Archive

Archive for December, 2011

ดีแทคเปิดตัวแอร์การ์ดที่ความเร็วสูงสุด 42Mbps

December 6th, 2011 No comments


พร้อมข้อเสนอแพ็กเกจให้ลูกค้าใช้ เล่นได้ไม่จำกัดฟรี 1 เดือน

ดีแทคเปิดตัวแอร์การ์ดรุ่นใหม่พร้อมแพ็กเก็จการใช้งานฟรี เพื่อรองรับการใช้งาน dtac 3G เร็วที่สุดของเมืองไทย dtac 3G speedy 42 Mbps รองรับการดาวน์โหลดข้อมูลได้สูงสุดถึง 42Mbps พร้อมนำเสนอแอร์การ์ด ที่มาพร้อมแพ็กเก็จการใช้งานฟรีที่ให้ความคุ้มค่าอีก 2 รุ่น dtac 3G speedy 21Mbps และ dtac 3G speedy 7.2Mbps ให้เป็นทางเลือกกับลูกค้า โดยจะเริ่มทยอยวางจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมนี้ที่สำนักงานบริการลูกค้า ดีแทคเซ็นเตอร์และร้านค้าอุปกรณ์ไอทีทั่วประเทศ

ดีแทคแอร์การ์ดใหม่ล่าสุดทั้ง 3 รุ่น จัดโปรโมชั่นพิเศษ โดยในกล่องจะประกอบด้วย aircard ที่มาพร้อมซิมแบบรายเดือน หรือแบบเติมเงิน และแพ็กเกจแบบคิดตามการใช้งานจริงที่ให้ลูกค้าได้ใช้งาน dtac 3G ไม่จำกัดฟรี 1 เดือนแรก หรือหากลูกค้าเลือกแพ็กเก็จที่คิดตามชั่วโมง ก็จะมีชั่วโมงให้ใช้ฟรี 50 ชั่วโมงต่อเดือน เป็นเวลา 2 เดือน ในช่วงแรก โดยแอร์การ์ดแต่ละรุ่นมีจุดเด่นที่แตกต่างกันเหมาะสำหรับการใช้งานที่หลากหลายของลูกค้า

dtac aircard 3G speedy 42 Mbps เป็นแอร์การ์ดที่มาพร้อมกับแพ็กเกจรายแรกของเมืองไทยที่สามารถรองรับการดาวน์โหลดข้อมูลสูงสุดถึง 42Mbps ซึ่งเป็นความเร็วสูงสุดในเมืองไทยขณะนี้ พร้อม Google Chrome ที่จะช่วยให้ลูกค้าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเร็ว ง่ายและปลอดภัยยิ่งขึ้น

dtac aircard 3G speedy 21 Mbps พิเศษด้วยฟังก์ชั่น Fast-Link ที่ช่วยทำให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เร็วและง่ายมากยิ่งขึ้น ลูกค้าสามารถใช้งานได้สะดวกเพียงเสียบแอร์การ์ดเข้ากับคอมพิวเตอร์ ระบบจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้อัตโนมัติ ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าเล่นเน็ตผ่านบราวซ์เซอร์ได้ทันที โดยไม่ต้องลงโปรแกรมหรือกดปุ่มใดๆ

dtac aircard 3G speedy 7.2 Mbps แอร์การ์ดรุ่นยอดนิยม ใช้งานง่าย ราคาคุ้มค่าที่สุดในตลาด

ลูกค้าสามารถสอบถามข้อมูลดีแทคแอร์การ์ดและแพ็กเกจเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานบริการลูกค้าดีแทค ดีแทคเซ็นเตอร์ และร้านจำหน่ายอุปกรณ์ไอทีทั่วประเทศ หรือสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.dtac.co.th หรือ โทร1678 ดีแทค คอลล์เซ็นเตอร์

View :2544
Categories: 3G, Internet, Press/Release Tags: , ,

เอชพีแนะนำเครื่องพิมพ์ HP ENVY e-All-in-One

December 6th, 2011 No comments


เอชพีแนะนำเครื่องพิมพ์ ที่มาพร้อม HP ePrint ที่สนับสนุนงานพิมพ์ผ่านคลาวน์ พรินท์ติ้งให้สามารถสั่งพิมพ์ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ในโลก โดดเด่นด้วยรูปลักษณ์อันเพรียวบางด้วยดีไซน์โฉบเฉี่ยวโดยได้รับรางวัลอันทรงเกียติด้านการออกแบบจากหลากหลายสถาบัน เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติการใช้อย่างครบครัน มีหน้าจอระบบสัมผัส ความละเอียดสูงขนาด 3.45 นิ้ว และความสามารถในการจดจำคำสั่ง จึงช่วยให้สามารถสั่งพิมพ์ สแกน ทำสำเนาและเรียกดูคอนเท้นต์ที่อยู่ในแอพพลิเคชั่น การพิมพ์ได้ง่ายดายเพียงขยับปลายนิ้ว นอกจากนี้ เครื่องพิมพ์ที่ปราศจากสารพีวีซีรุ่นนี้ ยังมาพร้อมกับคุณสมบัติการพิมพ์สองหน้าอัตโนมัติ คงประสิทธิภาพการทำงานและไม่พลาดทุกการเชื่อมต่อระหว่างเดินทางอีกด้วย

• เครื่องพิมพ์ HP ENVY e-All-in-One จัดจำหน่ายในราคา 9,900 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
• ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ HP Contact Center โทรศัพท์ 0-2353-9000 ต่อ 1

View :1214

บริษัทดีเอชเอ สยามวาลาจับมือกับบริษัท ICE Solution เปิดตัวเว๊บไซต์สังคมออนไลน์รูปแบบใหม่ www.iamtrend.com

December 6th, 2011 No comments

คณะผู้บริหารบริษัทดีเอชเอ สยามวาลา ผู้นำในธุรกิจเครื่องเขียน, เครื่องใช้สำนักงานและ บริษัทให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาทางด้าน IT จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวเว๊บไซต์สังคมออนไลน์ในรูปแบบใหม่ที่เกิดจากการรวมตัวของทั้งสองบริษัทในวันที่ 1 ธันวาคม 2554

ความเป็นมา
ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจของบริษัทดีเอชเอ สยามวาลา บริษัทสร้างผลิตภัณฑ์ที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ผู้คนเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ดีเลิศจากผลิตภัณฑ์ของเรา มาจนถึงปัจจุบันที่ยุคสมัยได้เปลี่ยนมาเป็นยุคแห่งการใช้ชีวิตกับอินเตอร์เน็ทอย่างเต็มตัว คนเรามีชีวิตบนโลกออนไลน์มากขึ้นอย่างก้าวกระโดด นั่นทำให้เครือข่ายสังคมออนไลน์กลายเป็นส่วนสำคัญกับชีวิตคนในปัจจุบันมากอย่างไม่น่าเชื่อ จากความน่าสนใจและพลังของสังคมออนไลน์ต่อธุรกิจทำให้ทั้งดีเอชเอ สยามวาลาและ ICE Solution บริษัทดูแลทางด้านซอฟท์แวร์ร่วมมือกันสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในรูปแบบเว็บไซต์เพื่อให้คนได้สัมผัสปรากฎการณ์ใหม่ที่จะนำทุกคนไปสู่อีกระดับของการใช้เว๊บไซต์รูปแบบเครือข่ายสังคมออนไลน์

ที่มาของโอกาสการทำเว๊บไซต์จากช่องว่างในตลาด

ในปัจจุบันเรารับข้อมูลจากสิ่งต่างๆมากมายจนมากเกินไปเนื่องจากมีช่องทางหลากหลายที่จะรับรู้ข่าวสารซึ่งบางครั้งเราไม่สามารถตัดสินใจเชื่อข้อมูลที่มากมายเหล่านั้นได้ เช่นคุณคงเคยพบปัญหาการเลือกร้านอาหารทานกับเพื่อนซึ่งคุณอาจต้องปวดหัวไม่น้อยกว่าจะตัดสินใจได้ ด้วยความต้องการจะช่วยให้คนได้ใช้ชีวิตที่สนุกและง่ายที่สุดเราจึงสร้างแหล่งข้อมูลเพื่อช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจในหลายๆอย่างได้ ช่วยลดความเสี่ยงเวลาจะตัดสินใจในเรื่องต่างๆได้ และเมื่อถามว่าอะไรที่มีอิทธิพลมากที่สุดกับการตัดสินใจของคนในปัจจุบัน สิ่งนั้นก็คือเพื่อนของเราและสิ่งที่เป็นเทรนด์

เราเชื่อเครือข่ายคนที่เรารู้จักโดยเฉพาะเพื่อน บ่อยครั้งที่เราตัดสินใจไปร้านอาหารหรือจะดูหนัง, ฟังเพลงเราจะถามเพื่อนก่อนเสมอ เราเชื่อในเครือข่ายสังคมของเราในการช่วยตัดสินใจทำอะไรหลายๆอย่างในชีวิตประจำวัน แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าที่เราตัดสินใจไปนั้นดีและเป็นสิ่งที่เราต้องการมากที่สุด

จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่จะช่วยคุณหาสิ่งที่เพื่อนและเครือข่ายของคุณกำลังพูดถึงและให้ความสนใจมากที่สุด จากนั้นเราจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาสร้างเทรนด์จากการที่สิ่งๆนั้นมีคนเข้ามาสนใจจากหลายๆการแสดงออกเช่น คนเข้ามา check-in ร้านอาหารนั้นๆมากสุด, มาเขียนรีวิวมากสุด, มากด love มากสุด สิ่งนั้นจะขึ้นเป็นเทรนด์ทันที หากคุณสนใจจะหาร้านอาหารญี่ปุ่นซักร้านคืนนี้ เข้ามาที่ iamtrend.com ภายใน 30 วินาทีคุณจะพบร้านอาหารที่เป็นที่นิยมที่สุดจากการที่เครือข่ายของคุณชอบและให้ความเห็นไว้แล้วมากมาย เราทำให้ชีวิตคุณง่ายและสะดวกที่สุด ที่นี่ยังเป็นที่ที่คุณจะมาแชร์สิ่งที่คุณรักและสนใจ ถ้าคุณมีร้านกาแฟในดวงใจ แชร์ร้านนั้น,สร้างให้ร้านนั้นเป็นเทรนด์และสร้างตัวคุณให้เป็นผู้นำเทรนด์ คุณจะได้พบคนที่ชอบสิ่งเดียวกันกับคุณด้วย นี่คือช่องทางที่เยี่ยมสุดๆในการพบสิ่งใหม่ๆที่คุณรักกับคนใหม่ๆที่หลงรักสิ่งเดียวกับคุณ

i.am.trend คือที่ที่คุณจะได้อัพเดทสิ่งที่คุณรักได้อย่างสมบูรณ์แบบ ติดตามคนที่สนใจเรื่องเดียวกับคุณและสนุกไปกับการค้นพบสิ่งที่คุณรักซึ่งจะเป็นอะไรก็ได้ที่คุณสนใจเช่น อาหาร, เพลง, หนัง, รูปภาพ, แฟชั่น, กีฬาและอีกมากมาย เรื่องที่ทุกคนชอบได้ถูกรวมไว้ให้คุณค้นหาได้อย่างง่ายที่สุด

อาจจะมีคำถามว่าเราต่างจากเว๊บไซต์ social media อื่นๆเช่น facebook, twitter, Google+ และ foursquare อย่างไร เว๊บไซต์ที่ว่าเหล่านั้นก็มีการแชร์ข้อมูลในลักษณะเดียวกันเพียงแต่ที่ iamtrend.com นั้น ทุกอย่างที่เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ของคนจะถูกรวมไว้ทั้งหมด คุณจะสามารถเข้ามาค้นพบสิ่งที่คุณรักไม่ว่าจะเป็นเพลง, หนัง, แฟชั่น, คลิปวิดีโอได้ตลอดเวลา เราสร้างเว๊บไซต์ให้คุณสามารถแชร์ข้อมูลไปบนเว๊บไซต์อื่นๆได้เพียงแต่การแชร์, โพสท์ข้อมูลกับเราจะสามารถสร้างเทรนด์ให้เกิดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, ให้คุณได้รางวัลจากกิจกรรมสนุกๆ, และที่สำคัญจะเชื่อมคุณกับคนอื่นๆที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกับคุณ

ทำไมคุณถึงอยากใช้ i.am.trend

เราทำให้การแชร์สนุกมากขึ้น, คุณสามารถได้สติ๊กเกอร์หลายแบบจากการเขียนรีวิว, สะสมสติ๊กเกอร์จากการทำภารกิจสนุกๆเสร็จสิ้นพร้อมรับรางวัลมากมาย นอกเหนือไปจากความสนุกที่คุณได้รับอยู่แล้วจากการค้นพบสิ่งที่ตัวคุณอยากค้นหา

มาร่วมสนุกกับการรู้จักคนใหม่ที่รักและสนใจในเรื่องเดียวกับคุณ, ติดตามแบรนด์หรือคนดังที่คุณชื่นชอบ, ไม่มีตกเทรนด์ในสิ่งที่คุณรักหรือเรื่องใดๆก็ตามและในที่สุดประกาศตัวเองขึ้นเป็นผู้นำเทรนด์

View :1912

เอชพี สนับสนุนองค์กรธุรกิจและผู้ให้บริการต่างๆ ยกระดับการทำงานสู่ระบบคลาวด์

December 6th, 2011 No comments

รุกพัฒนาการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ การจัดสรรทรัพยากร การรักษาความปลอดภัย และการเรียนรู้ให้ทันสมัยและล้ำยุค

เอชพีเปิดตัวโซลูชั่นคลาวด์ใหม่ เดินหน้าพัฒนาการใช้เทคโนโลยีคลาวด์แบบส่วนตัว สาธารณะ และไฮบริดให้ล้ำสมัย สนับสนุนให้องค์กรธุรกิจ ผู้ให้บริการ และหน่วยงานภาครัฐมีลู่ทางใหม่ๆ ในการดำเนินงานในตลาดเกิดใหม่ได้มากขึ้น

จากความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เอชพีจึงเดินหน้าพัฒนาแนวทางการดำเนินงานแบบไฮบริดที่ง่ายดายและไม่ซับซ้อน เพื่อให้ลูกค้านำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด โดยผนวกรวมบริการไอทีทั้งจากภายในองค์กรและที่ให้บริการโดยหน่วยงานภายนอกเข้าไว้ด้วยกัน ลูกค้าจึงสามารถเลือกแนวทางการให้บริการที่ดีและเหมาะสมที่สุด ตรงตามเวลาในการวางตลาดสินค้ามากที่สุด มีความพร้อมในการใช้งานสูงสุด และมีต้นทุนที่ประหยัดสุด อย่างไรก็ตาม ความกังวลด้านความปลอดภัยและการขาดทักษะภายในองค์กรยังคงเป็นประเด็นที่ท้าทายองค์กรต่างๆ ในการพัฒนาเพื่อก้าวสู่ระบบคลาวด์

ผู้ให้บริการต่างยอมรับว่า แนวทางการให้บริการแบบไฮบริดต้องใช้โมเดลการทำธุรกิจแบบคลาวด์ใหม่ที่สนับสนุนลูกค้าของตนนำเทคโนโลยีไปใช้งานและเป็นตัวแทนให้บริการได้หลากหลายทาง ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องมีพันธมิตรทางเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนผู้ให้บริการให้สามารถขยายลู่ทางการทำธุรกิจในตลาดดังกล่าวได้มากขึ้น

โซลูชั่นเอชพี คลาวด์ พัฒนาจากระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบผนวกของเอชพี (HP Converged Infrastructure) โดยประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บริการ และโปรแกรมต่างๆ เพื่อช่วยผู้ให้บริการ องค์กรธุรกิจ และภาครัฐให้สามารถให้บริการไอที (IT as a service) ได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย

คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ และผู้อำนวยการ โกลบอล เซลส์ และการตลาดเอ็นเทอร์ไพรส์ เอชพี ประเทศไทย กล่าวว่า “ลูกค้าจำเป็นต้องเข้าใจ วางแผน สร้าง และสรรหาทรัพยากรสำหรับระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง ในแนวทางที่ทำให้ตนทำงานได้อย่างคล่องตัว มีความเสี่ยงลดลง สามารถควบคุมการดำเนินงาน และมีความปลอดภัยมากขึ้น ทั้งนี้ โซลูชั่นใหม่จากเอชพีดังกล่าว คือผลพวงจากประสบการณ์อันยาวนานของเอชพีในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีล้ำสมัย พร้อมทั้งให้บริการและสนับสนุนทักษะอันโดดเด่นสำหรับนำไปใช้ขับเคลื่อนองค์กรต่างๆ เพื่อก้าวเข้าสู่ระบบคลาวด์อย่างเต็มรูปแบบ”

โซลูชั่นใหม่ของเอชพีตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์คลาวด์ต่างๆ การให้บริการคลาวด์จากภาครัฐ ตลอดจนการบริหารจัดการ กำกับดูแล และรักษาความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบคลาวด์ทั้งหมด

สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริด

สำหรับองค์กรต่างๆ ที่ต้องการแนวทางการให้บริการที่มีความคล่องตัว การพัฒนา ใช้งาน และบริหารจัดการบริการไอทีให้มีความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ส่วนตัวและสาธารณะรวมทั้งบนระบบการให้บริการไอทีแบบเดิมเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก ดังนั้น เอชพีจึงเดินหน้าพัฒนาระบบคลาวด์อย่างไม่หยุดยั้ง โดยผนึกกำลังกับพันธมิตรใหม่ๆ เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ โซลูชั่น และบริการต่างๆ ดังนี้

· บริการ HP CloudSystem integrations ซึ่งพัฒนาร่วมกับอัลคาเทล-ลูเซ่น เพื่อให้ผู้ให้บริการด้านสื่อสารสามารถให้บริการระบบคลาวด์ที่มีประสิทธิภาพสูง โดยใช้ระบบไอทีและเครือข่ายระดับองค์กร ทั้งนี้ การผนวกรวมระบบโครงสร้างพื้นฐานไอที ซอฟต์แวร์ และเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมเข้าไว้ด้วยกันทำให้ผู้ให้บริการด้านสื่อสารสามารถจัดการและสนับสนุนทรัพยากรคลาวด์บนเครือข่ายที่มีเสถียรภาพสูงได้โดยอัตโนมัติ

· โครงการ HP CloudAgile Service Provider Program สนับสนุนผู้ให้บริการให้สามารถเข้าถึงการขายได้มากขึ้น มีพอร์ทโฟลิโอบริการต่างๆ เพิ่มขึ้น และมีวงจรการขายที่รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยผู้ให้บริการสามารถเข้าถึงสำนักงานขายระดับโลกของเอชพีได้โดยตรง นอกจากนี้ เอชพียังผนึกกำลังกับพันธมิตรในภูมิภาคยุโรปเป็นครั้งแรกเพื่อขยายโครงการนี้ ทั้งยังมีบริการโฮสติ้งใหม่ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ได้รับการรับรองใหม่ล่าสุด เพื่อสนับสนุนผู้ให้บริการในการให้บริการคลาวด์แบบส่วนตัวที่พัฒนาจากโซลูชั่น HP CloudSystem ได้อย่างปลอดภัยและมีเสถียรภาพ

· โซลูชั่น HP CloudSystem Matrix 7.0 ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมปฏิบัติการหลักที่เสริมสร้างพลังให้แก่โซลูชั่น HP CloudSystem ทำให้ลูกค้าสามารถสร้างระบบคลาวด์แบบไฮบริดได้อย่างง่ายๆ ด้วยการใช้ฟังก์ชั่นแบบ push-button เพื่อเข้าใช้ทรัพยากรไอทีบนระบบคลาวด์จากภายนอกองค์กร โดยใช้เทคโนโลยี ‘bursting capability’ ใหม่และเป็นรายแรกในอุตสาหกรรมไอที นอกจากนี้ โซลูชั่น HP CloudSystem Matrix 7.0 ยังสนับสนุนระบบจัดเก็บข้อมูล HP 3PAR storage ซึ่งเป็นระบบออนดีมานด์แบบอัตโนมัติที่ช่วยลดข้อผิดพลาดและเร่งรัดการใช้บริการใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่นาที

· โปรแกรม HP Cloud Protection แบบครบวงจร ครอบคลุมทั้งการดูแลคุ้มครองผู้ใช้งาน กระบวนการทำงาน นโยบาย และเทคโนโลยีเพื่อรักษาความปลอดภัยให้แก่ระบบคลาวด์แบบไฮบริดในระดับเดียวกับระบบไอทีที่ใช้ในองค์กร นอกจากนี้ เพื่อแก้ไขอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดขององค์กรที่ต้องการปรับเปลี่ยนสู่สภาพแวดล้อมแบบคลาวด์ โปรแกรมใหม่ดังกล่าวนี้จึงนำเสนอบริการวางกลยุทธ์แบบครบวงจร การจัดทำโรดแม็ป การออกแบบและการดำเนินการที่พัฒนาต่อยอดจากระบบสถาปัตยกรรมแบบอ้างอิงร่วมกัน และด้วยการสนับสนุนจากศูนย์ Cloud Protection Center of Excellence ส่งผลให้ลูกค้าสามารถดำเนินการทดสอบโซลูชั่นและผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนการปกป้องการก้าวสู่ระบบคลาวด์และเวอร์ช่วลไลเซชั่นของเอชพี พันธมิตร และกลุ่มอื่นๆ ได้อีกด้วย

เลือกสรรบริการคลาวด์ระดับองค์กร

องค์กรต่างๆ ต้องการแหล่งให้บริการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ที่รวดเร็วและปลอดภัย ทั้งยังมีความยืดหยุ่นในการตอบสนองความต้องการเร่งด่วนได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ดังนั้น เอชพีจึงพัฒนานวัตกรรมบริการสุดล้ำต่างๆ ที่สนับสนุนระบบโครงสร้างพื้นฐานของคลาวด์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าว ดังนี้

· โซลูชั่น HP Enterprise Cloud Services – Compute สนับสนุนการกระจายปริมาณงานที่ใช้แอพพลิเคชั่นบนเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ โดยอัตโนมัติ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของแอพพลิเคชั่นต่างๆ ส่งผลให้ลูกค้าสามารถปรับปรุงวิธีการรักษาข้อมูลให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นโดยใช้ระบบการสำรองและจัดเก็บข้อมูลซ้ำซึ่งเป็นออปชั่นใหม่ให้เลือกใช้ พร้อมทั้งติดตั้งและบริหารเครือข่ายแลนแบบเวอร์ช่วลภายในสภาพแวดล้อมคลาวด์ นอกจากนี้ เอชพียังจัดทำโปรแกรม HP proof-of-concept ใหม่ เพื่อให้ลูกค้านำไปใช้ประเมินสมรรถนะของบริการใหม่ของเอชพีดังกล่าวว่าสามารถรองรับปริมาณงานที่มีอยู่เดิมได้มากน้อยเพียงไรก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ

· โซลูชั่น HP Enterprise Cloud Services for SAP Development and Sandbox ช่วยลูกค้าประเมินและพัฒนารูปแบบการทำงานของซอฟต์แวร์ SAP Enterprise Resource Planning บนระบบคลาวด์ส่วนตัวแบบเวอร์ช่วล โดยใช้ระบบประเมินที่มีความยืดหยุ่นสูงและอ้างอิงจากปริมาณการใช้งาน

ก้าวสู่โลกแห่งเทคโนโลยีคลาวด์ – ขจัดปัญหาการขาดแคลนทักษะในการทำงานบนระบบคลาวด์

ลูกค้าสามารถนำคำแนะนำของเอชพีและข้อมูลจากการฝึกอบรมที่จัดโดยเอชพีมาใช้ยกระดับระบบศูนย์ข้อมูลแบบเดิมของตนให้รองรับระบบประมวลผลแบบคลาวด์ พร้อมทั้งพัฒนาทักษะภายในองค์กรของตนให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น เอชพีมีบริการใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าวได้อย่างดีเยี่ยม ดังนี้

· บริการออกใบรับรอง HP ExpertONE เพื่อออกใบรับรองให้แก่ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ได้แก่ การออกใบรับรอง HP ASE Cloud Architectการออกใบรับรอง HP ASE Cloud Integrator และการออกใบรับรอง HP ASE Master Cloud Integrator โดยเป็นระบบการออกใบรับรองแบบคลาวด์ครั้งแรกสำหรับภาคธุรกิจและฝ่ายเทคนิคต่างๆ

· ขยายโปรแกรม HP ExpertONE ด้วยบริการจัดฝึกอบรมใหม่ โดยสถาบันฝึกอบรมเพื่อการพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่สุดในวงการไอทีและมีการทำงานเป็นอิสระรวม 5 แห่งซึ่งเปิดฝึกอบรมให้ความรู้ในหลักสูตรต่างๆ ภายใต้โปรแกรม HP learning solutions ทุกที่ทั่วโลก นอกจากนี้ เอชพียังจัดตั้งโครงการ HP Institute ที่มุ่งเน้นสนับสนุนการเรียนการสอนด้านวิชาการเพื่อพัฒนาผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับใบอนุญาตจากเอชพี โดยมีรูปแบบการเรียนการสอนภายในห้องเรียนเป็นระยะเวลา 2 ปี และ 4 ปี และระบบ HP Press ที่เดินหน้าขยายระบบการเรียนการสอนด้วยตนเองในหลากหลายรูปแบบสำหรับลูกค้า

· บริการหลักสูตร HP Cloud Curriculum from HP Education Services จัดฝึกอบรมหลากหลายหลักสูตรในหลากหลายภาษา ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับความสำเร็จของกลยุทธ์ระบบคลาวด์ที่ทำให้องค์กรต่างๆ มีความสะดวกและคล่องตัวมากขึ้น และมีต้นทุนลดลง โดยมีหลักสูตรการเรียนการสอนให้เลือกมากมาย อาทิ ระบบการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่น มีห้องปฏิบัติการออนไลน์แบบเวอร์ช่วล มีระบบการศึกษาด้วยตนเอง ระบบการศึกษาในห้องเรียน ระบบการศึกษาในห้องเรียนแบบเสมือนหรือเวอร์ช่วล และระบบการเรียนการสอน ณ สถานที่ทำการ ซึ่งทั้งหมดนี้เปิดให้บริการ ณ ศูนย์การศึกษาของเอชพี (HP Education Center) รวมกว่า 90 แห่งทั่วโลก

· บริการจัดประชุม HP Chief Financial Officer (CFO) Cloud Roundtables ภายใต้การสนับสนุนจากฝ่าย HP Financial Services เพื่อสนับสนุนประธานด้านการเงินให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณประโยชน์และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับระบบคลาวด์ ตลอดจนแนวทางการปรับเทคโนโลยีและโรดแม็ปการเงินขององค์กรให้สอดรับกับระบบคลาวด์

· บริการ HP Storage Consulting Services for Cloud ให้คำปรึกษาด้านการจัดเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์ เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจถึงความต้องการในการจัดเก็บข้อมูลภายในองค์กรของตนสำหรับนำไปใช้ในการประมวลผลบนระบบคลาวด์ส่วนตัว และนำข้อมูลความต้องการดังกล่าวมาวางระบบสถาปัตยกรรมตรงตามความต้องการ

· บริการ HP Cloud Applications Services for Windows Azure สนับสนุนการพัฒนาและย้ายแอพพลิเคชั่นต่างๆ สู่บริการแพลทฟอร์ม Microsoft Windows® Azure ได้อย่างรวดเร็ว

ในโลกที่มีการเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบผนวกของเอชพี (HP Converged Infrastructure) คือ องค์ประกอบสำคัญขององค์กรแบบ Instant-On Enterprise ทั้งนี้ แนวคิดแบบ Instant-On Enterprise คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในทุกกิจกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า พนักงาน พันธมิตร และประชาชนได้อย่างตรงจุดและโดยทันที

View :1549

“ไอเน็ต”เล็งถูกจุดเตรียมแผน BCP ล่วงหน้าให้ลูกค้าทันรับน้ำท่วม

December 6th, 2011 No comments

บริษัท จำกัด(มหาชน) หรือไอเน็ต เล็งเห็นถึงความสำคัญของแผนการสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan) นับตั้งแต่เกิดเหตุความไม่สงบในปี 2553 จึงได้มีการวางแผนและเตรียมความพร้อมมาอย่างต่อเนื่อง ทันทีที่เกิดวิกฤตการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย ไอเน็ตจึงได้จัดตั้งโครงการ “ไอเน็ตเตรียมพร้อมรองรับภัยพิบัติ ตลอด 24 ชั่วโมง” พร้อมมาตรการเพิ่มศักยภาพระบบสำรองไฟฟ้าในศูนย์ IDC ทั้ง 2 ศูนย์หากเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ระบบสำรองไฟ้ฟ้าสามารถใช้งานติดต่อยาวนานถึง 7 วัน ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรับมือและช่วยเหลือลูกค้าให้สามารถดำเนินกิจการและธุรกิจได้ต่อไป โดยไอเน็ตได้ปฏิบัติการช่วยเหลือลูกค้าอย่างต่อเนื่องกว่า 999 ชั่วโมง

ดร.ไพโรจน์ ศุภมงคล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า “ในช่วงภาวะวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นหลายครั้งไอเน็ตได้เห็นความสำคัญของธุรกิจลูกค้ามากที่สุด เพราะลูกค้าของเราเป็นองค์กรทั่วประเทศ และส่วนใหญ่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคกลาง รวมถึงหน่วยงานราชการที่สำคัญต่างๆ ที่จะต้องมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง และในมหาอุทกภัยครั้งนี้เราจึงเตรียมมาตรการเชิงรุกเพื่อรองรับและเข้าช่วยเหลือลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2554 เป็นเวลากว่า 999 ชั่วโมงที่ไอเน็ตมุ่งหน้าเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมเพื่อให้ลูกค้าของเราที่ได้รับผลกระทบยังคงทำงานได้อย่างไม่มีสะดุด”

“ไอเน็ตได้จัดตั้งทีมงานดูแลลูกค้าเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกจะสอบถามปัญหาและแก้ไขปัญหาเครือข่าย ระบบให้กับลูกค้าสำหรับอีกกลุ่มเป็นหน่วยเคลื่อนที่ออกช่วยเหลือลูกค้าในพื้นที่ประสบภัย อำนวยความสะดวกในการขนย้ายอุปกรณ์ และซ่อมระบบ รวมถึงเคลื่อนย้ายระบบจากพื้นที่น้ำท่วม ซึ่งตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ครั้งนี้ขึ้น เรามีลูกค้าที่เข้ามาใช้พื้นที่ DR Site กว่า 200 ที่นั่ง และลูกค้าที่ย้ายมาใช้บริการ Co-Location ของเรามากกว่า 10 ราย ” ดร.ไพโรจน์กล่าว
ดร.ไพโรจน์กล่าวเสริมว่า “นอกจากการทำแผนรองรับภัยพิบัติในครั้งนี้แล้ว ไอเน็ตยังคงคำนึงถึงการช่วยเหลือสังคมในยามวิกฤติ ซึ่งเราได้ร่วมกับทางสวทช.ในการอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือคนหูหนวกที่ประสบอุทกภัยหรือ TTRS-R ที่ไอเน็ตสำนักงานใหญ่ เพื่อเป็นการส่งเสริมและให้บริการคนหูหนวกและกลุ่มคนที่บกพร่องทางการพูดที่ประสบภัยในด้านการสื่อสารและขอความช่วยเหลือได้ดียิ่งขึ้น และไอเน็ตยังจัดตั้งโครงการ Thai.com รวมน้ำใจจ้างงานยามวิกฤติ เพื่อเป็นศูนย์กลางประกาศรับสมัครและฝากประวัติสำหรับผู้ว่างงานที่ประสบภัยทั่วประเทศ ภายใต้ชื่อ www.Thai.com ซึ่งเรายังเตรียมแผนพัฒนาและเปิดตัวเว็บไซต์อย่างเป็นทางการต่อไป”

นอกจากนี้ยังมีเสียงตอบรับจากลูกค้าที่มาใช้บริการ DR Site ในช่วงภัยพิบัติ “ศูนย์ DR Site ของไอเน็ตทำให้ธุรกิจของเราไม่สะดุด สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติในเวลารวดเร็ว และยังให้บริการได้อย่างสมบูรณ์ พร้อมทีมงานที่เป็นมิตรในการต้อนรับตลอดช่วงเวลาที่เราใช้บริการ” ตัวแทนลูกค้าสายธุรกิจที่เข้ามาใช้บริการ DR Site ของไอเน็ตกล่าว

“ศูนย์ช่วยเหลือคนหูหนวกที่ประสบอุทกภัย (TTRS – R) มีสำนักงานตั้งอยูที่มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ถ.อรุณอมรินทร์ ได้รับผลกระทบน้ำท่วมสูงประมาณ 1.50 เมตร เจ้าหน้าที่เดินทางเข้าไปปฏิบัติงานไม่สะดวก จึงได้ประสานกับทางไอเน็ตขอพื้นที่จัดตั้งศูนย์ TTRS – R ชั่วคราวขึ้นที่ไอเน็ตสำนักงานใหญ่ โดยได้รับความช่วยเหลือและบริการเป็นอย่างดี ทำให้ศูนย์สามารถกลับมาทำงานได้ในเวลาอันรวดเร็วและต่อเนื่อง ถือเป็นการช่วยเหลือสังคมในช่วงวิกฤติที่ดี” ดร.วันทนีย์ พันธชาติ หัวหน้าศูนย์ TTRS กล่าว

จากเสียงตอบรับของลูกค้าข้างต้น ไอเน็ตได้ยึดมั่นการดูแลธุรกิจของลูกค้าและคอยให้บริการอย่างดีที่สุด แม้สถานการณ์น้ำท่วมจะคลี่คลายลง แต่ไอเน็ตคงยังเฝ้าระวังเตรียมความพร้อมรองรับเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในการใช้บริการกับไอเน็ตอย่างต่อเนื่อง

View :2535

ดัชนีของ เมืองต่างๆที่มีความพร้อมทางด้าน ICT เพื่อชีวิตของพลเมืองที่ดีขึ้น (networked society index)

December 3rd, 2011 No comments

บริษัทอีริคสันและอาร์เธอร์ ดี. ลิตเติลจัดอันดับเมืองที่มีสังคมแบบเครือข่ายและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือ ICT เพื่อประโยชน์ของพลเมืองของเมืองนั้นๆ

สามเมืองแรกที่ได้รับอันดับสูงสุด ได้แก่กรุงโซล สิงคโปร์และลอนดอน ซึ่งต่างก็ได้สะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของสังคมแบบเครือข่ายโดยรวม (networked society)

เมืองที่อยู่ในสิบอันดับแรกที่เหลือคือ สตอกโฮล์ม นิวยอร์ก ปารีส ลอส แองเจลิส โตเกียว เซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง

โปรแกรมประยุกต์ต่างๆที่ใช้ระบบ ICT เช่นรัฐบาลอีเล็กทรอนิกส์ (e-government) และการขนส่งอัจฉริยะนั้นสามารถทำให้ชีวิตของพลเมืองดีขึ้น ช่วยให้สามารถลดปัญหาต่างๆที่มีเหมือนกันในสภาวะแวดล้อมแบบเมืองใหญ่ได้

การทำดัชนีเมืองที่มีสังคมแบบเครือข่ายของบริษัทอีริคสันในฉบับที่สองนี้ได้จัดอันดับเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก 25 อันดับตามความสามารถของเมืองในการเปลี่ยนแปลง ICT เพื่อประโยชน์ทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

เมืองที่อันดับสูงที่สุดสามเมืองแรก ซึ่งคือกรุงโซล สิงคโปร์และลอนดอนสามารถตอบสนองเป้าหมายด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมหลายเรื่องได้อย่างประสบความสำเร็จโดยการลงทุนในระบบ ICT อย่างกว้างขวางครอบคลุม ตัวอย่างเช่น สิงคโปร์กำลังผลักดันนวัตกรรมด้านการบริการสาธารณสุขอิเล็กทรอนิกส์ (e-health) อย่างแข็งขันและเป็นผู้บุกเบิกด้านการบริหารจัดการความคับคั่งของการจราจร ในขณะเดียวกัน โซลก็ได้ใช้ ICT จัดทำการริเริ่มด้านเทคโนโลยีขั้นสูงในการทำให้ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมเป็นจริงได้จำนวนมาก

การศึกษายังได้แสดงว่าเมืองหลายเมืองในกลุ่มประเทศ BRIC (ซึ่งประกอบด้วยประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน) เช่น เซา เปาโลและเดลีมีการริเริ่มที่มีความหวังหลายโครงการเพื่อปิดช่องว่างทางเศรษฐกิจสังคมอย่างรวดเร็วโดยผ่านการทำข้อตกลงด้าน ICT ที่มีผู้มีส่วนได้เสียหลายราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เซา เปาโลได้รับรางวัลในระดับประเทศและระหว่างประเทศหลายรางวัลสำหรับโครงการที่สนับสนุนชุมชนหรือสังคม (e-inclusions) การริเริ่มเหล่านี้ได้เน้นการรับรู้ความต้องการในการปรับปรุงความสามารถในการใช้งานระบบ ICT ที่ดียิ่งขึ้นและบทบาทหลักที่ ICT สามารถทำให้เกิดการพัฒนามากขึ้น

ในเมืองกรุงเดลี มีการริเริ่มที่ดีในหลายโครงการโดยมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากระบบ ICT เพื่อประโยชน์สูงสุดของพลเรือน ตัวอย่างที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งของโครงการที่มีผู้ได้ผลประโยชน์จำนวนมาก คือ เอกโก (Eko) ซึ่งทำให้สามารถทำธุรกรรมทางการเงินที่มีมูลค่าต่ำโดยใช้โทรศัพท์มือถือหรือร้านค้าปลีกได้ โครงการเอกโกนั้นให้บริการกับลูกค้ามากกว่า 1.3 ล้านคนและได้ดำเนินการวงเงิน 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐด้านการฝากเงิน การชำระเงินและการส่งเงินขั้นต่ำ ในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเดลี ชาวเมืองจะได้รับประโยชน์จากการได้รับการเข้าถึงบริการทางการเงินพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น โดยการใช้บริการเหล่านี้ในการดำเนินกิจกรรมการประกอบธุรกิจและรับการชำระเงินสำหรับงานของพวกเขาทำ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีต่อพลเมืองหนึ่งคนที่เพิ่มขึ้นมักจะเทียบเท่ากับการบริโภคที่เพิ่มขึ้น และดังนั้นจึงทำให้ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น เช่น อันเนื่องมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากขึ้น ส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของดัชนีนี้จะระบุวิธีการที่สามารถใช้ ICT เพื่อแบ่งการเติบโตของจีดีพีและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากกัน เช่น เมืองที่มีจีดีพีสูงสามารถใช้ ICT ในการลดการบริโภคของเมือง ตัวอย่างเช่น ด้วยการเดินทางไปมาที่ชาญฉลาด หรือวิธีการที่เมืองใหญ่ในประเทศหรือเมืองที่กำลังพัฒนาสามารถเลือกเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยการได้รับบริการประเภทเดียวกัน แต่โดยทางเสมือน ที่ตรงกันข้ามกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นจริง

“การวิเคราะห์ทัศนคติของพลเรือนแต่ละบุคคลเป็นเรื่องที่สำคัญมาก” แพทริค เรการ์ดห (Patrik Regårdh) แห่ง Networked Society Lab ของบริษัทอีริคสันกล่าว “เมืองที่ประสบความสำเร็จต่างๆ สามารถดึงดูดความคิด เงินทุนและบุคคลที่มีความสามารถได้อย่างยอดเยี่ยม การดึงดูดเชิงบวกดังกล่าวจำเป็นต้องมีความก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนภายในบริบทด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม”

การศึกษาใหม่จะดูที่ประโยชน์ต่างๆที่ ICT สามารถทำได้ในเมืองต่างๆ ในเรื่องต่างๆ เช่น การสาธารณสุข การศึกษา เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและความมีประสิทธิภาพ ตลอดจนปฏิกิริยาโต้ตอบของพลเรือนต่อ ICT

“เมื่อผู้คนได้รับความต้องการขั้นพื้นฐานที่พวกเขาต้องการอย่างมากแล้ว ความสนใจจะเปลี่ยนไป เช่นไปเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตที่สมดุล สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมที่อุดมสมบูรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งและการติดต่อทางธุรกิจที่ดี สุขภาพที่ดีในบั้นปลายของชีวิต การพึงพอใจในชีวิต อาทิ ในแง่ของการมีการศึกษาสูงขึ้นและสภาพแวดล้อมที่สะอาดทั่วทั้งเมือง” อีริค อัลมวิสต์ (Erik Almqvist) ผู้อำนวยการแห่งอาร์เธอร์ ดี. ลิตเติล กล่าว “ICT มีศักยภาพในการปรับปรุงคุณภาพของชีวิตในหลายสาขาเหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้น และความสามารถในการเชื่อมโยงระบบในทุกที่ทุกเวลาจะได้รับการถือว่าเป็นสิทธิของพลเรือนขั้นพื้นฐานเพิ่มมากขึ้น”

ดัชนีเมืองที่มีสังคมแบบเครือข่ายเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้บรรดาเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของเมืองและบรรดาผู้ตัดสินใจตรวจสอบตำแหน่งและความก้าวหน้าของเมืองตามเส้นโค้งการพัฒนา-ICT ควรใช้ดัชนีนี้เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการสนทนาแบบเปิด แทนที่จะเป็นคำชี้ขาดของวิธีการที่เมืองต่างๆสามารถทำให้เกิดความสมดุลกับมุมมองทั้งสามด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของเมืองก้าวหน้าได้อย่างไร

View :1459

ก.ไอซีที จับมือ 3 หน่วยงานร่วมพัฒนาศักยภาพการแข่งขันซอฟต์แวร์ไทย

December 3rd, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ “การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันซอฟต์แวร์ไทยสำหรับองค์กรขนาดเล็กสู่มาตรฐานระดับโลก ISO/IEC 29110” ว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ร่วมกับ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า และมูลนิธิสถาบันเพื่อพัฒนานวัตกรรม (ไอเอฟ) จัดทำบันทึกความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันซอฟต์แวร์ไทย สำหรับองค์กรขนาดเล็กสู่มาตรฐานระดับโลก ISO/IEC 29110 ขึ้น เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันและก้าวสู่ระดับสากล

“การลงนามฯ ในครั้งนี้ ถือเป็นภารกิจสำคัญของกระทรวงฯ ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้เจริญเติบโตอย่างมีศักยภาพ ตลอดจนสามารถยกระดับอุตสาหกรรมให้ทัดเทียมกับระดับสากลได้ ซึ่งมาตรฐาน ISO/IEC 29110 นี้ใช้ในการรับรองกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่มีความเหมาะสมกับทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดเล็ก (Very Small Entities – VSE) จำนวนไม่เกิน 25 คน จึงเป็นมาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับบริษัทซอฟต์แวร์ไทย เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีพนักงานโดยเฉลี่ยบริษัทละประมาณ 20 คน ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวมีความพร้อมใช้แล้ว และประเทศไทยก็มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งสร้างความได้เปรียบแก่องค์กรขนาดเล็กให้แข่งขันได้ในระดับสากล โดยแบ่งโครงสร้างการสนับสนุนออกเป็น 2 ส่วน คือ ภาครัฐ และ ภาคเอกชน ซึ่งภาครัฐจะขับเคลื่อนในด้านการกำหนดเป็นเงื่อนไขในการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้ได้มาซึ่งซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 29110 ส่วนภาคเอกชนจะปรับตัวและกระบวนการตามความต้องการของภาครัฐในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างซอฟต์แวร์ และก่อให้เกิดกระบวนการในการ Outsourcing ต่อไป การเกื้อหนุนซึ่งกันและกันระหว่างภาครัฐและเอกชนย่อมก่อให้เกิดการพัฒนาในกระบวนการของภาคเอกชน ให้พัฒนาตามกรอบมาตรฐานที่ภาครัฐกำหนด และนำไปสู่การยกระดับอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต

สำหรับภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามกรอบความร่วมมือนี้ ก็คือ การให้การ สนับสนุนการสร้างและพัฒนามาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ISO/IEC 29110 เพื่อให้เป็นเกณฑ์เบื้องต้นหนึ่งในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ และเผยแพร่ความสำคัญของมาตรฐานแก่ผู้ประกอบการและประชาชน การประชาสัมพันธ์ จัดหา และสนับสนุนผู้ประกอบการเพื่อเข้ากระบวนการประเมินและการรับรอง (Certification) การสนับสนุนในการจัดสัมมนาด้านมาตรฐาน (ISO/IEC 29110 International Forum) เพื่อสร้างเครือข่ายและความเข้าใจอันดีร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการ ภาครัฐ นักวิชาการและสถาบันการศึกษาต่างๆ การสนับสนุนบริการทางด้านข้อมูลการส่งเสริมการประยุกต์ใช้ (ISO/IEC 29110 Supporting Data Center) ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมการประยุกต์ใช้มาตรฐานแก่ผู้ประกอบการและเป็นแหล่งที่รวบรวมบันทึกฐานข้อมูลของผู้ประกอบการและบุคลากรที่เกี่ยวข้องหรือผ่านกระบวนการประเมินและฝึกอบรม ISO/IEC 29110 ตลอดจนสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการตรวจประเมินและรับรองมาตรฐาน การฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในมาตรฐาน ISO/IEC 29110 สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างและตรวจรับโครงการด้านการจัดหาและพัฒนาซอฟต์แวร์ของภาครัฐ

ขณะที่ นางสาวนิรชราภา ทองธรรมชาติ รักษาการผู้อำนวยการซิป้า กล่าวว่า การพัฒนามาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์จะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์โดยรวมของประเทศ กล่าวคือ ผู้ประกอบการขนาดเล็กก็จะมีช่องทางสร้างการเติบโตและสร้างโอกาสในการแข่งขัน ขณะเดียวกันภาคการศึกษาก็จะมีแนวทางการผลิตบุคลากรที่มีประสิทธิภาพตรงกับความต้องการของตลาด และสามารถแข่งขันต่อยอดในระดับสากล ประเทศไทยก็จะกลายเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่และสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านคุณภาพมาตรฐาน เพื่อที่จะเป็นใบเบิกทางในการแข่งขันในระดับสากล โดยเฉพาะมาตรฐานใหม่หรือ ISO/IEC 29110 Very Small Entity Model ดังนั้น ซิป้า จึงได้ร่วมมือกับภาคเอกชนพัฒนาและผลักดันให้มีการนำไปใช้ ซึ่งจะเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีโอกาสเป็นผู้นำในการพัฒนามาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์ในระดับสากลของ ISO และไทยจะเป็นประเทศแรกที่มีผู้ประกอบการผ่านการรับรองมาตรฐานระดับสากล ISO/IEC 29110 อันจะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นในการเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย

ด้าน นายชัยยง กฤตผลชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวว่า ในการพัฒนาศักยภาพซอฟต์แวร์ภายในประเทศ จำเป็นต้องบูรณาการความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน โดยเริ่มตั้งแต่การให้ความรู้เรื่องมาตรฐาน ISO/IEC 29110 การสนับสนุนส่งเสริม และประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่เกี่ยวข้องให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม ทั้งผู้ประกอบการ ภาครัฐ นักวิชาการ สถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อสร้างแนวร่วมในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมให้แข่งขันได้ในตลาดโลก

โดยที่ผ่านมา สมอ. ได้ให้การสนับสนุนในการส่งผู้แทนจากประเทศไทยให้ไปมีบทบาทเป็นผู้นำและผลักดันการร่างมาตรฐาน ISO/IEC 29110 มาตั้งแต่ต้น และพร้อมประสานความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมให้มีหน่วยงานตรวจสอบและรับรองมาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์ภายในประเทศ ให้มีขีดความสามารถในการตรวจประเมินและรับรองซึ่งเป็นที่ยอมรับ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพซอฟต์แวร์ของไทย

นายอนุกูล แต้มประเสริฐ ประธานมูลนิธิสถาบันเพื่อพัฒนานวัตกรรม หรือ ไอเอฟ (The Innovation Foundation) กล่าวว่า “กว่า 10 ปีที่ผ่านมา ภาครัฐและภาคเอกชนของไทยได้ร่วมกันพัฒนาศักยภาพจนสามารถเป็นผู้ยกร่างมาตรฐานสากล และมีบทบาทสำคัญในเวทีมาตรฐานสากลทางด้านซอฟต์แวร์และระบบ เนื่องจากเป็นผู้ริเริ่มและผู้นำทางด้านมาตรฐานการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรขนาดเล็ก ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวได้รับการยอมรับว่าเหมาะสมและควรจะเป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในกว่า 20 ประเทศทั่วโลก โดยมาตรฐานสากลนี้ได้เอื้อประโยชน์ให้ประเทศไทยทั้งในด้านการลดภาวะขาดดุลทางการค้าในการนำเข้าระบบการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่อาจไม่เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย และยังเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายผู้ผลิตซอฟต์แวร์เพื่อการส่งออก อันเป็นความใฝ่ฝันของอุตสาหกรรมไทยในหลายสิบปีที่ผ่านมา”

หลังจากการลงนามฯ ในครั้งนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงไอซีที จะมีการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการตรวจประเมินและรับรองมาตรฐาน ภายใต้การดำเนินงานของสำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อร่วมมือกับ ไอเอฟ และซิป้า ทำหน้าที่ในการฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในมาตรฐาน ISO/IEC 29110 รวมทั้งประเมินผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ โดยที่ผ่านมาได้มีบริษัทต่างๆ ผ่านการประเมินมาตรฐาน ISO/IEC 29110 จาก ไอเอฟ แล้วจำนวน 119 บริษัท จึงถือเป็นอีกมาตรการหนึ่งในการผลักดันสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมไทยในตลาดโลก

View :1355
Categories: Press/Release, Software Tags:

ซีไอโอทั่วโลกฟันธงการวิเคราะห์ข้อมูล คลาวด์คอมพิวติ้ง และอุปกรณ์เคลื่อนที่กุมความสำเร็จของธุรกิจในยุคนี้

December 2nd, 2011 No comments

สถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม () เปิดเผยผลการสำรวจประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ซีไอโอ) กว่า 3,000 คน จากทั่วโลกเพื่อหาปัจจัยเบื้องหลังความสำเร็จของซีไอโอในยุคนี้ โดยซีไอโอกว่าร้อยละ 80 เห็นสอดคล้องกันว่าความเรียบง่ายในการจัดการกับโครงการต่างๆ และการลดความสลับซับซ้อนของกระบวนการการทำงานภายในองค์กรถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด

นางเจษฎา ไกรสิงขร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซอฟต์แวร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “แม้ในยุคดิจิตอลที่สูตรลับความสำเร็จเฉือนกันด้วยข้อมูลที่มีอยู่ แต่เรากลับพบว่าในความจริงเรากลับมีข้อมูลที่ทั้งมากเกินความจำเป็นและสลับซับซ้อนจนเกินไป ข้อมูลเหล่านี้จึงจำเป็นต้องถูกจัดการให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้พนักงาน พันธมิตร และลูกค้าสามารถเข้าถึงและใช้งานได้ง่ายและทันท่วงที

โดยผลการสำรวจได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าซีไอโอกว่าร้อยละ 60 เลือกที่จะนำระบบคลาวด์คอมพิวติ้งมาใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลเพิ่มขึ้นจากเมื่อ 2 ปีก่อนเกือบ 2 เท่า ซีอีโอร้อยละ 75 ยืนยันถึงบทบาทสำคัญของโมบายคอมพิวติ้ง (Mobile Computing) ที่ช่วยให้พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่าย เพิ่มช่องทางในการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ และช่วยให้บริษัทสามารถปรับตัวเข้ากับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และร้อยละ 83 ของซีไอโอได้ชี้ให้เห็นว่าข้อมูลที่ช่วยให้การทำธุรกิจได้อย่างฉลาด (Business Intelligence) และการวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถหาแนวทางในการนำข้อมูลที่เก็บรวบได้ไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจ

แม้ว่าหน้าที่หลักของซีไอโอคือการหาเทคโนโลยีเพื่อเข้ามาช่วยคลายความยุ่งยากในการดำเนินงาน แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือการออกแบบกลยุทธ์ที่ครอบคลุมรองรับกับทิศทางของอนาคตที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งซีไอโอจะต้องทำหน้าที่ได้เทียบเท่ากับซีอีโอ ใน 3 ประเด็น ได้แก่ การเสริมสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลูกค้า การพัฒนาทักษะของบุคลากร และการกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลทางธุรกิจที่มีอยู่ ซีไอโอจึงไม่เพียงแต่สรรหาเทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเท่านั้น แต่ต้องหาเทคโนโลยีที่ช่วยให้บริษัทเติบโต ในท้ายที่สุด ซีไอโอต้องมุ่งเน้นที่การทำให้ทุกอย่างเรียบง่าย ช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานไปได้แต่ยังต้องนำเทคโนโลยีไปสร้างพันธกิจสำคัญอย่างการสร้างธุรกิจใหม่ๆ การขับเคลื่อนความสามารถในการผลิต รวมไปถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อให้เกิดการต่อยอดทางธุรกิจ

ในอนาคตซีไอโอและซีอีโอจะทำหน้าที่ที่คล้ายคลึงกันในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และนำข้อมูลไปใช้งานจริง รวมถึงการรวมศูนย์การทำงาน โดยบริษัทจะเก็บข้อมูลความเชี่ยวชาญในการทำงานของพนักงานและนำพนักงานเหล่านี้มาทำงานร่วมกันในโครงการเดียวกัน รวมถึงโซเชียลมีเดีย (Social Media) และระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) ที่ช่วยเปิดทางให้ธุรกิจต่างๆ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น และสามารถเปลี่ยนลูกค้าให้กลายเป็นพันธมิตรทางธุรกิจได้อีกด้วย และด้วยเซ็นเซอร์ชิ้นเล็กๆ ผนวกกับซอฟต์แวร์ที่ชาญฉลาดจะช่วยระบบซัพพลายเชน คลังสินค้า ให้กลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เราสามารถค้นหาและใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ได้

การทำทุกอย่างให้เรียบง่ายจึงไม่เพียงแต่เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของซีไอโอเท่านั้น แต่ยังเป็นวิธีการสร้างประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตในการทำงาน ข้อมูลทั้งหลายที่มีอยู่จะกลายมาเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่ช่วยหล่อเลี้ยงให้บริษัทต่างๆ ทำธุรกิจได้ประสบความสำเร็จภายใต้ความเรียบง่าย”

View :1393

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เพิ่มขีดขั้นการบริการด้วยเทคโนโลยี Thin Client จากเอชพี

December 2nd, 2011 No comments

และเอชพี ร่วมเดินหน้ามอบประสบการณ์งานบริการเหนือระดับให้แก่ลูกค้า เสริมสร้างความพึงพอใจสูงสุด ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี ในการดำเนินงานของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ทุกสาขาทั่วประเทศอย่างเป็นทางการ

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย บริหารจัดการงบประมาณการดำเนินงานในธุรกิจการบริการด้านการเงินอย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้มีการทำแบบประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงาน และการให้บริการในทุกภาคส่วน ผ่านผลิตภัณฑ์และการบริการที่ได้รับการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นด้วยโครงสร้างด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เกิดความสอดคล้องกับการควบคุมและจัดการต้นทุนการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพในธุรกิจของธนาคาร ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญของต้นทุนการดำเนินงานส่วนหนึ่งนั้นมาจาก ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนคอมพิวเตอร์เดสก์ทอป ค่าซ่อมบำรุงของแต่ละสาขาที่มีอัตราที่สูงมาก รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการระบบรักษาความปลอดภัย และลดระยะเวลาในการติดตั้ง ใช้งาน และอัพเกรดซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่อง

การประเมินทางเลือกสำหรับโซลูชั่นคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมนั้น ต้องคำนึงถึงกลยุทธ์ความต้องการ ด้านไอที ส่วนแพลทฟอร์มระบบไอที คุณสมบัติการใช้งาน และแผนการดำเนินการติดตั้งใช้งาน โดยขับเคลื่อนด้วยวัตถุประสงค์หลัก อาทิ การปรับลดค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเป็นเจ้าของ พร้อมเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน ความสะดวกในการใช้งานและการจัดการ รวมถึงการเพิ่มความไว้วางใจ และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งานในแผนกต่าง ๆ

ในการนำเอาเทคโนโลยี HP Thin Client มาใช้งาน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สามารถดำเนินงานต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ และทำงานร่วมกันภายในกลุ่มธุรกิจซีไอเอ็มบีได้อย่างไร้รอยต่อ เพื่อส่งมอบประสบการณ์อันคุ้มค่าให้แก่ลูกค้า พร้อมเพิ่มขีดขั้นความสามารถในการส่งมอบบริการที่มีประสิทธิภาพ และมุ่งเน้นการประหยัดต้นทุน ซึ่งโซลูชั่น HP Thin Client นี้ ยังช่วยให้เกิดความมั่นใจในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและสมรรถนะการให้บริการของธนาคารได้อย่างเหนือชั้น

นายกฤษณะ ตรีถาวรยืนยง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านเทคโนโลยี ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เทคโนโลยี Thin Client เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการใช้พลังงานได้ถึงร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับโซลูชั่นเดสก์ทอปแบบเดิม ๆ ลดต้นทุนด้านพลังงาน และยังช่วยลดอัตราการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจกและลดผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนได้มากขึ้นอีกด้วย

“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย มุ่งมั่นในการรักษาสิ่งแวดล้อม และการริเริ่มโครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของระบบไอที ยังเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินงานของธนาคาร ทั้งในด้านการดำเนินงาน จนถึงผลิตภัณฑ์และการบริการ เราจึงเลือกใช้เทคโนโลยี HP Thin Client ซึ่งช่วยให้ธนาคารสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของเทคโนโลยีไอทีล้ำสมัย ช่วยให้ทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น ความปลอดภัย และไว้วางใจได้เพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งลดระยะเวลาในการรอรับบริการของลูกค้าให้น้อยลง” นายกฤษณะ กล่าว

เทคโนโลยี HP Thin Client เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดกะทัดรัด ที่ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีจุดเชื่อมต่อกับหน่วยประมวลผลส่วนกลาง และหน่วยเซิร์ฟเวอร์จัดเก็บข้อมูล โดยไม่มีฮาร์ดไดรฟ์จัดเก็บแอพลิเคชั่นหรือข้อมูลต่าง ๆ ภายในเครื่อง สามารถปกป้องข้อมูลสำคัญของลูกค้าและพัฒนาศักยภาพในระบบรักษาความปลอดภัยของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ในแต่ละสาขา

“ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เคยประสบปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปแบบเดิม ๆ จำนวนมาก จากธนาคารในแต่ละสาขา เราจึงมองหาโซลูชั่นด้านไอทีที่เหมาะสม ที่สามารถอำนวยความสะดวกในการจัดการ ไว้วางใจได้ และที่สำคัญคือระบบความปลอดภัยสูงสุด” นายกฤษณะ กล่าวเพิ่มเติม
ในระหว่างการโยกย้ายระบบไอทีของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารมิได้มีการหยุดระบบไอทีใด ๆ ในการเข้าใช้งานเทคโนโลยี Thin Client แต่อย่างใด ทั้งนี้ การปรับใช้ระบบดังกล่าวเน้นไปที่การให้บริการเคาน์เตอร์ของธนาคารกว่า 350 หน่วย โดยใช้เวลาเพียง 6 เดือนตั้งแต่มกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2554 จึงแล้วเสร็จ โดยใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 30 – 60 นาที ต่อ 1 หน่วย Thin Client

นายมอนตี้ หว่อง ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจเพอร์ซันแนล ซิสเต็มส์ บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด ประเทศไทย) จำกัด) กล่าวว่า “เอชพีรู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่งที่ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ให้ความไว้วางใจเลือกใช้เทคโนโลยี Thin Client จากเอชพี ซึ่ง HP Thin Client นั้นเป็นโซลูชั่นที่ดีที่สุด ที่พร้อมสนับสนุนการทำงานของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ในการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการอันเหนือระดับ และเปี่ยมประสิทธิภาพให้แก่ลูกค้า พร้อมทั้งรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยความง่ายดายในการบริหาร จัดการ ความน่าเชื่อถือและระบบรักษาความปลอดภัยระดับสูง เราเชื่อมั่นว่า HP Thin Client นี้จะสามารถเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางโครงสร้างไอทีของซีไอเอ็มบี ไทย ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ”

นอกจากนี้ นายกฤษณะ ยังเปิดเผยอีกว่า โครงการนำร่องของ HP Thin Client ในแต่ละสาขาที่เลือกไว้นั้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก “เทคโนโลยี HP Thin Client นั้นช่วยลดภาระต้นทุนของธนาคารได้มาก พร้อมทั้งเพิ่มความสะดวกในการบริหารจัดการ เพิ่มความน่าเชื่อถือ และพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยให้ดียิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันเรายังสามารถดำเนินงานด้วยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย”

View :1251

เอไอเอส เปิดลงทะเบียนแสดงความสนใจ iPhone 4S แล้ววันนี้!

December 2nd, 2011 No comments

2 ธันวาคม 2554 : เปิดให้เหล่าสาวก iPhone สามารถเข้ามาร่วมลงทะเบียน เพื่อแสดงความสนใจ จาก ได้แล้ว ตั้งแต่วันนี้ – 11 ธันวาคม 2554 เพื่อรับสิทธิ์จองเครื่องได้ ในวันที่ 13 ธันวาคม 2554 เป็นต้นไป (จนกว่าสินค้าจะหมด) ติดตามอัพเดตความเคลื่อนไหว iPhone 4S จาก ได้ที่เว็บไซด์ www..co.th/iPhone4S

View :1433