Archive

Archive for the ‘Technology’ Category

Ericsson Connected Vehicle Cloud ได้รับชัยชนะในการประกาศรางวัลของ CTIA E-Tech

September 4th, 2013 No comments

· โซลูชั่น Connected Vehicle Cloud ของอีริคสันได้รับรางวัลชนะเลิศ สาขา Enterprise Solution – General Business

· การแข่งขันในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมส่งผลงานเกือบ 300 ชิ้น โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนทั้งในด้านความแปลกใหม่ ความสามารถในการใช้งาน ความสำคัญทางเทคโนโลยี การนำไปใช้งานได้จริง และ ความรู้สึก ‘ว้าว’โดยรวม

· โซลูชั่นด้านการขนส่งและยานยนต์นี้ จะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจที่ดีสำหรับผู้ประกอบการในตลาดยานยนต์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถเข้าถึงผู้ขับขี่และผู้โดยสารได้ผ่านแนวทางใหม่

อีริคสันได้รับเลือกให้เป็นผู้ชนะในการแข่งขัน 2013 CTIA Emerging Technology (E-Tech) Awards ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับนวัตกรรมใหม่ล่าสุดทางการสื่อสารไร้สายที่โดดเด่น ทั้งสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น mobile apps, ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้บริโภค, ตลาดองค์กรและ vertical markets รวมทั้งเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โซลูชั่น Connected Vehicle Cloud ของอีริคสัน ได้รับรางวัลชนะเลิศในสาขา Enterprise Solution – General Business โดยผ่านเกณฑ์การให้คะแนนทั้งในด้านความแปลกใหม่ ความสามารถในการใช้งาน ความสำคัญทางเทคโนโลยี การนำไปใช้งานได้จริง และ ความรู้สึก ‘ว้าว’ โดยรวม

“เกณฑ์การตัดสินในปีนี้ เน้นไปที่ผลกระทบและแรงบันดาลใจที่ได้จากอุตสาหกรรมการสื่อสารไร้สาย ที่มีต่ออุตสาหกรรมประเภทอื่น และต่อวิถีชีวิตประจำวันโดยทั่วไป เรามีความยินดีที่ได้แสดงวิสัยทัศน์และการประดิษฐ์คิดค้นใหม่ๆจากอุตสาหกรรมของเรา ในงาน CTIA 2013 ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือสำหรับตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ เราขอแสดงความยินดีกับอีริคสันที่ได้รับรางวัล E-Tech Award สำหรับโซลูชั่น Connected Vehicle Cloud ในครั้งนี้” คุณโรเบิร์ต เมสิโร รองประธาน และ Show Director ของ CTIA กล่าว

Connected Vehicle Cloud ของอีริคสันได้เปิดโอกาสสำคัญ ทั้งสำหรับผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมยานยนต์และเทคโนโลยีด้านอื่นๆ ให้สามารถเข้าถึงผู้ขับขี่และผู้โดยสารได้ ผ่านแนวทางใหม่ จากการใช้งานผ่าน Ericsson Service Enablement Platform โซลูชั่นนี้จะสามารถเชื่อมต่อสู่กลุ่มผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น, องค์กรของรัฐ, ผู้ผลิตรถยนต์, และกลุ่มผู้บริโภคได้ โดยตั้งเป้าหมายที่จะรองรับความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งในด้านการปรับเปลี่ยนขนาดของระบบ, ความปลอดภัย และความยืดหยุ่นให้เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก ส่งผลให้เกิดประสบการณ์ในการขับขี่ยุคใหม่และโอกาสทางธุรกิจจำนวนมากสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมยานยนต์

“อุตสาหกรรมยานยนต์ได้กลายเป็นธุรกิจระดับโลกมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ และการสร้างการเชื่อมต่อระหว่างยานยนต์ จำเป็นต้องใช้โมเดลทางธุรกิจใหม่ที่เหมาะสม เพื่อสร้างผลกำไรที่ดีและช่วยพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ภายในอุตสาหกรรมนี้ให้โดดเด่นยิ่งขึ้น รวมทั้งเชื่อมต่อรถยนต์เหล่านี้เข้ากับอุตสาหกรรมอื่นที่มีการเชื่อมโยงในลักษณะเดียวกันได้ต่อไป” กล่าวโดย คุณเพอร์ บอร์กคลินท์ ประธานอาวุโสและหัวหน้าฝ่าย Business Support Solutions ของอีริคสัน “โซลูชั่น Connected Vehicle Cloud ถูกสร้างขึ้นบนความสามารถของเครือข่ายโทรคมนาคมที่ก้าวหน้า จึงทำให้เกิดการพัฒนาอย่างมากเพื่อประสบการณ์การขับขี่ยุคใหม่ เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูงที่นวัตกรรมของเราได้รับการยอมรับถึงศักยภาพที่จะช่วยพัฒนาตลาด ‘connected car’ ให้ประสบความสำเร็จได้ยิ่งขึ้นไป”

นวัตกรรมจำนวนเกือบ 300 ผลงานได้เข้าร่วมแข่งขัน และมีการคัดเลือกโดยคณะกรรมการของ CTIA E-Tech ที่ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญระดับสูงอันเป็นที่นับถือ ผู้สื่อข่าว และนักวิเคราะห์ การประกาศผลรายนามผู้ชนะในสาขาต่างๆ ได้จัดขึ้นในระหว่างงาน CTIA Conference ที่ Sands Expo & Convention Center ณ เมืองลาสเวกัส

ข้อมูลเพิ่มเติมของ Ericsson Vehicle Cloud solution และ Ericsson Operations Support and Business Support Solutions สามารถดาว์โหลดได้ที่

http://www.ericsson.com/ourportfolio/transport-and-automotive-industry/connected-vehicle-cloud

View :1797

เอชพี ผู้นำไอทียุคใหม่

August 24th, 2013 No comments

20130823.101502

กรุงเทพฯ, 23 สิงหาคม 2556 – ผู้นำด้านไอทีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุมตั้งแต่ระบบโครงสร้างพื้นฐาน ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ บริการ และโซลูชั่น สำหรับลูกค้ารายบุคคล และลูกค้าองค์กรธุรกิจทุกขนาด ที่สร้างสรรค์นวัตกรรมและพอร์ทโฟลิโอผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับธุรกิจต่างๆ ส่งผลให้เอชพีสามารถช่วยให้ลูกค้าองค์กรต่างๆ จัดการและได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยี เพื่อยกระดับสู่ “” (New Style of IT)

ในปัจจุบัน ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปสู่ “ไอทียุคใหม่” ทำให้หลายองค์กรอาจตกขบวนไปได้หากไม่สามารถปรับตัวได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ เอชพีได้ทุ่มเทความคิดและเวลาอันยาวนานในการวิเคราะห์ตลาดและหน่วยธุรกิจต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจที่ชัดเจนและแม่นยำ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ไอทียุคใหม่” ได้แก่ การเปลี่ยนรูปแบบไปสู่ระบบไอทีที่เชื่อมโยงการทำงานสำหรับผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เกือบจะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อย่างไรก็ตาม ในทุกๆ ยุคสมัยจะต้องมีธุรกิจที่เข้ามาเปลี่ยนโครงสร้างของสังคม ซึ่งตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมานั้น ไอทีนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรม ซึ่งไม่ได้มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางธุรกิจ และการทำงานของแต่ละคนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงวิธีการสื่อสารและการทำงานร่วมกันของผู้คนอีกด้วย

สำหรับลูกค้าของเอชพีนั้น ไอทียุคใหม่ ประกอบด้วย ความสะดวกง่ายดาย ความคล่องตัวยิ่งขึ้น ความรวดเร็ว รวมถึงต้นทุนที่ต่ำลง นอกจากนี้ ยังขับเคลื่อนด้วยเทรนด์ต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ได้แก่ เทคโนโลยีคลาวด์ ระบบความปลอดภัย โมบิลิตี้ และข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ บิ๊กดาต้า ซึ่งเทรนด์เหล่านี้ก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจแต่ขณะเดียวกันก็มาพร้อมกับความท้าทายอีกมากมาย ลูกค้าต่างต้องการความช่วยเหลือจากผู้ให้คำแนะนำที่เชื่อถือได้ในการกำหนดทิศทางของโลกยุคใหม่อย่างชาญฉลาด นอกจากนี้ ยังต้องการโซลูชั่นแบบครบวงจร เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาทางธุรกิจที่ยุ่งยาก

เอชพี มุ่งมั่นที่จะช่วยลูกค้าจัดการกับความท้าทาย และโอกาสต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน โดยมีความพร้อมที่จะนำเสนอโซลูชั่นสำหรับไอทียุคใหม่ตามที่ลูกค้าต้องการ ทั้งคุณสมบัติด้านความเชี่ยวชาญไอที และระบบเปิด ตลอดจนพันธมิตรชั้นนำต่างๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ครบวงจรทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ และบริการ

ไอทียุคใหม่ ประกอบด้วย

· เทคโนโลยีคลาวด์ (Cloud): นำไปสู่โลกไฮบริดที่มีการผนวกรวมทั้งคลาวด์แบบส่วนตัว แบบที่มีการจัดการ และแบบสาธารณะ รวมถึงระบบไอทีแบบดั้งเดิม

· โมบิลิตี้ (Mobility): การทำงานแบบเคลื่อนที่ คือ กุญแจนำไปสู่ความสำเร็จของโมบายล์ คอมพิวติ้ง ซึ่งหมายถึงแพลทฟอร์มที่ครอบคลุมทุกระบบ ตั้งแต่อุปกรณ์ต่างๆ ไปจนถึงซอฟท์แวร์ หรือระบบสำหรับผู้บริโภคทั่วไปจนถึงระดับองค์กรธุรกิจ เป็นต้น

· ระบบความปลอดภัย (Security): จากการเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลของ การทำงานแบบเคลื่อนที่ และคลาวด์ ทำให้อุปกรณ์เชื่อมต่อ (access point) ทำงานแบบไม่มีที่สิ้นสุด และภัยคุกคามต่างๆ มีความซับซ้อน ทนทาน และคาดเดาได้ยากยิ่งขึ้น ระบบรักษาความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งจำเป็น

· บิ๊กดาต้า (Big Data): ความท้าทายที่แท้จริงของลูกค้าในการรับมือกับบิ๊กดาต้านั้น ไม่ใช่เพียงแค่ปริมาณข้อมูลแบบดั้งเดิมที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังรวมถึง การควบคุมปริมาณ ความเร็ว และความหลากหลายของข้อมูลอีกด้วย

View :1438

เดลล์เปิดตัวโซลูชั่นส์สตอเรจใหม่ช่วยเพิ่มศักยภาพ และประสิทธิภาพเพื่อรองรับ Data-Intensive Workloadsในงาน Dell Enterprise Forum Thailand 2013

August 23rd, 2013 No comments

IMG_4516-3-1

ในงาน Enterprise forum เดลล์เปิดตัวสตอเรจโซลูชั่นส์ใหม่ พร้อมเพิ่มความสามารถด้านการวิเคราะห์ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยภาคธุรกิจปรับปรุงประสิทธิภาพศักยภาพการทำงานของระบบไอที รวมทั้งสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลในเชิงลึก และลดค่าใช้จ่ายในภาพรวม

เนืองด้วยธุรกิจจำเป็นก้าวให้ทันการเติบโตของข้อมูลจำนวนมหาศาล หลายบริษัทได้หันมาหาระบบไอทีที่เพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการรองรับปริมาณงานที่มีเป็นจำนวนมากสำหรับองค์กรที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า และข้อมูลธุรกิจเพื่อความสามารถในการเข้าใจในเชิงลึกเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย ตามความเป็นจริง IDC คาดการณ์ว่าตลาดเทคโนโลยี Big Data จะมีอัตราเติบโตสะสมเฉลี่ยต่อปีเพิ่มขึ้น 31.7 เปอร์เซ็นต์พร้อมด้วยรายได้ที่เพิ่มขึ้นถึง 23.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2016 ทั้งนี้ โครงสร้างพื้นฐานสำหรับการใช้งาน Big Data ได้รับการคาดการณ์ว่าจะเติบโตด้วยอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในส่วนของการจัดเก็บข้อมูลคาดว่าน่าจะเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 53.4 เปอร์เซ็นต์

แพลตฟอร์ม Dell Optimizes Scalable Storage สร้างความสมดุลให้กับลูกค้าสำหรับแอพพลิเคชั่นที่ต้องการประสิทธิภาพในการทำงานสูงและการจัดการค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถจัดการการเติบโตของข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่มีความต้องการภาระการทำงานของการรับส่งข้อมูลสูง ระบบจัดเก็บข้อมูลของเดลล์รองรับทั้งการขยายตัวและรองรับแอพพลิเคชั่นที่มีความต้องการประสิทธิภาพสูงในโซลูชั่นเดียวกัน ในเจนเนอร์เรชั่นถัดไปของ Dell Compellent Storage Center 6.4 array software เหมาะสมกับภาระการทำงานที่มีการเรียกใช้ข้อมูลอย่างหนัก เดลล์ได้ปลดล็อกความเป็นไปได้ของระดับและความหนาแน่นโดยอัตโนมัติ ด้วยการนำเสนอ Compellent รุ่นใหม่:

• Dell Compellent Flash Optimized Solution นำเสนอโซลูชั่นการจัดเก็บข้อมูลตัวแรกในอุตสาหกรรมที่มาพร้อมความอัจฉริยะในการจัดวางข้อมูลข้ามรูปแบบของ Flash Technology หรือการผสมผสานไดร์ฟที่มีอยู่เดิม3 Flash Optimized Solution สามารถลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูลได้ถึง 75 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับโซลูชั่นอื่น และสนับสนุนประสิทธิภาพการทำงานสูงและรองรับภาระการทำงานที่มีการเรียกใช้ข้อมูลอย่างหนักด้วยคุณสมบัติในระดับองค์กรอย่างเต็มที่1

• Dell Compellent SC280 นำเสนอแร็คที่ดีที่สุดสำหรับโซลูชั่นการเก็บข้อมูลหลัก สามารถเพิ่มความจุได้สูงถึง 2.8 เท่า มากกว่าคู่แข่งขนาด 2U เดลล์ได้พัฒนานวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพที่เหมาะสมของโซลูชันเก็บข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้สูงถึง 3366 เทราไบต์ในแร็คขนาด 5Uและยังช่วยลดความต้องการพื้นที่จัดวาง

• Dell Fluid File System (FluidFS) v3 นำเสนอฟีเจอร์เก็บข้อมูลระดับองค์กร เพิ่มประสิทธิภาพได้ถึงหนึ่งในสามของผู้นำในตลาด4ช่วยให้ลูกค้ามีประสิทธิภาพที่ดีในการทำงานที่มีการเรียกใช้ข้อมูลอย่างหนัก จากการเปิดตัว Dell Compellent FS8600 เมื่อปีที่แล้ว FluidFS v3สนับสนุนได้ถึง 2 เพตาไบต์ในหนึ่งเนมสเปซ5 และนำเสนอแร็คที่ดีที่สุดท่ามกลางผู้ผลิตรายอื่นในระดับเดียวกัน โดยเป็นโซลูชันแรกในวงการด้วยการกำหนดนโยบาย ลดการเปลี่ยนแปลงข้อมูล การทำซ้ำ และบีบอัดข้อมูลที่ไม่ได้มีการใช้งานเป็นเวลานาน6

เดลล์ Hadoop เพิ่มความจุ สร้างความยืดหยุ่นให้กับลูกค้าที่ข้อมูลมีความเปลี่ยนแปลงในเชิงลึก

เดลล์รับฟังความต้องการจากลูกค้าเกี่ยวกับความท้าทายของข้อมูลขนาดใหญ่ คุณสมบัติที่ต้องการของโซลูชันซึ่งมีความยืดหยุ่นและมีตัวเลือกสำหรับข้อมูลของพวกเขา จากความต้องการนี้ เดลล์วางแผนที่จะขยายพื้นที่ความจุ Hadoop รวมไปถึง :

• สร้างความได้เปรียบให้ลูกค้าด้วย Intel’s Distribution of Apache Hadoop (IDH) เดลล์ได้ทดสอบโซลูชั่นบนพื้นฐาน IDH ของลูกค้า ซึ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพและความปลอดภัย และยังเสนอทางเลือกให้ลูกค้าสำหรับโซลูชั่นในการควบคุมข้อมูลขนาดใหญ่ Dell Crowbar รวมเอาการผสมผสานระหว่าง Hadoop และผสมผสานกับ IDH เมื่อเดลล์เปิดตัวโซลูชั่น IDH ในปีนี้

การให้บริการ

• Dell Compellent Storage Center 6.4, Flash Optimized Solution และ SC280 มีแผนที่จะเปิดให้บริการในไตรมาสสามของปี 2013

• Dell Fluid File System v3 มีแผนที่จะให้บริการในช่วงต้นของไตรมาสสี่ของปี 2013

View :1515
Categories: Technology Tags:

“JMART” เชื่อ Q3/56 ดีต่อ ทั้งปีรายได้-กำไรโต40% แจงเตรียมนำ JAS ASSET บ.ลูกเข้า mai ไตรมาส 3 ปีหน้า

August 19th, 2013 No comments

มั่นใจแนวโน้มผลงาน Q3/56 สุดแจ่ม จากการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งได้รับผลบวกจากเทคโนโลยี 3G ดันยอดขาย Smart phone และ Tablet เพิ่มขึ้น “อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา” แม่ทัพใหญ่บริษัทฯ มั่นใจ
ผลงานทั้งปีไม่ทำให้ผิดหวัง ตั้งเป้าหมายรายได้ – กำไรปีนี้โตไม่ต่ำกว่า 40% และเตรียมนำ JAS ASSET บริษัทลูกเข้าตลาด mai ไตรมาส 3 ปีหน้า เสริมทัพ JMART ให้แข็งแกร่งขึ้นมากในอนาคต ทั้งนี้ ผลงาน Q2/56 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 95.40 ลบ. จากงวดเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 68.91ลบ. คิดเป็นการปรับเพิ่มขึ้น 38.44 % แถมบอร์ดบริษัทฯใจดีจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้ผู้ถือหุ้นในอัตรา 0.31 บ./หุ้น กำหนดจ่ายวันที่ 6 ก.ย.นี้

นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน)

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท


นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART ดำเนินธุรกิจจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ ธุรกิจบริหารพื้นที่เช่า และธุรกิจติดตามหนี้สินและซื้อหนี้ ในนามบริษัท เจเอ็มที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงแนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 3/2556 คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมาและงวดเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากบริษัทฯ มีแผนที่จะขยายสาขาเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เร่งทำการตลาดและวางเป้าหมายที่จะเปลี่ยนระบบ 2G มาเป็น 3G ในปีนี้นั้น จะเป็นโอกาสสำคัญที่สนับสนุนให้บริษัทฯ มียอดขาย Smart phone และ Tablet เพิ่มขึ้นด้วย
นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมา บริษัทฯ เข้าไปเปิดสาขาในประเทศพม่าแล้ว 3 สาขา และมีเป้าหมายจะเปิดสาขาเพิ่มเป็น 20 สาขาภายในปีนี้ และ 90 สาขาภายใน 3 ปีข้างหน้า อีกทั้งตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นผู้นำในธุรกิจจำหน่าย
มือถือและอุปกรณ์สื่อสารที่ประเทศพม่าในอนาคต และถือเป็นการเตรียมพร้อมรับการเปิด AEC ในปี 2558 อีกด้วย
“บริษัทมีแผนจะขยายสาขาเพิ่มอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าหมายปีนี้จะเปิดสาขาในประเทศเพิ่มขึ้น จากปีก่อนที่มี 220 สาขา เป็น 250 – 255 สาขา ซึ่งลดลงจากที่คาดการณ์ว่าจะเปิด 280 สาขา เนื่องจากอัตราค่าเช่าพื้นที่อยู่ในระดับสูง ไม่คุ้มต่อการลงทุน โดยจากการมุ่งหน้าขยายสาขาเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทฯ จะสามารถเพิ่มยอดขายSmart phone และ Tablet ให้สูงขึ้นได้ อีกทั้ง มองว่าในช่วงครึ่งปีหลังเทคโนโลยี 3G จะเข้ามาอย่างชัดเจนกว่าครึ่งปีแรก หลังค่ายมือถือเร่งทำการตลาดอย่างเต็มที่ ซึ่งจะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้ยอดขายบริษัทฯ โดยเฉพาะ Smart phone เพิ่มขึ้นอย่างมาก และมั่นใจเป้าหมายรายได้-กำไรปีนี้ที่วางไว้เติบโตไม่ต่ำกว่า 40% จะเป็นไปตามนั้น ” นายอดิศักดิ์ กล่าว

สำหรับผลประกอบการประจำไตรมาส 2/2556 ของบริษัทฯ และบริษัทย่อย มีผลกำไรสุทธิอยู่ที่ 95.40 ล้านบาท เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 68.91ล้านบาท คิดเป็นการปรับเพิ่มขึ้น26.49 ล้านบาท หรือร้อยละ 38.44 โดยบริษัทฯ มีรายได้เพิ่มขึ้นจากรายได้การขายและบริการที่ 2,431.23 ล้านบาท เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 1,843.52 ล้านบาท คิดเป็นการปรับเพิ่มขึ้น 587.71 ล้านบาท หรือร้อยละ 31.88 เนื่องจากบริษัทฯ มีรายได้จากการขายสินค้าประเภท Smart phone และ Tablet เพิ่มขึ้น 582.04 ล้านบาท หรือร้อยละ 34.60 นอกจากนี้รายได้ยังเพิ่มขึ้นจากบริษัท เจเอเอส แอสเซ็ท จำกัด ซึ่งทำธุรกิจให้เช่าพื้นที่ โดยรายได้เพิ่มขึ้น 19.09 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตามรายได้จากการติดตามหนี้สินและบริการอื่นของบริษัทเจเอ็มที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT ลดลงราว 13.42 ล้านบาท เนื่องจากซื้อหนี้เข้ามาบริหารและปริมาณงานรับจ้างติดตามหนี้น้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับการซื้อในช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สำหรับผลการดำเนินงานโดยรวมของบริษัทฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผลให้บริษัทฯมีกำไรขั้นต้นอยู่ที่ 387.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 111.38 ล้านบาท หรือร้อยละ 41.65 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน

ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล สำหรับผลการดำเนินงานงวดหกเดือนแรก (สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2556) ในอัตรา 0.31 บาทต่อหุ้น โดยกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผลในวันที่ 27 สิงหาคม 2556 และกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 6 กันยายน 2556)

“ผลงานในไตรมาส 2/56 ที่ออกมาถือว่าน่าพอใจ บริษัทมีการเติบโตที่ดี มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 38% เนื่องจากตลาดมือถือ 3G ในช่วงที่ผ่านมาคึกคัก สนับสนุนให้บริษัทฯ มียอดขาย Smart phone และ Tabletเพิ่มขึ้นมาก ประกอบกับในช่วงก่อนหน้านี้ บริษัทฯ เดินหน้าขยายสาขาเพิ่มอย่างต่อเนื่องอีก ส่งผลให้บริษัทฯ มียอดขายเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน” นายอดิศักดิ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม บริษัท เจเอเอส แอสเซ็ท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูก JMART ดำเนินธุรกิจบริหารพื้นที่ค้าปลีก ศูนย์รวมจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในรูปแบบ IT Junction มีการเติบโตอย่างชัดเจนมาก โดยผลการดำเนินงานในไตรมาส 2/2556 มีรายได้อยู่ที่ 79 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนหน้านี้อยู่ที่ 60 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31.6%และมีแผน จะขยายสาขาในปีนี้เป็น 42 สาขา จากปีก่อนมี 35 สาขา ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่สนับสนุนผลงานบริษัทฯให้มีการเติบโตขึ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ วางแผนนำ JAS ASSET เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอในช่วงไตรมาส 3 ปีหน้า และเชื่อว่าจะเป็นอีกปัจจัยสำคัญสนับสนุนให้ JMART มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในอนาคต

View :1618

BOI, NSTDA และ TESA ร่วมกับ 6 สถาบันการศึกษา รุกหน้าพัฒนาบุคลากรทางด้าน Electronic Design

August 15th, 2013 No comments

Bหวังชูไทย เป็นอุตสาหกรรมฐานความรู้แห่งแรกของ AEC เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ และสร้างรายให้กับประเทศ

บีโอไอ สวทช. และทีซา ผนึกกำลังกับ 6 มหาวิทยาลัย 7 ห้องปฏิบัติการ ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ รุกหน้าพัฒนาบุคลากรทางด้านการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ หวังยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมฐานความรู้ (Knowledge Industry) เป็นแห่งแรกของ AEC เพื่อตอบสนองความต้องการ และสร้างมูลเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมของประเทศไทย ตลอดจนดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ มาร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมฐานความรู้เพิ่มมากขึ้น

o สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน : บีโอไอ (Thailand Board of Investment: )
o สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ: สวทช. (National Science and Technology Development Agency : )
o สมาคมสมองกลฝังตัวไทย (Thai Embedded Systems Association: )

“อุตสาหกรรมการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ () เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้ความรู้เป็นวัตถุดิบหลักในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ ทั้งยังเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่ทำให้เกิดการนำผลผลิตไปใช้ต่อยอดในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งล้วนแต่เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยอย่างสูงในปัจจุบัน และทั้งสามอุตสาหกรรมดังกล่าว ยังมีมูลค่ารวมทั้งโลกสูงกว่าหนึ่งแสนล้านเหรียญสหรัฐ การเจริญเติบโตของบริษัทออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยกำลังถูกจำกัด เนื่องจากบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้กลายเป็นสาขาที่ขาดแคลน และขาดการสนับสนุนผลักดันจากทุกภาคส่วนทำให้นักศึกษารุ่นใหม่ไม่สนใจที่จะศึกษาทางด้านนี้ หันไปเลือกทำงานทางด้านที่เป็นไปตามกระแส และยังขาดการสนับสนุนในแง่เครื่องมือ และอุปกรณ์ ทำให้ไม่สามารถผลิตบุคลากรทางด้านการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างต่อเนื่อง เป็นการทิ้งโอกาสที่จะทำให้ประเทศไทยเติบโตไปในทางธุรกิจฐานความรู้ไปอย่างน่าเสียดาย

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการสร้างทรัพยากรบุคลากรที่มีคุณภาพ และมีจำนวนเพียงพอต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมนี้ในประเทศไทย จึงได้มอบหมายให้สมาคมสมองกลฝังตัวไทย (Thai Embedded Systems Association: TESA) เป็นผู้บริหารโครงการพัฒนาบุคลากรทางด้านการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้ความสามารถในระดับที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการ โดยในเฟสที่ 1 เป็นโครงการนำร่อง ร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างห้องปฏิบัติการกับ 4 บริษัท ได้แก่ บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด บริษัท ดีไซน์ เกทเวย์ จำกัด บริษัท โตโยต้า ทูโช อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท ไทยเจอเทค จำกัด โดยสนับสนุนให้ ห้องปฏิบัติการ ของมหาวิทยาลัยภายใต้ความร่วมมือ 6 แห่ง 7 ห้องปฏิบัติการ ที่จะมีการลงนามความร่วมมือในวันนี้ ได้แก่
1. ห้องปฏิบัติการวิจัยระบบสมองกลฝังตัวและการออกแบบวงจรรวม (Embedded System and Integrated Circuits Design (ESID) Research Laboratory) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ห้องปฏิบัติการด้านการออกแบบวงจรรวมและระบบบูรณาการพลังงานต่ำ (Laboratory on Low-Power Integrated Circuits and Systems) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3. Pervasive Integrated Circuits And Systems on Chip Laboratory (PICASSO) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง
4. Embedded Systems Laboratory สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง
5. VLSI Design for Embedded System with Intelligence Laboratory (VDSI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
6. ห้องวิจัยระบบเครือข่ายสมองกลฝังตัวเพื่อความฉลาดแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Thammasat Embedded Networked System for Ambient Intelligence laboratory (TENSAI)
7. Ubiquitous Networked Embedded Systems Laboratory (UbiNES) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โดยแต่ละห้องปฏิบัติการ จะจัดอบรมเพิ่มเติม และจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับนิสิตนักศึกษา ได้หันหาสนใจ แสวงหาความรู้ และเพิ่มความสามารถทางด้านการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 2 กิจกรรมมุ่งเน้น สร้างแรงบันดาลใจ ปูความรู้พื้นฐาน ชั้นปีที่ 3 เน้นความรู้รอบด้านสามารถประมวลรวบรวมความรู้ได้ พร้อมไปร่วมฝึกงานทำโจทย์จริง และชั้นปีที่ 4 เน้นความเชี่ยวชาญ ความรู้เฉพาะด้านมากขึ้น และต่อยอดไปถึงการทำ โปรเจ็กต์จบร่วมกับบริษัท จากนั้นเมื่อใกล้จะเรียนจบ ก็จะมีการทำสัญญากับบริษัท แล้วเข้าไปฝึกอบรมเชิงทัศนคติ หรือ Boot Camp อีกด้วย” ผศ.อภิเนตร อูนากูล นายกสมาคมสมองกลฝังตัวไทย (TESA) กล่าว

พร้อมทั้งได้กล่าวเสริมต่อไปอีกว่า “ปัจจุบันมีบริษัทน้อยมากในประเทศไทยที่ใช้แนวทางของการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ และวงจรรวม (Electronic/IC Design) เป็นแนวทางหลักในการดำเนินธุรกิจ ทั้งๆ ที่ บริษัทสามารถทำรายได้มากกว่า 3-5 ล้านบาทต่อคน โดยที่รายได้เฉลี่ยต่อหัวยังคงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดทางด้านกำลังคน ทำให้บริษัททางด้านนี้ไม่สามารถขยายขนาดของธุรกิจขึ้นไปถึงระดับเกินหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐอย่างที่ไต้หวัน หรือเกาหลีใต้ทำได้ จำนวนวิศวกรออกแบบของบริษัทเหล่านี้ยังมีอยู่เพียงไม่เกินสามสิบคน และเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่า 10 คนต่อปี หากต้องการที่จะสร้างบริษัทออกแบบวงจรรวมที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก จำเป็นต้องเพิ่มกำลังคนให้ได้อย่างน้อย 30 คนต่อปี และภายใน 10 ปี บริษัทควรจะมีวิศวกรออกแบบอย่างน้อย 500 คน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการสร้างบุคลากรในภาคการศึกษาและห้องแล็บสำหรับการวิจัยพัฒนาทางด้านวงจรรวมไปพร้อมๆ กันอีกด้วย

แม้ประเทศไทยจะเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญของโลก แต่หากพิจารณาถึงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางด้านการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ และวงจรรวม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำของอิเล็กทรอนิกส์แล้ว จัดว่ามีสัดส่วนที่น้อยมาก ซึ่งทำให้มูลค่าเพิ่มที่ประเทศได้รับไม่สูงเท่าที่ควร อันเนื่องจากบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ และวงจรรวมมีไม่เพียงพอ แตกต่างจากประเทศไต้หวันหรือเกาหลีใต้ ซึ่งมีการสนับสนุนอุตสาหกรรมการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ และวงจรรวมอย่างชัดเจน จนประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลาเพียง 10 ปี การที่จะปรับฐานะของประเทศจากการเป็นผู้ใช้งานหรือรับจ้างผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มาเป็นผู้นำทางด้านการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ และวงจรรวม จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยศักยภาพของบุคลากร ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ และวงจรรวม ในการพัฒนาเป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบดังกล่าว ยังคงเป็นที่ต้องการอย่างมากในอุตสาหกรรมทางด้านยานยนต์ โทรคมนาคม และอิเล็กทรอนิกส์ ตามการเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาดยานยนต์ ตลาดโทรคมนาคม และตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก หากประเทศไทยสามารถปรับตัวและเร่งสร้างบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบวงจรรวม เพื่อตอบสนองตามความต้องการของตลาดโลกได้ทัน ย่อมสามารถนำมาซึ่งผลประโยชน์มหาศาลแก่ประเทศได้”

View :1369
Categories: Technology Tags: , , ,

เอคเซนเชอร์เผยวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีแห่งปี 2556 “ดิจิตอล” ตัวแปรขับเคลื่อนธุรกิจยุคใหม่

August 15th, 2013 No comments

กรุงเทพฯ 14 สิงหาคม 2556 – (มีชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กว่า ACN) จัดทำรายงานการวิจัยใหม่เรื่อง “วิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีแห่งปี 2556” (The Accenture Technology Vision 2013) เพื่อศึกษาเจาะลึกถึงอนาคตของเทคโนโลยีไอทีระดับองค์กร พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวิธีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและซอฟท์แวร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการทำธุรกิจ โดยจากการศึกษาดังกล่าวพบว่า การใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ผนวกกับโมบายล์ คอมพิวติ้ง ระบบด้านการวิเคราะห์ และระบบคลาวด์จะปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของธุรกิจต่างๆ โดยบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อก้าวสู่โลกแห่งดิจิตอลจะมีความพร้อมมากขึ้นในการใช้โอกาสทางธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถก้าวล้ำนำหน้าคู่แข่งในตลาดได้อย่างดี

ผลการวิจัยดังกล่าวยังชี้ว่า จากการที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจต่างๆ เกือบทุกด้าน ส่งผลให้ธุรกิจทุกประเภทเป็นธุรกิจแบบดิจิตอล ซึ่งผู้บริหารระดับสูงทุกตำแหน่ง นอกเหนือจากประธานเจ้าหน้าที่ด้านสารสนเทศ ต้องสามารถเข้าใจ นำไปปรับใช้ และสร้างคุณค่าให้แก่องค์กรของตนได้ดียิ่งขึ้น

นายนนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย เอคเซนเชอร์

นายนนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย เอคเซนเชอร์


นายนนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย เอคเซนเชอร์ กล่าวว่า “องค์กรต่างๆ พร้อมด้วยผู้นำขององค์กรนั้นๆ ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการใช้เทคโนโลยีในการสร้างความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์และบริการให้แตกต่างจากคู่แข่งในตลาด เสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าให้แน่นแฟ้นมากขึ้น และขับเคลื่อนการเติบโตและขีดความสามารถในการสร้างผลกำไรขององค์กร ซึ่งรายงานการวิจัยเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีฉบับล่าสุดของเอคเซนเชอร์พบว่าเทคโนโลยีที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมายนั้นเป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน เพียงแต่ผู้บริหารจำเป็นต้องเข้าใจบทบาทและความสำคัญของสิ่งเหล่านี้เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในยุคดิจิตอล อาทิ โมบิลิตี้คลาวด์”

7 เทรนด์เทคโนโลยีแห่งอนาคต
ผลการศึกษาดังกล่าวนำเสนอ 7 เทรนด์เทคโนโลยีที่จะช่วยให้องค์กรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและซอฟท์แวร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจในยุคดิจิตอล

· ยกระดับสร้างความสัมพันธ์มิติใหม่กับลูกค้าในยุคดิจิตอล
เทคโนโลยีช่วยให้องค์กรสามารถเข้าใจลูกค้าได้ดีกว่าที่เคยมีมา แต่หลายองค์กรยังไม่ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าให้แน่นแฟ้นและลึกซึ้ง และเพิ่มความภักดีของลูกค้าอย่างเต็มที่ ซึ่งเทคโนโลยีโมบายล์คอมพิวติ้ง เครือข่ายโซเชียลเน็ตเวิร์ค และบริการที่ออกแบบหรือนำเสนอตรงตามความต้องการและลักษณะการทำงานของลูกค้านั้น ทำให้ธุรกิจต่างๆ สามารถติดต่อเชื่อมโยงกับผู้บริโภคได้มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันบริษัทหลายรายกลับมองว่าช่องทางเหล่านี้เป็นเพียงช่องทางการติดต่อสื่อสารหรือการทำธุรกรรมมากกว่าเป็นโอกาสในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทำให้สูญเสียโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

นายนนทวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “องค์กรต่างๆ ในประเทศไทยมีศักยภาพในการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาและยกระดับการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าไม่ให้เป็นเพียงการติดต่อทำธุรกรรมโดยทั่วๆ ไป แต่เป็นการสร้างสัมพันธภาพกับกลุ่มลูกค้าแบบเฉพาะตัวที่มีความแน่นแฟ้น โดยการใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลแบบเชิงลึกและช่องทางดิจิตอลต่างๆในการเข้าถึงข้อมูล จะทำให้เกิดการพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างลึกซึ้งมากขึ้น ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์มิติใหม่นี้จะทำให้บริษัทไทยต่างๆ ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการนำเทคโนโลยีมาใช้ รวมทั้งปรับกลยุทธ์การเจาะตลาดใหม่ เพื่อดำเนินการแบบของไอทีและฝ่ายธุรกิจต่างๆ”

· วางแผนเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจ เพื่อข้อมูลที่ “ใช่”
ซอฟท์แวร์แอพพลิเคชั่นระดับองค์กรในปัจจุบันส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบให้มีฟังก์ชั่นเฉพาะเพื่อรองรับข้อมูลที่สนับสนุนฟังก์ชั่นนั้นๆ องค์กรจึงมักพบว่า ข้อมูลที่ตนมีอยู่ไม่สามารถนำมาใช้เพื่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ได้ เนื่องจากไม่มีการวางแผนการเก็บข้อมูลที่ธุรกิจต้องการตั้งแต่เริ่มแรกที่ออกแบบแอพพลิเคชั่นนั้นๆ ดังนั้น องค์กรยุคใหม่ต้องมีกลยุทธ์สำคัญในการได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึกซึ่งเป็นข้อมูลที่ธุรกิจของตนต้องการอย่างแท้จริง โดยเริ่มจากการการวางแผนและออกแบบแอพพลิเคชั่นเพื่อได้ข้อมูล “ที่ถูกต้อง” และให้ความสำคัญกับข้อมูลเป็นเสมือนสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนผลสัมฤทธิ์ในการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรมีมีแต้มต่อเหนือคู่แข่ง

· นำข้อมูลมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว (Data Velocity)
นอกจากความหลากหลาย (variety) และปริมาณอันมหาศาล (volume) ของข้อมูลแล้ว ความเร็ว (velocity) เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่บริษัทต่างๆ ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยรูปแบบการทำงานได้ทุกที่ (mobility) และการบริโภคไอทีกันอย่างแพร่หลาย ทำให้เกิดการคาดหวังของผู้บริโภคในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็วฉับไวและการนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ โซลูชั่นการจัดเก็บข้อมูลความเร็วสูง เทคโนโลยี in-memory computing การวิเคราะห์ข้อมูลสุดล้ำ ระบบดาต้าเวอร์ช่วลไลเซชั่น ระบบการสอบถามข้อมูล (streaming data querying) ทำให้สามารถนำข้อมูลทั้งหมดมาใช้ในการตัดสินใจและดำเนินการทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ข้อมูลมีการนำมาใช้งานอย่างกว้างขวางและองค์กรเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลเชิงลึกที่สามารถสร้างแต้มต่อในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ดังนั้น ทักษะในการบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลของแต่ละองค์กรจึงเป็นตัวแปรสำคัญในการนำข้อมูลเชิงลึกที่ได้มาใช้ประโยชน์ทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วฉับไวก่อนที่จะสูญเสียโอกาสดีๆ ไป

· ใช้ ‘โซเชียล’ ในการทำงานภายในองค์กร
ความนิยมอย่างแพร่หลายของโซเชียลมีเดีย อาทิ เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ สไกป์ และกูเกิล พลัส ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสารของผู้คนปัจจุบัน การนำกลไกแบบ ‘โซเชียล’ ที่พนักงานมีความคุ้นเคยและใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่แล้ว มาใช้ในกระบวนการทำงานและสื่อสารภายในองค์กร จึงสามารถเพิ่มประสิทธิผลในการทำงานได้มากขึ้น ดังนั้น การประสานงานในการทำงานอย่างราบรื่นจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการใช้โซเชียลมีเดียของพนักงาน แต่ต้องเกิดจากการขับเคลื่อนให้งานและกระบวนการต่างๆเป็นไปในรูปแบบ ‘โซเชียล’ ยิ่งขึ้น

· ขับเคลื่อนการทำเวอร์ช่วลไลเซชั่นระบบเครือข่ายด้วยซอฟท์แวร์
ปัจจุบัน ธุรกิจต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของระบบแอพพลิชั่น เครือข่าย และช่องทางการสื่อสารต่างๆ ส่งผลให้การควบคุมการไหลเวียนของข้อมูลเป็นสิ่งหนึ่งที่ท้าทายที่สุดของฝ่ายไอทีในองค์กร การทำเวอร์ช่วลไลเซชั่นหรือระบบเสมือนของเครื่องเซิร์ฟเวอร์อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีด้านอื่นๆ ทำให้การทำงานมีความคล่องตัวมากขึ้น แต่ระบบเครือข่ายส่วนใหญ่ยังไม่มีการทำเวอร์ช่วลไลเซชั่นแต่อย่างใด โซลูชั่น software-defined networking หรือ SDN เป็นโซลูชั่นการจัดการเครือข่ายโดยใช้ซอฟท์แวร์แทนระบบฮาร์ดแวร์ เพื่อให้องค์กรต่างๆมีความคล่องตัวในการทำงานเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทั้งยังสามารถตั้งค่าการต่อเชื่อมของระบบต่างๆ ได้ใหม่โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนคุณสมบัติตามปกติที่มีอยู่เดิม ดังนั้น ธุรกิจต่างๆ จึงสามารถดูแลและบริหารการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ผนวกรวมบริการคลาวด์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนด้านระบบเครือข่ายได้เพิ่มขึ้น

· มาตรการรุกและตั้งรับภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ยุคใหม่
แม้ว่าเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยจะมีพัฒนาการที่ล้ำหน้าอย่างมาก แต่การป้องกันธุรกิจในยุคดิจิตอลยังคงเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างต่อเนื่อง จุดเกิดภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ได้แพร่ขยายลุกลามสู่อุปกรณ์ที่มีหลากหลายขึ้น ผู้ใช้งานที่มีจำนวนมากขึ้น และระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ขยายกว้างขึ้น ดังนั้น การรักษาความปลอดภัยระบบไอทีที่มีประสิทธิภาพที่สุดจึงจำเป็นต้องใช้มาตรการเชิงรุกที่เป็นมากกว่าการป้องกัน ฝ่ายไอทีไม่เพียงต้องอัพเดทความรู้เรื่องระบบรักษาความปลอดภัยอยู่เสมอ แต่จะต้องรู้เท่าทันและรู้จักกับผู้คุกคาม พร้อมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนมาตรการป้องกันขององค์กรให้สอดคล้องกับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้องค์กรต้องใช้สถาปัตยกรรมระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีที่มีความยืดหยุ่น และมีมาตรการป้องกัน”เชิงรุก” เพื่อจัดการและรับมือกับการคุกคามในรูปแบบต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

· เพิ่มคุณค่าแก่ธุรกิจด้วยเทคโนโลยีคลาวด์
เทคโนโลยีคลาวด์มาพร้อมกับคุณประโยชน์อันมหาศาล และพร้อมช่วยเหลือบริษัทต่างๆ พัฒนาธุรกิจของตนให้แตกต่างและโดดเด่นจากคู่แข่ง สามารถนำสินค้าและบริการออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น และตอบสนองโอกาสและความท้าทายใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น ในขณะนี้ จึงถึงเวลาที่ธุรกิจต่างๆ ต้องถามตนเองแล้วว่า “เราควรใช้เทคโนโลยีคลาวด์อย่างไร?” มากกว่า “ทำไมเราจึงต้องใช้เทคโนโลยีคลาวด์?” องค์กรหลายแห่งได้ติดตั้งเทคโนโลยีคลาวด์บนระบบไอทีแบบเดิมและนำไปใช้กับซอฟท์แวร์ที่มีอยู่เดิมเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมแบบ “ไฮบริด” ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าวนั้น องค์กรดังกล่าวต้องมีความเข้าใจอย่างถูกต้องและชัดเจนและสามารถเข้าถึงทักษะ สถาปัตยกรรม การกำกับดูแล และการรักษาความปลอดภัยของแอพพลิเคชั่น แพลตฟอร์ม และระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่อยู่ในระบบคลาวด์

“ปัจจุบัน ความท้าทายที่แท้จริงของธุรกิจไทยในยุคดิจิตอล คือ การสร้างโมเดลธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและสามารถรองรับสภาพแวดล้อมที่ใช้ซอฟท์แวร์และแอพพลิเคชั่นเป็นแรงขับเคลื่อนได้อย่างราบรื่น และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จดังกล่าว องค์กรต่างๆ ต้องนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลที่ยังไม่มีการจัดระเบียบและมีปริมาณมหาศาล เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพรวมทั้งหมดและสามารถนำมาใช้ ขับเคลื่อนธุรกิจของตนให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ใช้โอกาสทางธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ได้อย่างเต็มที่ เพิ่มความภักดีของลูกค้า และสร้างผลสัมฤทธิ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น” นนทวัฒน์ กล่าวปิดท้าย

ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา เอคเซนเชอร์ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ภาพรวมขององค์กรธุรกิจทั้งหมด และนำข้อมูลที่ได้มาใช้กำหนดเทรนด์ไอทีใหม่ๆ ที่มีส่งผลกระทบต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานการวิจัยเรื่องเทรนด์เทคโนโลยี ปี 2556 สามารถเข้าไปดูได้ที่www.accenture.com/technologyvision

View :1316

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แชมเปี้ยนพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย

August 7th, 2013 No comments

Marc and parinya (Large)
กรุงเทพฯ – 6 สิงหาคม 2556: ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการพลังงานระดับโลก ประกาศความพร้อมในการขยายฐานธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย ด้วยความสามารถในการให้บริการโซลูชั่นในการแปลงพลังงานเพื่อการใช้แอพพลิเคชั่นพลังงานแสงอาทิตย์อย่างครบวงจร อีกทั้งความเชี่ยวชาญด้านการให้บริการ ตลอดจนความสำเร็จในการให้บริการที่ผ่านมาทั้งภายในประเทศ และระดับโลก ตั้งเป้าที่จะผลิตพลังงานมากกว่า 100 เมกะวัตต์จากโรงงานพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่หลายแห่งภายในสิ้นปี พร้อมเล็งขยายธุรกิจเข้าสู่กลุ่มอาคาร และที่พักอาศัยในเวลาเดียวกัน

จากรายงานของกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน สภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยเหมาะสมสำหรับการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ เนื่องจากมีปริมาณความเข้มข้นของรังสีอยู่ในระดับสูงทั้งในแง่ของพลังงานทางตรง และในแบบกระจาย รายงานระบุว่า 14.3% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์โดยเฉลี่ยสูงถึง 19-20 เมกกะจูลต่อตารางเมตรต่อ 1 วัน ในขณะที่อีก 50% ของพื้นที่ทั้งหมดได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ 18-19 เมกะจูลต่อตาตรารางเมตรต่อ 1 วัน ดังนั้น เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่มประเทศ “เข็มขัดสุริยะ” (sun-belt) ที่มีศักยภาพสูงในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์

มาร์ค ลีส หัวหน้าฝ่ายพลังงานแสงอาทิตย์ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ภาคพื้นเอเชียตะวันออก กล่าวว่า การขยายเข้าสู่ธุรกิจใหม่ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ในครั้งนี้เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลไทยด้านพลังงานแสงอาทิตย์

“ปัจจุบัน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กำลังทำงานร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อให้โครงการด้านโซลาร์หลายแห่งในหลายจังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย และอยุธยาสำเร็จไปด้วยดี โดยโครงการทั้งหมดเหล่านั้นจะจะผลิตพลังงานมากกว่า 100 เมกะวัตต์โดยรวม” มาร์คกล่าว “จากการที่รัฐบาลตั้งเป้าที่จะผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้ได้ 3,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2564 ประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศที่มีการใช้งานเทคโนโลยีแสงอาทิตย์ในระดับแนวหน้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจะเป็นตัวอย่างที่ดีของการมีนโยบายด้านพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้ดำเนินรอยตาม ด้วยประสบการณ์ และความสำเร็จในการนำเสนอโซลาร์ โซลูชั่นภายในประเทศไทย ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กำลังเตรียมพร้อมสำหรับโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจภายในภูมิภาคด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากภูมิภาคอาเซียนเป็นภูมิภาคที่กำลังเติบโต” เขากล่าวเพิ่มเติม

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นผู้นำด้านโซล่าร์ โซลูชั่นในระดับโลกที่มีทั้งความเชี่ยวชาญ และเครือข่ายพันธมิตรในวงกว้าง รวมถึงความสามารถในการให้บริการโซล่าร์ โซลูชั่นแบบครบวงจรที่ครอบคลุมห่วงโซ่การแปลงพลังงานกระแสไฟที่ได้รับการตอบรับที่ดียิ่งจากลูกค้า

นายปริญญา พงษ์รัตนกูล รองประธานบริษัท หน่วยธุรกิจ Energy & Infrastructure ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ไทยแลนด์ กล่าวว่า “เราเริ่มต้นธุรกิจด้านพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2553 โดยวางเป้าหมายไปที่โซล่าร์ฟาร์มเป็นหลัก ด้วยนโยบายใหม่ของภาครัฐ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค วางแผนที่จะขยายการให้การโซลูชั่นสำหรับลูกค้าในกลุ่มที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน และอาคารอุตสาหกรรมที่ต้องการการติดตั้งตั้งแต่ระดับ 3 กิโลวัตต์ไปจนถึงระดับ 1 เมกะวัตต์โดยเฉพาะ

“ชไนเดอร์ อิเล็คทริค สามารถเติมเต็มความต้องการด้านพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับลูกค้าได้ โดยเริ่มจากผลิตภัณฑ์ไปจนถึงโซลูชั่นแบบครบวงจรที่ครอบคลุมอุปกรณ์ไฟฟ้า ระบบการจัดการอาคาร และระบบความปลอดภัยที่สามารถบูรณาการให้ทำงานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อ ยิ่งกว่านั้น เพื่อให้ธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ของเราสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ในครัวเรือน เราวางแผนที่จะทำงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจที่มีอยู่ทั่วประเทศซึ่งมีความเชี่ยวชาญในระบบพลังงานแสงอาทิตย์ และความปลอดภัยด้านกระแสไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะ และ เราจะเดินหน้าในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ และสร้างช่องทางใหม่ๆ ในการเข้าถึง และให้การสนับสนุนลูกค้ากลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้น เพื่อครองตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย

“สำหรับโรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค คือ หนึ่งในผู้ให้บริการโซลูชั่นส์เพียงไม่กี่รายที่สามารถให้การสนับสนุนด้านการให้บริการซ่อมบำรุงในระยะยาว ซึ่งทั้งหมดมาจากความเชี่ยวชาญ และความแข็งแกร่งของทีมงานภายในประเทศที่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในการใช้พลังงานอย่างมีเสถียรภาพ” นายปริญญากล่าว

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ภูมิใจที่ได้มีส่วนในการสนับสนุนนโยบายด้านพลังงานในประเทศไทย บริษัทวางตัวที่จะเป็นผู้ให้บริการทั้งด้านเทคโนโลยี และโซลูชั่นส์ด้านพลังงานแสงอาทิตย์ในระดับแนวหน้า พร้อมด้วยผลิตภัณฑ์ และโซลูชั่นที่ครบวงจร ไปจนถึงการให้บริการ ความเชี่ยวชาญ และเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจที่มีอยู่ทั่วประเทศ

View :1133

บริษัท ไนซ์ แอคทิไมซ์ นำเทคโนโลยีระดับโลกและความรู้เฉพาะทางเข้าร่วมกับธนาคารและสถาบันการเงินไทยเพื่อต่อสู้กับธุรกรรมทุจริตในระบบการเงินไทย

July 24th, 2013 No comments

อะเมียร์ โอแรด, ประธานและหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารสูงสุด บริษัทไนซ์ แอคติไมซ์

อะเมียร์ โอแรด, ประธานและหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารสูงสุด บริษัทไนซ์ แอคติไมซ์


กรุงเทพฯ, 24 กรกฎาคม 2556 – บริษัท ไนซ์ แอคติไมซ์ เป็นผู้ให้บริการที่ใหญ่ที่สุดและครอบคลุมมากที่สุด ในด้านการป้องกัน ความเสี่ยงของธุรกรรมการเงิน และระบบการตรวจตราข้อปฏิบัติ แก่สถาบันการเงินระดับโลกและระดับภูมิภาค รวมทั้งภาครัฐ และ ผู้ตรวจสอบ ที่เกียวข้อง บริษัท ไนซ์ แอคติไมซ์ ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับสถาบันการเงิน ทั้งในไทยและในภูมิภาค เพื่อพัฒนา และใช้งานระบบตรวจจับในระดับองค์กร สำหรับ การฟอกเงิน, การป้องกันการทุจริตทางธุรกรรมการเงิน, และการตรวจลอบตามข้อปฏิบัติพื้นฐาน เพื่อให้สามารถก้าวขึ้นจากระบบที่พึ่งพาบุคคลากรในการตรวจตรา ไปสู่การตรวจตราแบบทันทีทันใด

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการขยายธุรกิจไปในแนวทางที่เกื้อกูลกับทางรัฐบาลไทยเพื่อต่อสู้กับการฟอกเงิน รวมทั้งการปัญหาการเกิดการฉ้อฉลทางธุรกรรมในโลกไซเบอร์ บริษัทฯ ให้บริการการตรวจสอบอัตตะลักษณ์แบบเรียลไทม์ การป้องกันการทุจริตแบบหลายช่องทาง การป้องกันการฟอกเงิน และการตรวจตราการซื้อขายหลักทรัพย์ต่างๆ ให้เป็นไปตามกฏ เพื่อให้สามารถตรวจจับ และหยุดธุรกรรมต้องสงสัย และตรวจสอบลูกค้าใหม่ รวมทั้งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายในที่ต้องห้าม

ในประเทศไทย, ผลิตภัณฑ์ของบริษัทไนซ์ได้ถูกใช้ให้บริการแก่ลูกค้าที่เป็นสถาบันการเงินชั้นนำใน 10 อันดับโลก และ สถาบันการเงินไทย ใน 5 อันดับแรกของประเทศ ธนาคารเหล่านี้ใช้มาตรฐานทางเทคโนโลยีของบริษัทฯ ในระบบตรวจจับการฟอกเงิน การป้องกันการทุจริตทางการเงิน การตรวจจับธุรกรรมพร้อมๆ กันหลายช่องทาง การบันทึกธุรกรรมในทันทีทันใด และความสามารถในการป้องกันการทุจริตทางการเงิน ทั้งนี้ผลการตรวจสอบสถาบันการเงินใหญ่ระหว่างประเทศ ได้แสดงให้เห็นว่า

ความต้องการระบบตรวจสอบและตรวจจับการฟอกเงินที่มีความสามารถมีมากขึ้น และความต้องการระบบตรวจตรา ป้องกันการซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน และการป้องกันการทุจริตก็มีมากขึ้น ธนาคารและสถาบันการเงินชั้นนำ เริ่มเสาะหาระบบในระดับองค์กร เพื่อป้องกันและตรวจตราธุรกรรมที่มากชึ้น และเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกปรับเงินที่มีมูลค่าสูงมากขึ้นตามมา

“ธนาคารในไทยเริ่มให้ความสำคัญกับ การฟอกเงิน ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่กฏระเบียบที่มีความเข้มงวดมากขึ้น และการเกิดการทุจริต ในธุรกรรมการเงิน และไซเบอร์ ที่มีมากชึ้นทุกขณะ บริษัทไนซ์ แอคติไมซ์ จึงได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับธนาคารไทย เพื่อนำประสพการ ระดับโลกและข้อปฏิบัติที่เป็นแบบแผนที่ได้มาจากการติดตั้งและพัฒนาระบบให้แก่ธนาคารใหญ่ๆระดับโลกมาใช้งาน ” อะเมียร์ โอแรด, ประธานและหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารสูงสุด บริษัทไนซ์ แอคติไมซ์กล่าว

“ ในขณะที่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเริ่มปรับเปลี่ยนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2015 นี้, บริษัทไนซ์ แอคติไมซ์ ได้ช่วยเหลือเป็นกำลังสำคัญในการปรับตัวให้เข้าสู่กฏระเบียบนานาชาติ และท้องถิ่นที่จำเป็นระหว่างประเทศในประชาคมอาเซียนด้วยกัน ซึ่งจำนวนธุรกรรมระหว่างประเทศที่มีมากขึ้น บริษัทฯ จะช่วยให้การตรวจสอบและตรวจตราธุรกรรมมีความโปร่งใส และการควบคุม ป้องปรามการฟอกเงินข้ามชาติ การทุจริตทางการเงินและซื้อขายหลักหลักทรัพย์ ได้มากชึ้น “ กล่าวโดยนาย รากาฟ ซากัล, ประธาน บริษัทไนซ์เอเชีย แปซิฟิก

“ ในประเทศไทย เราได้เห็นการเติบโตของความต้องการเทคโนโลยี ที่จะช่วยเพิ่มความถูกต้องในการตรวจจับธุรกรรมที่มีจำนวนมากขึ้น มาก เราได้เปรียบในเชิงผลิตภัณฑ์ ที่สามารถวิเคราะห์ที่เหนือกว่า และตรวจจับในทันทีโดยอัตโนมัติ เพื่อช่วยเหลือให้ธนาคารสามารถลดต้นทุน ปรับเปลี่ยนระบบการทำงานให้กระชับขึ้น เพื่อผลตอบรับที่ดีกับการบริการลูกค้า “ กล่าวโดยนาง เชอรรี่ อึ้ง กรรมการอำนวยการ ของบริษัทไนซ์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผลิตภัณฑ์ของบริษัทไนซ์ แอคติไมซ์ ได้มีการติดตั้งโมเด็ลที่หลากหลายในการวิเคราะห์ไว้ รวมทั้งระบบวิเคราะห์ ในสถานะการณ์ที่ตั้งไว้ล่วงหน้าได้ลากหลายวิธี สำหรับตรวจจับการฟอกเงิน และการตรวจตราตามข้อกำหนดของ FATCA ซึ่งมีความจำเป็น อย่างมากในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ระบบการตรวจวิเคาระห์รุ่นที่ 4 ช่วยให้การตรวจจับการฟอกเงิน และการตรวจตรารายชื่อผู้ต้องสงสัยสามารถรองรับการตรวจเช็คชื่อไทยและภาษาต่างๆ รองรับภาษาที่แตกต่างในอาเซียนได้ดี รวมทั้งการให้คะแนนความเสี่ยงของการตรวจสอบแบบเรียลไทม์ เพื่อป้องปรามธุรกรรมต้องสงสัย ทั้งนี้บริษัทไนซ์ แอตติไมซ์ ยังให้บริการผลิตภัณฑ์ป้องกันความเสี่ยงทางธุรกรรมในส่วนต่างๆ เช่น การป้องกันทางไซเบอร์ อินเตอร์เน็ท การป้องกันธุรกรรมการเงินในภาคธุรกิจและรายย่อย, การป้องกันทุจริตของการใช้บัตรเครดิตและเดบิท-เอทีเอ็ม, การป้องกันการทุจริตของพนักงานภายในธนาคาร, การป้องกันธุรกรรมการฝากเงินและเช็คเข้าบัญชี และการป้องกันทุจริตทางบัญชีฝาก-ถอน

View :1166

“Dell Enterprise Forum Thailand 2013” เวทีประชุมทางเทคโนโลยีครั้งใหญ่ระดับภูมิภาคที่คนไอทีต้องไม่พลาด

July 24th, 2013 No comments

DellEnterpriseForum2013

เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) เตรียมเป็นเจ้าภาพจัดงานสัมนาเชิงปฏิบัติการ “ Enterprise Forum Thailand 2013” ครั้งยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาคเอเชียใต้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เปิดโอกาสให้คอเทคโนโลยีได้พบผู้เชี่ยวชาญระดับสูงจากทุกมุมโลกที่จะมาถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ด้านเทคนิคในเชิงลึกโดยเฉพาะ รวมทั้งพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้บริหารระบบไอทีชั้นนำทั้งจากประเทศไทย และจากประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้เพื่อการต่อยอดการพัฒนาด้านไอทีอย่างมีประสิทธิภาพ หากคุณคือผู้บริหารระบบไอทีทางเทคนิค และหากคุณคือผู้ที่ต้องการรู้ลึก รู้จริงเกี่ยวกับโซลูชั่นระดับเอนเทอร์ไพรส์จากเดลล์แบบครบวงจร คุณต้องไม่พลาด Enterprise Forum Thailand 2013 วันที่ 1-2 สิงหาคมนี้ ณ โรงแรมแชงกรี-ล่า กรุงเทพฯ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.dellenterpriseforum-sa.com

View :1191

ไอบีเอ็มส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการหน้าใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รับสมัครผู้ประกอบการทั่วอาเซียน ร่วมกิจกรรม IBM SmartCamp

July 24th, 2013 No comments

Smart Camp Logo

เริ่มต้นรับสมัครแล้วสำหรับกิจกรรม ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่ง IBM SmartCampนี้เป็นโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการทั่วโลกของไอบีเอ็ม มีจุดมุ่งหมายเพื่อเฟ้นหาผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่กำลังพัฒนาธุรกิจร่วมทุนที่สอดรับกับวิสัยทัศน์ Smarter Planet ของไอบีเอ็ม ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 3 ปี นับว่าโครงการนี้ประสบความสำเร็จอย่างมากในการสนับสนุนผู้ประกอบการหน้าใหม่ โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม SmartCamp จากปีก่อนหน้านี้สามารถดึงดูดเงินลงทุนได้มากกว่า 115 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากที่ได้ดำเนินงานตามแนวทางของไอบีเอ็ม

สำหรับผู้ประกอบการจากประเทศไทยที่ต้องการส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด กรุณาติดต่อ Ms Melonie StaMaria ที่ 1melonie@my.ibm.comปิดรับผลงานวันที่ 30 สิงหาคม 2556

View :1148
Categories: Technology Tags: