Archive

Archive for May, 2012

ทรูมูฟ เอช เปิดจอง ซัมซุง กาแล็คซี่ เอส 3 สุดยอดสมาร์ทโฟนแล้ววันนี้

May 23rd, 2012 Comments off

พิเศษสำหรับลูกค้าทรูมูฟเอชที่จองระหว่างวันนี้ – 31 พ.ค. 55 ฟรีแพ็กเกจ Smart 899 นาน 6 เดือน พร้อมรับของแถมรวมกว่า 13,000 บาท และสิทธิ์ผ่อน 0% นาน 18 เดือน* ด่วน! สินค้ามีจำนวนจำกัด

ผู้นำบริการ 3G และผู้นำด้านสมาร์ทโฟน ประกาศเปิดจองซัมซุง กาแล็คซี่ เอส 3 สุดยอดสมาร์ทโฟน เชื่อมต่อแรงและเร็วกว่าบนเครือข่ายทรูมูฟ เอช 3G+ ที่ใช้ได้จริงวันนี้ ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดในไทย พร้อมเต็มอิ่มกับหลากหลายเอ็กซ์คลูซีฟไลฟ์สไตล์คอนเทนต์ ที่ให้ทุกประสบการณ์ความบันเทิงตามติดไปทุกที่ เปิดให้จองเป็นเจ้าของได้แล้ววันนี้-31 พ.ค. 55 ที่ร้านทรูช็อปทุกสาขา หรือ www.truemove-h.com หรือ www.weloveshopping.com

นายปพนธ์ รัตนชัยกานนท์ หัวหน้ากลุ่มคณะผู้บริหารด้านการพาณิชย์ การขาย และรีเทล บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “ทรูมูฟ เอช เป็นผู้นำด้านสมาร์ทโฟน และเป็นผู้ให้บริการ 3G+ บนเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ความเร็วสูงสุด 42 Mbps** ครอบคลุมครบ 77 จังหวัด 843 อำเภอ 5,158 ตำบล และจะครบ 928 อำเภอ 7,235 ตำบล 71,567 หมู่บ้าน ภายในสิ้นปีนี้ รวมถึงบริการ WiFi ความเร็วสูงสุด 100 Mbps** ครอบคลุม 100,000 จุด ในไทยกลางปีนี้ และมากกว่า 200,000 จุด ในต่างประเทศ พร้อมให้สัมผัสประสบการณ์การใช้งานและความ

View :1771

อีริคสันประกาศความร่วมมือกับแปดผู้ให้บริการเพื่อสร้างเครือข่าย LTE ในระดับท้องถิ่นและชุมชนต่างๆทั่วสหรัฐอเมริกา

May 23rd, 2012 No comments

เครือข่าย จะช่วยให้ ผุ้คนและธุรกิจต่างๆในแถบชนบทและชุมชนต่างๆในสหรัฐฯที่ไม่เคยมีบรอดแบนด์สามารถใช้บริการโมบายบรอดแบนด์ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

อีริคสันได้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมต่างๆในภูมิภาคเพื่อนำประโยชน์ของ LTE มาสู่บรรดาผู้บริโภคอย่างทั่วถึง
การทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการและการสื่อสารได้อย่างทั่วถึงในทุกๆที่นั้นเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ด้านเครือข่ายทางสังคม (Networked Society) ของบริษัทอีริคสัน

ฮันส์ เวสต์เบิร์ก ประธานบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหารสูงสุดของบริษัทอีริคสัน


บริษัทอีริคสันกำลังทำงานร่วมกับ แปดผู้ให้บริการโทรคมนาคมชั้นนำในระดับภูมิภาคเพื่อปรับปรุงการใช้ให้บริการโมบายบรอดแบนด์ที่ดีขึ้นสำหรับชาวอเมริกันทุกคน โดยยังจะช่วยทำให้ผู้ให้บริการทั้งแปดรายนั้นสามารถประหยัดค่าได้มากขึ้นด้วยการนำเครือข่ายโมบายบรอดแบนด์ของ LTE มาใช้

แปดผู้ให้บริการที่เลือกให้บริษัทอีริคสันสร้างโครงข่าย LTE คือ

- Appalachian Wireless (เคนตั๊กกี้) – โครงข่าย LTE เพื่อครอบคลุมเทือกเขาแอปปาเลเชียนทางตะวันออกของรัฐเคนตั๊กกี้

- Agri-Valley Communications (มิชิแกน) – โครงข่าย LTE จะครอบคลุมพื้นที่มากกว่าร้อยละ 70 ของรัฐมิชิแกนทั่วทั้งคาบสมุทรส่วนล่างและส่วนบนของรัฐ

- Bluegrass Celluar (เคนทักกี้) – จะปรับใช้โครงข่าย LTE ของบริษัทอีริคสันเพื่อให้บริการ 4G แก่บรรดาลูกค้าทั่วทั้งตอนกลางของรัฐ

- Enhanced Telecommunications Corp. (อินเดียน่า) – จะนำเสนอบริการ LTE ในรูปแบบ บรอดแบนด์แบบโครงสร้างพื้นฐาน ผ่าน Ericsson Mobile Broadband Router เพื่อเป็น home gateway

- Globecomm (นิวยอร์ก) – จะให้บริการ LTE ของบริษัทอีริคสันที่เพิ่มเติมจากการบริการ 2G และ 3G

- IT&E (กวม) – การนำเสนอโครงข่าย LTE ทั้งบริการแบบโครงสร้างพื้นฐานและแบบเคลื่อนที่จะครอบคลุมเกาะกวม ซึ่งเป็นดินแดนของสหรัฐอเมริกา ที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก

- South Georgia Regional Information technology Authority (จอร์เจีย) – บริษัทด้าน IT ในภูมิภาคในทางตะวันออกเฉียงใต้ของจอร์เจียที่สร้าง LTE เพื่อให้เข้าถึงเหล่าผู้บริโภคและธุรกิจต่างๆพร้อมกับบรอดแบนด์ไร้สาย

- VTel Wireless (เวอร์มอนท์) – จะเชื่อมต่อชุมชนในชนบทและที่ยังไม่เข้าถึงหรือไม่มีบรอดแบนด์ทั่วทั้งรัฐ ตลอดจนจุดการเก็บมิเตอร์อัจฉริยะ (smart meter collection points) เกือบ 1,000 จุด

สตีเวน เค. เบอร์รี่ ประธาน & CEO ของ RCA – The Competitive Carriers Association กล่าวว่า “บริษัทอีริคสันได้เป็นหุ้นส่วนที่ดีเยี่ยมสำหรับผู้ให้บริการโทรคมนาคมในระดับชนบทและระดับภูมิภาค และผมรู้สึกดีใจมากที่บริษัทอีริคสันได้ช่วยบริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคมทั้งแปดแห่งในการปรับใช้โครงข่าย LTE อีกครั้ง สมาชิกของเราต้องการโซลูชันเพื่อค้นหาเส้นทางไปสู่บริการ 4G/LTE และเนื่องจากงานด้านนวัตกรรมจากบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทอีริคสัน ทำให้บรรดาผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่สามารถแข่งขันกันได้จะสามารถบรรลุเป้าหมายที่สำคัญนี้ได้”

LTE ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารเคลื่อนที่แห่งยุคหน้า จะทำให้สามารถถ่ายโอนข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มากได้อย่างรวดเร็วโดยใช้วิธีการที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าเงิน ใช้ประโยชน์จากการใช้ช่องสัญญาณความถี่อย่างเหมาะสมที่สุด การมีความเร็วที่สูงขึ้นและเวลาแฝงที่ลดลงจะทำให้บรรดาผู้บริโภคสามารถสนุกสนานกับโปรแกรมประยุกต์ที่มีอย่างมากมาย อาทิ การประชุมทางวิดีโอ และการเข้าถึงเว็บไซต์และโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างง่ายดาย ในขณะเดินทาง LTE จะตอบสนองความต้องการของโปรแกรมประยุกต์ทางอินเตอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ใหม่ๆและที่ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นสำหรับอนาคต

“เรากำลังเคลื่อนย้ายจากสังคมแห่งข่าวสารมาสู่สังคมแห่งเครือข่าย ที่ซึ่งความกังวลหลักไม่ใช่เป็นแต่เพียงการมีการเข้าถึงข้อมูลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประโยชน์ที่คุณจะได้รับจากข้อมูลนั้นด้วย” เครก สไตน์ รองประธานบริหาร ภูมิภาคสหรัฐ บรอดแบนด์และมีเดียสำหรับบริษัทอีริคสันกล่าว “การทำงานกับการครอบคลุมเครือข่ายชนบทในสหรัฐเป็นเวลาหลายปี ทำให้อีริคสันมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งของตลาด เมื่อผสมผสานกับเทคโนโลยี LTE ที่เราได้เริ่มต้นไว้ตั้งแต่แรกของเรา ทำให้เราเป็นทางเลือกที่ปกติในการช่วยนำบรอดแบนด์มาสู่ผู้คนในพื้นที่เหล่านี้”

ความพร้อมใช้งานและความเร็วของบรอดแบนด์จะผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโต ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อพื้นที่ในชนบท ในปี 2553 บริษัทอีริคสันและอาร์เธอร์ ดี. ลิตเติล ได้ข้อสรุปว่าการมีบรอดแบนด์ที่เพิ่มขึ้นทุกๆร้อยละ 10 จะทำให้ GDP สูงขึ้นร้อยละ 1 และจากการศึกษาติดตามผลต่อมาในปี 2554 เกี่ยวกับผลกระทบของการปรับความเร็วของบรอดแบนด์ต่อ GDP แสดงให้เห็นว่าความเร็วของบรอดแบนด์ที่เพิ่มขึ้นสองเท่าในระบบเศรษฐกิจของกลุ่ม OECD จะทำให้การเติบโตของ GDP เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3

ความครอบคลุม LTE ของประชากรทั่วโลกคือ 325 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้ 215 ล้านคนได้รับความครอบคลุมจากเครือข่ายของบริษัทอีริคสัน

View :1290

ก.ไอซีที จับมือ ก.พลังงาน นำร่องสร้างต้นแบบ PTT Free Wi-Fi by TOT

May 22nd, 2012 No comments


นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธาน ในพิธีเปิดโครงการ และพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับกระทรวงพลังงาน ณ สถานีบริการ ปตท. สาขาเพื่อสวัสดิการ ร.1 รอ. ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ โดยมี นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายมนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที และ นายสรัญ รังคสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บมจ.ปตท. ร่วมลงนาม ซึ่งความร่วมมือในการจัดทำโครงการบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยไม่คิดค่าใช้บริการ ระหว่าง ปตท. และ ทีโอที ครั้งนี้ จะเป็นต้นแบบของความร่วมมือในการคืนประโยชน์ให้กับสังคม รวมทั้งเพื่อสนองนโยบายด้าน ICT ที่ต้องการให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น Smart Thailand และส่งผลต่อการยกระดับประเทศไทยในการจัดอันดับความพร้อมด้าน ICT ทั้งในระดับภูมิภาค และระดับโลก โดยโครงการฯ นี้จะให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี Wi-Fi แบบไม่คิดค่าใช้จ่ายแก่ประชาชนในสถานีบริการ ปตท. กว่า 1,000 แห่ง ทั่วประเทศ ซึ่งระยะแรกจะเปิดให้บริการประมาณ 200 แห่ง ใน กทม. และต่างจังหวัด โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการครบทั้ง 1,000 แห่ง ภายใน 5 เดือน ผู้ที่สนใจสามารถใช้บริการ ด้วยการลงทะเบียนออนไลน์ เพื่อขอรับรหัส Username และ Password สำหรับการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยรหัสดังกล่าวสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้วันละ 2 ชั่วโมง ครั้งละไม่เกิน 30 นาที เป็นเวลานาน 6 เดือน ด้วยความเร็วสูงสุดไม่เกิน 2M / 512 Kbps สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ TOT Call Center โทร.1100

View :1747
Categories: Press/Release Tags:

เอไอเอส เปิดให้ลูกค้าจอง “Samsung Galaxy S III”

May 22nd, 2012 No comments


จัดเต็ม! ข้อเสนอสุดพิเศษที่เหนือกว่า ทั้งแพ็คดาต้าและฟรีคอนเทนต์ รวมมูลค่ากว่า 23,000 บาท

เอไอเอส เดินหน้ามอบประสบการณ์สุดล้ำ เพื่อชีวิตในแบบคุณ นำสุดยอดนวัตกรรมแห่งโลกสมาร์ทโฟน มาให้ลูกค้าเอไอเอสได้สัมผัสก่อนใคร! กับ “Samsung Galaxy III จาก AIS” (ซัมซุง กาแล็คซี่ เอส ทรี จากเอไอเอส) แอนดรอยด์โฟนรุ่นที่ฮอตที่สุดที่ทั่วโลกตั้งตารอ ด้วยหลากหลายฟีเจอร์สุดสมาร์ทอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ที่มาพร้อมแพ็คเกจสุดคุ้มและคอนเทนต์สุดเวิร์คจากเอไอเอส รวมมูลค่า 23,000 บาท

นายฐิติพงศ์ เขียวไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส สายงานการตลาด เอไอเอส เปิดเผยว่า “ปัจจุบันอัตราความนิยมของ Smart Phone ในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นกว่า 100% สาเหตุเพราะตอบโจทย์ Lifestyle คนในยุคปัจจุบันที่ใช้ชีวิตแบบ on the go ในขณะที่นวัตกรรมจากฟากของผู้ผลิตระดับโลกเองก็ก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้ง หน้าที่ของ Operator อย่าง เอไอเอส คือการคัดสรรนวัตกรรมคุณภาพดังกล่าวมามอบให้ลูกค้าก่อนใคร ดังเช่นการจับมือกับ Samsung ที่ประสบความสำเร็จร่วมกันเป็นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา กับหลากหลายนวัตกรรมที่มาพร้อมสุดยอดเครือข่ายและบริการคุณภาพจากเอไอเอส สอดคล้องกับแนวคิด My Best Device from AIS 3G ที่เราตั้งใจมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า จนกระทั่งวันนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญอีกครั้งกับการนำ สุดยอดนวัตกรรมที่เหล่าสาวกต่างรอคอยในปีนี้

Samsung Galaxy SIII ถือได้ว่าเป็นสุดยอด Smart Device ที่สามารถผสมผสาน เทคโนโลยีเข้ากับตัวเราได้อย่างสมบูรณ์แบบ เรียกได้ว่าเป็น Human Technology ที่สมบูรณ์แบบที่สุด ซึ่งมาพร้อมข้อเสนอสุดพิเศษจากเอไอเอส ผ่านแนวคิด My Best Application from AIS 3G อย่าง App สุดฮิตอย่าง AIS Book Store ที่มอบฟรี E-Magazine 10 เล่ม จาก AIS Bookstore ได้แก่ ดิฉัน, เพื่อนเดินทาง, เปรียว, Cosmopolitan, เปรียว, IMAGE, Madame Figaro, Maxim, Men’s Health, OK!, Business Plus และ Marketeer และ E-Newspaper ฟรี! 6 ฉบับ ได้แก่ The Nation, กรุงเทพธุรกิจ, คมชัดลึก, โลกวันนี้, ASTVผู้จัดการรายวัน และ ผู้จัดการรายสัปดาห์ นาน 6 เดือน และ ฟรี! AIS Music Store นาน 1 เดือน รวมมูลค่า 23,000 บาท เพื่อให้ลูกค้าสนุกและตื่นตาตื่นใจกับเทคโนโลยีใหม่ในแบบคุณได้ดังใจ รวมไปถึง Data Package สุดคุ้ม เมื่อสมัครแพ็คเกจ iSmart Package 399 บาทต่อเดือน รับสิทธิ์ใช้ AIS 3G/EDGE+ ได้ไม่จำกัด และโทรฟรี 200 นาที ที่พร้อมเปิดให้ลูกค้าเอไอเอสได้จับจอง เป็นเจ้าของและรับเครื่องได้ก่อนใคร ในราคา 21,900 บาท (รวม VAT 7%) ทั้งยังมีโปรโมชั่นพิเศษ ผ่อน 0% นาน 10 เดือน หรือเพียงเดือนละ 2,190 บาทเท่านั้น เพียงเข้าไปสั่งจองผ่านทาง AIS Online Shopping หรือที่ www.ais.co.th ได้ตั้งแต่วันที่ 23 – 29 พฤษภาคม 2555 เพื่อรับเครื่องในวันที่ 2 มิถุนายน 2555 เป็นต้นไป ที่เอไอเอสช็อปทั่วประเทศที่ร่วมรายการ

และนี่คือ สุดยอดดีไวซ์ 1 ใน Quality DNAs ที่เอไอเอสสัญญาว่าจะนำมามอบให้ลูกค้าก่อนใครเสมอ พร้อมด้วยเครือข่ายคุณภาพทั้ง AIS 3G, EDGE+ และ Wifi ที่สำคัญคือบริการหลังการขาย ที่ทำให้การใช้งานสมาร์ทโฟนของลูกค้าเอไอเอสสะดวก คุ้มค่ากว่าใคร และอุ่นใจได้เสมอ” นายฐิติพงศ์กล่าวสรุป

View :1404

“Serenade Magazine” on iPAD เล่ม 2 เปิดให้โหลดแล้ววันนี้!!

May 22nd, 2012 No comments

หลังจากที่เอไอเอสแจ้งเกิด ดิจิตอลแมกกาซีนบนแท็บเล็ต “” เป็น Showcase แรกของวงการ ที่ผลิตโดยโอเปอร์เรเตอร์มือถือมาแล้วนั้น ก็ได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี จากคอแอพพลิเคชั่นคนรุ่นใหม่ ด้วยยอดดาวน์โหลดกว่า 8,000 ครั้ง ล่าสุดเอไอเอสเดินหน้าส่ง “ Issue 2” วางแผงบน App Store ให้ลูกค้าได้ดาวน์โหลดได้ฟรีแล้ววันนี้

สำหรับความพิเศษของ “Serenade Magazine Issue 2” ในคอนเซ็ปท์ “Techno-Lifestyle” ที่จัดเต็มสิทธิพิเศษหลากหลายจากเอไอเอส ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในแบบคุณ ควบคู่ไปกับการผสานเทคโนโลยีไร้สายสุดล้ำ รวมทั้งเกาะติดทุกกระแสความฮอตฮิต รูปแบบ Interactive ที่สร้างความตื่นเต้นและสนุกสนานในการอ่านให้กับผู้อ่านอีกเช่นเคย กับ 13 คอลัมน์เด็ด เนื้อหาจุใจ ไม่ว่าจะเป็น Sound Goods สัมผัสโลกแห่งเสียงเพลง ผ่านหลากหลายแอพพลิเคชั่น,เอาใจคนรักอาหารปิ้งย่างและชาบู ชาบู ที่การันตีความอร่อยและคุ้มค่า กับ 6 ร้านเด็ด ร้านดัง ในคอลัมน์ Savoury หรือจะเลือกท่องเที่ยวไปกับดินแดนแห่งอารยธรรม ประเทศอินเดีย ในมุมมอง ที่คุณอาจไม่เคยสัมผัส ผ่านคอลัมน์ Special Moment

ลูกค้าเอไอเอสและคอแมกกาซีน สามารถกดดาวน์โหลด “Serenade Magazine Issue 2” บนiPAD ได้ฟรี!!!แล้ววันนี้ ผ่านทาง App Store และติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.ais.co.th/serenademagazine

View :1582
Categories: ebook Tags:

กระทรวงไอซีที จับมือกระทรวงพลังงาน สนองนโยบายรัฐบาลสู่สมาร์ทไทยแลนด์ นำร่องสร้างต้นแบบ PTT Free Wi-Fi by TOT

May 22nd, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และนายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมเป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือ และเปิดโครงการ บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี Wi-Fi โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายที่สถานีบริการ ปตท. สาขาเพื่อสวัสดิการ ร.๑ รอ. ถนนวิภาวดีรังสิต โดยมีสองยักษ์ บมจ.ทีโอที และ บมจ.ปตท. นำร่องสร้างโมเดลความร่วมมือคืนประโยชน์ให้กับสังคม โดยร่วมกันให้บริการ อินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง ไม่คิดค่าใช้บริการ เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล และยกระดับ ประเทศไทยในการจัดอันดับความพร้อมด้านไอซีที ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า ปี ๒๕๕๕ ไอซีที มีเป้าหมายที่จะผลักดันให้สังคมไทยเป็นสังคมอุดมปัญญา (Smart Thailand) เพื่อเตรียม พร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยการพัฒนาด้าน ICT จะเป็นรากฐานสำคัญที่จะยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย ซึ่งความร่วมมือในการจัดโครงการบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยไม่คิดค่าใช้บริการ PTT Free Wi-Fi by TOT ระหว่าง ปตท. และ ทีโอที จะเป็นต้นแบบของความร่วมมือในการคืนประโยชน์ให้กับสังคม เพื่อสนองนโยบายด้าน ICT สู่ Smart Thailand ส่งผลต่อการยกระดับประเทศไทยในการจัดอันอับความพร้อมด้านไอซีที ทั้งในระดับภูมิภาค และระดับโลก

นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ความร่วมมือของ ปตท. และ ทีโอที ในการพัฒนาโครงการ PTT Free Wi-Fi by TOT ณ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. ทั่วประเทศครั้งนี้ นับเป็นแบบอย่างความร่วมมือที่น่าชื่นชมของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจผู้ให้บริการแก่ประชาชนที่ดำเนินงานในรูปแบบเอกชน ด้วยการประสานประโยชน์จากจุดแข็งของทั้งสองหน่วยงาน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง เชื่อว่าความร่วมมือระหว่างเครือข่ายเทคโนโลยีไร้สาย (Wi-Fi) ของทีโอที กับ เครือข่ายสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศของ ปตท. กว่า ๑,๓๐๐ แห่ง จะเพิ่มช่องทางให้คนไทย ได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูล ความรู้ และข่าวสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว สนองตอบนโยบายการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสาธารณะโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคนไทยและประเทศไทย ให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาชาติต่อไป

นายสรัญ รังคสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สถานีบริการน้ำมันของ ปตท.ทั่วประเทศ จะเป็น “จุดเชื่อมต่อ” ที่มีประสิทธิภาพให้กับคนไทยในทุกเส้นทาง และเป็นอีกช่องทางที่มีศักยภาพในการนำพาองค์ความรู้สู่สังคมไทย และก้าวสู่สังคมอุดมปัญญา หรือ Smart Thailand ได้อย่างแท้จริง นับเป็นความร่วมมือที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของ ปตท. ที่มุ่งมั่นพัฒนาองค์กรให้มีความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนองค์กรทั้งในด้านธุรกิจและความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาทั้งสองด้านไปพร้อมๆ กันอย่างยั่งยืน นอกจากนั้น ความร่วมมือในครั้งนี้ยังจะช่วยพัฒนางานบริการ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจสถานีบริการน้ำมันของ ปตท. ให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างตรงจุดและรวดเร็วยิ่งขึ้น “เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส” อีกด้วย

ดร.มนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที กล่าวว่า วันนี้ ประเทศไทยจะก้าวไปสู่การพัฒนา และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างทั่วถึง ด้วยความร่วมมือของกระทรวงไอซีที และกระทรวงพลังงาน ในการสนับสนุนผลักดันให้ ปตท. ซึ่งเป็นผู้ประกอบการด้านพลังงานรายใหญ่ที่สุด และ ทีโอที ซึ่งมีจุดแข็งในด้านโครงข่ายโทรคมนาคมที่ทันสมัยครอบคลุมทั่วประเทศ สู่เป้าหมายร่วมกันในการสนองนโยบายของรัฐบาล ด้วยการร่วมกันเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี Wi-Fi โดยไม่คิดค่าใช้บริการ หรือ PTT Free Wi-Fi by TOT เพื่อให้บริการกับประชาชนในสถานีบริการ ปตท. กว่า ๑,๐๐๐ แห่งทั่วประเทศ โดยในระยะแรกจะเปิดให้บริการเมื่อเริ่มโครงการประมาณ ๒๐๐ แห่ง ใน กทม. และต่างจังหวัด และคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการครบทั้ง ๑,๐๐๐ แห่ง ภายใน ๕ เดือน

สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ ทีโอที จะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาและติดตั้งระบบและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี Wi-Fi การติดตั้ง และบริหารรวมทั้งการจัดหาอุปกรณ์ในการให้บริการ รวมถึงการให้บริการด้าน Call Center โดยผู้ใช้บริการจะสามารถใช้บริการ PTT Free Wi-Fi by TOT ด้วยการลงทะเบียน เพื่อขอรับรหัส Username และ Password สำหรับการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยรหัสดังกล่าวสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้วันละ ๒ ชั่วโมง ใช้งานได้ครั้งละไม่เกิน ๓๐ นาที นาน ๖ เดือน ด้วยความเร็วสูงสุดไม่เกิน ๒M/๕๑๒ Kbps

ทั้งนี้ รัฐบาลมีนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่จะส่งเสริมการเข้าถึงการใช้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสาธารณะที่มีการใช้งานตามความเหมาะสมโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อันเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูล และข่าวสาร ยกระดับคุณภาพชีวิต และการศึกษาของประชาชนในประเทศ ซึ่งตามแผนแม่บทไอซีที ฉบับที่ ๓ มีเป้าหมายในการกระจายการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งแบบมีสายและไร้สายให้ครอบคลุมมากกว่า ๘๐% ของประชากรทั้งประเทศภายในปี ๒๕๕๘ และเพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาล กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้จัดให้มีโครงการบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี Wi-Fi โดยไม่คิดค่าใช้บริการมาตั้งแต่ปลายปี ๒๕๕๔ โดย ทีโอที ได้นำร่องดำเนินการให้บริการ Free Wi-Fi ในพื้นที่สาธารณะ เช่น ศาลากลางจังหวัด สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ และสถานีขนส่ง เป็นต้น

View :1671

ก.ไอซีที ร่วมมือ กสทช. และ APT จัดประชุม Policy and Regulatory Forum (PRF-12)

May 21st, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุม Policy and Regulatory Forum (PRF-12) และการเจรจาธุรกิจ หรือ Business Dialogue ว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ องค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APT) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Policy and Regulatory Forum (PRF-12) ขึ้น ระหว่างวันที่ 21 – 23 พฤษภาคม 2555 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้ผู้บริหารระดับสูงของประเทศสมาชิก APT ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 38 ประเทศ ทั้งผู้กำหนดนโยบายด้านการพัฒนา ICT ของประเทศ และผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานกำกับดูแลได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น และร่วมเสวนาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย การกำกับดูแลด้าน ICT / โทรคมนาคมสำหรับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ทั้งนี้ เพื่อให้สอดรับกับนโยบายสากลและแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารของภูมิภาค

“กระทรวงฯ และสำนักงาน กสทช. ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม PRF – 12 ครั้งนี้ ก็เพื่อแสดงถึงศักยภาพและความร่วมมือระหว่างผู้กำหนดนโยบาย และผู้กำกับดูแลด้าน ICT / โทรคมนาคมให้ประจักษ์ในเวทีระหว่างประเทศ โดยการประชุมดังกล่าว ได้แบ่งหัวข้อการประชุมออกเป็น 2 ส่วน คือ ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2555 เป็นการประชุม Business Dialogue ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการและภาคเอกชนได้ใช้เวทีดังกล่าวในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมุมมอง เพื่อสะท้อนความคิดเห็น ปัญหาอุปสรรค และความต้องการไปยังผู้กำหนดนโยบายและผู้กำกับดูแล เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปประกอบการพิจารณา วางกรอบนโยบาย และการกำกับดูแลในอนาคต ส่วนในวันที่ 22 – 23 พฤษภาคม 2555 เป็นการประชุม PRF ที่ให้ผู้กำหนดนโยบาย และผู้กำกับดูแลด้าน ICT / โทรคมนาคมได้แสดงความคิดเห็น และร่วมเสวนาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายด้าน ICT“ นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว

สำหรับการประชุม Business Dialogue นั้น จะมีการหารือในรายละเอียดเกี่ยวกับความคาดหวังของภาคอุตสาหกรรมต่อหน่วยงานกำกับดูแล นโยบายและการกำกับดูแลกับโอกาสและความท้าทายในการพัฒนา ICT รวมทั้งแนวโน้ม ICT เช่น cloud computing เทคโนโลยี mobile broadband, emergence of smart devices และ green initiatives ตลอดจนบทบาทของผู้กำหนดนโยบายและดูแลในยุคดิจิทัล

ส่วนรายละเอียดของการประชุม PRF นั้น มีการหารือในประเด็นเกี่ยวกับความสำคัญของบรอดแบนด์กับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะประเทศที่มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง บรอดแบนด์กับการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ อินเทอร์เน็ตกับการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ การใช้เทคโนโลยีที่สามารถส่งผ่านในระยะไกล เช่น Fiber Optic และดาวเทียม ซึ่งมีต้นทุนในการลงทุนสูง แนวทางการเชื่อมต่อสำหรับหมู่เกาะเล็ก ๆ (SIDS: Small Island Developing States) และประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล รวมทั้งยังมีประเด็นนโยบายในการส่งเสริมการพัฒนาบรอดแบนด์ ปัจจัยความต้องการบรอดแบนด์ และปัจจัยสำหรับผู้บริโภคในการเลือกใช้บรอดแบนด์ ซึ่งได้แก่ ความเร็วและคุณภาพการให้บริการ

นอกจากนี้ยังมีการหารือเกี่ยวกับนโยบายในด้านต่างๆ ได้แก่ ความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ (Cyberspace) นโยบายและการกำกับดูแลเพื่อความปลอดภัยบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมทั้งแนวคิดริเริ่มด้านสภาพแวดล้อม (Green initiatives) ผลกระทบของ ICT ต่อสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การออกแบบระบบสำหรับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ Smart Grid นโยบายและการกำกับดูแล Green initiatives ตลอดจนการวางนโยบายและการกำกับดูแลเกี่ยวกับราคาค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับ International Mobile Roaming นโยบายและการกำกับดูแลประเด็นอื่นๆ ที่อยู่ในความสนใจสำหรับภูมิภาค เช่น อัตราค่าธรรมเนียม International Mobile Roaming ที่มีการคิดราคาสูงเกินจริง และการใช้ ICT เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการภัยพิบัติ แผนบริการจัดการภัยพิบัติแห่งชาติ การใช้โครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเตือนภัย การป้องกัน และการช่วยเหลือกรณีเกิดภัยพิบัติ เป็นต้น

View :1229
Categories: Press/Release Tags:

ฟูจิ ซีร็อกซ์ เปิดแผนรุกตลาดปี 2555 ตั้งเป้ารายได้ 5,000 ล้าน ชูโซลูชั่นผลิตภัณฑ์เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม-ประหยัดงบลงทุน

May 18th, 2012 No comments

กางแผนรุกตลาดไทยปี 2555 วางเป้าหมายดันธุรกิจเติบโตขึ้นอีก 22% โกยยอดรายได้ทะลุ 5,000 ล้านบาท โชว์นโยบายธุรกิจ “Challenge to Increase Fuji Xerox Total Value” มั่นใจสอดรับแนวโน้มความต้องการตลาดที่มุ่งมองหาโซลูชั่นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมตอบโจทย์องค์กรเรื่อง Cost Management ผ่านโซลูชั่น ผลิตภัณฑ์และบริการอย่างหลากหลายครอบคลุมที่มีแผนเปิดตัวใหม่อย่างต่อเนื่องในปีนี้

นายสมมาตร บุณยะสุนานนท์ รองประธานและกรรมการ บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด


นายสมมาตร บุณยะสุนานนท์ รองประธานและกรรมการ บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่าผลประกอบการในปี 2554 ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้รวมประมาณ 4,100 ล้านบาท และมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 14% สำหรับการดำเนินธุรกิจในปี 2555 ทางบริษัทตั้งเป้าหมายผลประกอบการอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท หรือมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 22% เมื่อเทียบกับช่วงปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้แนวทางการดำเนินธุรกิจและแผนการตลาดสำหรับปี 2555 นี้ ฟูจิ ซีร็อกซ์ ได้วางนโยบายธุรกิจ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Challenge to Increase Fuji Xerox Total Value” สะท้อนให้เห็นว่าฟูจิ ซีร็อกซ์คำนึงถึง “eco Friendly Solution” หรือโซลูชั่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแนวทางและหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่ฟูจิ ซีร็อกซ์จากทุกๆ ประเทศทั่วโลกดำเนินอยู่ โดยทางบริษัทอยากมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นในปีนี้อีกด้วย

“เรามีกลยุทธ์ที่จะผลักดันโซลูชั่นที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นไปยังกิจกรรมที่ทำร่วมกับกลุ่มธุรกิจประเภทต่างๆให้มากขึ้น และพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดียิ่งขึ้นกับคู่ค้าทางไอที เพื่อร่วมกันพัฒนาโซลูชั่นใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มธุรกิจต่างๆ เหมือนในปีที่ผ่านมาที่เราประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และจะขยายโซลูชั่นไปยังกลุ่มธุรกิจต่างๆให้มากขึ้นเช่น กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มการศึกษา กลุ่มโรงพยาบาลและกลุ่มธุรกิจทางการเงิน” นายสมมาตร กล่าว

นายสมมาตร กล่าวว่า ถึงแม้ว่ารายได้หลักของฟูจิ ซีร็อกซ์ กว่า 60% จะมาจากกลุ่ม Office Products แต่ทางบริษัทก็มีการขยายงานในส่วนของ PSB (Production Service Business) และธุรกิจบริการ โดยในส่วน PSB จะมุ่งเน้นที่สินค้าตั้งแต่ speed ต่ำจนถึง speed สูงเพื่อตอกย้ำความเป็นอันดับ 1 ในธุรกิจเครื่องพิมพ์ดิจิตอลสี ซึ่งฟูจิ ซีร็อกซ์ถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตรายเดียวที่เสนอสินค้าที่ครอบคลุมมากที่สุดในประเทศไทยในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน

สำหรับในปีนี้ ฟูจิ ซีร็อกซ์ จะเปิดตัวสินค้าใหม่ล่าสุดที่จะเป็นเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทความเร็วสูง โดยคาดว่าจะติดตั้งได้ประมาณ 3 เครื่องในปีนี้ เช่นเดียวกันกับธุรกิจบริการที่ฟูจิ ซีร็อกซ์มีบริการ MPS (Managed Printing Service) ซึ่งเป็นเทรนด์ที่กำลังนิยมทั่วโลก และ ฟูจิ ซีร็อกซ์ เองก็เป็นผู้นำในบริการแบบนี้อยู่ นอกจากนี้ในส่วนของ FXGS (Fuji Xerox Global Services) ฟูจิ ซีร็อกซ์ มีบริการโซลูชั่นการแปลงเอกสารให้เป็นรูปแบบดิจิตอลและนำเข้าสู่ระบบการจัดเก็บแบบครบวงจร, Business Process Services หรือ BPS ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ได้ครบวงจรมากยิ่งขึ้นด้วย

นอกจากนี้ในแง่ของนวัตกรรมใหม่ของฟูจิ ซีร็อกซ์ที่จะนำเสนอในปีนี้ ผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นทั้งหมดกำลังอยู่ในช่วงวางตลาด ซึ่งทางบริษัทจะมุ่งเน้นให้เห็นถึงนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ฟูจิ ซีร็อกซ์ได้คิดค้นขึ้นมา เพื่อตอบสนองนโยบายเรื่องสิ่งแวดล้อม ความสะดวกสบายและความประหยัดของลูกค้า เช่น Smart WelcomEyes, Scan Convert, One path duplex Color scanning and hi Speed รวมไปถึงGreen Report ที่นำรายงานกลับไปที่ลูกค้า เพื่อวิเคราะห์กันภายในองค์กรเพื่อประโยชน์ที่สูงสุด รวมไปถึงเมนูหน้าจอที่เป็นภาษาไทย และแป้นพิมพ์ที่ป้อนข้อมูลเป็นภาษาไทยด้วย เพื่อการใช้งานที่เต็มประสิทธิภาพอย่างสูงสุด ซึ่งผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับปี 2555 นี้ ทาง OPB (Office Product Business) ตั้งเป้าที่จะนำสินค้าเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยหลายรุ่นด้วยกัน แน่นอนว่าจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในหลากหลายรูปแบบได้เป็นอย่างดี

“แนวโน้มภาพรวมตลาดที่เห็นได้ชัดในปีนี้คงจะมีการแข่งขันเรื่องราคากันสูงมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น แต่ฟูจิ ซีร็อกซ์เลือกที่จะใช้ Know-how Strategy มาเป็นนโยบายในการพัฒนาสินค้า โดยเราเลือกที่จะผลิตสินค้าที่ดี มีคุณภาพและตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย รวมไปถึงการบริการที่ครบวงจร และการบริการหลังการขายที่รวดเร็ว” นายสมมาตรกล่าวถึงจุดแข็งของฟูจิ ซีร็อกซ์ที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจของบริษัทให้สู่เป้าหมายในปี 2555 และกล่าวต่อว่า “ปัจจัยบวกเรื่องแนวโน้มการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงการที่องค์กรแต่ละแห่งให้ความสำคัญเรื่องของ Cost Management ที่มากขึ้น ทางฟูจิ ซีร็อกซ์สามารถตอบสนองในเรื่องของปัจจัยดังกล่าวได้เป็นอย่างดี เนื่องจากได้ทำการวิจัยและพัฒนาสินค้ามาเพื่อเสริมความต้องการในด้านนี้มาตลอด ทำให้เราสามารถเป็นผู้นำและสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ๆในกลุ่มธุรกิจแบบเดียวกัน”

View :6092

สวทช./ซอฟต์แวร์พาร์ค ผนึกกำลัง 3 หน่วยงานไอทีไทย-ญี่ปุ่น เพื่อมุ่งเน้นการสร้างความเชื่อมั่นในการนำซอฟต์แวร์ไทยสู่ตลาดต่างประเทศ ขยายฐานตลาดการส่งออกญี่ปุ่น

May 18th, 2012 No comments

สวทช./ซอฟต์แวร์พาร์คลงนามบันทึกความร่วมมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อมุ่งเน้นการสร้างความเชื่อมั่นในการนำซอฟต์แวร์ไทยสู่ตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น ในโครงการความร่วมมือขยายช่องทางและโอกาสทางการตลาดแก่ซอฟต์แวร์ไทยและญี่ปุ่น

นางสุวิภา วรรณสาธพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า “อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ถือได้ว่าเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เป็นกลไกสำคัญที่สามารถช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิภาพการขาย สร้างช่องทางความสัมพันธ์ลูกค้า เป็นต้น ซอฟต์แวร์พาร์คเป็นหน่วยงานภายใต้ สวทช. ที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย ทั้งในด้านการพัฒนาบุคลากร การพัฒนากระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ การขยายโอกาสทางธุรกิจทั้งภายในและต่างประเทศ รวมทั้งการสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ ดังที่มีการจัดคณะผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยเดินทางไปจัดกิจกรรมการเจรจาทางการค้าในต่างประเทศ

สุวิภา วรรณสาธพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

นอกจากนี้ สวทช.เองยังมีบทบาทสำคัญในการกำหนดเป้าหมายและมุ่งมั่นพัฒนางานวิจัยให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงพัฒนางานวิจัยที่สามารถรับมือกับสภาพปัญหาได้ทันเหตุการณ์ ทั้งในแง่การคิดค้นสิ่งใหม่ๆไปล่วงหน้า และการสนับสนุนภาคเอกชนในด้านการบริการวิจัยให้เอกชน การรับจ้างทดสอบ หรือแม้กระทั่งการร่วมลงทุนตั้งบริษัทกับเอกชน เพื่อนำนวัตกรรมใหม่ๆออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว และโดยอาศัยองค์ความรู้และงานวิจัยต่างๆที่ สวทช.ได้ริเริ่มดำเนินการไว้ และการทำงานที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานหลักๆ ในภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC 2015) ซึ่งจะมีการเชื่อมตลาดการค้าการลงทุนให้เป็นตลาดเดียว (Single Market) การเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะข้ามชาติ การเคลื่อนย้ายการลงทุนจากต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้เป็นทั้งการสร้างโอกาสและภัยคุกคามต่อการเจริญเติบโตโดยเฉพาะบริษัทซอฟต์แวร์ท้องถิ่นอย่างมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยต้องเตรียมความพร้อม และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ และส่งเสริมการขยายช่องทางการตลาดและการขายเนื่องจากการแข่งขันจากซอฟต์แวร์ต่างประเทศจะมีมากขึ้น รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร และการสร้างความเข้มแข็งของทีมงาน (Teamwork) เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและสามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน

ดังนั้น การลงนามความร่วมมือกับทาง MIJS (Made in Japan Software Consortium) จากประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับสมาคม ATCI (The Association of Thai ICT Industry) และ TSEP (Thai Software Export Promotion Association) ในประเทศไทยในครั้งนี้ จะเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อร่วมกันขยายตลาดการให้บริการซอฟต์แวร์ในทั้งสองประเทศได้อย่างยั่งยืนต่อไป”

รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย กล่าวว่า “นับตั้งแต่วิกฤตการณ์ความถดถอยทางเศรษฐกิจและเหตุการณ์สึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น จากสถิติของสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้แสดงว่า มีการลงทุนจากต่างประเทศในช่วงเดือน มกราคม ถึง มีนาคม 2555 ประมาณ 12% และ ส่วนใหญ่เป็นโครงการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นมากเป็นอันดับ 1 อีกทั้งซอฟต์แวร์พาร์คได้รับการติดต่อจากหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชนจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อขยายความร่วมมือในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของทั้งสองประเทศ ผ่านกิจกรรมการเจรจาทางการค้า การจับคู่ธุรกิจ และการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ ร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการและนักลงทุน (Venture capitalist) จากประเทศญี่ปุ่น ที่มีความสนใจและต้องการหาคู่ค้าและพันธมิตรในธุรกิจซอฟต์แวร์ของประเทศไทย

รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย

สำหรับในปีนี้ ได้มีกิจกรรมความร่วมมือระหว่างซอฟต์แวร์พาร์คและหน่วยงานต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น เช่น โครงการแลกเปลี่ยนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยการคัดเลือกนักพัฒนา (Programmer) ของไทยเพื่อเดินทางไปฝึกงาน เรียนรู้ระบบการทำธุรกิจซอฟต์แวร์ในญี่ปุ่น รวมถึงสร้างเครือข่ายกับบริษัทซอฟต์แวร์ที่ญี่ปุ่น เป็นเวลา 1 เดือน อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ Inbound-outbound สร้างเครือข่ายพันธมิตร กับหน่วยงานต่างๆ เช่น Kanagawa Information Service Industry Association (KIA) และ Made in Japan Software Consortium (MIJS) เป็นต้น

ส่วนการลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ กับทาง Made in Japan Software Consortium (MIJS) ซึ่งเป็นหน่วยงานภาคเอกชนซอฟต์แวร์ญี่ปุ่น ที่รวมตัวกันเพื่อผนึกกำลังสร้างความร่วมมือในต่างประเทศ ประกอบด้วยสมาชิก 55 บริษัท แบ่ง software เป็น 3 ประเภทหลักคือ ด้าน Infrastructure, Marketing และ Human Resource Managementจะทำให้เกิดการบูรณาการทางด้านการตลาด สร้างความร่วมมือในระดับองค์กร แลกเปลี่ยน know-how, การถ่ายทอดเทคโนโลยี และสร้างเครือข่าย รวมถึงขยายช่องทางการตลาดซอฟต์แวร์ไทยไปตลาดญี่ปุ่นในอนาคต นอกจากนี้ในการบันทึกข้อตกลงร่วมมือกันในครั้งนี้ ได้มีหน่วยงานภาคเอกชนคือ สมาคมซอฟต์แวร์ไทย 2 สมาคมเข้าร่วมลงนามดังกล่าว ประกอบด้วย สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (The Association of Thai ICT Industry: ATCI) และ สมาคมส่งเสริมการส่งออกซอฟต์แวร์ไทย (Thai Software Export Promotion Association) ซึ่งจะทำให้บริษัทสมาชิกของทั้งสองสมาคม ได้รับประโยชน์จากการความร่วมมือในระดับองค์กรดังกล่าว ผ่านการเชื่อมโยงโอกาสทางธุรกิจซอฟต์แวร์ จากประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านเทคโนโลยี เกิดโครงการการพัฒนาซอฟต์แวร์ร่วมกัน เกิดโอกาสในการรับงานพัฒนาซอฟต์แวร์จากประเทศญี่ปุ่น (Software outsourcing) อันจะส่งผลในการขยายโอกาสทางการตลาดในทั้งสองประเทศ เพิ่มมูลค่าการพัฒนาและการส่งออกซอฟต์แวร์ไทย อีกทั้งจะเป็นโอกาสอันดีที่จะสร้างความเชื่อมั่นและความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณภาพของซอฟต์แวร์ไทยต่อไป”

นายมิโนะ คาซูโอะ Chief Director, Made in Japan Software Consortium (MIJS) กล่าวว่า “ความร่วมมือกับหน่วยงานของไทยในวันนี้ถือได้ว่าเป็นโอกาสอันดี เพราประเทศไทยกับญี่ปุ่นถือได้ว่ามีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในภาวะที่เกิดความเดือดร้อนของทั้งสองประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น และเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในไทยเมื่อปีที่ผ่านมา โดยมีความหวังว่าประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน จะร่วมมือกันสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในเอเชีย และพัฒนาประเทศของตนเองให้มีศักยภาพทัดเทียมกับนานาประเทศต่อไป

สำหรับความเป็นมาของ MIJS นั้นเป็นการรวมตัวกันของบริษัทซอฟต์แวร์หลายๆบริษัทที่มีแนวความคิดเหมือนกัน คือ อยากให้คนในหลายๆประเทศ ใช้ซอฟต์แวร์ญี่ปุ่นให้แพร่หลายมากขึ้น ปัจจุบันมีสมาชิกประจำ 19 บริษัท สมาชิกสมทบ 45 บริษัท พันธมิตรที่ทำสื่อมีเดีย 20 สื่อ และพันธมิตรอื่นๆอีก 9 แห่ง โดยสมาชิกประจำส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่การผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาเอง ซึ่งครอบคลุมทั้ง โปรแกรมฟร้อนท์เอนด์ (Front-end solutions) โปรแกรมใช้งานทางธุรกิจ (Business Solutions) และระบบสนับสนุนการดำเนินงาน ส่วนสมาชิกสมทบก็เป็นบริษัทขนาดไอทีชั้นนำของญี่ปุ่น เช่น NEC, Hitachi, และ Fujitsu เป็นต้น

ตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา MIJS ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมในต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยได้เปิดสำนักงานที่ประเทศจีนในเมืองเซี่ยงไฮ้ ซึ่งได้มีการจัดกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และในปี 2010 ได้ลงนามความร่วมมือกับ สมาคมซอฟต์แวร์เมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไต้หวัน ในปี 2012 ก็ได้ลงนามความร่วมมือร่วมกับองค์การซอฟต์แวร์ของฮ่องกง ทั้งนี้ตลาดที่กลุ่ม MIJS สนใจมากที่สุดคือ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย โดยเน้นการทำธุรกิจแบบเน้นผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย (Win-Win) เพื่อการทำธุรกิจที่ยั่งยืนกับพันธมิตรในประเทศไทย และมีความคาดหวังในการประสบความสำเร็จในความร่วมมือครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากทั้งสองประเทศมีวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกัน จากจุดเริ่มต้นของความร่วมมืออย่างเป็นทางการในวันนี้จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน และสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจแบบ Win-win เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของทั้งสองประเทศต่อไป”

View :1882

“AIS Call Conference” โซลูชั่นส์ประชุมนอกสถานที่ผ่านมือถือ

May 17th, 2012 No comments

ช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพด้านการสื่อสาร

เอไอเอส โดยนายสุปรีชา ลิมปิกาญจนโกวิท ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานการตลาดและพัฒนาโซลูชั่นส์กลุ่มลูกค้าองค์กร ร่วมกับบริษัท iSoftel โดยนายเกรียงไกร ศรีอนันต์รักษา กรรมการผู้จัดการ พัฒนาโซลูชั่นส์ใหม่เพื่อผู้ประกอบการ กับบริการ “AIS Call Conference” ซึ่งเป็นบริการที่ทำให้การประชุมสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา แม้ผู้ประชุมอยู่ต่างสถานที่กัน โดยใช้บริการผ่านทางโทรศัพท์มือถือและโทรศัพท์พื้นฐาน พร้อมรองรับผู้เข้าประชุมได้สูงสุดถึง 120 คน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการสื่อสารของธุรกิจและความคล่องตัวในการบริหารจัดการภายในองค์กร รวมถึงช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาประชุมอีกด้วย

โดยระบบถูกออกแบบให้ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ทั้งในเรื่องการตรวจสอบ และการจองห้องประชุม ซึ่งสามารถทำได้ผ่านทางเว็บไซต์ และระบบจะทำหน้าที่ส่ง SMS และอีเมล์ แจ้งรายละเอียดการประชุมให้กับผู้เข้าร่วมประชุมทราบโดยทันที เป็นการช่วยลดขั้นตอนความยุ่งยากในการติดต่อให้กับผู้เชิญประชุม จึงเหมาะกับธุรกิจที่มีสาขาหรือสำนักงานตามภูมิภาค หรือมีพนักงานที่ทำงานลงพื้นที่ต่างๆ เช่น ตัวแทนจำหน่ายตามภูมิภาค, ตัวแทนประกัน, พนักงานขายบัตรเครดิต เพื่อใช้อัพเดทข้อมูลโปรโมชั่นให้แก่พนักงาน รวมถึงกรณีเกิดภัยพิบัติ เป็นต้น โดยผู้ที่สนใจสมัครใช้บริการและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ AIS Corporate Call Center 1149

View :1080
Categories: Press/Release Tags: