Archive

Archive for the ‘Software’ Category

บูธ SiPA โชว์เทคโนโลยีดิจิตอลยุคใหม่ ฝีมือคนไทย สะท้อนแนวคิด “ซอฟต์แวร์ไทย หัวใจเศรษฐกิจ”

January 13th, 2012 No comments

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมายกรอบนโยบาย ICT 2020 ไว้ว่า “ICT เป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญในการนำพาคนไทย สู่ความรู้และปัญญา เศรษฐกิจไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน สังคมไทยสู่ความเสมอภาค” โดยมีเป้าหมายหลักในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT ความเร็วสูงที่ประชาชนสามารถเข้าถึงโดยเท่าเทียมกัน สร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพให้เพียงพอต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่เศรษฐกิจฐานบริการและฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญได้กำหนดให้มีการเพิ่มบทบาทและความสำคัญของอุตสาหกรรม ICTต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้มีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุสาหกรรม ICT (รวมอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์) ต่อ GDP ไม่น้อยกว่าร้อยละ 18

ในการกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นหน่วยงานหลักในการวางแผนและกำหนดนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศให้สอดคล้องกับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ สนับสนุนการค้นคว้าวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี จัดให้มีกฎ ระเบียบ มาตรการที่จำเป็นต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ส่งเสริมให้เกิดการคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับซอฟต์แวร์ รวมทั้งเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานและแก้ปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการทางด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้มีบริการแบบเบ็ดเสร็จ

โดย นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวเปิดบูธโชว์ศักยภาพทางด้านซอฟต์แวร์ในงาน 2011 ว่า “การจะดำเนินกิจการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสำนักงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างรายได้และสร้างความเจริญให้กับประเทศ ผู้ประกอบการ/ผู้ขายสามารถดำเนินกิจการอยู่ได้ ผู้ซื้อมีความพึงพอใจและเชื่อมั่นในสินค้าและบริการที่เป็นซอฟต์แวร์ไทย เพื่อให้แผนยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของสำนักงานฯ สามารถสนองตอบต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม”

นอกจากนี้ ยังมี ดร. ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวย้ำถึงนโยบายหลัก ๆ ว่า “ จะนำพาประเทศไทยสู่เวทีซอฟต์แวร์โลก

(Stage Thailand as a Global Player in Software Industry)” สำนักงานฯจึงได้เข้าร่วมจัดงานแสดงผลงานด้านซอฟต์แวร์ของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ในงาน ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย บรรลุถึงเป้าหมายที่สำคัญในหลายประการ เพื่อสร้างการยอมรับถึงศักยภาพและความสามารถของผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ไทย ให้เกิดกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และกับประชาชนชาวไทยที่เข้าชมงานจำนวนหลายล้านคนได้ในเวลาเดียวกัน เพื่อสร้างโอกาสให้ภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ได้พบปะและเจรจาทางธุรกิจกับผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ที่ร่วมจัดงานในครั้งนี้ ตามช่วงเวลาที่กำหนดนัดหมาย และเพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ต่อความสำเร็จของการสร้างผลิตภัณฑ์ ซอฟต์แวร์ไทยกรณีต่างๆ โดยการจัดการประชุมสัมมนา ให้กับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และผู้สนใจทั่วไป ตลอดการจัดงาน” และได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “ซิป้า หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเข้าร่วมงาน ในครั้งนี้จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆที่เป็นศักยภาพของประเทศ”

โดยการแสดงในบูธนั้นได้สะท้อนแนวความคิดในการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับการใช้งาน รวมทั้งยังยกย่องนักพัฒนาซอฟต์แวร์ของไทยที่มีความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถ ที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติจาก SIPA อีกด้วย นอกจากนี้ยังแสดงศักยภาพผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งเทคโนโลยีทัชสกรีน อินเตอร์แรกทีฟ มัลติทัช และฮาโรแกรมเป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนา โดยฝีมือคนไทย ที่ถูกนำมาใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาตามจุดแสดงต่างๆ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ กว่า 50 ราย รายได้เข้าร่วมแสดง นิทรรศการภายในบริเวณงานด้วย โดยแบ่งออกเป็น 4 โซน คือ โซนเพลินใจ โซนตั้งใจ โซนภูมิใจ และโซนได้ใจ

ภายในงานยังได้จัดให้มีการเสวนาทางธุรกิจให้ความรู้จากบุคคลากรผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงในวงการไอที ทั้งในและต่างประเทศ มาแนะแนวทางและให้ความรู้กับผู้ประกอบการ รวมทั้งยังมีการจัดเจรจาทางธุรกิจ เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ และต่อยอดผลงาน การผลิตซอฟต์แวร์ ที่จะนำไปใช้กับอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ โดยการลดต้นทุนการนำเข้าซอฟต์แวร์ จากต่างประเทศ และขยายธุรกิจต่อไปในอนาคต ด้วยความร่วมมือของคนไทยด้วยกันเอง

นับเป็นครั้งแรกที่ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA ได้เข้าร่วมเปิดบูธโชว์ศักยภาพทางด้านซอฟต์แวร์ในงาน BOI FAIR 2011 ระหว่างวันที่ 5-13 มกราคม 2555 ภายในอาคารชาแลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

View :2353

SIPA นำทัพผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ ประกาศศักยภาพ ชูแนวคิด “ซอฟต์แวร์ไทย หัวใจเศรษฐกิจ” ในงาน BOI Fair

December 26th, 2011 No comments

นับเป็นครั้งแรกที่ หรือ ได้เข้าร่วมเปิดบูธโชว์ศักยภาพทางด้านซอฟต์แวร์ในงาน 2011 ระหว่างวันที่ 5-13 มกราคม 2555 ภายในอาคารชาแลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งเป็นงานแสดงเทคโนโลยี ทางด้านอุตสาหกรรม ที่เป็นปัจจัยสำคัญของการเดินหน้าเศรษฐกิจในประเทศไทย โดย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อรองรับธุรกิจในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุนการผลิต การกระจายสินค้า ระบบคลังสินค้า ที่ซอฟต์แวร์เข้าไปมีบทบาท ทุก ๆ ภาคส่วนของธุรกิจ ทั้งในกลุ่มอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว การเกษตร การขนส่งสินค้า การศึกษา สุขภาพ อัญมณี และดิจิทัลคอนเทนต์ ที่ซอฟต์แวร์เข้ามามีส่วนช่วยให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศ ได้อย่างทัดเที ยม

เพื่อเป็นการลดต้นทุนมหาศาลในการนำเข้าซอฟต์แวร์ที่วิจัย และพัฒนามาจากต่างประเทศ SIPA จึงได้ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในเรื่องของการพัฒนาซอฟต์แวร์มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของอุตสาหกรรมในประเทศ และกระตุ้นให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ เติบโตขึ้นอย่างเข้มแข็ง ด้วยไอที

ดร.นิรชราภา ทองธรรมชาติ รองผู้อำนวยการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการซิป้า ชี้แจงว่า “การพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้พลังงานที่ทำลายสิ่งแวดล้อมให้น้อยลง เราจึงเล็งเห็นว่าน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างความรู้ในเรื่องของ Green IT ไปด้วย เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้มีแนวความคิดในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงานของประเทศในภาพรวมได้เช่นกัน โดยทางซิป้าเองได้มีการสนับสนุนการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ทางด้านไอทีที่มีการใช้ พลังงานน้อยที่สุดอีกด้วย ”


ดร.นิรชราภา ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ ในงานจะมีการแสดงผลงานซอฟต์แวร์ สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจเกษตร การขนส่งสินค้า การศึกษา สุขภาพ อัญมณี และดิจิทัลคอนเทนต์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศไทย การพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อเข้ามาช่วยรองรับระบบการจัดการ และการผลิตสินค้าถือเป็นการเพิ่มเม็ดเงินเข้ามาให้กับประเทศไทยได้อย่างมาก” ซึ่งจะสามารถดึงเม็ดเงินจากนักลงทุนต่างชาติมาร่วมทุนได้มหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการท่องเที่ยวมีตัวเลข GDP ถึง 8-9 แสนล้านบาท โดยภายในงานจะมีการโชว์เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ด้านการท่องเที่ยว แนวคิดในการสร้างเศรษฐกิจผ่านช่องทางนี้ด้วย และอีกหนึ่งยุทธ์ศาสตร์ใหม่ของหน่วยงาน คือ “ความร่วมมือของทุก ๆ องค์กร หน่วยงานพันธมิตร การสร้างโมเดล เพื่อนำโมเดลต่าง ๆ ไปต่อยอดทางธุรกิจ เพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศ

ส่วนคุณปริญญา กระจ่างมล รองผู้อำนวยการ ซิป้า กล่าวว่า “ผมคาดหวังจากงานนี้ว่า ในตัวอุตสาหกรรมเอง ได้มีการโชว์ศักยภาพด้านการผลิต ประสิทธิภาพ ที่ดีของตัวเองออกมาอยู่แล้ว ที่ทุกคนสามารถสัมผัสได้ด้วยตา และในส่วนของผู้ประกอบการธุรกิจด้านต่าง ๆ ท่านจะได้รับทราบว่า ‘ซอฟต์แวร์’ สามารถช่วยธุรกิจของท่านได้มากมายขนาดไหนในการลดต้นทุน ทุนแรง และสร้างรายได้ ผมก็อยากเชิญชวนให้ผู้ประกอบการมาดูกันว่าซอฟต์แวร์จะมาช่วยซัพพอร์ตธุรกิจได้ขนาดไหน และอยากให้ User มาดูความสามารถของคนไทยด้วยกันว่าเวิล์ดวายด์ ไปได้ทั่วโลกแล้ว ด้วยราคาที่สมเหตุผล สมผล” และยังตบท้ายอีกด้วยว่า “อินเตอร์เน็ตไปถึงที่ไหน ?? ทั่วโลกมีใช้ ซอฟต์แวร์ไทย ก็สามารถไปได้ถึงทั่วโลกด้วยเช่นกัน”

มาถึงตัวแทนผู้ประกอบการ พัฒนาด้านซอฟต์แวร์ทั้ง 2 ท่าน คุณทักษะ บุนนาค Executive Director บริษัท AISOFT ตัวแทนจาก Cluster Tourism และคุณอภิรักษ์ เชียงเจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท Double M Technology Management จำกัด กล่าวร่วมกันว่า “ขอพูดในนามสมาคมซอฟต์แวร์ว่า เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีมันไปตกอยู่ที่ต่างประเทศหมด งานนี้เรามีเทคโนโลยีที่เทียบเท่าเวิล์ดคลาสโดยฝีมือคนไทยมาแสดงโชว์ภายในบูธ ส่วนในภาคการท่องเที่ยวซอฟต์แวร์จะเข้ามามีรองรับในการลดขั้นตอนที่ซับซ้อนต่างๆ ในด้านการท่องเที่ยว ทั้งการเช็คราคาสายการบิน การจองจากในและนอกประเทศ ระบบการต้อนรับ ควบคุมระบบทราเวลเซอร์วิส ร้านอาหาร สปา และโซเชียล มีเดียที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ Green IT และ Electonic Ticket จะเข้ามาลดการใช้กระดาษจำนวนมหาศาลลง ” และในเรื่องของธุรกิจด้านอื่น ๆ “เรื่องของดีเทลสินค้า คอนซูมเมอร์ซัพพลายจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์เข้ามาซัพพอร์ตเฉาพะเรื่องมากมาย เช่นธุรกิจอาหาร ต้องมีดีเทลหลายเรื่องทั้ง สต็อก ขนส่ง จำหน่าย และผมมองว่างานนี้เหล่าจะได้เห็นเทคโนโลยีเหล่านี้มาอยู่รวมกัน และผู้ประกอบการธุรกิจต่าง ๆ ก็จะได้มาพบกับซอฟต์แวร์ที่จะเข้ามาช่วยในธุรกิจของคุณ”

โดยการแสดงในบูธนั้นได้สะท้อนแนวความคิดในการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับการใช้งาน รวมทั้งยังยกย่องนักพัฒนาซอฟต์แวร์ของไทยที่มีความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถ ที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติจาก SIPA อีกด้วย นอกจากนี้ยังแสดงศักยภาพผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งเทคโนโลยีทัชสกรีน อินเตอร์แรกทีฟ มัลติทัช และฮาโรแกรมเป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนา โดยฝีมือคนไทย ที่ถูกนำมาใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาตามจุดแสดงต่างๆ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ กว่า 50 ราย รายได้เข้าร่วมแสดง นิทรรศการภายในบริเวณงานด้วย โดยแบ่งออกเป็น 4 โซน คือ โซนเพลินใจ โซนตั้งใจ โซนภูมิใจ และโซนได้ใจ

ภายในงานยังได้จัดให้มีการเสวนาทางธุรกิจให้ความรู้จากบุคคลากรผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงในวงการไอที ทั้งในและต่างประเทศอย่าง Mr.Mitsuru Aoyama ที่ถือว่าเป็น สตีฟ จ๊อบในวงการ Cloud ในญี่ปุ่น และ Mr. Takeshi Kimura ผู้เชี่ยวชาญอีกท่าน ที่มาแนะแนวทางและให้ความรู้กับผู้ประกอบการ รวมทั้งยังมีการจัดเจรจาทางธุรกิจ เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ และต่อยอดผลงาน การผลิตซอฟต์แวร์ ที่จะนำไปใช้กับอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ โดยการลดต้นทุนการนำเข้าซอฟต์แวร์ จากต่างประเทศ และขยายธุรกิจต่อไปในอนาคต ด้วยความร่วมมือของคนไทยด้วยกันเอง

View :2005
Categories: Software, Technology Tags: ,

ก.ไอซีที จับมือ 3 หน่วยงานร่วมพัฒนาศักยภาพการแข่งขันซอฟต์แวร์ไทย

December 3rd, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ “การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันซอฟต์แวร์ไทยสำหรับองค์กรขนาดเล็กสู่มาตรฐานระดับโลก ISO/IEC 29110” ว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ร่วมกับ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หรือ ซิป้า และมูลนิธิสถาบันเพื่อพัฒนานวัตกรรม (ไอเอฟ) จัดทำบันทึกความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันซอฟต์แวร์ไทย สำหรับองค์กรขนาดเล็กสู่มาตรฐานระดับโลก ISO/IEC 29110 ขึ้น เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันและก้าวสู่ระดับสากล

“การลงนามฯ ในครั้งนี้ ถือเป็นภารกิจสำคัญของกระทรวงฯ ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้เจริญเติบโตอย่างมีศักยภาพ ตลอดจนสามารถยกระดับอุตสาหกรรมให้ทัดเทียมกับระดับสากลได้ ซึ่งมาตรฐาน ISO/IEC 29110 นี้ใช้ในการรับรองกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่มีความเหมาะสมกับทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดเล็ก (Very Small Entities – VSE) จำนวนไม่เกิน 25 คน จึงเป็นมาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับบริษัทซอฟต์แวร์ไทย เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีพนักงานโดยเฉลี่ยบริษัทละประมาณ 20 คน ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวมีความพร้อมใช้แล้ว และประเทศไทยก็มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งสร้างความได้เปรียบแก่องค์กรขนาดเล็กให้แข่งขันได้ในระดับสากล โดยแบ่งโครงสร้างการสนับสนุนออกเป็น 2 ส่วน คือ ภาครัฐ และ ภาคเอกชน ซึ่งภาครัฐจะขับเคลื่อนในด้านการกำหนดเป็นเงื่อนไขในการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้ได้มาซึ่งซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 29110 ส่วนภาคเอกชนจะปรับตัวและกระบวนการตามความต้องการของภาครัฐในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างซอฟต์แวร์ และก่อให้เกิดกระบวนการในการ Outsourcing ต่อไป การเกื้อหนุนซึ่งกันและกันระหว่างภาครัฐและเอกชนย่อมก่อให้เกิดการพัฒนาในกระบวนการของภาคเอกชน ให้พัฒนาตามกรอบมาตรฐานที่ภาครัฐกำหนด และนำไปสู่การยกระดับอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต

สำหรับภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามกรอบความร่วมมือนี้ ก็คือ การให้การ สนับสนุนการสร้างและพัฒนามาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ISO/IEC 29110 เพื่อให้เป็นเกณฑ์เบื้องต้นหนึ่งในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ และเผยแพร่ความสำคัญของมาตรฐานแก่ผู้ประกอบการและประชาชน การประชาสัมพันธ์ จัดหา และสนับสนุนผู้ประกอบการเพื่อเข้ากระบวนการประเมินและการรับรอง (Certification) การสนับสนุนในการจัดสัมมนาด้านมาตรฐาน (ISO/IEC 29110 International Forum) เพื่อสร้างเครือข่ายและความเข้าใจอันดีร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการ ภาครัฐ นักวิชาการและสถาบันการศึกษาต่างๆ การสนับสนุนบริการทางด้านข้อมูลการส่งเสริมการประยุกต์ใช้ (ISO/IEC 29110 Supporting Data Center) ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมการประยุกต์ใช้มาตรฐานแก่ผู้ประกอบการและเป็นแหล่งที่รวบรวมบันทึกฐานข้อมูลของผู้ประกอบการและบุคลากรที่เกี่ยวข้องหรือผ่านกระบวนการประเมินและฝึกอบรม ISO/IEC 29110 ตลอดจนสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการตรวจประเมินและรับรองมาตรฐาน การฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในมาตรฐาน ISO/IEC 29110 สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างและตรวจรับโครงการด้านการจัดหาและพัฒนาซอฟต์แวร์ของภาครัฐ

ขณะที่ นางสาวนิรชราภา ทองธรรมชาติ รักษาการผู้อำนวยการซิป้า กล่าวว่า การพัฒนามาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์จะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์โดยรวมของประเทศ กล่าวคือ ผู้ประกอบการขนาดเล็กก็จะมีช่องทางสร้างการเติบโตและสร้างโอกาสในการแข่งขัน ขณะเดียวกันภาคการศึกษาก็จะมีแนวทางการผลิตบุคลากรที่มีประสิทธิภาพตรงกับความต้องการของตลาด และสามารถแข่งขันต่อยอดในระดับสากล ประเทศไทยก็จะกลายเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่และสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านคุณภาพมาตรฐาน เพื่อที่จะเป็นใบเบิกทางในการแข่งขันในระดับสากล โดยเฉพาะมาตรฐานใหม่หรือ ISO/IEC 29110 Very Small Entity Model ดังนั้น ซิป้า จึงได้ร่วมมือกับภาคเอกชนพัฒนาและผลักดันให้มีการนำไปใช้ ซึ่งจะเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีโอกาสเป็นผู้นำในการพัฒนามาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์ในระดับสากลของ ISO และไทยจะเป็นประเทศแรกที่มีผู้ประกอบการผ่านการรับรองมาตรฐานระดับสากล ISO/IEC 29110 อันจะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นในการเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย

ด้าน นายชัยยง กฤตผลชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวว่า ในการพัฒนาศักยภาพซอฟต์แวร์ภายในประเทศ จำเป็นต้องบูรณาการความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน โดยเริ่มตั้งแต่การให้ความรู้เรื่องมาตรฐาน ISO/IEC 29110 การสนับสนุนส่งเสริม และประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่เกี่ยวข้องให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม ทั้งผู้ประกอบการ ภาครัฐ นักวิชาการ สถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อสร้างแนวร่วมในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมให้แข่งขันได้ในตลาดโลก

โดยที่ผ่านมา สมอ. ได้ให้การสนับสนุนในการส่งผู้แทนจากประเทศไทยให้ไปมีบทบาทเป็นผู้นำและผลักดันการร่างมาตรฐาน ISO/IEC 29110 มาตั้งแต่ต้น และพร้อมประสานความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมให้มีหน่วยงานตรวจสอบและรับรองมาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์ภายในประเทศ ให้มีขีดความสามารถในการตรวจประเมินและรับรองซึ่งเป็นที่ยอมรับ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพซอฟต์แวร์ของไทย

นายอนุกูล แต้มประเสริฐ ประธานมูลนิธิสถาบันเพื่อพัฒนานวัตกรรม หรือ ไอเอฟ (The Innovation Foundation) กล่าวว่า “กว่า 10 ปีที่ผ่านมา ภาครัฐและภาคเอกชนของไทยได้ร่วมกันพัฒนาศักยภาพจนสามารถเป็นผู้ยกร่างมาตรฐานสากล และมีบทบาทสำคัญในเวทีมาตรฐานสากลทางด้านซอฟต์แวร์และระบบ เนื่องจากเป็นผู้ริเริ่มและผู้นำทางด้านมาตรฐานการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรขนาดเล็ก ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวได้รับการยอมรับว่าเหมาะสมและควรจะเป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในกว่า 20 ประเทศทั่วโลก โดยมาตรฐานสากลนี้ได้เอื้อประโยชน์ให้ประเทศไทยทั้งในด้านการลดภาวะขาดดุลทางการค้าในการนำเข้าระบบการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่อาจไม่เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย และยังเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายผู้ผลิตซอฟต์แวร์เพื่อการส่งออก อันเป็นความใฝ่ฝันของอุตสาหกรรมไทยในหลายสิบปีที่ผ่านมา”

หลังจากการลงนามฯ ในครั้งนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงไอซีที จะมีการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการตรวจประเมินและรับรองมาตรฐาน ภายใต้การดำเนินงานของสำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อร่วมมือกับ ไอเอฟ และซิป้า ทำหน้าที่ในการฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในมาตรฐาน ISO/IEC 29110 รวมทั้งประเมินผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ โดยที่ผ่านมาได้มีบริษัทต่างๆ ผ่านการประเมินมาตรฐาน ISO/IEC 29110 จาก ไอเอฟ แล้วจำนวน 119 บริษัท จึงถือเป็นอีกมาตรการหนึ่งในการผลักดันสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมไทยในตลาดโลก

View :1355
Categories: Press/Release, Software Tags:

ซอฟต์แวร์ไทยโชว์กึ๋น กวาดรางวัลเวทีระดับเอเชียแปซิฟิก APICTA ครั้งที่ 11 คว้า 3 รางวัลชนะเลิศ – 3 รางวัลชมเชย

November 22nd, 2011 No comments

นับเป็นครั้งที่ 11 สำหรับการจัดประกวดผลิตภัณฑ์ไอซีทีและซอฟต์แวร์ระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Asia Pacific ICT Alliance (APICTA) Awards 2011 “เอเชีย แปซิฟิก ไอซีที อะไลแอนซ์ อวอร์ด 2011” จัดโดยสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (เอทีซีไอ) โดยงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เกิดความร่วมมือกันทางธุรกิจ และสร้างเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงตลาดในอุตสาหกรรม และเป็นการวางมาตรฐานด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ รวมถึงการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ผลงานด้านไอซีทีและซอฟต์แวร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยปีนี้ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน หวังกระตุ้นโชว์ศักยภาพของประเทศผลักดันให้ไอซีทีและซอฟต์แวร์ไทยเติบโตในตลาดโลก

Asia Pacific ICT Alliance (APICTA) Awards 2011 มีผลงานซอฟต์แวร์ร่วมแข่งขันจากประเทศสมาชิก 11 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรเลีย บรูไน มาเลเซีย ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเก๊า ปากีสถาน สิงคโปร์ ศรีลังกา ไทย และเวียดนาม โดยการจัดงานครั้งนี้มีผลงานร่วมประกวดทั้งสิ้น 162 ผลงาน จาก 17 ประเภทการแข่งขัน โดยประเทศไทยคว้ารางวัลใหญ่ในเวทีระดับเอเชียมาได้ถึง 6 รางวัล แบ่งเป็นรางวัลชนะเลิศ 3 รางวัลได้แก่ประเภททูลส์แอนด์อินฟราสตรักเจอร์ การท่องเที่ยวและการโรงแรม ซอฟต์แวร์สำหรับอุตสาหกรรม และประเภทรางวัลชมเชย 3 รางวัลได้แก่ ประเภทนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ประเภทนักเรียนระดับอุดมศึกษา และประเภทอุตสาหกรรมการเงิน โดยแบ่งผลงานชนะเลิศทั้ง 3 ผลงานดังนี้

นางนิพัตราภรณ์ เจียมโชติพัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็ตก้า ซิสเต็ม จำกัด ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภททูลส์แอนด์อินฟราสตรักเจอร์ แอพพลิเคชั่น กล่าวว่า บริษัท ผู้ประกอบการด้านซอฟต์แวร์ หากถ้าไม่เข้าใจตลาดและมุ่งแต่การพัฒนาซอฟต์แวร์มีโอกาสไปไม่รอด ส่วนของเน็ตก้า โดยหนึ่งในวิธีการสร้างชื่อคือส่งผลงานเข้าประกวด ประกอบกับการพัฒนาที่ไม่ได้มองแค่ในประเทศไทยแต่ดูเทรนด์ของตลาดและคู่แข่งในต่างประเทศ

นายธรรมนูญ เวชวิทยาขลัง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท นิปปอน ไซซิทส์ จำกัด เจ้าของผลงาน “กาลิเลโอ ไดเร็ค” แอพพลิเคชั่นสำหรับมอนิเตอร์ราคาตั๋วเครื่องบินทั่วโลก ผู้ชนะรางวัลชนะเลิศประเภทการท่องเที่ยวและการโรงแรม กล่าวว่า บริษัทใช้โมเดลธุรกิจแบบคิดค่าเช่าเป็นรายเดือน ใช้กลยุทธ์การเปลี่ยนคู่แข่งให้เป็นคู่ค้า ปัจจุบันจากบริษัทตัวแทนการท่องเที่ยวที่มีบริการแบบออนไลน์ 350 ราย บริษัทมีส่วนแบ่งการตลาดราว 95% หรือประมาณ 300 ราย ขณะนี้มีบริษัทจากประเทศอินโดนีเซียและมาเก๊าเข้ามาติดต่อขอใช้บริการแล้ว

นายไผท ผดุงถิ่น เจ้าของผลงานบิลค์ดอทคอม (builk.com) จากบริษัท บิลค์ เอเชีย จำกัด ผู้ชนะเลิศสาขาซอฟต์แวร์สำหรับอุตสาหกรรม ชี้ว่า แวดวงก่อสร้างถือเป็นเป็นหนึ่งวงการที่ไม่มีผู้พัฒนาต่อยอดด้านไอทีและซอฟต์แวร์ ดังนั้นโอกาสทางการตลาดจึงมีอยู่สูงมาก แต่สิ่งที่ยากที่สุดคือวิธีการเข้าหาและชักจูงให้เขาเข้ามาใช้ให้ได้ โดยผลงานบิลค์ดอทคอม (builk.com) จะสามารถตอบโจทย์พัฒนาแวดวงก่อสร้างช่วยให้ง่ายในการปฏิบัติงาน ซึ่งมองว่าผลงานดังกล่าวจะสามารถพัฒนาวงการก่อสร้างได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งหากเกิดการซื้อขายในด้านซอฟต์แวร์จะสามารถสร้างรายได้จากทั้งในและต่างประเทศได้

ด้านนายอดิเรก ปฎิทัศน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (เอทีซีไอ) กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้เอทีซีไอได้ตระหนักถึงการค้าเสรีในภูมิภาค ปีนี้ซอฟต์แวร์ที่โดดเด่นมากที่สุดคือโมบาย แอพพลิเคชั่น เมื่อมองจากการประกวด 11 ครั้งที่ผ่านมาจะเห็นได้จาก ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องใหญ่โตแค่มี 5-6 คน ก็สามารถทำกันได้ เชื่อว่าอีก 2-3 ปีหลังจากนี้จะได้เห็นซอฟต์แวร์ผลงานนักพัฒนาไทยขายในตลาดต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยสร้างเม็ดเงินรายได้สู่ประเทศเป็นจำนวนมาก หากในอนาคตมีการช่วยผลักดัน ส่งเสริม สนับสนุนที่ดีจากทุกฝ่ายในอนาคตประเทศไทยจะสามารถเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพในการส่งออกซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพระดับโลกอย่างแน่นอน

ทั้งนี้แนวโน้มของตลาดถูกกำหนดโดยการแข่งขันของภาคธุรกิจและการเปลี่ยนแปลงของ เทคโนโลยี หากเทียบกับประเทศอื่น ที่เป็นคู่แข่งสำคัญเช่น สิงคโปร์ หรือมาเลเซีย ไทยไม่ขาดแคลนบุคลากร รู้วิธีการสร้างซอฟต์แวร์ที่ดี แต่ขาดการส่งเสริมจากภาครัฐและความเข้าใจในตลาด ยิ่งถ้าเป็นธุรกิจเล็กที่ไม่มีโมเดลทางธุรกิจที่ชัดเจนด้วยแล้ว 1 – 2 ปีก็มักหายไป ดังนั้นทุกภาคส่วนต้องให้ความในด้านไอซีทีและซอฟต์แวร์มากขึ้น

นายปริญญา กระจ่างมล รองผู้อำนวยการส่งเสริมอุตสาหกรรมและพัฒนาผู้ประกอบการ หรือซิป้า กล่าวว่า ผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัลในระดับเวทีดังกล่าว ซิป้า ได้วางแผนในการเข้าไปช่วยส่งเสริมการสร้างโมเดลธุรกิจที่สามารถประยุกต์ใช้ และต่อยอดเพื่อนำซอฟต์แวร์ของผู้ประกอบการไทย ไปขยายตลาดในต่างประเทศ โดยจะนำผลงานที่เป็นรางวัลชนะเลิศและรอง ทั้งหมดเดินทางไปโรดโชว์ในต่างประเทศ เพื่อสร้างมูลค่าและดึงเม็ดเงินกลับเข้าสู่ประเทศ ซึ่งมั่นใจว่าด้วยคุณภาพที่ได้รับการการรันตีจากเวที Asia Pacific ICT Alliance (APICTA) Awards 2011 จะสามารถเป็นเครื่องยืนยันในคุณภาพของผลงานและจะนำไปสู่มูลค่ามหาศาลของเม็ดเงินทางเศรษฐกิจ

View :1496
Categories: Press/Release, Software Tags:

เทรนด์ ไมโคร เปิดตัว ไททาเนียม 2012

October 28th, 2011 No comments

บริษัท เทรนด์ ไมโคร อินคอร์ปอเรท (TYO: 4704; TSE: 4704) ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยสำหรับอินเทอร์เน็ต ประกาศเปิดตัวโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องชีวิตดิจิทัลของผู้บริโภคในทุกด้าน จะเห็นได้ว่าอาชญากรรมไซเบอร์กำลังแพร่กระจายและมีอันตรายเพิ่มขึ้นทุกขณะโดยที่ภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนเหล่านี้สามารถโจมตีได้ในทุกที่ที่มีข้อมูลอยู่ ด้วยเหตุนี้ เทรนด์ ไมโคร ไททาเนียม 2012 (Trend Micro™ Titanium™ 2012) จึงได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถต่อสู้กับภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น วิธีที่ภัยคุกคามพยายามเข้าสู่ระบบ หรือตำแหน่งที่ใช้ในการซ่อนตัว รวมถึงอุปกรณ์เชื่อมต่อที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือ โซลูชั่นนี้พัฒนาขึ้นจากระบบป้องกันที่ได้รับรางวัลมาแล้วซึ่งเปิดตัวไปเมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้ไททาเนียม 2012 (Titanium 2012) สามารถนำเสนอการปกป้องโดยรวมที่ครอบคลุมต่อภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นอันตรายต่อวิถีชีวิตดิจิทัลเป็นอย่างมาก โดยสามารถให้การปกป้องทุกสิ่งตั้งแต่รูปถ่ายครอบครัวไปจนถึงระบบการเงินของครอบครัว การช้อปปิ้งออนไลน์ไปจนถึงการใช้งาน Facebook การประมวลผลทางมือถือไปจนถึงการเล่นเกม และครอบคลุมในอุปกรณ์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นแล็บท็อป สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และพีซีสำหรับการเล่นเกมโดยเฉพาะ
Trend Micro Titanium 2012
นายสุรศักดิ์ วนิชเวทย์พิบูล ที่ปรึกษาด้านเทคนิค บริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “บริษัท เทรนด์ ไมโคร มีความมุ่งมั่นที่จะให้ช่วยให้ผู้ใช้ออนไลน์และครอบครัวสามารถใช้ชีวิตดิจิทัลของตนได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ต้องหวาดระแวงหรือเกิดความกังวลใจในเรื่องใดๆ ในขณะที่ผู้บริโภคยังคงใช้ประโยชน์จากสิ่งที่อินเทอร์เน็ตนำเสนอให้อย่างต่อเนื่อง บริษัทเองก็มีความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพด้านการป้องกันให้กับผลิตภัณฑ์ของเราเช่นกัน แนวทางใหม่ที่มุ่งเน้นระบบคลาวด์ของเราจะช่วยป้องกันการใช้งานออนไลน์ของลูกค้าได้ในแบบเชิงรุก โดยขณะนี้บริษัทกำลังเพิ่มคุณลักษณะที่สามารถให้การป้องกันเทคโนโลยีล่าสุด เช่น สื่อสังคมออนไลน์และอุปกรณ์พกพา เพื่อให้แน่ใจได้ว่าวิถีชีวิตดิจิทัลจะได้รับการคุ้มครองอย่างครอบคลุม”

โซลูชั่นรักษาความปลอดภัยล่าสุด ไททาเนียม 2012 ได้รับการสนับสนุนจากโครงสร้างพื้นฐานเทรนด์ ไมโคร สมาร์ท โพรเท็คชั่น เน็ตเวิร์ค (Trend Micro™ Smart Protection Network™) ที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถป้องกันภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยี Smart Protection Network ได้รับการจัดอันดับให้เป็นที่ 1 ในด้านการป้องกันจากห้องปฏิบัติการอิสระสามแห่งภายใต้การทดสอบใน 10 ประเภทด้วยกันนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 และเนื่องจากเป็นโซลูชั่นแบบคลาวด์ ทำให้ไททาเนียม 2012 ใช้พื้นที่ดิสก์และหน่วยความจำไม่ถึงครึ่ง เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยจากบริษัทอื่นๆ อีกทั้งยังสามารถให้การป้องกันล่าสุดและหยุดภัยคุกคามก่อนที่จะเข้าถึงผู้บริโภคได้ในลักษณะเชิงรุก โดยทั้งหมดนี้ดำเนินการผ่านอินเตอร์เฟสแบบ “ตั้งค่าอัตโนมัติ” (set-and-forget) ที่ใช้งานง่าย

โซลูชั่นรักษาความปลอดภัย ไททาเนียม 2012 มีคุณสมบัติเด่นๆ ซึ่งประกอบด้วย เครื่องมือกำจัดโปรแกรมที่ลวงว่าเป็นซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส (Fake AV), การป้องกันไวรัส PE และบ็อตเน็ตเชิงรุก, การป้องกันเทคโนโลยีสำหรับแพ็คมัลแวร์ และเครื่องมือที่สามารถแยกแยะได้ว่าลิงก์ใดเป็นลิงก์ที่ปลอดภัยหรือเป็นอันตรายบนไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น Facebook และ Twitter

บริษัท เทรนด์ ไมโคร ยังได้รวมผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มต่างๆ ไว้ในโซลูชั่นรักษาความปลอดภัย ”ไททาเนียม แม็กซิมัม ซิเคียวริตี้” (Titanium Maximum Security) ด้วย นั่นคือ Trend Micro™ Mobile Security Personal Edition ซึ่งพร้อมปกป้องผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต รวมถึงเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับอุปกรณ์ Android และยังมีเทรนด์ ไมโคร เซฟซิงค์ (Trend Micro™ SafeSync™) ที่จะช่วยสนับสนุนการซิงค์ไฟล์และโฟลเดอร์ ตลอดจนการสำรองข้อมูลในรูปแบบของบริการออนไลน์

นอกจากนี้ ไททาเนียม 2012 ยังเพิ่มประสิทธิภาพในส่วนของการควบคุมโดยผู้ปกครอง (Parental Controls) การติดตามพฤติกรรม และการป้องกัน และกำจัดรูทคิตส์ โดยจากการทดสอบล่าสุดของ AVTest.org พบว่า ไททาเนียม 2012 มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นถึง 60% ในด้านการตรวจหาและกำจัดรูทคิตส์ ซึ่งเป็นมัลแวร์บ่อนทำลายระบบที่ยากต่อการตรวจพบ และยังเพิ่มคุณลักษณะ “สกิน” (skin) แสนสนุกที่ยังเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถปรับแต่งลักษณะการป้องกันชีวิตดิจิทัลของตนได้อย่างครอบคลุมอีกด้วย

ทั้งนี้ ไททาเนียม 2012 พร้อมวางจำหน่ายในสองแพ็คเกจ คือ 1. ไททาเนียม แม็กซิมัม ซิเคียวริตี้ ราคา 759 บาท สำหรับผู้ใช้งาน 1 เครื่อง และ 2. ไททาเนียม อินเทอร์เน็ต ซิเคียวริตี้ ราคา 1,290 บาท สำหรับผู้ใช้งาน 3 เครื่อง โดยแต่ละแพ็คเกจออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของครอบครัวและส่วนบุคคลโดยเฉพาะ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เซอร์วิส เซ็นเตอร์ โทรศัพท์ 0 2333 3334 หรือ www.trendmicro.com

กาญจนหทัย กิ่งหิรัญวัฒนา ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงแผนการทำตลาดไททาเนียม 2012 ว่า “เทรนด์ ไมโครเตรียมจัดกิจกรรมการตลาดสำหรับเปิดตัวผลิตภัณฑ์ไททาเนียม 2012 โดยเริ่มจัดกิจกรรมร่วมสนุกบน facebook เปิดโอกาสให้ลูกค้าและประชาชนทั่วไปร่วมสนุกกับกิจกรรม “แอ๊คหน้า เหวอ ให้โดนใจ” แล้วกด like ที่หน้า Fan Page Trend Micro (www.facebook.com/trendmicrothai) เพื่อลุ้นรับ IPad 2 ฟรีทันที ระหว่างวันนี้ – 20 พฤศจิกายน 2554”

View :1502

ทรู ชวนคนไทย ร่วมภูมิใจกับ “True Innovation Awards 2011 The Reality”

October 3rd, 2011 No comments

รายการเรียลลิตี้ โชว์ไอเดียนวัตกรไทย ครั้งแรกในประเทศ

บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น เชิญชวนคนไทยทั่วประเทศ ติดตามชม “” รายการเรียลลิตี้ นำเสนอผลงานนวัตกรรมครั้งแรก โดยเปิดให้ผู้ร่วมแข่งขัน “ทรู อินโนเวชั่น อวอร์ด 2011” นำเสนอไอเดียและแสดงผลงานจริง ออกอากาศ ทุกวันอังคาร เวลา 20:30-21:30 น. ผ่าน True X-Zyte (ทรูวิชั่นส์ช่อง 62) และทุกวันเสาร์ เวลา 17:00-18:00 น. ผ่าน TNN2 ช่อง 8 ตั้งแต่วันนี้
รายการ “True Innovation Awards 2011 The Reality” เป็นส่วนหนึ่งของการประกวด “ทรู อินโนเวชั่น อวอร์ด 2011” เวทีส่งเสริมนวัตกรไทยนำเสนอผลงานและสร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยสนใจนวัตกรรม โดยสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ www.trueinnovationawards.com หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ Innovation Center โทร.02-699-6368 หรืออีเมล์ innovation_team@truecorp.co.th

View :1784

ซิป้าเปิดตัว “ทัพ Cloud Software ไทยบุกตลาดท่องเที่ยวเอเชีย” กรุยทางปักธงซอฟต์แวร์ไทยรองรับ AEC 2015

September 28th, 2011 No comments

หรือ ัดงานแถลงข่าว “ ทัพ ไทยบุกตลาดท่องเที่ยวเอเชีย ” พร้อมแผนการตลาดที่จะนำบริษัทซอฟต์แวร์ไทยที่พัฒนาบนเทคโนโลยี Cloud Service กว่า 10 รายทำตลาดในเมืองท่องเที่ยวสำคัญในเมืองไทย 9 แห่ง และเมืองท่องเที่ยวสำคัญในเอเชีย 5 แห่ง โดยได้รับเกียรติจาก นายณัฐพงศ์ ศีตวรรัตน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานในการเปิดงานแถลงข่าว

นายปริญญา กระจ่างมล รองผู้อำนวยการซิป้า กล่าวว่า “ จากการที่ซิป้าได้จัดกิจกรรม SoftEx@ ขึ้นมาเมื่อปลายปี 2553 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2554 ผ่านมา ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่กลุ่มผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ได้มาพบกับกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่างทั้ง 6 คลัสเตอร์ คือ Logistics, Health care, Food & Agriculture, Tourism, Education และ Jewelry ผลที่ได้จากงาน SoftEx@ คือการที่ผู้ประกอบการได้รวมตัวกับและพัฒนาร่วมกันในลักษณะ Total Solution โดยเฉพาะในกลุ่ม Tourism เป็น Cluster แรกที่มีความพร้อมในการทำการตลาด

ในเบื้องต้นผู้ประกอบการฯบางรายที่มีความพร้อมได้เจรจาและนำระบบมาเชื่อมโยงเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้มากขึ้น ซึ่งซิป้าจะสนับสนุนให้การขยายการเชื่อมโยงไปยังระบบของผู้ประกอบการฯรายอื่นๆต่อไป ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้โซลูชั่นที่พัฒนาขึ้นสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำรูปแบบธุรกิจในลักษณะการจำหน่ายซอฟต์แวร์เชิงบริการ (Software as a Service : SaaS) มาใช้แทนการจำหน่ายซอฟต์แวร์ทั้งระบบเนื่องจากผู้ซื้อต้องใช้เงินทุนจำนวนมากในการจัดหาในขณะที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กเช่นเดียวกัน ซึ่งรูปแบบธุรกิจในลักษณะการจำหน่ายซอฟต์แวร์เชิงบริการนั้นผู้ใช้สามารถชำระค่าบริการตามปริมาณการใช้งานหรือเป็นรายเดือน และไม่ต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์รวมทั้งไม่ต้องมีหน่วยงานด้าน IT คอยดูแลระบบ

“ซิป้ายังมีแผนที่จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการพัฒนาโซลูชั่นด้านท่องเที่ยวและให้บริการใช้งานผ่านระบบ Cloud Computing ซึ่งสามารถเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์พัฒนาระบบขนาดเล็กๆ แต่สามารถนำมาเชื่อมโยงให้เป็นโซลูชั่นขนาดใหญ่ได้และจำหน่ายเป็นซอฟต์แวร์เชิงบริการ ที่มีรูปแบบการบริหารจัดการและแบ่งปันผลประโยขน์ที่ชัดเจน แนวทางดังกล่าวจะผู้ให้บริการจะสามารถขยายตลาดและฐานลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็วเนื่องจากเป็นการให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ต ” รองผู้อำนวยการซิป้ากล่าวสรุป

การบุกเมืองท่องเที่ยวในแผนการสนับสนุนผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ด้านการตลาดครั้งนี้มีเป้าหมายที่ 9 เมืองในประเทศไทย คือ พัทยา กาญจนบุรี ภูเก็ต สมุย หัวหิน เขาใหญ่ เชียงใหม่ เชียงราย และกรุงเทพมหานคร และ 5 เมืองที่เป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวในเอเชียคือ โตเกียว มะนิลา โฮจิมินท์ซิตี้ บาหลี และกัวลาลัมเปอร์ โดยแต่ละแห่งที่จะเข้าไปเจาะตลาดนั้นจะใช้กลยุทธ์ในการรวมกลุ่มกันเข้าไปเป็น Cluster ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ประกอบการที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีความโดดเด่นในด้านต่างๆกันรวม 10 บริษัท คือ
• บริษัท Comanche (Thailand) จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์บริหารในโรงแรม

บริษัท Signature จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์บริหารสปา
• บริษัท เอด้าซอฟต์ จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์บริหารภัตตาคาร
• บริษัท Arunsawat จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์บริหารจัดการ/จำหน่าย สินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือ
• บริษัท Touch Technology จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์บริหาร hotspot Wifi
• บริษัท IT-Work จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์ Web marketing
• บริษัท TNT จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์ e-Brochure
• บริษัท Vertasoft จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์บริหารจัดการเอกสาร
• บริษัท AI Soft จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์จองตั๋วโดยสารเครื่องบิน
• บริษัท Galileo จำกัด จำหน่าย/ให้บริการซอฟต์แวร์จองห้องพักโรงแรม

ทั้งนี้เป็นความร่วมมือดำเนินการระหว่างสมาคมส่งออกซอฟต์แวร์ไทย (TSEP), สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI), สมาคมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI), สมาคมโรงแรมไทย (THA), และสมาคมสปาไทย โดยสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นผู้สนับสนุน

View :2350

บีเอสเอรายงาน เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ใช้พีซีทั่วโลก จัดหาซอฟต์แวร์มาใช้งานแบบผิดกฎหมายอยู่ตลอดเวลา

September 15th, 2011 No comments

การสำรวจใน 32 ประเทศ ชี้ถึงความจำเป็นของการให้ความรู้ที่ถูกต้อง และการบังคับใช้กฎหมายควบคู่กันไป

ผลงานการสำรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมและทัศนคติของผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ที่มีต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์และทรัพย์สินทางปัญญา พบว่า เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ใช้พีซีทั่วโลก คิดเป็นร้อยละ 47 จัดหาซอฟต์แวร์มาใช้งานผ่านทางวิธีที่ผิดกฎหมายอยู่ตลอดเวลา และในประเทศกำลังพัฒนา จำนวนของผู้ใช้พีซีที่มีพฤติกรรมดังกล่าว ปรากฎออกมาเป็นตัวเลขที่สูงมาก
(บีเอสเอ) ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการสำรวจครั้งสำคัญนี้ ผ่านทางบล็อก BSA TechPost ผู้ที่ทำการสำรวจครั้งนี้ให้แก่ บีเอสเอ คือ บริษัท Ipsos Public Affairs โดยสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้พีซี 15,000 คน ใน 32 ประเทศ รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ใช้พีซี 400 ถึง 500 คนในแต่ละประเทศ ทั้งแบบสัมภาษณ์สด และสัมภาษณ์ออนไลน์

การสำรวจครั้งนี้ พบว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนาจัดหาซอฟต์แวร์มาใช้งาน โดยผิดกฎหมายอยู่เป็นประจำ เช่น ซื้อหนึ่งไลเซ็นต์ สำหรับหนึ่งโปรแกรม สำหรับใช้งานคนเดียว แต่กลับมาติดตั้งโปรแกรมดังกล่าวลงบนคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง หรือดาวน์โหลดโปรแกรมจากเครือข่ายเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer Network) ต่างๆ แม้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เหล่านี้จะแสดงตนว่าสนับสนุนหลักการเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาก็ตาม

จากจำนวน 32 ประเทศที่ทำการสำรวจ พบว่ามีประเทศในเอเชีย-แปซิฟิคอยู่ 9 ประเทศ และ 6 ใน 9 ได้แก่ จีน เวียดนาม มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ พบว่ามีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในระดับบุคคล อยู่ใน 10 อันดับแรก ของประเทศทั้งหมดที่ทำการสำรวจ
การสำรวจยังพบว่า ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่งมีจำนวนสูงมากในประเทศกำลังพัฒนา มีความเชื่อผิดๆ ว่าวิธีผิดกฎหมายที่ได้ซอฟต์แวร์มานั้น ในความเป็นจริงแล้ว เป็นวิธีที่ไม่ผิดกฎหมาย ขณะเดียวกัน ยังเชื่อว่าการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เป็นเรื่องปกติ และไม่เชื่อว่าจะถูกจับได้
ที่สำคัญ คือ ผู้บริหารในองค์กรธุรกิจทั่วโลก ต่างมีพฤติกรรมและความคิดเห็น ที่ไม่ต่างไปจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์เหล่านี้เลย สำหรับ 5 ประเทศในเอเชีย-แปซิฟิค พบว่าอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในระดับผู้บริหาร อยู่ใน 10 อันดับแรก ของประเทศทั้งหมดที่ทำการสำรวจ
“เมื่อปีที่ผ่านมา มีขโมยหลายร้อยล้านคนได้ขโมยซอฟต์แวร์ รวมเป็นมูลค่า 59,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ถึงตอนนี้ เราเข้าใจมากขึ้นแล้วว่า พวกเขาคิดอะไรอยู่” ประธานและเจ้าหน้าที่ผู้บริหารระดับสูงของบีเอสเอ มร. โรเบิร์ต ฮอลลีแมน กล่าว “หลักฐานที่ปรากฎนั้นชัดเจนมาก วิธีที่จะลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ได้ คือ ต้องให้ความรู้แก่องค์กรธุรกิจและบุคคลทั่วไป ว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกกฎหมาย – พร้อมเพิ่มการบังคับใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองทรัพยสินทางปัญญา เป็นการส่งสัญญาณไปยังตลาด เพื่อให้เกิดการชะลอตัวของการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์”
ลินน์ บ๊อกซ์ซอล ผู้อำนวยการของบีเอสเอ ประจำเอเชีย-แปซิฟิค กล่าวว่า “ผลการสำรวจชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงได้อย่างน่าสนใจทีเดียว ที่ว่าผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เป็นจำนวนมากอาจจะไม่ได้ตระหนักเลยว่า พวกเขากำลังทรยศต่อหลักการ และทำผิดกฎหมาย บีเอสเอยึดมั่นกับการดำเนินกิจกรรมที่เน้นไปที่การสร้างความตระหนัก และทำให้เกิดความเคารพในทรัพยสินทางปัญญามากขึ้น ทั้งทรัพยสินทางปัญญาที่เป็นของต่างชาติ และของคนในท้องถิ่นในแต่ละประเทศเอง เราเชื่อมั่นว่า การคุ้มครองทรัยพสินทางปัญญาที่เข้มแข็งจะสร้างคุณประโยชน์ให้แก่เศรษฐกิจของประเทศในเอเชียได้อย่างมากมาย ทั้งนี้ เพราะอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) มีส่วนสำคัญมากๆ ต่อการเติบโตของภูมิภาคนี้
จำนวนผู้ละเมิดลิขสิทธิ์แยกตามประเทศ

View :1413

ประกาศผล TICTA 2011 ตัวแทนร่วมแข่งภูมิภาค APICTA Awards 2011

September 12th, 2011 No comments

ซิป้าและเอทีซีไอประกาสผลผู้ชนะเลิศ Thailand ICT Awards 2011 จำนวน 13 ผลงาน เป็นตัวแทนร่วมแข่งขัน พร้อมผลักดันซอฟต์แวร์ไทยสู่ตลาดภูมิภาค รับเปิดเสรีตลาด ASEAN

ประกาศผลแล้วสำหรับผู้ชนะเลิศโครงการ Thailand ICT Awards 2011 ในพิธีมอบรางวัล ณ ห้องบอลล์รูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีผลงานที่ได้รับรางว้ลชนะเลิศรวม 13ผลงาน และรองชนะเลิศ 27 ผลงาน โดยผู้ชนะเลิศจะได้รับการสนับสนุนร่วมแข่งขันระดับเอเชียแปซิฟิก หรือ APICTA Awards 2011 ระหว่างวันที่ 8 – 11 พฤศจิกายน ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

โครงการประกวดผลงานซอฟต์แวร์ดีเด่นแห่งชาติ หรือ Thailand ICT Awards (TICTA Awards) เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม การยกระดับมาตรฐานคุณภาพ และด้านการตลาด และเริ่มเปิดรับสมัครผลงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม มีซอฟต์แวร์ที่ส่งเข้าร่วมแข่งขันรวม 139 ผลงาน ทั้งนี้ โครงการฯ ได้ดำเนินการตัดสินผลงานในรอบเอกสารและนำเสนอผลงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศมีรายนามดังต่อไปนี้

View :1603

เนคเทคเปิดตัวสายลับจับเน็ตล่ม

September 2nd, 2011 No comments

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ() สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช.) เปิดตัวระบบ “” ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยให้สามารถดูแลอุปกรณ์เครือข่ายทางด้านสารสนเทศได้เป็นจำนวนมาก มีประสิทธิภาพในการดูแลเครือข่ายที่อาจจะอยู่ในบริเวณเดียวกันหรืออยู่ห่างไกลออกไปได้อย่างทั่วถึง ผู้ดูแลไม่จำเป็นต้องนั่งเฝ้าดูการทำงานตลอดเวลาก็ยังสามารถรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ช่วยให้เห็นภาพรวมของสถานะการทำงานของระบบ ทำให้สามารถวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียกดูสถานะการทำงานย้อนหลังเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ปัญหา รวมทั้งสามารถสรุปภาพรวมของประสิทธิภาพของระบบได้ คาดระบบดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์และผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรมของประเทศไทยในด้านการจัดการเครือข่ายที่ดีจะช่วยลดปัญหาการล่มของระบบ และลดการสูญเสียรายได้ลดการนำเข้าซอฟต์แวร์ราคาแพงจากต่างประเทศ ภาคอุตสาหกรรมสามารถนำ NetHAM ไปพัฒนาต่อยอดเป็นซอฟต์แวร์เชิงพานิชย์ที่สามารถแข่งขันได้ไนตลาดโลก

ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค)กล่าวว่า “จากความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอทีในองค์กร และมักจะประสบปัญหาอยู่บ่อยครั้งใน ๕ เรื่องคือ ๑.ปัญหาระบบเครือข่ายทำงานช้า ๒. บุคลากรทางด้านไอทีขาดความรู้ความชำนาญ ผู้ใช้งานขาดความรู้พื้นฐาน ๓. ความช้าในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ๔. ปัญหาในการวางระบบจัดเก็บและแบ่งปันไฟล์ข้อมูล ๕. ระบบควบคุมเวอร์ชั่นของเอกสารช้า ทีมนักวิจัยของเนคเทคจึงได้ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาระบบที่มีชื่อเรียกสั้นๆว่า NetHAM : Network Health Analysis and Monitoring มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๐ ซึ่งก็คือ ระบบที่ทำหน้าที่เฝ้ามองการทำงานของเครือข่าย คอยเก็บบันทึกสถานะการทำงาน และแจ้งเตือนให้ผู้ดูแลทราบหากพบว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของเครือข่ายมีการทำงานที่ผิดปกติ เช่น เข้าเว็บไม่ได้ อีเมลไม่ถึง รับ-ส่งไฟล์ช้า โดย NetHAM มีคุณสมบัติสำคัญในการใช้งาน คือ ๑.เป็นระบบตรวจสอบสุขภาพของอุปกรณ์และบริการบนเครือข่าย ๒.เน้นการใช้งานที่เข้าใจง่าย ๓.เห็นภาพรวมของระบบชัดเจน ๔.เหมาะสำหรับผู้ดูแลเครือข่ายขนาดกลางและเล็กที่อาจไม่มีความเข้าใจในระบบเครือข่ายลึกซึ้ง ซึ่งเมื่อผู้มีหน้าที่ดูแลระบบสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพระบบของตนเอง หรือมีการแจ้งเตือนให้รู้ตัวได้ก่อนที่จะเกิดปัญหาร้ายแรงขึ้นก็จะทำให้สามารถแก้ไขหรือป้องกันปัญหานั้นได้ก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้นและในวันนี้ NetHAM สายลับจับเน็ตล่ม มีความพร้อมแล้วที่จะเปิดให้บริการสาธารณะ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ อาทิ สถานศึกษา โรงพยาบาล โรงแรม ห้างร้าน อุตสาหกรรมขนาดย่อม หน่วยงานรัฐ เป็นต้น”

ด้านนางสุวิภา วรรณสาธพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยถึงแนวทางในการเปิดให้บริการว่า “NetHAM สายลับจับเน็ตล่ม เป็นระบบที่จะทำหน้าที่ในการดูแลประสิทธิภาพของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยสามารถแสดงแผนผังการเชื่อมต่อเครือข่าย (Topology), แสดงข้อมูลสรุปสถานะของแต่ละอุปกรณ์,ตรวจสอบและรายงานสถานะของอุปกรณ์และบริการบนเครือข่ายได้ เช่น web, mail, database, แสดงปริมาณการใช้ทรัพยากร Bandwidth, CPU, Memory ของอุปกรณ์เครือข่าย , รายงานสถานะย้อนหลังตามช่วงเวลาที่กำหนด และแจ้งเตือนผู้ดูแลระบบผ่านอีเมลทันทีที่พบความผิดปกติ และในวันนี้ สวทช. โดยทีมนักวิจัยของเนคเทค มีความพร้อมแล้วที่จะนำผลงานวิจัยพัฒนาระบบ NetHAM เปิดให้บริการสาธารณะและถ่ายทอดให้กับองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆภายในประเทศ เพื่อนำ NetHAMไปใช้ประโยชน์ในวงกว้างให้เร็วที่สุด เพื่อให้องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยถูกนำไปใช้งานจริง ที่สำคัญ สวทช.มุ่งหวังว่า NetHAM จะไปช่วยเสริมสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับองค์กรต่างๆได้ คือ กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม (SME) จะสามารถลดต้นทุนในการดำเนินงานด้านระบบเครือข่าย , กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อมด้านซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ จะสามารถนำ NetHAMไปต่อยอดทางธุรกิจได้ เช่น นำไปให้บริการติดตั้ง ให้คำปรึกษา ฝึกอบรมพร้อมดูแล ระบบ เป็นต้น ที่สำคัญหากองค์กรใดต้องการพัฒนาระบบให้ตอบสนองกับธุรกิจและความต้องการขององค์กรของตนเองเป็นการเฉพาะ สวทช. โดย เนคเทค ก็ยินดีให้คำปรึกษาและพัฒนาเพิ่มเติมให้เช่นกัน”

View :3506