Archive

Archive for the ‘Technology’ Category

ไอดีซี เอเชียแปซิฟิก แต่งตั้งนาย ไมเคิล อาราเนต้า เป็นผู้บริหารประจำประเทศไทย

July 22nd, 2013 No comments

ไมเคิล อาราเนต้า

ไมเคิล อาราเนต้า


เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ประกาศแต่งตั้งนายไมเคิล อาราเนต้า เป็นผู้บริหารประจำประเทศไทย

นายอาราเนต้าจะทำหน้าที่ในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับส่วนงานด้านงานวิจัย และงานขายของไอดีซี ประเทศไทย จากประสบการณ์ยาวนานของการเป็นนักวิเคราะห์ของไอดีซี และมีความโดดเด่นในเรื่องการบริหารลูกค้าเป็นอย่างดี เขาจะมุ่งเน้นในการส่งเสริมความสำคัญของไอดีซี ให้กับธุรกิจไอซีทีของประเทศไทย นอกจากนี้ นายอาราเนต้า ยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการขยายฐานลูกค้าในตลาดเมืองไทยอีกด้วย

“ไมเคิลได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดกับ ประเทศไทย มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว และเรายินดีเป็นอย่างยิ่งว่า เขาจะเข้ามาทำหน้าที่รับผิดชอบอย่างเต็มกำลังโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศที่กำลังเติบโตอย่างประเทศไทย” กล่าวโดยนายจิม เซเลอร์ กรรมการผู้จัดการ ของ อาเซียน “ทักษะในการมองโอกาสทางธุรกิจและความเชี่ยวชาญที่พิเศษเฉพาะของเข้า จะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้นได้ อีกทั้งประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อไอดีซีประเทศไทย เป็นอย่างยิ่ง และตัวเขาเองก็มีความมุ่งมั่นที่จะให้ช่วยให้ลูกค้าของเราประสบความสำเร็จอีกด้วย”

นอกจากนี้นายอาราเนต้ายังเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ ไอดีซี ไฟแนนเชียล อินไซด์ เอเชียแปซิฟิก และเป็นผู้นำในการทำวิจัยและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับมุมมองในประเด็นต่าง ๆ สำหรับสถาบันการเงินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การควบรวมหรือเข้าซื้อกิจการ บิ๊กดาต้า โซเชียล มีเดีย กลยุทธ์ด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ แนวคิดริเริ่มในการบริการงานลูกค้าหรือสร้างลูกค้า การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของผู้ค้า และการวางกลยุทธ์ด้านระบบหลักของธนาคาร

เกี่ยวกับไอดีซี

ไอดีซี บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยข้อมูลการตลาดชั้นนำระดับโลก ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และ คอนซูมเมอร์เทคโนโลยี โดยนำเสนอข้อมูลจากการวิเคราะห์เจาะลึก ให้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้าน ไอที ผู้บริหาร และ นักลงทุน ให้สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจจัดซื้อเทคโนโลยีและกำหนดกลยุทธ์ ทางธุรกิจ ปัจจุบัน ไอดีซี มีนักวิเคราะห์มากกว่า 1,000 คน ทำหน้าที่นำเสนอข้อมูล และ ให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์อย่างรอบด้านแก่ลูกค้าในเรื่องเทคโนโลยี รวมถึงโอกาสทางธุรกิจ และ แนวโน้ม ของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และ ในแต่ละประเทศ มากกว่า 110 ประเทศทั่วโลก ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่สะสมมามากว่า 48 ปี ไอดีซีได้ให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์เพื่อช่วยให้ลูกค้าบรรลุทุกวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ไอดีซี เป็นบริษัทในเครือของไอดีจี ซึ่งดำเนินธุรกิจสื่อสารเทคโนโลยีวิจัย และ จัดงานสัมมนาชั้นนำระดับโลก ค้นหาข้อมูล เพิ่มเติมได้ที่ http://www..com

View :1580

อีริคสันเสริมทัพ เพิ่มศักยภาพความแข็งแกร่งในธุรกิจซิสเต็มส์อินติเกรชั่นสำหรับระบบ OSS ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโอเชียเนีย

July 22nd, 2013 No comments

· อีริคสันได้บรรลุข้อตกลงในการเข้าซื้อกิจการทั้งหมดของ บริษัท จำกัด (TeleOSS Consulting Ltd.) เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในธุรกิจซิสเต็มส์อินติเกรชั่น (System Integration Business) สำหรับระบบ OSS ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโอเชียเนีย

· ผู้เชี่ยวชาญด้านซิสเต็มส์อินติเกรชั่นกว่า 50 คน จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอีริคสัน

· การเข้าซื้อบริษัทในครั้งนี้คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในปลายไตรมาสที่สามของปี พ.ศ. 2556

ในวันนี้ อีริคสันได้บรรลุข้อตกลงในการเข้าซื้อกิจการทั้งหมดของ บริษัท เทเลโอเอสเอส คอนซัลติง จำกัด (TeleOSS Consulting Ltd.) ซึ่งมีฐานที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร และมีความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา รวมทั้งการทำซิสเต็มส์อินติเกรชั่น (Systems Integration) สำหรับระบบ Operating Support Systems (OSS) โดยเฉพาะ

ณ ขณะนี้ กระบวนการดำเนินการเข้าซื้อกิจการทั้งหมดคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในปลายไตรมาสที่สามของปี พ.ศ. 2556 โดยภายใต้ข้อตกลงนี้ พนักงานผู้เชี่ยวชาญด้านการทำซิสเต็มส์อินติเกรชั่น สำหรับระบบ OSS ประมาณ 50 คน มาเข้าร่วมกับอีริคสัน

บริษัท เทเลโอเอสเอส คอนซัลติง จำกัด เป็นผู้สร้างโซลูชั่นสำหรับระบบ OSS เพื่อผู้ให้บริการโทรคมนาคม โดยเฉพาะในด้าน Traffic and Inventory Management และการผลิตซอฟท์แวร์ที่เกี่ยวข้อง การเข้าซื้อครั้งนี้ จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของอีริคสัน ทั้งในด้านของการให้คำปรึกษา ความเชี่ยวชาญด้านซิสเต็มส์อินติเกรชั่น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า รวมถึงความสามารถในการปฏิวัติเพื่อพัฒนาระบบ OSS สำหรับประเทศในแถบภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโอเชียเนีย

“การเข้าซื้อกิจการทั้งหมด บริษัท เทเลโอเอสเอส คอนซัลติง จำกัด จะช่วยเติมเต็มความสามารถของเรา ในการทำซิสเต็มส์อินติเกรชั่นกับระบบ OSS สำหรับประเทศในแถบภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโอเชียเนีย โดยเฉพาะการสร้างโซลูชั่นด้าน Traffic and Inventory Management ที่มีหลากหลายและเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าต่างๆของเรา” กล่าวโดย นายเปาโล โคเลลลา หัวหน้าฝ่ายการให้คำปรึกษาและซิสเต็มส์อินติเกรชั่นของอีริคสัน “การลงทุนเชิงกลยุทธ์ในครั้งนี้ จะช่วยพัฒนาศักยภาพของอีริคสันให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น พร้อมทั้งก้าวสู่ความเป็นเลิศในด้านการปฏิวัติเพื่อพัฒนาระบบ IT ซึ่งเป็นสิ่งที่เรามุ่งมั่นและพยายามมาโดยตลอด”

คุณ ทศพร วงศ์วีรธร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทเลโอเอสเอส คอนซัลติง จำกัด กล่าวว่า “ผมมีความมั่นใจอย่างยิ่งว่า การเข้าซื้อบริษัทในครั้งนี้ จะช่วยเติมเต็มความสามารถระดับโลกของอีริคสัน ที่มีอยู่แล้วให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้านซิสเต็มส์อินติเกรชั่นกับระบบ OSS โดยจะทำให้อีริคสันสามารถพัฒนาบริการคุณภาพสูง เพื่อเหล่าผู้ให้บริการเครือข่ายและลูกค้าของพวกเขา ผ่านโซลูชั่นด้าน OSS ที่หลากหลายและครบวงจร นอกจากนั้นแล้ว พนักงานของเราจะได้รับประโยชน์จากอีริคสัน ในฐานะที่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกซึ่งมีความรู้ครบวงจร เพื่อเป็นการช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งในด้านต่างๆให้แก่กันและกัน”

ด้วยความพร้อมของอีริคสันทั้งในด้านบุคลากรที่มีความสามารถ รวมถึงซอฟต์แวร์ที่ครอบคลุมครบวงจรจะสามารถช่วยผู้ให้บริการเครือข่ายต่างๆสามารถพัฒนากระบวนการบริหารจัดการระบบไอทีเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นสำหรับลูกค้า รวมไปถึงการสร้างสรรค์บริการในรูปแบบใหม่ๆ และที่สำคัญ มีบุคลากรมากกว่า 15,000 คน ซึ่งมีประสบการณ์ด้านการให้คำปรึกษาและซิสเต็มส์อินติเกรชั่น มากกว่า 1,500 โครงการที่ใช้อุปกรณ์เครือข่ายจากหลากหลายเวนเดอร์และต่างเทคโนโลยีในแต่ละปี

View :1402

อีริคสันเตรียมเข้าซื้อบริษัท เรด บี มีเดีย (Red Bee Media) เพื่อเพิ่มศักยภาพความแข็งแกร่งในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีและบริการเพื่อธุรกิจโทรทัศน์

July 22nd, 2013 No comments

Ericsson_hq 2013
อีริคสันเตรียมเข้าซื้อบริษัท () ผู้นำแห่งธุรกิจบริการด้านสื่อการเข้าซื้อบริษัทในครั้งนี้ จะช่วยขยายพอร์ทฟอลิโอของอีริคสัน ในธุรกิจบริการกระจายเสียงและแพร่ภาพให้กว้างขวางยิ่งขึ้น รวมทั้งจะช่วยพัฒนาขีดความสามารถของอีริคสันในงานด้านสื่อโทรทัศน์อีกด้วย พนักงานจำนวน 1,500 คน ผู้มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจสื่อ จะเข้ามาร่วมงานกับอีริคสัน เพิ่มศูนย์ปฏิบัติการใหม่ในยุโรปและออสเตรเลีย

ในวันนี้ อีริคสันในฐานะผู้นำเทคโนโลยีและบริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมระดับโลก ได้ประกาศเจตนารมณ์ในการเข้าซื้อหุ้นของบริษัท เรด บี มีเดีย (Red Bee Media) ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกในธุรกิจบริการด้านสื่อ และมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร จากองค์กรที่อยู่ในความควบคุมของ Macquarie Advanced Investment Partners, L.P
การเข้าซื้อในครั้งนี้ กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาอนุมัติจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง และเมื่อเสร็จสิ้นจะช่วยสนับสนุนนโยบายของอีริคสัน ในการขยายธุรกิจบริการกระจายเสียงและแพร่ภาพให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อใช้ความได้เปรียบทั้งในเชิงเทคโนโลยีและการให้บริการคุณภาพสูง เพื่อประโยชน์ทั้งสำหรับผู้ให้บริการกระจายเสียงและแพร่ภาพ และเจ้าของคอนเทนต์ รวมถึงการให้ความสำคัญกับการบริโภคสื่อวีดีโอขณะเคลื่อนที่ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมมาก การเข้าซื้อนี้จะนำมาซึ่งบุคลากรผู้มีความสามารถจำนวน 1,500 คน ธุรกิจบริการด้านสื่อ และศูนย์ปฏิบัติการในสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี เสปน และออสเตรเลีย ซึ่งจะเป็นการเสริมทัพในธุรกิจบริการกระจายเสียงและแพร่ภาพของอีริคสัน ซึ่งเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2007 และเติบโตชัดเจน จากการเข้าซื้อฝ่ายบริการกระจายเสียงและแพร่ภาพ ของบริษัทเทคนิคัลเลอร์ เมื่อปี 2012 ที่ผ่านมา

บุคลากรจำนวน 1,240 คนของเรดบีมีเดียอยู่ในสหราชอาณาจักร ซึ่งจะทำให้ธุรกิจของอีริคสันในประเทศนี้เติบโตขึ้นจนมีพนักงานประมาณ 4,000 คน ซึ่งมากกว่าหนึ่งในสามอยู่ในธุรกิจสื่อ ซึ่งจะทำให้สหราชอาณาจักรกลายเป็นศูนย์กลางด้านธุรกิจสื่อของอีริคสัน

หลังจากที่ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2005 เรดบีมีเดียได้มุ่งมั่นพัฒนาอย่างแข็งแกร่ง จนมีลูกค้าจำนวนมากทั่วโลก และมีธุรกิจสื่อหลากหลายประเภท ครอบคลุมตั้งแต่การบริหารจัดการสื่อ ไปจนถึงการส่งสัญญาณต่อ การผลิตสื่อดิจิตอลวีดีโอ บริการข้อมูลเมตตาดาต้า การเข้าถึงบริการผ่านหลากหลายภาษา และบริการรูปแบบใหม่อื่นๆ บนบรอดแบนด์แพล็ตฟอร์มที่หลากหลาย เรดบีมีเดียยังเป็นที่ยอมรับในบริการด้านการส่งสัญญาณต่อคุณภาพสูง เป็นผู้ให้บริการด้านข้อมูลเมตตาดาต้าที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และเป็นผู้ส่งข้อมูลซับไตเติ้ลสู่ผู้ให้บริการกระจายเสียงและแพร่ภาพที่สำคัญหลายราย จำนวนมากกว่า 100,000 ชั่วโมงต่อปี
วงการโทรทัศน์และสื่อในปัจจุบัน กำลังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ อันเป็นผลมาจากแรงผลักดันของผู้บริโภค ที่ต้องการได้รับความบันเทิงเต็มรสชาติ ตอบสนองได้ฉับไว ในทุกที่ทุกเวลา การบรรจบกันของเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร บรอดแบนด์ และด้านสื่อ ร่วมกับการใช้ IP และเครือข่ายโทรศัพท์มือถือยุคนี้ ได้สร้างและให้ประสบการณ์อันน่าประทับใจสำหรับผู้บริโภค จึงนำมาซึ่งโอกาสสำหรับธุรกิจรูปแบบใหม่ได้อย่างกว้างขวาง

บริการรูปแบบใหม่เหล่านี้กำลังขยายตัว และได้สร้างประสบการณ์ในการบริโภคสื่อความบันเทิง ที่แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคธุรกิจ ในเชิงเศรษฐกิจและความคิดสร้างสรรค์ ทั้งในส่วนของผู้ให้บริการกระจายเสียงและแพร่ภาพ บริการโทรคมนาคม และบริการด้านสื่อต่างๆ ทั่วโลก จากรายงานเรื่อง “Ericsson Mobility Report June 2013” พบว่า วีดีโอเป็นทราฟฟิคที่มีปริมาณมากที่สุดบนเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และคาดว่าจะเติบโตต่อไปในอัตราประมาณปีละ 60 เปอร์เซ็นต์ จนถึงปลายปี 2018

“อีริคสันกำลังก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงอีกขั้นหนึ่ง เพื่อขยายตลาดในธุรกิจโทรทัศน์และบริการกระจายเสียงและแพร่ภาพ ซึ่งเราได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2007” คุณแม็คนัส แมนเดอร์ส์สัน (Magnus Mandersson) รองประธานบริหารและหัวหน้าฝ่ายธุรกิจ Global Services ของอีริคสัน กล่าว “เราสามารถสร้างคุณค่าเพื่อผู้ให้บริการกระจายเสียงและแพร่ภาพได้ ด้วยการสร้างดิจิตอลคอนเทนต์ให้สามารถเข้าถึงง่าย และสร้างประโยชน์ทางธุรกิจจากรายการโทรทัศน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาพบว่า การบริโภคสื่อวีดีโอบนเครือข่ายโทรศัพท์มือถือกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และอีริคสันสามารถสนองตอบต่อความต้องการของผู้ให้บริการกระจายเสียงและแพร่ภาพ และบริการเครือข่ายโทรคมนาคมได้ ด้วยความเชี่ยวชาญทั้งในด้านเทคโนโลยีและการให้บริการได้เป็นอย่างดี”

ความสามารถหลักของอีริคสันในส่วนของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ซิสเต็มส์อินติเกรชัน และธุรกิจการบริหารจัดการเครือข่าย ล้วนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับโลก ในภาคธุรกิจสื่อสารและบรอดแบนด์ ซึ่งได้สร้างความสำเร็จแก่ผู้ประกอบการจำนวนมาก นอกจากนั้นแล้วอีริคสันยังได้ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ที่ช่วยจัดการกับคอนเทนท์ ไม่ว่าจะเป็นการสรรหา แลกเปลี่ยน กระจาย ส่งมอบ และตระเตรียมข้อมูล เพื่อให้เหมาะกับความบันเทิงบนหน้าจอขนาดต่างๆ ผ่านประสบการณ์อันยาวนานถึง 20 ปี ในการศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านสื่อ ด้วยคุณภาพระดับรางวัลเอมมี่

บริการเพื่อการกระจายเสียงและแพร่ภาพ ยังได้รับประโยชน์จากความเป็นผู้นำในธุรกิจบริหารจัดการเครือข่ายของอีริคสัน เพื่อสร้างความเป็นเลิศในบริการ สำหรับผู้ให้บริการกระจายเสียงและแพร่ภาพชั้นนำทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก รวมไปถึงการพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการทำรายการสด หรือการบันทึกรายการเฉพาะบนเครือข่ายที่มีลูกค้ากว่าหนึ่งพันล้านคนทั่วโลก อีริคสันเป็นผู้นำในธุรกิจบริหารจัดการเครือข่ายเพื่อผู้ให้บริการโทรคมนาคม เราได้ลงทุนเพื่อสรรหากระบวนการ วิธีการ และเครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านต่างๆ มาแล้วกว่า 15 ปี ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อีริคสันได้ขยายความสำเร็จในธุรกิจนี้ ไปสู่อุตสาหกรรมอื่นด้วย เช่น บริการสาธารณูปโภค การขนส่ง และบริการโทรทัศน์

การเข้าซื้อในครั้งนี้ อยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อขออนุมัติจากองค์กรผู้กำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง และรายละเอียดของสัญญาบางประการ เมื่อการเจรจาเสร็จสิ้น เรดบีมีเดียจะเป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายธุรกิจ Global Services ของอีริคสัน

View :1233

Amadeus supports Philippine Airlines’ growth strategy with new data analysis tools

July 22nd, 2013 No comments

Bangkok, Thailand, 22 July 2013: , a leading technology partner for the global travel industry, today announces is now implementing solutions from the Travel Intelligence Portfolio to aide in its recent major expansion and service innovation programs.

Philippine Airlines President and COO Ramon S. Ang said, “We are committed to retaining our position at the forefront of the industry in the Asian region and key to it is fleet modernization, network expansion and service innovation programs. It is important for us to be able to base our network planning and marketing decisions on complete and reliable data that Amadeus solutions offer.”

Amadeus Market Information (MIDT) and Amadeus Air Traffic solutions work hand-in-hand to help Philippine Airlines drive revenue growth and increase market share as the airline prepares to expand its service in Asia, Middle East and soon in Europe.

With Amadeus MIDT, Philippine Airlines can monitor global market dynamics to aide in identifying profitable routes and developing more effective sales and marketing programs.

In parallel, Amadeus Air Traffic calculates an accurate estimate of air passenger volume for any origin and destination (O&D) worldwide, mining data from a large number of sources including low-cost carriers, direct airline online sales, airport data, civil aviation organisations and data from the main global distribution systems. The solution allows Philippine Airlines to evaluate current and possible new routes, identify the best connections for long haul flights, optimise planning and scheduling according to true demand and predict volatile market changes.

Amadeus also provides Philippine Airlines with consulting services, to help analyse the data and use the new solutions in the most efficient way. Training will also be provided.

Hazem Hussein, Head of Airline Commercial, Amadeus Asia Pacific said, “Travel Intelligence is a critical asset in a fast-moving, fragmented industry like travel. However, it is not only about having data, it’s also about having the industry knowledge and analytical capability to turn it into valuable business insights. Amadeus has all three which puts us in a unique position in the industry to help our airline customers understand their business as well as the challenges and opportunities in the market.

View :1122

กระทรวงไอซีที จับมือ 13 หน่วยงาน ยกระดับ TKC เป็นคลังความรู้แห่งชาติ

June 25th, 2013 No comments

นายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการพัฒนาศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ (Thailand Knowledge Center: ) ระหว่าง สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับ 13 หน่วยงาน/สถานศึกษา ณ ห้องสัมมนา 5209 อาคารสัมมนา 1 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ว่า กระทรวงไอซีทีได้จัดทำโครงการพัฒนาศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ () ขึ้น เพื่อต้องการพัฒนาเว็บไซต์ศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ (www..go.th) ให้เป็นเว็บหลักของประเทศไทยในการให้บริการข้อมูลสารสนเทศและความรู้แก่ประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Knowledge Base Society) ซึ่งสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของวุฒิสภาที่ต้องการให้กระทรวงไอซีทีดำเนินการสร้างคลังความรู้แห่งชาติ

ตลอดระยะเวลา 8 ปี นับตั้งแต่ปี 2548 มาจนถึงปัจจุบัน การดำเนินการโครงการศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ (TKC) ของกระทรวงไอซีที ได้มีการพัฒนาทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ เพื่อรองรับการจัดเก็บที่ทันสมัย รวมทั้งสามารถรวบรวมและจัดเก็บองค์ความรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย สะสมองค์ความรู้ในศาสตร์สาขาวิชาต่างๆ จำนวนมาก โดยองค์ความรู้ที่มีอยู่บนเว็บท่า TKC นั้น จะมีการพัฒนาต่อยอด เพิ่มพูนประสบการณ์จากบุคลากรผู้สนใจในสาขาต่าง ๆ ตลอดเวลา สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ของคนรุ่นใหม่ที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกช่องทางหนึ่ง นอกจากนั้นยังได้มีการพัฒนาเนื้อหาสาระ (Content) และโปรแกรมประยุกต์ (Application) ที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อการศึกษา การสาธารณสุข การป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน ศาสนาและวัฒนธรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิตประจำวัน เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของประชาชนในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ รวมทั้งได้ใช้เทคโนโลยีการจัดทำเว็บไซต์ในรูปแบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) และสารานุกรมเสรี (Wikipedia) เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ มีการแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดความรู้บนเว็บไซต์ไปเผยแพร่ในวงกว้างบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ และยังสามารถแก้ไขปรับปรุงองค์ความรู้ให้ถูกต้องเป็นปัจจุบัน

“สำหรับความร่วมมือระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงไอซีที กับ 13 หน่วยงาน/สถานศึกษา ได้แก่ กระทรวงวัฒนธรรม กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีปทุม สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ และสำนักงานเครือข่ายช่วยลดอุบัติเหตุ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการยืนยันเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการดำเนินงานในโครงการดังกล่าวให้ประสบผลสำเร็จแล้ว ยังถือเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมผลักดันให้ประเทศไทยเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (Knowledge Base Society) ได้ในที่สุด รวมทั้งเอื้อต่อการเข้าถึงองค์ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเพื่อการศึกษาอย่างยั่งยืนและทั่วถึงอีกด้วย” นายไชยยันต์ฯ กล่าว

View :1293

ไอดีซีระบุตลาดพีซีในไทยไตรมาสแรกยังหดตัวลงอีก 20% ชี้เวนเดอร์ต้องหาช่องทางเปิดตลาดใหม่

June 24th, 2013 No comments

24 มิถุนายน 2556 – จากการศึกษาตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ของไอดีซีเอเชียแปซิฟิก พบว่าตลาดพีซีของประเทศไทยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2556 มีอัตราการเติบโตที่ลดลง อันเป็นผลมาจากความต้องการซื้อที่ลดลงโดยเฉพาะกลุ่มตลาดผู้บริโภคภาคครัวเรือน โดยมีอัตราการเติบโตลดลงถึงร้อยละ 20 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมียอดจัดส่งเพียงแค่ 800,000 เครื่องเท่านั้น

ความต้องการใช้งานพีซีของภาคครัวเรือนได้อ่อนแรงลงอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายไตรมาสแล้ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อตัวแทนจำหน่ายในทุกระดับ ที่ต้องพยายามรักษาสภาพคล่องทางการเงินไว้

โดยนายจาริตร์ สิทธุ นักวิเคราะห์สายงานศึกษาตลาดไคลเอนท์ ดีไวซ์ ประจำไอดีซีประเทศไทยระบุว่า “ตัวแทนจำหน่ายในช่องทางต่าง ๆ ได้พยายามมาแก้เกมด้วยการลดปริมาณสำรองสินค้าพีซี เพื่อเปิดพื้นที่ให้กับดีไวซ์ที่ซื้อง่ายขายคล่องกว่าอย่าง แทบเลต”

“นอกจากนี้การขาดแคลนชิ้นส่วนหน้าจอระบบสัมผัสยังส่งผลทำให้เวนเดอร์ไม่สามารถนำพีซีจอทัชสกรีนเข้ามาทำตลาดได้อย่างเพียงพอ จนไม่สามารถกระตุ้นความต้องการซื้อได้มากนักและส่งผลให้ปริมาณการใช้งานระบบปฏิบัติการณ์ใหม่อย่าง Window 8 มีน้อยกว่าที่คาดไว้ด้วย” เขากล่าวเสริม

แต่ตลาดพีซีไทยยังคงได้รับข่าวดี เนื่องจากแรงซื้อโดยรวมของกลุ่มธุรกิจยังคงเติบโตเพิ่มมากขึ้น จากความต้องการใช้งานอย่างต่อเนื่องของภาคธุรกิจทั้งจากภาครัฐฯ และภาคเอกชนต่าง

“แม้ว่าความต้องการใช้งานในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็กจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดซึ่งเป็นผลพวงมาจากการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ แต่องค์กรภาครัฐฯ และธุรกิจขนาดใหญ่ก็ยังคงเพิ่มปริมาณการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยมีแรงซื้อหลักมาจากกลุ่มธุรกิจสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการโทรคมนาคม และกลุ่มสถานพยาบาล”

ไอดีซีเชื่อว่าตลาดพีซีของประเทศไทยในปี 2556 มีแนวโน้มที่ไมม่สดใสนัก โดยตลาดเริ่มหดตัวลงเป็นครั้งแรกตั้งแต่ ปี 2555 และ ไอดีซีคาดว่าภาวะซบเซานี้ยังจะคงมีให้เห็นตลอดทั้งปี 2556

นายแดเนียล ผัง ผู้จัดการสายงานศึกษาตลาดไคลเอนท์ ดีไวซ์ของอาเซียน ของไอดีซีเอเชียแปซิฟิก กล่าวเสริมว่า “ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะหันไปซื้อสมาร์ทโฟนและแทบเลตอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นจากภาครัฐฯ และองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ไม่มากพอที่จะชดเชยกำลังซื้อที่อ่อนลงจากกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็กได้ โดยเริ่มมีสัญญาณให้เห็นว่าตลาดเริ่มอิ่มตัว และไอดีซีเชื่อว่า ผู้ค้าต่างๆ ต้องมุ่งมุ่งขยายตลาดนอกเหนือจากแค่ในหัวเมืองใหญ่ของประเทศ เพื่อเจาะตลาดใหม่ๆ ที่ยังมีความต้องการใช้งาน และเพื่อทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน”

เอเซอร์กลับมามีส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้นอีกครั้งใน ไตรมาส 1 ปี 2556 ส่วนหนึ่งเนื่องจากที่คู่แข่งยังประสบปัญหาในเรื่องของสินค้าคงคลัง แต่กระนั้นเอเซอร์เองยังคงต้องเผชิญกับแรงกดดันจากคู่แข่งขันที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วเช่น เลอโนโว และซัมซุง ส่วนเดลล์และเอชพีนั้นยังคงประสบปัญหาในการเจาะตลาดภาคครัวเรือน ถึงแม้ว่าเดลล์จะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของตนเองได้บ้างจากความสำเร็จในทำการตลาดกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็กก็ตาม

View :1260

คอมมาร์ต เน็กซ์เจน 2013 ยอดขาย 4 วัน 3,000 ล้าน

June 24th, 2013 No comments

บรรยากาศงานคอมมาร์ต เน็กซ์เจน 2013 ในวันแรก

เออาร์ไอพี สรุปยอดขายงานคอมมาร์ต เน็กซ์เจน 4 วัน ประสบความสำเร็จเกินคาด แม้ตลาดไอทีทรงตัวมาตั้งแต่ต้นปี ชี้ลากยาวจนถึงปลายปี งานนี้สร้างเม็ดเงินในช่วงกลางปีได้ถือว่าเป็นที่น่าพอใจ ชัดเจนว่าเทรนด์ไอทีสินค้าไฮบริดมาแรง ยอดโหลดแอพฯ ด้านการศึกษาฟรีล้นหลาม

นายพรชัย จันทรศุภแสง ผู้อำนวยการธุรกิจสื่อไอทีและการศึกษา บริษัท เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน) ผู้จัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้าไอทีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ภายใต้ชื่อ “คอมมาร์ต” กล่าวว่า ที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ สามารถสร้างเม็ดเงินสะพัดตลอดงานทั้ง 4 วันกว่า 3,000 ล้านบาท แม้ตลาดไอทีตั้งแต่ต้นปีเริ่มทรงๆ ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ที่สำคัญคือการที่ผู้บริโภคมีอุปกรณ์ไอทีอยู่แล้ว ทำให้เกิดการชะลอซื้อสินค้าตัวใหม่ หรือรอสินค้าไอทีที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้มากกว่า แต่ด้วยสินค้าที่เป็น เทรนด์ของเทคโนโลยี และโปรโมชันที่ผู้ค้านำมาแข่งขันกันในงาน ทำให้ยอดขายเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้

“เออาร์ไอพี พอใจกับภาพรวมการจัดงานคอมมาร์ตครั้งนี้ เราสามารถช่วยคู่ค้าทำยอดขายได้ตามเป้า แม้แนวโน้มตลาดไอทีตั้งแต่ต้นปีจนถึงปลายปีไม่หวือหวามากนัก แต่คาดว่าทั้งปีจะมีอัตราการเติบโตของตลาดรวมทั้งหมดมากกว่า 10% แน่นอน ยอดขายในงานคอมมาร์ตครั้งนี้จึงเป็นดัชนีวัดว่าความต้องการทางด้านไอทีของผู้บริโภคยังสูงอยู่ ผู้ที่มาชมงานซื้อสินค้ามากกว่า 1 ชิ้นขึ้นไป งานนี้เห็นได้ชัดเจนว่าโน้ตบุ๊คไฮบริด สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตแบรนด์ดังได้รับความนิยมขายดีมาก และ โดยเฉพาะอุปกรณ์เสริมต่างๆ อาทิ แบตสำรอง คีย์บอร์ดไร้สาย เคส รวมทั้งโปรโมชันสินค้าราคาถูกสุดๆ ที่ผู้ค้าต่างงัดกลยุทธ์ในเรื่องของราคา ของแถมเต็มที่สอดรับกับกำลังซื้อของผู้บริโภค จึงทำให้งานคอมมาร์ตครั้งนี้สามารถรักษายอดขายภายในงานไว้ได้เป็นที่น่าพอใจ” นายพรชัย กล่าว

นายพรชัย กล่าวต่อว่า สินค้าที่ขายดีในงาน คอมมาร์ต เน็กซ์เจน ไทยแลนด์ 2013 กลางปีนี้ ได้ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มและกระแสความต้องการใช้งานไอทีในตลาดครึ่งปีหลัง ทั้งในการใช้เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และลดต้นทุน แม้ว่าเศรษฐกิจชะลอตัวหรือมีปัญหาทางด้านการเมือง แต่เทคโนโลยีไอทีก็ยังเป็นครื่องมือสำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างปฏิเสธไม่ได้ และผู้ใช้ทั่วไปก็จำเป็นต้องใช้ไอทีในการเพิ่มความสะดวกสบาย และตอบสนองไลฟ์สไตล์ส่วนตัว สำหรับการให้สิทธิ์โหลดแอพพลิเคชันด้านการศึกษาฟรี สำหรับผู้ที่ซื้อแท็บเล็ตแอนดรอยน์ทุกรุ่น ทุกค่ายในงาน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีผู้สนใจโหลดเป็นจำนวนมาก

ด้านทิศทางของการจัดงานคอมมาร์ตในปี 2013 ครั้งต่อไป ยังคงมุ่งมั่นนำเสนอการจัดงานที่เน้นการนำเทคโนโลยีอันทันสมัยในชีวิตประจำวันและทางธุรกิจมาจัดแสดง รวมทั้งยึดมั่นในหลักการที่ต้องการให้ผู้เข้าเยี่ยมชมงานได้รับความคุ้มค่าในด้านต่างๆ มากที่สุด ทั้งคุณภาพ ราคา หรือความคุ้มค่าในการรับความรู้ทางเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยจะเดินหน้าร่วมกับพันธมิตรจัดงานคอมมาร์ต คอมเทค ไทยแลนด์ 2013 และสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.commartthailand.com

View :1196

ก.ไอซีที เดินหน้าพัฒนา GCC 1111 เป็นศูนย์กลางคอลเซ็นเตอร์ของภาครัฐ

June 18th, 2013 No comments

นางเมธินี เทพมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน (Government Contact Center: ) ว่า ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน หรือ เป็นอีกโครงการหนึ่งที่รัฐบาลได้เห็นความสำคัญในการนำ ICT มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการแก่ประชาชน โดยได้เชื่อมโยงฐานข้อมูลครอบคลุม 20 กระทรวง 10 หน่วยงาน อาทิ สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ ราชบัณฑิตยสถาน เป็นต้น และหน่วยงานอิสระอีก 3 หน่วยงาน คือ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ไว้บริการด้วยเลขหมายเดียว คือ 1111 ซึ่งประชาชนทั่วประเทศสามารถติดต่อขอข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งขอแบบฟอร์มต่างๆ หรือแจ้งเรื่องร้องเรียนการบริการของหน่วยงานภาครัฐได้ตลอดเวลา

สำหรับศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน หรือ GCC 1111 นี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้มอบหมายให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน ซึ่งได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 เป็นต้นมา ตลอดระยะเวลาทางศูนย์ฯ ได้มีการพัฒนาในด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรที่ให้บริการประจำศูนย์ การพัฒนาข้อมูลที่ให้บริการให้ทันสมัย รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ และโปรแกรมต่างๆ เพื่อมารองรับในการให้บริการที่เพิ่มมากขึ้น และยังได้ให้บริการข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในโครงการเร่งด่วนของรัฐบาลอีกด้วย ซึ่งที่ผ่านมามีประชาชนสนใจใช้บริการอย่างต่อเนื่อง กระทรวงฯ จึงมีแนวความคิดปรับปรุงและพัฒนา GCC 1111 ให้มีการบริหารจัดการที่มีทิศทางชัดเจน รวมถึงการดำเนินงานที่มีขั้นตอนกระชับ ไม่ซ้ำซ้อน และการบริการที่ได้มาตรฐานระดับสากล สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และทันสมัย เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสารสนเทศและการบริการภาครัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน โดยในปี 2556 นี้ได้มีการเพิ่มช่องทางการให้บริการผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ อาทิ Facebook Twitter Instagram และกระทู้ในเว็บไซต์ www.pantip.com เพื่อให้บริการประชาสัมพันธ์ข้อมูลภาครัฐ อาทิ การจัดกิจกรรม นิทรรศการ การรายงานสภาพอากาศ ราคาทองคำ ราคาน้ำมัน การรายงานสภาพการจราจร และสถานการณ์ด่วนต่างๆ เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาการให้บริการข่าวสารข้อมูลผ่านระบบตอบรับอัตโนมัติ

ล่าสุดกระทรวงฯ ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “GCC 1111 : พลังภาครัฐ สรรค์สร้างสู่สังคม” ขึ้นระหว่าง ผู้ประสานงานโครงการ GCC 1111 ของทุกหน่วยงานภาครัฐกับทีมงานโครงการ GCC 1111 โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประสานงานโครงการ GCC 1111 ประจำหน่วยงานสามารถเข้าใจ และเห็นความสำคัญของภารกิจการเป็นตัวแทนของรัฐบาล และหน่วยงานภาครัฐ อีกทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างผู้ประสานงานกับทีมงานของโครงการ GCC 1111 ในการสนับสนุนด้านข้อมูล ข่าวสาร และรับเรื่องร้องเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการโครงการ GCC 1111 และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน
ประชาชนที่สนใจสามารถใช้บริการศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน รวมทั้งร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐบาล ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน โดยผ่านทางโทรศัพท์หมายเลข 1111 โทรสาร อีเมลล์ และเว็บไซต์ http://www.gcc.go.th และผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ได้ที่ www.facebook.com/GCC1111, twitter.com/GCC_1111 เป็นต้น

View :1338

ก.ไอซีที หนุน สสช. แปลงแผนแม่บทฯ สู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่

June 18th, 2013 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
สรุปผลการดำเนินงานการแปลงแผนแม่บทระบบสถิติของประเทศไทยสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ พ.ศ. 2556 ว่า เนื่องจากพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 มาตรา 5 และมาตรา 6 (1) ได้กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นหน่วยงานกลางของรัฐในการดำเนินการเกี่ยวกับสถิติตามหลักวิชาการ และจัดทำแผนแม่บทเกี่ยวกับการดำเนินงานทางสถิติของรัฐ ดังนั้นสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงไอซีที จึงได้ดำเนินการจัดทำแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย พ.ศ. 2554 – 2558 โดยมีสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (Thailand Development Research Institute : TDRI) และ สหประชาชาติ (United Nations : UN) ร่วมในการศึกษา ซึ่งแผนฉบับดังกล่าวนี้มีวัถตุประสงค์เพื่อให้งานด้านสถิติของประเทศมีความเป็นเอกภาพ ข้อมูลสถิติมีมาตรฐาน ลดความซ้ำซ้อนของการจัดทำสถิติและนำไปสู่การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและใช้ข้อมูลสถิติสารสนเทศร่วมกันและเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ผู้บริหารในพื้นที่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจดำเนินนโยบายที่เร่งด่วนสำคัญและนำไปใช้ในการพัฒนาในพื้นที่ได้ สสช.จึงได้ดำเนินโครงการแปลงแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทยสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ขึ้น โดยในปี 2555 ได้ดำเนินการนำร่องไปแล้ว 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอ่างทอง นครนายก ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์และกำแพงเพชร ซึ่งผลการดำเนินการดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง

สำหรับโครงการแปลงแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทยสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ พ.ศ. 2556 นี้ สสช.ได้กำหนด กลุยุทธ์ในการดำเนินการไว้ 3กลยุทธ์ คือ การขับเคลื่อนด้วยกลไกคณะกรรมการจัดระบบสถิติประเทศไทย 3ด้าน (ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ซึ่งมีรัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีเป็นประธานคณะฯ กลยุทธ์ที่สองการสร้างพันธมิตรด้วยการลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เพื่อขยายผลการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ระดับกลุ่มจังหวัด ซึ่งได้มีการลงนามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ เรื่อง การขยายผลการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในระดับพื้นที่ ภายใต้โครงการ การแปลงแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทยสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ ลงนามไปแล้วเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2556 และกลยุทธ์สุดท้ายการจัดระบบและรูปแบบการทำงานที่ผสมผสานระหว่างผู้ใช้และผู้ผลิตข้อมูล โดยนำความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล และประเด็นยุทธศาสตร์มากำหนดเป้าหมายในการทำงาน

โดยในปีนี้มีเป้าหมายในการลงพื้นที่ 2 กลุ่มจังหวัด คือ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 (ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ชัยนาท) ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ และผู้ว่าราชการจังหวัดอีก 3 ท่าน เป็นที่ปรึกษาฯ และกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (สกลนคร นครพนม มุกดาหาร) ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ และผู้ว่าราชการจังหวัดอีก 2 ท่าน เป็นที่ปรึกษาฯ โดยคาดว่าภายในปี 2557 จะขยายผลการดำเนินงานไปให้ครบทั้ง 76 จังหวัด และ 18 กลุ่มจังหวัดทั่วประเทศ โดยจะดำเนินการตามยุทธศาสตร์จังหวัด และประเด็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการติดตามแผนพัฒนาสถิติระดับพื้นที่ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วม AEC
เมื่อโครงการนี้สำเร็จลุล่วงประเทศไทยจะมีชุดข้อมูลสถิติและสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ (Product Champion) และสนับสนุนการวิเคราะห์การกำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยชุดข้อมูลดังกล่าวจะเป็นชุดข้อมูลที่สำคัญ จำเป็นและเพียงพอต่อการตัดสินใจในเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดกลุ่มจังหวัด และประเด็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่โดยมีหน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบการผลิตข้อมูลอย่างแท้จริง รวมทั้งเป็นการสร้างนวัตกรรมในการใช้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจการจัดทำแผนพัฒนาสี่ปีหรือแผนพัฒนาแบบหมุนเวียน (Rolling Plan) ส่งผลให้เกิดธรรมาภิบาลในภาครัฐ (Good Governance) และยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านสถิติขององค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างวัฒนธรรมการผลิต และการใช้ข้อมูลสถิติและสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจโดยมีความเป็นมืออาชีพด้านการผลิตและใช้ข้อมูลสถิติและสารสนเทศ

View :1281

สมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) เสนอแนะแนวทางพัฒนาแผนการสำหรับการใช้โทรทัศน์ระบบดิจิตอล และการกำหนดคลื่นความถี่ ‘Digital Dividend’สำหรับให้บริการด้านการสื่อสารแบบเคลื่อนที่

June 18th, 2013 No comments

ขณะที่ทุกคนกำลังเฝ้าคอยการตัดสินใจของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการจัดประมูลย่านความถี่ของคลื่นวิทยุแก่ผู้ให้บริการรับส่งสัญญาณวิทยุ สมาคมจีเอสเอ็ม (The GSM Association: GSMA) ยังคงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยจัดสรรคลื่นความถี่ 700MHz สำหรับให้บริการเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) แบบเคลื่อนที่ให้สอดคล้องกับแผนแม่บทเกี่ยวกับคลื่นวิทยุขององค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชีย และแปซิฟิก (Asia Pacific Telecommunity: APT)

“นี่เป็นช่วงเวลาที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย และไม่ว่า กสทช. จะกำหนดคลื่นความถี่สำหรับการสื่อสารไร้สายซึ่งสอดคล้องกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรืออาจเลือกที่แตกต่างไปจากภูมิภาค ก็ล้วนนำไปสู่ผลลัพธ์ราคาแพงสำหรับประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน” ทอม ฟิลลิปส์ (Tom Phillips) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่าย Government and Regulatory Affairs ของ GSMA กล่าว “เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า การเลือกความถี่สำหรับให้บริการระบบดิจิตอลสำหรับการสื่อสารเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในระยะยาว ซึ่งจะช่วยให้คนไทยสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะดวก ตลอดจนนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคมอันใหญ่หลวงต่อประเทศ และภูมิภาค”

ทั้งนี้ กสทช. เผชิญกับคำถามที่ว่า จะกำหนดคลื่นความถี่อิสระได้อย่างไร เมื่อมีการปรับเปลี่ยนการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์แบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน (digital terrestrial television: DTT) หรือที่เรียกว่า ‘Digital Dividend’ อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจของ กสทช. ในเรื่องดังกล่าวจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศตามที่ GSMA และบอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (BCG) ได้ระบุในรายงานเมื่อเดือนมี.ค. 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งหาก กสทช. เลือกกำหนดความถี่ 700MHz สำหรับให้บริการการสื่อสารไร้สายตั้งแต่ปี 2558 ก็จะสามารถเพิ่มรายได้แก่ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2568 มากกว่าการกำหนดความถี่ดังกล่าวสำหรับให้บริการการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตัลภาคพื้นดิน (DTT) ถึง 1.48 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังก่อให้เกิดการสร้างงานเพิ่มขึ้นอีกกว่า 55,000 ตำแหน่ง

“การจัดสรรคลื่นความถี่ 700MHz สำหรับให้บริการด้านการสื่อสารไร้สายไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญเท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางสังคมที่ยิ่งใหญ่ รวมถึงการกระจายความมั่งคั่ง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม บริการด้านการพัฒนา เช่น วงการศึกษา และเฮลธ์แคร์” นายไมเคิล เมเยอร์ (Michael Meyer) หุ้นส่วน และกรรมการผู้จัดการของ BCG กล่าว

ในทางกลับกัน หาก กสทช. ตัดสินใจเลือกใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวสำหรับให้บริการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์แทน ก็จะทำให้เกิดปัญหาการแทรกแซงข้ามเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านตามมา ได้แก่ อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว มาเลเซีย และพม่า ซึ่งคาดว่า จะเลือกคลื่นความถี่ดังกล่าวสำหรับให้บริการด้านการสื่อสารไร้สาย โดยปัญหาที่เกิดขึ้นจะบั่นทอน และลดคุณภาพของบริการให้น้อยลงในบริเวณชายแดนระหว่างประเทศ โดยอาจกล่าวได้ว่า ความขัดแย้งเรื่องคลื่นความถี่อาจส่งผลให้ต้องสูญเสียจีดีพีที่ควรเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งผลให้การสร้างงานใหม่ลดลง 96,000 ตำแหน่ง [1]

คำแนะนำสำหรับหน่วยงานกำกับดูแล
สมาคมจีเอสเอ็มขอเรียกร้องให้ กสทช. จัดทำแผนแม่บทฉบับสมบูรณ์เรื่องการปรับเปลี่ยนระบบโทรทัศน์ใหม่เป็นระบบดิจิตอล ซึ่งจะช่วยให้ตลาดเข้าใจ และมีความมั่นใจในระบบนิเวศด้านการสื่อสารไร้สาย โดยเนื้อหาในแผนแม่บทควรประกอบด้วย

1. คำมั่นอย่างเป็นทางการของหน่วยงานในการกำหนดคลื่นความถี่ 700MHz (ช่วงย่านความถี่ 698MHz – 806MHz) สำหรับให้บริการเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านบรอดแบนด์ไร้สาย
2. การปรับใช้แผนแม่บทที่สอดคล้องในระดับภูมิภาค (APT) ซึ่งใช้แผนคลื่นความถี่วิทยุ 700MHz 2x45MHz FDD โดยกำหนดขอบเขตคลื่นความถี่สำหรับให้บริการ DTT ไม่เกิน 694MHz
3. นโยบาย และกรอบเวลาสำหรับการยุติระบบโทรทัศน์แบบอนาล็อก (ASO)
4. นโยบาย และกรอบเวลาสำหรับปรับโครงสร้างคลื่นความถี่สำหรับ DTT ในระดับต่ำกว่า 694MHz

หมายเหตุถึงบรรณาธิการ
[1] รายงานฉบับเดือนมี.ค. 2556 เรื่อง “Socio-Economic Benefits of Assigning the Digital Dividend to Mobile in Thailand” จัดทำโดยบริษัทบอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (Boston Consulting Group)

เกี่ยวกับ Digital Switchover
การปรับเปลี่ยนระบบโทรทัศน์เป็นแบบดิจิตอล (DTT) จะสามารถนำเสนอรายการแก่ผู้รับชมได้เป็นจำนวนมาก ด้วยคุณภาพ และบริการที่ดียิ่งขึ้น เช่น การโต้ตอบ และโทรทัศน์ที่แสดงภาพคมชัด มีความละเอียดสูง (HDTV) เนื่องจากคุณภาพความถี่วิทยุสำหรับการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลมีประสิทธิภาพสูงกว่าการรับส่งสัญญาณในระบบอนาล็อกเป็นอย่างมาก โดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU: International Telecommunication Union) เปิดเผยว่า โทรทัศน์ระบบดิจิตอลสามารถเผยแพร่รายการได้อย่างมีประสิทธิภาพถึง 20 รายการ ซึ่งมีแบนด์วิธเท่ากับรายการโทรทัศน์แบบอนาล็อกเพียงรายการเดียว ดังนั้น การปรับเปลี่ยนไปสู่โทรทัศน์ระบบดิจิตอลจะช่วยให้บริการเผยแพร่วิทยุโทรทัศน์ขยายตัวมากขึ้น และเปิดโอกาสให้สามารถใช้งานด้านอื่นๆจากคลื่นความถี่ที่เป็นอิสระได้ ทั้งนี้ การใช้เทคโนโลยีโทรทัศน์แบบดิจิตอลเป็นการพัฒนาที่ดี และสมบูรณ์ที่สุดในหลายประเทศ

เกี่ยวกับความกลมกลืนในระดับภูมิภาค
เมื่อเดือนก.พ. 2556 นายกรัฐมนตรีจากมาเลเซีย และสิงคโปร์ได้ประกาศเจตนาร่วมกันในการใช้ความถี่ย่าน 700MHz ซึ่งให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลสำหรับให้บริการด้านการสื่อสารไร้สาย เพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทของ APT โดยประเทศอื่นๆที่เหลือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สนับสนุนแผนดังกล่าวประกอบด้วย บรูไน อินโดนีเซีย และเวียดนาม ทั้งนี้ การกำหนดความถี่สำหรับให้บริการด้านการสื่อสารไร้สายอย่างสอดคล้องกันนั้น ก่อให้เกิดผลประโยชน์เพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า
ดังนี้

· อุปกรณ์การสื่อสารไร้สายมีราคาถูกลง ตลาดขยายตัวขึ้น และช่วยให้ผู้ผลิตบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ
· ตลาดที่กว้างขึ้นนำเสนอตัวเลือกที่มากขึ้นให้แก่ผู้บริโภค
· ลดปัญหาการแทรกแซงตามพรมแดนระหว่างประเทศ
· นักท่องเที่ยวขาเข้า และขาออกของประเทศสามารถตรวจหาสัญญาณคลื่นความถี่เพื่อใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น

# # # # #

เกี่ยวกับสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA)
สมาคมจีเอสเอ็ม (The GSM Association: GSMA) เป็นองค์กรปกป้องผลประโยชน์ของผู้ให้บริการด้านการสื่อสารไร้สายในกว่า 220 ประเทศทั่วโลก ประกอบด้วยสมาชิกเกือบ 800 ราย จาก 230 บริษัท ซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศการสื่อสารไร้สาย ได้แก่ ผู้ผลิตหูโทรศัพท์ บริษัทซอฟต์แวร์ ผู้ให้บริการอุปกรณ์ และอินเทอร์เน็ต รวมถึงองค์กรในภาคอุตสาหกรรม อาทิ สถาบันบริการด้านการเงิน เฮลธ์แคร์ สื่อมวลชน การขนส่ง และสาธารณูปโภคทั่วไป นอกจากนี้ สมาคมจีเอสเอ็มยังเป็นผู้จัดงานชั้นนำต่างๆในแวดวงการสื่อสารไร้สาย เช่น งานโมบาย เวิลด์ คองเกรส (Mobile World Congress) และ งานโมบาย เอเชีย เอ็กซ์โป (Mobile Asia Expo)

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม เยี่ยมชมเว็บไซต์ของ GSMA ได้ที่ www.gsma.com หรือ Mobile World Live ที่ www.mobileworldlive.com เว็บไซต์สำหรับอุตสาหกรรมการสื่อสารไร้สาย

View :1342