Archive

Archive for the ‘กระทรวงไอซีที’ Category

ก.ไอซีที ระดมสมองภาครัฐ – เอกชน แปลงกรอบนโยบาย ICT 2020 สู่แผนปฏิบัติการ

September 21st, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยเกี่ยวกับการประชุมชี้แจงและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระยะ พ.ศ. 2554 – 2563 ของประเทศไทย (ICT 2020) ว่า ประเทศไทยได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระดับมหภาค ซึ่งเป็นแนวนโยบายระยะยาว 10 ปี มาตามลำดับ โดยเริ่มจากกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับแรก เมื่อปี พ.ศ.2539 (IT 2000) และกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ.2544 – 2553 ของประเทศไทย (IT 2010)

“เมื่อระยะเวลาของกรอบนโยบาย IT 2010 ใกล้จะสิ้นสุดลง คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2550 ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) จัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. 2554 – 2563 ของประเทศ (ICT 2020) ขึ้น เพื่อให้นโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศมีความต่อเนื่อง และเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ได้ใช้ เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับแผนแม่บทด้าน ICT ของหน่วยงานให้มีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งสาระสำคัญของกรอบนโยบาย ICT 2020 ฉบับนี้ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ 7 ยุทธศาสตร์ โดยใช้ ICT เป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญในการนำพาคนไทยสู่ความรู้และปัญญา เศรษฐกิจไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน สังคมไทยสู่ความเสมอภาค และเพื่อพัฒนาประเทศไทยไปสู่ ในปี ค.ศ. 2020 หรือปี พ.ศ.2563” นางจีราวรรณ กล่าว

กรอบนโยบาย ICT 2020 ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในการประชุม เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554 โดยคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงฯ เป็นหน่วยงานหลัก ทำหน้าที่ในการกำกับดูแล บริหารจัดการตามกรอบนโยบาย ICT 2020 ให้เป็นวาระแห่งชาติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ รวมทั้งรับผิดชอบจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ฉบับที่ 3 และฉบับที่ 4 ซึ่งแต่ละฉบับจะครอบคลุมระยะเวลา 5 ปี ภายในช่วงระยะเวลาของกรอบนโยบาย ICT 2020 คือ ระหว่าง พ.ศ.2554 – 2563 โดยจะมีการประเมินผลเพื่อติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานเมื่อครบกำหนดครึ่งระยะเวลาของกรอบนโยบายฯ หรือในปี 2558

นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้ กระทรวง กรม และรัฐวิสาหกิจทุกหน่วยงาน ดำเนินการตามบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของหน่วยงาน ตามที่ระบุไว้ในกรอบนโยบาย ICT 2020 เพื่อให้การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศมีการ บูรณาการระหว่างหน่วยงาน รวมทั้งให้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสรรทรัพยากร ได้แก่ สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน นำกรอบนโยบาย ICT 2020 มาใช้เป็นแนวทางในการจัดสรรทรัพยากรทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ตลอดช่วงระยะเวลาของกรอบนโยบาย ICT 2020

“ดังนั้น เพื่อเป็นการชี้แจงและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และโทรคมนาคม ในระยะ 10 ปีให้มีความต่อเนื่องจากกรอบนโยบายเดิม รวมทั้งสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโลกได้ กระทรวงฯ จึงได้จัดการประชุมฯ ครั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนได้รับทราบและมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ให้บรรลุตามเป้าหมายของกรอบนโยบายฯ และปรับแผน ICT ของหน่วยงานให้สอดคล้องกับกรอบนโยบาย ICT 2020 รวมถึงรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเตรียมการแปลงกรอบนโยบาย ICT 2020 สู่การปฏิบัติในรูปของแผนปฏิบัติการ โดยจะมีการจัดทำแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 3 ของประเทศไทยต่อไป

และหลังจากการจัดประชุมฯ ในครั้งนี้แล้ว กระทรวงฯ จะได้จัดการประชุมสัมมนาเพื่อชี้แจงและเผยแพร่กรอบนโยบาย ICT 2020 ให้แก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในส่วนภูมิภาค อีก 4 ครั้ง ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระหว่างเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2554 นี้ด้วย” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1723

ก.ไอซีที ยกระดับการพัฒนา TH e-GIF เพื่อก้าวสู่ SMART e-Government Thailand

September 16th, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนา “ยกระดับการพัฒนา เพื่อก้าวสู่ ” ว่า กระทรวงฯ ได้ดำเนินโครงการพัฒนากรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (Thailand e-Government Interoperability Framework: TH e-GIF) เพื่อพัฒนาบริการภาครัฐและบูรณาการระบบข้อมูลภาครัฐ ให้มีประสิทธิภาพในการบริหารราชการเพิ่มขึ้น และยกระดับความสามารถในการให้บริการแก่ประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการพัฒนากรอบแนวทางในการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานตลอดมา จนปัจจุบันได้พัฒนามาถึงเวอร์ชั่น 2.0 ซึ่งกรอบแนวทางดังกล่าวได้เสนอแนะวิธีการพัฒนาระบบบูรณาการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไว้ 10 ขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การเตรียมการเบื้องต้น การกำหนดวิสัยทัศน์ การจัดทำสถาปัตยกรรมในด้านต่างๆ ไปจนถึงการกำกับดูแล และปรับปรุงมาตรฐาน ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะมีบุคลากรในแต่ละระดับที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันไปตามลักษณะการปฏิบัติงาน

“ในการดำเนินงานปีงบประมาณ 2553 ได้มีการสำรวจสถานภาพการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อกำหนดแผนการดำเนินงาน (Road Map) ในการจัดทำมาตรฐานการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งพบว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งดำเนินการผลักดันให้เกิดมาตรฐานข้อมูลร่วมเฉพาะกลุ่มธุรกรรม (Domain Specific Core Set) สำหรับกลุ่มผู้ใช้ข้อมูลร่วมกันในแต่ละด้าน เพื่อมุ่งสู่การสร้างมาตรฐานข้อมูลกลางของประเทศ (Universal Core Set) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ใช้ข้อมูลด้านการเกษตร ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ

นอกจากนั้น รัฐบาลและกระทรวงฯ ยังมีนโยบายที่ต้องการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรทั่วประเทศ ดังนั้น ในการดำเนินงานปีงบประมาณ 2554 กระทรวงฯ จึงได้ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ สำนักงานปลัดกระทรวงฯ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมประมง กรมปศุสัตว์ รวมไปถึงธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร และร่วมกันพัฒนามาตรฐานข้อมูลและกระบวนการเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อการบริหารจัดการการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ หรือ “Agriculture Disaster Relief Information System (Aggie DRIS)” ซึ่งการพัฒนาระบบดังกล่าวจะเป็นการ บูรณาการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ และบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรทั้งด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ และส่วนที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์การเกษตร ตามวิธีการที่ได้เสนอแนะไว้ในกรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ” นางจีราวรรณ กล่าว

และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ได้รับทราบผลการดำเนินงาน และมีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาระบบเชื่อมโยงแบบบูรณาการ ตามกรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติมากขึ้น รวมทั้งให้สามารถนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานตนเองได้ กระทรวงฯ จึงได้จัดการสัมมนาครั้งนี้ขึ้น เพื่อเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ได้เห็นถึงประโยชน์รวมถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จของการจัดทำมาตรฐานข้อมูลและกระบวนการเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ จากกรณีศึกษาของระบบมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อการบริหารจัดการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย (Aggie DRIS) ที่เกิดขึ้นแล้วอย่างเป็นรูปธรรม

“ในงานสัมมนาดังกล่าว จะมีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ “ข้อเสนอด้านกลไกความร่วมมือเพื่อผลักดันการจัดทำมาตรฐาน และพัฒนาระบบเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมของประเทศ” รวมทั้ง “ระบบทะเบียนกลางเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ และบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ” ให้แก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ และประชาชนผู้สนใจ จำนวนประมาณ 300 คนได้รับทราบ ซึ่งกลไกดังกล่าวจะเป็นข้อเสนอสำคัญในการผลักดันความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐในวงกว้างมากขึ้น รวมทั้งเพื่อพัฒนามาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ และส่งเสริมการพัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในระดับที่ก้าวหน้าขึ้นของประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลด้าน SMART e-Government Thailand ด้วย” นางจีราวรรณ กล่าว

นอกจากนี้ในการดำเนินงานปี 2554 กระทรวงฯ ยังจะทำมีการผลักดัน และสนับสนุนการจัดตั้งคณะกรรมการมาตรฐานการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานด้านมาตรฐานการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ตลอดจนแก้ไขปัญหา และอุปสรรค พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันของหน่วยงานภาครัฐที่จะทำให้เกิดการบูรณาการข้อมูลในระดับประเทศต่อไป

View :1430

รมว.น.อ.อนุดิษฐ์ฯ แถลงข่าวรับมือภัยพิบัติ [12 ก.ย.]

September 13th, 2011 No comments

ก.ไอซีที จับมือภาคเอกชนสร้างนักพัฒนาโปรแกรมมืออาชีพรองรับประชาคมอาเซียน

September 9th, 2011 No comments

นาวาอากาศเอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยในการแถลงข่าวเปิดโครงการสร้างนักพัฒนาโปรแกรมมืออาชีพ ว่า จากนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินที่รัฐบาลจะดำเนินการนั้น ได้มุ่งหมายที่จะนำประเทศไทยก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2558 โดยการสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง และความมั่นคง

กระทรวงไอซีที จึงได้ผลักดันการดำเนินงานตามนโยบายนี้อย่างเร่งด่วน ซึ่งพันธกิจหนึ่งของกระทรวงฯ ก็คือ การส่งเสริมให้ประเทศไทยมีบทบาทในภูมิภาคอาเซียนด้วยการเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตลอดจนการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมไอซีทีของประเทศไทย แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก การพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของบุคลากรด้านไอทีของประเทศให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ เทคโนโลยีของโปรแกรมบนอุปกรณ์พกพา เป็นต้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันถ่ายทอดความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรของประเทศ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับบุคลากรของประเทศอื่นๆ ได้

“จากการสำรวจมูลค่าตลาดไอซีทีปี 2553 ของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พบว่า มีมูลค่ากว่า 607,385 ล้านบาท ซึ่งเฉพาะตลาดคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์นั้นมีมูลค่าเพียง 11.91% ของมูลค่าตลาดรวมหรือ 72,400 ล้านบาท จากตัวเลขดังกล่าวจะเห็นว่า ศักยภาพของบุคลากรไอซีทีไทยในการที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการนั้นยังมีอยู่มาก และพร้อมที่จะพัฒนาให้มากขึ้นไปอีกได้ ดังนั้น การพัฒนาทักษะระดับสูงของบุคลากรไอซีทีไทย ให้มีความเชี่ยวชาญในการสร้างแอพพลิเคชั่น โดยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการผลิต เพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน และตอบสนองความต้องการกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด จึงเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่กระทรวงฯ จะดำเนินการในรูปแบบ Public-Private Participation หรือ PPP ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว ก็คือ ต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างกระทรวงไอซีที และภาคเอกชนที่มีขีดความสามารถในการพัฒนาบุคลากรด้านไอซีที” น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว

กระทรวงไอซีที จึงได้ร่วมมือกับ สถาบันพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สาขาซอฟต์แวร์ โดยมหาวิทยาลัยศรีปทุม , อุทยานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทย (TCEP) และบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินโครงการสร้างนักพัฒนาโปรแกรมมืออาชีพ หรือ CAS Code Camp เพื่อพัฒนาบุคคลากรด้านซอฟต์แวร์ให้มีความเชี่ยวชาญด้านโปรแกรมบนอุปกรณ์มือถือ และสามารถใช้แนวคิดสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรมซอฟต์แวร์ใหม่ๆ โดยการจัดฝึกอบรม 6 หลักสูตร คือ หลักสูตรนักพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์พกพา iPhone / iPad หลักสูตรนักพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์พกพา Android หลักสูตรนักพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์พกพา Microsoft Phone หลักสูตรนักพัฒนาโปรแกรม Game ด้วย Microsoft XNA หลักสูตรนักพัฒนาโปรแกรมระดับองค์กรด้วย Microsoft Visual Studio และหลักสูตรนักพัฒนาโปรแกรม Microsoft Share Point

“โครงการ CAS Code Camp นี้ จะเปิดฝึกอบรมพัฒนาทักษะความรู้ให้กับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ จำนวน 6,000 คน ซึ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่ผ่านหลักสูตรนี้จะได้รับประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานวิชาชีพจากกระทรวงไอซีที บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และสถาบันพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สาขาซอฟต์แวร์ โดยมหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งความรู้ที่ได้รับนี้จะสามารถใช้เป็นบันไดก้าวหนึ่งที่จะต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ประกอบการ SME ที่มีศักยภาพได้ และกระทรวงไอซีที คาดหวังว่า โครงการฯ นี้จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถของบุคคลากรด้านไอซีทีในประเทศไทยได้ตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งหวังให้การพัฒนาบุคลากรไอซีที เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศไปสู่อนาคต” น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว

View :1697

ก.ไอซีที ระดมความคิดเห็นสร้างบริการภาครัฐยุคใหม่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

September 9th, 2011 No comments

นาวาอากาศเอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา หัวข้อ “ทางเลือกรูปแบบธุรกิจโทรคมนาคม” ว่า เป็นโครงการที่มีเป้าหมายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเร่งรัดการขยายและยกระดับโครงข่ายสื่อสารความเร็วสูงให้ครอบคลุมและเพียงพอต่อการใช้บริการ และให้บริการด้วยคุณภาพที่เป็นมาตรฐาน ส่งเสริมการแข่งขันที่เท่าเทียมและเป็นธรรม รวมทั้งประชาชนสามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยราคาที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมแห่งความรู้ ภูมิปัญญา นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างสังคมเมืองและชนบท สนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสาร ยกระดับคุณภาพการศึกษาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศ ตลอดจนลดการลงทุน ที่ซ้ำซ้อนและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

เพื่อให้การดำเนินโครงการ SMART THAILAND บรรลุเป้าหมายที่ต้องการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมประชากรร้อยละ 80 ใน ปี พ.ศ. 2558 และให้ครอบคลุมประชากรร้อยละ 95 ในปี พ.ศ.2563 ด้วยอัตราค่าบริการที่เหมาะสม และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคมภาคเอกชนสามารถใช้โครงข่ายร่วมกันอย่างเต็มประสิทธิภาพและเป็นธรรม รวมทั้งภาครัฐดำเนินการลงทุนโครงข่ายในส่วนที่ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนและจัดหาบริการภาครัฐเพื่อให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง จึงจำเป็นต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อนนโยบาย SMART THAILAND ให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

“ในหลายๆ ประเทศ เช่น ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย หรือ ออสเตรเลีย ที่ให้ความสำคัญการพัฒนาโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และได้มีการผลักดันนโยบายบรอดแบนด์เป็นวาระแห่งชาติเช่นเดียวกับประเทศไทย ก็ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานในลักษณะดังกล่าวขึ้น โดยเรียกว่า National Broadband Network Company หรือ NBNCo ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้จัดการประชุมสัมมนา Smart Thailand หัวข้อ “ทางเลือกรูปแบบธุรกิจโทรคมนาคม” ครั้งนี้ขึ้น เพื่อนำเสนอทางเลือกในการจัดตั้งและรูปแบบการดำเนินงานของหน่วยงานที่มีหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบาย SMART THAILAND ในด้านการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาจัดทำแผนแม่บทของการพัฒนาโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ให้บรรลุเป้าหมายในการที่จะให้ประเทศไทยเป็น SMART THAILAND” น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว

การสัมมนาฯ ครั้งนี้ ได้มีการเชิญผู้บริหาร นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ จากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เข้าร่วมในการสัมมนากว่า 100 คน เพื่อรับทราบถึงแนวทางในการพัฒนาโครงข่ายและจัดตั้งหน่วยงานที่ดูแลโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในต่างประเทศ โดยกระทรวงฯ จะมีการนำเสนอแนวทางในการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของประเทศไทย และทางเลือกในการจัดตั้งหน่วยงานที่จะขึ้นมาดูแลโครงข่ายฯ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อแนวทางในการดำเนินโครงการฯ พร้อมกันนี้ ยังเปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็นและร่วมอภิปรายแนวคิดดังกล่าว เพื่อนำไปพัฒนาแผนแม่บทในการพัฒนาโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของประเทศไทยด้วย

“ในการดำเนินโครงการ SMART THAILAND นี้ กระทรวงฯ ได้มุ่งเน้นไปที่การขยายโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงไปให้ถึงในทุกตำบลของประเทศไทยที่ปัจจุบันยังไม่มีโครงข่ายเข้าถึง เพื่อให้ชุมชน ภาคธุรกิจ และหน่วยงานราชการสามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้อย่างทั่วถึง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนั้นจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่เป็นเจ้าของโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หน่วยงานภาครัฐที่เป็นผู้ใช้งาน และองค์กรภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายและการกำกับดูแล จึงจะสามารถทำให้โครงการฯ นี้ ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ได้” น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว

View :1567

ก.ไอซีที จับมือภาคเอกชนส่งเสริมเทคโนโลยี Cloud Computing

September 5th, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงวิชาการ หัวข้อ “Digital Economy and Scorecard” ว่า ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจในโลกยุคดิจิทัล ได้ทำให้รัฐบาลของแต่ละประเทศรวมถึงประเทศไทยตื่นตัว และเตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้าน เพื่อใช้ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีมาสนับสนุนและเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยในเวทีโลกยุคดิจิทัล

โดยเทคโนโลยี Cloud Computing จัดเป็นความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่กระทรวงฯ ได้ให้ความสำคัญในระยะเวลาที่ผ่านมา และได้วางแผน ส่งเสริม สนับสนุน รวมทั้งประสานงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ความพร้อมในเรื่องบุคลากร ตลอดจนความพร้อมในเรื่องนโยบายและกฎหมาย โดยกระทรวงฯ ได้ร่วมกับกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) จัดงานสัมมนา “Digital Economy and Cloud Computing Scorecard” สำหรับผู้บริหารระดับสูง และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขึ้น เพื่อนำเสนอผลการศึกษาเปรียบเทียบเรื่องกรอบนโยบายและกฎหมายของประเทศในกลุ่มเอเชียและแปซิฟิกทั้งหมด 14 ประเทศ ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วยการใช้เทคโนโลยี Cloud Computing ความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล โดยจะประเมินความพร้อมของกรอบนโยบายและกฎหมายของประเทศต่างๆ เหล่านี้ภายใต้สิ่งแวดล้อมใหม่ ที่เรียกว่า เศรษฐกิจในโลกยุคดิจิทัล

“งานสัมมนาครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดตัวผลการศึกษาสิ่งแวดล้อมทางด้านนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล (Digital Economy) ของ 14 ประเทศในกลุ่มเอเชีย-แปซิฟิกขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อให้ผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งนักกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้าร่วมสัมมนาได้รับทราบ โดยผลการศึกษานี้เน้นในเรื่องความพร้อมสำหรับการรองรับเทคโนโลยี Cloud Computing รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคนจะสามารถนำกลับไปพิจารณาให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากรอบนโยบายและกฎหมายในส่วนงานได้

เพราะแม้ว่าประเทศไทยจะมีจุดแข็งอย่างชัดเจนในกรอบนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Cloud Computing แต่ก็ยังจำเป็นต้องพิจารณาโอกาสที่จะพัฒนากรอบนโยบายและกฎหมายที่มีอยู่ เพื่อให้ประเทศไทยได้ชื่อว่ามีความพร้อมที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิค และให้ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี Cloud Computing ” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1549

ก.ไอซีที จับมือภาคเอกชนส่งเสริมเทคโนโลยี Cloud Computing

September 5th, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงวิชาการ หัวข้อ “Digital Economy and Scorecard” ว่า ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจในโลกยุคดิจิทัล ได้ทำให้รัฐบาลของแต่ละประเทศรวมถึงประเทศไทยตื่นตัว และเตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้าน เพื่อใช้ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีมาสนับสนุนและเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยในเวทีโลกยุคดิจิทัล

โดยเทคโนโลยี Cloud Computing จัดเป็นความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่กระทรวงฯ ได้ให้ความสำคัญในระยะเวลาที่ผ่านมา และได้วางแผน ส่งเสริม สนับสนุน รวมทั้งประสานงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ความพร้อมในเรื่องบุคลากร ตลอดจนความพร้อมในเรื่องนโยบายและกฎหมาย โดยกระทรวงฯ ได้ร่วมกับกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) จัดงานสัมมนา “Digital Economy and Cloud Computing Scorecard” สำหรับผู้บริหารระดับสูง และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขึ้น เพื่อนำเสนอผลการศึกษาเปรียบเทียบเรื่องกรอบนโยบายและกฎหมายของประเทศในกลุ่มเอเชียและแปซิฟิกทั้งหมด 14 ประเทศ ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วยการใช้เทคโนโลยี Cloud Computing ความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล โดยจะประเมินความพร้อมของกรอบนโยบายและกฎหมายของประเทศต่างๆ เหล่านี้ภายใต้สิ่งแวดล้อมใหม่ ที่เรียกว่า เศรษฐกิจในโลกยุคดิจิทัล

“งานสัมมนาครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดตัวผลการศึกษาสิ่งแวดล้อมทางด้านนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล (Digital Economy) ของ 14 ประเทศในกลุ่มเอเชีย-แปซิฟิกขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อให้ผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งนักกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้าร่วมสัมมนาได้รับทราบ โดยผลการศึกษานี้เน้นในเรื่องความพร้อมสำหรับการรองรับเทคโนโลยี Cloud Computing รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคนจะสามารถนำกลับไปพิจารณาให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากรอบนโยบายและกฎหมายในส่วนงานได้

เพราะแม้ว่าประเทศไทยจะมีจุดแข็งอย่างชัดเจนในกรอบนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Cloud Computing แต่ก็ยังจำเป็นต้องพิจารณาโอกาสที่จะพัฒนากรอบนโยบายและกฎหมายที่มีอยู่ เพื่อให้ประเทศไทยได้ชื่อว่ามีความพร้อมที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิค และให้ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี Cloud Computing ” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1613

ก.ไอซีที ระดมความคิดเห็นสร้างบริการภาครัฐยุคใหม่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

September 5th, 2011 No comments

นาวาอากาศเอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา หัวข้อ “บริการภาครัฐยุคใหม่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง” ว่า การพัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลให้ความสำคัญเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยได้เร่งรัดพัฒนาโครงข่ายสื่อสารความเร็วสูงให้ครอบคลุม ทั่วถึง เพียงพอ มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม และการแข่งขันที่เป็นธรรม ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมแห่งความรู้ ภูมิปัญญา นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างสังคมเมืองและชนบท ช่วยสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ยกระดับคุณภาพการศึกษา เสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ตลอดจนส่งเสริมการลดใช้พลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

การดำเนินงานส่วนหนึ่งที่จะช่วยผลักดันการพัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ประสบความสำเร็จ คือ การสนับสนุนให้มีบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนเกิดความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างแพร่หลาย ดังนั้น จึงควรมีการผลักดันและจูงใจให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินงานให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ แก่ประชาชน โดยบริการอิเล็กทรอนิกส์หลักๆ ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก คือ บริการ e-Government เช่น การทำบัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ ทะเบียนราษฎร์อิเล็กทรอนิกส์ บริการ e-Education คือ การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงรูปแบบต่างๆ บริการ e-Health คือ การบริการสาธารณสุขอิเล็กทรอนิกส์ และบริการ e-Agriculture คือ การบริการอิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร ซึ่งการผลักดันบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เหล่านี้ ยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวม ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมถึงการประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางเข้ารับบริการต่างๆ ของประชาชนอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ของประเทศไทยในปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาโครงการ ขณะที่ในบางประเทศ ได้มีการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ จนประสบความสำเร็จและมีการดำเนินงานอย่างแพร่หลายแล้ว ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาบริการอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศ เช่น การบริการอิเล็กทรอนิกส์ด้านสาธารณสุขในประเทศอินเดีย หรือแถบประเทศยุโรป มาประกอบการศึกษาเพื่อพัฒนาโครงการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้การวางกรอบแผนการดำเนินการบริการภาครัฐบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสัมฤทธิ์ผล กระทรวงฯ จึงได้จัดการประชุมสัมมนา Smart Thailand ขึ้น เพื่อนำเสนอข้อมูลในการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งนำเสนอแนวคิดในการพัฒนาโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการภาครัฐทั้ง 4 ด้าน ตลอดจนเปิดรับฟังความคิดเห็นและร่วมอภิปรายแนวคิดดังกล่าว เพื่อการพัฒนาโครงข่ายและบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้เกิดผลสำเร็จและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ

“ประเทศไทยมีความสามารถและศักยภาพในการพัฒนาระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และระบบการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐที่ไม่แพ้ประเทศอื่น ซึ่งโครงข่ายความเร็วสูงนี้จะช่วยสนับสนุนนโยบายด้านอื่นของรัฐบาล เช่น นโยบายการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน การสร้างสันติสุขและความปลอดภัยให้กับประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สามารถใช้โครงข่ายในการให้บริการด้านสาธารณสุขทางไกล รวมทั้งนโยบายการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน กระทรวงฯ จึงหวังว่าการสัมมนาในครั้งนี้จะช่วยให้มีการร่วมกันให้ข้อมูล และร่วมกันแลกเปลี่ยนมุมมองที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยผลักดันให้การดำเนินโครงการนี้ประสบผลสำเร็จ และก่อประโยชน์สูงสุดให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่สามารถเข้าถึงข้อมูล และบริการต่างๆ ของภาครัฐ เพื่อพัฒนาความรู้ สร้างรายได้และอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยต่อไป” น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว

View :1497

ก.ไอซีที ระดมความคิดเห็นวางนโยบายรัฐเพื่อบริหารดาวเทียมสื่อสารในประเทศ

September 3rd, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาเรื่อง “นโยบายของรัฐในการบริหารกิจการดาวเทียมสื่อสารในประเทศ” ว่า ปัจจุบันนานาประเทศได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนากิจการอวกาศและถือเป็นนโยบายระดับชาติที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อลงทุนและพัฒนากิจกรรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยหลักที่สำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนกิจการอวกาศของประเทศ ก็คือ ประเด็นด้านความมั่นคงของรัฐ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ซึ่งหลายประเทศได้ใช้กิจการอวกาศเป็นเครื่องมือในการสะสมองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำไปสู่ความเป็นผู้นำด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจในระยะยาว ตลอดจนเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและพัฒนาคุณภาพชีวิต

ดังนั้น กระทรวงไอซีที ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจในการกำหนดกรอบและแนวทางการพัฒนากิจการอวกาศของประเทศ จึงต้องมีการกำหนดกรอบนโยบายการพัฒนากิจการอวกาศของประเทศที่ชัดเจน เพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานและผลักดันไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ลดความซ้ำซ้อนของการลงทุน ตลอดจนวางรากฐานการพัฒนาด้านเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทยให้มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีอวกาศและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ

และเพื่อให้การผลักดันภารกิจตามนโยบายของรัฐบาลเป็นไปด้วยความราบรื่นและมีประสิทธิภาพ กระทรวงฯ จึงต้องมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแนวทางการปฏิบัติงานที่สอดคล้อง รวมทั้งเพื่อพัฒนาแนวนโยบายสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการจัดสัมมนาเรื่อง “นโยบายของรัฐในการบริหารกิจการดาวเทียมสื่อสารในประเทศไทย” และเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญของหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านกิจการอวกาศ อาทิ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) มาร่วมให้ความรู้เชิงนโยบายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ตลอดจนเพื่อก่อให้เกิดเอกภาพในการประสานงานและพัฒนากิจการอวกาศของประเทศไทยในอนาคต

“การสัมมนาฯ นี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้และความเข้าใจในกรอบนโยบายของรัฐ ในการบริหารกิจการดาวเทียมสื่อสารในประเทศ และเสริมสร้างความเข้าใจในบทบาทการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานด้านกิจการอวกาศที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ ตลอดจนแลกเปลี่ยนแนวคิดทิศทางการพัฒนานโยบายอวกาศของประเทศในอนาคต นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนโอกาสและการลงทุนในกิจการดาวเทียมสื่อสารเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกด้วย” นางจีราวรรณ กล่าว

สำหรับรูปแบบของการสัมมนาฯ จะเป็นการบรรยาย และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในหัวข้อ กรอบนโยบายด้านการพัฒนากิจการดาวเทียมสื่อสารของประเทศ ข้อกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมและดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร ITU Policy and Regulations for Satellite Services และโอกาสในการลงทุนกิจการดาวเทียมสื่อสารในประเทศไทย เป็นต้น โดยกระทรวงฯ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้แทนระดับสูงจากหน่วยงาน องค์กรด้านกิจการอวกาศ และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวนประมาณ 100 คนเข้าร่วมการสัมมนาฯ

“กระทรวงฯ หวังว่าการสัมมนาครั้งนี้จะก่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในกรอบนโยบายของรัฐในการบริหารกิจการดาวเทียมสื่อสารในประเทศไทย และประเด็นข้อกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องทั้งในและระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมและเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนากิจการอวกาศของประเทศ และผลักดันนโยบายด้านกิจการอวกาศของประเทศให้เป็นรูปธรรม และก่อให้เกิดเอกภาพในการประสานงานและพัฒนากิจการอวกาศของประเทศไทยในอนาคตต่อไป” นางจีราวรรณ กล่าว

Huawei

View :1450

ก.ไอซีที เดินหน้าแผนแม่บทฯ เพื่อบรรลุเป้าหมาย 80% ของประชาชนเข้าถึงบรอดแบนด์ในปี 2558

August 31st, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยถึง ความคืบหน้าโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติ ว่า กระทรวงไอซีที ได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดทำแผนแม่บทบรอดแบนด์แห่งชาติ ทั้งด้าน Supply Side ซึ่งเป็นแผนการลงทุนกระจายโครงข่ายสื่อสารผ่านบรอดแบนด์ไปทั่วประเทศตามเป้าหมายที่ต้องการให้เข้าถึงประชาชนร้อยละ 80 ภายในปี 2558 และแผนแม่บทด้าน Demand Side ซึ่งเป็นแผนการใช้งานโครงข่ายบรอดแบนด์โดยภาครัฐเพื่อยกระดับการให้บริการประชาชน และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในภาครัฐเอง

โดยแผนแม่บทด้าน Supply Side นั้นจะประกอบด้วยแผนการลงทุนจัดหาโครงข่ายบรอดแบนด์ให้เข้าถึงประชาชนตามเป้าหมายโครงการ และแผนการจัดตั้งหน่วยงานบรอดแบนด์แห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่จัดหา และบริหารโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ โดยที่ผ่านมากระทรวงฯ ได้ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง บมจ.ทีโอที บมจ.กสท โทรคมนาคม ผู้ประกอบการภาคเอกชน และ กสทช. ในการรวบรวมข้อมูล และความคิดเห็นเพื่อจัดทำแผนแม่บทที่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ซึ่งกระทรวงฯ ได้กำหนดให้มีการจัดสัมมนาเพื่อระดมความเห็น ในวันที่ 9 กันยายน 2554 นี้ โดยเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาร่วมแสดงความคิดเห็น รวมถึงได้เรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญ ทั้งไทยและต่างประเทศมาร่วมอภิปรายรูปแบบโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติในต่างประเทศ และการประยุกต์ใช้กับประเทศไทย เพื่อนำผล ที่ได้จากการสัมมนามาประกอบการทำแผนแม่บทฯ ต่อไป

ส่วนแผนแม่บทด้าน Demand Side จะประกอบด้วยแผนการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ด้านต่างๆ แก่ประชาชน โดยมุ่งเน้นบริการหลักๆ ที่ให้กับประชาชนโดยรวมของประเทศ ใน 4 ด้าน ได้แก่ e-Education, e-Agriculture, e-Government และ e-Health ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงไอซีที ได้ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข รวบรวมข้อมูลและความคิดเห็นเพื่อจัดทำแผนแม่บทฯ ให้มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ โดยกระทรวงฯ จะมีการจัดสัมมนาเพื่อระดมความเห็นสำหรับการจัดทำแผนแม่บทด้าน Demand Side นี้ในวันที่ 5 กันยายน 2554 และนำผลที่ได้จากการสัมมนามาประกอบการทำแผนแม่บทฯ ด้วยเช่นเดียวกัน

“กระทรวงฯ คาดว่าจะสามารถจัดทำแผนแม่บทฯ แล้วเสร็จประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ และจะได้นำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ สำหรับใช้เป็นกรอบการลงทุนและดำเนินการโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติต่อไป โดยคาดว่าโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนนับหมื่นล้านบาทในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ซึ่งโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติ ถือเป็นโครงการสำคัญลำดับต้นๆ ที่ น.อ. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้ความสนใจและเร่งผลักดันให้เริ่มดำเนินการภายในปีงบประมาณ 2555 ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้งานแก่ประชาชนและภาคธุรกิจอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ซึ่งจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ช่วยลดค่าบริการ รวมทั้งลดช่องว่างในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและบริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐสำหรับประชาชนผู้ด้อยโอกาส ซึ่งโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาตินี้ นับเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่จะผลักดันให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันกับตลาดนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1654