Archive

Archive for July, 2011

โนเกียชวนสะใจกับความมันส์ระดับ HD ของสุดยอดเกมส์บน Ovi Store

July 6th, 2011 No comments

โนเกียชวนคุณสะใจกับความมันส์ระดับ High Definition กับหลากหลายเกมส์ดังบน ได้แก่ , Galaxy on Fire HD, Tom Clancy’s H.A.W.X. HD, Real Golf 2011 HD, Be Jeweled 2 HD, และ Need for Speed Shift HD เล่นได้กับหลากรุ่นสมาร์ทโฟนของโนเกีย อาทิ X7, E7, E6, C7, C6 Touch, N8 ตรวจสอบรุ่นที่รองรับและดาวน์โหลดได้ที่ www.ovi.com
Asphalt 5 HD เร่งความแรง แซงทุกโค้ง กับเกมส์แข่งรถ 3 มิติคุณภาพ HD ที่ให้อะดรีนาลีนสูบฉีดไปกับความเร็วของ
สุดยอดรถในฝันของนักขับทุกคน อาทิ เฟอร์รารี่ แลมบอร์กินี ออดิ ดูคาติ รวมมากกว่า 30 คัน เลือกรถคันโปรด
สตาร์ทเครื่อง แล้วให้โลกทั้งใบเป็นสนามแข่งขันของคุณ สุดมันส์ไปกับสภาพสนามทุกรูปแบบทั้ง หิมะ โคลน ฝุ่น หรือเพลินตาไปกับสถานที่สวยงามระดับ เวิลด์คลาสไม่ว่าจะเป็น เซนต์โทรเปซ แอสเปน หรือ ลาส เวกัส เรียนรู้ shortcut ต่างๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน  และเข้าร่วมกับ 8 ทัวร์นาเมนท์ ทั้ง Drift Contest, Cop Chase, Time Attack, Duel Mode, Last Man Standing และ Escape ดาวน์โหลดได้ที่ http://store.ovi.com/content/56487

Tom Clancy’s H.A.W.X HD ร่วมต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายที่เป็นภัยคุกคามต่อโลกกับ ARTEMIS องค์กรทหารต่อต้านผู้ก่อการร้าย ขับเคลื่อนความมันไปกับเครื่องบินขับไล่ไอพ่น กำจัดศัตรูด้วยจรวดมิสไซล์ พร้อมทดสอบความสามารถทางการบิน ดาวน์โหลดลงโทรศัพท์มือถือโนเกียได้ที่ http://store.ovi.com/content/88303

Galaxy on Fire HD อลังการกราฟฟิก 3 มิติ และเรื่องราวสนุกสุดขอบจักรวาลยาวนานกว่า 20 ชั่วโมงที่สร้างปรากฎการณ์เกมส์บนมือถือและได้รับการยอมรับสูงสุดจากทุกสื่อ เดินทางผ่านการเวลากับ Keith Maxwell นักล่าเงินรางวัลไปสู่แกแล็คซี่ในอีก 35 ปีข้างหน้า เพื่อหยุดยั้งการคุกคามต่อระบบจักรวาล ดาวน์โหลดได้ที่ http://store.ovi.com/content/55746

Real Golf 2011 HD ถ้าต้องการเล่นกอล์ฟกับยอดฝีมือ คุณต้องเล่นเกมกอล์ฟที่ดีที่สุด แข่งขันกับ Lee Westwood, Natalie Gulbis, Sergio Garcia และโปรกอล์ฟมากมายในรายการแข่งขันอันทรงเกียรติ 7 รายการทั่วโลก เพื่อตำแหน่งนักกอล์ฟฝีมือขั้นเทพ เลือกแบบสัมผัสหรือแบบคลาสสิกก็ได้ โพสต์คะแนนบนกระดานผู้นำออนไลน์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนกับ
ผู้เล่นทั่วโลก ดาวน์โหลดลงโทรศัพท์มือถือโนเกียได้ที่ http://store.ovi.com/content/78482

Be Jeweled 2 HD เกมส์เรียงเพชร คุณภาพ HD ให้คุณติดกับดักความระยิบระยับของเกมส์ฝึกสมองอันดับ 1 ของโลก
ลับสมองกับ 4 โหมดเกม Classic, Action, Puzzle, และ Endless Mode ค้นหาโหมดลับที่ซ่อนอยู่หากทำได้ตามเงื่อนไขฉากหลังใหม่ 10 ฉาก แบบ “3-D” สวยงามขึ้นกว่าเดิม ดาวน์โหลดลงโทรศัพท์มือถือโนเกียได้ที่  http://store.ovi.com/content/128802

Need for Speed Shift HD จับพวงมาลัยแล้วลงสนามแข่งรถอันดับ 1 ของโลก! โชว์ฟอร์มในสนามแข่งกับรถคู่ใจที่แรงและฮอตที่สุด ทะยานไปตามถนนของชิคาโก ดูไบ อิตาลี และลอนดอนในถนนและการแข่งขันระดับโปร 24 รายการ
ประลองฝีมือกับนักแข่งรถ 3 อันดับท็อปของโลก! ดาวน์โหลดได้ที่ http://store.ovi.com/content/55867

View :2108

มารู้จัก Gadget ที่จะโชว์ใน “คอมมาร์ต เอ็กซ์เจน ไทยแลนด์ 2011”

July 6th, 2011 No comments

สำหรับงาน Commart X’Gen Thailand 2011 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-24 กรกฎาคม 54 นี้ มีสินค้ามากมายที่มาสร้างสีสัน เพิ่มเติมความน่าสนใจ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพร้อมรองรับทุกการใช้งานในวันนี้   รวมถึงยังมีบางส่วนที่พร้อมขายและ เปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มาให้คุณได้สัมผัสภายในงาน อาทิ

Magic Pen ปากกาอัจฉริยะ

Magic Pen ปากกาอัจฉริยะ

Magic Pen ปากกาอัจฉริยะที่ทำให้คุณสามารถจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ในรูปแบบดิจิตอลทั้งข้อความ รูปภาพ และเสียง โดยสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ และค้นหาได้อย่างรวดเร็ว เชื่อว่า คุณจะต้องชอบ”แก็ดเจ็ต” ปากกาดิจิตอลที่สามารถบันทึกข้อความ และรูปภาพที่วาดบนกระดาษ ( ตามลายมือ/ลายเส้นของคุณ) รวมถึงเสียงพูดของคุณ เพื่อส่งต่อไปให้เพื่อนทางอีเมล์ เฟซบุ๊ค กูเกิ้ลด็อค หรือมือถือได้

ปากกาอัจฉริยะ Magic Pen สามารถบันทึกสิ่งที่ต่างๆ ที่ผู้ใช้ขีดเขียนบนกระดาษไว้ในรูปแบบไฟล์ดิจิตอล (pdf, pencast, etc.) ทีสามารถนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งต่อให้กับเพื่อน หรือคู่ค้าทางธุรกิจทาง email, facebook, evernote, mobile เป็นต้น ซึ่ง Smartpen จะช่วยให้การประสานงานร่วมกับทีมงานของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น   เนื่องจากสิ่งที่คุณเขียน และพูดจะถูกบันทึกเข้าไปในปากกา แล้วแชร์ผ่านบริการต่างๆ ข้างต้นให้กับเพื่อนๆ ได้รับทราบได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน ทั้งหมดนี้ทำได้ เพียงแค่คลิกปุ่มบนตัวปากกาเท่านั้น

John Phone แอนตี้สมาร์ทโฟน

John Phone แอนตี้สมาร์ทโฟน

หากวันนี้การใช้โทรศัพท์มือถืออันแสนฉลาด มากฟังก์ชันกำลังกลายเป็นความเบื่อหน่าย จนอยากกลับไปสู่การใช้งานแบบเดิมๆ แล้วละก็ John’s Phone อาจเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ด้วยการทำงานแบบเบสิกสุดๆ ไม่ว่าจะเป็นปุ่มกดขนาดใหญ่ ที่มีแค่ตัวเลข รับสาย วางสายเท่านั้น สามารถเพิ่มเสียงและปิดเสียงก็ได้ โดยมีหน้าจอขาว-ดำเล็กๆ สำหรับการดูตัวเลขเท่านั้น ส่วนการจะทำ Memo สำหรับบันทึกชื่อและเบอร์โทรเพื่อ ใช้จดจากสมุดด้านหลังเครื่องได้เลย ดูเดิมๆ แต่แนวสุดๆ

Mini Camcorder กล้องสายลับตัวจิ๋ว : คุณภาพเกินตัว

Mini Camcorder กล้องสายลับตัวจิ๋ว : คุณภาพเกินตัว

เป็นกล้องตัวเล็กกระทัดรัด ที่ไม่ใช่ดีที่ไซส์ขนาดพกพาประมาณหัวแม่มือเท่านั้น แต่ยังสามารถทำงานได้จริง โดยถ่ายได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว โดยใช้ชัตเตอร์ขนาดจิ๋วที่ติดมากับกล้อง ที่สำคัญยังมีไมโครโฟนเล็กจิ๋วสำหรับการบันทึกเสียงและไฟล์ในแบบวิดีโอ ซึ่งเป็นไฟล์แบบ AVI และ MPEG4 ที่สำคัญยังสามารถเพิ่ม Memory แบบ SDHC ได้มากถึง 32GB เลยทีเดียว นับว่าเป็นกล้องตัวเล็กที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว

HTC FLYER

ทั้งคุณสมบัติและความสามารถที่รองรับทุกการใช้งาน ด้วยขนาดหน้าจอขนาด 7 นิ้ว ด้วยระบบปฏิบัติการ Android เวอร์ชั่น 3.0 Honeycomb

HTC FLYER

View :2480

ทริดี้ เปิดวิสัยทัศน์ระดมความคิด มองทิศทาง แนวโน้มอนาคตของโทรคมนาคม วิทยุโทรทัศน์ กับนักวิชาการภาคการศึกษากว่า 30 มหาวิทยาลัย

July 5th, 2011 No comments

สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หรือ ทริดี้ จัดประชุมระดมความคิด ครั้งที่ 2 หาทิศทางและแนวโน้มในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ข้อคิดเห็น และเป็นแนวทางในการจัดทำแผนการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของประเทศในอนาคต โดยการเปิดเวทีระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆ ในครั้งนี้ ทริดี้เชื่อว่าจะได้ทราบถึงทิศทางและแนวโน้ม  การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง  โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้อง    รวมถึงรับทราบถึงศักยภาพของนักวิจัยไทยในด้านดังกล่าว

โดยการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ถือเป็นการรวมกลุ่มจากภาคการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 30 มหาวิทยาลัย ที่ต้องการหาทางออก ปฏิรูปสื่อในประเทศ ให้เกิดการกระจายในระดับมหภาคอย่างเสรีและมีกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจน พร้อมสู่ภาคประชาชนอย่างแท้จริง

ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หรือ ทริดี้ กล่าวว่า การประชุมระดมความคิดเรื่อง “Road map for Broadcasting and Telecommunications Research & Development ครั้งที่ 2” ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ ทริดี้และสำนักงาน กสทช. มุ่งตรงที่จะได้ทราบถึงทิศทางและแนวโน้มการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง เทคโนโลยีโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง  ทั้งในส่วนของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม   ตลอดจนประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ  เพื่อเป็นแผนการสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา และการส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพร่ภาพกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องของ  และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงาน กสทช.  ตามขอบเขตในภารกิจและการส่งเสริมและสนับสนุนตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553    โดยกิจกรรมในครั้งนี้  ได้รับความร่วมมือจากผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่มีการเรียนการสอนในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น   ซึ่งตอกย้ำถึงความร่วมมืออระหว่าง ทริดี้  สำนักงาน กสทช.  กับสถาบันการศึกษาและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง  ในการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาที่ผ่านมา  และยังมุ่งต่อยอดนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องต่อไปในอนาคตด้วย

ดร.สุพจน์ กล่าวอีกว่า การประชุมครั้งนี้ ยังเผยภารกิจในการดำเนินงานของทริดี้ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม  และการพัฒนาบุคลากรที่ผ่านมา รวมไปถึงทิศทางและแนวโน้มในอนาคต  พร้อมแผนการสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา  การส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพร่ภาพกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง   รวมถึงแผนการพัฒนาบุคลากร   และทราบถึงความพร้อมของสถาบันการศึกษาภายใต้ขอบเขต พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ พ.ศ.2553 เพื่อเป็นการรองรับการแข่งขัน AEC ที่จะมีขึ้นในปี 2015 ซึ่งในครั้งนี้จะมีนักวิจัย รวมถึงผลงานวิจัยในเทคโนโลยีในด้านที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น และสามารถต่อยอดนวัตกรรมเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในอนาคตได้ สามารถช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้นอีกด้วย

“ในการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ ทริดี้เชื่อว่าจะสามารถผลักดันให้เกิดแผนและแนวทางการพัฒนาการวิจัยและพัฒนา  การส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพร่ภาพกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง   รวมถึงแผนการพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพของประเทศ   และในอนาคตเชื่อว่าภาคอุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม วิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์จะเติบโตไปอีกมาก  ซึ่งประเทศที่มีการพัฒนาแล้วจะให้ความสำคัญอย่างจริงจังในส่วนของงานวิจัย บุคลากร และการมองหาทิศทางของผลิตภัณฑ์ ตลาดทั้งในและต่างประเทศ  ดังนั้นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการเริ่มพัฒนาคือภาคการศึกษาที่จะสามารถช่วยให้เกิดบุคลากรคุณภาพ เกิดการใช้ในประเทศ ตลอดจนการส่งออกในต่างประเทศในภาคอุตสาหกรรมดังกล่าว”  ดร.สุพจน์ กล่าวสรุป

มุมมองของภาคการศึกษา “ความคิดเห็นของกลุ่มนักวิชาการในระดับมหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งนี้ มองถึงความสำคัญของการปฎิรูปในอนาคตที่ชัดเจนและจริงจัง สู่ภาคประชาชนอย่าง “รู้ทันสื่อ” โดยโครงของสื่อในอนาคต กลุ่มนักวิชาการมองว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมในอนาคตหากเกิดการแข่งขันที่เสรีมากขึ้น และหากจะเกิดการพัฒนาในประเทศต้องมองถึงการวางโครงสร้างที่แข็งแรง ตลอดจนการร่วมมือกันอย่างมีศักยภาพทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคการศึกษาเอง โดยทั้งหมดต้องร่วมกันผลักดันให้เกิดการพัฒนา และยังมองถึงส่วนของการคุ้มครองผู้บริโภคจากสื่ออีกด้วย ซึ่งในอนาคตหากไม่มีแบบแผนที่ชัดเจนจะเกิดการก่อกวนหรือสร้างปัญหาจากสื่อได้

งานวิจัยถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สำคัญหากที่ผ่านมามีแต่การวางโครงการนำเสนอวิจัย แต่ไม่มีการนำโครงการต่าง ๆ ไปปฏิบัติงานหรือต่อยอด ซึ่งที่ผ่านมาเพิ่งมี ทริดี้ที่สนับสนุนให้นำงานวิจัยไปดำเนินงานต่อยอด แต่ในอนาคตหากเกิดการดำเนินงานในด้านโทรคมนาคม วิทยุโทรทัศน์ที่เสรีมากขึ้น ต้องช่วยกันในหลายภาคส่วนให้นำผลงานต่าง ๆ ไปต่อยอดให้เกิดการใช้งานจริง ซึ่งหากสามารถนำโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ไปปฏิงานได้จริง ไม่เพียงแต่ผลงานจะสะท้อนถึงทิศทางในอนาคต แต่จะเกิดการลดต้นทุนในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เกิดการจ้างงาน และภาครัฐเองต้องมองหาตลาดให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ (ภาคการศึกษา-สนับสนุน วิจัยผลงาน พัฒนาผลงาน, ภาครัฐ-สนับสนุนเงินทุน หาช่องทางตลาด ตลอดจนผลักดันให้เกิดมูงค่าในเชิงพาณิชย์ สร้างมาตรฐานของผลงานที่พัฒนาขึ้นมา, ภาคเอกชน-สนับสนุนการใช้ผลงาน อุปกรณ์ และผลักดันในตลาดทั้งในและต่างประเทศ) หากมองในตลาดปัจจุบันอุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม วิทยุโทรทัศน์ต้องเริ่มที่ พัฒนาความรู้ผลงาน ต่อยอด ใช้เอง และส่งขายตามลำดับ กอปรกับความร่วมมือจากนักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มวิศวะโทรคมนาคม นักวิจัย และลงพื้นที่พัฒนาให้ความรู้ในระดับท้องถิ่น และก้าวสู่การพัฒนาในระดับประเทศในอนาคต

หมายเหตุ :     มาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ.2553 มีบทบัญญัติ ดังนี้ “ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นในสำนักงาน กสทช. เรียกว่า “กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ” โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

(1)    ดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม อย่างทั่วถึง ตลอดจนส่งเสริมชุมชนและสนับสนุนผู้ประกอบกิจการบริการชุมชนตามมาตรา 51

(2)    ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรสื่อสาร การวิจัยและพัฒนาด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อ เทคโนโลยีด้านการใช้คลื่นความถี่ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ หรือผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

(3)    ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการดำเนินการขององค์กร ซึ่งทำหน้าที่จัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมของการประกอบวิชาชีพหรือวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

(4)    สนับสนุน ส่งเสริม และคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

(5)    สนับสนุนการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ โดยจัดสรรเงินให้แก่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์”

View :2132

การต่อสู้กับสงครามไซเบอร์ด้วย การวิเคราะห์ทางไซเบอร์

July 5th, 2011 No comments

บทความ โดย บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด

แม้ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหลายรายจะยืนกรานว่า ขณะนี้สหรัฐฯ ได้เข้าร่วมในสงครามไซเบอร์แล้ว แต่ดูเหมือนว่าพวกเขาจะยังเข้าไม่ถึงจุดที่ผู้โจมตีกำลังจัดการกับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ( 85% เป็นของภาคเอกชน) โดยการทำให้ระบบติดต่อสื่อสารต้องหยุดชะงัก หรือการปิดระบบของหน่วยงานต่างๆ ในขณะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจากประเทศอื่นๆ เองนั้นต่างก็บอกว่าประเทศของตนอาจเข้าร่วมในสงครามไซเบอร์แล้วเช่นกัน แม้ว่าจะมีขอบเขตที่เล็กกว่าก็ตาม

แนวโน้มดังกล่าวแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น จำนวนเหตุการณ์ที่หน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้รายงานต่อทีมงานการเตรียมความพร้อมฉุกเฉินด้านคอมพิวเตอร์แห่งสหรัฐอเมริกา ( United States Computer Emergency Readiness Team: US-CERT) ซึ่งเพิ่มจำนวนจาก 5,503  เหตุการณ์ในปี 2549 เป็น 16,843  เหตุการณ์ในปี 2551 ซึ่งสามารถคิดเป็นสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นถึง 206% อย่างไรก็ตาม จำนวนเหตุการณ์ดังกล่าวอาจน้อยกว่าความเป็นจริง เนื่องจากรายงานดังกล่าวครอบคลุมเฉพาะเหตุการณ์ที่ตรวจพบเท่านั้น จะเห็นได้ว่าในโลกที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและออนไลน์อยู่ตลอดเวลา คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ ถ้าไม่มีการป้องกันเมื่อมีการตรวจ จะสามารถติดเชื้อมัลแวร์ได้ในเวลาไม่กี่นาที

กองกำลังนับล้าน

ประเภทของภัยคุกคามและการโจมตีนั้น มีจำนวนมากและกำลังขยายตัวอย่างมหาศาล อีกทั้งยังมีความซับซ้อน และมีความคล่องตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก ภัยคุกคามและการโจมตีดังกล่าวมาจากต่างชาติ แก๊งค์อาชญากร แฮคเกอร์ กลุ่มนักเจาะระบบนิรนาม บุคคลวงในที่ประสงค์ร้าย และบรรดาผู้ก่อการร้ายต่างๆ ซึ่งการโจมตีที่ร้ายแรง มีความซับซ้อน และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นส่วนใหญ่จะมาจากรัฐบาลต่างชาติและกลุ่มอาชญากรที่มีการจัดระเบียบมาเป็นอย่างดี โดยในบางครั้งอาจร่วมมือกันด้วยการใช้    แฮคเกอร์และวิศวกรนับแสนรายที่ได้รับแรงจูงใจสูง ตลอดจนผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี และพร้อมโจมตีทั้งในทางตรงและทางอ้อม แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะไม่ใช่ประเทศเดียวที่ตกอยู่ในภาวะสูญเสียทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลเฉพาะที่มีความสำคัญเป็นจำนวนมากถึงระดับเทราไบต์ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นประเทศที่ตกเป็นเป้าหมายใหญ่ที่สุด

สำหรับภัยคุกคามและการโจมตีต่างๆ นั้น ประกอบด้วยการโจมตีเพื่อให้ระบบหยุดการให้บริการ ( denial of service), การโจมตีแบบกระจายเพื่อให้ระบบหยุดการให้บริการ ( distributed denial of service), การใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ , ระเบิดตรรกะ , ตัวสอดแนมข้อมูล , ม้าโทรจัน , ไวรัส , หนอน ,    สปายแวร์ , การเจาะระบบโทรศัพท์ (war-dialing), การเจาะระบบไร้สาย ( war-driving) , สแปม , ฟิชชิง , การหลอกลวง , ฟาร์มมิงและบ็อตเน็ต ซึ่งมักจะมาในลักษณะที่ผสมผสานชนิดต่างๆ เข้าด้วยกัน ทั้งนี้ แพนด้าแล็บส์ คาดการณ์ว่า 99.6%  ของอีเมลทั้งหมดที่ส่งตรงถึงกล่องจดหมายของรัฐบาลสหรัฐฯ นั้นเป็นข้อความสแปมหรือข้อความที่เป็นอันตราย โดยมีเพียง 0.4%  เท่านั้นที่ถูกต้องปลอดภัย

ตัวเลขสำคัญในสงครามไซเบอร์

206 :   เปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นของเหตุการณ์ที่ ตรวจพบ โดยหน่วยงานกลางของรัฐบาลสหรัฐฯ

(ปี พ.ศ. 2549-2551 )

8 :     จำนวนเดือนที่ซอฟต์แวร์อันตรายทำงานอยู่ภายในคอมพิวเตอร์ของภาครัฐโดยที่ไม่มีการตรวจพบ

99.6 :  เปอร์เซ็นต์ของอีเมลทั้งหมดที่ส่งถึงรัฐบาลที่เป็นสแปมหรือเป็นอันตราย

0.4 :    เปอร์เซ็นต์ของอีเมลที่ถูกต้องปลอดภัยอย่างแท้จริง

กังวลหนักกว่าเดิม

เจ้าหน้าที่ที่ป้องกันโลกไซเบอร์มีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับการโจมตีต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะจากบุคคลวงในที่มีเป้าหมายในการขโมย แก้ไข หรือทำลายข้อมูล จากสถานการณ์ล่าสุดพบว่าการโจมตีขั้นสูงอันเป็นภัยคุกคามที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นได้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นถึงในระดับที่น่ากังวลเป็นอย่างมาก การโจมตีเหล่านี้จะแทรกซึมเข้าสู่องค์กรและแอบใส่โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ขโมยหรือแก้ไขข้อมูลลงในระบบซ้ำแล้วซ้ำเล่า และโดยทั่วไปแล้วซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะแฝงตัวอยู่ในระบบเป็นระยะเวลายาวนานถึงแปดเดือนก่อนที่จะถูกตรวจพบ ซึ่งนั่นทำให้ผู้ดูแลจัดการด้านไอทีของรัฐบาลไม่เป็นอันได้พักผ่อน เนื่องจากข้อมูลที่พวกเขาต้องให้การคุ้มครองนั้นกำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้นที่ระดับเทราไบต์ในแต่ละเดือน พวกเขากำลังถูกถาโถมด้วยข้อมูลที่ไม่มีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันในจำนวนมหาศาลซึ่งได้มาจากระบบรักษาความปลอดภัยทั้งหมดที่มีอยู่ในครอบครอง นอกจากนี้ ระบบดังกล่าวนั้นก็ยังมีความหลากหลายและแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยจะเห็นได้ว่าโครงสร้างพื้นฐานไอทีของระบบที่มีอยู่นั้นไม่สามารถช่วยให้ผู้ดูแลได้รับมุมมองที่ครอบคลุมในการรับรู้สถานการณ์ของโลกไซเบอร์ได้เลย

ภัยคุกคามซับซ้อนกว่าเดิม

เจ้าหน้าที่คุ้มครองโลกไซเบอร์ต้องทำงานอย่างหนักและตกอยู่ในภาวะเครียดอย่างมาก  อันเป็นผลมาจากที่พวกเขาต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการอุดช่องโหว่ รับมือกับอันตรายที่เข้ามา และซ่อมแซมแก้ไขระบบเครือข่าย พวกเขาต้องตกอยู่ในสภาพของผู้ไล่ตามอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ในขณะที่เหล่าผู้โจมตีต่างพัฒนาเทคนิคที่มีความซับซ้อนมากขึ้นและสามารถโต้กลับการแก้ไขที่มีต่อระบบความปลอดภัยได้อย่างรวดเร็วด้วยการสร้างภัยคุกคามใหม่ๆ ออกมาและมีความซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานภาครัฐบางแห่งได้จัดตั้งศูนย์ดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับโลกไซเบอร์ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ดีเยี่ยมในการติดตามตรวจสอบเครือข่าย แต่พวกเขากลับไม่ได้จัดเตรียมเครื่องมือให้ผู้ปฏิบัติงานและนักวิเคราะห์สามารถทำความเข้าใจถึงสิ่งที่ผลักดันให้เกิดการโจมตี การบุกรุก และความผิดปกติต่างๆ นั่นคือไม่ได้บอกความหมายของสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด และสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย แม้ว่าแดชบอร์ด ข้อมูลด้านการรักษาความปลอดภัย และระบบการจัดการเหตุการณ์จะเป็นสิ่งที่ดีเยี่ยมสำหรับการจัดทำรายงานเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นและสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้ถูกนำมาใช้มากนักในการตรวจหาและวิเคราะห์รูปแบบ ทำนายการโจมตีในอนาคต แจ้งเตือนและส่งคำเตือน หรือสร้างสถานการณ์จำลองแบบ  What-if

นายซัลไม อัซมี อดีตประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ (ซีไอโอ) จากสำนักงานสืบสวนกลาง สหรัฐฯ กล่าวว่าด้วยสภาพแวดล้อมของโลกไซเบอร์ในปัจจุบัน หน่วยงานภาครัฐทั่วโลกจะต้องยอมรับความจริงที่ว่าพวกเขาได้เข้าร่วมในการทำสงครามไซเบอร์แล้ว และในสภาพแวดล้อมดังกล่าว อัซมี บอกด้วยว่านักวิเคราะห์ด้านไซเบอร์จะต้องใช้เครื่องมือและกระบวนการที่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูล เพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้สถานการณ์ได้ดีขึ้น ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาด้านการขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับงานด้านการรักษาความปลอดภัยระบบไอที

อาวุธสำคัญ: การวิเคราะห์ทางไซเบอร์

การวิเคราะห์สามารถจัดเตรียมเครื่องมือและกระบวนการจำนวนมากได้ผ่านทางการวิเคราะห์ทางสถิติและการสร้างแบบจำลอง ซึ่งการวิเคราะห์ส่วนใหญ่สามารถปรับใช้กับการตรวจจับการฉ้อโกง การจัดการด้านการเงิน หรือทรัพยากรบุคคลได้

การวิเคราะห์ทางไซเบอร์จะช่วยรัฐบาลเพิ่มขีดความสามารถที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถรับรู้สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของระบบ เครือข่าย และองค์กรของตนได้ ด้วยการติดตามตรวจสอบเหตุการณ์ต่างๆ เปิดเผยช่องโหว่ ภัยคุกคามและรูปแบบที่เกิดขึ้น การผสานรวมข้อมูลที่แตกต่างกันให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อค้นหารูปแบบและแนวโน้มที่เกิดขึ้น และการทำนายการโจมตีและภัยคุกคามอนาคตเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ สามารถดำเนินมาตรการเชิงรุกสำหรับการปกป้องข้อมูลและเครือข่ายของตน

การวิเคราะห์ทางไซเบอร์สามารถช่วยหน่วยงานภาครัฐแก้ปัญหาสำคัญสูงสุดสองประการได้ นั่นคือ การประสานความร่วมมือด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับโลกไซเบอร์และการสร้างระบบการวัดที่สามารถใช้งานได้จริงเพื่อวัดประสิทธิภาพของความพยายามในการรักษาความปลอดภัยดังกล่าว

การวิเคราะห์ทางไซเบอร์สามารถดำเนินการโดย

ให้การติดตามตรวจสอบเกือบเรียลไทม์ที่สามารถสร้างการแจ้งเตือนการโจมตี ได้โดยอัตโนมัติในขณะที่ลดจำนวนผลบวกที่เป็นเท็จให้เหลือน้อยลง

รวม เชื่อมโยงความสัมพันธ์ และผสานข้อมูลจากอุปกรณ์ติดตามตรวจสอบเครือข่ายทั้งหมดและแหล่งอื่นๆ เพื่อให้การดูแลเครือข่ายและการรับรู้สถานการณ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ตรวจหาและให้คะแนนระดับความร้ายแรงของการโจมตีที่อาจจะเกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดขึ้นจริงเพื่อที่จะได้ให้การสนับสนุนป้องกันและเข้าแทรกแซงภัยคุกคามได้อย่างทันท่วงที

ให้ความสามารถในการรับรู้ความผิดปกติล่วงหน้าที่เกิดขึ้นภายในระบบการจราจรของเครือข่าย ตลอดจนเปิดเผยความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่และรูปแบบของลักษณะการทำงานที่ช่วยระบุการโจมตีซึ่งแฝงตัวอยู่ในระบบเป็นระยะเวลายาวนานได้

การวิเคราะห์จะให้มุมมองที่ครอบคลุมในการเดินหมากทั้งขาวและดำได้ทั้งกระดาน มุมมองที่ครอบคลุมนี้ช่วยให้องค์กรภาครัฐสามารถปรับปรุงการทำงานร่วมกันในด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับโลกไซเบอร์ให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังสร้างระบบการวัดที่ให้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้นสำหรับความพยายามดังกล่าว และสุดท้าย การวิเคราะห์จะช่วยให้รัฐบาลและองค์กรต่างๆ สามารถเข้าใจ ใช้ และปกป้องข้อมูลของตนได้ดีขึ้นไม่ว่าจะมีปริมาณ เงื่อนไข สถานะ หรืออยู่ในตำแหน่งที่ตั้งใดก็ตาม

บรรเทาความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

เจ้าหน้าที่ที่ป้องกันโลกไซเบอร์ของรัฐไม่ต้องปฏิบัติตามกระบวนทัศน์ที่ล้าสมัยในการป้องกันและแก้ไข การอุดช่องโหว่และกำจัดภัยอันตรายต่างๆ อีกต่อไป พวกเขาสามารถใช้มุมมองกลยุทธ์เชิงรุกแทนการเฝ้าจับตาดูโลกไซเบอร์และทำการโต้ตอบกับภัยคุกคามและการโจมตีที่เกิดขึ้นในรูปแบบเดิม จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันภัยคุกคามและการโจมตีกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีความซับซ้อนมากขึ้น ที่สำคัญฝ่ายตรงข้ามมีความฉลาด ไหวพริบ และมีความคล่องตัวสูง ดังนั้นให้ลืมสคริปต์แบบง่ายๆ และแฮคเกอร์ที่ซ่อนตัวอยู่ในห้องใต้ดินไปได้เลย เพราะบ่อยครั้งที่ผู้โจมตีมักจะเป็นรัฐบาลต่างชาติ และ/หรือองค์กรอาชญากรข้ามชาติ

การใช้การวิเคราะห์เพื่อให้การรักษาความปลอดภัยสำหรับโลกไซเบอร์นั้น จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถคิดตรึกตรองและปฏิบัติการกลยุทธ์เชิงรุกเพื่อบรรเทาความเสี่ยงด้านความปลอดภัย และป้องกันข้อมูล ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของตนให้ปลอดภัยได้ เมื่อใช้การวิเคราะห์ ผู้จัดการด้านรักษาความปลอดภัยระบบไอทีจะกลายเป็นเป็นนักกลยุทธ์ที่สามารถกำหนดมาตรการสามหรือสี่อย่างล่วงหน้าเพื่อรับมือและจู่โจมภัยคุกคามที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ กล่าวคือ เป็นการพลิกบทบาทจากการเดินตามเกมไปเป็นการรุกฆาตแทนนั่นเอง
เขียนโดย นายมาร์ค คาแกน เป็นที่ปรึกษา นักเขียน และนักวิเคราะห์ด้านกิจการต่างประเทศและการป้องกัน การรักษาความปลอดภัย และข่าวกรองในกรุงวอชิงตันดีซีเป็นระยะเวลายาวนาน โดยเขาเริ่มต้นสายอาชีพที่ต้องอาศัยความชำนาญการแขนงนี้จากการเป็นนักวิเคราะห์ด้านข่าวกรองกลาโหม ของสหรัฐอเมริกา

View :1566

ไอทอล์ค ( iTALK ) เปิดบริการใหม่ จำพิน และ จำเบอร์ สร้างผู้ใช้ใหม่ กระตุ้นผู้ใช้เดิม เสริมตลาดโต

July 4th, 2011 No comments


ไอทอล์ค  ( )  ผู้นำบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ราคาถูก เผยเทคนิคบริการใหม่ล่าสุด  จำพิน ( CallerID ) และจำเบอร์ ( SpeedDial ) ลดขั้นตอนความยุ่งยาก หวังสร้างลูกค้ากลุ่มใหม่ เปลี่ยนพฤติกรรมลูกค้ากลุ่มเดิม กระโดดชิงส่วนแบ่งตลาดมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท จากผู้ให้บริการ 00X ทุกราย

นายยศไกร ศรีธนสกุลชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอดวานซ์ เทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น  จำกัด เปิดเผยว่าในอดีตที่ผ่านมา การให้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศผ่านบัตรโทรศัพท์ประสบความยุ่งยากในระดับหนึ่ง เนื่องจากผู้ใช้บริการต้องกดตัวเลขเป็นจำนวนมากถึง 3 ชุดด้วยกันอันได้แก่ ชุดที่  1 สำหรับโทรเข้าศูนย์บริการ 9 หลัก เช่น 02 696 2222  ชุดที่ 2 เป็นตัวเลขรหัสบัตรโทรศัพท์ 10 หลัก หรือ พิน ( PIN ) ที่อยู่ในบัตรโทรศัพท์ที่ซื้อมา เช่น 0123456789  และชุดที่ 3 เป็นเบอร์โทรศัพท์ปลายทางที่ต้องการโทรไป ประกอบด้วย รหัสประเทศ+รหัสเมือง+เบอร์โทรศัพท์ แม้การโทรระบบนี้จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากระบบปกติถึงกว่า 10 เท่า แต่เนื่องจากความยุ่งยากจึงยังไม่สามารถสร้างแรงจูงใจในการใช้บริการให้กับผู้บริโภคทั่วๆไปได้มากนัก ยกเว้นกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการเฉพาะจริงๆ และมีการใช้งานบ่อยๆ จึงยอมศึกษาความยุ่งยากนี้ นับจากนี้ไป ด้วยเทคนิคบริการใหม่ล่าสุดของ ไอทอล์ค ( iTALK ) เรื่องที่กล่าวมาทั้งหมดจะกลายเป็นอดีตไป

“ ระบบใหม่นี้ เราเรียกว่า บริการจำพิน ( CallerID ) และจำเบอร์ ( SpeedDial )  ผู้ใช้เพียงยอมเสียเวลาในการเซ็ตระบบ เหมือนกับการสมัครสมาชิกอีเมล์ หรือการสมัครสมาชิกทั่วไปในเว็บไซต์ต่างๆ โดยสามารถทำได้ทั้งทางโทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์บ้าน หรือที่เว็บไซต์ www.ThaiTelephone.com โดยเราจะมีเบอร์โทรศัพท์แบบ 10 หลักทั่วๆไปให้ลูกค้าใช้ฟรีคนละ 20 เบอร์ ลูกค้าเพียงแต่เลือกว่าจะให้แต่ละเบอร์แทนใคร แล้วกรอกข้อมูลตัวเลขชุดที่ 2 คือ พิน  และตัวเลขชุดที่ 3 คือ เบอร์ ผู้ที่เราต้องการโทรไปหา จากนั้นให้ระบบจำค่าต่างๆเหล่านี้ไว้ในชื่อบุคคลผู้นั้น เมื่อมีการใช้งานครั้งต่อไป เพียงแต่กดชื่อบุคคลที่ต้องการโทรหา ระบบก็จะทำการติดต่อให้ทันที ด้วยการกดเพียงครั้งเดียว ซึ่งจะทำให้การใช้บริการโทรทางไกลไปต่างประเทศด้วยบัตรโทรศัพท์ไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากอีกต่อไป ” นายยศไกร กล่าว

ทั้งนี้ปัจจุบัน ตลาดโทรศัพท์ระหว่างประเทศ โดยรวมมีมูลค่านับหมื่นล้านบาท  ไอทอล์ค  ( iTALK ) ถือเป็นผู้นำตลาดในกลุ่มผู้ให้บริการผ่านบัตรโทรศัพท์และนับเป็นบัตรโทรศัพท์รายแรกที่พัฒนาระบบจนสามารถกระโดดมาแข่งขันกับบริการของกลุ่ม 00X ได้แบบเต็มตัว โดยใช้เครือข่ายของ Verizon และ AT&T ผู้นำด้านโทรศัพท์และโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในโลกของสหรัฐอเมริกา ทำให้ ไอทอล์ค ( iTALK ) มีระบบ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถให้บริการให้กับลูกค้าชาวไทยได้ทั่วโลกในราคาถูก

View :2767
Categories: Press/Release Tags:

โซนี่ มิวสิค จับมือ เอไอเอส ส่งบริการ “*927 โซนี่ มิวสิคจัดเต็ม ” ลงตลาด

July 4th, 2011 No comments

โซนี่ มิวสิค จับมือ เอไอเอส รุกหนักธุรกิจดิจิตอลคอนเทนต์ครั้งใหญ่ ! เดินหน้าสู่การเป็นผู้นำทางด้านดิจิตอลเกตเวย์ของเมืองไทย   พร้อมส่งบริการใหม่ล่าสุด “ ”   ลงตลาด ให้ลูกค้าเอไอเอสสามารถเลือกดาวน์โหลดบริการต่างๆได้ตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็น เสียงรอสาย , ริงโทน , ฟูลซอง , มิวสิควีดีโอ ได้ไม่อั้นภายในเบอร์เดียว   ด้วยอัตราค่าบริการแบบเหมาจ่ายเพียง 9 บาท / สัปดาห์ ตั้งเป้าภายในสิ้นปีนี้จะมีผู้สมัครใช้บริการกว่า 200,000 ราย มั่นใจสามารถทำรายได้ให้บริษัทสูงถึง 70 ล้านบาทในปีนี้

นายพอล   มนัสถาวร ผู้อำนวยการกลุ่มงานดิจิตอล บริษัท โซนี่ มิวสิค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “นโยบายของโซนี่ มิวสิคในปีนี้เรามุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับธุรกิจดิจิตอลคอนเทนต์เป็นอย่างมาก เพราะเชื่อมั่นว่าแนวโน้มของตลาดจะสามารถเติบโตขึ้นได้อีก เนื่องจากคอนเทนต์บันเทิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนเทนต์ประเภทเพลงยังคงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอยู่อย่างต่อเนื่อง     และจากการสำรวจตลาดดิจิตอลคอนเทนต์ในปัจจุบัน พบว่า ที่ผ่านมาได้มีผู้ให้บริการคอนเทนต์หลายๆรายได้จัดแพ็คเกจบริการเสริมแบบเหมาจ่ายรายเดือนออกมาอย่างหลากหลาย อาทิ แพ็คเกจแบบเหมาเสียงเพลงรอสาย หรือ แพ็คเกจแบบเหมาริงโทน ซึ่งหากลูกค้ามีความประสงค์ที่ต้องการจะดาวน์โหลดทั้ง 2 ประเภทจะต้องสมัครถึง 2 แพ็คเกจต่อเดือน ซึ่งทางโซนี่มิวสิคเองได้เล็งเห็นปัญหาของผู้ใช้บริการตรงจุดนี้จึงได้ทำการขยายช่องทางที่จะทำให้ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการได้ครอบคลุมและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

ดังนั้น เพื่อเป็นการต่อยอดโอกาสทางธุรกิจ รวมถึงขยายตลาดสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ล่าสุด โซนี่มิวสิค ได้ร่วมกับ เอไอเอส ซึ่งเป็นผู้นำที่มีศักยภาพสูงสุดทางด้านเครือข่าย ในการเปิดให้บริการ *927 โซนี่ มิวสิคจัดเต็ม จุดเด่นของบริการดังกล่าวอยู่ที่ความคุ้มค่าและความสะดวกสบายที่ลูกค้าจะได้รับ โดยลูกค้าสามารถดาวน์โหลดคอนเทนต์ต่างๆของโซนี่มิวสิค ไม่ว่าจะเป็น บริการเสียงรอสาย , ริงโทน , ฟูลซองดาวน์โหลด , มิวสิควีดีโอ ได้ไม่จำกัด ผ่านทาง *927 โซนี่มิวสิคจัดเต็ม โดยผู้ใช้จะได้รับความคุ้มค่าจากบริการดังกล่าวด้วยอัตราค่าบริการแบบเหมาจ่ายเพียง 9 บาท / สัปดาห์ พร้อมตั้งเป้าภายในสิ้นปีนี้จะมีผู้สมัครใช้บริการกว่า 200,000 ราย และจะสามารถทำรายได้ให้บริษัทสูงถึง 70 ล้านบาทในปีนี้ อย่างแน่นอน” นายพอลกล่าว

View :1986

ก.ไอซีที จับมือ มรภ.สวนดุสิต จัดอบรมให้ความรู้พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ฯ

July 4th, 2011 No comments

นางจีราวรรณ   บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมโครงการให้ความรู้ความเข้าใจ “ ” ครั้งที่ 2 ว่า ปัจจุบันปัญหาสังคมจากโลกออนไลน์ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วนั้น ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชน สังคม และความมั่นคงของประเทศเป็นอย่างมาก กระทรวงฯ จึงให้ความสำคัญในการสร้างเกราะป้องกันปัญหาอาชญากรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ ด้วยการจัดทำโครงการ ให้ความรู้ความเข้าใจพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ขึ้น เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในกฎหมายฉบับนี้   ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกที่ดีในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างถูกต้อง โดยกระทรวงฯ ได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัย ศรีปทุม จัดการฝึกอบรมครั้งที่ 1 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ที่ผ่านมาเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจใน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรความรู้พื้นฐานและวิธีการเผยแพร่ความรู้ตาม   “ พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ” (Training the trainer) สำหรับกลุ่มผู้ใช้บริการ และหลักสูตร “ ” สำหรับกลุ่มผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) โดยมุ่งเน้นเนื้อหาสาระเกี่ยวกับรูปแบบการกระทำความผิดตามมาตราต่าง ๆ และบทลงโทษ

แต่เนื่องจากปัจจุบัน กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ยังไม่มีการรับรู้ที่เพียงพอ กระทรวงฯ จึงต้องเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ อย่างต่อเนื่อง โดยการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จัดการฝึกอบรม ครั้งที่ 2 ขึ้น เพื่อเป็นการเน้นย้ำให้ประชาชนในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายดังกล่าวเกิดการรับรู้มากขึ้น ใน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สำหรับกลุ่มวิทยากรขององค์กร / หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และเอกชน ( ICT 004) และหลักสูตรสำหรับผู้ให้บริการระบบอินเทอร์เน็ต / Admin (ICT 006) เพื่อให้ทราบถึงวิธีการจัดเก็บระบบ log File   รวมจำนวนประมาณ 250 คน

“ การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 แต่ลำพังเพียงกระทรวงไอซีที หน่วยงานเดียวนั้น ไม่อาจจะดำเนินการได้ทันกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงต้องแสวงหา ความร่วมมือจาก     ทุกภาคส่วนของสังคม อาทิ สถาบันการศึกษา องค์กร/ หน่วยงานเอกชน ตลอดจนเครือข่ายประชาชนกลุ่มต่างๆ มาเป็น ภาคีเครือข่าย ความร่วมมือ เพื่อร่วมกันสร้างแนวป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยไม่ให้เกิดการกระทำความผิดหรือลดความเสี่ยงที่     เกิดจากคอมพิวเตอร์ที่ดีที่สุด และกระทรวง ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตกาลจะได้ขยายความร่วมมือนี้ออกไปให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น” นางจีราวรรณ กล่าว

View :2317

แถลงการณ์จากดีแทค

July 4th, 2011 No comments

ดีแทค รับทราบคำประกาศของปลัดกระทรวงพาณิชย์ ที่กล่าวว่าคณะทำงานตรวจสอบไม่สามารถชี้ชัดข้อสรุปในการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นได้ โดยคณะทำงานได้พิจารณาส่งข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการสอบสวนในเชิงลึกต่อไป ดีแทคขอยืนยันว่าบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจภายใต้กฏหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของไทยทุกประการ

dtac statement

dtac acknowledges today’s announcement by the Permanent Secretary of the Ministry of Commerce that the committee could not have a clear cut conclusion on the initial probe, and therefore the committee would pass the case on to the police for further investigations.

dtac would restate that the company is confident that it is in full compliance with all relevant laws, regulations and practices in Thailand.

View :1979

แคนนอน เขย่าวงการกล้องดิจิตอล เปิดตัวกล้อง DSLR สีสันใหม่ EOS 1100D พร้อมพรีเซนเตอร์ใหม่ “ เป้ อารักษ์ ”

July 4th, 2011 No comments


ชูจุดแข็ง ดีไซน์ “ 4 สีโดนใจ ” คุณภาพ “โดดเด่นใช้ง่าย แต่ได้ภาพระดับโปร ’ ”

แคนนอน สร้างสีสันใหม่ให้วงการกล้องดิจิตอลซิงเกิ้ลเลนส์ (DSLR) เปิดตัว EOS 1100 D กล้อง DSLR ลุคใหม่ที่ดีไซน์ตัวกล้องและสายคล้องกล้องให้เข้าชุดกัน พร้อมสีต่างๆให้เลือกถึง 4 สี ได้แก่  แดงเมทัลลิค / น้ำตาลเรโทร / เทาโมเดิร์น และ ดำสมาร์ท สะท้อนคาเรกเตอร์หลากหลายของคนรุ่นใหม่ พร้อมเปิดตัว เป้ อารักษ์ อมรศุภศิริ   (เป้ เสลอ) ศิลปิน-นักแสดงชื่อดัง เป็นพรีเซนเตอร์คนแรกของกล้อง DSLR-Canon EOS ในประเทศไทย และเป็น พรีเซนเตอร์คนใหม่ล่าสุดของแบรนด์แคนนอนอีกด้วย

EOS 1100D กล้อง DSLR 4 สีเทรนด์ใหม่ ให้การถ่ายภาพกลายเป็นเรื่องง่าย แม้มือใหม่ก็ถ่ายรูปได้อย่างโปร ด้วย เมนูภาษาไทย และ Feature Guide บอกวิธีการใช้ฟังก์ชั่นต่างๆ ชัดเจนเข้าใจง่าย และ โหมดถ่ายภาพอัตโนมัติ Basic+ เปลี่ยนสีสันให้ภาพถ่ายธรรมดา กลายเป็นภาพมีสไตล์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ กล้องดีไซน์ตำแหน่งของปุ่มตั้งค่าต่างๆ ให้ใช้งานง่ายแม้ถือกล้องด้วยมือเดียว มั่นใจกับภาพที่คมชัดแม้อยู่ในสภาพแสงที่ไม่เป็นใจ ด้วย เซ็นเซอร์ CMOS ความละเอียดสูงถึง 12.2 ล้านพิกเซล ชิปประมวลผลภาพ DIGIC 4 พัฒนาให้กล้องตอบสนองได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นเพื่อ ลดการเกิด Noise เปิดกล้องพร้อมใช้งานเพียงเสี้ยววินาที ไม่พลาดทุกช๊อตสำคัญ ค่า ISO กว้างถึง ISO100-6400   รองรับการถ่ายภาพในที่มืด เซ็นเซอร์ วัดแสงแบบมืออาชีพที่ละเอียดถึง 63 โซน เพื่อการถ่ายภาพในทุกสถานการณ์ ระบบออโต้โฟกัส 9 จุด โฟกัสเร็วแม่นยำให้ภาพคมชัด อีกทั้งยังรองรับการใช้งานร่วมกับเลนส์ และอุปกรณ์เสริมของกล้อง EOS ได้กว่า 60 รุ่น พร้อมมี ระบบบันทึกภาพเคลื่อนไหวคมชัดสูงสุดระดับ HD ให้การถ่ายภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวเป็นเรื่องง่าย และสนุกได้ไม่รู้จบ

กล้อง EOS 1100 D  พร้อมเลนส์ EFS 18-55 IS II  ราคาเพียง 19 ,900 บาท เริ่มวางจำหน่ายแล้ววันนี้  ณ ตัวแทนจำหน่ายแคนนอนทั่วประเทศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.canon.co.th / eos1100D หรือสอบถาม Canon Call Center 02-344-9888

View :3354
Categories: Press/Release Tags:

ธนาคารแห่งประเทศไทยวางใจไอบีเอ็ม ร่วมพัฒนาระบบบริการด้านการเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

July 4th, 2011 No comments


พร้อมรองรับการเชื่อมโยงบริการด้านการเงินระดับภูมิภาคและระดับสากล

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ลงนามกับ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ในโครงการปรับปรุงระบบบริการด้านการเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Bank of Thailand – Electronic Financial Services : BOT-EFS) เพื่อเสริมประสิทธิภาพและศักยภาพของเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานในส่วนของระบบบริการด้านการเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ให้สามารถใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นและแข่งขันได้ในระดับสากล ซึ่งสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานของ ธปท. ที่ พร้อมสนับสนุนการเปิดเสรีการค้า บริการ และการลงทุน และตลาดการเงินภายในปี 2558

นางสุชาดา กิระกุล รองผู้ว่าการด้านบริหาร ธปท. เปิดเผยว่า “เนื่องจากความต้องการใช้บริการด้านการเงินอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย โดยเฉพาะบริการชำระเงิน มีการขยายตัวขึ้นอย่างมาก ประกอบกับประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ชาติ ซึ่งมีประชากรรวมกันราว 580 ล้านคน กำลังเร่งจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ให้เสร็จสิ้นภายในปี 2558 ซึ่งจะส่งผลให้มีการเปิดเสรีตลาดสินค้าและบริการต่างๆ ทำให้ขนาดของตลาดใหญ่ขึ้น ตลาดเงินตลาดทุนมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น ธปท. จึงต้องเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วยโครงการปรับปรุงระบบบริการด้านการเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความทันสมัย รวดเร็ว ปลอดภัย โปร่งใส และตรวจสอบได้ ทั้งนี้ เพื่อผลักดันให้ไทย ได้ประโยชน์เต็มที่จากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และพร้อมรับการแข่งขันที่สูงขึ้น โดยให้ความไว้วางใจในความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของไอบีเอ็ม ทั้งในด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเซอร์วิส คาดว่าเมื่อการปรับปรุงเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานครั้งนี้แล้วเสร็จตามแผนการดำเนินงานของธนาคารฯ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และศักยภาพในการให้บริการแก่สมาชิกสถาบันการเงินในประเทศได้มากขึ้น ยกระดับมาตรฐานความก้าวหน้าทางด้านการเงินของประเทศสู่สากล และสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในโลกต่อไปได้

ภายใต้แผนการดำเนินงานการเสริมสร้างและพัฒนาระบบการเงินของไทยไปสู่การเป็น Smart Banking ไอบีเอ็มรับหน้าที่จัดหาเทคโนโลยีและวางระบบการชำระเงินให้เป็น Smart Payment ยกระดับสู่มาตรฐานระดับโลกและขยายขีดความสามารถรองรับความต้องการในอนาคต โดยในระยะแรกจะเป็นการปรับปรุงระบบการชำระเงินแบบ Real Time Gross Settlement (RTGS) ซึ่งเป็นแกนกลางที่เกี่ยวข้องกับการชำระแต่ละรายการผ่านบัญชีของธนาคารพาณิชย์ที่เปิดอยู่กับธนาคารกลาง โดยจะตัดเงินจากบัญชีของธนาคารผู้ส่งไปยังธนาคารผู้รับทันที ปัจจุบันมีประเทศที่ใช้ระบบ RTGS แล้วหลายประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (Fedwire) สวิสเซอร์แลนด์ (SIC – Swiss Interbank Clearing) สิงคโปร์ (MEPS – MAS Electronic Payment System) ออสเตรเลีย (RITS – Reserve Bank of Information and Transfer System) เป็นต้น ส่วนของประเทศไทยใช้ชื่อว่า BAHTNET – Bank of Thailand Automated High-value Transfer Network

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ไว้วางใจให้ไอบีเอ็มเป็นพันธมิตรทางด้านไอทีมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 10 ปี ในโครงการนี้ ทีมที่ปรึกษาด้านธุรกิจของไอบีเอ็ม ( Global Business Consulting) ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์อย่างดี ในธุรกิจการเงินการธนาคาร ได้คอยให้คำปรึกษา และทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่ดูแลงานทางด้านไอทีของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อทำความเข้าใจถึงเป้าหมาย และร่วมกับธนาคารในการวางแผนงานระบบบริการด้านการเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างรอบด้าน รวมถึงการเลือกระบบไอทีที่สามารถรองรับวิสัยทัศน์ การให้บริการระดับมาตรฐานโลก และสามารถขยายความสามารถของระบบต่อไปในอนาคต ในส่วนของเทคโนโลยีไอทีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเลือกใช้ ฮาร์ดแวร์ไอบีเอ็มเพาเวอร์ซิสเต็มส์ เพาเวอร์ 7 AIX Server (Unix based server) ที่มีความสามารถของระบบที่เหนือชั้น มีเสถียรภาพของเทคโนโลยีการใช้ทรัพยากรแบบเสมือน มีศักยภาพในการควบรวมระบบที่แข็งแกร่ง และซอฟต์แวร์ของไอบีเอ็มซึ่งรวมถึงซอฟต์แวร์สำคัญๆ เช่น WebSphere Message Broker ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนการทำงานของ SOA framework ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว Rational Team Concert (RTC) เป็นเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์ชั้นนำที่สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้งาน และซอฟต์แวร์Tivoli ช่วยให้มองเห็นการทำงานทั้งหมด ควบคุมการทำงานของทรัพยากรไอที มีกระบวนการควบคุมการทำงานอย่างชัดเจนและเป็นระบบ เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวของระบบไอที รวมถึงบริการด้านไอทีที่ ช่วยด้านการติดตั้งใช้งาน เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวของระบบไอทีที่เกี่ยวข้อง ให้ระบบมีเสถียรภาพและลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวอีกด้วย

ด้วยทีมที่ปรึกษาและการให้บริการระบบที่เชี่ยวชาญ เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ทันสมัย และแข็งแกร่งของไอบีเอ็มดังกล่าว ช่วยให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับประโยชน์และมั่นใจได้อย่างเต็มที่ในการจัดเตรียมทรัพยากรด้านไอทีให้มีความพร้อมเสนอบริการสู่สมาชิกสถาบันการเงินได้อย่างรวดเร็วภายใต้ระบบโครงสร้างพื้นฐานของการประมวลผลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสูงและความสามารถรอบด้าน ในส่วนของซอฟต์แวร์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ฉับไว แม่นยำ ช่วยลดต้นทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน  สามารถตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้กับสมาชิกสถาบันการเงินของไทยได้อย่างดีเยี่ยม รวมถึงเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์ชั้นนำที่สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้งาน ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย เพิ่มความเป็นระเบียบแบบแผนในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เป็นไปตามมาตรฐาน เพิ่มความถูกต้องในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สามารถติดตามความคืบหน้าของโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ตลอดเวลา มีระบบควบคุมและจัดการกระบวนการพัฒนาอัตโนมัติ ปรับปรุงการมองเห็นภาพรวมของโครงการด้วยข้อมูลในแง่มุมต่างๆของโครงการ

นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ในโอกาสที่ไอบีเอ็มครบรอบ 100 ปีในปีนี้ ไอบีเอ็มมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจจาก ธปท. ซึ่งเป็นธนาคารกลางของประเทศที่ได้รับความเชื่อถือในระดับนานาชาติ ให้เป็นผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีเพื่อรองรับขอบข่ายการให้บริการที่ขยายตัวต่อเนื่อง ด้วยความเป็นผู้นำในด้านการนำเสนอโซลูชั่นแบบครบวงจร รวมถึงระบบบริการด้านการเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ล้ำสมัยและปลอดภัยสูงสุด ทั้งนี้ทางไอบีเอ็มพร้อมสนับสนุน ธปท. ในทุกด้านในการพัฒนาระบบการเงินของประเทศก้าวไปสู่ยุคใหม่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทั้งในปัจจุบันและต่อเนื่องไปในอนาคต”

View :2050