Archive

Archive for the ‘Telecom’ Category

ข้อคิดเห็นต่อแผนการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานอย่างทั่วถึงของ กสทช.

February 2nd, 2012 No comments

โดย สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

กำลังจัดทำร่างแผนการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานอย่างทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมประจำปี 2555-2559 โดยมีเป้าหมายตามตารางประกอบ การจัดทำแผนดังกล่าวนับเป็นพัฒนาการด้านบวกที่สำคัญ เนื่องจากทำให้ ทราบค่าใช้จ่ายในการให้บริการอย่างทั่วถึง และสามารถจัดลำดับความสำคัญของโครงการต่างๆ ได้ จากเดิมที่มีหลักเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจนนัก

นอกจากนี้ กสทช. ยังเปลี่ยนมาใช้กลไกของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการ และน่าจะช่วยลดต้นทุนการจัดให้มีบริการได้ จากการใช้วิธีประมูลแข่งขันมาคัดเลือกผู้ให้บริการอย่างทั่วถึง

ตามแผนใหม่นี้ ค่าธรรมเนียมที่ กสทช. จะจัดเก็บเข้าสู่กองทุนฯ จะอยู่ที่ร้อยละ 4 ของรายได้ในการให้บริการของผู้รับใบอนุญาตทั้งที่มีและไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง จากเดิมที่เก็บในอัตราเดียวกันจากเฉพาะผู้รับใบอนุญาตที่มีโครงข่ายเป็นของตนเองเท่านั้น

เป้าหมายในการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานอย่างทั่วถึงประจำปี 2555-2559
- 99% ของพื้นที่ทั่วประเทศสามารถเข้าถึงบริการโทรศัพท์ส่วนบุคคลได้
- มีโทรศัพท์สาธารณะ 1 เลขหมายต่อหมู่บ้านเล็กและห่างไกลในพื้นที่ที่เหลือ 1%
- มีบริการอินเทอร์เน็ตชุมชน โรงเรียนและสถานีอนามัย ความเร็ว 2 Mbps ในพื้นที่ชนบท 20% ของประเทศ
- มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 2-10 Mbps และ WiFi ครอบคลุมโรงเรียน สถานีอนามัย อบต. และพื้นที่ไม่น้อยกว่า 80% ของประเทศ
- มีบริการอินเทอร์เน็ตสำหรับชุมชนรายได้น้อยในเขตเมือง สถานสงเคราะห์คนชรา และโรงเรียนสอนคนพิการ 500 แห่งทั่วประเทศ
- มีระบบการสื่อสารเฉพาะทางของคนพิการทางตาและการได้ยิน ไม่น้อยกว่า 1 แสนคน
- ส่งเสริมและพัฒนาเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ตที่เป็นประโยชน์
- ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านโทรคมนาคม อาทิ การพัฒนาทักษะและฝีมือแก่แรงงาน การสนับสนุนทุนการศึกษา ตลอดจนฝึกอบรมประชาชนไม่น้อยกว่า 5 แสนคน

โดยรวมแล้ว ผู้เขียนเห็นว่า แผนดังกล่าวมีพัฒนาการในด้านดีหลายประการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเห็นว่าการดำเนินการตามแผนดังกล่าวจะทำให้เกิดต้นทุนในการให้บริการอย่างทั่วถึงในระดับสูงกว่าที่ควรจะเป็น ด้วยเหตุผลหลายประการ

ประการที่หนึ่ง แม้แผนดังกล่าวมีแนวคิดในการแบ่งพื้นที่ซึ่งยังไม่มีบริการโทรคมนาคมออกเป็น พื้นที่ซึ่งไม่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริง (true access gap) ซึ่งต้องการการอุดหนุนจากกองทุนฯ และพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพในเชิงพาณิชย์แต่ยังขาดบริการอยู่ (efficiency gap) ซึ่งการแข่งขันในตลาดจะทำให้เกิดบริการก็ตาม ในทางปฏิบัติ กสทช. ก็ยังมิได้แบ่งพื้นที่ของประเทศไทยออกมาตามแนวคิดดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้ต้องใช้เงินกองทุนฯ ไปอุดหนุนบางพื้นที่โดยไม่จำเป็น

ประการที่สอง ด้วยเหตุผลเดียวกับข้อแรก แผนดังกล่าวมุ่งใช้เงินจากกองทุนฯ เป็นหลักในการทำให้เกิดบริการอย่างทั่วถึง โดยไม่ได้ใช้มาตรการอื่นเท่าที่ควร โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในตลาดเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการจากการออกใบอนุญาตใหม่ๆ และการกำกับดูแลที่ดี

ประการที่สาม แผนดังกล่าวกำหนดเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้อย่างตายตัว เช่น กำหนดว่าต้องมีบริการ WiFi ครอบคลุมพื้นที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของประเทศ
ทำให้ขาดทางเลือกในการใช้เทคโนโลยีอื่นเช่น WiMax หรือดาวเทียมบรอดแบนด์ ซึ่งอาจมีต้นทุนต่ำกว่าในบางพื้นที่

ข้อเท็จจริงที่ชี้ว่า การให้บริการอย่างทั่วถึงตามแผนดังกล่าวน่าจะมีต้นทุนสูงกว่าที่ควรจะเป็นก็คือ การที่ กสทช. จะเก็บค่าธรรมเนียมเข้ากองทุนฯ ที่อัตราร้อยละ 4 ของรายได้ของผู้รับใบอนุญาต ซึ่งสูงกว่าอัตราที่จัดเก็บอยู่ในต่างประเทศ เช่น ชิลี เปรู และแอฟริกาใต้ ต่างเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวในอัตราที่ต่ำกว่าร้อยละ
1 ของรายได้ของผู้ประกอบการ และไม่พบว่ามีประเทศใดที่เก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวถึงร้อยละ 2.5 เลย ยกเว้นอินเดีย (ดูภาพประกอบ)
ค่าธรรมเนียมในระดับสูงของไทยจะเป็นต้นทุนที่ผู้บริโภคทุกคนมีภาระต้องแบกรับ

จากการเหตุผลต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนขอเสนอแนะให้ กสทช. พิจารณาสั่งการให้ สำนักงาน กสทช. ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. จัดทำการประมาณการความแพร่หลายของบริการโทรคมนาคมพื้นฐานในประเทศไทยว่ามีแนวโน้มโดยธรรมชาติอย่างไร และจะมีความแพร่หลายเพิ่มขึ้นอย่างไรหากมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้และกำกับดูแลให้ตลาดมีการแข่งขันอย่างเต็มที่
2. ระบุพื้นที่ซึ่งไม่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริงจากประมาณการข้างต้น ซึ่งจะทำให้ทราบพื้นที่ซึ่งควรได้รับการอุดหนุนอย่างแท้จริง
3. เปิดกว้างให้ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายในการแข่งขันกันให้บริการอย่างทั่วถึง โดยไม่ต้องระบุเทคโนโลยีอย่างตายตัว เช่น ไม่ควรระบุว่า ต้องเป็น WiFi เท่านั้น
4. ตัดโครงการที่ไม่เกี่ยวข้องกับบริการอย่างทั่วถึงออกเช่น การพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงาน และทุนการศึกษา เนื่องจากการใช้จ่ายในลักษณะดังกล่าวน่าจะขัดกับบทบัญญัติตามกฎหมาย ทั้งนี้ หากต้องมีค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมบุคลากร ก็ควรจำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคลที่ขาดทักษะการใช้บริการโทรคมนาคมเท่านั้น
5. ควบคุมการใช้จ่ายของ กสทช. และสำนักงาน กสทช.ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น กำหนดอัตราเงินเดือน หรือสวัสดิการต่างๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และป้องกันการรั่วไหลต่างๆ ในการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งนี้เนื่องจากรายได้ของสำนักงาน กสทช. เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ข้างต้นแล้ว จะมีส่วนที่ถูกนำส่งเป็นรายได้ของกองทุนฯ ด้วย นอกจากนี้ การกำหนดเงินเดือนของ กสทช. ในระดับที่สูงมากโดยการแปลงโบนัสเป็นเงินเดือน น่าจะขัดกับเจตนารมย์ของกฎหมาย และก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อความน่าเชื่อถือในการทำงานเพื่อสาธารณะของ กสทช. เอง
6. ปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมกองทุนฯ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และใกล้เคียงกับมาตรฐานสากล เช่น ไม่ควรเกินร้อยละ 2.5 เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อผู้บริโภคมาก โดยรายได้ดังกล่าวของกองทุนฯ น่าจะเพียงพอต่อการให้บริการอย่างทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคิดถึงฐานรายได้ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีการขยายฐานของผู้จ่ายค่าธรรมเนียมไปยังผู้รับใบอนุญาตทุกประเภทแล้ว

ภาพเปรียบเทียบอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการอย่างทั่วถึงของประเทศต่างๆ

ที่มา: เอกสารประกอบการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะของ สำนักงาน กสทช.

View :1752

ดีแทคเยียวยาลูกค้าภาคใต้ หลังชุมสายขัดข้อง 3 ชั่วโมง

January 7th, 2012 No comments

ประกาศชดเชยค่าบริการ 48 ชั่วโมง ให้แก่ลูกค้าจำนวน 1.8 ล้านราย ในพื้นที่เจ็ดจังหวัดภาคใต้ ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีบริการขัดข้องที่เกิดขึ้นเป็นครั้งที่สองในช่วงสามอาทิตย์ที่ผ่านมา

ดร. ดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารของดีแทค กล่าวว่า บริษัทฯ จะทำการชดเชยค่าบริการในช่วงเวลา 48 ชั่วโมง ให้แก่ลูกค้าจำนวน 1.8 ล้านราย ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีบริการขัดข้องที่เกิดขึ้นเป็นเวลา 3 ชั่วโมง ในช่วงเย็นของวันที่ 5 มกราคมนี้ โดยแบ่งเป็นลูกค้าจำนวนประมาณ 9 แสนรายในเจ็ดจังหวัดภาคใต้ คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตรัง กระบี่ นครศรีธรรมราช ภูเก็ต และพังงา รวมทั้งลูกค้าอีกจำนวนหนึ่งในพื้นที่บางส่วนของประเทศซึ่งได้รับผลกระทบ

บริการที่ขัดข้องดังกล่าวเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2555 เวลาประมาณ 15.30 น. บริษัทฯ พบว่าชุมสาย (MSC) ของบริษัทฯ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีประสิทธิภาพที่ลดลง และอัตราความสำเร็จในการเชื่อมต่อของลูกค้าในพื้นที่ดังกล่าวลดลงมาอยู่ระดับร้อยละ 50-60 ปัญหาที่เกิดขึ้น นำไปสู่การเกิดภาวะการจราจรหนาแน่นในระบบของบริษัทฯ และส่งผลให้ลูกค้าดีแทคจำนวน 1.8 ล้านราย ประสบปัญหาในการโทรออกหรือรับสายเข้า

ทีมงานเทคโนโลยีของบริษัทฯ สามารถแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ในเวลาประมาณ 18.45 น. และสถานการณ์ได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจนสามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ในเวลาประมาณ 20.30 น. ของวันเดียวกัน โดยอัตราความสำเร็จในการเชื่อมต่อของลูกค้าอยู่ที่ร้อยละ 98-99 ซึ่งเป็นระดับปกติ

“ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เป็นเหตุการณ์เฉพาะ และเกิดขึ้นในขั้นตอนของการปรับปรุงระดับมาตรฐานอุปกรณ์ของบริษัทฯ คณะผู้บริหารและพนักงานของดีแทคกราบขออภัยต่อลูกค้าสำหรับความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ดีแทค ยินดีรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และจะชดเชยลูกค้าสำหรับความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นต่อไป”ดร. ดามพ์ กล่าว

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ทางดีแทคจะทำการชดเชยค่าบริการให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าว จำนวน 1.8 ล้านราย ภายในช่วงเวลา 48 ชั่วโมง โดยเริ่มต้นในช่วงระหว่างเวลา 12.00 น. ของวันที่ 4 มกราคม จนถึงเวลา 12.00 น. ของวันที่ 6 มกราคม 2555

ดร. ดามพ์ กล่าวต่อว่า “ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุขัดข้องในบริการขึ้นอีก ดีแทคได้ตัดสินใจที่จะระงับการปรับปรุงในการยกระดับมาตรฐานอุปกรณ์ของบริษัทฯ เป็นการชั่วคราว และจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับบริษัท (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดหาอุปกรณ์ให้กับบริษัทฯ ในการที่จะทบทวนขั้นตอนและกระบวนการทั้งหมดในการปรับปรุงยกระดับมาตรฐานอุปกรณ์โดยด่วนต่อไป การตัดสินใจในครั้งนี้อาจทำให้แผนงานยกระดับมาตรฐานอุปกรณ์ของดีแทคล่าช้าไปบ้าง อย่างไรก็ดี การตัดสินใจจะช่วยให้ดีแทคสามารถลดความเสี่ยงในการที่จะเกิดปัญหาในลักษณะนี้ขึ้นอีกในอนาคต และในระยะยาว จะสามารถนำเสนอสินค้าและบริการที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าได้”

“จากสถานการณ์ทั้งสองครั้งที่เกิดขึ้นนี้ เราตระหนักดีว่าจะต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดในการที่จะสร้างความมั่นใจของลูกค้าของเราให้กลับคืนมา ดังนั้น คณะผู้บริหารและพนักงานของดีแทค ขอตั้งปณิธานว่าเราจะใช้ความพยายามอย่างที่สุดที่จะป้องกันไม่ให้ปัญหาในลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก และที่สำคัญคือ เราจะใช้ความพยายามเป็นอย่างยิ่งที่จะนำเสนอสินค้าและบริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้าของเรา ดีแทคใคร่กราบขออภัยมายังลูกค้าทั้งหมดอีกครั้ง ณ ที่นี้” ดร. ดามพ์กล่าวในที่สุด

View :1611

เอไอเอสยืนยันจัดเต็มเครือข่ายช่วงเทศกาลปีใหม่

December 27th, 2011 No comments

เอไอเอส เตรียมจัดเต็มเครือข่ายเป็นพิเศษ เพื่อรองรับการใช้งานในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2555

นางวิไล เคียงประดู่ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานประชาสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เปิดเผยถึง มาตรการเตรียมความพร้อม ด้านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่จะมาถึงนี้ว่า “เพื่อให้ลูกค้าทุกท่านสามารถส่งความสุขถึงกันได้อย่างไม่ขาดตอนระหว่างช่วงของการเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ เอไอเอสจึงได้เตรียมความพร้อมเครือข่ายอย่างเต็มที่ ประกอบด้วย

1. การเตรียมความสามารถในการรองรับการใช้งาน (Capacity Preparation)
เพิ่มปริมาณในการรองรับการใช้งาน (Radio Capacity) ในแหล่งท่องเที่ยว และสถานที่จัดกิจกรรม Count Down ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดเป็นพิเศษ รวมถึงสถานีรถโดยสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหมอชิต,เอกมัย หรือสายใต้ใหม่ โดยเพิ่มความสามารถในการรองรับการใช้งานจากปกติอีกกว่า 50% ของการใช้งาน ทุกประเภท ทั้งนี้ในส่วนของ SMS นั้น รองรับได้ถึง 24 ล้านข้อความต่อชั่วโมงและ MMS รองรับได้ถึง 400,000 ข้อความต่อชั่วโมง รวมไปถึง Data ที่เพิ่มการรองรับขึ้นอีก.เท่าตัว
2. การเตรียมความพร้อมของบุคลากร (Resource Preparation)
นอกเหนือจากวิศวกรที่ปฏิบัติหน้าที่ 24 ชั่วโมง ตามปกติ ณ ศูนย์บริหารเครือข่าย ส่วนกลาง (Network Management Center) และศูนย์บริหารเครือข่ายส่วนภูมิภาค (Regional Operation Center) แล้ว ยังได้เตรียมวิศวกร Stand by เพิ่มเติม ณ บริเวณสถานีฐานในเขตกรุงเทพฯและหัวเมืองทั่วประเท ในช่วงคืนวันที่ 31 ธันวาคม ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้รวมไปถึง Call center ที่พร้อมเป็นผู้ช่วยคุณ 24 ชั่วโมงเช่นเดิม
3. แผนรองรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน (Contingency Plan)
ทีมผู้บริหารและพนักงานทุกส่วนเตรียมพร้อมเฝ้าระวัง และติดตามการใช้งานในทุกๆบริการอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาหรือเพิ่มปริมาณการใช้งานได้อย่างทันท่วงที รวมไปถึงการเตรียมความพร้อม ร่วมกับฝ่ายอาคารและสถานที่ในทุกพื้นที่พร้อมทั้งประสานงานร่วมกับผู้ให้บริการรายอื่นๆทั้งในและต่างประเทศ, Supplier, Subcontractors, Content Provider รวมไปถึงการไฟฟ้าฯ เพื่อให้สามารถประสานงานแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
“ทั้งนี้ในนามของเอไอเอส ขออวยพรให้ประชาชนชาวไทย มีความสุขสดชื่น ตลอดจนมีสุขภาพ แข็งแรง รวมถึงประสบความสำเร็จในกิจการงานทุกๆอย่างสมตามที่หวังไว้ในศักราชใหม่ที่จะถึงนี้ สำหรับเอไอเอสแล้วก็จะยังคงทำหน้าที่มอบบริการที่สร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ทุกท่านอย่างต่อเนื่องต่อไป” นางวิไล กล่าวในตอนท้าย

View :1760
Categories: Press/Release, Telecom Tags: ,

ดีแทคขออภัยลูกค้ากรณีเครือข่ายมีปัญหา ประกาศชดเชยให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ

December 22nd, 2011 No comments

ย้ำจุดยืนมุ่งมั่นสร้างประสบการณ์ดีๆ ในการติดต่อสื่อสารต่อไป

ดร. ดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)

22 ธันวาคม 2554 – บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ “” ขอโทษลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเชิงเทคนิคของระบบเครือข่ายวานนี้ (21 ธันวาคม) พร้อมประกาศชดเชยค่าบริการให้แก่ลูกค้าทุกรายทั้งในระบบพรีเพดและลูกค้ารายเดือนที่ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าว

ดร. ดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ดีแทคได้ปรับปรุงระบบและย้ายฐานข้อมูลไปสู่ระบบใหม่ในระหว่างคืนวันที่ 20 ธันวาคม ถึงเช้าวันที่ 21 ธันวาคม บริษัทฯ ได้ดำเนินการถ่ายโอนฐานข้อมูลทางเทคนิคจากระบบอุปกรณ์เดิมของเราไปสู่อุปกรณ์ใหม่อันถือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามต่อเนื่องของเราที่จะยกระดับระบบโทรคมนาคมของบริษัท และฐานข้อมูลเหล่านี้ได้ถูกส่งต่อไปยังระบบ Home Location Register หรือ HLR ต่างๆ ของเรา โดยมีทีมงานเทคโนโลยีของบริษัทฯ ติดตามการดำเนินการอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา อย่างไรก็ดี ได้พบว่าเกิดปัญหาในเชิงเทคนิคขึ้นกับอุปกรณ์ HLR ตัวหนึ่งของเรา ผลที่เกิดขึ้นคือ ลูกค้าส่วนหนึ่งของเราประสบปัญหาในการโทรออกหรือรับสายเข้า ในที่สุดจึงทำให้ระบบติดขัดมากขึ้น อันเนื่องมาจากการใช้งานที่หนาแน่น และส่งผลกระทบต่อเครือข่ายโดยรวม”

“เหตุการณ์ดังกล่าวไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด แต่ฝ่ายเทคนิคของบริษัทฯ ก็ได้ทำงานอย่างเต็มกำลังและความสามารถเพื่อแก้ไขสถานการณ์ และแก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหา เพื่อจะทำให้อัตราความสำเร็จในการโทร.กลับเข้าสู่ภาวะปกติ จากความพยายามในการแก้ไขปัญหาในทันที ทำให้สถานการณ์ทั้งหมดดีขึ้นในเวลา 13.30 น. และระบบกลับสู่ภาวะปกติได้อย่างมีเสถียรภาพภายในเวลา 15.00 น. อย่างไรก็ดี ระหว่างเวลา 17.30-18.30 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีระบบถูกใช้งานมากอีกช่วงเวลาหนึ่ง เราพบว่าอัตราความสำเร็จในการเชื่อมต่อลดต่ำลงอีกครั้ง ซึ่งทีมงานเทคโนโลยีของเราได้รีบแก้ไขปัญหา และดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาดังกล่าวซ้ำอีก”

“พวกเราผู้บริหาร และพนักงานของดีแทคต้องกราบขออภัยลูกค้าของเราในความไม่สะดวกที่เกิดขึ้น เราตระหนักดีว่า ไม่มีหนทางใดที่เราจะสามารถนำเวลาของท่านที่สูญเสียไปกลับมาได้ อย่างไรก็ดี พวกเราอยากจะแสดงความรับผิดชอบของเราด้วยการชดเชยความสูญเสียที่เกิดขึ้นให้แก่ลูกค้าทุกคน ด้วยการชดเชยค่าบริการให้แก่ลูกค้าทุกรายทั้งในระบบพรีเพดและลูกค้ารายเดือนที่ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าว ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างเวลา 12.00 น. ของวันที่ 20 ธันวาคม จนถึงเวลา 12.00 น. ของวันที่ 22 ธันวาคมนี้” ดร. ดามพ์ กล่าว

“ในระหว่างนี้ ดีแทคจะดำเนินการทุกประการที่สามารถทำได้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาแบบเดียวกันนี้ขึ้นอีก และให้ลูกค้าสามารถติดต่อสื่อสารกับเพื่อนฝูง ครอบครัวและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง บริษัทฯ ขอเรียนย้ำว่า เรามุ่งมั่นที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุดที่เราสามารถจะจัดให้ได้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าตลอดเวลา” ดร. ดามพ์กล่าวย้ำ

View :1345

กสทช. มุ่งผลักดันอุตฯ โทรคมนาคมไทย ให้เกิดการซื้อขายในงาน CommunicAsia 2011 ที่ผ่านมา

December 21st, 2011 No comments

ผลงานวิจัยและพัฒนาด้านโทรคมนาคมของประเทศ ได้รับการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนา ต่อยอด ตลอดระยะเวลากว่า 4 ปีที่ผ่านมา โดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน ) หรือ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทช.) เดิม ซึ่งได้ริเริ่มขึ้นการสนับสนุนมาตั้งแต่ปี 2551 ผ่านทาง กลุ่มภารกิจด้านการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หรือ ชื่อเดิมที่รู้จักกันในนาม “ทริดี้” ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนนักวิจัยให้สร้างสรรค์ผลงานวิจัยด้านโทรคมนาคมที่มีศักยภาพไม่แพ้ผลงานในต่างประเทศ จนได้ยื่นจดสิทธิบัตร,ส่งเสริมห้องแล็บโทรคมนาคมในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ, สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และหน่วยงานด้านการวิจัยชั้นนำหลายแห่งในต่างประเทศ, พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถผ่านทางการให้ทุนการศึกษา NTC Scholarship พร้อมเผยแพร่ความรู้ด้วยการจัดฝึกอบรม สัมมนา อย่างสม่ำเสมอตลอดมา และในปีนี้ ทริดี้ ยังได้เปิดโอกาสทางการค้าระดับสากลให้กับผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมไทยได้ขยายตลาด โชว์ศักยภาพของสินค้าไทยในเวทีโลกที่งาน ณ ประเทศสิงค์โปร์ การก่อตั้งกลุ่ม MT2 (เอ็มทีสแควร์) เป็นการรวมกลุ่มของภาคกิจโทรคมนาคม เพื่อต่อยอดธุรกิจในภาพรวมของประเทศ อีกทั้งนำผลงานที่ได้จากการพัฒนาไปช่วยเหลือคนพิการ อาทิ อุปกรณ์คลื่นสมองช่วยคนพิการ จากมหาวิทยาลัยมหิดล

ทริดี้ มองเห็นถึงโอกาสทางธุรกิจภาคอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยที่จะผลักดันออกสู่ตลาดโลกได้ ซึ่งการแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านโทรคมนาคมในเวทีระดับนานาชาติ หรือ CommunicAsia 2011 ณ ประเทศสิงคโปร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้ในเวทีโลกว่า ไทยก็เป็นประเทศผู้ผลิตด้านโทรคมนาคม และสร้างโอกาสให้กับบริษัทผู้ผลิตสัญชาติไทย อันจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จากงานวิจัยที่ สำนักงาน กสทช. สนับสนุน การออกงานครั้งแรกใน CommunicAsia นี้ มีผู้เข้าชมผลงานที่จัดแสดงกว่า 1,200 คน โดยผลงานวิจัยที่ได้รับความสนใจมาก ได้แก่ เครื่องตัดสัญญาณวิทยุ หรือ Jammer ของบริษัท DRC (ซึ่งเคยได้รับรางวัลจาการประกวดนวัตกรรมโทรคมนาคม ปี 2553 ของสำนักงาน กทช. มาแล้ว) ระบบวินิจฉัยทางการแพทย์ระยะไกล (Telediag) ของบริษัท Prodigi และ ผลงานอื่นๆ อีกจากหลากหลายบริษัทฯ ที่ต่างชาติให้ความสนใจเป็นอย่างสูง นอกจากนี้ บริษัทที่ร่วมแสดง สามารถจับคู่ธุรกิจได้สำเร็จแล้วหลายราย สร้างมูลค่าเป็นเม็ดเงินเข้าประเทศนับร้อยล้านบาท

การเปิดตลาดในครั้งนี้ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย โดยมีสะท้อนในทางที่ดีกลับมายังผู้ประกอบการหลายราย เกิดการซื้อขาย สามารถนำไปใช้งานจริงผ่านกลุ่มทุนต่างชาติ ตลอดระยะเวลา 4 ปีในการเดินทางของทริดี้ ตั้งแต่เริ่มต้นจวบจนปัจจุบันได้ดำเนินงานตามภารกิจ นโยบายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่วางเอาไว้ คือ ส่งเสริม สนับสนุน ผลักดัน และมุ่งให้เกิดการนำไปใช้งานจริงในอนาคต ผลงานวิจัยจึงไม่เพียงแต่อยู่บนหิ้งอีกต่อไป แต่ได้รับการผลักดันเข้าสู่ห้าง และต่อยอดจากห้าง ไปสู่ห้างในระดับที่ใหญ่ขึ้นต่อไปอีก ทั้งหมดคือความมุ่งมั่นและตั้งใจของ สำนักงาน กสทช. ผ่านทาง กลุ่มภารกิจด้านการวิจัยฯ หรือ “ทริดี้” ที่ผ่านมา ต้องขอขอบคุณ “ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ” ผู้นำทีมการดำเนินงานต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จและก่อเกิดประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมานี้

View :1519

ดีแทค ขออภัยลูกค้าต่อปัญหาเทคนิคด้านระบบเครือข่าย

December 21st, 2011 No comments

21 ธันวาคม 2554 – ดร.ดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ กล่าวว่า “ขณะนี้ เรากำลังอยู่ระหว่างการยกระดับระบบเครือข่ายของเรา โดยในช่วงเช้าของวันนี้ ขณะที่เราได้ทำการโอนย้ายข้อมูลจากระบบเก่าไปสู่ระบบใหม่ ได้เกิดปัญหาทางด้านเทคนิคขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้งานของลูกค้าจำนวนหนึ่ง ทั้งนี้ ในช่วงเวลา 15.00 น. สถานการณ์ได้กลับสู่ภาวะปกติ และปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขออภัยลูกค้าเป็นอย่างยิ่งต่อความไม่สะดวกที่เกิดขึ้น และ เราจะดำเนินการอย่างสุดความสามารถเพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นอีก”

View :1256

ทรู ย้ำจุดยืนผู้นำคอนเวอร์เจนซ์ สมบูรณ์ทุกรูปแบบการสื่อสาร เติมเต็มชีวิต ตรงใจทุกไลฟ์สไตล์

December 21st, 2011 No comments

กลุ่มทรู สานต่อยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์ ตอกย้ำความเป็นผู้นำทุกรูปแบบการสื่อสาร ผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ เทคโนโลยีไร้สาย ทีวี และคอนเทนต์ของกลุ่มทรู เน้นนวัตกรรม พร้อมธุรกรรมใหม่ๆ เพิ่มรายได้ ขยายตลาดเข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย รองรับไลฟ์สไตล์รูปแบบใหม่ สรรหาหลากหลายทางเลือก ยกระดับคุณภาพการให้บริการ 3G เชื่อมโยงธุรกิจ ข้อมูล สาระความรู้และความบันเทิงถึงคนไทยทั่วประเทศ เดินหน้าบุกตลาดต่อเนื่องทั้งในประเทศและภูมิภาค มั่นใจตอบโจทย์ลูกค้าได้ทุกความต้องการ

นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ปี 2555 ทรู ยังคงสานต่อยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์ พร้อมพัฒนานวัตกรรมบริการหลากหลายตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่มไลฟ์สไตล์ พร้อมขับเคลื่อนทุกธุรกิจหลักเต็มที่ เร่งขยายบริการทรูมูฟ เอช บนเครือข่าย 3G+ เต็มรูปแบบ ให้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการมากยิ่งขึ้น รองรับจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งขยายบริการทรูมูฟ เอช แบบเติมเงิน เน้นโปรโมชั่นให้ความคุ้มค่าสูงสุด ตอบสนองทุกรูปแบบการใช้งานของลูกค้า

ธุรกิจโทรคมนาคมยังคงเติบโตต่อไป บริการที่ไม่ใช่เสียง (Non-Voice) ของประเทศโดยรวมยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ความนิยมใช้สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ อาทิ แท็บเล็ต และแอร์การ์ด ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาด Non-Voice โดยเฉพาะบริการโมบายอินเทอร์เน็ตเติบโตอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและบริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก จึงเป็นโอกาสของกลุ่มทรูที่จะตอบสนองความต้องการ ให้คนไทยทั่วประเทศสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร สาระบันเทิงผ่านช่องทางต่างๆ ของกลุ่มทรูได้เป็นอย่างดี

ปี 2555 กลุ่มทรู ยังคงมุ่งมั่นนำนวัตกรรม สร้างความแตกต่าง เพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้กลุ่มทรูเป็นผู้ประกอบการไทยรายเดียวที่สามารถให้บริการสมบูรณ์ทุกรูปแบบการสื่อสาร ทั้งบริการสื่อสารด้านเสียง ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิดีโอ ข้อมูลและมัลติมีเดียต่างๆ ผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ เทคโนโลยีไร้สาย ทีวี และคอนเทนต์ของกลุ่มทรู โดยนวัตกรรมเทคโนโลยี DOCSIS 3.0 ของทรูออนไลน์ จะสร้างความแตกต่างด้วยการยกระดับศักยภาพบริการบรอดแบนด์ให้ความเร็วสูงสุดจากเดิม 100 Mbps เป็น 200 Mbps ในปี 2555 มั่นใจคุณภาพอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเหนือระดับของทรูออนไลน์ จะสามารถเติมเต็มทุกประสบการณ์บนโลกอินเทอร์เน็ตได้ตรงใจทุกการใช้งาน

ยิ่งไปกว่านั้น นวัตกรรม Hybrid Set Top ของทรูวิชั่นส์ ซึ่งลูกค้าสามารถรับชมรายการในรูปแบบ HD คอนเทนต์ พร้อมอำนวยความสะดวกให้เชื่อมต่อ

อินเทอร์เน็ต ท่องเว็บไซต์ Youtube และชมวิดีโอต่างๆ ตอบสนองไลฟ์สไตล์ได้ตรงใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น ทั้งยังยกระดับมาตรฐานการรับส่งข้อมูลให้ลูกค้าดูรายการต่างๆ ของทรูวิชั่นส์ได้ทุกช่องทาง ทั้งทีวี โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค นอกจากนี้ ในปี 2555 ทรูวิชั่นส์ ยังเตรียมเพิ่มคอนเทนต์ตอบ

สนองไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ โดยเฉพาะ HD คอนเทนต์ ซึ่งเปลี่ยนมิติใหม่ของการรับชมทีวีในเมืองไทยที่คมชัดเสมือนอยู่ในเหตุการณ์จริง รวมถึงเทคโนโลยี MPEG 4 ทำให้ลูกค้ารับชมรายการต่างๆ ผ่านช่องสัญญาณได้มากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนเพิ่มรายได้ให้กับทรูวิชั่นส์

“กลุ่มทรู มั่นใจว่า ยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์ โดยการนำนวัตกรรมการให้บริการผสมผสานกับโครงข่ายและคอนเทนต์หลากหลาย จะตอกย้ำความเป็นผู้ประกอบการไทยรายเดียว ที่ให้บริการสมบูรณ์ทุกรูปแบบการสื่อสาร ด้วยความรวดเร็ว สะดวกและง่ายต่อการใช้งาน ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่มได้อย่างแท้จริง” นายศุภชัย กล่าวสรุป

View :1621

อีริคสันคาดการณ์อุตสาหกรรมโทรคมนาคมในปี 2555 ของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย

December 20th, 2011 No comments

· บริษัทอีริคสันชี้ 10 แนวโน้มของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่จะเกิดขึ้นในปี 2555 ของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย ที่เกี่ยวกับการพัฒนาของ อุปกรณ์ เครือข่าย โปรแกรมประยุกต์และอุตสาหกรรม

· บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายต่างๆจะมีการปรับรูปแบบธุรกิจโมบายบรอดแบนด์แบบใหม่ๆเพื่อรักษาการสร้างการเติบโตที่ให้ผลกำไร

· การจัดหาบริการแบบที่รวมไว้ด้วยกันจะมีความสำคัญมากขึ้นเมื่อบรรดาผู้บริโภคสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ บนแพลตฟอร์มของอุปกรณ์และเครือข่ายใดๆ ได้

บริษัทอีริคสันร่วมแบ่งปันความเข้าใจในแนวโน้มอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โดย มร อรุณ บันโซว หัวหน้าของบริษัทอีริคสันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียเปิดเผยว่า “จากประสบการณ์ของเราด้านเครือข่ายในระดับภูมิภาค การวิจัย การวิเคราะห์ เราสามารถสรุป 10 แนวโน้มหลักที่จะเกิดขึ้นในปี 2555 ที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ เครือข่าย โปรแกรมประยุกต์และอุตสาหกรรม”

จากแนวโน้มดังกล่าว บริษัทอีริคสันยังระบุว่าการเติบโตของ สมาร์ทโฟน บริการใหม่ๆบนระบบคลาวด์ (cloud-based offerings) และโมบายบรอดแบนด์โมดูลแบบติดตั้งภายใน (embedded mobile broadband ecosystem) จะเป็นส่วนผลักดันให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมของเราเติบโตอย่างก้าวกระโดด “เราจะยังคงเห็นการเติบโตของสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตอย่างรวดเร็วและการเริ่มให้บริการ LTE มากขึ้น ในปี 2555” มร บันโซว อธิบาย

เมื่อความเร็วของบรอดแบนด์มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น บริษัทอีริคสันยังทำนายต่อไปว่าการใช้งานบนระบบคลาวด์จากบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายทางโทรคมนาคมและผู้ให้บริการต่างๆจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายของตนเพื่อให้บริการใหม่ๆที่สร้างความแตกต่างผ่นระบบคลาวด์ของตนได้ดีขึ้น

บริษัทอีริคสันยังระบุว่าภาคธุรกิจต่างๆ จะนำ โมบายบรอดแบนด์โมดูลแบบติดตั้งภายใน มาใช้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น ผ่านเครือข่ายของระบบ 4G, 3G และ 2G โดยการเติบโตนี้เองจะส่งผลให้ต้นทุนในการให้บริการโดยรวมจะลดลงอย่างมาก และทำให้ภาคธุรกิจสามารถในการเชื่อมกับผู้บริโภคแบบ M2M ได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

มร บันโซว กล่าวว่า “เราเห็นโอกาสที่มากมายสำหรับบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมในการทำให้ระบบปฏิบัติการคลาวด์เหล่านั้นในเชิงพาณิชย์และเปิดโอกาสในการเข้าสู่ตลาดแบบดั้งเดิม เช่น การจัดทำใบแจ้งค่าบริการที่ใช้บริการภายนอกสำหรับบรรดาบริษัทชั้นนำ (over-the-top (OTP) players) หรือในฐานะที่เป็นสื่อนำในการเข้าสู่ส่วนของตลาดที่กำลังเกิดขึ้นใหม่ๆ เช่น แพลตฟอร์มแบบเครื่อง-ต่อ-เครื่องที่ทำงานบนระบบคลาวด์ (cloud-based machine-to-machine (M2M) platforms) สำหรับเหล่าอุตสาหกรรมในแนวตั้ง”

“เมื่อมองผ่านปี 2552 ขณะที่บริการต่างๆ ย้ายไปสู่ระบบคลาวด์อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการนำเสนอการเข้าถึงระบบอย่างปลอดภัยและน่าเชื่อถือในขณะที่ยังคงรักษาความต่อเนื่องของบริการและโดยไม่คำนึงถึงว่าจะเป็นการเข้าถึงโครงสร้างระบบพื้นฐานหรือระบบเคลื่อนที่ของบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายจะมีความสำคัญมากเพิ่มขึ้น”

นอกจากนี้ในส่วนของโปรแกรมประยุกต์ ในปี 2555 เราจะเห็นบรรดาผู้ให้บริการเครือข่าย LTE นำเสนอสมาร์ทโฟนที่สนับสนุนระบบ เสียงบน LTE (Voice over LTE)ซึ่งจะถือเป็นการประกาศยุคของการสื่อสารด้วยเสียงผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Mobile VoIP) ที่มีคุณภาพสูง ทำให้สามารถเปลี่ยนการโทรระหว่างแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น จากพีซีถึงโทรศัพท์มือถือถึงโทรศัพท์แบบพื้นฐานได้อย่างง่ายดาย

เมื่อมองไปที่การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือและการชำระต่างๆ บริษัทอีริคสันเห็นว่าการเป็นหุ้นส่วนกับบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายทางโทรคมนาคมจะเป็นกุญแจไปสู่ความสำเร็จของเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระยะสั้น (Near Field Communications – NFC) ที่ทำงานบนโปรแกรมประยุกต์การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ นอกเหนือจากการได้เปรียบทางเครือข่ายแล้ว บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายจะเป็นเจ้าของช่องทางการจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ การได้รับความไว้วางใจจากการทำรายการแจ้งหนี้และความสัมพันธ์กับลูกค้า ข้อมูลของผู้ใช้ที่มีความปลอดภัยและข้อมูลสถานที่ซึ่งสิ่งทั้งหมดนี้สามารถนำไปใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้

การพิจารณาเรื่องการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งอุตสาหกรรม บริษัทอีริคสันเห็นว่าผู้ให้บริการเครือข่ายบรอดแบนด์จำเป็นต้องนำรูปแบบธุรกิจที่แตกต่างกันมาใช้เพื่อผลักดันให้ธุรกิจเติบโตยิ่งขึ้น เมื่อตลาดเจริญเติบโตอย่างเต็มที่และระบบของการสร้างความแตกต่างระหว่างคู่แข่งแคบลง

ภายในระยะ 12 เดือนที่จะถึง เราจะเห็นบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโมบายบรอดแบนด์ยืมรูปแบบทางธุรกิจที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความจงรักภักดี ข้อมูลและความพึงพอใจของผู้ใช้และการดัดแปลงให้เหมาะสมกับลูกค้าที่เคยนำไปใช้กับอุตสาหกรรมการบริการทางการเงินและสายการบิน

ในส่วนของอุตสาหกรรมอื่นๆ ระบบ LTE จะเติบโตขึ้นเมื่อมาตรฐานของระบบ 4G ดึงดูดใจมากขึ้น ในฐานะที่เป็นทางเลือกที่ถูกต้องตามกฎหมายของเทคโนโลยีและโซลูชั่นการสื่อสารที่มีกรรมสิทธิ์สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เข่น สาธารณูปโภคและความปลอดภัยสาธารณะ

บริษัทอีริคสันยังทำนายว่าระบบสาธารณูปโภคอื่นๆ เช่น ก๊าซและน้ำจะดำเนินการตามบรรดาผู้จำหน่ายไฟฟ้าโดยการลงทุนใน LTE สำหรับเครือข่ายไร้สายของตน ไม่ว่าจะโดยการสร้างเครือข่ายส่วนตัวหรือโดยการสร้างความสัมพันธ์แบบแบ่งปันเครือข่ายกับบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายของระบบเคลื่อนที่ต่างๆ

การทำนายสำหรับปี 2555 จะเป็นไปอย่างครอบคลุมที่ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการเติบโตทางธุรกิจและโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆทั่วทั้งส่วนของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ

บริษัทอีริคสันมีความยินดีในการเพิ่มความรู้ความเข้าใจเหล่านี้ไปเรื่องที่ผู้อื่นได้จัดทำไว้ในส่วนการตลาดเพื่อก่อให้เกิดการอภิปรายเกี่ยวกับแนวโน้มและผลประโยชน์ด้าน ICT สำหรับธุรกิจและชุมชนที่กว้างขวางมากขึ้น

การคาดการณ์ในปี 2555

แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนจะเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในออสเตรเลีย ผู้ใช้สมาร์ทโฟนจะมีจำนวนมากกว่าผู้ใช้โทรศัพท์แบบธรรมดาเป็นครั้งแรกในปี 2555 แรงผลักดันด้านความต้องการแท็บเล็ตทั่วโลกไม่มีวี่แววจะลดน้อยลงในปี 2555 โดยคาดคะเนว่าจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนจะสูงขึ้น 30 เท่าในห้าปีข้างหน้า การเติบโตของแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนจะทำให้บรรดาเครือข่ายประสบกับแรงกดดันในการจัดหาประสิทธิภาพในการใช้งานที่สูงเพื่อตอบสนองความสามารถของอุปกรณ์เหล่านั้น

2. การเติบโตของโมบายบรอดแบนด์แบบฝังภายใน ในปี 2555 โมบายบรอดแบนด์แบบฝังภายในที่จะมีการเติบโตหลักๆ เนื่องจากมีแรงผลักดันที่เกิดจากการรวมธุรกิจของ ICT ที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อนำส่งประสิทธิภาพและความสามารถในการผลิต ได้แก่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ้ค กล้อง เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book reader) เครื่องแปลงสัญญาณมือถือ (fixed-wireless terminals) อุปกรณ์การตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ตลอดจนโปรแกรมประยุกต์ด้านเครื่องวัดอัจฉริยะ (mobile health devices and smart meter applications)

3. LTE จะเป็นกระแสหลัก บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายจะยังใช้ LTE ทั้งในฐานะที่เป็นตัวสร้างความแตกต่างและวิธีการในการจัดการกับการเติบโตของข้อมูลอย่างคุ้มค่าเงินอย่างต่อเนื่อง เอเชียแปซิฟิกจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้ LTE เติบโตทั่วโลก โดยการสมัครสมาชิก LTE สูงถึง 200 ล้านรายจะมาจากภูมิภาคนี้ภายในปี 2559

4. จะมีการนำ HetNets ไปใช้มากขึ้น ในปี 2555 เราจะเห็นว่าเครือข่ายซึ่งต่างชนิดกัน (Heterogeneous Networks – HetNets) ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีสมรรถนะและขนาดต่างๆกันทำงานประสานงานกันจะได้รับความนิยมมากขึ้น เพื่อช่วยบรรเทาความแออัดของการใช้อินเตอร์เน็ตผ่านมือถือของสถานีฐานและเสริมสร้างการครอบคลุมของเครือข่ายและปรับปรุงให้สมรรถนะดียิ่งขึ้น

5. บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายจะนำเสนอการบริการระบบคลาวด์เพิ่มมากขึ้น บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถใช้ประโยชน์และจุดแข็งจากเครือข่ายของตนในการให้บริการที่มีการบริหารจัดการเพื่อสร้างความแตกต่างการนำเสนอการบริการที่ทำงานบนระบบคลาวด์ของตน บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมจะมีสามบทบาทหลักดังต่อไปนี้ การบริหารจัดการความสามารถในการเชื่อมต่อของระบบคลาวด์ การนำส่งสมรรถนะที่ทำงานบนระบบคลาวด์ และที่สำคัญคือการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินของเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างการนำเสนอระบบคลาวด์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

6. มีแนวโน้มว่าจะมีความร่วมมือด้านการบริการแบบรวมไว้ด้วยกัน (Converged Services) – การต่อสู้ระหว่างบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายและผู้จัดหาบริการชั้นนำสำหรับการนำส่งคอนเทนท์สู่หน้าจอใดๆ จะยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง แต่จะมีความร่วมมือกันมากขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์จากสมรรถนะของเครือข่ายเพื่อทำให้มีประสบการณ์การชมที่เหมาะสมที่สุดและรวมมาตรการต่างๆที่ช่วยเพิ่มการบริการเครือข่ายที่มีอยู่อย่างกว้างขวางไปสู่ประสบการณ์ของลูกค้าที่มากยิ่งขึ้น

7. การสื่อสารด้วยเสียงแบบเคลื่อนที่ (Mobile Voice) จะพร้อมให้บริการโดยผ่าน LTE –บรรดาผู้ให้บริการเครือข่าย LTE จะนำเสนอสมาร์ทโฟนที่สนับสนุนระบบ VoLTE ระบบ VoLTE จะทำให้มีการบริการระบบสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีคุณภาพสูง ทำให้มีการรวมระบบการสื่อสารแบบเคลื่อนที่และแบบโครงสร้างพื้นฐาน (fixed-mobile convergence) ได้อย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก ทำให้สามารถเปลี่ยนการโทรระหว่างแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น จากพีซีถึงโทรศัพท์มือถือถึงโทรศัพท์แบบพื้นฐานได้อย่างง่ายดาย

8. บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายจะมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ คาดว่าจะมีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระยะสั้น (Near Filed Communications) ทั่วทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ โดยบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคม ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือและผู้ขายระบบการปฏิบัติการ ธนาคารและบริษัทบัตรเครดิต ตลอดจนผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการชำระเงินกำลังแข่งขันกันเพื่อชิงส่วนแบ่งในตลาด

9. บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายจำเป็นต้องนำรูปแบบธุรกิจโมบายบรอดแบนด์แบบใหม่ไปใช้เพื่อทำให้มีการสร้างการเติบโตที่ให้ผลกำไร รูปแบบธุรกิจแบบดั้งเดิมที่ยึดบนราคา ความเร็วและปริมาณจะมีประสิทธิภาพน้อยลง อุตสาหกรรมโทรคมนาคมจะต้องมองหาเพื่อเลียนแบบรูปแบบเชิงพาณิชย์ที่อุตสาหกรรมอื่นๆนำมาใช้อย่างประสบความสำเร็จ เช่นการบริการทางการเงินและสายการบิน

10. ระบบสาธารณูปโภคอื่นๆจะดำเนินการตามส่วนของระบบไฟฟ้าและมองหาการลงทุนใน LET สำหรับเครือข่ายไร้สายของพวกตน ความโดดเด่นที่เห็นได้ล่วงหน้าของมาตรฐานของ 3GPP สำหรับ HSPA+ และการที่ขณะนี้เครือข่าย LTE ได้ทำให้เทคโนโลยีไร้สายครอบงำตลาดทั่วโลก เป็นการรับประกันว่าสิ่งเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงการมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดและเป็นตัวเลือกในอนาคตที่ไม่เพียงแต่สำหรับบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายเคลื่อนที่เท่านั้นแต่ยังรวมถึงทั่วทั้งอุตสาหกรรมอื่นๆอีกด้วย

View :1764

Do& Don’ t สมัครใช้บริการโรมมิ่ง

December 10th, 2011 No comments

กสทช.ประวิทย์แนะวิธี Do&Don’t หากคิดสมัครใช้ เตือนอย่าวางใจ มาตรการจำกัดวงเงินเพราะข้อมูลช้า เผยเหยื่อ Bill Shock ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ นักเรียนนักศึกษา และนักท่องเที่ยว

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า จากการที่ ได้รับเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคกรณีปัญหาการคิดค่าบริการระหว่างประเทศจากการใช้บริการโรมมิ่ง พบว่า สาเหตุหลักๆมี 2 ประการคือ ผู้ใช้บริการไม่ทราบเงื่อนไขการใช้บริการ เช่น อัตราค่าโทรออกและรับสาย ไม่ทราบปริมาณข้อมูลที่ใช้ไปจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และ ผู้ใช้บริการไม่ทราบระบบโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานอยู่ โดยเฉพาะการไม่ทราบว่า สมาร์ทโฟนมีการเชื่อมต่อข้อมูลอัตโนมัติตลอดเวลา

กสทช.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวต่อไปว่า หากผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือต้องการสมัครใช้บริการโรมมิ่ง สิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่งคือ ศึกษาข้อมูลการใช้บริการจากเว็บไซต์ผู้ให้บริการ ศึกษาค่าใช้จ่าย โดยสอบถามรายการการคิดค่าบริการจากผู้ให้บริการ จากนั้นแจ้งกับเครือข่ายผู้ให้บริการเพื่อเปิดบริการที่ต้องการใช้ และปิดบริการที่ไม่ต้องการใช้ ที่สำคัญที่สุดคือจดจำชื่อเครือข่ายและชื่อที่แสดงบนมือถือของเครือข่ายที่อยู่ในแพ็คเกจที่สมัคร และเมื่อเดินทางไปถึงต้องตั้งค่าเครื่องโทรศัพท์มือถือให้เลือกรับสัญญาณเฉพาะเครือข่ายตามแพ็คเกจที่สมัคร พร้อมทั้งปิดการรับสัญญาณแบบอัตโนมัติ

“บริการโรมมิ่งมีทั้งในรูปแบบเสียง ข้อความ ข้อมูล ผู้ใช้สามารถเลือกที่จะใช้หรือไม่ใช้ บริการเหล่านี้ได้ โดยเลือกสมัครเฉพาะบริการและปิดในบริการที่ไม่ต้องการใช้ หรือเลือกสมัครทั้งหมดรวมถึงปิดบริการทั้งหมดได้ โดยผู้ใช้บริการแบบรายเดือนต้องสมัครก่อนใช้และการสมัครจะมีผลตลอดไป ยกเว้นแจ้งขอปิดบริการ ส่วนผู้ใช้บริการแบบเติมเงิน ผู้ให้บริการบางรายอาจเปิดบริการโรมมิ่งในบางประเภทให้โดยไม่ต้องสมัคร จึงควรสอบถามกับเครือข่ายผู้ให้บริการ และอย่าวางใจว่าวิธีการจำกัดวงเงินสูงสุดหรือ Cap Max ของผู้ให้บริการ จะช่วยจำกัดค่าใช้จ่ายให้ได้ เนื่องจากยังมีปัญหาเรื่องความล่าช้าของการรายงานข้อมูลการใช้บริการระหว่างเครือข่ายต่างประเทศและผู้ให้บริการของไทยอยู่ จึงพบว่ามีผู้ร้องเรียนจำนวนหนึ่งที่ได้จำกัดวงเงินสูงสุดไว้แต่ยังคงถูกเรียกเก็บค่าบริการเกินจำนวนวงเงินที่จำกัด“ นายประวิทย์กล่าว

นายประวิทย์กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนม.ค.54 ถึง พ.ย.54 กสทช.ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการคิดค่าบริการระหว่างประเทศ ซึ่งเกิดจากการใช้บริการโรมมิ่งจำนวน 46 กรณี รวมเป็นค่าบริการที่ถูกโต้แย้งเป็นจำนวนเงินราว 2 ล้านบาท และ ยอดสูงสุดที่ถูกเรียกเก็บค่าบริการข้ามแดนอัตโนมัติประมาณ 3 แสนบาท โดยกลุ่มที่ประสบปัญหาส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ พนักงานบริษัทที่นำเลขหมายของบริษัทไปใช้ในต่างประเทศ นักเรียน นักศึกษา ที่ไปเรียนหนังสือ หรือท่องเที่ยวระยะสั้นๆ รวมถึงบุคคลที่มีญาติหรือสามีเป็นชาวต่างประเทศ เป็นต้น ดังนั้นผู้ใช้บริการจึงควรทราบเงื่อนไขการให้บริการและศึกษาระบบเครื่องโทรศัพท์ให้ดีก่อน

View :1294

แพคเน็ทเพิ่มความเร็วอินเตอร์เน็ตด้วยโซลูชั่นใหม่ CDN

November 29th, 2011 No comments

เป็น CDN ที่ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการมากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ที่ได้รับประโยชน์จากผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานด้านโฮสติ้งซึ่งอยู่ภายใต้กรรมสิทธิ์ของแพคเน็ทเองทั้งหมด

โตเกียว 29 พฤศจิกายน 2554 – วันนี้ แพคเน็ท ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมชั้นนำของเอเชียได้เปิดตัวบริการใหม่ เครือข่ายการส่งคอนเท็นต์ความเร็วสูง หรือ Content

Delivery Network (CDN) ภายใต้ชื่อ Pacnet CDN นิยามใหม่ของการบริการส่งมอบเนื้อหาบนเว็บและการปฏิวัติประสบการณ์การใช้งานอินเทอร์เน็ต

“ในทุกๆ วัน เว็บไซต์นับล้านบนโลกออนไลน์ที่เปี่ยมไปด้วยเนื้อหาต่างๆ กำลังแข่งขันกันเพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้บริโภคทั่วโลก เพื่อสนับสนุนธุรกิจที่ใช้งานจากเว็บให้สามารถดึงดูดและเชื่อมต่อกับผู้ชมของพวกเขาได้มากขึ้น เราจึงได้เปิดตัว Pacnet CDN โซลูชั่นแบบครบวงจรที่ได้ประโยชน์จากเครือข่ายใต้ทะเลอันโดดเด่นที่ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาครวมถึงศูนย์ข้อมูลอันทันสมัยของเรา เพื่อเผยแพร่เนื้อหาดิจิตอลในอัตราความเร็วแสง และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่นส์ที่โฮสต์อยู่ในคลาวด์” บิล บาร์นีย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแพคเน็ทกล่าว

Pacnet CDN เร่งเพิ่มประสบการณ์การใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยการเสนอเนื้อหาดิจิตอลให้ใกล้ชิดกับผู้ใช้มากขึ้น ผ่านเครือข่ายที่กว้างขวางของ CDN Points of Presence (PoP) ที่ตั้งอยู่ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ด้วยวิธีการส่งมอบเนื้อหาล่าสุดอย่างชาญฉลาดจาก CDN PoP ที่อยู่ใกล้ที่สุดให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้เพลิดเพลินกับเว็บไซต์ได้เร็วขึ้น สามารถบริโภคเนื้อหาวิดีโอสตรีมมิ่งได้อย่างไม่มีสะดุด และดาวน์โหลดไฟล์ได้อย่างรวดเร็ว

บริการ Pacnet CDN ที่เป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใครนี้ ได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายที่ครอบคลุมของแพคเน็ทที่เชื่อมต่อถึงกัน สิ่งอำนวยความสะดวกด้านโฮสติ้งความเร็วสูงที่ครอบคลุมทั่วเอเชียแปซิฟิก รวมไปถึงสถานีข้อมูลภาคพื้นดิน หรือ Data Landing Stations (DLSs) ผนวกกับเครือข่ายใต้ทะเลที่แข็งแกร่ง และโครงสร้างพื้นฐานจากเครือข่ายไอพีของแพคเน็ท Pacnet CDN ยังเลือกใช้เทคโนโลยีจาก EdgeCast ซึ่งเป็นผู้ให้บริการชั้นนำของเทคโนโลยี CDN

ด้วยเครือข่าย CDN ที่ควบคุมได้เองอย่างเต็มรูปแบบ แพคเน็ทจึงสามารถเร่งความเร็ว และมีความยืดหยุ่นในการปรับแบนด์วิธได้อย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และสามารถส่งมอบโซลูชันการกระจายคอนเท็นต์ดิจิทัลที่ครบวงจรและสมบูรณ์แบบ นอกจากนี้ ลูกค้าของแพคเน็ทยังได้รับประโยชน์จากประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการที่แพคเน็ทเป็นเจ้าของและดำเนินงานโครงสร้างพื้นฐานหลักของ CDN เอง

CDN PoPs ของแพคเน็ทแห่งแรก ตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และออสเตรเลีย พร้อมการขยายโหนดให้เพิ่มมากขึ้นในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะครอบคลุมไปยังอีกสิบประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ส่งผลให้เป็นเครือข่าย CDN ที่ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการมากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ที่ได้รับประโยชน์จากการเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานด้านโฮสติ้งซึ่งอยู่ภายใต้กรรมสิทธิ์ของแพคเน็ทเองทั้งหมด

ประเทศญี่ปุ่นเป็นเกตเวย์ของการจราจรระหว่างเอเชียและอเมริกาเหนือ และเป็นศูนย์กลางของการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเนื้อหาดิจิตอลผ่านไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก อีกทั้งยังเป็นตลาดหลักที่สำคัญในการทำกลยุทธ์ CDN ของแพคเน็ทในเอเชีย ซึ่ง CDN PoP ในญี่ปุ่นนี้เป็น PoP ที่ใกล้ที่สุดที่เชื่อมต่อไปยังสหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุนี้จึงเป็น PoP หลักที่จะเร่งเพิ่มประสบการณ์การใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ในทวีปอเมริกาเหนือที่จะเข้าถึงเนื้อหาจากแหล่งต่างๆ ในเอเชีย

โซลูชั่นส์ CDN ของแพคเน็ท เปิดให้บริการแล้วในทุกสาขาทั่วโลกที่แพคเน็ทดำเนินการอยู่ ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถสัมผัสกับบริการนี้ได้แบบครบวงจร:

· บริการจัดส่งเนื้อหา เร่งความเร็วการส่งมอบเนื้อหา รวมถึงเว็บไซต์และการดาวน์โหลดไฟล์ ไปจนถึงการรับชมวิดีโอสตรีมมิ่งแบบ on-demand และการชมการถ่ายทอดสดที่มีความคมชัดสูง (high-definition)ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีกว่า ไม่ว่าผู้ใช้งานจะเชื่อมต่อจากสถานที่ใด

· การเร่งความเร็วเนื้อหาแบบไดนามิค การเร่งความเร็วในการส่งมอบเนื้อหาแบบไดนามิกและแบบคงที่สำหรับความหลากหลายของแอพพลิเคชั่นส์ ด้วยความล้ำหน้าของเทคโนโลยีในการเร่งความเร็ว ซึ่งจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการเร่งความเร็วได้ถึงห้าเท่า เพื่อให้มีความเสถียรมากขึ้นสำหรับผู้ใช้ปลายทาง

· การจัดเก็บเนื้อหาต้นฉบับ ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานศูนย์ข้อมูลอันทันสมัยของแพคเน็ท เพื่อให้การจัดเก็บเนื้อหามีความยืดหยุ่นในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และยังประหยัดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบการสมัครสมาชิกรายเดือน ซึ่งค่าบริการขึ้นอยู่กับปริมาณรวมของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บ

· บริการเสริม ผู้ใช้บริการสามารถดูแลความต้องการการจัดส่งเนื้อหาเพิ่มเติม พร้อมกับความปลอดภัย การจัดการ และอุปกรณ์การรายงานผล ทั้งนี้เพื่อป้องกันเนื้อหาดิจิตอลและลิขสิทธิ์ของผู้ใช้บริการ รวมถึงการจัดการเครือข่ายของตนเอง และการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บผ่านการวิเคราะห์และการรายงานแบบเรียลไทม์

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมของบริการ Pacnet CDN กรุณาเข้าไปดูได้ที่ http://www.pacnet.com/cdn

View :1441
Categories: Press/Release, Telecom Tags: