Archive

Archive for the ‘Technology’ Category

ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ประกาศแต่งตั้งนายมารุต มณีสถิตย์ เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย

April 10th, 2013 No comments

การแต่งตั้งในครั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนการนำโซลูชั่นด้านข้อมูลมาใช้ในประเทศไทย

นายมารุต มณีสถิตย์

กรุงเทพฯ – 10 เมษายน 2556 — บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชัน (เอสดีเอช) ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด (TSE: 6501) ประกาศแต่งตั้ง นายมารุต มณีสถิตย์ เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย ด้วยชื่อเสียงที่ดีเยี่ยมด้านการดูแลลูกค้าและการจัดการพาร์ตเนอร์ โดยนายมารุตจะเป็นผู้รับผิดชอบการขับเคลื่อนธุรกิจ และทิศทางการเติบโตของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ในประเทศไทย โดยการเสริมสร้างและขยายฐานลูกค้าของบริษัทและพันธมิตร

นายระวี ราเจนดราน รองประธาน และผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคอาเซียน บริษัท ฮิตาชิ ดาต้าซิสเต็มส์ กล่าวถึงการแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยคนใหม่ว่า “ผมรู้สึกตื่นเต้นที่ได้ต้อนรับ นายมารุต มณีสถิตย์ เข้าร่วมงานกับฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ด้วยประสบการณ์ของนายมารุตที่มีมากว่า17 ปี ทั้งในด้านการขายและการตลาด อีกทั้งความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ซึ่งเขาได้รับการยอมรับแล้วถึงการสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพสูงและการพัฒนาความสามารถของทีม รวมถึงเขายังสามารถสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าได้เป็นอย่างดี ด้วยความเชี่ยวชาญของนายมารุตจะช่วยให้ผลักดันธุรกิจของฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ในประเทศไทยให้เติบโตยิ่งขึ้น”

ด้านนายมารุต มณีสถิตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโตเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากองค์กรต่างๆ ยังคงมองหาวิธี ในการบริหารจัดการข้อมูล ซึ่งฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ช่วยให้ลูกค้าสามารถดึงเอาคุณประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นมาช่วยในการสนับสนุนการดำเนินงานและขยายธุรกิจของพวกเขา ผมเชื่อว่าด้วยทีมงานที่แข็งแกร่งทั้งฝ่ายขาย ช่องทางจำหน่าย การบริหารด้านการตลาด และการบริการลูกค้าอย่างมืออาชีพ จะทำให้เราสามารถผลักดันธุรกิจของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ให้ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นต่อไป”
ก่อนหน้าที่จะเข้าร่วมงานกับฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ นายมารุต มีบทบาทที่สำคัญในด้านการขายและด้านไอทีมากมายในองค์กรขนาดใหญ่ อาทิ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ และฮิวเลตต์-แพคการ์ด (เอชพี) โดยล่าสุดเขาเป็นหัวหน้าทีมขายสำหรับองค์กรภาครัฐและเอกชน ที่บริษัท ฮิวเล็ตต์-แพคการ์ด (เอชพี) ครอบคลุมลูกค้าในตลาดที่สำคัญทั้งด้านธุรกิจธนาคาร ธุรกิจค้าปลีก โทรคมนาคมและภาครัฐ นายมารุตสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบการศึกษาระดับปริญญาโทด้านวิศวกรรมจาก School of Advanced Technology, Asian Institute of Technology

เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้จัดเตรียมบริการโซลูชั่นและเทคโนโลยีสารสนเทศระดับดีเยี่ยมที่ให้ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ที่น่าสนใจแก่ลูกค้าอัตราผลต่อแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) ที่โดดเด่น และแสดงให้เห็นผลกระทบที่ธุรกิจจะได้รับ อย่างชัดเจนด้วยมุมมองด้านไอทีเสมือนจริงแบบยั่งยืนอัตโนมัติและพร้อมใช้สำหรับระบบคลาวด์ โดยบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้นำเสนอโซลูชั่นที่สามารถปรับปรุงต้นทุนด้านไอทีและก่อให้ความคล่องตัวในระดับสูง และด้วยพนักงานกว่า 5,900 รายทั่วโลกทำให้บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ สามารถดำเนินธุรกิจได้ในกว่า 100 ประเทศและภูมิภาคต่างๆ ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์บริการและโซลูชั่นของบริษัท ฮิตาชิดาต้า ซิสเต็มส์ ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรชั้นนำทั่วโลก ซึ่งรวมถึงองค์กรกว่า 70% ของทำเนียบฟอร์จูน 100 และกว่า 80% ของทำเนียบฟอร์จูนโกลบอล100 ด้วย โดยบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เชื่อว่าข้อมูลจะเป็นตัวขับเคลื่อนโลกของเราและสารสนเทศคือกระแสใหม่ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ http://www.hds.com

เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ จำกัด
บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นนิวยอร์ก: HIT/ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว: 6501) มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำระดับโลกด้วยจำนวนพนักงานทั่วโลกประมาณ 320,000 ราย โดยในปีงบประมาณ 2554 (จนถึงวันที่ 31 มีนาคมพ.ศ. 2555) บริษัทฯ มียอดขายรวม 9,665 พันล้านเยน (117.8 พันล้านดอลลาร์) ทั้งนี้ บริษัทฮิตาชิจะให้ความสำคัญกับธุรกิจที่เน้นด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมมากกว่าที่เคย ซึ่งรวมถึงระบบสารสนเทศและโทรคมนาคม ระบบไฟฟ้า สภาพแวดล้อม ระบบอุตสาหกรรม และการขนส่งระบบสังคมและเมือง รวมถึงวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ครอบคลุมในการสนับสนุนธุรกิจดังกล่าว สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทฮิตาชิ สามารถเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ http://www.hitachi.com

View :1222
Categories: Technology Tags:

ไอบีเอ็มชูคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง พร้อมความรู้ความเชี่ยวชาญ ช่วยยกระดับงานวิจัยไทย

March 6th, 2013 No comments

กรุงเทพ 4 มีนาคม 2556 ไอบีเอ็มประกาศสนับสนุนงานวิจัยไทย ด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง หรือ ไฮเพอฟอร์มานซ์ คอมพิวติ้ง (High Performance Computing : HPC) พร้อมด้วยองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ ทางด้านเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ สนับสนุนงานวิจัย ให้กับหน่วยงานภาครัฐ องค์กร และนักวิจัย เพื่อส่งเสริมและขับเคลื่อนงานวิจัยไทยทั้งระบบให้เกิดความเข้มแข็ง เกิดการสร้างคน สร้างเมือง สร้างประเทศ เพื่อเป็นรากฐานและพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวหน้า สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ โดยมีศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติ หรือ Asian Disaster Preparedness Center (ADPC) และคณะวิทยาศาสตร์เคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความไว้วางใจใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงของไอบีเอ็ม เสริมศักยภาพงานวิจัยในโครงการ

นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า
“ไอบีเอ็มเป็นองค์กรระดับโลกที่ได้สร้างคุณค่านวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยี ที่ช่วยพัฒนาการทำงานให้กับองค์กรธุรกิจต่างๆทั่วโลกมาอย่างยาวนาน กับภารกิจสำคัญซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างทั่วถึง เพื่อให้ระบบที่หลากหลายทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์โลกที่ฉลาดมากขึ้นภายใต้แนวคิด Smarter Planet

สิ่งที่ไอบีเอ็มนำมาสนับสนุนงานวิจัยของไทยคือ เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงหรือ High Performance Computing (HPC) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิผลในงานวิจัยและพัฒนาในด้านต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนโดย HPC เป็นคอมพิวเตอร์ ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในงานวิจัย การคำนวณ การสร้างโมเดลในการทำงาน จากคำสั่งจำนวนมากๆ เพื่อหาผลลัพธ์ให้ได้อย่างรวดเร็ว จึงเหมาะกับ การใช้งานวิจัยและพัฒนาขนาดใหญ่ ในกลุ่มอุตสาหกรรมการศึกษา และกำลังขยายไปทุกกลุ่มอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ไอบีเอ็มยังได้นำเอาองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ทางด้านเทคโนโลยี ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ รวมทั้งเงินทุน โดยมีโครงการที่ไอบีเอ็มพร้อมสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยของไทย เช่น Shared University Research (SUR) Awards, Faculty Awards, Smarter Planet Innovation Awards, HPC Workshop ที่ออกแบบขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ซึ่งเป็นคอร์สที่เป็นมาตรฐานพร้อมใช้ นอกจากนี้ไอบีเอ็มยังได้ส่งผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ทางด้าน Deep Computing เข้ามา เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากทั่วโลก โดยการจัดสร้างเครือข่ายในกลุ่มนักวิจัยของไทย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และเทรนเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์นักวิจัยไทย ให้ได้รับความรู้ในวงกว้างมากขึ้น

ซึ่งทั้งหมดนี้ไอบีเอ็มคาดว่า จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาล กับมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานวิจัย โดยจะเป็นการเปิดโอกาส ให้คณาจารย์หรือนักวิจัยสามารถนำเทคโนโลยีหรือเงินทุนสนับสนุนจากไอบีเอ็มไปดำเนินการค้นคว้า วิจัยหรือพัฒนาโครงการต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณชน สร้างบุคลากร นิสิตนักศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถใช้เทคโนโลยีพวกนี้เป็น และนำมาเข้าสู่อุตสาหกรรม โดยให้เกิดผลผลิตและผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจน อันจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพงานวิจัยของประเทศต่อไป”

ทางด้าน ดร.พิจิตต รัตตกุล ที่ปรึกษา ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย(ADPC) กล่าวว่า “ ADPC ทำหน้าที่ให้ความรู้ อบรม ให้คำแนะนำ รวบรวมข้อมูลเรื่องการจัดการอุบัติภัย ทำหน้าที่เตือนภัยใน 23 ประเทศ สิ่งสำคัญในการทำหน้าที่นี้คือ ADPC ต้องมีเทคโนโลยีและเครื่องมือที่จะทำโมเดลของการพยากรณ์ที่มีความแม่นยำสูงมาก เพื่อให้การเตรียมโมเดลนี้สามารถรับมือกับภัยพิบัติได้ในแต่ละประเทศ ADPC ได้ติดตั้ง IBM Power 775 เพื่อใช้ในงานวิจัย การพยากรณ์อากาศ และ ภัยพิบัติ เพื่อจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติและลดความรุนแรงจากความเสียหายที่จะเกิดขึ้นให้กับประเทศสมาชิก ก่อนหน้านี้ ADPC ได้ไว้วางใจ และทำงานกับไอบีเอ็มอย่างใกล้ชิด มาก่อนเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งไอบีเอ็มเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ที่ใช้อยู่ในหลายประเทศ ผมมั่นใจว่าความสามารถในการคาดการณ์ โดยการประมวลผลของ IBM Power 755 ที่รวดเร็ว และแม่นยำสูงจะช่วยลดผลกระทบความสูญเสียและเศรษฐกิจสังคมของประเทศได้เป็นอย่างดี”

ดร.ศรเทพ วรรณรัตน์ รักษาการ ผู้อำนวยการ ห้องปฏิบัติการวิจัยการจำลองขนาดใหญ่ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า “สวทช. ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์กรมหาชน) จัดตั้ง ภาคีโครงสร้างพื้นฐานระดับชาติด้าน e-Science หรือ National e-Science Infrastructure Consortium ภาคีนี้มีจุดประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอันได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (HPC) ระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ และ ฐานข้อมูลทางการวิจัย เพื่อรองรับการวิจัย ในส่วนของ สวทช. ได้จัดซื้อระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงจากไอบีเอ็ม ประกอบด้วยเครื่องแม่ข่าย iDataPlex dx360 และระบบจัดเก็บข้อมูล DS3000 ที่มาของความร่วมมือนี้สืบเนื่องจาก การมีความร่วมมือระหว่างนักฟิสิกส์ไทย กับ องค์การเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป หรือ CERN (เซิร์น) ในการวิจัยในสาขาฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง ซึ่ง เซิร์นเปิดโอกาสให้นักวิจัยไทยได้ใช้ข้อมูลจากเครื่องเร่งอนุภาคที่เซิร์นสร้างขึ้นโดยใช้งบประมาณมหาศาล ส่วนทางไทยต้องมีระบบจัดเก็บข้อมูลและคอมพิวเตอร์ ที่มีความจุข้อมูลและความเร็วในการประมวลผลเพียงพอในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งห้าหน่วยงานจึงได้ตกลงร่วมกันพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และระบบจัดเก็บข้อมูลขึ้น ระบบที่พัฒนาขึ้้นนี้ นอกจากจะใช้ในการวิจัยในสาขาฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงแล้ว ยังจะมีการใช้งานในด้านอื่นๆ คือ ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พลังงาน และ สิ่งแวดล้อม ด้านวิทยาการและวิศวกรรมเชิงคำนวณ และ ด้านวิทยาการและวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ การที่หลายหน่วยงานร่วมมือกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้เกิดการใช้งานที่คุ้มค่ายิ่งขึ้นกว่าต่างคนต่างทำ และ สามารถช่วยเหลือแบ่งหน้าที่กันทำให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การมีระบบคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะที่เพียงพอ ทำให้นักวิจัยสามารถทำงานวิจัยที่ใช้ประโยชน์ได้จริงได้ดีกว่าที่ผ่านมา เช่น การพัฒนาแบบจำลองภูมิอากาศที่่มีความละเอียด แม่นยำมากขึ้น สามารถนำผลไปใช้ในการออกนโยบายและวางแผนการทำการเกษตรกรรม และการจัดสรรน้ำที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม ในอนาคตภาคีฯ จะเปิดรับหน่วยงานอื่นๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ทำให้โครงสร้างพื้นฐานมีขนาดใหญ่ขึ้น และ ใช้งานได้กว้างขวางยิ่งขึ้น”

รศ.ดร.วุฒิชัย พาราสุข หัวหน้าภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำ HPC และ solution Idataplex ทำงานวิจัยด้าน Computational chemistry ซึ่งเป็นงานที่เรียกได้ว่าพัฒนามาพร้อมๆ กับ HPC ในการทำงานต้องสร้างแบบจำลองขึ้นมาก่อนบนคอมพิวเตอร์ แล้วจากนั้นก็ใช้หลักทฤษฎีสร้างสมการคณิตศาสตร์และหาคำตอบโดยการแก้สมการ ที่ซับซ้อนและมีจำนวนมหาศาล ระบบที่ได้ดำเนินการศึกษา ก็จะมี ตั้งแต่ เชื้อไวรัส HIV หรือเชื้อไวรัสที่เกี่ยวกับโรคเอดส์ เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และเชื้อไวรัสไข้หวัดนก ปัจจุบันนี้กำลังศึกษาระบบที่เกี่ยวกับเซลล์มะเร็ง ดังนั้นระบบ HPC ที่ใช้ต้องมีความสามารถสามประการ คือต้องมีความสามารถในการคำนวณสูง โดยเน้นที่ floating point operation มีขนาด hard disk ใหญ่มาก และมีขนาด memory ใหญ่มากด้วย การมีคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ทรงประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้สามารถทำงานทางด้านนี้ได้รวดเร็วขึ้น เพราะเวลาเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และก็จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยตรง”

“ด้วยความมุ่งมั่นของไอบีเอ็มในการวิจัยและพัฒนา HPC มาอย่างยาวนาน จนเป็นที่ยอมรับและไว้วางใจจากลูกค้าทั่วโลก จึงทำให้ไอบีเอ็มมีความพร้อมและตั้งใจจริง ที่จะนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง และความรู้ความเชี่ยวชาญ มาช่วยสนับสนุนงานวิจัยของไทย เพื่อพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในการวิจัยของประเทศให้สูงขึ้น นำไปสู่การสร้างฐานความรู้ที่มีคุณค่า สามารถประยุกต์และพัฒนาวิทยาการที่เหมาะสมและแพร่หลาย รวมทั้งให้เกิดการเรียนรู้และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์สาธารณะ ตลอดจนเกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยใช้ทรัพยากรและเครือข่ายวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ “ นางพรรณสิรี กล่าวสรุป

View :1485

ก.ไอซีที จับมือ ทีโอที และ กสท พัฒนาระบบ Wi-Fi ในโครงการแท็บเล็ตเพื่อเด็ก ป.1

March 6th, 2013 No comments

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามสัญญา “เช่าใช้บริการวงจรสื่อสารข้อมูลพร้อมอุปกรณ์ โครงการพัฒนาระบบโครงข่ายไร้สาย (Wi-Fi Network)” เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างกระทรวงไอซีที กับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ว่า เนื่องจากนโยบายของคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงไอซีทีจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ให้แก่โรงเรียนในโครงการ One Tablet per Child หรือ OTPC โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ควบคู่กับ การเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตร รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานเพื่อให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 27,231 โรงเรียน และ มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประมาณ 858,886 คน แต่ยังขาดความพร้อมด้านระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายในห้องเรียน เพื่อใช้งานร่วมกับเครื่องแท็บเล็ตที่มีคุณสมบัติเฉพาะการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย Wi-Fi เท่านั้น ซึ่งจะสามารถสร้างโครงข่ายภายในห้องเรียนที่จะช่วยในเรื่องการบริหารจัดการเครื่องแท็บเล็ตให้ง่ายต่อการเรียนการสอนระหว่างครูกับกลุ่มนักเรียน และใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วที่เหมาะสม

กระทรวงไอซีทีเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ให้แก่การศึกษาไทย จึงได้ดำเนินโครงการดังกล่าวขึ้นโดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โครคมนาคม จำกัด (มหาชน) ให้เช่าใช้บริการวงจรสื่อสารข้อมูลพร้อมอุปกรณ์ เพื่อพัฒนาระบบโครงข่ายไร้สาย (Wi-Fi Network) เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เครื่องแท็บเล็ตไปยังห้องเรียนในโรงเรียนต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้ง 2 บริษัทได้ดำเนินการต่อยอดจากโครงการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ หรือ MOENet แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การค้นคว้าหาความรู้ของนักเรียน ครู และบุคลากรตามโรงเรียนต่างๆ

สำหรับการลงนามในสัญญาดังกล่าวเป็นความร่วมมือของทั้ง 2 บริษัทในลักษณะกิจการค้าร่วม เพื่อวางระบบโครงข่าย Wi-Fi Network ที่ถูกออกแบบไว้ให้เป็นแบบผสม (Hybrid Architecture) ที่ยังคงรูปแบบการบริหารจัดการจากศูนย์กลาง (Centralized Management) ที่ง่ายต่อการควบคุมดูแล การตรวจสอบติดตาม (Monitoring) การแก้ไขปัญหาต่างๆ (Troubleshooting) แต่สามารถลดปัญหาการคับคั่งของข้อมูลที่ศูนย์กลางเพราะมีอุปกรณ์ในการบริหารจัดการ (Traffic Management) ที่ติดตั้งอยู่บนโครงข่าย MOENet ตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ ซึ่งมีทั้งหมดจำนวน 27,231 วงจร แบ่งเป็น บมจ.ทีโอที 26,889 วงจร และ บมจ. กสท โทรคมนาคม 342 วงจร ผู้ใช้งานที่เป็น นักเรียน ครู และบุคลากรตามโรงเรียนต่างๆ รวมทั้งประชาชนทั่วไป ที่เข้าใช้งานผ่านโครงข่ายแบบสายและไร้สาย จะถูกกำหนดสิทธิ์การเข้าใช้งาน (Authentication) พร้อมระบบการจัดเก็บข้อมูลการจราจรทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (Log System) และระบบการบริหารจัดการข้อมูลที่แตกต่างกัน (Traffic Management) เช่น การจำแนกเส้นทางของข้อมูลในโครงข่ายภายใน (Intranet) และภายนอก (Internet) รวมถึงการมีอุปกรณ์ป้องกันการโจมตีเครือข่าย (Firewall) จากผู้ไม่หวังดี (Hacker) เข้าไปยังอุปกรณ์โครงข่ายภายในโรงเรียนต่างๆ ที่อยู่ภายในโครงการ MOEnet ได้ โดยทั้ง 2 บริษัทจะต้องจัดหาอุปกรณ์และดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพความเร็วของวงจรสื่อสารข้อมูล (Bandwidth) ให้ไม่ต่ำกว่า 4 Mbps และดำเนินการเปลี่ยนปรับปรุงรูปแบบของสื่อสัญญาณระบบอินเทอร์เน็ตให้มีความเสถียร โดยให้ใช้ระบบสื่อสัญญาณทางสายชนิดเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง ในคลื่นความถี่สำหรับรับส่งข้อมูลในย่านคลื่นความถี่ 2.4 GHz และต้องมี Operating Channel เป็นไปตามมาตรฐานของ Federal Communications Commission (FCC) และ European Telecommunications Institute (ETSI) รวมถึงบริหารระบบจัดเก็บข้อมูลการจราจรทางอิเล็กทรอนิกส์ (Log System) เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้ นอกจากนั้นต้องจัดอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบหรือพนักงานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พร้อมจัดทำคู่มือการใช้งานและการดูแลระบบเบื้องต้น อีกด้วย

สำหรับกระทรวงไอซีทีจะเป็นผู้ประสานงานเรื่องข้อมูลและสถิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการฯ ให้กับทั้ง 2 บริษัท พร้อมให้ความช่วยเหลืออำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายซึ่งคาดว่าโครงการนี้จะเสร็จสิ้นภายใน 300 วันหลังจากลงนามในสัญญา

“การลงนามสัญญาครั้งนี้จะช่วยให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กว่า 8 แสนคนในโรงเรียนสังกัด สพฐ. กว่า 2 หมื่นโรง ได้ใช้เครื่องแท็บเล็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเป็นการพัฒนาวงการศึกษาไทย และเป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559 ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพของเด็กวัยเรียน ให้มีความรู้ทางวิชาการ ทักษะและสติปัญญาที่สามารถศึกษาหาความรู้ และต่อยอดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถปรับตัวให้รู้เท่าทันกับข่าวสารภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่รวดเร็ว” น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว

View :1544

กลุ่มทรู รายงานผลการดำเนินงานปี 2555 รายได้จากการให้บริการโดยรวมเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

March 4th, 2013 No comments


กรุงเทพฯ 1 มีนาคม 2556 – บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2555 รายได้จากการให้บริการโดยรวมเติบโตเพิ่มขึ้นมาก จากผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของทั้งสามธุรกิจหลัก โดยบริการ 3G+ ของทรูมูฟ เอช และการขยายบริการอัลตร้า ไฮ-สปีด อินเทอร์เน็ต ไปสู่ต่างจังหวัด ได้รับผลตอบรับที่ดีอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าโฆษณา และธุรกิจ มิวสิค เอนเตอร์เทนเมนท์ เป็นปัจจัยที่สร้างความเติบโตให้แก่ทรูวิชั่นส์

ในปี 2555 กลุ่มทรูมีรายได้จากการให้บริการโดยรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เป็น 61.9 พันล้านบาท เนื่องจากรายได้ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องของทรูมูฟ เอช จากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของบริการที่ไม่ใช่เสียง และความสำเร็จในการเปิดจำหน่าย iPhone 5 และสมาร์ทโฟนอื่นๆ พร้อมแพ็คเกจในช่วงไตรมาส 4 ที่ผ่านมา ส่งผลให้รายได้จากการขายของกลุ่มทรูโมบายล์เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 197.7 จากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนหน้า ขณะที่รายได้ของกลุ่มทรูออนไลน์เพิ่มขึ้นจากการเติบโตของบริการบรอดแบนด์สำหรับลูกค้าทั่วไป รวมทั้งรายได้ที่เพิ่มขึ้นของทรูวิชั่นส์จากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของค่าการขายโฆษณา และการจัดคอนเสิร์ตใหญ่ๆ ในปี 2555
ทั้งนี้ กำไรจากการดำเนินงาน ก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย หรือ EBITDA ลดลงเล็กน้อย (ร้อยละ 2.1) เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เป็น 16.7 พันล้านบาท ส่วนใหญ่จากค่าใช้จ่ายในการขยายบริการ 3G+ และค่าใช้จ่ายทางการตลาดเพื่อสร้างแบรนด์ทรูมูฟ เอช ที่เพิ่มขึ้น โดยในปี 2555 กลุ่มทรูรายงานผลขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงานปกติ (NIOGO) ไม่รวมภาษีเงินได้รอตัดบัญชี เป็น 5.4 พันล้านบาท และมีผลขาดทุนสุทธิจำนวนทั้งสิ้น 7.4 พันล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากรายการที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวจากการบันทึกการด้อยค่าของสินทรัพย์ โดยเฉพาะการด้อยค่าของสินทรัพย์โครงข่าย 2G ของทรูมูฟ

นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร กล่าวว่า “ในปี 2555 ธุรกิจของกลุ่มทรูมีความคืบหน้าในหลายๆ ด้าน ทั้งการสร้างแบรนด์ทรูมูฟ เอช ให้เป็นผู้นำในการให้บริการ 3จี ด้วยคุณภาพโครงข่ายที่ครอบคลุมทั่วถึง และการให้บริการที่ดีเยี่ยม รวมทั้งการชนะประมูลใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz ที่จะเสริมความแข็งแกร่งในการให้บริการ 3จี ของทรูมูฟ เอช ซึ่งจะทำให้ลูกค้าทรูมูฟ เอช ได้ใช้บริการ 3จี ที่มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้นทั้งเรื่องความเร็วและความครอบคลุมในการใช้งาน นอกจากนี้ความสำเร็จของทรูออนไลน์ในการขยายบริการบรอดแบนด์ไปสู่ต่างจังหวัดส่งผลให้มีผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิถึงกว่า 2.3 แสนรายในปีที่ผ่านมาซึ่งถือเป็นจำนวนที่สูงมากเป็นประวัติการณ์ โดยเน้นขยายบริการบนเทคโนโลยี DOCSIS 3.0 ออกสู่ต่างจังหวัดทั่วประเทศ นอกจากจะได้รับผลตอบรับที่ดีอย่างต่อเนื่องแล้วยังสามารถให้บริการแบบ Triple-play เต็มรูปแบบซึ่งเป็นการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง บริการเคเบิลทีวีและบริการด้านเสียง ผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อบนโครงข่ายเดียวกันเพื่อเพิ่มความคุ้มค่าสูงสุดให้กับลูกค้า และสร้างความแตกต่างให้กับบริการของกลุ่มทรู รวมทั้งเพิ่มโอกาสให้ได้ใช้บริการของกลุ่มทรูมากกว่า 1 บริการอีกด้วย

ในส่วนของทรูวิชั่นส์ ได้มีการเปลี่ยนระบบออกอากาศใหม่ที่มีความปลอดภัยสูงซึ่งสามารถขจัดการลักลอบใช้สัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้นำเสนอประสบการณ์การรับชมที่ดียิ่งขึ้นด้วยการเพิ่มจำนวนช่องรายการในระบบ HD ส่งผลให้ในไตรมาส 4 ที่ผ่านมา รายได้ค่าสมาชิกปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง อีกทั้งการร่วมมือกับพันธมิตรกลุ่มต่างๆ ในธุรกิจทีวี ยังช่วยขยายฐานลูกค้าและเพิ่มการเข้าถึงรายการคุณภาพของทรูวิชั่นส์ได้อีกด้วย ซึ่งความสำเร็จจากพัฒนาการต่างๆ เหล่านี้นอกจากจะส่งผลให้รายได้จากการให้บริการเติบโตอย่างแข็งแกร่งแล้ว ผู้ใช้บริการของกลุ่มทรูตั้งแต่ 2 บริการขึ้นไปยังเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 2.7 ล้านรายอีกด้วย ซึ่งในไตรมาส 4 ปี 2555 กลุ่มทรูได้เสริมความแข็งแกร่งให้กับยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์หรือการผสมผสานสินค้าและบริการในกลุ่มทรูเข้าด้วยกัน โดยการนำเสนอสิทธิพิเศษด้วยการเพิ่มมูลค่าให้แก่ลูกค้าตามจำนวนการใช้งานสินค้าและบริการของกลุ่มทรู เพื่อให้ง่ายและตรงตามไลฟ์สไตล์ของลูกค้ามากยิ่งขึ้น”

“สำหรับปี 2556 ทรูยังคงตอกย้ำความเป็นผู้นำคอนเวอร์เจนซ์ โดยมุ่งรักษาความเป็นผู้นำในการให้บริการ 3จี และเตรียมเปิดให้บริการ 3จี บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ภายใต้แบรนด์ทรูมูฟ เอช ซึ่งทำให้บริษัทสามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพและครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วไทยได้มากยิ่งขึ้น ด้วยการผสมผสานที่ลงตัวและการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดของทั้งคลื่นความถี่ 2.1 GHz และ 850 MHz ของ CAT Telecom อีกทั้งบริษัทมีแผนเตรียมขยายโครงข่ายทรูออนไลน์ให้ครอบคลุม 61 จังหวัดทั่วไทยภายในสิ้นปี 2556 ในขณะที่ทรูวิชั่นส์ยังคงมุ่งสร้างพันธมิตรท้องถิ่นทั่วไทย และคงความเป็นผู้นำคอนเทนต์คุณภาพระดับโลก”

นายนพปฎล เดชอุดม หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มด้านการเงิน กล่าวว่า “เป็นที่น่ายินดีที่ผลประกอบการของกลุ่มทรูปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 4 ปี 2555 เนื่องจากรายได้ที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งจากการลงทุนในธุรกิจหลักที่มีการเติบโตสูง ถึงแม้ว่าในปี 2555 ระดับหนี้สินและค่าใช้จ่ายของกลุ่มทรูจะเพิ่มขึ้นทั้งจากการลงทุนขยายโครงข่ายและการทำตลาดเพื่อเพิ่มฐานลูกค้า แต่สิ่งเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจและสร้างความเติบโตอย่างมั่นคงให้กับองค์กร โดยในปี 2556 กลุ่มทรูจะมุ่งเน้นการบริหารค่าใช้จ่ายอย่างเข้มงวดเพื่อเพิ่มผลกำไรให้แก่บริษัทในระยะยาว”

View :1529
Categories: Technology, Telecom Tags:

กสทช จับมือ ไอทียู ดันโรดแมพ วิทยุดิจิตอล สาธิตการส่งสัญญาณวิทยุในระบบดิจิตอลครั้งแรกที่กรุงเทพ

March 3rd, 2013 No comments

กรุงเทพฯ – 1 มีนาคม 2556 – การกระจายเสียงสดผ่านวิทยุในระบบดิจิตอลบนมาตรฐาน DAB+ จะเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงเทพฯ ระหว่างการสัมมนาเชิงปฏิบัติการและการสาธิตเทคโนโลยีที่จัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ () และ สำนักงานสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู)

การจัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการในกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 3 มีนาคม 2556 จะอาศัยอุปกรณ์ DAB+ และความเชี่ยวชาญจากทั้งออสเตรเลีย และยุโรป ซึ่งเป็นภาคพื้นที่มีการออกอากาศวิทยุในระบบดิจิตอล งานดังกล่าวจะครอบคลุมถึงการสาธิตการทดสอบภาคสนามสดทั้งในกรุงเทพฯ และในเขตปริมณฑล พร้อมการนำเสนอระบบ DAB+ เพื่อทำงานร่วมกันระหว่างประเทศ การวางแผนเครือข่าย พร้อมเหตุผลที่ว่าทำไมผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงควรใช้ระบบดิจิตอล รวมถึงการมองในเรื่องของโครงสร้าง และการพิจารณากฏระเบียบในการเปิดใช้วิทยุในระบบดิจิตอล

ทั้งนี้ จะมีการจัดการสาธิตการส่งสัญญาณ เพื่อเป็นการแสดงความรู้และประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีวิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิตอล ขึ้นที่ อสมท. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการกิจการกระจายเสียงในกรุงเทพฯ ได้รับประสบการณ์ก่อนใคร พร้อมทั้งเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในกรุงเทพฯ

พันเอก ดร. นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กล่าวว่า “เวิร์กช็อปครั้งนี้มาจากความริเริ่มของ กสทช. ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีสำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการกิจการวิทยุกระจายเสียงและประชาชนคนไทยจะได้เรียนรู้กี่ยวกับเทคโนโลยีวิทยุในระบบดิจิตอล ทั้งนี้ ทาง กสทช. เองวางแผนไว้ว่าจะมีการปรับมาใช้วิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิตอลภายในปีหน้า และขณะนี้ได้ทำงานร่วมกับไอทียูในการออกโรดแมปเรื่องดังกล่าว”

“วิทยุก็ยังคงเป็นช่องทางที่แพร่หลายและใช้สื่อสารกันในวงกว้าง เหมาะสำหรับการเข้าถึงผู้คนทั่วโลกโดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่เข้าถึงลำบาก และวิทยุในระบบดิจิตอลยังให้ข้อได้เปรียบ เช่นสามารถเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยี Metadata ซึ่งเป็นข้อมูลที่อธิบายรายละเอียดได้ดีและเหมาะสำหรับผู้มีความพิการ ทั้งนี้ ไอทียูยังคงมุ่งเน้นอย่างต่อเนื่องในการพัฒนามาตรฐานที่ช่วยให้เกิดการใช้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีล้ำหน้าของวิทยุในระบบดิจิตอลทั่วโลกผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแพร่ภาพวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ต (Webcasting) การรับชมวิดีโอผ่านทางมือถือ (Mobile Streaming) ทางบล็อก และการเผยแพร่เสียงผ่านทางเว็บ (Podcasts) และทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งเวิร์กช็อปครั้งนี้ในแสดงให้เห็นถึงสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้นระหว่างไอทียู และ กสทช. เป็นเวลานานนับหลายปี” ดร. อูน-จู คิม ผู้อำนวยการ สำนักงานสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กล่าว

WorldDMB ได้รับเชิญให้เป็นผู้จัดงานงานเวิร์กช็อป หรืองานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ รวมถึงการสาธิตให้กับวิศวกรอาวุโส และผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมดังกล่าว เพื่อเรียนรู้เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยุในระบบดิจิตอล โดยงานเวิร์กช็อปจะแบ่งออกเป็นสองช่วงด้วยกัน คือส่วนที่เป็นเวิร์กช็อปสำหรับวันนี้ และวันอาทิตย์ และส่วนที่เป็นการสาธิตและการทดสอบภาคสนาม ในวันพรุ่งนี้

โจน วอร์เนอร์ ประธานคณะกรรมการ WorldDMB ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ผู้บรรยายของเวิร์กช็อป กล่าว “WorldDMB นำเสนอข้อมูลที่ครอบคลุมทุกแง่มุมให้กับผู้ประกอบการกิจการกระจายเสียงสำหรับการเปลี่ยนจากระบบอนาล็อกมาเป็นดิจิตอล โดยเวิร์กช็อปและการสาธิตเหล่านี้ เป็นการบริการที่ต้องอาศัยความพยายามและต้องมีการทดสอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ WorldDMB นำเสนอให้กับตลาดอื่นๆ ที่ประสบความความสำเร็จในการใช้ระบบ DAB+ เช่นกัน”

เวิร์กช็อปครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก WorldDMB รวมถึง Commercial Radio Australia (CRA) บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) กรมประชาสัมพันธ์ และ สถานีวิทยุกองทัพบก เพื่อต้อนรับผู้เข้าร่วมงานกว่า 100 คน ที่มาจากภาครัฐและเอกชน รวมถึงตัวแทนจากกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน และจากประเทศอื่นๆ

รายละเอียดเกี่ยวกับเวิร์กช็อป สามารถเยี่ยมชมได้ที่

http://www.itu.int/ITU-D/asp/CMS/Events/2013/DR-Technologies/index.asp

—————————————————————————————————————–

เกี่ยวกับ ไอทียู

สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ไอทียู (ITU – International Telecommunication Union) เป็นหน่วยงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสหประชาชาติ ด้วยประวัติการทำงานยาวนานเกือบ 150 ปี ไอทียู มีบทบาทสำคัญในการดำเนินการด้านการจัดสรรการใช้คลื่นความถี่วิทยุ การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการจัดสรรวงจรดาวเทียม และการทำงานในรูปแบบต่างๆ ที่ส่งเสริมการพัฒนาพื้นฐานด้านโทรคมนาคมในประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก พร้อมวางมาตรฐานทั่วโลกเพื่อสนับสนุนการเชื่อมต่อในระบบสื่อสารได้อย่างกว้างขวาง จากระบบอินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์ ถึงเทคโนโลยีไร้สายอันล้ำสมัย และจากระบบนำร่องเพื่อการบินและการเดินทะเล ไปถึงระบบพยากรณ์อากาศผ่านดาวเทียม จากการสื่อสารหลายรูปแบบที่มาผนวกรวมกัน ทั้งทางระบบโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์มือถือ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ข้อมูล เสียง และเทคโนโลยีเพื่อการออกอากาศ โดยไอทียูจะยังคงมุ่งมั่นในการช่วยให้โลกนี้สามารถเชื่อมโยงและสื่อสารถึงกันได้ดียิ่งขึ้นต่อไป

—————————————————————————————————————
เกี่ยวกับ World DMB

WorldDMB เวิลด์ดีเอ็มบี เป็นฟอรัมระดับโลกสำหรับอุตสาหกรรมวิทยุในระบบดิจิตอล บนมาตรฐานระบบ DAB, DAB+ และ DMB ซึ่งเป็นมาตรฐานทางเลือกในการกระจายเสียงผ่านวิทยุในระบบดิจิตอล ให้กับกลุ่มประเทศยุโรป และอีกหลายประเทศในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก โดยสมาชิกของ WorldDMB ในระดับโลกได้แก่ ผู้ประกอบการกิจการกระจายเสียงเชิงพาณิชย์และองค์การกระจายเสียงสาธารณะ ผู้ให้บริการเครือข่าย ผู้รับสัญญาณ รวมถึงผู้ประกอบการโรงงานผลิตชิปและรถยนต์ โดยเหล่าสมาชิกได้ร่วมมือกันนำเสนอข้อแนะนำและโซลูชั่นเฉพาะทางที่ครอบคลุมทุกปัจจัยในการเปลี่ยนจากวิทยุกระจายเสียงในระบบอนาล็อกมาสู่ระบบดิจิตอล รวมถึงเรื่องกฏระเบียบ ลิขสิทธิ์ การทดลองเทคโนโลยี การสร้างและขยายเครือข่าย การผลิตและทำตลาดเนื้อหารูปแบบใหม่สำหรับวิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิตอล ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยุกระจายเสียง จะได้รับข้อมูลความรู้และความเชี่ยวชาญที่นำเสนอผ่านการจัดงานสำคัญๆ ในอุตสาหกรรม งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการของผู้ประกอบการรถยนต์ เวิร์กช็อปและงานสัมมนาเฉพาะอุตสาหกรรม และผ่านทางเว็บไซต์ของ WorldDMB รวมถึงพอร์ทัลที่รวบรวมข้อมูลเฉพาะสำหรับสมาชิก ที่รวมถึงระบบฐานข้อมูลออนไลน์ ETI Library ทั้งนี้ประชาชนทั่วโลกกว่า 500 ล้านคนต่างอยู่ในย่านของสัญญาณความถี่วิทยุในระบบดิจิตอลบนมาตรฐาน DAB/DAB+/DMB ที่มีการให้บริการกว่า 1,000 บริการในการออกอากาศ โดยในตลาดก็มีเครื่องรับสัญญาณหลายร้อยประเภทที่วางจำหน่ายอยู่ในตลาด

View :1453

เชค พอยต์ คาดการณ์แนวโน้มภัยคุกคามระบบรักษาความปลอดภัยในปี 2556

January 9th, 2013 No comments

โดย นายราลินแกม โซกาลินแกม ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียใต้
บริษัท เชค พอยต์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ จำกัด

ในช่วงใกล้สิ้นปี 2555 และได้เวลาต้อนรับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง คุณอาจกำลังจัดเตรียมแผนธุรกิจและแผนงานด้านไอทีประจำปี 2556 ของคุณไว้ให้พร้อม เช่นเดียวกับบรรดาอาชญากรไซเบอร์ก็กำลังเดินหน้าปรับใช้ภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้นโดยตั้งเป้าหมายไปที่ระบบคอมพิวเตอร์เฉพาะและองค์กรทั้งขนาดใหญ่และเล็ก

ในรอบปีที่ผ่านมา องค์กรธุรกิจต้องประสบกับปัญหาด้านการละเมิดและการเจาะระบบที่ร้ายแรงหลายอย่าง และแน่นอนว่าทั้งผู้โจมตีและองค์กรธุรกิจจะต้องพัฒนาอาวุธที่จะนำมาใช้ต่อกรระหว่างกันอย่างต่อเนื่องใน ปี 2556 โดยฝ่ายไอทีและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยจะต้องสามารถเอาชนะกลวิธีและแนวทางต่างๆ ที่ แฮกเกอร์กำลังปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยจึงจะสามารถปกป้ององค์กรของตนได้

ต่อไปนี้คือภัยคุกคามและแนวโน้มของระบบรักษาด้านความปลอดภัยที่เราคาดว่าจะเกิดขึ้นในปีนี้

ภัยคุกคามที่ 1: วิศวกรรมสังคม

เริ่มต้นด้วยกลวิธีแบล็คแฮทที่มีรูปแบบท้าทายหรือเชื้อเชิญให้เหยื่อหลงเชื่อและดำเนินการตามที่ต้องการทั้งในโลกจริงและโลกดิจิทัล หรือที่เรียกว่า วิศวกรรมสังคม ก่อนที่ยุคคอมพิวเตอร์จะเฟื่องฟู สิ่งนี้หมายถึงการล่อลวงความลับของบริษัทด้วยการใช้วาจาที่แยบยล แต่ขณะนี้วิศวกรรมสังคมได้ย้ายเข้าสู่เครือขายสังคมออนไลน์แล้ว ซึ่งลุกลามไปถึง Facebook และ LinkedIn ด้วย

ปัจจุบันผู้โจมตีกำลังใช้เทคนิควิศวกรรมสังคมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งร้ายแรงเกินกว่าจะเพียงแค่ล่อลวงพนักงานที่ตกเป็นเป้าหมายให้บอกข้อมูลส่วนตัวออกมาเท่านั้น โดยในช่วงปีที่ผ่านมา บรรดาผู้โจมตีได้ใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยังพนักงานต้อนรับและขอให้โอนสายไปยังพนักงานที่ตกเป็นเป้าหมาย เพื่อที่จะให้เห็นว่าการติดต่อนั้นเกิดขึ้นจากภายในองค์กร อย่างไรก็ตาม วิธีการดังกล่าวอาจไม่จำเป็นในกรณีที่รายละเอียดซึ่งอาชญากรไซเบอร์กำลังต้องการได้รับการโพสต์ไว้แล้วบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ จะเห็นได้ว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์กลายเป็นเครือข่ายที่น่าสนใจอย่างมาก เนื่องจากมีการเชื่อมโยงบุคคลและองค์กรต่างๆ เข้าด้วยกัน และแต่ละบุคคลก็มีเพื่อนหรือผู้ร่วมงานติดตามโปรไฟล์ของตนอยู่ในจำนวนที่มากพอที่จะสร้างให้เกิดกลลวงด้านวิศวกรรมสังคมขึ้นได้

ภัยคุกคามที่ 2: ภัยคุกคามแบบต่อเนื่องขั้นสูง (Advanced Persistent Threats : APT)

วิศวกรรมสังคมเป็นภัยคุกคามที่มีความสำคัญ เนื่องจากสามารถใช้เป็นรากฐานสำหรับการโจมตีขั้นสูงที่มีขีดความสามารถในการทะลุผ่านกำแพงความปลอดภัยขององค์กรเข้ามาได้ ในปีนี้มีการตรวจพบการโจมตีที่รับรู้กันในวงกว้าง ได้แก่ มัลแวร์ Gauss และ Flame ซึ่งเป็นมัลแวร์ที่ตั้งเป้าหมายการโจมตีไปที่องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน การโจมตีดังกล่าวเรียกว่า ภัยคุกคามแบบต่อเนื่องขั้นสูง (Advanced Persistent Threats: APT) มีความซับซ้อนในระดับสูงและได้รับการสร้างขึ้นมาอย่างพิถีพิถันโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ได้รับสิทธิ์ในการเข้าถึงเครือข่ายและทำการขโมยข้อมูลอย่างเงียบๆ ในลักษณะของการโจมตีแบบค่อยเป็นค่อยไป (low-and-slow) ที่มักจะยากต่อการตรวจจับ ทำให้โอกาสที่การโจมตีในรูปแบบนี้จะประสบผลสำเร็จจึงมีสูงมาก

นอกจากนี้ APT ไม่จำเป็นต้องพุ่งเป้าการโจมตีไปที่โปรแกรมที่มีชื่อเสียง เช่น Microsoft Word แต่สามารถกำหนดเป้าหมายไปที่พาหะอื่นๆ แทนได้ เช่น ระบบแบบฝังตัวต่างๆ จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์พกพาจำนวนมากที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน แต่การสร้างระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับการเข้าสู่ระบบขององค์กรนั้นกลับยังไม่ค่อยได้รับการตระหนักถึงเท่าใดนัก

ในขณะนี้เรากำลังพูดถึงสิ่งปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเครือข่ายของเราอยู่ การโจมตีแบบ APTก็ยังคงเดินหน้าจู่โจมหน่วยงานภาครัฐและองค์กรที่มีชื่อเสียงต่างๆ อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

ภัยคุกคามที่ 3: ภัยคุกคามภายใน

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าการโจมตีที่เป็นอันตรายที่สุดบางอย่างมักจะเกิดจากภายในองค์กรเป็นหลัก และสามารถสร้างความเสียหายได้ในระดับสูงสุดตามระดับสิทธิ์ที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและดำเนินการกับข้อมูลได้ จากการศึกษาภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐอเมริกา, ศูนย์ป้องกันภัยคุกคามภายในของ CERT จากสถาบันวิศวกรรมซอฟต์แวร์ของมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน และหน่วยตำรวจลับสหรัฐอเมริกา พบว่าบุคลากรภายในองค์กร (โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการเงิน) ที่กระทำความผิดสามารถรอดพ้นจากความผิดของตนได้ยาวนานเกือบ 32 เดือนก่อนที่จะได้รับการตรวจพบ แม้ว่าความไว้วางใจจะเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง แต่ความไว้วางใจมากเกินไปก็อาจทำให้คุณตกอยู่ในอันตรายได้เช่นกัน

ภัยคุกคามที่ 4: การใช้อุปกรณ์ส่วนตัว หรือ BYOD

ประเด็นด้านความไว้วางใจมีความสำคัญต่อโลกที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์มือถือเช่นกัน เนื่องจากองค์กรธุรกิจจำนวนมากกำลังพยายามที่จะปรับใช้นโยบายและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในลักษณะผสมผสานเพื่อจัดการกับปรากฏการณ์การนำอุปกรณ์ส่วนตัวเข้ามาใช้งาน (bring-your-own-device: BYOD) จะเห็นได้ว่าขณะนี้ผู้ใช้จำนวนมากกำลังใช้งานอุปกรณ์พกพาของตนในลักษณะเดียวกับพีซีมากขึ้น และสิ่งนี้กำลังเปิดรับการโจมตีผ่านเว็บเช่นเดียวกับที่พวกเขาพบเมื่อใช้คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปของตน

สำหรับผู้โจมตีแล้ว ดูเหมือนว่าจะมีความพยายามมากขึ้นที่จะหลีกเลี่ยงกลไกการตรวจจับและการตรวจสอบโปรแกรมที่ผู้จำหน่ายอุปกรณ์มือถือนำมาใช้ในการป้องกันลูกค้าของตน แต่การเพิ่มจำนวนของ iPhone, โทรศัพท์ Google Android และอุปกรณ์อื่นๆ ที่นำเข้ามาใช้ในที่ทำงานนั้น กำลังเปิดประตูอีกบานให้ผู้โจมตีเข้ามายังระบบได้ง่ายขึ้น โปรดระลึกไว้เสมอว่า สมาร์ทโฟนของคุณมีกล้อง มีไมโครโฟน และสามารถบันทึกการสนทนาได้ และแน่นอนว่าเมื่อคุณสมบัติเหล่านี้สามารถเข้าถึงเครือข่ายองค์กรของคุณได้ ก็อาจเป็นดาบสองคมสำหรับการรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์กรของคุณได้เช่นกัน

ภัยคุกคามที่ 5: การรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบคลาวด์

BYOD ไม่ใช่สิ่งเดียวที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบรักษาความปลอดภัยที่องค์กรจะต้องสร้างล้อมรอบข้อมูลที่สำคัญไว้ แต่ยังมีแนวโน้มที่เรียกว่าการประมวลผลแบบคลาวด์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากมีบริษัทเป็นจำนวนมาก (และมากขึ้นเรื่อยๆ) กำลังวางข้อมูลของตนไว้ในบริการคลาวด์สาธารณะเพิ่มมากขึ้น บริการเหล่านี้จึงตกเป็นเป้าหมายที่น่าสนใจ และอาจเป็นจุดสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบปัญหาได้เช่นกัน สำหรับองค์กรธุรกิจแล้ว ระบบรักษาความปลอดภัยยังคงเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงเมื่อต้องเจรจากับผู้ให้บริการระบบคลาวด์ และเป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรธุรกิจจะต้องทำให้เกิดความชัดเจนที่สุดด้วย

ภัยคุกคามที่ 6: HTML5

การนำการประมวลผลแบบคลาวด์เข้ามาใช้งานได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการโจมตีไปอย่างมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการนำ HTML5 เข้ามาใช้งานนั่นเอง จากงานประชุมแบล็กแฮทในช่วงต้นปีนี้ ซึ่งเป็นเวทีที่รวมบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยมาไว้ด้วยกันนั้น ทำให้เราได้รับทราบถึงสัญญาณการโจมตีที่จะเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และพบด้วยว่าความสามารถด้านการรองรับการทำงานข้ามแพลตฟอร์มของ HTML5 และการผสานรวมของเทคโนโลยีต่างๆ ได้เปิดโอกาสให้เกิดการโจมตีใหม่ๆ ขึ้น เช่น การใช้ฟังก์ชั่น Web Worker ในทางที่ไม่ถูกต้อง แม้ว่าจะมีความระมัดระวังในการใช้งาน HTML5 มากขึ้น แต่เนื่องจากสิ่งนี้เป็นสิ่งใหม่ จึงมีโอกาสที่นักพัฒนาจะดำเนินการผิดพลาดและเปิดช่องให้ผู้โจมตีจะใช้ประโยชน์จากความผิดพลาดดังกล่าวได้ ดังนั้น เราจึงจะได้พบการโจมตีที่พุ่งเป้าไปที่ HTML 5 เพิ่มขึ้นในปีหน้าอย่างแน่นอน แต่ก็คาดหวังว่าจะค่อยๆ ลดลงเมื่อมีการปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยให้ดียิ่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

ภัยคุกคามที่ 7: บ็อตเน็ต

แม้ว่าการแข่งขันพัฒนาอาวุธป้องกันระหว่างนักวิจัยและผู้โจมตีจะนำไปสู่นวัตกรรมเป็นจำนวนมาก แต่ก็คาดกันว่าอาชญากรไซเบอร์จะทุ่มเทเวลาอย่างหนักเพื่อพัฒนาสิ่งที่ดีที่สุด เช่น การทำให้แน่ใจว่าบ็อตเน็ตของตนจะมีความพร้อมใช้งานและสามารถแพร่กระจายได้ในระดับสูง ขณะที่มาตรการจัดการที่นำเสนอโดยบริษัทต่างๆ เช่น ไมโครซอฟท์ ก็อาจทำได้เพียงแค่หยุดการทำงานของสแปมและมัลแวร์ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากผู้โจมตีไม่ได้หยุดที่จะเรียนรู้เทคนิคการจัดการดังกล่าว อีกทั้งยังได้นำสิ่งที่เรียนรู้ได้มาเสริมความสมบูรณ์ให้กับอาวุธร้ายของตนด้วย และแน่นอนว่าบ็อตเน็ตจะยังคงอยู่ที่นี่ตลอดไป

ภัยคุกคามที่ 8: มัลแวร์ที่มีเป้าหมายอย่างแม่นยำ

ผู้โจมตีกำลังเรียนรู้ขั้นตอนต่างๆ ที่นักวิจัยใช้ในการวิเคราะห์มัลแวร์ และแนวทางนี้ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าผู้โจมตีสามารถพัฒนามัลแวร์ที่สามารถหลบหลีกการตรวจวิเคราะห์ได้อย่างดีเยี่ยม ตัวอย่างของการโจมตีเหล่านี้ รวมถึง Flashback และ Gauss โดยมัลแวร์ทั้งสองสายพันธุ์นี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเฉพาะ Gauss ที่สามารถหยุดนักวิจัยไม่ให้ดำเนินการวิเคราะห์มัลแวร์ได้โดยอัตโนมัติ และในปีที่กำลังจะมาถึงนี้ ผู้โจมตีจะยังคงเดินหน้าปรับปรุงและปรับใช้เทคนิคเหล่านี้ รวมทั้งยังจะพัฒนาให้มัลแวร์ของตนมีความซับซ้อนยิ่งขึ้นเพื่อที่จะได้สามารถพุ่งเป้าโจมตีไปที่คอมพิวเตอร์ที่มีการกำหนดค่าไว้อย่างเฉพาะได้

สิ่งที่แน่นอนสำหรับปี 2556 ก็คือจะมีการโจมตีและการแพร่ระบาดของมัลแวร์ผ่านทางพาหะที่ครอบคลุมเครือข่ายสังคมไปจนถึงอุปกรณ์มือถือของพนักงานในองค์กร เนื่องจากการรักษาความปลอดภัยสำหรับคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการจะยังคงได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับเทคนิคใหม่ๆ ของอาชญากรไซเบอร์ที่พยายามเลี่ยงผ่านการป้องกันเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม เหตุผลสำคัญกว่านั้นก็คือการสร้างโซลูชั่นความปลอดภัยเดียวที่สามารถจัดการภัยคุกคามต่างๆ ได้อย่างครอบคลุมที่เรากำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้

View :1503

“เอซุส”เผยตัวเลขความสำเร็จปิดปี 2555 แง้มไตรมาสแรกส่งแท็บเล็ตเปิดตัวเพียบ

January 8th, 2013 No comments

“เอซุส” ซิสเต็ม ยูนิต เผยผลประกอบการปี 2555 รายได้รวมเพิ่มขึ้น เดินหน้ารุกตลาดแท็บเล็ต พร้อมลุยตลาด Accessories เต็มสูบ คาดทิศทางตลาดไอทีครึ่งปีแรกแข่งขันเดือด

นายพรเทพ วัชรอำนวย กรรมการผู้จัดการ บริษัท อัสซุสเทค คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า “ผลประกอบการของปี 2555 ที่ผ่านมา มีรายได้รวมเพิ่มขึ้นจากปี 2554 28% โดยสัดส่วนรายได้มาจาก โน้ตบุ๊กและเน็ตบุ๊ก 98% อีแพดหรือแท็บเล็ต 1% และแพดโฟน (ที่เพิ่งลงตลาดประเทศไทยในช่วงปลายปีที่ผ่านมา) มีรายได้คิดเป็น 1 % ของรายได้รวมทั้งหมดของบริษัทฯ ทั้งนี้จะเป็นว่าโน้ตบุ๊กและเน็ตบุ๊กเป็นหมวดที่สร้างรายได้หลักในกลุ่ม โดยเฉพาะตลาดในภาคใต้ เอซุส โน้ตบุ๊กประสบ ความสำเร็จเป็นอย่างมาก สามารถสร้างยอดขายมาเป็นอันดับ 1”

สำหรับปี 2556 นี้ ไตรมาสแรก เราจะเน้นตลาดแท็บเล็ต ด้วยความมั่นใจในการออกแบบของผลิตภัณฑ์ รวมถึงคุณภาพของสินค้า ดังนั้น ขบวนแท็บเล็ตที่จะนำมาเปิดตัวให้ลูกค้าชาวไทยได้สัมผัสจะไม่ผิดหวังทั้งด้วยรูปโฉมและราคาอย่างแน่นอน อาทิ เช่น Nexus7 และ Transformer Book เป็นต้น

“นอกจากนั้น เอซุส จะนำเข้าสินค้าในกลุ่ม Accessories เข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทยอย่างจริงจังเป็นปีแรก ด้วยรางวัลการันตีความสวยงามด้านการออกแบบของเอซุสที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก เช่น Reddot, Good Design, iF Design Award ฯลฯ ทำให้เราเชื่อว่าตลาดของสินค้าในกลุ่มนี้จะมีบทบาทชัดเจนในปี 2556” นายพรเทพ กล่าว

ถึงแม้ว่าการแข่งขันของตลาดไอทีจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ความต้องการสินค้าของผู้บริโภคก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยมีแท็บเล็ตเป็นตัวชูโรง ควบคู่ไปกับการพัฒนาสินค้าในกลุ่มของโน้ตบุ๊ก ที่เน้นรองรับระบบปฏิบัติการ Windows 8 และ Android รวมถึงหน้าจอแบบทัชสกรีนที่ตอบโจทย์การใช้งานให้มากขึ้น

ด้านเป้าหมายของปี 2556 พาเหรดสินค้าของแท็บเล็ตที่อัดแน่นด้วยเทคโนโลยี่ การออกแบบที่สวยงาม นวัตกรรมดีๆ เก๋ ของแพดโฟน เข้าแถวเดินหน้าลงตลาดประเทศไทย รวมถึงโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ ที่พร้อมตอบทุกโจทย์การใช้งาน จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เอซุส ซิสเต็ม ยูนิต มีความเป็นไปได้ว่ารายได้รวมจะเพิ่มขึ้น 35-40% อย่างแน่นอน

View :1565
Categories: Gadgets, Technology Tags:

อนุฯคุ้มครองโทรคมนาคมเสนอ กสทช.เฉียบขาดสั่งปรับบริษัทมือถือสูงสุด ๕ ล้านบาทต่อวัน

January 7th, 2013 No comments

ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม ระบุสำนักงาน ควรเฉียบขาด สั่งปรับสูงสุด ๕ ล้านบาทต่อวัน ชี้ อย่าให้คำสั่งปรับทางปกครองเป็นเพียงการให้บริษัทจ่ายค่าเช่าในการกระทำผิดกฎหมายเท่านั้น เผยตัวเลขผู้ใช้บริการถูกบริษัทยึดเงินเฉลี่ยรายละ ๕๐๐ บาทแล้ว โดย พรีเพดมีคนใช้บริการ ๗๐ ล้านเลขหมาย

กรณีปัญหากำหนดระยะเวลาการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบชำระค่าบริการล่วงหน้า (พรีเพด) ซึ่งยืดเยื้อมายาวนาน แม้ล่าสุดเลขาธิการ กสทช. ได้มีคำสั่งบังคับทางปกครองบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ๓ ราย โดยให้บริษัทชำระค่าปรับทางปกครองในอัตราวันละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ต่อสำนักงาน กสทช.ให้ครบถ้วนทั้งนี้ซึ่งคิดแล้วเป็นการจ่ายค่าปรับเป็นเงิน ๓ ล้านบาทต่อเดือน โดยมีคำสั่งปรับทางปกครองไปตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคมปีที่ผ่านมา

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า จากข้อมูลการร้องเรียนพบว่า ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒-๒๕๕๕ มีผู้บริโภคร้องเรียนกรณีนี้ทั้งสิ้น ๒,๔๙๔ กรณี ในจำนวนนี้เป็นผู้ร้องเรียนที่ถูกยึดเงินในระบบจำนวน ๖๘๗ กรณี เฉพาะรายที่แจ้งรวมเป็นเงินที่ถูกยึดจำนวน ๓๕๕,๒๒๕.๐๔ บาท หรือเฉลี่ยแล้วผู้ใช้บริการถูกยึดเงินจากระบบรายละ ๕๑๗.๐๖ บาท โดยผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินทั้งประเทศมีจำนวนทั้งสิ้น ๗๐,๖๑๐,๔๙๐ เลขหมาย หากมีผู้บริโภคแม้เพียงร้อยละ ๑ หรือจำนวน ๗๐๐,๐๐๐ คน ถูกยึดเงินในระบบก็รวมเป็นเงินถึง ๓๕๐ ล้านบาทแล้ว แต่เงินค่าปรับของ ๓ บริษัทถูกคิดแค่ ๓ ล้านบาทต่อเดือนเท่านั้น ทั้งที่กระทำผิดกฎหมายและยึดเงินของผู้บริโภคไปแล้วจำนวนมาก

“ปัญหานี้ยืดเยื้อมานานคนใช้บริการมีมากถึง ๗๐ ล้านเลขหมาย สำนักงาน กสทช. ควรมีความเฉียบขาดมากกว่านี้ โดยเพิ่มค่าปรับทางปกครองในอัตราสูงสุดเป็นวันละ ๕ ล้านบาท เนื่องจากเป็นประเด็นที่เห็นการกระทำความผิดขัดต่อกฎหมายชัดเจน ซึ่งคณะอนุกรรมการฯได้ทำความเห็นเสนอไปยัง กทค. ตั้งแต่เดือนกันยายนปี ๕๕ เพื่อขอให้มีการเพิ่มค่าปรับทางปกครองให้สอดคล้องกับความเสียหายของผู้บริโภค ประเด็นสำคัญนั้น ไม่ใช่ต้องการเงิน แต่ต้องการให้กฎหมายมีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างแท้จริงและนำไปสู่การแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการยุติการกำหนดระยะเวลาการใช้บริการพรีเพดเสียที มิฉะนั้นคำสั่งปรับทางปกครองจะเป็นเพียงการให้บริษัทจ่ายค่าเช่าในการกระทำผิดกฎหมายเท่านั้น “ นางสาวสารีกล่าว

นางสาวสารี กล่าวต่อไปว่า เหตุผลที่สนับสนุนได้ดีก็คือ แม้ สำนักงาน กสทช. จะมีการออกคำสั่งทางปกครองไปแล้ว แต่ก็ยังมีผู้บริโภคจำนวนมากถูกกำหนดระยะเวลาการใช้บริการ ถูกยึดเงิน และถูกยึดหมายเลขโทรศัพท์อยู่เช่นเดิมหากนับตั้งแต่มีคำสั่งทางปกครองตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม ปีที่ผ่านมา มีสูงถึง ๓๓๐ ราย แบ่งเป็น ถูกกำหนดระยะเวลาใช้บริการ ๑๖๐ ราย ถูกยึดเงิน ๔๓ ราย และถูกยึดเลขหมาย ๑๒๗ ราย

พร้อมขอให้ผู้บริโภคช่วยกันร้องเรียนเรื่องนี้ให้มาก โดยสามารถร้องเรียนไปยังสำนักงาน กสทช. ๑๒๐๐ เพื่อให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการสั่งปรับทางปกครองแบบลงโทษให้สอดคล้องกับความเสียหายของผู้บริโภค และให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพดทุกราย ปฏิบัติตามประกาศ เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาข้อร้องเรียนของผู้ใช้บริการ พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๕ คือ ในระหว่างการพิจารณาเรื่องร้องเรียน ผู้ให้บริการต้องยุติการระงับบริการแก่ผู้ร้องเรียนทุกราย จนกว่าเรื่องร้องเรียนนั้นจะได้ข้อยุติด้วย

View :1362
Categories: 3G, Technology Tags:

ฟูจิ ซีร็อกซ์ รุกธุรกิจปี 2556 ประเดิมโซลูชั่นใหม่ เน้นเจาะกลุ่มแมนูแฟคเจอริ่ง

January 2nd, 2013 No comments

ฟูจิ ซีร็อกซ์ขายโซลูชั่นใหม่ “Drawing Detection Box” ด้วยรูปแบบ solution package ที่มาพร้อมกับเครื่องถ่ายแบบแปลนรุ่น DocuWide 3055 และโปรแกรมจัดการเอกสาร DocuWorks 7.3 ตั้งเป้าเจาะกลุ่มธุรกิจแมนูแฟคเจอริ่ง มั่นใจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจยิ่งขึ้น ประเดิมปี 2556

มร.วาตารุ ยามากูชิ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและวางแผนธุรกิจ Business Planning & Marketing Director บริษัท (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ทางบริษัทฯ เตรียมรุกธุรกิจตั้งแต่ต้นปี 2556 ด้วยการวางจำหน่ายโซลูชั่นใหม่สำหรับงานในส่วน Production & Design โดยตั้งเป้าหมายเจาะกลุ่มธุรกิจ Manufacturing ด้วยโปรแกรมใหม่ของโซลูชั่นนี้ คือ “Drawing Detection Box” หรือ โปรแกรมตรวจเช็คความต่างของแบบแปลน ซึ่งโปรแกรมดังกล่าว มีเทคโนโลยีที่ช่วยตรวจสอบความต่างของลายเส้นบนแบบแปลนกระดาษ และ ซอฟต์ไฟล์ได้ ซึ่งจะมีประโยชน์เพื่อลดขึ้นตอนในการตรวจสอบและวางแผนผลิต

จุดเด่นของโซลูชั่น Drawing Detection Box คือ ด้วยหลักการทำงานที่จะแสดงความเปลี่ยนแปลงหลังจากแก้ไข หรืออัพเดทจากต้นฉบับเดิม ความแตกต่างดังกล่าวจะแสดงเป็นเส้นวงในตำแหน่งที่มีการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลง เช่น เส้นสีแดงจะแสดงถึงส่วนที่ลบ เส้นสีน้ำเงินคือส่วนที่มีการเพิ่มเติม

นอกจากนี้โซลูชั่น Drawing Detection Box ยังสามารถใช้งานร่วมกับเครื่องมัลติฟังก์ชั่นของ Fuji Xerox DMP-X เพื่อให้สามารถสแกนแบบแปลนกระดาษ ขนาด A3 และพิมพ์สำเนาที่มีลายเส้นแสดงความต่างได้ทันที หรือสามารถใช้ร่วมกับเครื่องถ่ายแบบแปลนแบบ Stand alone ได้โดยตรง เพียงต่อเครื่องผ่านเครือข่าย Network จาก Drawing Detection Box ผ่านเว็บของโปรแกรมในการอัพโหลดซอฟต์ไฟล์ ใน Drawing ที่มีขนาดใหญ่กว่า A3 ซึ่งโปรแกรมนี้จะส่งเป็นลิงค์ให้ดาวน์โหลดเป็นภาพ ที่ทำให้ช่วยลดระยะเวลาในการตรวจสอบความถูกต้องของแบบงานในส่วน Production design, R&D หรือ Q/C ในกระบวนการออกแบบและผลิตได้

โซลูชั่น Drawing Detection Box ยังรองรับการใช้งานกับโปรแกรมจัดการเอกสารอย่าง DocuWorks7.3 ที่รองรับการแก้ไข ใส่ข้อความเพิ่มเติม การลงนามอนุมัติ (e-Signature) การส่งต่อให้ผู้ใช้อื่นด้วย Document Tray ที่จะแจ้งเตือนให้ผู้รับงานทราบได้ทันที โซลูชั่นนี้จึงช่วยให้ธุรกิจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

“ฟูจิ ซีร็อกซ์ เตรียมจัดจำหน่ายโซลูชั่น Drawing Detection Box ในรูปแบบ solution package ที่มาพร้อมกับเครื่องถ่ายแบบแปลนรุ่น DocuWid 3055 และโปรแกรมจัดการเอกสาร DocuWorks 7.3 โดยเตรียมกำหนดวางจำหน่ายในต้นเดือนมกราคม 2556 เป็นต้นไป” มร.วาตารุ กล่าวตอนท้าย

View :1401

ไอบีเอ็มครองแชมป์ผู้นำตลาดเซิร์ฟเวอร์ในไทย ด้วยยอดรายได้สูงสุดในไตรมาสสามปี 2555

January 2nd, 2013 No comments

ไอบีเอ็มรั้งตำแหน่งผู้นำตลาดเซิร์ฟเวอร์และสตอเรจในอาเซียน โดยยังคงครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในแง่รายได้ จากผลวิจัยของไอดีซี
ไอบีเอ็มประเทศไทย ยังคงครองตำแหน่งผู้นำตลาดเซิร์ฟเวอร์ในเมืองไทยในแง่รายได้ ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 34% ทิ้งอันดับสอง 13.4 จุด

ความสำเร็จที่ต่อเนื่องของไอบีเอ็มเป็นผลมาจากการความมุ่งมั่นในการพัฒนาระบบ Smarter Computing โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาท้าทายมากมายที่องค์กรต่างๆ กำลังเผชิญอยู่ ตั้งแต่จุดอ่อนด้านความปลอดภัยไปจนถึงการบริหารจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านโซเชียลและโมบายล์

ไอบีเอ็มรั้งตำแหน่งอันดับหนึ่งในตลาดเมืองไทยในด้านส่วนแบ่งรายได้ในไตรมาสสามของปี 2555 สำหรับเซ็กเมนต์ของตลาดเซิร์ฟเวอร์ดังต่อไปนี้:

➢ ตลาดไฮเอนด์ระดับองค์กรขนาดใหญ่ (เซิร์ฟเวอร์ราคา 250,000 ดอลลาร์ขึ้นไป) ด้วยส่วนแบ่งรายได้ 79.1%
➢ ตลาดเซิร์ฟเวอร์ RISC/EPIC ด้วยส่วนแบ่งรายได้ 49.3%
➢ ส่วนแบ่งรายได้สำหรับโรงงานผลิตสำหรับยูนิกซ์เซิร์ฟเวอร์ที่ไม่ใช่ x86 อยู่ที่ 57%

โจ ดับบลิวซี ชาน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจคอมพิวเตอร์ บริษัท ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ตำแหน่งผู้นำตลาดของเรานับเป็นเครื่องยืนยันถึงความสำเร็จของกลยุทธ์ Smarter Computing ซึ่งอาศัยความแข็งแกร่งของไอบีเอ็มในเทคโนโลยีหลักๆ เช่น บิ๊กดาต้า การผนวกรวมระบบวิเคราะห์ข้อมูล การปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบ และคลาวด์คอมพิวติ้ง และที่ต่างจากคู่แข่งก็คือ ไอบีเอ็มนำเสนอโซลูชั่นที่หลากหลายให้แก่ลูกค้า ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานที่ประหยัดค่าใช้จ่าย ไปจนถึงโซลูชั่นที่ได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพ และระบบที่ได้รับการอินทิเกรตโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยให้องค์กรทุกขนาดสามารถแก้ไขปัญหาท้าทายสำคัญๆ ทางด้านธุรกิจ และหวังว่าเราจะยังคงรักษาความเป็นผู้นำไว้ได้อย่างต่อเนื่อง”

นอกจากในประเทศไทยแล้ว ไอบีเอ็มยังรั้งตำแหน่งอันดับหนึ่งในอาเซียน ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 34.2% สำหรับเซ็กเมนต์ของตลาดเซิร์ฟเวอร์ดังต่อไปนี้:

➢ ตลาดไฮเอนด์ระดับองค์กรขนาดใหญ่ (เซิร์ฟเวอร์ราคา 250,000 ดอลลาร์ขึ้นไป) ด้วยส่วนแบ่งรายได้ 77.7%
➢ ตลาดเซิร์ฟเวอร์ RISC/EPIC ด้วยส่วนแบ่งรายได้ 54.7%
➢ ส่วนแบ่งรายได้สำหรับยูนิกซ์เซิร์ฟเวอร์ที่ไม่ใช่ x86 อยู่ที่ 57.8%

ที่มา: รายงานยอดขายเซิร์ฟเวอร์รายในเอเชีย-แปซิฟิกของไอดีซี, ไตรมาสสามของปี 2555

View :1373
Categories: Technology Tags: ,