Archive

Archive for the ‘Technology’ Category

แวลลูฯ รับมอบรางวัลสุดยอดตัวแทนจำหน่ายที่มีผลการดำเนินงานด้านการขายและอัตราการเติบโตเป็นอันดับหนึ่ง ประจำปี 2555 จากบราเดอร์

May 21st, 2013 No comments

Brother_Strategic_award
บริษัทเดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด (ในเครืออีซีเอส โฮลดิงส์) ผู้นำกลุ่มธุรกิจค้าส่งสินค้าไอทีในประเทศไทย ได้รับรางวัล Strategic Partner & Growth Award 2012 จากบริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) จำกัด ในงาน Brother Thank You partner 2012 เนื่องในโอกาสที่แวลลูฯ มีผลการดำเนินงานในด้านการขายและมีอัตราการเติบโตเป็นอันดับหนึ่งประจำปี 2555 นับเป็นการบ่งบอกและยืนยันถึงศักยภาพของแวลลูฯ ที่ดำเนินงานด้านการจัดจำหน่ายอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี จนนำมาซึ่งรางวัลอันน่าภาคภูมิใจนี้

ผลิตภัณฑ์ของบราเดอร์ที่แวลลูฯ เป็นตัวแทนจำหน่ายและให้บริการ ได้แก่ สินค้าในกลุ่มพรินเตอร์ โทนเนอร์และสแกนเนอร์ เป็นต้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายขาย บริษัทเดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด โทร. 0-2661-6666, 0-2261-2900
เกี่ยวกับเดอะแวลลูซิสเตมส์

บริษัทเดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด เป็นบริษัทในเครือของบริษัทอีซีเอส โฮลดิงส์ จำกัด ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ค้าส่งสินค้าไอทีชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคที่มีเครือข่ายของช่องทางการจัดจำหน่ายกว่า 23,000 ราย กระจายอยู่ทั้งในประเทศจีน, ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

บริษัทเดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด ดำเนินธุรกิจเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าและให้บริการด้านไอทีผ่านทางธุรกิจ 3 กลุ่มหลัก คือ ด้านเอนเตอร์ไพรส์ซิสเตมส์, ด้านการให้บริการด้านไอที และด้านการจัดจำหน่ายสินค้าไอที ภายใต้แบรนด์ชั้นนำระดับโลกกว่า 40 แบรนด์ มีศูนย์บริการทั้งก่อนและหลังการขายที่คอยให้การสนับสนุนด้านการบำรุงดูแลรักษาระบบเพื่อให้บริการแก่ลูกค้ารวม 3 สาขาในกรุงเทพฯ ได้แก่ อาคารพันธุ์ทิพย์พลาซา ชั้น 3 และชั้น 4, อาคารชาญอิสสระทาวเวอร์ 2 และอีก 9 สาขาในต่างจังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต หาดใหญ่ ระยอง และหนองคาย

นอกจากนี้ ยังมุ่งมั่นที่จะคืนกำไรสู่สังคมอย่างยั่งยืนโดยมุ่งเน้นการส่งเสริมให้เด็กไทยมีนิสัยรักการอ่านและมีจินตนาการที่กว้างไกล ด้วยการจัดสร้างห้องสมุดวิชาการและห้องสมุดนิทานให้แก่โรงเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ภายใต้ชื่อ ”โครงการโลกนิทานของหนู” เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน

ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเดอะแวลลูซิสเตมส์ ได้ที่ www.value.co.th

View :1254
Categories: Technology Tags:

เลขาธิการ ITU เผยมุมมองการกำกับดูแลในยุคหลอมสื่อ

May 8th, 2013 No comments

พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ประธาน กสทช.) กล่าวในงานปาฐกถาพิเศษภายใต้หัวข้อ “มุมมองของเลขาธิการสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU กับการกำกับดูแลในยุคหลอมรวมสื่อ”

(Thailand and regulation in a converged environment : an international perspective) ว่า กสทช. มีความร่วมมือกับ ITU ในหลายด้านมายาวนาน ด้วยความรู้และประสบการณ์ของ ITU ได้สร้างประโยชน์ต่อกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทย ทั้ง 2 องค์กร ได้ร่วมมือกันในหลายโครงการ อาทิ โครงการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการโทรคมนาคมอย่างเท่าเทียม หรือโครงการพัฒนาสมรรถภาพบุคลากรของ กสทช. สำนักงาน กสทช. และอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ล่าสุด กสทช. ได้รับการสนับสนุนจาก ITU ในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ 3G โดยITU ได้จัดทำรายงาน Thailand 3G Auction Review Report ซึ่งผลการศึกษาได้ประเมินและรับรองว่า การประมูลคลื่นความถี่ 3G สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ

ดร. ฮามาดูน ตูเร เลขาธิการITU กล่าวว่า ประเทศไทยมีการใช้โทรศัพท์มือถือจำนวนเกินกว่า 100 %แล้ว จึงเห็นโอกาสของการใช้การสื่อสารที่จะเข้ามาพัฒนาทุก ๆ สิ่งได้เป็นอย่างดี เป้าประสงค์สูงสุดของ ITU คือการเห็นสังคมเป็นสังคมอุดมปัญญา ที่ประชาชนสามารถที่จะเข้าถึงและใช้ฐานข้อมูลความรู้ พัฒนาต่อยอดและถ่ายทอดกันได้อย่างกว้างขวาง ในมุมมอง ITU การประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 2.1 GHz ที่ผ่านมาของประเทศไทยถือว่าประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดียิ่ง สามารถจัดสรรคลื่นความถี่ได้เป็นผลสำเร็จ ส่วนตัวมองว่า การประมูลคลื่นความถี่ของประเทศไทยมีการวางนโยบายได้เหมาะสม ไม่เน้นเรื่องรายได้จากการประมูลมากเกินไป มีการมองเรื่องประโยชน์ของผู้บริโภคเป้นสำคัญ จึงทำให้การประมูลไม่ก่อให้เกิดปัญหา จนเป็นผลให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่สามารถให้บริการได้เนื่องจากต้นทุนให้บริการนั้นสูงเกินไป

ประชาชนควรจะมีโอกาสได้รับบริการโทรคมนาคมพื้นฐานที่ทั่วถึง อันจะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลสาร ความรู้ต่างๆ รวมทั้งบริการต่างๆ จากภาครัฐได้ โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องระยะทางต่อไป ปัจจุบันกว่า 2 ใน 3 ของประชากรในโลกนี้สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้แล้ว เป้าหมายท้ายที่สุด คือการเชื่อมโยงเหล่านี้จะทำให้ไปสู่สังคมอุดมปัญญา (Knowledge Society) และในสังคมอุดมปัญญาดังกล่าว ประชาชนจะต้องสามารถทำ 4 อย่างนี้ได้ ได้แก่ 1. ประชาชนต้องเข้าถึงความรู้เหล่านี้ได้ 2. ประชาชนต้องสามารถใช้ความรู้เหล่านี้ได้ 3. ประชาชนสามารถสร้างความรู้ได้ 4. ประชาชนสามารถแบ่งปันความรู้นี้ได้

สำหรับประเทศไทย กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจาก Analog ไปสู่Digital TV นอกเหนือจากการบริหารคลื่นความถี่ให้พอเพียงกับกิจการวิทยุและกิจการโทรทัศน์แล้ว ยังควรต้องคำนึงถึงการกำหนด Digital Dividend ในช่วง700 MHz เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงบริการ บรอดแบนด์ได้อย่างทั่วถึง จึงจะนับว่าเป็นการใช้คลื่นความถี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในประเด็นเกี่ยวกับการกำกับดูแลในเรื่องการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน อยากให้ดูแลเรื่องการลดการลงทุนซ้ำซ้อน เพราะจะทำให้ต้นทุนบริการลดลง อันจะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น

ท้ายนี้ในเรื่องของแนวทางการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม ควรเป็นแบบ Light- Touch Regulation คือการกำกับดูแลแบบไม่ลงไปควบคุมมากจนเกินไป แต่จะปล่อยให้กลไกในตลาดควบคุมกันเอง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า การกำกับดูแลที่ดีที่สุดคือการไม่จำเป็นต้องไปกำกับดูแล สำหรับ ITU เอง เราใช้การให้คำแนะนำ (Recommendation) แทนการออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ และใช้วิธีการแสวงหาความเห็นร่วมของสมาชิกมากกว่าจะใช้วิธีการลงคะแนนเสียง

View :1301
Categories: Convergence, Technology Tags:

เอคเซนเชอร์ แต่งตั้งกรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยคนใหม่

April 27th, 2013 No comments

กรุงเทพฯ 25 เมษายน 2556 – เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย บริษัทให้คำปรึกษาระดับโลกด้านการจัดการการบริหารเทคโนโลยี และบริการเอาท์ซอร์ส ประกาศแต่งตั้งนายนนทวัฒน์ พุ่มชูศรี ขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยคนใหม่ ทั้งนี้ นายนนทวัฒน์ได้เข้ารับตำแหน่งดังกล่าวแทน นายอรพงศ์ เทียนเงิน ซึ่งได้ลาออกไปร่วมงานกับรัฐบาลไทย

นายอรพงศ์ เทียนเงิน

นายอรพงศ์ เทียนเงิน


นายนนทวัฒน์ กล่าวว่า “ผมรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้มีโอกาสเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างเอคเซนเชอร์และลูกค้าในไทยให้มีความแข็งแกร่งและแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยจะร่วมมือกับลูกค้าพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการทำธุรกิจของลูกค้าให้มีประสิทธิภาพและสามารถรับมือกับโจทย์ความท้าทายระดับโลกต่างๆได้อย่างดียิ่งขึ้น เช่น ระบบโลกาภิวัฒน์ การผนวกรวมระบบการดำเนินงาน การดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับกฎระเบียบข้อบังคับ และการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างครอบคลุมกว้างขวางมากขึ้น เอคเซนเชอร์มีทีมงานระดับมืออาชีพที่เปี่ยมคุณภาพ ทั้งยังมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในแวดวงอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างหลากหลาย และมีความเป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีสุดล้ำ ซึ่งด้วยคุณสมบัติอันโดดเด่นเหล่านี้ จะเป็นพลังที่หนุนเสริมให้เอคเซนเชอร์สามารถดำเนินงานได้อย่างโดดเด่นและมีแต้มต่อเหนือคู่แข่งขันได้ตรงตามกลยุทธ์ที่วางไว้”

นายนนทวัฒน์เข้าร่วมงานกับเอคเซนเชอร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 โดยมีความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาด้านการบริหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาธุรกิจ การให้คำปรึกษาและนำเสนอโซลูชั่นให้แก่ลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมแขนงต่างๆ ได้แก่ การเงินการธนาคาร การสื่อสาร สื่อและเทคโนโลยี และการจัดการทรัพยากร รวมเป็นระยะเวลากว่า 18 ปี นอกจากนี้ นายนนทวัฒน์ยังมีความชำนาญเป็นพิเศษด้านการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management: CRM) และระบบวิเคราะห์ข้อมูลอัจฉริยะเชิงธุรกิจ (Business Intelligence)

ที่ผ่านมา นายนนทวัฒน์เคยดูแลและรับผิดชอบโครงการพัฒนาและปฏิรูประบบธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนให้แก่องค์กรธุรกิจชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย ทั้งยังเคยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) ประจำภาคพื้นอาเซียนของเอคเซนเชอร์ โดยดูแลด้านการปฏิรูประบบ CRM ให้แก่บริษัทสื่อสารโทรคมนาคมขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้การปรับเปลี่ยนระบบดังกล่าวให้เป็นไปอย่างราบรื่น

นายนนทวัฒน์เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในภาคธุรกิจไทย โดยตลอดระยะเวลาที่ร่วมงานกับเอคเซนเชอร์ นายนนทวัฒน์ได้บุกเบิกเสริมสร้างสัมพันธภาพกับลูกค้าในตลาดใหม่ๆ พร้อมทั้งให้คำปรึกษาและบริการเพื่อให้ลูกค้าประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

นายนนทวัฒน์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโทสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ จากมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน (George Washington University) ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.สหรัฐอเมริกา

เกี่ยวกับเอคเซนเชอร์
เอคเซนเชอร์ เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการ การบริหารเทคโนโลยีและบริการเอาท์ซอร์สชั้นนำของโลก และด้วยประสบการณ์ การทำงานอย่างลึกซึ้ง ผนวกกับศักยภาพที่สมบูรณ์แบบในทุกภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ รวมทั้งการมีผลงานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับบริษัทชั้นนำของโลก ทำให้เอคเซนเชอร์สามารถร่วมมือกับลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชน ดำเนินการพัฒนาและยกระดับองค์กรของลูกค้าให้เป็นองค์กรที่มีศักยภาพและมีสมรรถภาพสูงสุด ปัจจุบัน มีพนักงานมากกว่า 261,000 คน ใน 120 ประเทศ และมีรายได้สุทธิ 27,900 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปีการเงินสิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2555 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์www.accenture.com

View :3696
Categories: Technology Tags:

ICT และ EGA จัดทำมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ

April 24th, 2013 No comments

นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติให้ ICT ยกระดับการให้บริการประชาชน ผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ โดยให้หน่วยงานส่วนราชการนำ “มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Website Standard)” ที่ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA ดำเนินการอยู่ ไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ของหน่วยงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

นอกจากนั้น ยังให้ EGA จดทะเบียนชื่อและเป็นผู้ถือครองโดเมนเนม ภายใต้ชื่อ “data.go.th” และ “apps.go.th” ในการให้บริการเว็บไซต์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางข้อมูลภาครัฐ (Open Government Data) และเป็นศูนย์กลางของแอพพลิเคชั่นภาครัฐ (Government Application Center) ตามลำดับ โดยทั้งสองเว็บไซต์จะมีความสำคัญต่อการพัฒนาสังคมประเทศไทยไปสู่สังคมของการใช้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตในหลากหลายมิติ

ต่อจากนั้นให้เว็บไซต์ของ 7 กระทรวง และอีก 1 หน่วยงาน ซึ่งอยู่ในรายการที่องค์การสหประชาชาติจะทำการตรวจประเมิน ดำเนินการพัฒนาเว็บไซต์ให้เป็นไปตามมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ ภายในเดือนมิถุนายนนี้ อันประกอบด้วย กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และเพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทย ในปี พ.ศ.2559 จึงให้หน่วยงานราชการระดับกรมขึ้นไป สามารถตั้งงบประมาณเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์ได้ทันภายในปีงบประมาณ 2557

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA เปิดเผยว่า ทั้ง ICT และ EGA ได้จัดทำ “มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Website Standard)” เพื่อช่วยให้การพัฒนาเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เกิดการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลและบริการระหว่างหน่วยงานราชการ ที่สมบูรณ์แบบอย่างยั่งยืน โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน และเห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับทั้งในระดับหน่วยงานผู้ให้บริการ ตลอดจนผู้รับบริการทุกภาคส่วน

โดยในแผนจะเริ่มจากการจัดทำเว็บไซต์กลางเพื่อให้บริการในลักษณะของศูนย์กลางข้อมูลภาครัฐ (Open Government Data) และเป็นศูนย์กลางของแอพพลิเคชั่นภาครัฐ (Government Application Center) ช่วยให้ผู้ใช้บริการทั้งภาคประชาชน ธุรกิจเอกชน รวมถึงหน่วยงานราชการ สามารถเข้าถึงข้อมูลภาครัฐได้ง่ายขึ้น และนำไปใช้ต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจของประเทศ

มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐจะมีการปรับปรุงตั้งแต่ องค์ประกอบเนื้อหาเว็บไซต์ (Contents) คุณลักษณะของเว็บไซต์ภาครัฐที่ควรมี (Recommended Features) รวมถึงแนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security) ซึ่งได้รวบรวมและประมวลจาก กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับในประเทศที่เกี่ยวข้อง การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และข้อกำหนดองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ในการจัดอันดับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ e-Government ของกลุ่มประเทศสมาชิก ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในระดับนานาชาติ (International Best Practice)

ที่ผ่านมา EGA ได้เริ่มดำเนินการและหารือกับหน่วยงานต่างๆ มาแล้วทั้งภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน กลุ่มสมาคม ที่รับพัฒนาเว็บไซต์ให้กับหน่วยงานราชการ และจัดให้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นกลุ่มย่อย (Focus Group) โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐระดับกรมขึ้นไป ประมาณ 60 หน่วยงาน ตลอดจนจัดประชุมประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นในวงกว้าง (Public Hearing) ใน “(ร่าง) มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ” เมื่อปี พ.ศ. 2555 มีหน่วยงานภาครัฐ ประมาณ 180 หน่วยงานมารับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะมาจัดทำมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ ฉบับสมบูรณ์ ทั้งนี้ ได้มีการผลักดัน 8 หน่วยงานดังกล่าวข้างต้น ให้มีการปรับปรุงเว็บไซต์ตามมาตรฐานฯ โดยได้มีการหารือร่วมกันเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

หากพิจารณา สถานภาพปัจจุบันของเว็บไซต์ภาครัฐในระดับกระทรวง โดยการสำรวจเว็บไซต์หน่วยงานราชการ ที่มีการให้บริการประชาชนของส่วนราชการระดับกระทรวง 20 หน่วยงาน ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2555 พบว่า เว็บไซต์ของหน่วยงานส่วนราชการ มีระดับการพัฒนาการให้บริการของเว็บไซต์หน่วยงานราชการในภาพรวม ซึ่งตามมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐแบ่งออกเป็น 5 ระดับ สามารถสรุปได้ว่า การพัฒนาการให้บริการของเว็บไซต์หน่วยงานราชการในภาพรวม จัดอยู่ในระดับ Emerging Information Services จำนวน 72.1%, Enhance Information Services จำนวน 65.25%, Transaction Information Services จำนวน 62%, Connected Information Services และ Intelligence 6% ระดับการพัฒนาการให้บริการผ่านเว็บไซต์ในระดับ Connected Information Services นั้น ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจประเมินในครั้งนี้ เนื่องจากไม่สามารถทำการตรวจประเมินโดยผู้ใช้บริการเว็บไซต์ได้

สำหรับศูนย์กลางข้อมูลภาครัฐ (Open Government Data) จะจัดตั้งเพื่อทำให้ผู้ใช้บริการทั้งภาคประชาชน ธุรกิจเอกชน รวมถึงหน่วยงานของรัฐ สามารถค้นหาและเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพของภาครัฐได้ง่าย โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อส่งเสริมให้เกิดธรรมาภิบาล ทำให้เกิดความร่วมมือของภาครัฐ และการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ให้ความสำคัญในการให้บริการข้อมูลภาครัฐแก่ประชาชน และดำเนินการศูนย์กลางข้อมูลภาครัฐ ซึ่งเป็นการช่วยสร้างมูลค่าในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้ ความโปร่งใส, การมีส่วนร่วม, การปรับปรุง หรือพัฒนาสินค้าและบริการใหม่, การสร้างนวัตกรรม, การปรับปรุงประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการให้บริการของภาครัฐ, สร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลจำนวนมาก

ส่วนศูนย์กลางของแอพพลิเคชั่นภาครัฐ (Government Application Center) จะทำให้มีการเข้าถึงข้อมูลและบริการ การนำข้อมูลไปใช้ต่อยอดในธุรกิจต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยตัวอย่างของประเทศที่พัฒนาศูนย์กลางของแอพพลิเคชั่นภาครัฐ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ทำ“Apps.Gov” ในปี พ.ศ. 2552, อังกฤษ พัฒนาศูนย์กลางของแอพพลิเคชั่นภาครัฐ ชื่อ “CloudStore” ซึ่งเป็นบริการหนึ่งบน Cloud Service โดยจัดทำในลักษณะ Government e-Marketplace, เขตบริหารพิเศษฮ่องกง มีการจัดทำเป็น Mobile websites และ Mobile applications ของหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ซึ่งให้บริการบน Web portal (www.gov.hk) ผู้ใช้บริการสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นไปใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตัวอย่างเช่น กรมอนามัย ได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับการเลิกบุหรี่ (Quit Smoking App) ที่ใช้ได้กับ iPhone และ Android เป็นต้น

View :1696

เทคโนโลยี ICT เพื่อการศึกษาและกิจกรรมพักผ่อน

April 22nd, 2013 No comments

อีริคสันคอนซูเมอร์แล็บ (Ericsson ConsumerLab) ได้เปิดเผยรายงานผลการศึกษาเรื่อง “การใช้เทคโนโลยี ICT เพื่อการศึกษาหรือกิจกรรมพักผ่อน” ที่ศึกษาพฤติกรรมและประโยชน์ของการนำอุปกรณ์เทคโนโลยีส่วนตัว เช่น คอมพิวเตอร์โน๊ตบุก โทรศัพท์มือถือ รวมถึงแท็บเล็ต มาที่โรงเรียนของเด็กนักเรียน
figure2(2)
อีริคสันคอนซูเมอร์แล็บได้ทำการศึกษาและสำรวจออนไลน์กับเด็กนักเรียนอายุระหว่าง 15 – 18 ปี จาก 5 โรงเรียนดังที่มีชื่อเสียงในด้านไอที ในประเทศเอสโตเนีย โดยจัดเป็นลักษณะการทำแบบวิเคราะห์เชิงลึกเฉพาะกลุ่ม (Focus Group)

ประเทศเอสโตเนียเป็นสังคมที่นำเทคโนโลยี ICT มาใช้อย่างจริงจัง โดยภาครัฐก็ส่งเสริมการเกิด e-Society (Electronic-Society) อย่างแพร่หลาย ซึ่งทุกครัวเรือนมีการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ต และ 98 เปอร์เซ็นต์ของโรงเรียนมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์อย่างแพร่หลาย และนี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อีริคสันคอนซูเมอร์แล็บสนใจที่จะศึกษาพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีของเด็กนักเรียนกลุ่มนี้นั้นเอง

นาย มารคัส เพอร์สัน หัวหน้าทีมงานการวิจัยของ อีริคสันคอนซูเมอร์แล็บในครั้งนี้ กล่าวว่า “ในการสัมภาษณ์กลุ่มเด็กนักเรียนครั้งนี้ เราพบว่าทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และโทรศัพท์มือถือต่างถูกนำมาใช้ประโยชน์ทั้งการเรียนและกิจกรรมยามว่าง ทั้งในโรงเรียนและที่บ้าน”
figure1
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ดิจิตอลเครื่องแรกๆ ที่นำมาใช้ในโรงเรียนที่เอสโตเนีย แต่อย่างไรก็ตามกระแสของแท็บเล็ตที่เกิดขึ้นมา ดูเหมือนว่ามันกำลังจะเข้ามาแทนที่อุปกรณ์ดังกล่าว

แม้นักเรียนทุกคนสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนได้ แต่ประมาณสองในสามของนักเรียนที่จะใช้คอมพิวเตอร์ของโรงเรียน และหนึ่งในสามของของนักเรียนจะนำแท็บเล็ตส่วนตัวมาใช้ที่โรงเรียน ในขณะสัมภาษณ์เด็กนักเรียนวัยรุ่นส่วนใหญ่กล่าวว่าพวกเขาชอบใช้งานแท็บเล็บมากกว่าเพราะด้วยความน้ำหนักที่เบาและสามารถเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้สะดวก

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม สำหรับโทรศัพท์มือถือในความคิดเห็นของครูต่างๆยังมองว่าอุปกรณ์ดังกล่าวยังไม่ใช่อุปกรณ์ที่มีประโยชน์ในด้านการเรียน แต่ว่าหนึ่งในสี่ของเด็กนักเรียนที่ให้สัมภาษณ์กลับบอกว่าพวกเขาใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อการเรียน ไม่ว่าจะเป็นการจดโน้ต ถ่ายภาพต่างๆ บนกระดานไวท์บอร์ด รวมทั้งการหาข้อมูลบนอินเทอร์เนตเป็นต้น

โทรศัพท์มือถือจึงเปรียบเสมือนเป็นอุปกรณ์เสริมที่เข้ามาเติมเต็มความจำเป็นในเรื่องของการสื่อสารทั้งในทางการเรียนและกิจกรรมยามว่าง ทั้งที่เกิดขึ้นในโรงเรียนและสถานที่ภายนอก
figure2(1)
นาย บัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ อีริคสันประเทศไทย ได้กล่าวเสริมว่า แม้ว่าคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และโทรศัพท์มือถือได้แสดงถึงประโยชน์มากมายที่ช่วยส่งเสริมในการเรียนการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ความท้าทายอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กนักเรียนก็คือ การจัดสมดุลในการใช้งานระหว่างใช้เพื่อพักผ่อนยามว่างและใช้เพื่อการเรียนการศึกษา
ดังนั้นการฝึกและปลูกฝังเรื่องของวินัยการเลือกใช้งานอย่างเหมาะสมสำหรับเด็กนักเรียนกลายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะตัวพวกเขาเองจะต้องเป็นคนแยกแยะและเลือกระหว่างการใช้งานเพื่อประโยชน์ในยามว่างหรือการนำมาใช้ประโยชน์ในการเรียนการศึกษา

View :1957
Categories: Tablet, Technology Tags:

เนวิลล์ วินเซนต์ ได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้นำฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

April 22nd, 2013 No comments

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย — 22 เมษายน 2556 — บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชัน ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด (TSE: 6501) ประกาศแต่งตั้ง นายเนวิลล์ วินเซนต์ เป็นรองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยนายเนวิลล์จะรับผิดชอบในการเป็นผู้นำและวางแผนทิศทางด้านกลยุทธ์เพื่อผลักดันให้บริษัทเติบโตและขยายธุรกิจให้ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งถือเป็นการสร้างโอกาสใหม่ให้เกิดขึ้นในภูมิภาคที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วแห่งนี้

เนวิลล์ วินเซนต์

เนวิลล์ วินเซนต์


นายเนวิลล์มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปีในด้านการบริหารจัดการ การตลาด และการขายระหว่างประเทศในภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเขาประสบความสำเร็จอย่างมากในฐานะผู้จัดการประจำประเทศของธุรกิจข้ามชาติในหลายประเทศของภูมิภาคเอเชีย ก่อนหน้าที่จะเข้ามารับตำแหน่งผู้บริหารระดับภูมิภาค และยังเคยเป็นรองประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ประจำประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะแปซิฟิก รวมทั้งเคยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ประจำประเทศเกาหลี ซึ่งตลาดเหล่านี้ล้วนมีอัตราการขยายตัวที่รวดเร็วภายใต้การเป็นผู้นำและบริหารงานของเขา

นายเนวิลล์ วินเซนต์ กล่าวว่า “ผมรู้สึกตื่นเต้นอย่างมากที่ได้มีโอกาสเป็นผู้นำของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัวเร็วที่สุดสำหรับบริษัท
เมื่อมองต่อไปในอนาคต การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะนำพาโอกาสอันยิ่งใหญ่มาให้กับเรา และด้วยขีดความสามารถ เทคโนโลยี รวมถึงการบริการต่างๆ ที่เรามีอยู่ จะช่วยให้บริษัทสามารถเข้าถึงภูมิภาคแห่งนี้ได้อย่างครอบคลุม ซึ่งนั่นจะนำไปสู่การบรรลุผลทางธุรกิจที่ดียิ่งขึ้น และภายใต้ความร่วมมือกับลูกค้าของเรา เราจะสามารถพัฒนานวัตกรรมสารสนเทศที่จะสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นในโลกใบนี้ได้”

สำหรับรายได้ของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในไตรมาสที่สามของปีงบประมาณ 2555 นั้น อยู่ในระดับสูงสุดเมื่อเทียบกับทุกภูมิภาคด้วยอัตราการเติบโตที่ 12% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่สามของปีงบงบประมาณ 2554* ทั้งนี้ บริษัท มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง มีคุณภาพ และมีความน่าเชื่อถือ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจจากลูกค้า และยังคงเดินหน้าหาแนวทางใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการขยายธุรกิจให้กับลูกค้า

นายเนวิลล์ วินเซนต์ เข้ามารับตำแหน่งแทน นายเควิน เอกเกิลสตัน อดีตรองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งขณะนี้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองประธานอาวุโสด้านการผสานรวมและตลาดเฉพาะทางระดับโลก (Global Verticals and Integration) สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดดูในข่าวประชาสัมพันธ์เรื่อง Hitachi Data Systems Furthers Strategy to Become the World’s Most Innovative Information Solutions Company (กลยุทธ์ต่อไปของ ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ สู่การเป็นบริษัทด้านนวัตกรรมโซลูชั่นสารสนเทศระดับโลก)

View :1464
Categories: Technology Tags:

Winning team MYRA to Represent Thailand at Worldwide Imagine Cup Final in Russia

April 18th, 2013 No comments

Bangkok – 17 April 2013 – Microsoft (Thailand) Limited recently held a celebratory event to honor the winning teams of the Imagine Cup Thailand 2013, the Thai edition of the world’s premier student technology competition. The students epitomize the potential IT leaders that could further strengthen the Thai software industry. MYRA team from King Mongkut’s University of Technology Thonburi (KMUTT) will represent Thailand at the worldwide Imagine Cup Final in the Russian town of St. Petersburg, Russia, from 8-11 July, hoping to extend Thailand’s reputation as the most successful Imagine Cup country.

M1-2.2

The Microsoft Imagine Cup is a worldwide competition in which students use their imagination and passion to find solutions to real-world problems. Thailand is the first country worldwide to win three grand prizes and one 1st runner-up award. In 2012, The ‘Tang Thai’ team from Mahidol University in Bangkok won the global Game Design award with its ‘Verdant Fantasy’ game.

Under this year’s theme “All Dreams Are Now Welcome”, Imagine Cup 2013 centers around three Competitions: World Citizenship, Games and Innovation. This new structure builds on the elements that have been so popular with students in the past 10 years — social impact and gaming — while expanding the competition’s focus on innovation and entrepreneurship. To inspire more students and encourage a wider variety of students to participate in Imagine Cup, the prize money has been doubled to US$50,000 for worldwide first place prizes in each of the competition categories.

Development of future IT leaders will benefit Thailand
Speaking at the awards ceremony for the Thailand edition, Haresh Khoobchandani, Managing Director, Microsoft (Thailand) Limited, said: “The Imagine Cup competition is testimony to Microsoft’s on-going commitment to promoting creativity and IT skills amongst young minds, both in Thailand through our ‘We Make 70 Million Lives Better’ vision, and worldwide. Competing in the global competition inspires students to innovate on the newest and broadest technology platforms, allowing them to build skills that will help them succeed today and advance their careers. The unique skills of the Thai students will in turn help boost the already strong Thai software development ecosystem and further strengthen Thailand’s position as an IT leader in the ASEAN region.”

2013 marks the 11th year of Imagine Cup. It started in 2003 with just 2,000 students from 25 countries. Over the past ten years, more than 1.65 million students from more than 190 countries have participated in the Imagine Cup.

Supported by strong partnerships
The success of the Imagine Cup in Thailand is made possible by the support of a number of sponsors and partners from all areas of society, including Kasikornbank, Nokia, The Software Industry Promotion Agency (SIPA), the National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC), Software Park, the Embassy of the United States, and game developing companies.

Her Excellency Ambassador Kristie A. Kenney, Embassy of the United States, said at the event: “In its 20 years in Thailand, Microsoft has continuously demonstrated its commitment to the development of the country. This event is another demonstration of the Thai-U.S. Creative Partnership at its best—a synergy of U.S. technology with Thai innovation and dynamism.”

The member of team MYRA and the SkyPACS application who won the first prize in the Openness & Innovation Category. The team consists of Sikana Tanupabrungsun, Sarunya Pumma, Katchaguy Areekijseree and Tananan Pattanangkur (From left to right) from KMUTT.

The member of team MYRA and the SkyPACS application who won the first prize in the Openness & Innovation Category. The team consists of Sikana Tanupabrungsun, Sarunya Pumma, Katchaguy Areekijseree and Tananan Pattanangkur (From left to right) from KMUTT.


Art Wichiencharoen, First Senior Vice President, Kasikornbank, platinum sponsor of the Imagine Cup Thailand, said: “As a continuous supporter of the Imagine Cup competition, Kasikornbank is very pleased to support Thai students as they showcase their creativity and develop software applications that contribute to society. We firmly believe that students who join the competition will gain valuable knowledge and experiences that help prepare them to be a part of the capable workforce for the software industry and the country. At Kasikonrnbank, we focus on innovations and see the importance of technology as a key enabler for the country’s progression. We hope that the application of the talented youth will go far on a worldwide level and we will continue our supporting role for the Imagine Cup competition.”
Team Vana from KMUTT who won the first prize in the World Citizenship category consists of  Chanida Deerosejanadej, Jitanun Meanchaianun, Patrawut Ruangkanokmas and  Supadchaya Puangpontip (From left to right)

Team Vana from KMUTT who won the first prize in the World Citizenship category consists of
Chanida Deerosejanadej, Jitanun Meanchaianun, Patrawut Ruangkanokmas and
Supadchaya Puangpontip (From left to right)


Winners of Imagine Cup Thailand 2013
Team MYRA from KMUTT won the first prize in the Openness & Innovation category and the overall first prize for its SkyPACS application. The team will represent Thailand in the worldwide Imagine Cup Final in St. Petersburgh, Russia, from 8 to 11 July 2013.

It’s the SkyPACS appplicationhas been designed to be an assistive technology for the radiologist in organizing and transferring MRI or CT images with low implementation cost. Other than the ability to display the two-dimensional images, SkyPACS is able to process the three-dimensional objects which can be viewed or printed to facilitate the radiologist in diagnosis. The system focuses on the simplicity and user-experience by relying on a web-based application. The system can be accessed via the internet from any device, such as notebook, tablet, and smartphone. Furthermore, the system is available on Windows 8 platform which enables SkyPACS to perform better on the Windows 8 devices.

Team Vana, also from KMUTT, scooped the first prize in the national World Citizenship category for its A-Eye application. A-Eye is designed and developed to be an application used in the National Park in Thailand which will educate people about eco-tourism and encouraging them to love the nature. It lets people be a part of forest monitoring inside the national park area and save paper by using online contents instead of the paper-based trail maps and information brochures. A-Eye can be commercialized with the park tourists as target customers. The A-Eye service module can be installed and run centrally, while each park can provide downloadable online contents to be used with the A-Eye mobile App. Income can be from the selling of the online contents at a nominal charge for each park, while the App itself can be downloaded from the Windows Store for free.

The work of team Myra, SkyPACS, the new medical assistance.

The work of team Myra, SkyPACS, the new medical assistance.


Prizes

Both teams of students and mentor win 3 days, 2 nights trip to visit the Microsoft Technology Center (MTC) and Universal Studios in Singapore. The overall winner will also travel to St. Petersburg to compete on a global level.

The best moment of Imagine Cup Thailand 2013 final with Microsoft’s executives, partners and awarded participants.

The best moment of Imagine Cup Thailand 2013 final with Microsoft’s executives, partners and awarded participants.


Other winners announced at the event included winners of the Nokia Award, who won a Nokia Lumia Windows Phone 8, as well as the award for the Popular Vote, as voted by the public through the Imagine Cup Thailand Facebook Fanpage: www.facebook.com/imaginecup.thailand.

View :1674
Categories: Technology Tags:

อีริคสันบรรลุข้อตกลงในการเข้าซื้อ Microsoft Mediaroom

April 10th, 2013 No comments

· ตอกย้ำความมุ่งมั่นของอีริคสันที่จะเป็นผู้นำในระบบการจัดส่งวิดีโอคุณภาพสูง (VDO Distribution)ผ่านเครือข่ายและอุปกรณ์ต่างๆ

· การเข้าซื้อ Microsoft Mediaroom ช่วยให้อีริคสันสามารถนำนวัตกรรมการชมทีวีในทุกๆที่ (TV Anywhere) สู่ผู้บริโภคได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

· อีริคสันเป็นผู้นำนวัตกรรมการจัดส่งวิดีโอคุณภาพสูงที่มีส่วนแบ่งการตลาด (Market Share) รวมกันมากกว่า 25%

อีริคสันได้บรรลุข้อตกลงในการเข้าซื้อธุรกิจทีวี Mediaroom ของไมโครซอฟท์ โดยข้อตกลงนี้จะทำให้อีริคสันเป็นผู้ให้บริการชั้นนำของระบบ IPTV และ Multi-Screen โซลูชั่นและจะมีส่วนแบ่งการตลาด (Market Share) มากกว่า 25% และการซี้อขายครั้งนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในช่วงครึ่งหลังของปี 2013 โดยสำนักงานใหญ่ของ Mediaroom ตั้งอยู่ในเมาน์เทนวิวรัฐแคลิฟอร์เนียและมีพนักงานมากกว่า 400 คนทั่วโลก

นาย แพร์ โบรคลินต์ รองประธานอาวุโสและหัวหน้าฝ่าย Business Support โซลูชั่นของอีริคสันกล่าวว่า “อีริคสันมีวิสัยทัศน์ด้านสังคมเครือข่าย หรือ Networked Society ว่าโลกของเราจะมีอุปกรณ์หรือดีไวท์มากกว่าห้าหมื่นล้านชิ้นที่จะถูกเชื่อมต่อกันผ่านระบบเครือข่ายบรอดแบนด์ เครือข่ายโทรศัพท์และ ระบบคลาวด์ (Cloud) ซึ่งบริการจัดส่งและรับวิดีโอในอนาคตก็จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามพฤติกรรมของผู้บริโภคในลักษณะคล้ายกับการใช้โทรศัพท์มือถือในการพูดคุยติดต่อสื่อสารที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน”

“การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ได้เสริมสร้างความเป็นผู้นำให้แก่ อีริคสัน โดยจะมี ฐานลูกค้าผู้ให้บริการเพิ่มมากกว่า 40 รายที่ให้บริการมากกว่า 11 ล้านครัวเรือน นอกจากนี้อีริคสันยังจะได้ทีมงานที่มีความสามารถระดับโลกในภาคธุรกิจ IPTVจาก Mediaroom อีกด้วย”

“ตลาดผู้ใช้ IPTV คาดว่าจะขยายตัวถึง 76 ล้านรายทั่วโลกสิ้นปีนี้ และจะทำรายได้รวมประมาณ 32 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยภายในอีกสองปียอดผู้ใช้น่าจะเพิ่มขึ้นถึง 105 ล้านรายและมีรายได้รวมถึง 45 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ”

“Mediaroom เป็นแพลตฟอร์มชั้นนำสำหรับการจัดส่งวิดีโอคุณภาพสูงที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้งานโดยผู้ให้บริการ IPTVชั้นนำต่างๆทั่วโลก การเข้าซื้อในครั้งนี้เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของอีริคสันที่ต้องการจะก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม และเราก็ต้องขอขอบคุณกับนวัตกรรม ประสบการณ์และความสามารถของบุคลากรของ Mediaroom ที่ช่วยเสริมศักยภาพของอีริคสันในการให้บริการนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น” นายแพร์กล่าวสรุป

นาย ทอมม์ กิบบินต์ ประธานของ Microsoft Corporation กล่าวว่า “เรามีความภาคภูมิใจในความสำเร็จและตำแหน่งผู้นำอันดับหนึ่งในตลาด IPTV ของ Mediaroom ที่ผ่านมา และเมื่อรวมกับความสมบูรณ์แบบในโซลูชั่นโทรทัศน์และเครือข่ายของอีริคสันก็จะช่วยให้ทีวีและเครือข่ายโซลูชันของอีริคสันจะช่วยผลักดันให้ Mediaroom เติบโตและมีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ในอนาคต”

“อีริคสันเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญต่อผู้ประกอบการและผู้ให้บริการโทรทัศน์ทั่วโลกในขณะที่ตลาด IPTVเริ่มมีการวิวัฒนาการ”

ไมโครซอฟท์ Mediaroom เป็นเทคโนโลยีของระบบโทรทัศน์ที่ผู้ให้บริการโทรทัศน์ชั้นนำระดับโลกต่างเลือกใช้เช่น AT&T U-verse®, Entertain of Deutsche Telekom, Telefonica, TELUS Optik TV™ และ Swisscom โดยเทคโนโลยีของ Mediaroom ได้ถูกนำไปให้บริการกว่า 22 ล้าน Set Top Boxes ทั่วภูมิภาคยุโรปตะวันออกกลางและแอฟริกา และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

นาย บัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ อีริคสันประเทศไทย ได้กล่าวเสริมว่า “โซลูชั่นการให้บริการโทรทัศน์และวิดีโอของอีริคสันได้ถูกออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคและผู้ใช้งาน โดยระบบและบริการการจัดส่งวิดีโอคุณภาพสูงจะเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อผู้ให้บริการและผู้บริโภคมากขึ้นเมื่อเริ่มมีการให้บริการเครือข่าย LTE หรือ 4G พร้อมกับความแพร่หลายของอุปกรณ์สมาร์ทโฟนที่เพิ่มมากขึ้น”

อีริคสันได้เล็งเห็นพฤติกรรมการใช้บริการโทรทัศน์ของผู้บริโภคมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงที่เร็วขึ้น ความเร็วในการนำเสนอนวัตกรรมและโซลูชั่นใหม่ที่ชาญฉลาดจะช่วยให้ ผู้บริโภคสามารถชมทีวีในทุกๆที่ (TV Anywhere) ได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น การพัฒนานี้จะยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองการควบรวมตัวของอุตสาหกรรมในภาคต่างๆเช่นกิจการโทรคมนาคม และกิจการโทรทัศน์ ที่กำลังเกิดขึ้น แต่การพัฒนานี้ยังคงต้องการความร่วมมือในการกำหนดบทบาทและรูปแบบธุรกิจจากทุกๆฝ่าย เช่น เจ้าของลิขสิทธิ์ข้อมูลคอนเท็นต์ ผู้ให้บริการเครือข่าย ผู้ให้บริการโทรทัศน์ และผู้จัดรายการทีวีโทรทัศน์ เป็นต้น

การตัดสินใจในครั้งนี้ยังได้ถูกตอบรับจากการที่อีริสันได้รับรางวัลทริปเปอร์เอ็มมี่อวอร์ด (Triple Emmy Award-Winning Leadership) ในฐานะผู้นำในอุตสาหกรรมสื่อที่นำนวัตกรรม TV Anywhere พร้อมประสบการณ์ใหม่ๆสู่ลูกค้าและผู้บริโภค

View :1416
Categories: Technology Tags:

Norton Safe Web alerts internet users to dangerous websites

April 10th, 2013 No comments


Bangkok, Thailand – April 9, 2013 – A free online Norton program is being offered by Symantec that allows internet users to check the safety of a website before the site is visited. Norton Safe Web is available for free download from https://safeweb.norton.com

The program is designed to detect online threats like viruses, phishing and spyware and detect sites such as those that attempt to steal credit card numbers or passwords, or crash computers.

Often, by the time the site has been visited, it is too late to prevent the damage, but Norton Safe Web detects the dangers before this stage.

Norton’s servers analyse websites to see how they will affect you and your computer, and then using the Norton Toolbar that is installed on your PC, the program lets you know how safe a particular site might be before you view it.

Two symbols appear on your screen to indicate the level of safety, and mousing over these will provide further details.

· The Norton Secured symbol: means that the site is safe for shopping and financial transactions because there are no e-commerce safety threats.
· The Norton OK symbol: means it is safe to proceed but that it is not recommended you put information such as credit card numbers or personal details on the site.

View :1682
Categories: Software, Technology Tags:

ก.ไอซีที เผยร่างแผนปฏิบัติการ e-Government หวังรวมบริการภาครัฐในกลุ่มประเทศอาเซียน

April 10th, 2013 No comments

นายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวถึง ความคืบหน้าการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียนว่า ตามที่ประเทศไทยโดยกระทรวงไอซีทีได้รับมอบหมายจากที่ประชุมอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เป็นเจ้าภาพดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (ASEAN e-Government Strategic Action Plan) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า และเคลื่อนย้ายบุคคลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเป็นแนวทางและแผนการดำเนินงานร่วมกันสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียน ในการพัฒนาบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

เพื่อให้การดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการดังกล่าวมีสาระสำคัญที่ครบถ้วน สอดคล้องกับบริบทการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศ กระทรวงไอซีทีจึงได้ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน Workshop on Developing ASEAN e-Government Strategic Action Plan เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วม 5 ประเทศ ประกอบด้วย สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ ไทย สิงคโปร์ และเวียดนาม ซึ่งที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบในหลักการของเค้าโครงร่างแผนปฏิบัติการดังกล่าว โดยมีกรอบการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1)Governance Provision Plan คือการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และกิจกรรมสำคัญ (Milestone) เพื่อเป็นแนวทาง และแผนการดำเนินงานสำหรับหน่วยงานของรัฐในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนสำหรับใช้พัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ 2) Online Service Component คือการกำหนดแอพพลิเคชั่นบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Services) ที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า และเคลื่อนย้ายบุคคลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ที่ควรดำเนินการจำนวน 15 บริการ แบ่งเป็นบริการด้านการทะเบียน (Registration) บริการด้านการขออนุญาตและใบรับรอง (Permits and License) บริการด้านภาษีอากร (Revenue Generating) และบริการตอบแทนสังคม (Social Returns)

3) Telecommunication Infrastructure กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม ทั้งในด้านคุณภาพของโครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีการสื่อสารที่ใช้ ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการอินเทอร์เน็ต การรักษาความมั่นคงปลอดภัย และกิจกรรมสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม 4) Laws and Regulation คือการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และการดำเนินธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า และเคลื่อนย้ายบุคคลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และ5) Human Capital Development เน้นเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ด้าน ICT ทั้งในเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ระดับการเรียนรู้ด้านไอซีที ตลอดจนมาตรฐานวิชาชีพที่จะยอมรับร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน

“แผนปฏิบัติการการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียนที่จัดทำขึ้นนี้ จะเป็นกรอบการดำเนินงานพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศสมาชิกอาเซียน ในการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและเคลื่อนย้ายบุคคล เพื่อเตรียมการรองรับการพัฒนาและเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบบริการของแต่ละประเทศในอาเซียนเข้าด้วยกัน อันจะเป็นส่วนสนับสนุนสำคัญในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนต่อไป สำหรับในประเทศไทยกระทรวงไอซีทีจะจัดประชุมเพื่อนำเสนอร่างแผนปฏิบัติการฯ และประเด็นข้อเสนอแนะที่ประเทศไทยควรจะต้องเร่งดำเนินการให้หน่วยงานของรัฐได้รับทราบ รวมทั้งจัดการประชุมรับฟังข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นของภาคเอกชนที่มีต่อการบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากทุกภาคส่วนมาใช้ประกอบการจัดทำแผนการดำเนินงานพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ฉบับที่ 3 ต่อไป” นายไชยยันต์กล่าว

View :1294