Archive

Archive for August, 2010

ฮิวเบิร์ต โยชิดะ นักคิดแห่งอุตสาหกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลได้รับแต่งตั้งเป็น ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของสถาบันจัดเก็บข้อมูล (ดีเอสไอ)

August 24th, 2010 No comments

นายโยชิดะ เป็นรองประธานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท
ดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ในการพัฒนาแนวทางการวิจัยของดีเอสไอ

ซานตาคลารา, แคลิฟอร์เนีย — 24 สิงหาคม 2553 — บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ หรือ เอชดีเอส ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นนิวยอร์ก: HIT) เปิดเผยว่า นายฮิวเบิร์ต โยชิดะ รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของสถาบันจัดเก็บข้อมูล หรือ ดีเอสไอ (Data Storage Institute: DSI) องค์กรด้านการวิจัยและพัฒนาที่มีชื่อเสียงระดับโลกซึ่งตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ โดยดีเอสไอเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยของประเทศ อีกทั้ง ยังเป็นส่วนที่สำคัญยิ่งของชุมชนโลกในด้านการสร้างฐานความรู้และนวัตกรรม ตลอดจนบ่มเพาะความสามารถด้านการวิจัยสำหรับการวิจัยและพัฒนาระดับโลกในเทคโนโลยีระบบจัดเก็บข้อมูลรุ่นใหม่ ในฐานะประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ นายโยชิดะจะเป็นหัวหน้าทีมในด้านการตรวจสอบและพัฒนาแนวทางปฏิบัติด้านเทคโนโลยีของดีเอสไอ รวมถึงระบุกิจกรรมและโปรแกรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของดีเอสไอ

การได้รับตำแหน่งในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงบทบาทของนายโยชิดะในฐานะผู้นำทางความคิดของอุตสาหกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลและระบบเสมือนจริง ทั้งนี้ นายโยชิดะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในแวดวงอุตสาหกรรม เนื่องจากเขาได้อุทิศตนเป็นเวลากว่า 35 ปี ในการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมที่ครอบคลุมทั้งในอุตสาหกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2549 Byte and Switch ได้ยกย่องให้เขาเป็นหนึ่งใน “Storage Networking’s Heaviest Hitters” (ผู้มีบทบาทอย่างมากในด้านเครือข่ายระบบจัดเก็บข้อมูล) และล่าสุดบล็อกของเขาที่ ชื่อว่า “Hu’s Blog” ได้รับการจัดอันดับให้ติดอยู่ใน “10 อันดับสูงสุดที่มีอิทธิพล” ภายในอุตสาหกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลจาก Network World นายโยชิดะ ยังได้เขียนรายงานหลายฉบับเกี่ยวกับเครือข่ายจัดเก็บข้อมูล (Storage Area Network: SAN), Fibre Channel, SAN แบบหลายโปรโตคอล และเทคโนโลยีระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริง นอกจากนี้เขายังเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการบริหารในบริษัทด้านเทคโนโลยีอีกหลายแห่งอีกด้วย

เป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลที่น่ายกย่อง และด้วยองค์ความรู้ตลอด จนวิสัยทัศน์ของเขาจะนำมาซึ่งประโยชน์อันมีค่ายิ่งสำหรับสถาบันจัดเก็บข้อมูลของเรา” ดร.แพนเทลิส โซโพคลิส อเล็ก โซปูลอส กรรมการบริหารสถาบันจัดเก็บข้อมูล กล่าว และว่า “เป็นเรื่องน่ายินดีอย่างมากสำหรับเราที่โยชิดะเข้า มาเป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ องค์กรของเราจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากแนวทางของคณะกรรมการชุดนี้เกี่ยวกับการพัฒนาแนวทางปฏิบัติด้านเทคโนโลยีของเรา รวมทั้งข้อเสนอแนะสำหรับโปรแกรมด้าน การวิจัยในอนาคตด้วย”

“ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้เป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของสถาบันจัดเก็บข้อมูล และผมตื่นเต้นอย่างมากที่จะได้ร่วมงานกับทีมงานที่น่าเคารพยิ่งในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับบทบาทของสถาบัน แห่งนี้ในฐานะของศูนย์การวิจัยและพัฒนาเพื่อความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีระบบจัดเก็บข้อมูล” นายฮิวเบิร์ต โยชิดะ รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (ซีทีโอ) บิรษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กล่าว และว่า “การทำงานขององค์กร อย่าง ดีเอสไอ คือการสนับสนุนให้เกิดการบ่มเพาะนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ขั้นสูง ดังนั้นผมจึงรู้สึกตื่นเต้น อย่างมากที่จะได้นำเสนอความรู้และมุมมองที่จะช่วยผลักดันการดำเนินงานเหล่านี้ให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น”

ที่บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ นายโยชิดะรับผิดชอบในด้านการกำหนดทิศทางเทคโนโลยีของบริษัท และเป็น ผู้นำองค์กรในด้านการช่วยเหลือลูกค้าให้สามารถตอบสนองความต้องการเกี่ยวกับวงจรชีวิตของข้อมูลที่เป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับ ตลอดจนสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงต่างๆ รวมถึงความเสี่ยงด้านการดำเนินงานที่มีอยู่ โดยเขาถือเป็น ส่วนสำคัญในการผลักดันแนวทางการดำเนินงานของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ให้โดดเด่นในด้านระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริงด้วยการใช้บริการระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่ภายใน Hitachi Universal Storage Platform® และขยายครอบคลุมไปถึงระบบจัดเก็บข้อมูลต่างชนิดกันแบบเชื่อมต่อภายนอก นับตั้งแต่เข้าร่วมงานกับบริษัทในปี 2540 นายโยชิดะได้ทำงานในด้านการพัฒนามาตรฐานแบบเปิดสำหรับการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลและช่วยกำหนดกลยุทธ์ด้าน SAN, NAS (network attached storage) รวมถึงเทคโนโลยีข้อมูลและระบบจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย

ก่อนหน้าที่จะเข้าร่วมงานกับบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ นายโยชิดะ ใช้เวลา 25 ปีในฝ่ายระบบจัดเก็บข้อมูลของบริษัท ไอบีเอ็ม ที่ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งด้านบริหารเกี่ยวกับการดูแลประสิทธิภาพฮาร์ดแวร์ การพัฒนาซอฟต์แวร์ และการจัดการผลิตภัณฑ์ เขาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอรเนีย วิทยาเขตเบิร์กเลย์ ในสาขาคณิตศาสตร์

View :1529

"เคลียริ่งเฮ้าส์" ชี้แจง 1 ก.ย. โอเปอเรเตอร์พร้อมทดสอบระบบบริการคงสิทธิเลขหมาย (MNP)

August 24th, 2010 No comments

ระหว่างกัน คาดเปิดให้ลูกค้าใช้บริการภายในธันวาคมนี้ตามแผนที่วางไว้
พร้อมได้พันธมิตรแข็งแกร่ง “ไอบีเอ็ม-เทลคอร์เดีย” ร่วมผนึกกำลังวางระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีรองรับบริการ

กรุงเทพฯ – 24 สิงหาคม 2553 “เคลียริ่งเฮ้าส์” บริษัทร่วมทุนโดยผู้ให้บริการเครือข่ายทั้ง 5 รายในไทย ประกาศความคืบหน้าในการให้ หรือนัมเบอร์พอร์ตทาบิลิตี้ (Mobile Number Portability – MNP) พร้อมเริ่มทดสอบระบบระหว่างเคลียริ่งเฮ้าส์และผู้ประกอบการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละรายในวันที่ 1 ก.ย. 53 นี้ และคาดว่าจะพร้อมให้บริการได้ภายในสิ้นปีนี้ตามแผนที่วางไว้ตั้งแต่แรก โดยมี “ไอบีเอ็ม” ผู้นำด้านเทคโนโลยี และ “เทลคอร์เดีย” ผู้ให้บริการซอฟท์แวร์และบริการด้านโทรคมนาคม ร่วมผนึกกำลังบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที รองรับการให้บริการโทรศัพท์เบอร์เดียวใช้ได้ทุกระบบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ตอบโจทย์ผู้ใช้มือถือได้รับความสะดวกสูงสุด
จากซ้ายไปขวา

1. ดร.ณัฐวุฒิ ศาสตราวาหะ ผู้จัดการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ โทรศัพทืเคลื่อนที่ บจม. ทีโอที คอร์ปเปอเรชั่น
2. นายวาที เปาทอง ผู้ช่วยหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกฎหมาย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
3. นายยศ กิมสวัสดิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจบริการ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด (IBM)
4. นายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร (CEO) บจม.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS)
5. นายปรีย์มน ปิ่นสกุล ประธานกรรมการ บริษัท ศูนย์ให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์ จำกัด (Clearing House)
6. นางสาววีระนุช กมลยะบุตร ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกฎหมาย บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC)
7. นายสมโพช พานทอง ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมสื่อสารไร้สาย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
8. นายสรุจ ทิพเสนา ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท เทลคอร์เดีย เทคโนโลยี ประเทศไทย จำกัด (Telcordia)

View :1565

ก.ไอซีที ร่วมประชุมเตรียมการ ครั้งที่ 4 ของเอเชียและแปซิฟิก สำหรับการประชุมใหญ่ของ ITU ( PP-10)

August 24th, 2010 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า องค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก ( Asia Pacific Telecommunity: APT) ได้จัดการประชุมเตรียมการ ครั้งที่ 4 สำหรับการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ค.ศ. 2010 ( Plenipotentiary Conference 2010: PP- 10) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU) ขึ้นที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 23 – 24 สิงหาคม 2553 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทบทวนท่าที และข้อเสนอร่วมของประเทศสมาชิก APT ที่จะเสนอต่อที่ประชุม PP-10 รวมถึงการหารือในประเด็นอื่นๆ ที่ยังไม่ได้ข้อสรุปจากการประชุมเตรียมการ 3 ครั้งที่ผ่านมา โดยจะพิจารณาเอกสารข้อเสนอของภูมิภาคอื่นๆ เพื่อประกอบการกำหนดท่าทีของกลุ่มประเทศสมาชิก APT ก่อนการเข้าร่วมการประชุม PP- 10

“จากการประชุมเตรียมการฯ ทั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมา ที่ประชุมได้เห็นชอบข้อเสนอร่วม ( APT Common Proposals: ACPs) รวมทั้งข้อเสนอเบื้องต้น ( Preliminary APT Common Proposals: PACPs) ของ APT ซึ่งเป็นท่าที ความเห็น และข้อเสนอจากประเทศสมาชิก APT ที่จะนำเสนอต่อที่ประชุม PP- 10 ณ เมืองฮัวดาลาฮารา ( Guadalajara) ประเทศเม็กซิโก ระหว่างวันที่ 4-22 ตุลาคม 2553 ร่วมกับประเทศสมาชิกของ ITU จากภูมิภาคอื่นๆ โดยการประชุมเตรียมการครั้งที่ 4 นี้ถือเป็นการเตรียมความพร้อม ซักซ้อมความเข้าใจให้กับผู้แทนของประเทศสมาชิก APT ที่จะทำหน้าที่ Lead Country และ Support Country ในการนำเสนอข้อเสนอของกลุ่มประเทศสมาชิก APT ในระหว่างการประชุม PP- 10 ตลอดจนศึกษาประเด็นข้อเสนอจากภูมิภาคอื่นๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันให้ได้มากที่สุด” นายจุติ กล่าว

การประชุมเตรียมการฯ ครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งสุดท้ายของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ก่อนการประชุม PP – 10 ที่ประเทศเม็กซิโกในเดือนตุลาคมนี้ จึงเป็นการประชุมสำคัญที่จะพิจารณากำหนดท่าทีสุดท้ายและจัดเตรียมข้อเสนอ ร่วมของภูมิภาคฯ เพื่อเสนอต่อที่ประชุม PP- 10 ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากประเทศสมาชิก APT ผู้แทนจากองค์กรระหว่างประเทศด้านโทรคมนาคมจากภูมิภาคอื่นๆ ได้แก่ African Telecommunication Union : ATU และ European Conference of Postal and Telecommunications Administrations : CEPT ตลอดจน เจ้าหน้าที่สำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของ ITU ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทย ได้มีการแต่งตั้งคณะผู้แทนไทยโดยมีนายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นหัวหน้าคณะ และมีผู้แทนจากสำนักงานปลัดกระทรวงไอซีที กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม ร่วมในคณะผู้แทนไทย

อนึ่ง APT เป็น องค์กรระหว่างประเทศด้านโทรคมนาคมของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ปฏิบัติงานในลักษณะเป็นศูนย์รวมด้านโทรคมนาคมของภูมิภาค เพื่อช่วยเหลือการพัฒนาข่ายงานโทรคมนาคมให้มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จัดตั้งในปี 2522 ภายใต้อุปถัมภ์ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก ( ESCAP ) ประเทศไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้ง APT เมื่อปี 2524 สำนักงานใหญ่ของ APT ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมีสมาชิก 3 4 ประเทศ สมาชิกสมทบ 4 เขตปกครองพิเศษ และสมาชิกในเครือ 1 1 6 หน่วยงาน

View :1390
Categories: Press/Release Tags:

จ๊อบส์ ดีบี ผนึกกระทรวงไอซีทีและพันธมิตร รับเศรษฐกิจฟื้น เตรียมจัด “ มหกรรมสมัครงานออนไลน์ ”

August 24th, 2010 No comments

ชูงานว่าง 10,000 ตำแหน่งจากกว่า 100 บริษัท

จ๊อบส์ ดีบี กระทรวงไอซีที และองค์กรพันธมิตร เตรียมผนึกกำลังร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติด้วยการสร้างงานให้ประชาชน เปิดรับสมัครงานกว่า 10,000 ตำแหน่ง ในมหกรรมสมัครงานออนไลน์ : by ครั้งที่ 6 ณ ห้องเพลนารี ฮอลล์ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 17-19 กันยายน 2553 นี้ ชูระบบ E–Recruitment Solution และ Barcode ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดสรรพนักงานคุณภาพให้รวดเร็วยิ่งขึ้น มั่นใจยอดผู้ร่วมงานกว่า 80,000 คน

นางสาธินี โมกขะเวส กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเว็บไซต์แหล่งงานคุณภาพและสมัครงานออนไลน์ผ่าน www.jobsdb.com มา ก ว่า 10 ปี กล่าวว่า มหกรรมสมัครงานออนไลน์จัดขึ้นต่อเนื่องกันมาปีนี้เป็นปีที่ 6 โดยจ๊อบส์ ดีบี ได้เป็นผู้ริเริ่มมหกรรมสมัครงานออนไลน์ แห่งแรกในประเทศไทย และถือว่าเป็นมหกรรมสมัครงานออนไลน์ที่ใหญ่ ทันสมัย และประสบความสำเร็จมากที่สุด ในปีที่ผ่านมามีผู้เข้าร่วมงานและสมัครงานกว่า 50,000 ราย มีใบสมัครงานในตำแหน่งต่างๆ มากกว่า 490,000 รายการ ช่วยให้คนมีงานทำเพิ่มขึ้นกว่า 10,000 ตำแหน่ง นับเป็นความภูมิใจที่บริษัทฯ ได้มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าต่อไป เพื่อรองรับผู้เข้าร่วมงานที่คาดว่าจะมีมากกว่า 8 0 , 000 คน พร้อมมีตำแหน่งงานนำเสนอกว่า 10 , 000 ตำแหน่ง จากภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวซึ่งทำให้ภาคธุรกิจมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น บริษัทฯ ได้นำระบบ E-Recruitment Solution ซึ่งเป็นการบูรณาการและการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต ในการพัฒนาประสิทธิภาพ และประสิทธิผลให้แก่ระบบการสรรหาบุคลากร และเพื่อเป็นตัวกลางในการคัดกรองข้อมูลให้ตรงกับความต้องการของทั้งผู้ ประกอบการและผู้หางานให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ ทางจ๊อบส์ ดีบี ยังได้นำระบบบาร์โค้ดมาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้สมัครงาน โดยไม่ต้องนำประวัติ ( resume ) มาแต่อย่างใด เพียงเข้าไปลงทะเบียนก่อนเข้าร่วมงานที่ www.jobsdb.co.th/ce โดยในวันงานสามารถไปรับบาร์โค้ดการ์ดได้ที่หน้างาน ง่ายๆเพียงเท่านี้ และถือว่าเป็นการยกระดับการสมัครงานให้มีความทันสมัย สะดวก รวดเร็ว พร้อมสามารถสมัครงานหลายตำแหน่ง หลายบริษัทได้ภายในไม่กี่วินาที

ด้าน ดร.อาจิน จิรชีพพัฒนา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า กระทรวงไอซีที มุ่งยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไอซีที เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกิดจากงานวิจัยสู่

ผู้ประกอบการ และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และดิจิทัล คอนเทนต์

“ ทางกระทรวงฯ ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของผู้ประกอบการและผู้กำลังหางานเป็นหลัก และได้มีการส่งเสริมให้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้กับการดำเนิน กิจกรรม และธุรกิจต่างๆ โดยงานมหกรรมสมัครงานออนไลน์ นับว่าเป็นประโยชน์ทางตรงสำหรับผู้ประกอบการและผู้กำลังหางานที่จะได้มี โอกาสพบปะกัน สำหรับ จ๊อบส์ ดีบี นับว่าเป็นอีกหนึ่งบริษัทชั้นนำที่ให้ความสำคัญกับการคิดค้น พัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านซอฟต์แวร์และระบบจัดการฐานข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้บริการที่มีทั้งผู้ประกอบการและผู้ที่กำลังหางานได้รับความ สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย ทางกระทรวงฯ จึงได้เข้ามาสนับสนุนกิจกรรมของบริษัทฯ โดยเฉพาะมหกรรมสมัครงานออนไลน์ในปีนี้ ” ดร.อาจิน จิรชีพพัฒนา กล่าว

ด้านความร่วมมือจากพันธมิตรหลัก ในปีนี้จ๊อบส์ ดีบี ได้รับเกียรติจากเครือธนาคารกสิกรไทย, บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), บริษัท พานาโซนิค แมเนจเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด, ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน), บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด ( มหาชน ), กลุ่มบริษัทเซ็นทรัล , หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ และบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นต้น โดยในปีนี้ ทางไมโครซอฟท์ได้ให้การสนับสนุนในเรื่องของระบบ SQL Server 2008 R2 Datacenter Edition เซิร์ฟเวอร์คุณภาพสูงเวอร์ชั่นล่าสุด ที่จะทำให้ระบบการจัดเก็บข้อมูลของผู้เข้าร่วมงานนับแสน มีความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้เพื่อเสริมความมั่นใจให้กับระบบการจัดการและจัดเก็บข้อมูลที่ทางจ๊อบส์ ดีบี และพันธมิตรเตรียมพร้อมเพื่อรองรับผู้เข้าร่วมงาน Career Exhibition 2010 ในปีนี้

นอกจากบูธรับสมัครงานจากกว่า 100 บริษัทแล้ว ยังมีกิจกรรมต่างๆ อีกมากมายผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตลอดเวลา 3 วัน อาทิ การวัดระดับภาษาอังกฤษ จากวอลสตรีท, การติวเข้มเตรียมความพร้อมเข้าสัมภาษณ์งาน ภาษาอังกฤษแบบมืออาชีพ โดย คริสโตเฟอร์ ไรท์, แนวคิดสีขาวกับการหางานได้ตรงใจคุณ โดย ดนัย จันทร์เจ้าฉาย, ธรรมบรรยาย หัวข้อ สบายใจ ชนะทุกสิ่ง โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก, ไขความลับ อาชีพที่ใช่ ตามโหราศาสตร์ดวงขุมทรัพย์ดาวกระจก โดย อาจารย์มงกุฎ สิงหนันท์ และเทคนิคการพีอาร์ตนเองอย่างมืออาชีพ โดย คุณเอิร์ธ สายสว่าง เป็นต้น

View :1498

ก.ไอซีที เสริมความรู้ผู้บริหารให้ทันกระแสเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่

August 24th, 2010 No comments

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาเรื่อง “แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อผลกระทบทางสังคม ()” ว่า ปัจจุบันพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงจึงต้องพัฒนาและปรับปรุงตนเองให้ทันต่อเทคโนโลยีอยู่เสมอ เพราะการตัดสินใจนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในองค์กร ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ซึ่งก่อให้เกิดความท้าทายแก่ผู้บริหารในการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยผู้บริหารจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และวิสัยทัศน์ต่อแนวโน้มของเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถตัดสินใจนำเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น กระทรวงไอซีที ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทยให้มีศักยภาพเพื่อการแข่งขันในระดับสากล จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันให้แก่ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ โดยการจัดสัมมนาเรื่อง “แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อผลกระทบทางสังคม (IT Trends and Social Impact)” ครั้งนี้ขึ้น

“การสัมมนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจถึงแนวโน้มเทคโนโลยีที่กำลังจะเกิดขึ้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสังคม และแนวทางที่หน่วยงานราชการต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการวางแผนเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานของภาครัฐในอนาคต โดยได้เชิญผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ 119 หน่วยงานมาเข้าร่วมการสัมมนา” นายธานีรัตน์ กล่าว

สำหรับเนื้อหาการสัมมนาฯ นั้นมีการบรรยายในเรื่อง แนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศ 2011 การแนะนำเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้าน ICT IT Trends ที่คาดการณ์โดยทีมวิเคราะห์ เช่น Gartner IT Trends ผลกระทบทางสังคมต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง แนวโน้ม e-Government การวิเคราะห์แนวโน้มของ e- Government โดยเปรียบเทียบ e-Government ประเทศต่างๆ และตัวอย่างการทำ e-Service ของต่างประเทศ เช่น USA, Malaysia รวมไปถึง Government 2.0 โครงสร้างพื้นฐาน สถาปัตยกรรม และระบบความปลอดภัยที่จำเป็นต่อการทำ e-Government ในอนาคต

“นอกจากนี้ยังมีการสัมมนาในเรื่องการพัฒนาของเทคโนโลยี Web 2.0 และการเกิดขึ้นของสังคมเครือข่าย (Social Network) เช่น faceBook, hi5, twitter ที่อินเทอร์เน็ตได้เข้ามากำหนด และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้รับสารและผู้บริโภค ทำให้เกิดช่องทางการสื่อสารรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งส่งผลต่อการสร้างปรากฏการณ์แบบ “บอกต่อ” หรือ “ปากต่อปาก” (Word of Mouth : WOM) และทำอย่างไรหน่วยงานภาครัฐจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้ให้เกิดมูลค่า ซึ่งในฐานะผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงจำเป็นต้องมีความรู้อย่างเท่าทัน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป” นายธานีรัตน์ กล่าว

View :1408

ก.ไอซีที ร่วมผลักดันการขยายตลาดสินค้า OTOP ผ่าน ระบบ e-Commerce

August 24th, 2010 No comments

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ( ) ว่า โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ( ) เป็น โครงการที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเพื่อให้แต่ละชุมชนได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมา ใช้ในการพัฒนาสินค้า โดยรัฐบาลพร้อมที่จะช่วยเหลือทั้งในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีสินค้า ที่ได้มาตรฐานผลิตออกมาให้ประชาชนเลือกซื้อมากมาย ผ่านทางห้างสรรพสินค้า ร้านจำหน่ายสินค้า หรือ งานจัดแสดงสินค้าต่างๆ ซึ่งข้อดี คือ สามารถจับต้องทดลองสินค้าได้ แต่ข้อเสีย คือ สินค้าตามห้างสรรพสินค้าจะมีราคาสูงกว่าที่ซื้อจากกลุ่มผู้ผลิตโดยตรงประมาณ 2 ถึง 3 เท่า ขึ้นอยู่กับสถานที่และค่าใช้จ่ายในการลงทุน บริหารจัดการ ค่าการตลาดของห้างสรรพสินค้า และยังมีสินค้าให้เลือกไม่มากนัก

ดังนั้น การเลือกซื้อสินค้า OTOP ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการค้นหาสินค้า OTOP ได้ อย่างหลากหลาย ประหยัดเวลา รวมทั้งสะดวกรวดเร็ว ซึ่งหากมีการวางระบบการชำระเงินและระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพแล้ว ก็จะสามารถส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในสินค้า OTOP รวมถึงภาคธุรกิจให้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นได้

ด้าน นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า “ในฐานะประธานกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้วางนโยบายผลักดันให้การใช้งาน e-Commerce เป็น ไปอย่างมีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรมเชื่อถือได้ ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ตลอดจนเพื่อใช้ขับเคลื่อนธุรกิจให้ประเทศ ช่วยเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงลดต้นทุนด้านการขนส่ง หรือ โลจิสติกส์ด้วย โดยกระทรวงไอซีที ได้ร่วมกับ 6 หน่วยงานจัดทำโครงการ e-Commerce เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ขึ้นเป็นโครงการนำร่อง เพื่อให้ผู้ประกอบการ OTOP สามารถ ดำเนินธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การผลิต การขนส่งสินค้า การประชาสัมพันธ์ การจำหน่าย และการรับชำระเงิน ซึ่งจะเอื้อต่อการจำหน่ายสินค้าของผู้ประกอบการ OTOP โดยใช้ศักยภาพของหน่วยงานทั้ง 6 ให้เกิดประโยชน์สูงสุด” นายจุติ กล่าว

สำหรับ 6 หน่วยงานที่ให้ความร่วมมือในโครงการฯ นี้ ได้แก่ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ บริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เพื่อจะนำสินค้า OTOP และสินค้าในโครงการพระราชดำริ มาจำหน่ายผ่านระบบการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( e-Commerce) โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ลูกค้าบัตรเครดิต ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะรับผิดชอบงานในด้านต่างๆ กรมการพัฒนาชุมชนจะทำหน้าที่คัดเลือก รวมรวบผลิตภัณฑ์ OTOP และประสานงานกับผู้ประกอบการ กรมส่งเสริมการส่งออกให้คำปรึกษาการประชาสัมพันธ์สินค้า OTOP ใน รูปแบบภาษาต่างประเทศ ธนาคารกรุงไทย จัดทำระบบการรับชำระค่าสินค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่เหมาะสม ส่วน บมจ.ทีโอที จะวางระบบการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( e-Commerce) โดยจัดทำระบบร้านค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.tote-market.com เพื่อแสดงสินค้า รวบรวมคำสั่งซื้อ และฝึกอบรมให้ความรู้ทางด้าน e-Commerce ขณะที่ บจ.ไปรษณีย์ไทย รับหน้าที่ด้านระบบการขนส่งสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งให้คำปรึกษาการใช้บรรจุภัณฑ์ ที่เหมาะสม และ บมจ.อสมท จะใช้เครือข่าย ช่องทางสื่อสารมวลชนแขนงต่าง ๆ ที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนและเผยแพร่สินค้า OTOP ที่เข้าร่วมโครงการฯ
“โครงการฯ นี้จะช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ สังคม และเปิดโอกาสในการนำสินค้าสู่ตลาดในช่องทางออนไลน์ โดยใช้ระบบ ไอทีเข้ามาช่วย อันเป็นการขยายช่องทางการตลาดในการจำหน่ายสินค้า OTOP ให้ แก่ผู้ซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น จึงช่วยสร้างรายได้และมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับประเทศ กล่าวคือ ทางตรงถือเป็นโครงการที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศได้เป็นอย่างมาก ส่วนทางอ้อมนั้นสามารถประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล ดึงดูดให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้นในต่างประเทศ อันเป็นการสร้างตลาดใหม่ ซึ่งเป็นตลาดที่พร้อมจะใช้บริการ เนื่องจากมีความสะดวก และยังไม่มีบริการใดที่ตอบสนองความต้องการลักษณะนี้ จึงทำให้สามารถสร้างตลาดในส่วนนี้ให้เติบโตได้อย่างมาก อีกทั้งยังสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัยได้อีกด้วย” นายจุติ กล่าว

View :1655
Categories: Press/Release Tags: , ,

ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ชี้การเแปลงศูนย์ข้อมูลคือสิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาด้านไอทีของยุคเศรษฐกิจฐานความรู้

August 22nd, 2010 No comments

แสดงให้ลูกค้าเข้าใจถึงความสำคัญของศูนย์ข้อมูลที่คล่องตัว เสมือนจริง อัตโนมัติ
และพร้อมใช้สำหรับระบบคลาวด์

บริษัท หรือ เอชดีเอส ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นนิวยอร์ก: HIT) เปิดตัวนวัตกรรมเทคโนโลยีที่จะช่วยให้องค์กรสามารถ นำประสิทธิภาพและความสามารถใหม่ๆ ไปใช้ในการปรับโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะสม ดึงความจุของระบบจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ได้ใช้งานกลับมาใช้ประโยชน์ และปรับปรุงรูปแบบการดำเนินงานตามความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปได้ นวัตกรรมเหล่านี้ ซึ่งรวมถึงโซลูชั่นการประมวลผลแบบคลาวด์ที่ช่วยลดต้นทุนการเป็นเจ้าของโดยรวม (TCO) ได้ถูกกล่าวถึงในวงกว้างภายในงานประชุม งานประชุมองค์กรประจำปีที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งจัดโดยส่วนระบบสารสนเทศองค์กรและโทรคมนาคม บริษัท ฮิตาชิ จำกัด ณ เวทีการประชุมนานาชาติโตเกียว ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

“ข้อมูลเป็นทรัพยากรดิบที่สามารถใช้งานได้อย่างจำกัด ดังนั้นองค์กรต่างๆ จึงต้องการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่สามารถแปลงข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศที่ใช้ประโยชน์ได้ เทคโนโลยีที่มีอยู่ในระบบเสมือนจริงและการประมวลผลแบบคลาวด์ถือเป็นแนวทางเชิงกลยุทธ์และเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรวบรวมทรัพยากรให้เป็นหนึ่งเดียว ตลอดจนสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน ยืดหยุ่น และบริหารจัดการได้โดยง่าย ซึ่งสิ่งนี้จะนำไปสู่ศูนย์ข้อมูลแบบเสมือนที่ได้รับการแปลงสภาพให้สามารถนำเสนอคุณประโยชน์ใน เชิงรูปธรรม ซึ่งครอบคลุมถึงความมีประสิทธิภาพ ความง่ายในการจัดการ และการประหยัดค่าใช้จ่าย” นายคลอส ไมเกลเซน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กล่าว

การประชุม uVALUE ในปีนี้ จัดพร้อมกับงานฉลองครบรอบ 100 ปีของบริษัท ฮิตาชิ โดยให้ความสำคัญกับ “เทคโนโลยีที่สามารถพึ่งพาได้ในอีก 100 ปีข้างหน้า – การกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมแห่งสังคมและธุรกิจผ่านการสร้างสรรค์ที่ร่วมด้วยช่วยกัน” และภายในงานยังได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถด้านการวิจัยที่มีอยู่ภายในกลุ่มบริษัท ฮิตาชิ รวมถึงนวัตกรรมเทคโนโลยีที่มีส่วนช่วยให้บริษัท ฮิตาชิ จำกัด และธุรกิจในเครือของบริษัท สามารถนำผลิตภัณฑ์และบริการออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วและยกระดับคุณภาพชีวิตและธุรกิจให้ดีขึ้นได้ โดยในปีนี้ ไมเคิล เฮย์ หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ของฝ่ายการดำเนินงานและวางแผนผลิตภัณฑ์เชิงกลยุทธ์ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ จะนำเสนอวิธีการใช้โซลูชั่นเชิงนวัตกรรมสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าในปัจจุบันด้วย

เกี่ยวกับการประชุม Hitachi uVALUE Convention 2010

Hitachi uVALUE Convention 2010 ประกอบด้วยงานสัมนาและการอภิปรายแบบกลุ่มจำนวน 100 รายการภายใต้หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไอที เช่น เครือข่าย ระบบ โซลูชั่นความปลอดภัยและแพลตฟอร์มไอที การประมวลผลแบบคลาวด์และไอทีสีเขียว สำหรับรูปแบบหลักของการจัดงานในปีนี้ จะเน้นไปที่การกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมสังคมและธุรกิจผ่านการทำงานร่วมกัน ขยายมุมมองในทุกแง่มุมของธุรกิจไอทีของบริษัท ฮิตาชิ ซึ่งครอบคลุมถึงระบบจัดเก็บข้อมูลด้วย การประชุมครั้งนี้ยังได้นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการกว่า 100 รายการจากบริษัท ฮิตาชิ จำกัด รวมถึงศูนย์ข้อมูลระดับโลกที่มีขนาดเล็กและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามแนวคิด Harmonious Green Plan และ Project CoolCenter50 ของบริษัท ฮิตาชิ โดยแนวคิดดังกล่าวตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะต้องลดการปล่อยคาร์บอนให้ได้ 330,000 ตัน และลดการใช้ไฟฟ้าให้มากถึง 50% ภายใน ปี 2555

แหล่งข้อมูลบนเว็บ
- บล็อกของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์: http://blogs.hds.com/michael; http://blogs.hds.com/claus
- ติดตามความเคลื่อนไหวของเราได้ที่ทวิตเตอร์: http://twitter.com/HDScorp

View :1444

งานประกวดนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี ครั้งที่ 2

August 22nd, 2010 No comments

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) โดยวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ได้จัด การประกวดนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยีมัธยมศึกษาระดับประเทศ ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ “นวัตกรรมนาโนซิงค์ออกไซด์” ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น กับการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยีในระดับชุมชน พร้อมทั้งเพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาองค์ความรู้อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาในระดับสูงต่อไป

โดยได้กำหนดวันจัดแสดงผลงานและตัดสินการประกวด นวัตกรรมนาโนซิงค์ออกไซด์ ขึ้นในวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2553 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ถ.ฉลองกรุง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ

View :1508

TDSS: Rootkit หัวใจของอาชญากร

August 22nd, 2010 No comments

แคสเปอร์สกี้ แลป ผู้นำด้านการพัฒนาโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยของคอนเท้นท์ กล่าวถึง เทคโนโลยี หรือรูทคิทที่ถือเป็นหัวใจของเหล่าอาชญากรว่า คือรูทคิทที่มีพลังมากที่สุดและซับซ้อนมากที่สุดในปัจจุบัน มัลแวร์ทั่วโลกสามารถซ่อนตัวเองได้และเมื่อมัลแวร์ตัวอื่นติดเชื้อในระบบก็เป็นการเปิดโอกาสให้ติดเชื้อมากขึ้น เทคนิคในการบุกทำลายคอมพิวเตอร์ จะปล่อยเชื้อในไดรฟ์เวอร์ซึ่งมั่นใจได้ว่าไวรัสจะแพร่ไปทันทีที่ระบบปฏิบัติการทำงาน ดังนั้นจึงยากมากที่จะกำจัดหรือลบรูทคิทนี้ออกไป

แคสเปอร์สกี้ แลป ได้ทุ่มเทเวลาอันมีค่าและความพยายามในการแก้ปัญหาที่เกิดจากTDSS มีบทความเรื่องTDSS เขียนโดย เซอร์เกย์ โกโลวานอฟ กล่าวถึงเทคโนโลยีของTDSS วิธีแพร่กระจายรูทคิท และวิธีที่อาชญากรไซเบอร์หาประโยชน์จากมัลแวร์ TDSS แพร่กระจายผ่านเครือข่ายโปรแกรมซึ่งใช้ทุกวิธีที่สามารถส่งมัลแวร์ไปยังครื่องคอมพิวเตอร์เป้าหมายได้ ซึ่งทุกวันนี้รูทคิทได้โจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแล้วทั่วโลก แคสเปอร์สกี้ แลป คาดการณ์ว่ามีคอมพิวเตอร์ 3 ล้านเครื่องติดรูทคิท กล่าวคือยิ่งมีคอมพิวเตอร์ติดรูทคิทมากเท่าไหร่ก็หาเงินได้มากเท่านั้น และแหล่งทำเงินสูงสุดอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

TDSS ควบคุมบอทเน็ตและขายในตลาดมืดซึ่งมีเครื่องที่ติดเชื้อแล้วประมาณ 20,000 เครื่อง สถานที่ควบคุมและออกคำสั่งบอทเน็ตอยู่ที่ประเทศจีน ฮ่องกง ฮอลแลนด์ และรัสเซีย รูทคิทมีความสามารถมากมาย นำไปใช้ได้หลายทางขึ้นอยู่กับเจ้าของมัลแวร์ ผู้เช่า หรือเจ้าของบอทเน็ตที่สร้างขึ้นจากTDSS จะเอาไปใช้หาประโยชน์ในทางใด

“TDSS จะซับซ้อนหรือช่ำชองแค่ไหนขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีและการออกแบบ นักวิเคราะห์รูทคิทของเราเชื่อว่าคนที่สร้างมันชึ้นมาเป็นคนรัสเซียหรือไม่ก็พูดภาษารัสเซีย นักสร้างรูทคิทเหล่านี้ติดตามการพัฒนาของอุตสาหกรรมแอนตี้ไวรัสและปล่อยรูทคิทเวอร์ชั่นอัพเดทของตนเองออกมาเช่นกัน ดังนั้นจึงเหมือนกับว่าฟังค์ชั่นของรูทคิทจะถูกปรับแต่งในอนาคตอันใกล้นี้เพื่อต่อกรกับเทคโนโลยีการป้องกันต่อไป” เซอร์เกย์ โกโลวานอฟและเยชเชสลาฟ รูซาคอฟ ผู้เขียนบทความเรื่องTDSS กล่าว สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ Securelist.com

View :1392
Categories: Press/Release Tags: , ,

TESCA 2010 จัดสัมมนาต่อยอด SIPA Game Contest & Award 2010

August 22nd, 2010 No comments

หวังเสริมศักยภาพผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อปั้นเกมส์ไทยสู่เวทีโลก

โครงการคัดสรรผลิตภัณฑ์ดีเด่นแห่งชาติ 2553 () หนึ่งในโครงการหลักของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า จัดสัมมนาต่อยอด Game Contest & Award 2010 อันเป็นกิจกรรมหนึ่งภายในโครงการ TESCA 2010 เพื่อส่งเสริมผู้พัฒนาเกมส์ให้มีศักยภาพในการสร้างสรรค์และวางแผนการตลาดของเกมส์มากยิ่งขึ้น หวังช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศด้วยการนำเกมส์ออกสู่ตลาดไทยและตลาดโลก

นายปริญญา กระจ่างมล ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เผยว่า หลังจากที่ได้มีการแข่งขันใน SIPA Game Contest 2010 จนได้ผู้เข้ารอบ ซิป้าได้ต่อยอดด้วยจัดการอบรมสัมมนาให้แก่ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ ณ โรงแรมเจ้าพระยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ด้านเทคนิคการพัฒนาเกมส์บนแพลทฟอร์มมือถือ คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นเกมส์ และเกมส์สำหรับการเล่นบนโซเชี่ยล มีเดีย ซึ่งซิป้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการอบรมในครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ที่ผ่านเข้ารอบได้มีการพัฒนาเกมส์ที่จะส่งมาประกวดในรอบสุดท้ายของ SIPA Game Contest 2010 อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งผลงานที่โดดเด่นมีโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคเอกชนไปพัฒนาเกมส์ให้เป็นรูปธรรมและนำออกสู่ตลาดจริงในที่สุด ซึ่งเราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าภายหลังจบการแข่งขัน ประเทศไทยจะมีนักพัฒนาเกมส์ฝีมือเยี่ยมและมีผลงานเกมส์ที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก อันตรงกับวัตถุประสงค์หลักของ TESCA 2010

ทั้งนี้ SIPA Game Contest & Award 2010 ประกอบด้วยกิจกรรม 2 หมวด ได้แก่ หมวด Contest ซึ่งได้แข่งขันรอบแรกเสร็จสิ้นไปแล้วด้วยการจัดแบ่งประเภทผู้แข่งขันเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มนักเรียนนักศึกษาและบุคคลทั่วไป และ หมวด Award ซึ่งจะมีการตัดสินในช่วงวันที่ 4-6 ตุลาคม SIPA Game Contest & Award 2010 นับเป็นหนึ่งในแปดกิจกรรมภายใต้โครงการคัดสรรผลิตภัณฑ์ดีเด่นแห่งชาติ 2553 (TESCA 2010) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และส่งเสริมผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ให้มีศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกสู่ตลาด

จากภาพ (ขวาไปซ้าย) นายกรีกร ไพรีพินาศ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), นายปริญญา กระจ่างมล ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน), และนายรัชกฤช คล่องพยาบาล ที่ปรึกษาด้านการลงทุนและการเงิน สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประธานคณะกรรมการตัดสิน SIPA Game Contest 2010 ให้เกียรติมาเปิดการอบรมสัมมนาโครงการ SIPA Game Contest 2010 ณ โรงแรมเจ้าพระยา เมื่อเร็วๆ นี้

View :1570
Categories: Press/Release Tags: ,