Archive

Archive for the ‘3G’ Category

บริการดาต้าโรมมิ่งจากดีแทคเปิดบริการสมัครครั้งเดียว สนุกได้ทั่วโลก

November 21st, 2012 No comments


ด้วยแพ็กเกจสบายใจไม่ต้องเลือกเครือข่าย 350 บาทต่อวัน พร้อมฟรี WiFi roaming

21 พฤศจิกายน 2555 – ดีแทค แนะนำบริการดาต้าโรมมิ่งใหม่ สมัครครั้งเดียว สนุกได้ทั่วโลก รายแรกที่อำนวยความสะดวกลูกค้าที่ใช้บริการดาต้าโรมมิ่ง เพื่อเพิ่มความสบายใจร่วมกับการใช้แพ็กเกจอัตราเดียวไม่ต้องเลือกเครือข่าย 350 บาทต่อวัน

นายปกรณ์ มโนรมย์ภัทรสาร ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดธุรกิจโพสต์เพด บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า “ช่วงปลายปีนี้ ดีแทคเปิดตัวบริการใหม่ด้านดาต้าโรมมิ่งเพื่อเอาใจลูกค้าที่นำสมาร์ทโฟนไปใช้งานในต่างประเทศ โดยเราเป็นรายแรกที่แนะนำบริการ สมัครครั้งเดียว สนุกได้ทั่วโลก เพื่อตอบรับกับความต้องการของลูกค้าที่เดินทางบ่อยครั้งและไม่สะดวกที่จะสมัครบริการก่อนเดินทางทุกครั้ง บริการของเรานอกจากจะให้ความสะดวกแล้วยังจะให้ประโยชน์กับลูกค้าในการช่วยควบคุมค่าใช้จ่าย โดยลูกค้าสามารถใช้แพ็กเกจดาต้าโรมมิ่ง 350 บาทต่อวันได้อย่างต่อเนื่องจากการสมัครเพียงครั้งเดียว และใช้งานดาต้าได้วันละ25 เมกกะไบต์ (MB) ทุกเครือข่ายใน 50 ประเทศทั่วโลก พร้อมกันนั้นยังสามารถใช้บริการฟรี wifi ในต่างประเทศแบบไม่จำกัดได้ด้วย หากลูกค้าใช้งานเกิน 25MB ค่าบริการดาต้าส่วนเกินเพียงเมกกะไบต์ละ 12 บาทเท่านั้น หรือในกรณีที่ใช้งานไม่ถึงราคาของแพ็กเกจ ลูกค้าชำระค่าบริการตามที่ใช้งานจริง”

สำหรับลูกค้าที่เดินทางต่อเนื่องเป็นเวลานาน ลูกค้ายังสามารถเลือกใช้แพ็กเกจดาต้าโรมมิ่ง 2,599 บาท สำหรับการใช้งาน 500 MB ในระยะเวลา 7 วัน โดยลูกค้าสามารถสมัครแพ็กเกจก่อนการเดินทางได้ที่ดีแทคฮอลล์ทั่วประเทศ หรือ โทร 1678 ดีแทคคอลเซ็นเตอร์ หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www..co.th

View :1505

ม.หอการค้าเชิญกูรูโทรคมนาคมระดับโลกร่วมถก 3จี

November 21st, 2012 No comments

หัวข้อ “ อนาคตหลังศาลปกครอง” 21พ.ย.ที่ศูนย์ประชุมสิริกิติ์

สถาบันเอพาร์ ออกโรง เชิญปรมาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์โทรคมนาคมระดับโลก ร่วมถกงานสัมมนา “ผ่าทางตัน …ประชาชนได้ประโยชน์อะไร” ภายใต้หัวข้อ “…อนาคตหลังศาลปกครอง” พร้อมวิทยากรฝีปากกล้าคับคั่ง ในวันพุธที่ 21 พ.ย. ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม คณะบดีคณะนิติศาสตร์ ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันวิชาการนโยบายสาธารณะกับธุรกิจและการกำกับดูแล (APaR-เอพาร์) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงที่มาของการจัดงานสัมมนาในหัวข้อ“3 จี..อนาคตหลังศาลปกครอง” ว่าหลังจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ()ได้จัดประมูลคลื่นความถี่ 2.1กิ๊กกะเฮิร์ตส์ (GHz) เพื่อออกใบอนุญาตมือถือระบบ 3 จี โดยที่ 3 บริษัทสื่อสารที่เข้าร่วมประมูลเสนอราคาประมูลคลื่น 41,625 ล้านบาท สูงกว่าราคาประมูลตั้งต้น 40,500ล้านบาท แต่ปรากฏว่าได้ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่าง หนักหน่วงทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จนกลายเป็นข้อวิพากษ์ทางสังคมทำให้กสทช.ยังไม่สามารถออกใบอนุญาต 3 จีได้แม้เวลาจะล่วงเลยมาแล้วร่วมเดือน

ล่าสุดยังปรากฎว่า ทั้งผู้ตรวจการแผ่นดินและศาลปกครอง ได้เข้ามาดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้ โดยผู้ตรวจการแผ่นดินได้ยื่นฟ้องสำนักงาน กสทช.ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อให้พิจารณาว่า การประมูลคลื่น 3 จี เป็นการดำเนินการที่เข้าข่ายเป็นการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 47และพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม พ.ศ.2553 มาตรการ 45 ประกอบมาตรา 41 วรรค1 และวรรค 7 หรือไม่

ด้วยเหตุนี้ สถาบันวิชาการเอพาร์ (APaR) จึงกำหนดจัดสัมมนา “ผ่าทางตัน 3G…ประชาชนได้ประโยชน์อะไร” ภายใต้หัวข้อ “ 3 จี : อนาคตหลังศาลปกครอง” ในวันพุธที่ 21 พฤศจิกายน 2555 ณ ห้อง Meeting Room 1-2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อเป็นเวทีสร้างความกระจ่างให้แก่ทุกฝ่ายและเพื่อให้ได้รับทราบข้อเท็จจริงและทิศทางในอนาคตของมือถือระบบ 3 จีที่กำลังระอุแดดอยู่ในเวลานี้
สำหรับวิทยากรเข้าร่วมขึ้นเวทีสัมมนาฯ นอกจาก รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม คณะบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และอดีตกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) ในฐานะโต้โผหลักของสถาบันฯแล้ว ยังมี ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการด้านกฎหมายฝีปากกล้า และคุณสิทธิชัย เทพไพฑูรย์ นายกสมาคมเกมส์ไทย กลุ่มธุรกิจที่มีมูลค่าการตลาดบนเครือข่ายออนไลน์และมือถือกว่า 15,000 ล้านบาท และ ดร.วีระชาติ กิเลนทอง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) และที่สำคัญ งานสัมมนาครั้งนี้ ยังมีโปรเฟสเซอร์ เจอราร์ด โปโกเรล (Prof. Gerard Pogorel ) จากฝรั่งเศส ที่ได้ชื่อว่าเป็น “ปรมาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์โทรคมนาคมของโลก” ในระดับชูวาเลียร์ อคาเดมิค( chevalier academique) ที่ขึ้นเวทีสัมมนาครั้งนี้ด้วย

View :1194

ดีแทคตั้งเป้าสู่ผู้นำยุค 4G เผยผลทดสอบเร็วสูงสุด 150 Mbps

November 9th, 2012 No comments

8 พฤศจิกายน 2555 – ดีแทคเผยพร้อมก้าวนำตลาดโทรคมนาคมไทย ด้วยการนำเทคโนโลยี ที่ทันสมัยที่สุดมาสู่ผู้บริโภค และพร้อมที่จะนำประเทศรองรับการแข่งขันเออีซีด้วยเครือข่ายโทรคมนาคมที่สมบูรณ์แบบ

ดีแทคเผยผลทดสอบเทคโนโลยีการสื่อสาร 4G บนคลื่นความถี่ 1,800 เมกะเฮิรตซ์ ที่ดีแทคเฮ้าส์ โดยผลการทดสอบปรากฏว่า ความเร็วการใช้งานดาวน์โหลดทำได้สูงสุดถึง 150 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) และอัพโหลดทำได้สูงสุดถึง 50 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) หรือเร็วกว่า ประมาณ 5 เท่า และยังเร็วกว่า 2G ประมาณกว่า 200 เท่า ซึ่งดีแทคได้ทำการทดสอบในเขตกรุงเทพฯ บริเวณสยามสแควร์ และอาคารจัตุรัสจามจุรี หรือบริเวณดีแทคเฮ้าส์

ดร. ดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทคเปิดเผยว่าการเตรียมความพร้อมในการทดสอบ 4G เป็นหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพเครือข่ายภายใต้แคมเปญ Life Network หรือ เครือข่ายเพื่อชีวิตที่ดีกว่าของดีแทค โดยดีแทคจะมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศ ซึ่งสามารถทำการอัพเกรดเครือข่ายทั่วประเทศจาก 3G เป็น 4G ได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่เปลี่ยนการ์ด 4G ในตู้สัญญาณ ซึ่งใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีเท่านั้น ส่งผลให้ดีแทคเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายที่มีความพร้อมในการเปิดให้บริการ 4G ได้รวดเร็วที่สุด นอกจากพร้อมที่จะนำเทคโนโลยี 4G ที่ทันสมัยมาสู่ผู้ใช้งานแล้ว เทคโนโลยีที่ทันสมัยจะสามารถสร้างโอกาสต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ในการใช้งานอย่างมหาศาลเพื่อผู้ใช้งานทั่วประเทศ

ดีแทคเป็นเครือข่ายที่มีเสาสัญญาณใหม่ครอบคลุมทั่วประเทศ ด้วยจำนวนสถานีฐานมากที่สุดถึง 15,700 สถานีฐาน โดยเป็นสถานีสัญญาณ 3G กว่า 5,000 สถานีที่จะครอบคลุมทั่วประเทศในปลายปีนี้ จึงทำให้เราเชื่อมั่นว่าดีแทคจะเป็นผู้นำด้านเครือข่ายที่มีคุณภาพที่สุดได้อย่างแน่นอน และด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดนี้จะส่งให้ดีแทคก้าวสู่ระดับแนวหน้าด้านความพร้อมสำหรับบริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ และเทคโนโลยี 4G ในอนาคต” ดร.ดามพ์ กล่าว

นายประเทศ ตันกุรานันท์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานปฏิบัติการโครงข่าย บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่าผลการทดสอบน่าพอใจเป็นอย่างยิ่งด้วยความเร็วการใช้งานดาวน์โหลดทำได้สูงสุดถึง 150 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) และอัพโหลดทำได้สูงสุดถึง 50 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) หรือเร็วกว่า 3G ประมาณ 5 เท่า และยังเร็วกว่า 2G ประมาณกว่า 200 เท่า โดยได้ทดสอบบนอุปกรณ์สื่อสารสมาร์ทโฟน แอร์การ์ดต่างๆ ที่รองรับเทคโนโลยี 4G

“ด้วยการดำเนินงานเพื่อยกระดับคุณภาพเครือข่ายทั้งหมดทั่วประเทศที่ผ่านมา หรือ Network SWAP ที่ได้ดำเนินไปด้วยดีอย่างรวดเร็ว โดยดีแทคได้เปลี่ยนอุปกรณ์เครือข่ายเสร็จสิ้นแล้วในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และภาคใต้ ส่วนที่เหลือในจังหวัดอื่นๆ คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในปลายปีนี้ ทั้งหมดนี้จะทำให้ดีแทคมีเครือข่ายที่มีเทคโนโลยีสูงสุดที่นำมาสู่การใช้งาน และนอกจาก 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่จะเปิดให้บริการแล้ว การติดตั้งหรืออัพเกรดสู่เทคโนโลยี 4G จะทำได้ง่ายดาย ภายใต้เครือข่ายใหม่ของดีแทคด้วยการเปลี่ยนการ์ด 4G ที่ตู้สัญญาณ ซึ่งใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีเท่านั้น ส่งผลให้ดีแทคเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายที่มีความพร้อมในการเปิดให้บริการ 4G ได้รวดเร็วที่สุด ทั้งนี้เครือข่ายดีแทคได้สะท้อนถึงความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและโครงข่ายที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชียในปัจจุบัน” นายประเทศ กล่าว

ดร.ดามพ์ กล่าวเพิ่มเติมในตอนท้ายว่า “ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ดีแทคมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในการสื่อสารมาบริการลูกค้าดีแทค เราจะต้องเพิ่มมูลค่าการใช้งานสู่ชีวิตประจำวันของลูกค้า และที่สำคัญจะนำไปสู่การสร้างการแข่งขันและโอกาสต่างๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ยุคการแข่งขันรองรับการเปิดเสรีอาเซียน (เออีซี) อีกด้วย

View :1681
Categories: 3G Tags: ,

กสทช. เยี่ยมชมดีแทคทดสอบ 4G เร็ว 150 Mbps

November 7th, 2012 No comments

6 พฤศจิกายน 2555 – พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เข้าเยี่ยมชมการสาธิตเทคโนโลยี ดีแทค บนคลื่นความถี่ 1,800 เมกะเฮิรตซ์ ณ ดีแทคเฮ้าส์ อาคารจัตุรัสจามจุรี เมื่อเร็วๆ นี้ โดยมีดร. ดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และทีมงานให้การต้อนรับ ผลการทดสอบปรากฏว่า ความเร็วการใช้งานดาวน์โหลดทำได้สูงสุดถึง 150 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) และอัพโหลดทำได้สูงสุดถึง 50 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) หรือเร็วกว่า ประมาณ 5 เท่า พร้อมทั้งชมการสาธิตการอัพเกรดโครงข่ายใหม่ ซึ่งดีแทคจะสามารถอัพเกรดสู่เทคโนโลยี ได้ภายในระยะเวลาเพียง 24 ชั่วโมง อันสะท้อนถึงความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี และโครงข่ายที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชียในปัจจุบัน

View :1263
Categories: 3G Tags: ,

สามโอเปอเรเตอร์ ย้ำชัดการประมูลโปร่งใส พร้อมให้ตรวจสอบ วอนมองประโยชน์และความต้องการลูกค้าประชาชนเป็นหลัก

October 29th, 2012 No comments

พร้อมเดินหน้าลงทุนยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารเพื่อคนไทยทั่วประเทศ

ผู้ประกอบการโทรคมนาคมทั้งสามราย คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และ บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ร่วมแถลงข่าวชี้แจงประเด็นข้อสงสัยของการประมูล ที่ผ่านมา ยืนยันโปร่งใส ยินดีให้ตรวจสอบได้ วอนมองประโยชน์และความต้องการลูกค้าประชาชนเป็นหลัก พร้อมเดินหน้าลงทุนยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารเพื่อคนไทยทั่วประเทศ ชี้ทุกค่ายมีเหตุผลในการเลือกช่วงความถี่และเคาะราคาที่ต่างกัน มั่นใจการประมูล ครั้งนี้สร้างประโยชน์สูงสุดแก่ ประชาชนไทยและประเทศชาติ

ตามที่มีการแสดงความคิดเห็นหลากหลายเกี่ยวกับการประมูล 3G ที่ผ่านมานั้น โอเปอร์เรเตอร์ทั้งสามราย โดย นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ดร. ดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และศาสตราจารย์พิเศษ อธึก อัศวานันท์ รองประธานกรรมการและหัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มด้านกฎหมาย บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น (ทรูมูฟ) ในฐานะที่เป็นเอกชนผู้เกี่ยวข้องและเข้าร่วมในเหตุการณ์ คลื่นความถี่ 2.1 GHz มาตั้งแต่ต้น พร้อมใจกันชี้แจงข้อเท็จจริงต่อความคิดเห็นต่างๆเกี่ยวกับเอกชนผู้เข้าร่วมการประมูลที่ยืนยันได้ว่ามีความโปร่งใส พร้อมแสดงเจตนารมณ์ในการร่วมพัฒนาการสื่อสารโทรคมนาคมของไทย โดยผู้ให้บริการทั้งสามรายมีเจตนารมณ์ชัดเจนในการเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ในครั้งนี้ เนื่องจากเทคโนโลยี 3G เป็นเทคโนโลยีทันสมัยที่จะช่วยยกระดับให้คนไทยสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสื่อสารล้ำสมัยจะช่วยสนับสนุนความเจริญและการพัฒนาประเทศในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นภาคเศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรม และการศึกษา โดยผู้ให้บริการทั้ง 3 ราย เป็นผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจในวงการสื่อสารโทรคมนาคมมาเป็นเวลาหลายสิบปี และต่างมีความพร้อมที่จะร่วมยกระดับเทคโนโลยี เพื่อให้ประเทศมีความสามารถแข่งขันและมีศักยภาพเทียบนานาประเทศทั่วโลก

นอกจากนี้ การเข้าร่วมประมูล 3G ของโอเปอเรเตอร์ทั้งสามราย เป็นโอกาสที่จะได้สร้างสรรค์บริการเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ลูกค้า โดยเฉพาะในช่วงที่สัญญาสัมปทานกำลังจะสิ้นสุดลง ผู้ให้บริการจำเป็นต้องมีแนวทางในการดูแลลูกค้า เพื่อลดผลกระทบในการให้บริการหลังจากสัมปทานสิ้นสุดลง และให้ลูกค้าได้รับบริการที่มีคุณภาพและต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจเข้าร่วมประมูล ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ประกอบการแต่ละราย ทั้งในแง่แหล่งเงินทุน ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการให้บริการ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการให้บริการได้อย่างมีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของลูกค้า ดังนั้น แม้จะมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าการประมูลในครั้งนี้เป็นการประมูลที่เอื้อเอกชนทั้งสามราย จะต้องมองถึงความพร้อมของเอกชนด้วย หากมีการเพิ่มราคาจากราคาตั้งต้นที่ 4,500 ล้านบาท ที่มีการเสนอในกรอบข้อสรุปข้อศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจมีผลต่อจำนวนผู้เข้าร่วมประมูลในครั้งนี้

โอเปอเรเตอร์ทั้งสามราย ยืนยันการประมูลเป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชน โดยเงินรายได้ที่เข้ารัฐจากการประมูลครั้งนี้ไม่ได้ต่ำกว่าราคาขั้นต่ำที่วางไว้ ซึ่งราคาประมูลที่เหมาะสมจะสะท้อนต้นทุนการให้บริการ ทำให้อัตราค่าบริการมีความเหมาะสมพอที่ประชาชนทุกกลุ่มจะเข้าถึงได้ง่าย ประชาชนจะได้ใช้ประโยชน์จากการใช้ 3G ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น และที่สำคัญว คือ การที่ประเทศชาติมีการพัฒนาและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หากราคาประมูลแพง ค่าบริการก็จะแพง ประชาชนที่ได้ประโยชน์มีน้อย จะเป็นการสูญเสียของประเทศชาติมากกว่า

การลงทุนของโอเปอเรเตอร์แต่ละราย มิใช่เพียงเงินค่าคลื่นที่ประมูลได้เท่านั้น แต่โอเปอเรเตอร์ยังต้องลงทุนในการขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่และจำนวนประชากรตามเงื่อนไขที่ กำหนด อีกทั้งยังต้องมีการลงทุนในการพัฒนาระบบการให้บริการลูกค้าเพื่อสามารถให้บริการประชาชนได้มากที่สุด ซึ่งสุดท้ายรายได้จะกลับสู่ภาครัฐและรัฐจะมีรายได้จากการลงทุนโครงข่ายและภาษีรายได้ของผู้ประกอบการ

สำหรับประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการฮั้วประมูล ทำให้ได้ราคาคลื่นความถี่ในราคาไม่สูงนั้น ขอชี้แจงว่า การเพิ่มเงินในการประมูลก็เพื่อให้ได้เลือกช่วงความถี่ที่ต้องการก่อน ซึ่งช่วงคลื่นที่เหลือก็ไม่ได้แตกต่างกันจนทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกันมากนัก และผลการประมูลก็บรรลุเป้าหมายเพราะได้เงินประมูลสูงกว่าราคาตั้งต้น ส่วนประเด็นการฮั้วประมูลนั้นยิ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะผู้ประกอบการทุกรายก็อยู่ภายใต้เงื่อนไขการประมูลเดียวกัน หากมีการฮั้วกันก็จะถูกตัดสิทธิ์จากการประมูล อีกทั้งยังเสื่อมเสียชื่อเสียงในการประกอบธุรกิจต่อไป ดังนั้น ผู้เข้าร่วมการประมูลทั้ง 3 ราย ยืนยันมั่นใจว่าได้ปฎิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขและข้อปฏิบัติในการประมูลตามที่กสทช.กำหนดทุกประการ

ที่สำคัญ โอเปอเรเตอร์ทั้งสามรายมีความเชื่อมั่นในการดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHzของ กสทช. ว่าได้ดำเนินการถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมาย รวมทั้งยังมั่นใจในหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในการจัดการประมูล ซึ่ง กสทช. ได้ศึกษาแนวทางการประมูลอย่างละเอียดรอบคอบ มีการวิจัย และมีที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญในการประมูล นอกจากนี้ ในวันจัดการประมูล ยังได้เชิญผู้สังเกตการณ์ที่เป็นกลาง ทั้งผู้ตรวจการแผ่นดิน, สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมาร่วมเป็นสักขีพยานด้วย อีกทั้งการที่ กสทช. ได้ยื่นเอกสารการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz ให้กับ 4 องค์กรตรวจสอบหลักของประเทศ ประกอบด้วย สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.), สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.), กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ย้ำชัดเจนถึงความบริสุทธิ์ใจและความมุ่งมั่นของกสทช.ที่ทำให้การประมูลมีความโปร่งใสและถูกต้องตามกฎหมายทุกขั้นตอน

โอเปอเรเตอร์ทั้งสามราย ขอแสดงความชื่นชมต่อคณะกรรมการ กสทช. ทุกท่าน ที่ดำเนินการตามเป้าหมายการทำงานที่แท้จริง คือ การจัดสรรคลื่นความถี่ให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม และให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีดังกล่าว และสามารถผลักดันจนการประมูลเสร็จสิ้นลง นับว่า กสทช. ได้ถือเอาประโยชน์ของประชาชนและการพัฒนาประเทศเป็นที่ตั้ง แม้ว่าจะมีหลากหลายความคิดเห็นและข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่อการประมูลดังกล่าว แต่โอเปอเรเตอร์ 3 รายต่างเชื่อมั่นว่า การตรวจสอบข้อเท็จจริงทุกด้านจะได้ข้อสรุปที่กระจ่างแจ้งต่อประชาชนโดยเร็ว และคนไทยจะได้ใช้บริการ 3G ทัดเทียมกับคนในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

View :1580
Categories: 3G Tags: , , ,

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการกำกับดูแลบริการ 3G ของกสทช.

October 23rd, 2012 No comments

โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

ท่ามกลางกระแสสังคมที่วิพากษ์วิจารณ์ อย่างรุนแรง จากการจัดประมูลล้มเหลว เนื่องจากออกแบบการประมูลให้ไม่มีการแข่งขันกันจริง จนสร้างความเสียหายให้แก่ประชาชนผู้เสียภาษีกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับราคาประเมินของคลื่นความถี่ ได้พยายามกู้ศรัทธาองค์กร โดยประกาศเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2555 ว่า จะกำกับดูแลผู้ประกอบการและคุ้มครองผู้บริโภคให้เข้มงวดขึ้น ทั้งที่การดำเนินการดังกล่าวเป็นหน้าที่ตามกฎหมายซึ่งต้องทำเป็นปรกติอยู่แล้ว

โดยรูปธรรม กสทช. ได้ประกาศที่จะกำกับอัตราค่าบริการ ทั้งบริการเสียงและข้อมูลที่จัดเก็บจากผู้บริโภคให้ลดลงไม่น้อยกว่า 20% จากอัตราในปัจจุบันที่อยู่ในระดับเฉลี่ย 899 บาทต่อเดือน โดยจะกำหนดให้อัตราค่าบริการในปีแรกลดลง 10% ปีที่ 2 ลดลง 15% และปีที่ 3 ลดลง 20% นอกจากนี้ กสทช. ยังประกาศที่จะกำกับดูแลคุณภาพบริการ และให้ผู้รับใบอนุญาตจัดทำแผน CSR และแผนคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนประกาศว่าจะปรับปรุงกระบวนการของตนในการรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค

บทความนี้จะนำเสนอข้อคิดเห็นต่อท่าทีดังกล่าวของ กสทช. และจะเสนอแนะว่า หาก กสทช. มีความจริงใจที่จะกำกับดูแลบริการ 3G ให้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริงแล้ว ควรดำเนินการอย่างไร

การกำกับอัตราค่าบริการ

อันที่จริงแม้ กสทช. ไม่ต้องดำเนินการใดๆ ค่าบริการ 3G ก็ควรต้องลดลงอยู่แล้ว เพราะต้นทุนของผู้ประกอบการจะลดลงทันทีจากการไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐประมาณ 21-23% ของรายได้ โดยเปลี่ยนมาจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมอื่น รวมประมาณ 5.5% แทน การเข้าสู่ระบบใบอนุญาตดังกล่าว โดยลำพังจึงทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการลดลงเกินกว่า 15% อยู่แล้ว ขอเพียงตลาดมีการแข่งขันอย่างเพียงพอ ต้นทุนที่ลดลงของผู้ประกอบการก็จะถูกโอนถ่ายมาเป็นค่าบริการที่ลดลงของผู้บริโภคโดย กสทช. ไม่ต้องประกาศอะไรทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม อุปสรรคต่อการแข่งขันในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ในปัจจุบัน และบริการ 3G ที่จะเกิดขึ้นก็ยังมีอยู่มากมาย ที่สำคัญคือ ค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (IC) ซึ่งเปรียบเสมือนราคาขายส่งระหว่างผู้ประกอบการ ยังถูกกำหนดอยู่ที่ 0.99 บาทต่อนาที ซึ่งสูงกว่าต้นทุนจริงที่ผู้เขียนเคยคำนวณไว้ที่ 0.27 บาทต่อนาที ที่ผ่านมา กสทช. ปล่อยให้เอกชนรวมหัวกันกำหนดค่า IC สูงกว่าต้นทุนจริงมาเป็นเวลานาน ทำให้ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่แพงกว่าที่ควรจะเป็น จนน่าจะเสียประโยชน์ไปแล้วเป็นหมื่นล้านบาท

หากไม่แก้ไขปัญหาพื้นฐานนี้เพื่อให้กลไกตลาดทำงาน กสทช. ก็จะไม่สามารถกำกับดูแลให้ค่าบริการ 3G ลดลงได้อย่างยั่งยืน เพราะผู้ประกอบการอาจออกโปรโมชั่นใหม่ๆ ซึ่งตัดบางบริการออกไปเพื่อให้ดูราคาถูกลง หรือยัดเยียดขายพ่วงบริการอื่นที่ไม่จำเป็นเข้ามา ตลอดจนไปถึงการปฏิเสธไม่ลดราคาลงตามที่กำหนด โดยอ้างปัจจัยภายนอกต่างๆ เช่น ค่าแรงงานและภาวะเงินเฟ้อที่ขึ้นสูง เป็นต้น

นอกจากนี้ แม้กสทช. จะสามารถลดค่าบริการ 3G ลงได้จริง 20% ในอีก 3 ปีข้างหน้า ราคาค่าบริการของไทยตอนนั้น ก็ใช่ว่าจะถูกกว่าราคาของต่างประเทศ ในปัจจุบัน บริษัท StarHub ในสิงคโปร์ คิดค่าบริการบรอดแบนด์เคลื่อนที่ซึ่งไม่จำกัดปริมาณข้อมูล (unlimited) เพียงเดือนละ 670 บาท และแม้ในอินเดีย บริษัท Air Tel ก็คิดค่าบริการโทรศัพท์ 3G ซึ่งจำกัดปริมาณข้อมูลที่ 3.1 GB ในราคาเพียง 340 บาทต่อเดือน ซึ่งถูกเป็นครึ่งหนึ่งของบริการที่คล้ายกันในประเทศไทย ในอนาคต ราคาค่าบริการในต่างประเทศก็มีแนวโน้มที่จะลดลงต่ำลงไปอีก เนื่องจากตลาดโทรคมนาคมของประเทศเหล่านั้นมีการแข่งขันมากกว่าประเทศไทย การลดราคาบริการ 3G ของไทยลงเพียง 20% จึงยังไม่เพียงพอ

เมื่อครั้ง กสทช. ยกร่างแผนแม่บทประกอบกิจการโทรคมนาคม ผู้เขียนเคยเสนอให้ กสทช. กำหนดตัวชี้วัด (KPI) ให้อัตราค่าบริการโทรคมนาคมที่สำคัญ (เช่น บริการ 3G และบรอดแบนด์) ของไทย ต้องมีราคาถูกอย่างน้อยเป็นที่สองในอาเซียน เพื่อให้ธุรกิจไทยสามารถแข่งขันได้ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แม้ข้อเสนอดังกล่าวจะได้รับการขานรับจากกลุ่มผู้บริโภค กสทช. ก็ไม่ได้ให้ความสนใจและไม่ได้กำหนดเป้าหมายในเรื่องอัตราค่าบริการในรูปอื่นแทนเลย โดยเพียงชี้แจงแบบขอไปทีว่า ตัวชี้วัดต่างๆ ที่มีอยู่มีความเหมาะสมแล้ว กว่า กสทช. จะคิดออกว่าผู้บริโภคควรได้ราคาที่เหมาะสม องค์กรก็เกิดวิกฤติศรัทธาแล้ว

การคุ้มครองผู้บริโภค

การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นอีกภารกิจหนึ่งที่ กสทช. ล้มเหลวอย่างมาก ผู้อ่านทุกคนคงเคยมีประสบการณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่สายหลุดบ่อย และบริการบรอดแบนด์มีความเร็วช้ากว่าที่ผู้ประกอบการโฆษณาไว้มาก โดย กสทช. ไม่ได้ดำเนินการแก้ไขให้เห็นผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมใดๆ เลย

นอกจากนี้ เมื่อดูสถิติเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภค เราจะพบว่า ในช่วงเดือน พ.ย. 2554-พ.ค. 2555 มีเรื่องร้องเรียนที่ค้างพิจารณา ไม่เสร็จในเวลา 30 วันตามที่กฎหมายกำหนดถึง 85% ในส่วนของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ 78% ในส่วนของบริการอินเทอร์เน็ต โดยสาเหตุสำคัญของความล่าช้าดังกล่าวก็คือ กสทช. ปล่อยให้สำนักงาน กสทช. เข้าเกียร์ว่าง ไม่ดำเนินการใดๆ นอกจากรอให้ผู้ประกอบการชี้แจงและแก้ไขปัญหาให้ผู้บริโภคเอง เสมือนหนึ่งการแก้ไขปัญหาของผู้บริโภค เป็นภารกิจโดยสมัครใจของผู้ประกอบการเช่นเดียวกับกิจกรรม CSR

ความไม่ใส่ใจในการคุ้มครองผู้บริโภคของ กสทช. ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ประกาศเจตนารมย์ของ กสทช. ที่ออกมาดูว่างเปล่า ไร้มีน้ำหนัก จนหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าเป็นแต่เพียงการแก้เกี้ยวเพื่อเอาตัวรอดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเองยังหวังว่า กสทช. จะพยายามพลิกวิกฤติขององค์กรในครั้งนี้ให้เป็นโอกาสของผู้บริโภคอย่างแท้จริง

ข้อเสนอแนะ

หาก กสทช. จริงใจในการแก้ไขปัญหาผู้บริโภค ผู้เขียนขอเสนอแนะให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

1. ตั้งเป้าให้อัตราค่าบริการโทรคมนาคมที่สำคัญของไทยมีราคาถูก อย่างน้อยเป็นอันดับที่สองในอาเซียน

2. ปรับลดอัตราค่าเชื่อมต่อโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ลงไม่ให้เกิน 25 สตางค์ต่อนาที และปรับลดค่าเชื่อมต่อโครงข่ายในการสื่อสารข้อมูลให้สอดคล้องกับต้นทุนจริง

3. เร่งรัดพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค โดยสั่งการให้สำนักงาน กสทช. สนับสนุนการทำหน้าที่ของ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมอย่างเต็มที่ และไม่บั่นทอนการทำงานของคณะอนุกรรมการดังกล่าว โดยใช้กลไกอื่น

4. ลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม โดยยกเลิกประกาศห้ามการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว ซึ่งมีผลกีดกันไม่ให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดทั้งในการประมูล 3G ที่ผ่านมา จนมีผู้เข้าประมูลเหลือเพียง 3 ราย และการประมูลใบอนุญาตอื่นๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคต

View :1685

เศรษฐศาสตร์ชันสูตรว่าด้วยการประมูล 3G พิสดาร

October 21st, 2012 No comments

โดย
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

ปุจฉา: ในต่างประเทศกับในประเทศไทยต่างกันอย่างไร?
วิสัชนา: ในต่างประเทศ รัฐออกแบบการประมูลให้เอกชนแข่งขันกัน เพราะรู้ว่าเอกชนจะพยายามประมูลต่ำ
ในประเทศไทย รัฐออกแบบการประมูลไม่ให้เอกชนแข่งขันกัน แต่เอกชนกลับพยายามประมูลสูง!!

การประมูล ของ จบลงไปแล้ว พร้อมกับทิ้งความเสียหาย 1.6 หมื่นล้านบาท ให้ตกกับประชาชนในฐานะผู้เสียภาษี ในขณะที่ผู้ประกอบการทั้งสามรายได้ “ลาภลอย” เป็นกำไรแก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท เพราะราคาคลื่นที่ประมูลได้ต่ำกว่าราคาประเมินมากมาย

ทันที่ที่จบการประมูล ร่องรอยความผิดปรกติก็เริ่มปรากฏมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากข่าวเสียงข้างน้อยใน กสทช. ตลอดจน ผู้บริหารกระทรวงการคลังต่างออกมาท้วงติงว่าการประมูลนี้อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ หรือ “กฎหมายฮั้ว” แม้กระทั่งที่ปรึกษาประธาน กทค. เองก็ยังทำหนังสือเสนอล้มประมูล เพื่อไม่ให้ กสทช. ต้องเสี่ยงคุกตะราง

อย่างไรก็ตาม กสทช. กลับเร่งเดินหน้าออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบการทั้งสามรายอย่างรีบร้อน และแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อผู้ที่ท้วงติงทั้งหลาย ในขณะที่ สื่อมวลชนบางส่วนก็ประสานเสียงไปทางเดียวกับ กสทช. โดยพยายามเบี่ยงเบนประเด็นให้ประชาชนไปสนใจเรื่องอื่น เช่น อัตราค่าบริการ 3G ในอนาคต โดยไม่พยายามสืบเสาะหาความผิดปรกติในการประมูลที่เกิดขึ้นเลย

ในบทความนี้ ผู้เขียนจะขอใช้วิชา “เศรษฐศาสตร์ชันสูตร” (forensic economics) มาชวนท่านผู้อ่านช่วยกันวิเคราะห์ว่า มีความผิดปรกติในการเคาะราคาในการประมูลอย่างไร และความผิดปรกติดังกล่าวน่าจะเกิดจากอะไร

คำถามที่ต้องการคำตอบ

ดังที่ทราบกัน ในการประมูลครั้งนี้ เสนอราคาสูงสุด 14,625 ล้านบาท ส่วน และ เสนอราคาเท่ากันที่ 13,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาขั้นต่ำในการประมูล ผลก็คือทำให้รัฐได้รายได้รวมทั้งสิ้นเพียง 41,625 ล้านบาท หรือสูงกว่าราคาตั้งต้นเพียง 2.8% เท่านั้น และทำให้มูลค่าการประมูล 3G ในประเทศไทยต่ำที่สุดประเทศหนึ่งในโลก

คำถามที่เกิดขึ้นกับการประมูลมี 2 คำถาม คำถามแรกคือ ทำไมการประมูลจึงล้มเหลวจนสร้างความเสียหายต่อประชาชนกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท? คำถามนี้ตอบง่ายมากว่า การประมูลล้มเหลวเพราะ กสทช. ออกแบบให้การประมูลแทบไม่เหลือการแข่งขันเลย จึงทำให้ผู้เข้าประมูลทุกรายมั่นใจได้ว่า จะได้คลื่น 3G ไปตามที่ต้องการ โดยไม่ต้องแข่งขันกันเสนอราคามาก

คำถามที่สองซึ่งที่น่าสนใจกว่า ก็คือ ทำไมการประมูลยังมีการแข่งขันเหลืออยู่ ทั้งๆ ที่กฎการประมูลถูกออกแบบมาเพื่อจำกัดการแข่งขัน? โดยมีคำถามที่เกี่ยวเนื่องกันคือ AIS ทำไมจึงประมูลสูงกว่ารายอื่นมาก?

คำตอบที่เป็นไปได้

เหตุที่ AIS เสนอราคาสูงกว่ารายอื่น ก็น่าจะเพราะอยากได้สิทธิในการเลือกย่านความถี่ก่อน โดยเลือกที่จะอยู่ติดกับย่านของ TOT ซึ่งทำให้ทั้งสองรายสามารถนำเอาคลื่นของตนมารวมกันเพื่อให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต ในขณะที่ DTAC และ TRUE ไม่ได้สนใจที่จะเลือกย่านความถี่ไหนเป็นพิเศษ ทั้งสองรายจึงประมูลต่ำที่สุดเท่าที่ทำได้คือ ที่ราคาตั้งต้น การที่ AIS เสนอราคาสูงกว่ารายอื่นจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ แต่ที่น่าแปลกใจก็คือ ราคาที่ AIS ประมูลนั้นสูงกว่ารายอื่นมากเกินความจำเป็น

หลักเบื้องต้นในการประมูลก็คือ ในกรณีที่มีของชิ้นเดียว ผู้เสนอราคาสูงสุด จะได้รับของในการประมูลนั้นไป ส่วนในกรณีที่มีของหลายชิ้น เช่นในการประมูล 3G ครั้งนี้ ผู้เสนอราคาสูงสุดจะได้สิทธิในการเลือกของก่อน ในทั้งสองกรณี ราคาที่เสนอสูงสุดไม่จำเป็นต้องสูงมาก แค่ให้มากกว่าผู้ได้อันดับสองเล็กน้อย เช่น เฉือนกันสลึงเดียว บาทเดียว หรือในกรณีนี้เฉือนกันเพียง 225 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าต่ำสุดในการเคาะราคาเพิ่มแต่ละครั้ง ก็เพียงพอแล้ว

เราจึงควรถามว่า เหตุใด AIS จึงเสนอราคาประมูลมากกว่า DTAC และ TRUE ถึง 1,125 ล้านบาท ทั้งที่เสนอสูงกว่าเพียง 225 ล้านบาท ก็ทำให้ได้เป็นผู้ชนะประมูลตามที่ต้องการแล้ว ทำไม AIS ต้องจ่ายเพิ่มโดยไม่จำเป็นถึง 900 ล้านบาท?

เมื่อวิเคราะห์ดูการเคาะราคาในการประมูล เราจะพบว่า ราคาการประมูลของ AIS ที่สูงขึ้นเกิดใน 2 กรณีคือ หนึ่ง เมื่อมีผู้ประกอบการรายอื่น เลือกสล็อตความถี่เดียวกันกับที่ AIS เลือก ก็พบว่ามีการแข่งราคากัน ทั้งที่แต่ละฝ่ายสามารถหลบไปหาสล็อตอื่นที่ว่างอยู่ได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีกว่าสำหรับทั้งคู่ เพราะไม่ต้องเพิ่มราคาในการประมูลเลย (เปรียบเสมือนการย้ายไปหาเก้าอี้ที่ว่างอยู่ในการเล่นเก้าอี้ดนตรี แทนที่จะต้องสู้เพื่อแย่งเก้าอี้ตัวเดียวกัน) และ สอง AIS เสนอราคาสูงขึ้นเองในบางสล็อต ทั้งที่ไม่มีคู่แข่งเลย โดยการเสนอราคาสูงขึ้นเพื่อแข่งกับตนเองดังกล่าว เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นของการประมูล ซึ่งไม่สามารถอ้างได้ว่า ทำไปเพื่อให้มั่นใจว่าชนะรายอื่น เพราะหากจำเป็นต้องเสนอราคาสูงขึ้นพื่อให้ตนเป็นผู้ประมูลสูงสุด ก็ยังสามารถทำในรอบท้ายๆ ได้

การกระทำของผู้ประกอบการทั้งสามราย โดยเฉพาะ AIS จึงเป็นเรื่องที่แปลกพิสดารมาก เพราะทำให้ต้องเสียเงินประมูลมากเกินความจำเป็น ซึ่งขัดกับผลประโยชน์ของบริษัทเอง

เราอาจอธิบายพฤติกรรมที่แปลกพิสดารนี้ได้หลายทาง หนึ่ง ผู้บริหาร AIS ที่เข้าร่วมประมูลมีสติปัญญาที่จำกัดมาก จนทำให้ตัดสินใจผิดพลาด ทำให้ผู้ถือหุ้นเสียหาย ซึ่งสมควรถูกกรรมการบริษัทลงโทษ ปลดออกจากตำแหน่งเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต หรือควรถูกผู้ถือหุ้นฟ้องร้องเพื่อเรียกค่าเสียหาย สอง การยื่นราคาสูงเกินจำเป็นอาจเกิดขึ้นจากความพยายาม “จัดฉาก” ของบางฝ่าย เพื่อแสดงให้ประชาชนเห็นว่า การประมูลมีการแข่งขัน ทั้งที่ในความเป็นจริง การประมูลนี้ไม่สามารถมีการแข่งขันจริงได้เลย เพราะถูกออกแบบไม่ให้มีการแข่งขันมาตั้งแต่ต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ DTAC และ TRUE ต่างต้องการได้คลื่นความถี่ในราคาต่ำที่สุด โดยไม่สนใจที่จะได้สิทธิในการเลือกย่านความถี่ก่อนเลย การแข่งขันใดๆ ที่เกิดขึ้นจึงน่าจะเป็น “การแข่งขันเทียม” เพื่อสร้างภาพเท่านั้น

ข้อสันนิษฐานใดจะเป็นจริง หรือจะมีข้อสันนิษฐานอื่นๆ อีก ก็สุดแล้วแต่วิจารณญาณของท่านผู้อ่าน แต่ผู้เขียนคิดว่า เราน่าจะหาข้อสรุปที่แท้จริงได้ไม่ยากนัก หากมีการตรวจสอบอย่างจริงจังโดยหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะ ปปช.

ก่อนการประมูล ผู้เขียนเคยคิดว่า พิสดารมากแล้วที่ กสทช. ใจกล้าออกแบบการประมูลให้แทบไม่มีการแข่งขัน โดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายเลย แต่หลังการประมูล ผู้เขียนกลับพบว่า ที่พิสดารยิ่งกว่าก็คือ การที่ผู้ประกอบการเอกชนพยายามหาช่องทางในการแข่งขันกันจนได้ ทั้งที่กติกาไม่เอื้อต่อการแข่งขันเลย!

View :1511

เตือนผู้บริโภครู้ทันบริการ 3G

October 19th, 2012 No comments

อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เตือนผู้บริโภคไทยให้รู้ทันบริการ เผยแพ็คเกจที่ขึ้นป้าย Unlimited แท้จริงแล้วจำกัดเงื่อนไขบริการด้วยนโยบาย Fair Use Policy แนะผู้ประกอบการลบคำว่า Unlimited ออกจากแพ็คเกจ เพื่อป้องกันความสับสน พร้อมเสนอว่าค่าบริการ ของไทยควรถูกสุดในอาเซียน เพราะตั้งราคาประมูลไว้ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียน

ภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เมื่อวันที่ 19 ต.ค.2555 ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ พร้อมด้วยอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม อีกจำนวนหนึ่ง ได้ร่วมกันแถลงข่าวเกี่ยวกับสภาพปัญหาที่พบจากบริการ 3G ของไทยในปัจจุบัน โดยระบุว่า เรื่องร้องเรียนที่เข้ามายังกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (รท.) สำนักงาน ในช่วงที่ผ่านมา พบว่า ผู้ใช้บริการได้มีการร้องเรียนเกี่ยวกับอัตราความเร็วของบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือบริการ 3G อย่างต่อเนื่อง แต่มักได้รับคำอธิบายจากผู้ประกอบการว่าบริการ 3G มีเงื่อนไขเรื่อง หรือนโยบายในการบริหารจัดการให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสามารถใช้บริการได้อย่างเท่าเทียม ซึ่งเงื่อนไขนี้มีการแจ้งต่อผู้ใช้บริการแล้ว

อย่างไรก็ดี การให้บริการ 3G ในปัจจุบันพบว่าแพ็คเกจที่ให้บริการมักมีคำว่า Unlimited หรือไม่จำกัด พ่วงท้าย ทำให้ผู้ใช้บริการเข้าใจว่าสามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ไม่จำกัด ทั้งที่ในอเท็จจริงกลับมีเงื่อนไขของบริการ กล่าวคือ สามารถใช้อินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงสุดได้ในปริมาณข้อมูลที่จำกัดไว้ในแต่ละแพ็คเกจ เช่น 2GB หรือ 5GB หลังจากนั้นความเร็วของการส่งผ่านข้อมูลของอินเทอร์เน็ตจะลดลงในระดับ EDGE คือ 384 kbps หรือ 64 Kbps เป็นต้น

ดร.เดือนเด่น กล่าวอีกว่า จากการศึกษาพบว่า นโยบาย FUP นั้นมีใช้กันในทุกประเทศที่ให้บริการ 3G หรือ ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาที่ผู้ใช้บริการกลุ่มหนึ่งจะใช้ข้อมูลจำนวนมาก เช่น การดาวน์โหลดวีดีโอทั้งวัน การแชร์ข้อมูลตลอดเวลา จนทำให้ผู้ใช้บริการรายอื่นไม่สามารถใช้บริการได้ แต่ในต่างประเทศนั้นมีการกำหนดนโยบาย FUB ในรูปแบบที่หลากหลายและไม่แก้ปัญหาด้วยวิธีการให้ผู้ใช้บริการทุกคนออกจาก 3G ไปเป็น EDGE โดยรูปแบบ FUB ที่ใช้ในต่างประเทศมีดังนี้

1. หากผู้ใช้บริการใช้ปริมาณข้อมูลจนครบกำหนด เช่น 10GB แต่ก็ยังสามารถใช้บริการ 3G ได้ในบริการ อินเทอร์เน็ต บราวเซอร์ แต่จะห้ามใช้ในกิจกรรมที่ใช้ข้อมูลจำนวนมาก เช่น VDO Streaming, peer to peer sharing เป็นต้น

2. มีการกำหนดระยะเวลาสำหรับผู้บริโภคที่ใช้บริการประเภท high data ในช่วง peak time เช่น ช่วงเวลา 18.00-20.00 น. เป็นช่วงเวลาที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมากห้ามใช้บริการประเภท high data

สำหรับแนวทางแก้ปัญหาที่ต่างประเทศใช้กันนั้น ดร.เดือนเด่น กล่าวว่า หน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมในประเทศอังกฤษ คือ ออฟคอม ได้กำหนด Code of Conduct หรือหลักการปฏิบัติในการให้บริการ 3G ไว้ชัดเจนว่า 1.) ผู้ให้บริการต้องใช้ตัวอักษรในขนาดที่เท่ากันกับคำว่า “unlimited” ในการให้ข้อมูลกับผู้บริโภค ทั้งส่วนที่เป็นข้อกำหนดและเงื่อนไขการให้บริการ หมายถึงการไม่มี * และตามด้วยตัวอักษรขนาดเล็ก 2.) ในเนื้อหาของโฆษณา 3G จะต้องบอกเงื่อนไขรายละเอียดและข้อจำกัดของบริการ และห้ามไม่ให้ใช้คำว่า “ไม่จำกัด”หรือ Unlimited เพื่อผู้บริโภคจะได้แยกออกได้ระหว่าง แพ็คเกจบริการ ที่ไม่จำกัดจริงๆ กับแพ็คเกจที่ไม่จำกัดแต่มีเงื่อนไขที่จำกัดการใช้งาน 3.) การโฆษณาอัตราความเร็วสูงสุด เช่น 42 Mbps ต้องให้ข้อมูลด้วยว่า จำนวนผู้ใช้บริการที่สามารถดาวน์โหลดด้วยความเร็วดังกล่าวนั้นคิดเป็นร้อยละเท่าไหร่ของจำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมด 5.) ต้องแจ้ง Typical Speed Range (TSR) หรืออัตราความเร็วมาตรฐานกลางที่คนส่วนมากจะสามารถดาวน์โหลดได้สูงสุดไว้ในโฆษณา 6.) ในกรณีที่มีการตัดผู้ใช้บริการออกจากระบบ 3G หรือ4G ต้องบอกด้วยว่า TSR ที่ผู้ใช้บริการจะใช้ได้คือเท่าใด

“ในประเทศไทยเราคงต้องมาคิดกันว่า การให้บริการ 3G ควรที่จะใช้คำว่า Unlimited อีกหรือไม่ ทั้งที่ความเร็วมีจำกัด แต่แพ็คเกจใช้ Unlimited แล้วมีเงื่อนไขที่ตัวเล็กมาก ประการที่สองการแจ้งรายละเอียดเงื่อนไขบางประการ ผู้ให้บริการไม่ได้แจ้งเมื่อโฆษณา เช่น อัตราความเร็วสูงสุด 42 Mbps ที่ผู้ใช้บริการจะได้รับ ก็ควรแจ้งไปด้วยว่า จะได้ใช้จริงตอนตี3 และบ้านต้องอยู่ใกล้เสาไม่เกิน 500 เมตร ก็ต้องบอกผู้บริโภค“ ดร.เดือนเด่นกล่าว

View :1857
Categories: 3G, Telecom Tags:

ทีดีอาร์ไอชี้ ผลการประมูลล้มเหลวตามคาด ทำรัฐและประชาชนเสียหาย 1.6 หมื่นล้านบาท เรียกร้อง กสทช. แสดงความรับผิดชอบต่อประชาชน

October 17th, 2012 No comments

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

ผลการประมูลคลื่น เป็นไปตามที่คาดหมายของผม คือ ได้ราคาเพิ่มขึ้นจากราคาตั้งต้นเพียงเล็กน้อยคือประมาณร้อยละ 2.8 เท่านั้น คือ เพิ่มจากราคาตั้งต้นโดยรวม 9 ใบ ที่ 40,500 ล้านบาท เป็นเพียง 41,650 ล้านบาทเท่านั้น โดยมีคลื่น 6 ชุดที่มีราคาประมูลเท่ากับราคาตั้งต้น

การประมูลครั้งนี้แม้จะทำให้ประชาชนมีบริการ 3G ใช้กันอย่างเต็มรูปแบบในปีหน้า แต่ก็ทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชนในฐานผู้เสียภาษี เมื่อเทียบจากราคาประเมินถึง 16,335 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการทั้งสามรายได้ประโยชน์จากส่วนต่างนี้ไปเป็นเสมือน “ลาภลอย” ทั้งนี้ยังไม่รวมประโยชน์ที่ได้จากการลดค่าสัมปทานที่ต้องจ่ายให้รัฐอีกปีละกว่า 4 หมื่นล้านบาท ที่สำคัญการที่แต่ละรายได้คลื่น 3G มูลค่าถูกแสนถูกต่ำกว่าปีละ 1 พันล้านบาทต่อปี จะไม่มีผลต่ออัตราค่าบริการ 3G ที่ประชาชนต้องจ่ายแต่อย่างใด นอกจากจะเพิ่มกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้ประกอบการ ดังจะเห็นได้จากราคาหุ้นของผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้น

ผลการประมูลครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นว่า ข้อมูลที่ พยายามโฆษณาให้ประชาชนเชื่อมาโดยตลอดว่าจะมีการแข่งขันมาก เนื่องจากคลื่นความถี่แต่ละชุดมีความแตกต่างกันมาก เสมือนเป็นที่ดินทำเลดีติดทะเลกับที่ดินแออัดติดถนนใหญ่ไม่เป็นความจริง และตอกย้ำความเชื่อของสาธารณชนในวงกว้างที่ว่า การประมูลครั้งนี้มีลักษณะเอื้อต่อการสมคบกันของผู้ประกอบการ

นอกจากนี้ ผลการประมูลยังชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรงของการออกแบบการประมูล 2 ประการคือ หนึ่ง การจำกัดคลื่นความถี่ที่ผู้ประกอบการแต่ละรายจะสามารถถือครองได้ให้เท่ากัน ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันอย่างที่ควรจะเป็น สอง การกำหนดราคาประมูลขั้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ทำให้เกิดความเสียหายมาก เมื่อไม่มีการแข่งขันกันเท่าที่ควร ทั้งนี้ หาก กสทช. ได้รับฟังข้อทักท้วงของฝ่ายต่างๆ ก็จะไม่เกิดข้อผิดพลาดดังกล่าวขึ้น

ผมจึงขอเรียกร้องให้ กสทช. รับผิดชอบต่อความเสียหายต่อรัฐและประชาชนที่เกิดขึ้น โดยให้แถลงต่อประชาชนว่า จะมีการรับผิดชอบอย่างไร และขอเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบ

นอกจากนี้ ในการประมูลคลื่นความถี่ และคลื่นความถี่อื่นๆ ที่จะมีขึ้นต่อไป ก็ขอให้ระวังอย่าได้ใช้แนวทางเดียวกันมาดำเนินการอีก

View :1418
Categories: 3G, Article Tags:

ทีดีอาร์ไอชี้ การประมูล 3G ควรเดินหน้า แต่ถาม กสทช. ว่าจะรับผิดชอบอย่างไร หากการประมูลทำให้ประชาชนเสียประโยชน์เป็นหมื่นล้าน

October 8th, 2012 No comments

ต่อการที่มีผู้ฟ้องร้องศาลปกครองสั่งให้ ระงับการประมูล นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย () มีความเห็นดังนี้

“ผมเห็นว่า ไม่น่าจะมีเหตุผลที่เพียงพอในการฟ้องร้องให้ระงับการประมูล 3G ออกไปอีก เพราะประเด็นต่างๆ ที่มีการหยิบยกขึ้นมา สามารถใช้เครื่องมือในการกำกับดูแลต่างๆ ของ กสทช. ที่มีอยู่ เช่น การกำกับดูแลค่าบริการ และการกำหนดมาตรฐานคุณภาพบริการ ในการคุ้มครองผู้บริโภคได้อยู่แล้ว นอกจากนี้ การชะลอการประมูล 3G ออกไปจะทำให้ประเทศไทยมีบริการ 3G ใช้ล่าช้ากว่าประเทศอื่นต่อไปอีก”

“จริงอยู่ การกำหนดหลักเกณฑ์ ของ กสทช. ครั้งนี้ เป็นการเอื้อให้ผู้ให้บริการทั้งสามราย สามารถเสนอราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เพราะเงื่อนไขของการประมูลแทบจะไม่ทำให้เกิดการแข่งขันเลย เหมือนจัดคน 3 คนมาเล่นเก้าอี้ดนตรี 3 ตัว ทั้งนี้ หากผลการประมูลได้ราคาใกล้เคียงกับราคาประมูลตั้งต้น รัฐและประชาชนในฐานะผู้เสียภาษี ก็จะเสียหายประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท เมื่อคิดจากราคาประเมินของ กสทช. เอง ส่วนประชาชนในฐานะผู้บริโภคนั้นไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากราคาค่าประมูลอยู่แล้ว เพราะค่าประมูลเป็นส่วนที่ไปหักมาจากกำไรของผู้ประกอบการ ต่อให้ผู้ประกอบการได้คลื่นความถี่ไปฟรี ก็ยังจะคิดค่าบริการจากผู้บริโภคในอัตราที่ทำกำไรสูงสุดนั่นเอง”

“วิธีเดียวที่จะทำให้การประมูลได้ราคาสูงกว่าที่เป็นอยู่ก็คือ กสทช. ต้องไปอ้อนวอนขอร้องผู้เข้าประมูลให้ประมูลสูงขึ้นบ้าง เพื่อไม่ให้ผลการประมูลออกมาน่าเกลียด จนประจานตัวเองมากเกินไป”

“เป็นเรื่องแปลกมาก ที่ผู้ประกอบการต่างพูดว่าพร้อมจะจ่ายค่าประมูลคลื่นความถี่สูงกว่า ที่กสทช. กำหนด เช่น มีรายหนึ่งบอกว่าพร้อมจะจ่าย 1.5 – 2.0 หมื่นล้านบาท แต่ กสทช. กลับไม่ต้องการให้มีการแข่งขันในการประมูล ดูเหมือนจงใจเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการ”

“โดยสรุป ผมเห็นว่า การประมูลควรจะเดินหน้าต่อไป แต่ผมขอถามว่า กสทช. จะรับผิดชอบอย่างไร หากผลการประมูลออกมาอย่างที่คาด คือทำให้รัฐเสียประโยชน์เป็นหมื่นล้านบาท?”

View :1320