมือระดับสากล ที่กระทรวงฯ ได้ดำเนินการร่วมกับ Global Telecentre โดยขั้นแรกจะเริ่มจากการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับชุมชน

พร้อมกันนี้ กระทรวงฯ ยังได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มคนทำงานที่บ้าน หรือ Homeworker ซึ่งเป็นโครงการเสริมทักษะด้าน ICT ให้ แก่กลุ่มอาชีพในชุมชน เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ในเชิงอาชีพ ทั้งในเรื่องการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด การจัดทำบัญชีอย่างง่าย และสามารถต่อยอดโดยการจัดตั้งร้านค้าชุมชนออนไลน์เพื่อสร้างช่องทางการ จำหน่ายสินค้าชุมชนให้ครบวงจร ซึ่งรวมถึงระบบการสั่งซื้อ การชำระเงิน และการขนส่งสินค้า เพื่อให้กลุ่มคนทำงานที่บ้านสามารถค้าขายได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น

โครงการ พัฒนาระบบสารสนเทศชุมชน เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ของชุมชน ทั้งที่เป็นองค์ความรู้ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ประเพณี ของดี และสิ่งที่น่าสนใจ ตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยว โดยจะทำการรวบรวมและจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ พร้อมจัดแสดงในรูปแบบของภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และสินค้าชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งโครงการต่างๆ ที่กล่าวมานั้น เป็นเพียงตัวอย่างจากหลายแนวทางที่ กระทรวงฯ ได้ดำเนินการเพื่อต่อยอดให้ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนอย่างแท้จริง และยั่งยืนอยู่กับชุมชนต่อไปได้

View :1657

ก.ไอซีที ศึกษาแนวทางกำกับธุรกิจบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

February 21st, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะรองประธานกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เปิดเผย ว่า คณะ กรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้จัดทำโครงการศึกษาแนวทางการกำกับธุรกิจ บริการทางธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น เพื่อศึกษาวิเคราะห์ สำรวจสภาพข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธุรกิจบริการภาคเอกชนหรือการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงและจำเป็นต้องกำกับดูแลในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการศึกษาแนวนโยบาย แนวปฏิบัติ และมาตรการของต่างประเทศ พร้อมทั้งวิเคราะห์เปรียบเทียบสภาพความพร้อมในการกำกับดูแลธุรกิจบริการกับ ของประเทศไทย ซึ่งผลจากการศึกษานี้จะนำมาใช้ในการวางแผน ส่งเสริม และพัฒนาการดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เพื่อให้การประกอบกิจการดังกล่าวมีความเข้มแข็งเป็นไปตามมาตรฐานสากล เสริมสร้างความเชื่อมั่นและสร้างการยอมรับในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และป้องกันความเสียหายต่อสาธารณชน อันเป็นการสร้างโอกาสและพัฒนาศักยภาพของภาคธุรกิจ ของไทยให้สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการต่างชาติได้

โดยปัจจุบัน คณะกรรมการฯ ได้กำหนดให้ธุรกิจบริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Certification Authority : CA และธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Payment Service Provider เป็น ธุรกิจบริการที่จำเป็นต้องมีการกำกับดูแล เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างและยอมรับในระบบข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน ในวงกว้างหากไม่มีการกำกับดูแล และตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ได้กำหนดให้มีการกำกับดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและการพาณิชย์ โดยให้คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่พิจารณากำหนดประเภทธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่อาจจำเป็นต้องมีการกำกับดูแล จึงได้มีการตราเป็นกฎหมายลำดับรองในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ฯ คือ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 และ (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจการให้บริการออกใบรับรองเพื่อสนับ สนุนลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …. ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา

นางจีราวรรณ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ คณะ กรรมการฯ ได้วางแผนที่จะทำการศึกษาธุรกิจบริการภาคเอกชนหรือการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐที่มีความจำเป็นต้องกำกับดูแลโดยคำนึงถึง 3 ประเด็น คือ ธุรกิจนั้นจะต้องมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงิน ความน่าเชื่อถือในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และต่อสาธารณชน เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความน่าเชื่อถือ การยอมรับในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปของการออกใบรับรองเพื่อยืนยันตัว บุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่อดิจิทัล ธุรกิจเกี่ยวกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Document Service) ธุรกิจบริการเกี่ยวกับ Website, Web Hosting, e-Market Place หรือ ธุรกิจที่มีเนื้อหาด้านบันเทิง/มัลติมีเดีย ( e-Content Service) เป็น ต้น เนื่องจากธุรกิจบริการดังกล่าวเป็นธุรกิจบริการที่เชื่อมโยงกับการทำธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงมีโอกาสค่อนข้างสูงที่จะเกิดความเสี่ยงและจำเป็นต้องกำกับดูแล ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างให้เกิดความเชื่อมั่นในการใช้เอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ”

View :1673

ดีแทค และ Kids Action for Kids เปิดตัว เว็บไซต์ Kids Action for Kids

February 21st, 2011 No comments

โดยโครงการทำดีทุกวัน เตรียมขยายโครงการความร่วมมือกับกลุ่มเยาวชนจากประเทศนอร์เวย์ ‘ ’ ร่วม มือจัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์หารายได้เพื่อเป็นค่าผ่าตัดให้เด็กผู้ ประสบภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และผู้มีภาวะความผิดปกติบนใบหน้า นิ้วติดกันและนิ้วเกินในประเทศไทย นับเป็นความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 ในโครงการทำด ีด้วยใจ เพื่อความสุขและรอยยิ้มของเด็กไทย

ความร่วมมือในครั้งนี้ มุ่งช่วยกันระดมเงินหาทุนสนับสนุนผ่านมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม (Operation Smile) เพื่อช่วยเหลือเป็นค่าผ่าตัดฟรีผ่าน ให้แก่เด็กไทยที่ประสบภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และความผิดปกติบนใบหน้าจำนวน 50 คน ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมหาราช เนื่องในวโรกาสแห่งปีฉลองพระชนมายุครบ 84 พรรษาในปีนี้ซึ่งดีแทคมีโครงการทำกิจกรรมทำดีทุกวันในหลากหลายรูปแบบต่อเนื่องกันตลอดทั้งปี

สำหรับการรณรงค์โครงการประชาสัมพันธ์ในประเทศไทย ดีแทคขอเชิญชวนลูกค้าดีแทคทั่วประเทศ ร่วมกันส่ง SMS สนับสนุนการทำโครงการโดยเพียงกด 1 แล้วส่ง SMS มาที่หมายเลข 1677 ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2554 ซึ่งทุก SMS ที่ส่งเข้ามาในระบบจะมีมูลค ่า SMS ละ 1 บาท ( ลูก ค้าดีแทคส่งฟรี) ซึ่งดีแทคจะสมทบเป็นทุนสำหรับค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ ต่อไป โดยในปีนี้จะทำการผ่าตัดที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ จ.อุบลราชธานี

นายพีระพงษ์ กลิ่นละออ ผู้อำนวยการสำนักงานสำนึกรักบ้านเกิด โครงการทำดีทุกวันจากดีแทคกล่าวว่าดีแทคจัด โครงการทำด ีด้วยใจ เพื่อ ความสุขและรอยยิ้มของเด็กไทยอย่างต่อเนื่องหลังจากเห็นผลสำเร็จอันน่าชื่นใจ จากการทำโครงการครั้งที่ผ่านๆ มา สามารถช่วยพลิกชีวิตใหม่ให้กับเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ ให้กลับมามีรอยยิ้มที่สดใสอีกครั้ง ซึ่งจากการทำโครงการ 3 ครั้งที่ผ่านมา ดีแทค และ Kids Action for Kids ได้ช่วยเหลือเด็กๆ แล้ว ทั้งสิ้น 164 คน ผ่านการประสานงานของมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม (Operation Smile) โดยกิจกรรมที่ผ่านมาจัดขึ้นที่โรงพยาบาลพระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก 2 ครั้ง และโรงพยาบาลชลบุรี จ.ชลบุรี สำหรับปีนี้ ทั้งสองหน่วยงานตั้งเป้าในการร่วมระดมทุนหารายได้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ให้ได้ถึง 700,000 บาทเพื่อ ช่วยเหลือเป็นค่าผ่าตัดสำหรับเด็กอีก 50 คน

ด้าน นายฮากอน เบรคเก้ ประธานกลุ่ม Kids Action for Kids กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการทำโครงการว่าดีแทค และ Kids Action for Kids มี เจตนารมณ์ ที่สอดคล้องกันในการทำดีด้วยใจเพื่อช่วยเหลือเด็กไทยที่ประสบปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมกับกลุ่มเยาวชนจากนอร์เวย์รวมตัวกันจัดกิจกรรมต่างๆ ตามโรงเรียนในประเทศนอร์เวย์ อาทิ การออกร้านจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมทำมือ ขายขนม เบเกอรี่ คุกกี้ บริการขัดรองเท้า และกิจกรรมอื่นๆ ให้เด็กๆ มีส่วนร่วม เพื่อหารายได้มาสมทบทุนเป็นค่าผ่าตัดช่วยเหลือเด็กที่มีภาวะปากแหว่งเพดาน โหว่ในประเทศไทย ที่ผ่านมากิจกรรมได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนเยาวชนตามโรงเรียนต่างๆ เป็นอย่างดี นอกจากนี้ กิจกรรมนี้ยังแสดงให้เห็นถึงพลังและศักยภาพของเยาวชนที่สามารถร่วมกันทำสิ่ง ดีๆ เพื่อช่วยเหลือเพื่อนเยาวชนด้วยกันได้ แม้จะต่างชาติต่างภาษากันก็ตาม

สำหรับปีนี้นอกจากจะเดินสายจัดกิจกรรมตามโรงเรียนต่างๆ ในประเทศนอร์เวย์แล้ว Kids Action for Kids ยังเตรียมเปิดตัวเว็บไซต์ http://www.kidsactionforkids.org เพื่อเป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์และการรับบริจาคทั้งในประเทศไทย และประเทศนอร์เวย์ ซึ่ง รายได้จากการทำกิจกรรมที่ประเทศนอร์เวย์จะนำมาสมทบทุนกับโครงการทำดีทุกวัน จากดีแทค เพื่อมอบเป็นค่าผ่าตัดฟรีแก่เด็กที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ที่ร่วมโครงการ ในปีนี้ต่อไป.

View :1412

เปิดตัว “Viliv” (วีลีฟ) แทบเล็ตพีซีขนาดพกพาที่เล็กที่สุดจากเกาหลี

February 21st, 2011 No comments

บริษัท อาร์ซีคอมโปเนนท์ (ประเทศไทย) จำกัด ตัวแทนจำหน่ายแทบเล็ตพีซี   Viliv ()  ขอแนะนำแทบเล็ตพีซีขนาดพกพาที่เล็กที่สุดจากประเทศเกาหลี ยี่ห้อ “ Viliv  ()” บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 7 โดดเด่นด้วยความละเอียดสูงของหน้าจอแบบทัชสกรีนขนาด  5 นิ้ว  และ7นิ้ว  ที่มีคุณสมบัติเหนือกว่าเน็ตบุ๊กขนาดใหญ่ในตลาด   ด้วยโพรเซสเซอร์อินเทลอะตอมล่าสุด 1.33 GHz, ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD 32/64 GB ซึ่งมีความเร็วและเงียบมาก , ช่องใส่ซิม GPRS และ 3G  พร้อมด้วย GPS นำทางในตัว
นอกจากนี้แทบเล็ตพีซี วีลีฟ ยังมีกล้องเวบแคมความละเอียดสูง 1.3 ล้านพิกเซลด้านหน้า  และแบตเตอรี่แบบลิเธียมโพลิเมอร์ที่ใช้งานได้นาน 5-6 ชั่วโมง และพรีโหลดวินโดวส์ เซเว่น สตาร์ทเตอร์ (Windows 7  Starter version) มาให้ด้วย พร้อมจอยสติ๊กและเมาส์บนเครื่องและช่องต่อยูเอสบี  ตลอดจนพอร์ตสำหรับต่อขยายออกจอทีวีขนาดใหญ่  ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้รวมอยู่ในฝ่ามือคุณในน้ำหนักที่ไม่เกินหนึ่งกิโลกรัมแม้ว่ารวมแบตเตอรี่แล้ว  เหมาะสำหรับการการประยุกต์ใช้งานทั้งในองค์กร ร้านอาหาร  รถขนส่ง และความบันเทิง   สำหรับแทบเล็ตวีลีฟ ขนาด 5 นิ้ว SSD 32 ราคา 31,900 บาท ขนาด 7 นิ้ว SSD 32 ราคา 29,900 บาท  ขนาด 7 นิ้ว  3G/32 GB  ราคา 34,500 บาทและขนาด 7 นิ้ว 3G /64 GB ราคา 37,500 บาท (ราคาดังกล่าวรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บริษัท อาร์ซีคอมโปเนนท์ (ประเทศไทย) จำกัด โทรศัพท์ 02-7121401-4 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.rccomponents.co.th
 

View :1590

ก.ไอซีที จับมือ ธนาคารโลกเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรด้านนโยบายไอซีทีของไทย

February 18th, 2011 No comments

นายวรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างกระทรวงไอซีทีกับธนาคารโลก ว่า กระทรวงฯ ได้ร่วมมือกับธนาคารโลกเพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรด้านนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย (Institutional Capacity Building on ICT Policies in Thailand) โดยธนาคารโลกได้สนับสนุนงบประมาณจำนวน 300,000 ยูเอสดอลล่าร์ หรือประมาณ 9,300,000 บาท และกระทรวงฯ สนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม 100,000 ยูเอสดอลล่าร์ หรือประมาณ 3,100,000 บาท
“การดำเนินโครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรฯ นี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อกระทรวงฯ ในการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรระดับบริหารในเรื่องการวางแผนกำหนดนโยบายส่งเสริมให้มีการกระจายบริการโทรคมนาคมพื้นฐานด้วยอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมและทั่วถึง การศึกษาวิจัยเรื่อง Information Technology and Information Technology Enabled Service (IT/ITES) สำหรับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไอซีทีให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนการศึกษาวิจัยในด้าน e-Government อันเป็นการส่งเสริมการให้บริการของภาครัฐไปสู่ประชาชน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐแบบบูรณาการ และก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศไทยสู่สังคมฐานความรู้และนวัตกรรมอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ การดำเนินโครงการฯ ดังกล่าวยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆ ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556 รวมทั้งสอดคล้องกับโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพเพื่อรองรับนโยบายผู้บริหาร และโครงการพัฒนาบุคลากร ของสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ได้ดำเนินการอีกทางหนึ่งด้วย” นายวรพัฒน์ กล่าว
สำหรับกิจกรรมต่างๆ ที่กระทรวงฯ จะได้ดำเนินการภายใต้โครงการฯ นี้ คือ 1.โครงการ Training of Staff เป็นการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงฯ จำนวนประมาณ 30 คน ซึ่งได้แบ่งการฝึกอบรมออกเป็น 3 หัวข้อ คือ ด้าน          e-Government ด้าน broadband และด้าน IT/ITES 2. โครงการศึกษาการบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอุตสาหกรรมบริการ      ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย (IT/ITES) โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs    3.โครงการศึกษาและเสนอแนะแนวทางในการใช้ระบบ e-Government สำหรับการบริการภาครัฐสู่ประชาชน โดยจะศึกษาและออกแบบระบบงานด้าน e-Government ในด้านที่ต้องการ เช่น e-procurement เป็นต้น 4. โครงการศึกษาแนวทางในการขยายระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย (Thailand : Rural Broadband Infrastructure Development) นอกจากนี้ธนาคารโลกยังได้ให้การสนับสนุนด้านอุปกรณ์ IT (IT Support) และด้านการตรวจสอบการดำเนินโครงการ (Audit) อีกด้วย
“โครงการดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 3 ปี ซึ่งกระทรวงฯ จะเร่งดำเนินงานให้แล้วเสร็จภายใน 18 เดือนเพื่อจะได้นำผลการศึกษาจากโครงการฯ มาใช้ประโยชน์ ทั้งสรุปผลการศึกษาแนวทางในการใช้ระบบ e-Government สำหรับการบริการภาครัฐสู่ประชาชน สรุปผลการศึกษาแนวทางในการขยายระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (broadband network) ให้ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกล และสรุปผลการศึกษาระบบ Information Technology and Information Technology Enabled Service (IT/ITES) โดยจะนำมาใช้เพื่อยกระดับขีดความสามารถของบุคลากรด้านนโยบายของกระทรวงฯ รวมทั้งเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของกระทรวงฯ ด้านการพัฒนานโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับสากลและสามารถบรรลุเป้าหมายของการเป็น Smart Thailand ได้ ตลอดจนเพื่อจัดทำนโยบายในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและบริการด้านไอซีทีขนาดย่อม (IT/ITES SMEs) ของประเทศไทยต่อไป” นายวรพัฒน์กล่าว

View :1388
Categories: Press/Release Tags: ,