Archive

Archive for the ‘Internet’ Category

การต่อสู้กับสงครามไซเบอร์ด้วย การวิเคราะห์ทางไซเบอร์

July 5th, 2011 No comments

บทความ โดย บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด

แม้ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหลายรายจะยืนกรานว่า ขณะนี้สหรัฐฯ ได้เข้าร่วมในสงครามไซเบอร์แล้ว แต่ดูเหมือนว่าพวกเขาจะยังเข้าไม่ถึงจุดที่ผู้โจมตีกำลังจัดการกับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ( 85% เป็นของภาคเอกชน) โดยการทำให้ระบบติดต่อสื่อสารต้องหยุดชะงัก หรือการปิดระบบของหน่วยงานต่างๆ ในขณะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจากประเทศอื่นๆ เองนั้นต่างก็บอกว่าประเทศของตนอาจเข้าร่วมในสงครามไซเบอร์แล้วเช่นกัน แม้ว่าจะมีขอบเขตที่เล็กกว่าก็ตาม

แนวโน้มดังกล่าวแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น จำนวนเหตุการณ์ที่หน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้รายงานต่อทีมงานการเตรียมความพร้อมฉุกเฉินด้านคอมพิวเตอร์แห่งสหรัฐอเมริกา ( United States Computer Emergency Readiness Team: US-CERT) ซึ่งเพิ่มจำนวนจาก 5,503  เหตุการณ์ในปี 2549 เป็น 16,843  เหตุการณ์ในปี 2551 ซึ่งสามารถคิดเป็นสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นถึง 206% อย่างไรก็ตาม จำนวนเหตุการณ์ดังกล่าวอาจน้อยกว่าความเป็นจริง เนื่องจากรายงานดังกล่าวครอบคลุมเฉพาะเหตุการณ์ที่ตรวจพบเท่านั้น จะเห็นได้ว่าในโลกที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและออนไลน์อยู่ตลอดเวลา คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ ถ้าไม่มีการป้องกันเมื่อมีการตรวจ จะสามารถติดเชื้อมัลแวร์ได้ในเวลาไม่กี่นาที

กองกำลังนับล้าน

ประเภทของภัยคุกคามและการโจมตีนั้น มีจำนวนมากและกำลังขยายตัวอย่างมหาศาล อีกทั้งยังมีความซับซ้อน และมีความคล่องตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก ภัยคุกคามและการโจมตีดังกล่าวมาจากต่างชาติ แก๊งค์อาชญากร แฮคเกอร์ กลุ่มนักเจาะระบบนิรนาม บุคคลวงในที่ประสงค์ร้าย และบรรดาผู้ก่อการร้ายต่างๆ ซึ่งการโจมตีที่ร้ายแรง มีความซับซ้อน และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นส่วนใหญ่จะมาจากรัฐบาลต่างชาติและกลุ่มอาชญากรที่มีการจัดระเบียบมาเป็นอย่างดี โดยในบางครั้งอาจร่วมมือกันด้วยการใช้    แฮคเกอร์และวิศวกรนับแสนรายที่ได้รับแรงจูงใจสูง ตลอดจนผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี และพร้อมโจมตีทั้งในทางตรงและทางอ้อม แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะไม่ใช่ประเทศเดียวที่ตกอยู่ในภาวะสูญเสียทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลเฉพาะที่มีความสำคัญเป็นจำนวนมากถึงระดับเทราไบต์ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นประเทศที่ตกเป็นเป้าหมายใหญ่ที่สุด

สำหรับภัยคุกคามและการโจมตีต่างๆ นั้น ประกอบด้วยการโจมตีเพื่อให้ระบบหยุดการให้บริการ ( denial of service), การโจมตีแบบกระจายเพื่อให้ระบบหยุดการให้บริการ ( distributed denial of service), การใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ , ระเบิดตรรกะ , ตัวสอดแนมข้อมูล , ม้าโทรจัน , ไวรัส , หนอน ,    สปายแวร์ , การเจาะระบบโทรศัพท์ (war-dialing), การเจาะระบบไร้สาย ( war-driving) , สแปม , ฟิชชิง , การหลอกลวง , ฟาร์มมิงและบ็อตเน็ต ซึ่งมักจะมาในลักษณะที่ผสมผสานชนิดต่างๆ เข้าด้วยกัน ทั้งนี้ แพนด้าแล็บส์ คาดการณ์ว่า 99.6%  ของอีเมลทั้งหมดที่ส่งตรงถึงกล่องจดหมายของรัฐบาลสหรัฐฯ นั้นเป็นข้อความสแปมหรือข้อความที่เป็นอันตราย โดยมีเพียง 0.4%  เท่านั้นที่ถูกต้องปลอดภัย

ตัวเลขสำคัญในสงครามไซเบอร์

206 :   เปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นของเหตุการณ์ที่ ตรวจพบ โดยหน่วยงานกลางของรัฐบาลสหรัฐฯ

(ปี พ.ศ. 2549-2551 )

8 :     จำนวนเดือนที่ซอฟต์แวร์อันตรายทำงานอยู่ภายในคอมพิวเตอร์ของภาครัฐโดยที่ไม่มีการตรวจพบ

99.6 :  เปอร์เซ็นต์ของอีเมลทั้งหมดที่ส่งถึงรัฐบาลที่เป็นสแปมหรือเป็นอันตราย

0.4 :    เปอร์เซ็นต์ของอีเมลที่ถูกต้องปลอดภัยอย่างแท้จริง

กังวลหนักกว่าเดิม

เจ้าหน้าที่ที่ป้องกันโลกไซเบอร์มีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับการโจมตีต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะจากบุคคลวงในที่มีเป้าหมายในการขโมย แก้ไข หรือทำลายข้อมูล จากสถานการณ์ล่าสุดพบว่าการโจมตีขั้นสูงอันเป็นภัยคุกคามที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นได้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นถึงในระดับที่น่ากังวลเป็นอย่างมาก การโจมตีเหล่านี้จะแทรกซึมเข้าสู่องค์กรและแอบใส่โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ขโมยหรือแก้ไขข้อมูลลงในระบบซ้ำแล้วซ้ำเล่า และโดยทั่วไปแล้วซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะแฝงตัวอยู่ในระบบเป็นระยะเวลายาวนานถึงแปดเดือนก่อนที่จะถูกตรวจพบ ซึ่งนั่นทำให้ผู้ดูแลจัดการด้านไอทีของรัฐบาลไม่เป็นอันได้พักผ่อน เนื่องจากข้อมูลที่พวกเขาต้องให้การคุ้มครองนั้นกำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้นที่ระดับเทราไบต์ในแต่ละเดือน พวกเขากำลังถูกถาโถมด้วยข้อมูลที่ไม่มีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันในจำนวนมหาศาลซึ่งได้มาจากระบบรักษาความปลอดภัยทั้งหมดที่มีอยู่ในครอบครอง นอกจากนี้ ระบบดังกล่าวนั้นก็ยังมีความหลากหลายและแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยจะเห็นได้ว่าโครงสร้างพื้นฐานไอทีของระบบที่มีอยู่นั้นไม่สามารถช่วยให้ผู้ดูแลได้รับมุมมองที่ครอบคลุมในการรับรู้สถานการณ์ของโลกไซเบอร์ได้เลย

ภัยคุกคามซับซ้อนกว่าเดิม

เจ้าหน้าที่คุ้มครองโลกไซเบอร์ต้องทำงานอย่างหนักและตกอยู่ในภาวะเครียดอย่างมาก  อันเป็นผลมาจากที่พวกเขาต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการอุดช่องโหว่ รับมือกับอันตรายที่เข้ามา และซ่อมแซมแก้ไขระบบเครือข่าย พวกเขาต้องตกอยู่ในสภาพของผู้ไล่ตามอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ในขณะที่เหล่าผู้โจมตีต่างพัฒนาเทคนิคที่มีความซับซ้อนมากขึ้นและสามารถโต้กลับการแก้ไขที่มีต่อระบบความปลอดภัยได้อย่างรวดเร็วด้วยการสร้างภัยคุกคามใหม่ๆ ออกมาและมีความซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานภาครัฐบางแห่งได้จัดตั้งศูนย์ดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับโลกไซเบอร์ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ดีเยี่ยมในการติดตามตรวจสอบเครือข่าย แต่พวกเขากลับไม่ได้จัดเตรียมเครื่องมือให้ผู้ปฏิบัติงานและนักวิเคราะห์สามารถทำความเข้าใจถึงสิ่งที่ผลักดันให้เกิดการโจมตี การบุกรุก และความผิดปกติต่างๆ นั่นคือไม่ได้บอกความหมายของสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด และสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย แม้ว่าแดชบอร์ด ข้อมูลด้านการรักษาความปลอดภัย และระบบการจัดการเหตุการณ์จะเป็นสิ่งที่ดีเยี่ยมสำหรับการจัดทำรายงานเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นและสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้ถูกนำมาใช้มากนักในการตรวจหาและวิเคราะห์รูปแบบ ทำนายการโจมตีในอนาคต แจ้งเตือนและส่งคำเตือน หรือสร้างสถานการณ์จำลองแบบ  What-if

นายซัลไม อัซมี อดีตประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ (ซีไอโอ) จากสำนักงานสืบสวนกลาง สหรัฐฯ กล่าวว่าด้วยสภาพแวดล้อมของโลกไซเบอร์ในปัจจุบัน หน่วยงานภาครัฐทั่วโลกจะต้องยอมรับความจริงที่ว่าพวกเขาได้เข้าร่วมในการทำสงครามไซเบอร์แล้ว และในสภาพแวดล้อมดังกล่าว อัซมี บอกด้วยว่านักวิเคราะห์ด้านไซเบอร์จะต้องใช้เครื่องมือและกระบวนการที่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูล เพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้สถานการณ์ได้ดีขึ้น ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาด้านการขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับงานด้านการรักษาความปลอดภัยระบบไอที

อาวุธสำคัญ: การวิเคราะห์ทางไซเบอร์

การวิเคราะห์สามารถจัดเตรียมเครื่องมือและกระบวนการจำนวนมากได้ผ่านทางการวิเคราะห์ทางสถิติและการสร้างแบบจำลอง ซึ่งการวิเคราะห์ส่วนใหญ่สามารถปรับใช้กับการตรวจจับการฉ้อโกง การจัดการด้านการเงิน หรือทรัพยากรบุคคลได้

การวิเคราะห์ทางไซเบอร์จะช่วยรัฐบาลเพิ่มขีดความสามารถที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถรับรู้สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของระบบ เครือข่าย และองค์กรของตนได้ ด้วยการติดตามตรวจสอบเหตุการณ์ต่างๆ เปิดเผยช่องโหว่ ภัยคุกคามและรูปแบบที่เกิดขึ้น การผสานรวมข้อมูลที่แตกต่างกันให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อค้นหารูปแบบและแนวโน้มที่เกิดขึ้น และการทำนายการโจมตีและภัยคุกคามอนาคตเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ สามารถดำเนินมาตรการเชิงรุกสำหรับการปกป้องข้อมูลและเครือข่ายของตน

การวิเคราะห์ทางไซเบอร์สามารถช่วยหน่วยงานภาครัฐแก้ปัญหาสำคัญสูงสุดสองประการได้ นั่นคือ การประสานความร่วมมือด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับโลกไซเบอร์และการสร้างระบบการวัดที่สามารถใช้งานได้จริงเพื่อวัดประสิทธิภาพของความพยายามในการรักษาความปลอดภัยดังกล่าว

การวิเคราะห์ทางไซเบอร์สามารถดำเนินการโดย

ให้การติดตามตรวจสอบเกือบเรียลไทม์ที่สามารถสร้างการแจ้งเตือนการโจมตี ได้โดยอัตโนมัติในขณะที่ลดจำนวนผลบวกที่เป็นเท็จให้เหลือน้อยลง

รวม เชื่อมโยงความสัมพันธ์ และผสานข้อมูลจากอุปกรณ์ติดตามตรวจสอบเครือข่ายทั้งหมดและแหล่งอื่นๆ เพื่อให้การดูแลเครือข่ายและการรับรู้สถานการณ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ตรวจหาและให้คะแนนระดับความร้ายแรงของการโจมตีที่อาจจะเกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดขึ้นจริงเพื่อที่จะได้ให้การสนับสนุนป้องกันและเข้าแทรกแซงภัยคุกคามได้อย่างทันท่วงที

ให้ความสามารถในการรับรู้ความผิดปกติล่วงหน้าที่เกิดขึ้นภายในระบบการจราจรของเครือข่าย ตลอดจนเปิดเผยความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่และรูปแบบของลักษณะการทำงานที่ช่วยระบุการโจมตีซึ่งแฝงตัวอยู่ในระบบเป็นระยะเวลายาวนานได้

การวิเคราะห์จะให้มุมมองที่ครอบคลุมในการเดินหมากทั้งขาวและดำได้ทั้งกระดาน มุมมองที่ครอบคลุมนี้ช่วยให้องค์กรภาครัฐสามารถปรับปรุงการทำงานร่วมกันในด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับโลกไซเบอร์ให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังสร้างระบบการวัดที่ให้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้นสำหรับความพยายามดังกล่าว และสุดท้าย การวิเคราะห์จะช่วยให้รัฐบาลและองค์กรต่างๆ สามารถเข้าใจ ใช้ และปกป้องข้อมูลของตนได้ดีขึ้นไม่ว่าจะมีปริมาณ เงื่อนไข สถานะ หรืออยู่ในตำแหน่งที่ตั้งใดก็ตาม

บรรเทาความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

เจ้าหน้าที่ที่ป้องกันโลกไซเบอร์ของรัฐไม่ต้องปฏิบัติตามกระบวนทัศน์ที่ล้าสมัยในการป้องกันและแก้ไข การอุดช่องโหว่และกำจัดภัยอันตรายต่างๆ อีกต่อไป พวกเขาสามารถใช้มุมมองกลยุทธ์เชิงรุกแทนการเฝ้าจับตาดูโลกไซเบอร์และทำการโต้ตอบกับภัยคุกคามและการโจมตีที่เกิดขึ้นในรูปแบบเดิม จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันภัยคุกคามและการโจมตีกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีความซับซ้อนมากขึ้น ที่สำคัญฝ่ายตรงข้ามมีความฉลาด ไหวพริบ และมีความคล่องตัวสูง ดังนั้นให้ลืมสคริปต์แบบง่ายๆ และแฮคเกอร์ที่ซ่อนตัวอยู่ในห้องใต้ดินไปได้เลย เพราะบ่อยครั้งที่ผู้โจมตีมักจะเป็นรัฐบาลต่างชาติ และ/หรือองค์กรอาชญากรข้ามชาติ

การใช้การวิเคราะห์เพื่อให้การรักษาความปลอดภัยสำหรับโลกไซเบอร์นั้น จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถคิดตรึกตรองและปฏิบัติการกลยุทธ์เชิงรุกเพื่อบรรเทาความเสี่ยงด้านความปลอดภัย และป้องกันข้อมูล ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของตนให้ปลอดภัยได้ เมื่อใช้การวิเคราะห์ ผู้จัดการด้านรักษาความปลอดภัยระบบไอทีจะกลายเป็นเป็นนักกลยุทธ์ที่สามารถกำหนดมาตรการสามหรือสี่อย่างล่วงหน้าเพื่อรับมือและจู่โจมภัยคุกคามที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ กล่าวคือ เป็นการพลิกบทบาทจากการเดินตามเกมไปเป็นการรุกฆาตแทนนั่นเอง
เขียนโดย นายมาร์ค คาแกน เป็นที่ปรึกษา นักเขียน และนักวิเคราะห์ด้านกิจการต่างประเทศและการป้องกัน การรักษาความปลอดภัย และข่าวกรองในกรุงวอชิงตันดีซีเป็นระยะเวลายาวนาน โดยเขาเริ่มต้นสายอาชีพที่ต้องอาศัยความชำนาญการแขนงนี้จากการเป็นนักวิเคราะห์ด้านข่าวกรองกลาโหม ของสหรัฐอเมริกา

View :1566

CAT ลุย บรอดแบนด์ เข้าถึงลูกค้าครัวเรือน หวังสิ้นปียอดผู้ใช้เพิ่ม 40%

June 23rd, 2011 No comments

เดินหน้าวาระบรอดแบนด์แห่งชาติ หวังเข้าถึงผู้ใช้ครัวเรือน ชูจุดแข็งระบบสัญญาณเสถียรกว่า มีผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าเลือกหลากหลาย หลังขยายช่องสัญญาณแบนด์วิดท์รองรับผู้ใช้เพิ่ม   เชื่อเข้าถึงผู้ใช้ครัวเรือนอีก 40% เป้าสิ้นปีโตอีก 8,000 ล้านบาท

นายสมพล จันทร์ประเสริฐ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา CAT ได้ใช้งบประมาณในการลงทุนเพื่อปรับปรุงโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์ไปราว 3,000 ล้านบาท เพื่อรองรับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น โดย CAT ได้ตั้งเป้าขยายพื้นที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายภายใต้แบรนด์ CAT WiFi ให้ได้ 2 หมื่นจุดในเขตพื้นที่ กทม.และปริมณฑล และตั้งเป้าว่าภายใน 3 ปี จะสามารถขยายพื้นที่ให้บริการเป็น 8 หมื่นจุดทั่วประเทศเพื่อตอบสนองนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติของรัฐบาลที่ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 80% ภายใน 5 ปี

ที่ผ่านมา CAT มีรายได้จากกลุ่มบรอดแบนด์ 4 กลุ่มธุรกิจคือ กลุ่มบริการวงจรสื่อสารข้อมูล มีรายได้ 5,560 ล้านบาท กลุ่มบริการอินเทอร์เน็ต 1,220 ล้านบาท กลุ่มบริการธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์มีรายได้ 111 ล้านบาท และกลุ่มบริการระบบรักษาความปลอดภัยระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ 189 ล้านบาท ซึ่งมีลูกค้าทั้งหมด 20,000 หมื่นราย แบ่งเป็นกลุ่มลูกค้าองค์กร 5,000 ราย และลูกค้าทั่วไปอีก 15,000 ราย

“ ปัจจุบันผู้ให้บริการบรอดแบนด์นั้นจะเน้นกลยุทธ์การตลาดด้านโปรโมชั่นราคา แต่สำหรับ CAT แล้วจะเน้นคุณภาพบริการ ระบบสัญญาณที่มีความเสถียรภาพกว่า ตลอดจนสามารถให้บริการครอบคลุมกลุ่มลูกค้าได้ทั่วถึง และยังนำเสนอรูปแบบบริการในราคาที่ลูกค้าพอใจจึงเชื่อว่าจะสามารถขยายกลุ่มลูกค้าได้เพิ่มขึ้น ” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าว

ธุรกิจบรอดแบนด์เป็นกลุ่มที่สร้างรายได้สูงสุดเป็นอันดับหนึ่งของ CAT คือ 7,000 ล้านบาท ที่ โดย CAT มีลูกค้า 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มลูกค้าองค์กร เช่น หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา   สถาบันการเงิน อุตสาหกรรมการผลิต เป็นต้น และกลุ่มลูกค้ารายย่อยที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยทั่วประเทศ

สำหรับเป้าหมายในการให้บริการบรอดแบนด์ของ CAT ในครั้งนี้ จะขยายกลุ่มไปยังลูกค้ารายย่อยครัวเรือนที่ได้มีการขยายฐานบริการที่ดำเนินการแล้วใน 6 เขต คือ เชียงใหม่ นครสวรรค์ ขอนแก่น ราชบุรี พัทยา และหาดใหญ่   โดยคาดว่ากลยุทธ์ที่เน้นในด้านคุณภาพบริการจะสามารถทำให้ CAT มีรายได้เพิ่มขึ้นอีก 20% หรือกว่า 8,000 ล้านบาท และมีผู้ใช้บริการกลุ่มครัวเรือนหันมาใช้บริการบรอดแบนด์เพิ่มขึ้นอีก 40%

View :1514

ดีแทคเปิดแพ็กเกจดาต้าโรมมิ่งไปสหรัฐอเมริกาเป็นรายแรก พร้อมขยายโปรโมชั่นครอบคลุม 40 ประเทศ เพียง 299 บาทต่อวัน

June 20th, 2011 No comments

ดีแทคเดินหน้าเปิดการแข่งขันในตลาดดาต้าโรมมิ่งอีกครั้ง เปิดตัวแพ็กเกจดาต้าโรมมิ่ง 299 บาทต่อวันไปสหรัฐอเมริกาเป็นรายแรกพร้อมขยายแพ็กเกจให้ลูกค้าใช้งานดาต้าได้ครอบคลุมไกลถึง 40 ประเทศ ทำให้ในปัจจุบันลูกค้าสามารถนำสมาร์ทโฟนใช้งานดาต้าได้ราคาประหยัดในทุกทวีป อเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย เอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง แพ็กเกจดาต้าโรมมิ่งของดีแทคได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าตั้งแต่เปิดตัวใน 30 ประเทศเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยกลยุทธ์ด้านราคาและปริมาณการใช้งานที่ให้ลูกค้าใช้ได้พอเพียงจากการศึกษาการใช้งานของผู้ที่นำสมาร์ทโฟนไปต่างประเทศ โดยแพ็กเกจดาต้าโรมมิ่ง 299 บาทต่อวันให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้ 25 MB หรือคิดเป็นการใช้งานแชตได้ 10 ชั่วโมง อัพโหลดรูปลงเฟซบุ๊คได้ 50 ภาพ อัพเดทสถานะในเฟซบุ๊คได้ 100 ครั้ง และเช็คอีเมล์ได้ถึง 50 อีเมล์ต่อวัน นอกจากนี้ลูกค้า ยังสามารถเลือกสมัครแพ็กเกจที่มีความคุ้มค่าเมื่อใช้งานในช่วงระยะเวลายาวนานขึ้นด้วยแพ็กเกจ 899 บาทนาน 3 วัน และแพ็กเกจ 1,999 บาทนาน 7 วัน พิเศษสำหรับลูกค้าที่ใช้งานโรมมิ่งในประเทศเกาหลี ออสเตรเลีย สวิสเซอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ยังสามารถเลือกใช้เครือข่ายโอเปอเรเตอร์ได้มากกว่าเดิม โดยลูกค้าสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www..co.th

View :1735

ทรูออนไลน์ เปิดตัว อัลตร้า ไฮสปีด อินเทอร์เน็ต เริ่มต้น 7 Mbps 599 บาท ทั่วประเทศ

June 18th, 2011 No comments

 

ทรูออนไลน์ พร้อมปรับเพิ่มความเร็วลูกค้า 6 Mbps ปัจจุบัน เป็น 7 Mbps ภายในเดือนตุลาคมนี้ ชู “อัลตร้า ไฮสปีด อินเทอร์เน็ต” พร้อมให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสองเทคโนโลยี     ทั้ง xDSL (ADSL2+ และ VDSL2 ) ผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐาน และ Docsis 3.0 ผ่านโครงข่ายเคเบิ้ล พร้อมประกาศเปิด “อัลตร้า ไฮสปีด อินเทอร์เน็ต 7 Mbps เพียง 599 บาท/เดือน ” ยกระดับมาตรฐานความเร็วใหม่เป็นรายแรกของไทย  ให้ท่องเน็ตแรงสุดขีด เป็นไปได้…ในราคาพิเศษสุด หรือเลือกความเร็ว 10-100 Mbps เริ่มต้นเพียง 699 บาทต่อเดือนสำหรับโครงข่ายเคเบิ้ล ตั้งแต่วันนี้ ถึงสิ้นเดือนกันยายน พร้อมแจ้งปรับเพิ่มความเร็วลูกค้าปัจจุบันของทรูออนไลน์จาก 6 Mbps เป็น 7 Mbps ภายในเดือนตุลาคมนี้

นายวิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์ กรรมการผู้จัดการ ทรูออนไลน์ และหัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มด้านปฏิบัติการโครงข่าย เทคโนโลยี บริษัท จำกัด (มหาชน)   เปิดเผยว่า ด้วยความโดดเด่นเรื่องประสิทธิภาพความแรงและความเร็วของทรูออนไลน์ ซึ่งเป็นรายแรกและรายเดียวในเมืองไทยที่สามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสุดถึง 100 Mbps   จึงประกาศใช้แบรนด์ “อัลตร้า ไฮสปีด อินเทอร์เน็ต” สำหรับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจากทรูออนไลน์ที่ให้บริการได้ทั้งสองเทคโนโลยีคือ xDSL (ADSL2+ และ VDSL2 )ผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐาน และ Docsis3.0 ผ่านโครงข่ายเคเบิ้ล พร้อมเปิดตัวโปรโมชั่นใหม่ “อัลตร้า ไฮสปีด อินเทอร์เน็ต  7 Mbps เพียง 599 บาท/เดือน ” ยกระดับมาตรฐานใหม่สำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของไทยอีกครั้ง ตอกย้ำภาพทรูออนไลน์ผู้นำตลาดบรอดแบนด์ ที่มุ่งมั่นสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความคุ้มค่าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ธุรกิจของทรูออนไลน์ในไตรมาสแรกเติบโตเป็นอย่างดี ทำให้ฐานของลูกค้าโดยรวมเพิ่มเป็น 1.2 ล้านราย โดยมีการเติบโตทั้งรายได้ และจำนวนผู้ใช้บริการ 15%  พร้อมตั้งเป้าที่จะเพิ่มลูกค้าใหม่อีก 2 แสนรายในสิ้นปีนี้

นายนนท์ อิงคุทานนท์ ผู้จัดการทั่วไป สายงานบริการบรอดแบนด์ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า การเปิดให้บริการ by ใหม่นี้ เริ่มต้นด้วย แพ็กเกจเน็ตแรงสุดขีด เป็นไปได้…ในราคาพิเศษสุด 7 Mbps เพียงเดือนละ 599 บาท ซึ่งสามารถให้บริการได้ทั้งสองเทคโนโลยี  หรือแพ็กเกจความเร็ว 10 – 100 Mbps เริ่มต้นเพียงเดือนละ 699 บาทสำหรับโครงข่ายเคเบิ้ล ซึ่งเป็นราคาสุดคุ้มที่ใครๆ ก็สามารถเข้าถึงได้ และสำหรับลูกค้าเดิมที่ใช้บริการความเร็ว 6 Mbps ทรูออนไลน์จะปรับเพิ่มความเร็วอัตโนมัติเป็น 7 Mbps ภายในเดือนตุลาคมนี้ เพื่อยกระดับมาตรฐานความเร็วให้นักท่องเน็ตทั่วประเทศ สนุกสุดขั้วกับชีวิตบนโลกออนไลน์แบบ    ไร้ขีดจำกัด เข้าถึงทุกเว็บไซต์ทั่วโลกได้รวดเร็ว ทั้งสาระ และความบันเทิงครบครัน สามารถดาวน์โหลด อัพโหลดข้อมูลทั้งคลิป รูปภาพ เพลง หนัง เกม ไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ และแชร์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ทั้งเฟซบุ๊ค        ทวิตเตอร์หรือแชทแบบเห็นหน้าพร้อมกันรวดเร็วฉับไว ทุกที่ ทุกเวลา รวมทั้งรับชมความบันเทิงแบบ Live Streaming         ในระบบไฮเดฟินิชั่น (HD) ได้คมชัดไม่มีสะดุด ซึ่งผู้สนใจสามารถสมัครใช้ แพ็กเกจเน็ตแรงสุดขีด เป็นไปได้…ในราคาพิเศษสุด ได้ตั้งแต่วันนี้ – 30 กันยายน 2554 ทั่วประเทศ โดยขณะนี้มีพื้นที่ให้บริการ ได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล เชียงใหม่ โคราช หาดใหญ่ ขอนแก่น ระยอง ภูเก็ต รวมไปถึงอีก 6 จังหวัด ที่จะทยอยเพิ่มขึ้นภายในไตรมาส3 นี้ ได้แก่ พัทยา-ชลบุรี อุบลราชธานี อุดรธานี สงขลา ลำปาง และนครสวรรค์

“ทรูออนไลน์ มั่นใจว่าแพ็กเกจเน็ตแรงสุดขีด เป็นไปได้…ในราคาพิเศษสุด ซึ่งเป็นแพ็กเกจเริ่มต้นสุดคุ้มของ Ultra hi-speed Internet by TrueOnline จะตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ได้ครบถ้วน ตรงใจ และจะยกระดับให้ผู้ใช้บริการทั่วประเทศ สามารถท่องเน็ตด้วยความเร็วสูงทัดเทียมกันในที่สุด” นายวิเชาวน์กล่าวสรุป

View :2148

ทรู ไอดีซี เปิดบริการ “True Cloud Protection by Double Take”

June 16th, 2011 No comments

บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด ผู้นำบริการดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์ คอมพิวติ้ง ผนึก บริษัท แซนฟินิตี้ จำกัด ผู้นำบริการด้านเทคโนโลยีระบบ Back Up และ Disaster Recovery เปิดบริการ “True Cloud Protection” by Double Take ขับเคลื่อนองค์กรยุคใหม่ด้วยบริการสำรองข้อมูลและกู้คืนระบบไอทีจากภัยคุกคามต่างๆ ( Back Up & Recovery) สร้างความมั่นใจและแต้มต่อในการแข่งขันให้กับลูกค้าองค์กรแม้ในภาวะวิกฤติ ชูจุดเด่นคิดค่าบริการตามการใช้งานจริง ( Pay Per Use) สามารถเลือกใช้บริการเป็นครั้ง รายวัน หรือรายเดือน ( On Demand) ไม่ต้องซื้อไลเซ่นส์แบบเหมารวม พิเศษ โปรโมชั่นสำหรับองค์กรธุรกิจที่สนใจ ทดลองใช้บริการบริการทรูคลาวด์ พร้อมระบบสำรองและกู้คืนข้อมูล นาน 20 วัน มูลค่า 6,000 บาท ฟรี สมัครทดลองใช้บริการได้ตั้งแต่วันนี้ – 30 ตุลาคม 2554

นายเจนวิทย์ คราประยูร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวว่า “ ทรู ไอดีซี เพิ่มทางเลือกใหม่ในการสำรองข้อมูลบนเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง ร่วมกับ บริษัท แซนฟินิตี้ จำกัด พัฒนาบริการ “True Cloud Protection by Double Take” ตอบสนองความต้องการขององค์กรธุรกิจในการจัดเก็บและสำรองข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบันองค์กรธุรกิจเล็งเห็นความสำคัญในการปกป้องข้อมูลจากไวรัส แฮกเกอร์ ภัยคุกคามต่างๆ บนระบบไอที รวมทั้งภัยธรรมชาติและภัยพิบัติต่างๆ เช่น สึนามิ แผ่นดินไหว เป็นต้น บริการสำรองข้อมูลและกู้คืนระบบสารสนเทศจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในเสถียรภาพและความปลอดภัยของข้อมูลสำคัญขององค์กร อีกทั้งยังสามารถเรียกใช้งานข้อมูลต่างๆ ได้จากทุกที่ทั่วโลกตลอดเวลาที่ต้องการ   องค์กรต่างๆ จึงสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและราบรื่นแม้ในภาวะวิกฤติ ”

นาย ชาน วี เม็ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซนฟินิตี้ จำกัด ผู้นำบริการด้านเทคโนโลยีระบบ Back Up และ Disaster Recovery กล่าวว่า “ บริษัท แซนฟินิตี้ รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกับทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ ให้บริการสำรองและกู้คืนข้อมูลบนคลาวด์ คอมพิวติ้ง   ซึ่ง Double Take เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ชั้นนำในประเทศสหรัฐอเมริกา มีความเชี่ยวชาญในระบบ High Availability และ Disaster Recovery มายาวนานกว่า 15 ปี ให้บริการรองรับระบบปฏิบัติการทุกแพลตฟอร์ม ทั้ง Windows, Linux, UNIX และเมนเฟรม โดดเด่นในการสำรอง ปกป้อง และกู้คืนข้อมูลบนคลาวด์ คอมพิวติ้ง มาตรฐานระดับโลก โดยความร่วมมือในครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่แซนฟินิตี้ คิดค่าบริการตามการใช้งานจริงเป็นครั้ง รายวัน และรายเดือน ทั้งนี้ แซนฟินิตี้ มั่นใจว่า บริการ “True Cloud Protection by Double Take” จะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับลูกค้าในการสำรองและกู้คืนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ มีเสถียรภาพ และสามารถกู้คืนข้อมูลให้กลับมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งช่วยประหยัดต้นทุนด้านไอทีขององค์กรด้วย ”

“ บริการ “True Cloud Protection by Double Take” ช่วยให้ลูกค้าสามารถสำรองและกู้คืนข้อมูลได้อย่างง่ายดายและสะดวกยิ่งขึ้น มีจุดเด่นในการคิดค่าบริการตามการใช้งานจริงแบบ On Demand สามารถเลือกใช้บริการเป็นครั้ง รายวัน หรือรายเดือน โดยลูกค้าไม่จำเป็นต้องเสียค่าไลเซ่นส์แบบเหมารวม จึงยืดหยุ่นและช่วยประหยัดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทรู ไอดีซี ออกแบบบริการ True Cloud Protection by Double Take สำหรับลูกค้าทรู คลาวด์ ที่ใช้บริการคลาวด์ เซิร์ฟเวอร์ และคลาวด์ สตอเรจ รวมทั้งลูกค้าที่ใช้บริการฝากเซิร์ฟเวอร์ ( Co-Location) หรือมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ขององค์กรเอง ให้สามารถสำรองข้อมูลไว้บนเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง   ตอบโจทย์การสำรองและกู้คืนข้อมูลขององค์กรได้อย่างสมบูรณ์และครอบคลุมครบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ต่างๆ พื้นที่เก็บข้อมูล และซอฟต์แวร์การจัดเก็บ พร้อมอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายคลาวด์ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยทรู ไอดีซี ร่วมกับ Power-All Networks พันธมิตรจากต่างประเทศที่เชี่ยวชาญเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง เชื่อมโยงโครงข่ายจากอินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ ของทรูไอดีซีไปยังหน่วยงานพันธมิตรที่กระจายอยู่ทั่วโลก ” นายเจนวิทย์ กล่าวเสริม

นอกจากนี้ ทรู ไอดีซี ยังร่วมกับ แซนฟินิตี้ จัดโปรโมชั่นพิเศษให้ลูกค้าองค์กรทดลองใช้บริการ “ ทรู คลาวด์ ” พร้อมระบบสำรองและกู้คืนข้อมูลฟรี 20 วัน มูลค่า 6 , 000 บาท สมัครทดลองใช้บริการได้แล้วตั้งแต่วันนี้ – 31 ตุลาคม 2554 ที่ cloud@trueidc.co.th หรือดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ http://www.trueidc.co.th/product_Cloud.htm

View :1526

ก.ไอซีที เดินหน้าผลักดันนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ สานฝันให้ประชาชนไทย 95 % ได้ใช้บรอดแบนด์ ใน 10 ปี

June 16th, 2011 No comments

นางจีราวรรณ   บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า ภายใต้กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ.2554 – 2563 ได้มีการกำหนดนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติขึ้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนและใช้เป็นกรอบในการดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาบริการบรอดแบนด์   โดยที่ภาครัฐมีบทบาทเป็นผู้กำหนดนโยบายและสนับสนุนให้มีการใช้บริการบรอดแบนด์อย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน รวมทั้งส่งเสริมให้ภาคเอกชนและประชาชนร่วมดำเนินการไปสู่ความสำเร็จ โดยการตั้งองค์กรอิสระตามกฎหมายทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม

“นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ เป็นนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนการพัฒนาบริการโทรคมนาคมพื้นฐานของประเทศให้สอดคล้องกับสถานการณ์ธุรกิจโทรคมนาคมในปัจจุบันและทิศทางในอนาคต ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศ จึงจำเป็นที่กระทรวงฯ จะต้องวางแผนดำเนินงานผลักดันนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ด้วยการจัดทำโครงการจัดทำแผนดำเนินงานเพื่อผลักดันนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อมูลและแนวทางพื้นฐานในการผลักดันนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติให้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งเพื่อจัดทำรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงาน” นางจีราวรรณ กล่าว

สำหรับการดำเนินโครงการฯ นี้ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Demand Side และ Supply Side ในด้าน Demand Side จะดำเนินการวิเคราะห์ว่าภาครัฐจะมีรูปแบบการใช้งานที่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างไร และต้องใช้เงินงบประมาณในการดำเนินการเท่าไร แล้วจัดทำเป็นแผนบูรณาการงบประมาณของกระทรวงต่างๆ ในการใช้โครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ และแผนการดำเนินงานในภาพกว้าง ( High-level) ของการใช้ประโยชน์โครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติโดยภาครัฐ   ส่วนด้าน Supply Side จะดำเนินการจัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะของรูปแบบธุรกิจ ( Business Model) ของหน่วยงานบรอดแบนด์แห่งชาติ ทั้งโครงสร้าง รูปแบบการดำเนินงาน แนวทางการลงทุน และจัดทำแผนแม่บทด้าน Supply Side ของโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติ ระยะเวลา 5 ปี ซึ่งจะมีทั้งแผนการขยายโครงข่ายในภาพกว้าง ( High-level) แผนการลงทุนและแผนการจัดหาเงินทุน เงินงบประมาณในการดำเนินโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติ ตลอดจนแผนการร่วมใช้สินทรัพย์โครงข่ายของประเทศไทย

“เป้าหมายสำคัญประการแรกของนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ   ก็คือ การพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ให้ครอบคลุมประชากรได้ไม่น้อยกว่า 80% ใน 5 ปี และ 95% ใน 10 ปี ซึ่งจะทำอย่างไรที่จะให้สามารถเข้าถึงครัวเรือนของประชาชนได้ตามแผนฯ รวมทั้ง         ทำอย่างไรให้สามารถที่จะเกิดบรอดแบนด์ราคาถูกบนเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุด หรือทำอย่างไรที่จะให้ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมไอซีทีได้เข้ามามีส่วนร่วมได้มากที่สุด ดังนั้น จึงต้องมีการจัดทำแผนดำเนินงานเพื่อผลักดันนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ทั้งในส่วนของ Demand side และ Supply side นี้ขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างรวดเร็ว สามารถบรรลุเป้าหมายหลักของนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ คือ ต้องการให้คนไทยเข้าถึงไอซีทีได้อย่างเท่าเทียม และทั่วถึงกัน ทั้งนี้ เพื่อนำความเจริญ รวมถึงลดความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงบรอดแบนด์ให้กับประชาชน” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1384

ทรูมูฟ เดินเกมรุก ย้ำภาพผู้นำโมบายล์ ไฮสปีด อินเทอร์เน็ต เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “ชีวิตขาดเน็ตไม่ได้”

June 15th, 2011 No comments

โชว์ความโดดเด่นกลุ่มทรูเจ้าของเครือข่ายไร้สาย   Wi – Fi by TrueMove ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
เร็วสูงสุด 8 Mbps ครอบคลุมกว่า 30,000 จุด สุดคุ้ม Wi – Fi 8 Mbps ใช้ได้ไม่จำกัด เพียง 100 บาท/เดือน

ทรูมูฟ ตอกย้ำผู้นำตลาดโมบายล์ ไฮสปีด อินเทอร์เน็ต เปิด ภาพยนตร์โฆษณาใหม่ 2 เรื่อง ดึง “ วู้ดดี้ ” เล่าประสบการณ์จริงคนรุ่นใหม่ สไตล์ชีวิตออนไลน์ไร้สายผ่านเครือข่ายทรูมูฟ   สัมผัสประสิทธิภาพที่เหนือกว่าของ Wi – Fi by TrueMove ความเร็วสูงสุด 8 Mbps   และฮอตสปอตคุณภาพบนโครงข่าย Wi – Fi ที่ใหญ่ที่สุดครอบคลุมกว่า 30,000 จุด และจะขยายเพิ่มมากกว่า 6 0 ,000 จุดในสิ้นปี    รวมทั้งความคุ้มค่าของดาต้าแพ็กเกจที่เลือกได้ตามไลฟ์สไตล์   ทั้ง แบบรายเดือน Smart Pack สำหรับผู้ใช้สมาร์ทโฟน 649 บาท หรือแพ็กเกจเสริมสุดคุ้มเฉพาะใช้งาน Wi – Fi 8 Mbps ไม่จำกัดเพียง 100 บาทต่อเดือน

นายสุภกิจ วรรธนะดิษฐ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการพาณิชย์ บริษัท ทรู มูฟ จำกัด กล่าวว่า เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำ ด้านโมบายล์ไฮสปีด อินเทอร์เน็ต รวมทั้งความโดดเด่นกลุ่มทรูด้านเครือข่ายคอนเวอร์เจนซ์ที่มีทั้ง 3 G */   Wi – Fi / EDGE / GPRS และเป็นเจ้าของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาย Wi-Fi ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จนทำให้ทรูมูฟเป็นผู้นำด้านสมาร์ทโฟนในเมืองไทย จึงนำเสนอไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ด้วยภาพยนตร์โฆษณาชุดล่าสุด ตอน “ ชีวิตขาดเน็ตไม่ได้ ” 2 เรื่อง ผ่านลูกค้าตัวจริง วู้ดดี้-วุฒิธร   มิลินทจินดา พิธีกรชื่อดัง ที่จะแบ่งปันประสบการณ์ประทับใจกับสไตล์ชีวิตออนไลน์ที่เหนือกว่าบน เครือข่ายไร้สายของทรูมูฟทั้ง 3 G* + Wi – Fi ซึ่งภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใช้สมาร์ทโฟน เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายทุกที่ ทุกเวลา ให้เลือกใช้บริการทรูมูฟ 3 G* + Wi – Fi    ที่ให้ความคุ้มค่าที่เหนือกว่าทุกด้าน   ทั้งประสิทธิภาพเครือข่าย Wi – Fi ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศด้วยความเร็วสูงสุดถึง 8 Mbps   พร้อมจุดบริการ Wi – Fi ฮอตสปอตคุณภาพที่ครอบคลุมมากที่สุดกว่า 30,000 จุด และจะขยายจุดฮอตสปอตดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นมากกว่า 6 0 ,000 จุดภายในสิ้นปี   เพื่อความสะดวกสบายในการเข้าถึงข้อมูลและการใช้งาน ทั้งในการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน รวมทั้งบริการหลังการขาย ที่ลูกค้าสามารถติดต่อได้ทั้งผ่าน ทรูมูฟแคร์ โทร 1331 และ ทรูออนไลน์แคร์ โทร 1686 ตลอด 24 ชั่วโมง ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อตอบสนองตรงใจลูกค้าแต่ละกลุ่ม ทรูมูฟยังมอบความคุ้มค่าด้วยดาต้าแพ็กเกจ ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายตามไลฟ์สไตล์การใช้งาน   ทั้งแพ็กเกจสำหรับผู้ต้องการใช้ WiFi โดยเฉพาะ WiFi 8 Mbps ใช้ได้ไม่จำกัด เพียง 100 บาทต่อเดือน สมัครใช้งานง่ายๆ เพียงกด *9000 หรือแพ็กเกจรายเดือนสำหรับผู้ใช้สมาร์ทโฟน Smart Pack 649 บาท Wi – Fi 8 Mbps / EDGE/ GPRS ไม่จำกัด โทรได้ 350 นาที SMS 300 ครั้ง MMS 50 ครั้ง รวมถึงทดลองใช้ 3 G* ได้ไม่จำกัดอีกด้วย

“ทรูมูฟ มั่นใจในคุณภาพความเร็วสูงสุด และความครอบคลุมทั่วถึงของ Wi – Fi by TrueMove กว่า 30,000 จุดที่จะช่วยเติมเต็มไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ให้ออนไลน์ไร้สายได้อย่างจุใจ โดยผู้ชมภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ จะได้เห็นว่าชีวิตขาดเน็ตไม่ได้จริงๆ” นายสุภกิจ กล่าวสรุป

ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Wi – Fi by TrueMove และแพ็กเกจ Wi – Fi สุดคุ้มหลากหลาย ได้ที่ ทรู   ช็อป ทุกสาขา, www.truemove.com , www..com หรือ ทรูมูฟแคร์ โทร 1331

*บริการ 3 G เป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงและพัฒนาโครงข่ายในบางพื้นที่เพื่อให้บริการของทรูมูฟดีขึ้น

View :1731
Categories: Internet Tags:

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมรุกคืบครั้งใหญ่ สร้างระบบห่วงโซ่อุปทานอิเล็กทรอนิกส์หวังเชื่อมระบบซื้อขายสินค้าอุตสาหกรรมผ่านโลกออนไลน์

June 15th, 2011 No comments

ปีแรกเน้นจับคู่ทางธุรกิจดึงโรงงานกับเอสเอ็มอีมาเจอกัน คาดลดต้นทุนสินค้าคงคลังได้อื้อ ประเดิมอุตฯรองเท้าและเครื่องนุ่งห่มนำร่อง

ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดี กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ของกสอ. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้สร้างระบบ e-supply chain หรือระบบห่วงโซ่อุปทานอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาต่อยอดจากระบบ e-market place หรือระบบการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีการพัฒนาการซื้อขายสินค้าอุตสาหกรรมระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ หรือ B2B ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

จุดมุ่งหมายหลักของระบบ e-supply chain ของกสอ.แตกต่างจากการสร้างระบบ e-market place เดิมที่มุ่งเน้นแต่การโชว์สินค้าเพื่อขาย หรือเป็นเพียงแค่แคตตาล็อคสินค้า แต่ในระบบใหม่จะมีการเพิ่มเติมแอพพลิเคชันและกลายเป็นเว็บไซต์สำหรับผู้ซื้อมากกว่าผู้ขาย และต้องการให้เกิดการทำ Business Matching หรือการจับคู่ทางธุรกิจ เพื่อเป็นห่วงโซ่ข้อแรก ทำให้โรงงานต่างๆ สามารถเข้าถึงการซื้อวัตถุดิบจาก SMEs ขนาดเล็กได้โดยตรง

ที่ผ่านมาเป้าหมายการซื้อขายผ่านระบบ B2B ในโครงการ ECIT มีการปรับเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด โดยในปีนี้อยู่ที่ 100 ล้านบาท และมีอุตสาหกรรมเข้าร่วมกว่า 4,000 ราย แม้ยอดการขายจะไม่มากเพราะต้องการเน้นให้ผู้ซื้อขายทำธุรกรรมผ่านระบบปกติ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือโครงการ ECIT มีฐานข้อมูลที่ผ่านระบบออนไลน์ขนาดใหญ่เกิดขึ้น เป็นฐานข้อมูลที่มีตัวตนจริง และผ่านการคัดกรอง รวมถึงมีการซื้อขายเกิดขึ้นจริงในช่วงที่ผ่านมา สร้างประโยชน์สำหรับการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมประเทศไทยในอนาคต นั่นคือการเกิดของระบบ e-Supply Chain

“ผู้ประกอบการทั้งโรงงานและธุรกิจ SMEs ที่เข้ามานำเสนอสินค้าวัตถุดิบผ่านระบบ e-supply chain ของกสอ. จะไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต้องเข้ามาสร้าง หน้าร้านให้ลูกค้าที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมทั้งหลายได้รู้จักผ่าน Template หรือเว็บไซต์แม่แบบของกสอ. ซึ่งจะมีระบบเชื่อมต่อกับเว็บไซต์ส่วนตัว เว็บไซต์สมาคม และเชื่อมผ่านระบบ Social network ยอดนิยมอีกด้วย เพียงแต่เข้ามาแก้ไขข้อมูลทั้งในส่วนของบริษัท สินค้า ราคา และคัดเลือกสินค้าจากผู้ผลิตที่ต้องการ ห่วงโซ่ข้อแรกของอุปทานก็จะเกิดขึ้นและจะเชื่อมโยงไปสู่โซ่ข้อต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด” ดร.พสุกล่าว

เป้าหมายของระบบ e-supply chain ในปีนี้จะเริ่มทดลองกับอุตสาหกรรมสองประเภทคือ อุตสาหกรรมรองเท้ากับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม โดยทำงานผ่านส่งเสริมอุตสาหกรรมรองเท้าไทย และสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย โดยมีสมาชิกของสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ( ATSME) ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายย่อยที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศเข้ามาเชื่อมต่อให้ครบทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งจะทำให้มีสมาชิกเข้าร่วมมากกว่า 5,000 ราย ซึ่งในปีแรกจะยังไม่มุ่งหวังเรื่องยอดขาย แต่มุ่งหวังให้เกิดการจับคู่ทางธุรกิจ และสร้างเครื่องมือทางโปรแกรมเพื่อทำให้ความต้องการของทั้งสองฝ่ายตรงกันก่อน

การเชื่อมโยงแบบนี้จะมีประโยชน์กับฐานข้อมูลใหญ่ของประเทศไทยอย่างมาก เนื่องจากหลายครั้งที่ข้อมูลของแต่ละส่วนไม่ตรงกันทำให้การกำหนดนโยบายทางภาคอุตสาหกรรมที่จะเข้าไปส่งเสริม หรือแก้ไขปัญหาทำได้ยาก รวมถึงการค้นหาข้อมูลเพื่อติดต่อค้าขายกับต่างประเทศก็ประสบปัญหาเช่นกัน แต่เมื่อมีการจัดระบบทั้งหมดก็จะทำให้เกิดรากฐานใหญ่ทั้งระบบต่อไป อีกทั้งในอนาคตยังนำระบบทั้งหมดเชื่อมโยงกับโปรแกรมบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กร หรือ Enterprise Resource Planning ( ERP ) ผ่านระบบ ที่ ECIT สนับสนุนให้ SME ดำเนินการก่อนหน้านั้นแล้ว ดังนั้นเพียงแค่นำฐานข้อมูลของระบบ e-Supply Chain มาปรับแต่งให้ตรงกับฐานข้อมูลของ SME ที่ใช้งานผ่าน ERP ก็จะทำให้ข้อมูลภายในของ SME เชื่อมโยงกับระบบ e-Supply Chain ในทันทีด้วยความถูกต้องแม่นยำ และเป็นระบบมากที่สุด

ศ.ดร ธีรวุฒิ บุณยโสภณ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เปิดเผยว่า ปัจจุบันทางม.พระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้ทำวิจัยระบบ e-supply chain ต่อยอดจากระบบ e-market place เพื่อรองรับกลุ่มผู้ประกอบการจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จนสามารถสร้างเป็นโซลูชันที่ช่วยเหลือทางด้านการซื้อขายในภาคอุตสาหกรรมอย่างมาก ตั้งแต่การเพิ่มระบบ E-Catalog to Bill of Materials (BOM) คือระบบที่สามารถจำแนกชิ้นส่วนย่อย จากสินค้าที่ขายสู่ลูกค้า ว่าจะต้องใช้ชิ้นส่วนย่อยกี่ชิ้น ซื้อกับซัพพลายเออร์ใครบ้าง ต้องใช้ของเมื่อไร ต่อด้วยระบบ E-Procurement คือระบบที่ทำหน้าที่ต่อจาก BOM ในการจัดตารางการจัดซื้ออย่างเป็นระบบ ให้ได้มาซึ่งชิ้นส่วนย่อยทุกชิ้นที่ต้องการ มี E-Logistics คือระบบที่สามารถตรวจสอบระยะทางระหว่าง บริษัทกับซัพพลายเออร์แต่ละราย ผ่านระบบแผนที่ออนไลน์ ซึ่งจะสามารถคำนวนต้นทุนการขนส่งได้อย่างละเอียด และมีส่วนในการคัดเลือกซัพพลายเออร์ที่เหมาะสมด้วย

นอกจากนั้นยังเพิ่มเติมระบบ Green Industry คือระบบที่บริษัทในเครือข่าย e-Supply chain สามารถทำการแลกเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ เครื่องจักรมือสอง เครื่องมือมือสองและเศษของเสียจากการผลิต ที่จะทำให้เกิดการลดต้นทุนในการซื้อของใหม่และยังสนับสนุนให้มีการรักษ์โลกมากขึ้นด้วย

ภาพที่จะปรากฏชัดในยุคต่อไปคือว่า ผู้ผลิตตัวจริง หรือเจ้าของสินค้าจะก้าวเข้ามาทำธุรกิจบนเว็บมากขึ้น รูปแบบของ e-Business จะเข้ามาแทนที่ e-Commerce ส่งผลให้องค์กรที่เข้าสู่ระบบนี้จะเข้าถึงซึ่งเป้าหมายสูงสุดของการสร้างเครือข่าย ให้ครอบคลุมในรูปของกิจกรรมของ e-Business จากเฉพาะกิจกรรมการเชื่อมต่อเครือข่ายเฉพาะภายในบริษัท เป็นการเชื่อมต่อกับองค์กรภายนอกอย่างสมบูรณ์แบบ

นายครรชิต   จันทนพรชัย    นายกสมาคมส่งเสริมอุตสาหกรรมรองเท้าไทย ( ATFIP) เปิดเผยว่า สมาคมจะนำกลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้า เข้าสู่ระบบ e-supply chain ของโดยจะมีการจัดสัมมนาชี้แจง และอบรมให้อย่างเร่งด่วน จากนั้นจะเชื่อมโยงผู้ผลิตกลุ่มอื่นๆ และทำการคัดเลือกผู้ที่มีศักยภาพด้านการผลิตและจำหน่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ผลิตวัตถุดิบ เข้าสู่ระบบ e-supply chain โดยคาดว่า e-supply chain นี้จะสามารถทำให้ผู้ผลิตรองเท้าหาสินค้ามาผลิต รวมทั้งเลือกสินค้าทดแทน หรือสินค้าที่ใช้ข้ามกลุ่มได้ง่าย สามารถที่จะเลือกซื้อสินค้าผ่านร้านค้าและผู้ผลิตโดยตรง

ระบบ e-supply chain   จะลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการสื่อสาร และสร้างความสะดวกทางการค้าให้กับอุตสาหกรรมรองเท้าเป็นอย่างดี เนื่องจากมีอุตสาหกรรมที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน   ผลประโยชน์ทั้งทางตรงหลายอุตสาหกรรม ได้แก่ หนัง ผ้า พื้นรองเท้า ส้นรองเท้า เป็นต้น การซื้อขายระหว่างกันได้หลากหลายทำให้เกิดการพัฒนาภัณฑ์ เกิดการแลกเปลี่ยนการการจำหน่าย และช่วยสร้างความสะดวกในการจัดหาวัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตมากขึ้น การนำเสนอสินค้าตัวอย่าง การผลิตสินค้า รวมไปถึงการส่งมอบสินค้าได้เร็วขึ้น ( Lead Time Reducing)

นอกจากนั้นยังส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบเทคโนโลยีไอทีเพื่อสิ่งแวดล้อม ( Green Technologies) ให้กับอุตสาหกรรมรองเท้า ในด้านการบริหารจัดการสินค้าและวัตถุดิบคงคลัง ลดปริมาณคงเหลือสินค้าคงคลัง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุมจม และเพิ่มรายได้ให้กับอุตสาหกรรมรองเท้า ส่งเสริมนโยบาย 3 R (Reduce ,Reuse and Recycle)

จากข้อมูลการสำรวจเบื้องต้น พบว่า ผู้ผลิตโรงงานรองเท้าในประเทศไทยมีจำนวนประมาณ   2,251 ราย จำแนก เป็นโรงงานขนาดเล็ก 1,484 ราย โรงงานขนาดกลาง   742 ราย และที่เหลือเป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่มีแรงงานมากกว่า 2,000 คน จำนวน    25 ราย มีโรงงานที่ผลิตรองเท้าหนัง รองเท้าแตะ และชิ้นส่วนประกอบรองเท้า ประมาณ 1,758 ราย ที่มีการใช้วัตถุดิบ หนัง หนังฟอก หนังเทียม ประมาณ 213,111,120 ฟุตต่อปี เหลือใช้คงคลัง ประมาณ40,691,120 ฟุตต่อปี คิดเป็นมูลค่าของต้นทุนจมถึง 762,958,605 บาท นอกจากนี้มีการใช้ชิ้นส่วนประกอบรองเท้า ประเภทพื้นและส้นประมาณ   98,375,616 คู่ต่อปี และปริมาณเหลือใช้คงคลังเฉลี่ยต่อปี 9,090,816 คู่ ต้นทุนจมที่ในระบบคิดเป็นมูลค่า 525,247,146 บาท

ดังนั้นหากนำเอา ระบบ e-supply chain มาใช้กับอุตสาหกรรม จะการใช้วัตถุดิบเหลือใช้คงคลังของผู้ผลิตรองเท้าซึ่งมีการใช้อยู่เพียง 5 % เท่านั้น เพิ่มขึ้นเป็น 20% ถึง 30%   ซึ่งเท่ากับว่า นอกจากจากจะลดต้นทุนจมให้กับผู้ประกอบการผลิตรองเท้าที่มีวัตถุดิบเหลือใช้เกินความจำเป็นแล้ว ยังช่วยให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กที่ไม่มีกำลังซื้อวัตถุดิบหลากหลาย เข้ามาเลือกซื้อวัตถุดิบจากผู้ประกอบการขนาดใหญ่ หรือขนาดกลางที่มีวัตถุดิบเหลือได้ในราคาที่ถูกลง ทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากผลของการใช้ e-supply chain ที่นำมาใช้บริหารจัดการวัตถุดิบเหลือใช้ในระหว่างอุตสาหกรรม ( Dead Stock Recycle) เพียง 5% ของทั้งหมดจะทำให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมรองเท้าและประเทศ   ต้นทุนจมที่เกิดจากการนำวัตถุดิบหนังคงเหลือใช้กลับมาใช้จะลดลงประมาณ 38,147,930 บาท , และที่เกิดจากการนำพื้นรองเท้าคงเหลือกลับมาใช้ประมาณอีกประมาณ 26,262,357 บาท สรุปรวมลดต้นทุนจมให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมถึง 64,410,287 บาท และยังทำให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายในค่าขนส่งที่แฝงอยู่ในราคาขายถึง 1,288,205 บาทต่อปี ได้ด้วย

นอกจากนี้ e-supply chain จะก่อให้เกิดผลดีทางอ้อมต่ออุตสาหกรรมคือ ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงการค้าข้ามอุตสาหกรรม Cross Section Industry เช่น การสั่งซื้อรองเท้า ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือโรงพยาบาล เป็นต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเพิ่มช่องทางการค้าได้อย่างมาก

นายสุกิจ คงปิยาจารย์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย เปิดเผยว่า จากที่ปัจจุบันสมาชิกของสมาคมเครื่องนุ่งห่มไทย ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตเสื้อผ้าในแบบต่างๆ ได้เข้าไปอยู่ในระบบ e-market place ของทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ขณะที่โรงงานขนาดใหญ่ของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มจะมีฝ่ายจัดซื้อทั้งในและต่างประเทศที่แข็งแกร่ง รวมถึงรู้จักแหล่งของวัตถุดิบ มีความสัมพันธ์กับกลุ่มเหล่านี้ดีอยู่แล้ว และรูปแบบการซื้อขายปกติทางผู้ผลิตวัตถุดิบจะเข้ามานำเสนอทางออกของปัญหาในการผลิต เพื่อทำให้โรงงานเครื่องนุ่งห่มเลือกสินค้านั้นๆ มาทดแทนสินค้าเก่า ทำให้ระบบ e-supply chain ปกติที่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์นั้นจะเข้ามาสู่ระบบได้ค่อนข้างยาก

ระบบ e-supply chain ของทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะเป็นการอุดช่องว่าง เหล่านี้ โดยจะทำให้โรงงานเครื่องนุ่งห่มทั้งหลายได้เห็นกลุ่มซัพพลายเออร์กลุ่มใหม่ ซึ่งต่อไปทางสมาคมจะร่วมกับทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจัดกิจกรรมเพื่อให้กลุ่มผู้ผลิตวัตถุดิบได้มาร่วมกิจกรรมกับทางเจ้าของโรงงานที่เป็นสมาชิกสมาคม เพื่อทำให้เกิดความสัมพันธ์เรียนรู้ปัญหา และพัฒนาสินค้าให้ตรงตามความต้องการซึ่งกันและกัน หลังจากนั้นก็จะใช้ระบบนี้เชื่อมโยงในการซื้อขายในที่สุด

ส่วนเรื่องของ dead stock management นั้น ทางสมาคมได้หารือกับทางม.พระนครเหนือแล้ว โดยเฉพาะความกังวลของระบบเดิมๆ ที่เป็นอยู่คือ ระบบส่วนใหญ่มักไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่ทันท่วงที เกิดปัญหาการ update ข้อมูลไม่ทัน ทำให้สินค้า dead stock ที่แจ้งยังไม่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ เมื่อผู้ซื้อต้องการสินค้ากลับไม่มีสินค้าอยู่จริง ดังนั้นระบบของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะมีความยืดหยุ่นและจะเน้นสร้าง Trust หรือความน่าเชื่อถือให้กับผู้ใช้อย่างสูงสุด รวมถึงการชี้แจงข้อมูลของสินค้า dead stock อย่างละเอียด เช่น เป็นสินค้าเกรดเอ หรือบี ต้องไม่ทำให้เกิดความสงสัยถึงคุณภาพของสินค้ากลุ่มนี้ได้

นางเพ็ญทิพย์ พรจะเด็ด นายกสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ( ATSME) เปิดเผยว่าสมาชิกของสมาคม ATSME ที่เข้าร่วมกับโครงการนี้มีอยู่กว่า 7,000 ราย กระจายอยู่ทั่วประเทศ 5 ภาค และ 11 เขตศูนย์ภาค เป็นฐานในการสนับสนุนและส่งมอบผลิตภัณฑ์ต้นน้ำไปสู่อุตสาหกรรมหลักได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมาระบบ e-market place ถือเป็นจุดเริ่มแรกของเปิดตลาดสู่ภาคอุตสาหกรรม

เมื่อกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมผลักดันให้เกิดระบบ e-supply chain เกิดขึ้น ยิ่งจะทำให้กลุ่มลูกค้าของโรงงาน SMEs มีเว็บแอพพลิเคชันทางด้านกระบวนการทำงานรองรับ โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย กลาย เป็นช่องทางในการสื่อสารการตลาดมากกว่า 1 ทาง คือ ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสามารถสื่อสารกันได้ด้วยข้อมูลที่แม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น ต่อไปนี้ระบบเว็บของสมาชิกสมาคมจะถูกจัดรวมกลุ่ม และมองเห็นกลุ่มผู้ซื้อที่ชัดเจน และสร้าง site reference ให้กับธุรกิจในทันที ทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการผลิต การตลาด ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมาก สร้างความร่วมมือทางธุรกิจที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน และเกิดการรวมกลุ่มในลักษณะคลัสเตอร์ย่อยๆ ในห่วงโซ่อุปทานได้ เป็นการรวมกลุ่มที่ทำให้สามารถแบ่งปันทรัพยากร ( Share Resource ) ระหว่างกันได้ในกรณีที่เกิดปัญหาในกระบวนการ เช่น ด้านการจัดหาวัตถุดิบ และ/หรือสั่งซื้อวัตถุดิบมาเกินความต้องการใช้งาน

View :9456

ทีโอที ออกตัวความเร็ว 42 Mbps. กับเทคโนโลยี 3.9G ตั้งเป้าเปิดให้คนไทยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ TOT3G ภายในสิงหาคมนี้

June 10th, 2011 No comments


ทีโอที จัดแถลงข่าวเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ TOT3G พร้อมจัดกิจกรรม “กล้า-ท้า-ลอง”  ให้คนไทยร่วมทดสอบความเร็ว ความแรงของ TOT3G ด้วยระบบ เทคโนโลยี ของแท้ที่     ทีโอที นำมาใช้เป็นรายแรกและรายเดียวของประเทศ  ด้วยความเร็วสูงสุด 42 Mbps. พร้อมประกาศเดินหน้านำประเทศไทยก้าวสู่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นครั้งแรก ซึ่งคาดว่าประมาณกลางไตรมาส   ที่ 4 ของปี 2554 ประชาชนคนไทยจะได้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เต็มรูปแบบในกรุงเทพฯ  ปริมณฑล และ 14 จังหวัดหลัก  หลังจากนั้นภายในกลางปี 2555 จะสามารถใช้งานได้ทุกจังหวัด   ทั่วประเทศ  ตั้งเป้าประเดิมตลาดครั้งแรกสิงหาคมนี้  มั่นใจตอบโจทย์และโดนใจวิถีชีวิตออนไลน์คนไทยทั่วประเทศ พร้อมเปิดโลกทัศน์ทุกมุมมองให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง

คณะกรรมการ บมจ.ทีโอที ร่วมงานเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ TOT3G ความเร็ว 42 Mbps. อย่างเป็นทางการ โดยมีนายอานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธี ณ Hall of Fame  สยามพารากอน  ร่วมด้วย หลุยส์ สก๊อต ท้าลองความเร็ว ความแรงของ TOT3G        บนเทคโนโลยี HSPA+ (High Speed Packet Access Plus) หรือระบบ 3.9G  ซึ่งโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของประเทศ ตามแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 2 (2552-2556) เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ทุกที่ทั่วประเทศ ช่วยเพิ่มสัดส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตต่อประชากรให้สูงขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิต พัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ  ทั้งในด้านการศึกษา เศรษฐกิจ การแพทย์ และสาธารณสุข  และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

นายอานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ทีโอที กล่าวว่า “ทีโอที ได้รับสิทธิในคลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G เป็นรายแรกและรายเดียวที่เป็น 3G ของแท้ของประเทศที่ให้บริการด้วยคลื่นความถี่ที่เป็นมาตรฐานสากล 2100 MHz. ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ   โดยทีโอทีเลือกใช้เทคโนโลยี HSPA+(High Speed Packet Access Plus) หรือระบบ 3.9G  ด้วยความเร็วสูงสุด 42 Mbps.    ในพื้นที่กรุงเทพฯ ส่วนพื้นที่เขตภูมิภาค จะสามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุด 21 Mbps. เพื่อให้สอดรับกับทิศทางการพัฒนาของเทคโนโลยี และแนวโน้มการเติบโตของตลาดบริการสื่อสารข้อมูลไร้สายความเร็วสูง รวมถึงต้นทุนของอุปกรณ์โครงข่ายและความคุ้มค่าในการลงทุนในช่วงเวลาที่เหมาะสม ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพ

การรับส่งข้อมูลเป็น  42 Mbps  และครอบคลุมพื้นที่ให้บริการเพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่า โดยการใช้ระบบรับส่งสัญญาณแบบ MIMO และการผสมผสานสัญญาณที่เร็วขึ้น (DL-64QAM, UL-16QAM) ทำให้สามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานพร้อมกันเพิ่มสูงขึ้น และรวมถึงคุณภาพบริการในการรับส่งข้อมูลได้พร้อมกันในลักษณะของ Triple Play คือ สามารถใช้งานโทรศัพท์   ใช้งานอินเทอร์เน็ต  และใช้งานรับส่งข้อมูลอื่นได้พร้อมกัน  นอกจากนี้ยังได้ปรับปรุงและแก้ไขปัญหาเรื่องดีเลย์ของสัญญาณให้ดีขึ้น โดยเฉพาะแอพพลิเคชั่นที่ไวต่อการดีเลย์ อาทิ VoIP, Video Telephony, VDO Conference , Hi-Density TV และ Game Online”

นายอานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที กล่าวเพิ่มเติมว่า การเปิดให้บริการ TOT3G ทั่วประเทศ ความเร็ว 42 Mbps. ครั้งนี้ เพื่อสร้างการรับรู้ใหม่เกี่ยวกับแบรนด์ TOT3G จากระบบ 3.5G  (HSDPA/HSUPA) หรือ HSPA รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วที่ดาวน์โหลด  7.2 เม็กกะบิทต่อวินาที และ 14.4  เม็กกะบิทต่อวินาที และพัฒนาต่อยอดเป็น HSPA+  หรือระบบ 3.9G ซึ่งระบบ 3.9G จะช่วยลดเวลา “การรอคอย” และเพิ่มช่วงเวลาแห่งความสุขให้กับชีวิตออนไลน์ของคนไทยทั่วประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตอบโจทย์พฤติกรรม และวิถีชีวิตของผู้บริโภคยุคใหม่ได้โดนใจมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ยังมีส่วนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมและคนไทยให้ดีขึ้น  และเพื่อให้คนไทยมีโอกาสใช้เร็วขึ้น ทีโอทีได้ลดระยะเวลาการติดตั้งโครงข่าย จากเดิมการติดตั้งในกทม.  ปริมณฑล  และ 14 จังหวัดเศรษฐกิจกำหนดติดตั้งแล้วเสร็จภายใน 720 วัน เหลือเพียง 180 วัน  และติดตั้งทั่วประเทศภายใน 1 ปี เท่านั้น  ซึ่งวันนี้ทีโอทีพร้อมที่จะนำประเทศไทยก้าวสู่โทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G เป็นครั้งแรก โดยคาดว่าประมาณกลางไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ประชาชนคนไทยจะได้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G เต็มรูปแบบใน 18 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ  ปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และ 14 จังหวัดหลัก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง สงขลา  สุราษฎร์ธานี  ภูเก็ต เชียงใหม่  เชียงราย  ลำปาง  พิษณุโลก  อุดรธานี  นครราชสีมา  ขอนแก่น หนองคาย และอุบลราชธานี  หลังจากนั้นภายในกลางปี 2555 จะสามารถใช้งานได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ

“ผมมองว่าการเปิดตลาด TOT3G ช่วงนี้เป็นจังหวะที่ลงตัว เนื่องจากสภาพตลาด มีอัตราการเติบโตที่สูง โดยมีแนวโน้มการใช้งานดาต้าผ่านมือถือที่เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากกระแสของการใช้สังคมออนไลน์ (Social Network) สมาร์ทโฟน แทบเล็ต และดีไวซ์ต่าง ๆ จะเห็นได้จากการเปิดตัวรุ่นใหม่ ๆ ออกมา ซึ่งมีกระแสความนิยมและกำลังซื้ออย่างต่อเนื่อง   โดยทีโอทีตั้งเป้าทำตลาดเพื่อเปิดให้คนไทยได้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ TOT3G ภายในสิงหาคมนี้”

สำหรับการจัดงานแนะนำ TOT3G ได้เปิดให้คนไทยได้ลองสัมผัสความเร็วสูงสุด 42 Mbps บนเทคโนโลยี HSPA+ (High Speed Packet Access Plus) หรือระบบ 3.9G ที่บริเวณโซน กล้า-ท้า-ลอง ทั้งยังจัดมุมกิจกรรมถ่ายภาพและส่งตรงถึงมือทันที ผ่านระบบการรับส่งด้วย Email พร้อมทั้งมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินต่าง ๆ ระหว่างวันที่ 10 – 11 มิถุนายน นี้  พร้อมมีการออกร้านจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และเทคโนโลยีทางการสื่อสารที่ทันสมัยต่างๆ มากมาย

ปัจจุบัน บมจ.ทีโอที มีลูกค้าผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ TOT3G ประมาณกว่า 200,000 เลขหมาย โดยตั้งเป้าภายใน 1 ปี จะมีลูกค้าประมาณ 1.3 ล้านเลขหมาย และเพิ่มเป็น 7 ล้านเลขหมายในปี 2558 มีส่วนแบ่งตลาดไม่น้อยกว่า 8%

View :2374
Categories: 3G, Internet, Press/Release Tags: ,

ผู้ถือหุ้นสนับสนุนทรูเดินหน้า 3จี เต็มที่ เผยยอดจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนเกินคาด

June 10th, 2011 No comments

บมจ. เผยความสำเร็จในการจองหุ้นสามัญเพิ่มทุนเต็มจำนวน 13,119 ล้านบาท และมีผู้สนใจจองซื้อหุ้นโดยชำระเงินแล้วกว่า 14,506 ล้านบาท ซึ่งเกินกว่าจำนวนที่เสนอขายประมาณ 1,387 ล้านบาท  พร้อมขอบคุณผู้ถือหุ้นเดิมที่วางใจบริษัทไทย     สะท้อนความเชื่อมั่นศักยภาพการเติบโตของกลุ่มทรูทุกด้าน  ทั้งยังเสริมความแข็งแกร่งทางการเงินของกลุ่ม และเป็นโอกาสสำคัญสู่การเป็นผู้นำธุรกิจมือถือประกาศเดินหน้าขยายธุรกิจ ให้ประชาชนชาวไทยทั่วประเทศสามารถเข้าถึงความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ได้ทัดเทียมกัน กำหนดคืนเงินจองซื้อเกินสัดส่วนให้ผู้ถือหุ้นภายในวันที่ 17 มิถุนายนนี้ ด้วยวิธีการตามที่ผู้ถือหุ้นได้ระบุไว้ในใบจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน

นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า บริษัทขอขอบพระคุณผู้ถือหุ้นทุกท่าน ที่ให้ความไว้วางใจใช้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนเกินความคาดหมาย ซึ่งสะท้อนความผูกพันต่อบริษัทอย่างต่อเนื่องยาวนาน รวมทั้งแสดงถึงความเชื่อมั่นในศักยภาพการดำเนินธุรกิจของกลุ่มทรู ตลอดจนเล็งเห็นโอกาสสำคัญในการลงทุนพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีล้ำสมัยที่บริษัทจะสามารถเติมเต็มการให้บริการ 3จี ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  ซึ่งเงินทุนที่ได้จากการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้กับบริษัท ซึ่งบริษัทจะนำเงินเพิ่มทุนดังกล่าวไปใช้เพื่อรองรับการเติบโตและการขยายตัวของธุรกิจใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายธุรกิจ 3จี ซึ่งมั่นใจว่าจะทำให้กลุ่มทรูซึ่งเป็นบริษัทไทย สามารถเปิดโลกการสื่อสารอย่างไร้พรมแดนกับผู้ใช้บริการทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนทั่วประเทศไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ห่างไกลใดๆ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างทัดเทียมกัน

“ความสำเร็จจากการเพิ่มทุนเกินความคาดหมายครั้งนี้ จะเป็นการปรับตัวครั้งสำคัญของกลุ่มทรู จากการเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายที่ 3 ก้าวสู่การเป็นผู้นำธุรกิจมือถือ ควบคู่ไปกับที่ปัจจุบัน กลุ่มทรูเป็นผู้นำในตลาดธุรกิจบรอดแบนด์ และเป็นผู้นำธุรกิจบริการโทรทัศน์บอกรับสมาชิก   ทั้งยังเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้คนไทยทั่วประเทศสามารถก้าวสู่เทคโนโลยีสื่อสารทั่วถึงทัดเทียมกัน ซึ่งปัจจุบันมีประชากรไทยเพียงร้อยละ 15 ของครัวเรือนทั่วประเทศเท่านั้น ที่สามารถเข้าถึงการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ”

ตามที่ บมจ. ทรูคอร์ปอเรชั่นได้เปิดให้ผู้ถือหุ้นจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม ถึง 3 มิถุนายน 2554  โดยเสนอขายทั้งสิ้น 6,727,436,752 หุ้น  หรือในอัตราส่วน 1 หุ้นเดิม : 0.865 หุ้นใหม่ ที่ราคา 1.95 บาทต่อหุ้น และหากมีหุ้นเหลือจากการจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนในรอบแรกแล้ว บริษัทฯจะจัดสรรหุ้นที่เหลือให้แก่ผู้ถือหุ้นซึ่งแสดงจำนงจองซื้อเกินสัดส่วน  ตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่จำกัดเพียงไม่เกิน 2 เท่าของจำนวนหุ้นตามสิทธิของผู้ถือหุ้นนั้น   ปรากฏว่ามีผู้ถือหุ้นจองหุ้นสามัญคิดเป็นจำนวนเงิน 14,505,834,725.85 บาท หรือร้อยละ 110.58 ของจำนวนที่นำเสนอขายทั้งหมด    ซึ่งบริษัทจะดำเนินการคืนเงินจองหุ้นเพิ่มทุนส่วนเกินจำนวน 1,387,333,067.25 บาท ให้กับผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้รับการจัดสรรหรือได้รับการจัดสรรไม่ครบภายในวันที่ 17 มิถุนายน 2554 ( 2 สัปดาห์นับจากวันสุดท้ายของการจองสิทธิ์ซื้อหุ้นคือวันที่ 3 มิถุนายน 2554 )  ตามวิธีที่ผู้ถือหุ้นได้ระบุไว้ในใบจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน  โดยการโอนเงินผ่านระบบอัตโนมัติ เข้าบัญชีธนาคาร หรือ จ่ายเป็นเช็ค

“บริษัทขอขอบพระคุณผู้ถือหุ้นทุกท่าน ซึ่งเป็นผู้มีอุปการคุณ ที่มอบความไว้วางใจและให้การสนับสนุนบริษัทอย่างดียิ่งมาโดยตลอด  บริษัทจะเดินหน้าขยายธุรกิจด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าและมอบประโยชน์สูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น ลูกค้า ประชาชนชาวไทย  รวมทั้งร่วมยกระดับเทคโนโลยีสื่อสารโดยรวมของประเทศให้พัฒนาก้าวทันนานาประเทศ ตลอดจนสามารถแข่งขันในเวทีระดับโลก” นายศุภชัยกล่าวในที่สุด

View :1770