Archive

Posts Tagged ‘MICT’

ก.ไอซีที ชี้แจงแนวทางการใช้กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ

June 27th, 2011 No comments


นายวรพัฒน์   ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร   เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมชี้แจงกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ ว่า คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานภาครัฐ ที่ต้องการให้มีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนมีการจัดทำหรือแปลงเอกสารให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่น่าเชื่อถือได้ จึงได้ออกประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น 3 ฉบับ คือ ประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2553 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2553   ประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 และประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำหรือแปลงเอกสารและข้อความให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2553 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2553

“นับตั้งแต่มีการบังคับใช้ประกาศทั้ง 3 ฉบับ หน่วยงานภาครัฐได้มีการกำหนดแนวทางในการนำประกาศดังกล่าวไปปฏิบัติ โดยใช้เวทีการประชุมผู้บริหารสารสนเทศภาครัฐ หรือ CIO Forum ในการขับเคลื่อนและผลักดันให้หน่วยงานในสังกัดนำกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ไปปฏิบัติ รวมทั้งให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นหน่วยงานหลักในการนำหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำหรือแปลงเอกสารและข้อความให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไปประกอบการพิจารณาดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับกระทรวงไอซีที และให้สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เป็น หน่วยงานส่งเสริมสนับสนุนทางด้านเทคนิคและวิชาการแก่หน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการฯ ทั้ง 3 ฉบับได้” นายวรพัฒน์ กล่าว

นอกจากนั้น สำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ยังได้พยายามผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการฯ อย่างถูกต้องและเหมาะสม จึงได้จัดการประชุมชี้แจงแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐ แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำหรือแปลงเอกสารและข้อความให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น

นางสาวลัดดา   แจ้งเกษมสุข ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า การประชุมฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานของรัฐมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการฯ ทั้ง 3 ฉบับ รวมทั้งเพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นให้หน่วยงานของรัฐใช้ในการดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการฯ ดังกล่าว ตลอดจนเพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถพัฒนาการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐภายใต้มาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยได้เชิญผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ จำนวน 350 คน เข้าร่วมการประชุมฯ ซึ่งบุคลากรที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ จะได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการฯ อย่างถูกต้องและเหมาะสม สามารถนำประกาศคณะกรรมการฯ ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการพัฒนาการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐภายใต้มาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลให้ทุกภาคส่วนเกิดความเชื่อมั่นต่อการดำเนินกิจกรรมของรัฐด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น

สามารถดาวโหลดกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ที่ www.etcommission.go.th

View :1570

ก.ไอซีที จับมือ ITU และ UN-ESCAP เป็นเจ้าภาพจัดประชุม Asia-Pacific Regional Forum on ICT Applications

May 18th, 2011 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุม ว่า กระทรวงฯ ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Asia – Pacific Regional Forum on ICT Applications ร่วมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ( International Telecommunication Union : ) และคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ ( United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific : ) ในระหว่างวันที่ 18 – 21 พฤษภาคม 2554 โดยมีหน่วยงานสหประชาชาติและหน่วยงานด้านโทรคมนาคม หรือ ICT อาทิ UNESCO, FAO, WHO, ADB, telecentre.org , สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ , รัฐบาลออสเตรเลีย , Intel, Microsoft, DTAC เป็นต้น ให้การสนับสนุน

“ การประชุม Asia-Pacific Regional Forum on ICT Applications ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการถ่ายทอดข้อมูล ความรู้ เทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะระหว่างผู้แทนจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมและพัฒนาการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านต่างๆ อาทิ การศึกษา ( e-Education) สาธารณสุข ( e-Health) การพาณิชย์ ( ) การเกษตร ( e-Agriculture) รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Government) เป็นต้น ซึ่งจะมุ่งเน้นในเรื่องการกระจายโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก ICT ไปสู่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ชนบท นอกจากนี้ ยังเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวันโทรคมนาคมและสังคมสารสนเทศโลก ( World Telecommunication and Information Society Day) ในวันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปี โดยปีนี้มีหัวข้อหลักของงาน คือ ‘Better Life in Rural Communities with ICTs’ ” นายจุติ กล่าว

ส่วนกิจกรรมอื่นๆ ที่จัดขึ้นนอกเหนือจากการประชุมหลักนั้น มีการแสดงนิทรรศการผลงานของหน่วยงานด้าน ICT และโทรคมนาคมต่างๆ รวมถึงเทคโนโลยีและตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน ICT ในด้านต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงานสร้างรายได้ และการยกระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมของประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมฟรี และสามารถลงทะเบียนผ่านทางอีเมล์โดยดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ http://www.itu.int/ITU-D/asp/CMS/Events/ 2011/ ict-apps/index.asp

“ นอกจากนิทรรศการแล้ว ยังมีพิธีเฉลิมฉลองเนื่องในวันโทรคมนาคมและสังคมสารสนเทศโลกในวันที่ 19 พฤษภาคม 2554 ซึ่งได้รับเกียรติจากนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธี และงานเลี้ยงต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมในวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 ซึ่งมีหัวข้อหลักของงาน คือ “Impact of Broadband on Information Economy” โดยมีนายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา ( UNCTAD) ให้เกียรติเข้าร่วมกล่าวปาฐกถาในงานเลี้ยงดังกล่าว

สำหรับการประชุมครั้งนี้ มีผู้แทนจากประเทศสมาชิก ITU หน่วยงานด้าน ICT และโทรคมนาคม หน่วยงานภาควิชาการ องค์กรระหว่างประเทศ ตลอดจนผู้แทนจากหน่วยงานภาคเอกชนเข้าร่วมประชุมประมาณ 200 คน ซึ่งกระทรวงฯ จะได้นำผู้เข้าร่วมการประชุม ทั้งหมดไปเยี่ยมชมและศึกษาดูงานศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ที่กระทรวงฯ ได้จัดตั้งขึ้นในกรุงเทพฯ หรือพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย ” นายจุติ กล่าว

View :1470

ก.ไอซีที ฝึกอบรมเตรียมพร้อมเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการขายสินค้า OTOP ผ่านระบบ e-Commerce

May 4th, 2011 No comments

นายวรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังพิธีเปิดการฝึกอบรมโครงการ เพื่อการสั่งซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ( ) ว่า โครงการ e-Commerce เพื่อการสั่งซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ( ) ถือ เป็นนโยบายสำคัญด้านหนึ่งของรัฐบาลที่เกิดจากความร่วมมือของ 6 หน่วยงาน เพื่อร่วมกันสร้างรากฐานที่สำคัญให้กับชุมชนโดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารมาช่วยในการทำธุรกิจและการค้าขายบนโลกออนไลน์โดยสร้างร้านค้า สินค้า ของแต่ละท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักและสามารถสั่งซื้อได้จากทั่วประเทศ

“ศักยภาพของสินค้า OTOP บนตลาด e-Commerce นี้ ยังมีโอกาสอีกมาก โดยหากพิจารณาจากตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ได้สำรวจมูลค่าพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์จะพบว่ามูลค่าการซื้อขายมีเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งปีที่ผ่านมามีมูลค่าถึงห้าแสนกว่าล้านบาท แต่ถ้าพิจารณาเฉพาะในส่วนของผลิตภัณฑ์ OTOP จะพบว่ามีเพียง 4.5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีการขายแบบ e-Commerce ซึ่ง แสดงให้เห็นว่ายังมีโอกาสในการขยายตลาดส่วนนี้ได้อีกมาก ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้ดำเนินโครงการร่วมกันแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขึ้น เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนสามารถพัฒนาสินค้า ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ และนำไปสู่การสร้างรายได้ของชุมชน พึ่งพาตนเองได้ โดยโครงการฯ นี้ตั้งเป้าหมายในการนำ e-Commerce มาช่วยในการขยายตลาดและเชื่อมโยงไปสู่การจัดส่งและการชำระเงินที่สะดวกรวดเร็ว ครบวงจร” นายวรพัฒน์ กล่าว

ในการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวของโครงการฯ กระทรวงฯ จึงได้มีการจัดการฝึกอบรมในลักษณะ Train the Trainer แก่ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการที่สนใจ เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโครงการฯ โดยได้รับความร่วมมือจากกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ในการคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ และเชิญผู้แทนสำนักงานพัฒนาชุมชนจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศที่สนใจผลักดันสินค้า OTOP ไป สู่การค้าบนโลกออนไลน์เพื่อเปิดตลาดให้กว้างขึ้น รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่ร่วมลงนามในการสนับสนุนด้านวิทยากร จาก บมจ.ทีโอที บจ.ไปรษณีย์ไทย และบมจ. ธนาคารกรุงไทย ในการสร้างความเข้าใจตั้งแต่ เรื่อง การจัดการระบบธุรกิจ e-Commerce ระบบ การชำระเงิน รวมไปถึงระบบการส่งและติดตามสินค้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการแบบครบวงจร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ถ่ายทอด หรือเป็นที่ปรึกษาในการให้ความรู้ แนะนำ ผู้ประกอบการในพื้นที่ของตนเองได้

“การ ฝึกอบรมนี้ จะมีการจัดอย่างต่อเนื่องทั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ในแต่ละภาค โดยครั้งแรกนี้เป็นการจัดฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ของกรมการพัฒนาชุมชน และผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่สนใจ รวม 80 ราย เพื่ออบรมความรู้ในการดำเนินการธุรกิจแบบ e-Commerce และ ให้คำแนะนำโดยหน่วยงานที่ร่วมกันผลักดันโครงการฯ ในด้านต่างๆ ได้แก่ การรับชำระเงินโดยวิธีหักบัญชีของธนาคาร การเตรียมการห่อหุ้มเพื่อฝากส่งสินค้าเข้าสู่ทางไปรษณีย์ให้เหมาะสม การจัดการธุรกิจ e-Commerce ของร้านค้า OTOP บน เว็บไซต์ TOT e-Market เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในครั้งนี้ได้นำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ต่อใน ชุมชน รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ประกอบการใน ท้องถิ่นที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการดังกล่าวต่อไป” นายวรพัฒน์ กล่าว

View :1504
Categories: Press/Release Tags: , ,

ก . ไอซีที ร่วมนำร่อง โครงการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของทางราชการ

March 25th, 2011 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิด เผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบใน กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของทางราชการ ระหว่างนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานภาครัฐนำร่อง ว่า กระทรวงฯ ได้ตอบรับเข้าร่วมโครงการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในกระบวนการจัดซื้อ จัดจ้างของทางราชการ ที่จัดทำขึ้นตามข้อเสนอของสำนักงาน ก.พ.ร. โดยสำนักงาน ก.พ.ร.ได้เชิญชวนหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมเป็นหน่วยงานนำร่องตามความสมัครใจ ซึ่งมีหน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 18 ส่วนราชการ และ 1 รัฐวิสาหกิจ

“กระทรวง ไอซีที ได้เล็งเห็นความสำคัญของโครงการดังกล่าว ที่จัดทำขึ้นเพื่อเสริมสร้างบทบาทความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาค เอกชนในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของทาง ราชการ และเพื่อสร้างความโปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของทางราชการ รวมทั้งเสริมสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนในการบริหารราชการแผ่นดิน ให้ดีขึ้น จึงได้สมัครใจเข้าร่วมเป็นหน่วยงานภาครัฐนำร่องด้วย โดยได้คัดเลือกโครงการจัดซื้อจัดจ้างที่มีความสำคัญและมีมูลค่าสูงจากทั้ง ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดเข้าร่วมโครงการป้องกันการทุจริตประพฤติมิ ชอบฯ นี้

ซึ่ง โครงการที่กระทรวงฯ นำมาเข้าร่วม คือ โครงการจัดซื้อครุภัณฑ์และวัสดุสำนักงานโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เพื่อพ่อหลวงจำนวน 1,000 ศูนย์ และโครงการติดตั้งและพัฒนาหอเตือนภัย สถานีทวนสัญญาและหน่วยงานรับข่าวในพื้นที่เสี่ยงภัย อุทกภัย และดินถล่ม ของสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โครงการจัดหาครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในรายการของเครื่องมือตรวจอากาศชั้นบน 3 ชุด ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ของกรมอุตุนิยมวิทยา และโครงการจัดซื้อเครื่องมือทดสอบ Metro Net ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม และทั้ง 4 โครงการนี้มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 612,538,150 บาท” นายจุติ กล่าว

สำหรับ หน่วยงานภาครัฐนำร่องที่เข้าร่วมโครงการฯ นี้ ต้องดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ คือ 1.ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในกระบวน การจัดซื้อจัดจ้างของทางราชการ ระหว่างนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานภาครัฐนำร่อง 2.เชิญชวนภาคเอกชนผู้สนใจเสนอราคาหรือเสนองานเข้าร่วมโครงการฯ 3.ปฏิบัติการตามเงื่อนไขข้อตกลงเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ได้แก่ ประกาศนโยบายองค์การในการกับดูแลตนเองที่ดีเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริต ประพฤติมิชอบ การวางข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติ ประมวลจริยธรรมการป้องกันและจัดการความเสี่ยงต่อการทุจริตประพฤติมิชอบ การฝึกอบรมและให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และการวางระบบควบคุมและตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และ 4.จัดทำรายงานประเมินผลหน่วยงานประจำปีเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขของ ข้อตกลงดังกล่าวเพื่อเปิดเผยต่อสาธารณะ

“เมื่อ สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการในเดือนธันวาคม 2554 แล้ว จะมีการสรุปปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ รวมทั้งข้อเสนอแนะจากหน่วยงานนำร่องและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลสำหรับการขยายผลโครงการฯ นอกจากนี้หน่วยงานภาครัฐนำร่องและภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ ที่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ก็จะได้รับประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติจากนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงการเป็นหน่วยงานที่สามารถยกระดับความโปร่ง ใส และนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งความซื่อตรงได้อีกด้วย” นายจุติ กล่าว

View :1627
Categories: Press/Release Tags:

ก.ไอซีที ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดประชุม ITU -Regional Workshop on IMT for the Next Decade

March 21st, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ -Regional Workshop on IMT for the Next Decade ว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ร่วมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ( International Telecommunication Union : ) ในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Regional Workshop on IMT for Next Decade ขึ้นที่กรุงเทพมหานคร

“การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นการประชุมในระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่จัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเวที ในการอภิปราย เผยแพร่ความรู้ รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในแง่การตลาด และแนวโน้มความต้องการในการใช้งานของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่นับตั้งแต่ได้มี การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายในประเด็น ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินอัตราความต้องการในการใช้โทรศัพท์ไร้สายความเร็วสูง หรือ Mobile Broadband Wireless ของผู้ใช้งานในอนาคต เพื่อรองรับกับการพัฒนา International Mobile Telecommunication หรือ IMT ในระหว่างปี ค.ศ.2012 – 2022 และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยี IMT – Advanced และความสำคัญของคลื่นความถี่วิทยุในการพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารดังกล่าว” นางจีราวรรณ กล่าว

สำหรับ การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว กระทรวงฯ ได้เชิญชวนให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการพัฒนากิจการการสื่อสารของไทยเข้าร่วมการ ประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ด้วย เพื่อให้มีโอกาสได้รับรู้ถึงทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จากผู้เชี่ยวชาญขององค์การระหว่างประเทศ และผู้เชี่ยวชาญจากประเทศผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เป็นต้น

View :1685
Categories: Press/Release Tags: ,

ก.ไอซีที เชิญร่วมประกวดภาพถ่าย “รอยยิ้มแห่งสยาม” ในงานวันข้าราชการพลเรือน

March 18th, 2011 No comments

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยความคืบหน้าเกี่ยวกับกิจกรรม เนื่อง ในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2554 ว่า ในการจัดงานเนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2554 นี้ ทางกระทรวงไอซีที และเจ้าภาพร่วม คือ กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดให้มีการจัดกิจกรรมการประกวดรอยยิ้มแห่งสยาม ขึ้น เพื่อเชิญชวนบุคคลทั่วไป นักถ่ายภาพ ให้มาร่วมสร้างสรรค์ภาพถ่ายที่สะท้อนถึงรอยยิ้มและความสุขของประชาชนไทยทุก หมู่เหล่า ภายใต้หัวข้อ “ ใต้ร่มพระบารมี 84 พรรษา ราชการเพื่อรอยยิ้มและความสุขของคนไทย ”

“วัตถุ ประสงค์ของการจัดกิจกรรมพิเศษในครั้งนี้ ก็เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2554 รวมทั้งเปิดโอกาสให้บุคคลที่รักการถ่ายภาพได้สร้างสรรค์และแสดงออกถึงความ สามารถ รวมทั้งนำเสนอภาพแห่งความสุขและรอยยิ้มในมุมมองต่างๆ ที่หลากหลายภายใต้หัวข้อที่กำหนด ซึ่งผู้ที่ชนะการประกวดจะได้ทั้งเงินรางวัลและประกาศนียบัตร โดยรางวัลที่ 1 ได้รับเงินรางวัล 15,000 บาท รางวัลที่ 2 ได้รับเงินรางวัล 10 , 000 บาท รางวัลที่ 3 ได้รับเงินรางวัล 5 , 000 บาท และรางวัลชมเชยอีก 10 รางวัล รวมมูลค่าของรางวัลทั้งสิ้น 50,000 บาท” นายธานีรัตน์ กล่าว

สำหรับข้อกำหนดในการส่งภาพเข้าประกวด คือ 1.ผู้ส่งภาพเข้าประกวดและเจ้าของภาพต้องเป็นบุคคลคนเดียวกัน 2.ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดต้องมีความละเอียดสูง 6 ล้านพิกเซลขึ้นไป หรือไม่ต่ำกว่า 300 DPI 3.ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด สามารถปรับแต่งสีและแสงของภาพในด้านเทคนิคเพื่อให้ภาพมีคุณภาพดีขึ้น แต่ต้องคงเป็นธรรมชาติไม่ให้ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง 4.ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด ต้องส่งมาพร้อมใบสมัคร และระบุข้อมูลชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล์ ของเจ้าของผลงาน รวมทั้งต้องตั้งชื่อผลงาน พร้อมคำบรรยายเกี่ยวกับภาพ และระบุวัน เดือน ปี ที่ถ่าย รวมถึงสถานที่ที่ถ่ายภาพมาด้วย

5.เจ้าของผลงานต้องส่งไฟล์ภาพที่ส่งเข้าประกวดในรูปของ RAW ไฟล์ หรือ Tiff ไฟล์ หรือ JPG หรือ บันทึกลงบนแผ่น CD/DVD-ROM หรือ ส่งภาพถ่ายพิมพ์ลงบนกระดาษอัดภาพขนาดไม่ต่ำกว่า 4 x 6 นิ้ว (โปสการ์ด) โดยการส่งผลงานเข้าประกวด ทุกรูปแบบต้องแนบมาพร้อมใบสมัคร 6 . ภาพ ถ่ายที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยได้รับรางวัลจากการประกวดใดๆ มาก่อน 7.ภาพถ่ายผลงานที่ส่งเข้าประกวด แผ่นซีดี และภาพ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะผู้จัดงานและจะไม่จัดส่งคืน 8.คณะจัดงานฯ จะมีการนำภาพไปใช้ประโยชน์ โดยเผยแพร่ภาพถ่ายและชิ้นงานทั้งหมดที่ส่งเข้าประกวด เพื่อการประชาสัมพันธ์สร้างความสนใจให้ประชาชนทั่วไปและผู้ส่งภาพเข้าประกวด มาร่วมชมงาน

ส่วน เกณฑ์การตัดสินในเบื้องต้นนั้น จะพิจารณาว่าภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นภาพถ่ายที่สื่อถึงความสุขและ รอยยิ้ม สอดคล้องกับหัวข้อการประกวด คือ “ ใต้ร่มพระบารมี ๘๔ พรรษา ราชการเพื่อรอยยิ้มและความสุขของคนไทย ” ที่กำหนดไว้หรือไม่ ประชาชนทั่วไปที่สนใจส่งผลงานภาพถ่ายเข้าร่วมการประกวดในครั้งนี้ สามารถส่งผลงานมาได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 25 มีนาคม 2554 โดยสามารถส่งผลงานได้ที่ ตู้ ปณ 84 แขวงสามเสนใน กรุงเทพฯ 10400 หรือ ที่อีเมลล์ infocs 2011 @ yahoo.com หรือ สอบถามเพิ่มเติม ที่หมายเลข 0 -2279 -0047 และจะมีการประกาศผลการตัดสินในวันที่ 28 มีนาคม 2554

View :1495
Categories: Press/Release Tags:

ก.ไอซีที เปิดค่ายเยาวชนคนยุคดิจิตอล สร้างการเรียนรู้โลกทั้ง 4 มิติแห่งชีวิต

March 15th, 2011 No comments

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดค่ายเยาวชนคนยุคดิจิตอล ( Digital Youth Camp) ภายใต้กิจกรรม ICT CAMP ว่า กระทรวงฯ ได้ดำเนินกิจกรรม ICT Camp ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาการใช้  ICT ในกลุ่มเด็กและเยาวชน  เพื่อมุ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้และทักษะด้าน ICT สำหรับเยาวชน  โดยสร้างเครือข่าย ครู และเยาวชนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT ที่สามารถถ่ายทอดความรู้และการใช้ ICT ให้มีการเผยแพร่ความรู้ จนก่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ด้าน ICT รวมทั้งมุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชนมีความคิดสร้างสรรค์ มีคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนสร้างรูปแบบการเรียนรู้แบบใหม่ของเยาวชนไทยที่มี ICT เป็นเครื่องมือสนับสนุน ซื่งจะเกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
การจัดกิจกรรม ICT CAMP นี้ ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2553 ซึ่งมีกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว คือ การอบรมครูไอซีทีแกนนำ 205 คน จากนั้นมีการขยายผลการอบรมจากครูไอซีทีแกนนำ เรื่อง การเรียนอย่างไรในยุคดิจิตอลสู่เยาวชน จำนวน 17,000 คน การอบรมเยาวชนหลักสูตรทักษะการใช้  ICT ซึ่งเป็นค่ายแบบไป – กลับ 2 วัน จำนวน 2,300 คน และการรับสมัครการแข่งขันการประกวดสื่อสร้างสรรค์ ภายใต้หัวข้อ “เมืองไทยน่าอยู่”
ด้าน นายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับค่ายเยาวชนคนยุคดิจิตอลนี้ จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่เยาวชนที่จะเป็นแกนหลักในศูนย์การเรียนรู้  ICT ชุมชน ได้นำไปขยายผลและสร้างเครือข่ายในชุมชนต่อไป โดยเน้นการคัดเลือกเยาวชนจากศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน หรือเยาวชนจากเครือข่ายครูไอซีทีแกนนำที่อยู่ในการขยายผลของกิจกรรม ICT Camp รวมทั้งจากโรงเรียนใกล้เคียง และเยาวชนทั่วไปที่มาจากทั่วประเทศ จำนวน 200 คน มาเข้าค่ายพักแรมระหว่างวันที่ 15 – 21 มีนาคม 2554 โดยรูปแบบกิจกรรมในค่ายจะเน้นการเรียนรู้โลกทั้ง 4 มิติแห่งชีวิต คือ  “ชีวิต” “การแก้ปัญหา” “ความคิดสร้างสรรค์” และ “เทคโนโลยี” 
“เป้าหมายสำคัญของการจัดกิจกรรมนี้ คือ ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นกับเยาวชนไทยทุกคน ค่ายแห่งนี้จึงได้มีการสร้างสรรค์กิจกรรมและบรรยากาศต่างๆ ภายในค่ายอย่างลงตัว เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ทั้ง 4 มิติเหล่านี้ไปพร้อมๆ กับความสนุกสนาน ท้าทายและสร้างสรรค์ โดยได้มีการเตรียมการและวางแผนการจัดกิจกรรมจากผู้เชี่ยวชาญในด้านการจัดกิจกรรมสำหรับเยาวชน เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมที่ดี ที่สามารถเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และแนวคิดในการใช้ไอซีทีกับชีวิตให้แก่เยาวชนตามปรัชญาของค่าย คือ สร้างสรรค์ความคิด ชีวิตพัฒนา ปัญหาแก้ได้” นายสมบูรณ์ กล่าว

View :1434
Categories: Press/Release Tags:

ก.ไอซีที จับมือ 6 สถาบันการศึกษาและเทศบาลนครสงขลา สนับสนุนองค์ความรู้ให้กับเว็บไซต์ TKC

March 2nd, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสนับสนุนองค์ความรู้ให้กับเว็บไซต์ศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ ( www..go.th ) ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับ 6 สถาบันการศึกษา และเทศบาลนครสงขลา ว่า ภายหลังจากกระทรวงฯ ได้จัดทำ “ ศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ ” (Thailand Knowledge Center : ) ในรูปแบบของเว็บไซต์ที่มีชื่อว่า www..go.th ซึ่งเป็น Web Portal ที่รวบรวมความรู้ในทุกสาขาวิชา เพื่อเป็นศูนย์กลางให้ประชาชน นักเรียน นักศึกษา รวมทั้งผู้ด้อยโอกาสทางสังคม และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ต้องการสืบค้นข้อมูลในด้านต่างๆ ได้เข้ามาแสวงหาความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 จนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 6 แล้ว ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงฯ ได้มีการพัฒนาเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง ทั้งระบบคอมพิวเตอร์และโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงองค์ความรู้ที่เผยแพร่อยู่ในเว็บไซต์

“สำหรับ การพัฒนาเว็บไซต์ฯ ในปีนี้กระทรวงฯ ได้ร่วมมือกับ 6 สถาบันการศึกษา คือ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันทักษิณคดีศึกษา รวมทั้งเทศบาลนครสงขลา นำองค์ความรู้สาขาวิชาต่างๆ และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในลักษณะสื่อดิจิทัลรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ลักษณะตัวอักษร รูปภาพ สื่อมัลติมีเดีย รวมถึง link เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหัวข้อองค์ความรู้ของ TKC และ เผยแพร่ลงในเว็บไซต์ของโครงการฯ ให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ และกระทรวงฯ จะให้ความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์สถาบันการศึกษาที่ให้ความร่วมมือผ่านทาง เว็บไซต์ ด้วยการสื่อความหมายในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปที่ได้เข้าถึงข้อมูลและองค์ความรู้ได้รับทราบเกี่ยว กับหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือสนับสนุนการพัฒนาเว็บไซต์ในครั้งนี้” นางจีราวรรณ กล่าว

กระทรวงฯ หวังว่าความร่วมมือระหว่างกระทรวงฯ และหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนองค์ความรู้ในครั้งนี้ จะทำให้การจัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์หลักที่วางไว้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้อันทรงคุณค่าจากประชาชน บุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ การสร้างและประสานเครือข่ายด้านการจัดการความรู้กับหน่วยงานที่สร้างองค์ ความรู้ให้กับสังคมไทย เพื่อให้เกิดช่องทางในการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน รวมถึงเป็นแหล่งบ่มเพาะความรู้ในเรื่องต่างๆ ให้แก่ประชาชนที่สนใจ ด้วยการจัดทำระบบและการจัดเก็บรวบรวมองค์ความรู้ สร้างสื่อดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ ที่ครอบคลุมถึงสื่อมัลติมีเดีย โดยมีการจัดแบ่งองค์ความรู้ออกเป็นกลุ่ม ประกอบด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น และองค์ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อให้บริการแก่สังคมอย่างครบถ้วนและทั่วถึง

View :1318
Categories: Press/Release Tags: ,

ก.ไอซีที เดินหน้าศึกษาแนวทางขยายระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ห่างไกลของประเทศ

February 25th, 2011 No comments

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิด เผยว่า กระทรวงฯ ได้ร่วมมือกับธนาคารโลกเพื่อดำเนินโครงการศึกษาแนวทางในการขยายระบบอินเทอร์ เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย ( Thailand : Rural Broadband Infrastructure Development ) โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากธนาคารโลกเป็นจำนวน 100,000 ดอลล่าร์สหรัฐ และกระทรวงฯ สนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมอีก 10,000 ดอลล่าร์สหรัฐ เพื่อดำเนินการศึกษาตัวอย่างการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตชนบทของ ประเทศไทย ตลอดจนความเกี่ยวข้องทางด้านนโยบายและปัจจัยสำคัญอื่นๆ รวมทั้งศึกษาตัวอย่างจากกรณีศึกษาผลงานวิจัยของต่างประเทศด้านการพัฒนาอิน เทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ได้ผลในเขตพื้นที่ห่างไกล และนำผลที่ได้มาจัดทำแนวทางในการดำเนินงานพัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงใน เขตพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย

“ในการดำเนินโครงการฯ นี้ กระทรวงฯ ได้มีการว่าจ้างที่ปรึกษาจากต่างประเทศ คือ Mr. David N. Townsend และที่ปรึกษาของประเทศไทย คือ ดร. ศุภฤกษ์ สุขสมาน จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อทำการศึกษาด้านการเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงใน เขตพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทยในปัจจุบัน รวมทั้งศึกษาเกี่ยวกับสถาบันหรือองค์กรต่างๆ และปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องในด้านการตลาด ตลอดจนปัจจัยในการพัฒนาท้องถิ่นและโอกาส โดยได้มีการสัมภาษณ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กสทช. บมจ.ทีโอที บมจ.กสท.โทรคมนาคม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการจัดกลุ่มของตัวอย่างวิธีการต่างๆ ที่ใช้ในต่างประเทศเกี่ยวกับการพัฒนาการเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตใน พื้นที่ห่างไกลอีกด้วย

หลัง จากนั้นจะมีการนำรายงานผลการศึกษาในเบื้องต้นมานำเสนอในการประชุมเชิง ปฏิบัติการที่จะจัดขึ้นในวันที่ 15 มีนาคม 2554 เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนจัดเป็นทำรายงานฉบับสมบูรณ์ เพื่อให้กระทรวงฯ นำมาใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนการดำเนินงานตามนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติต่อ ไป” นายธานีรัตน์ กล่าว

View :1479

ก.ไอซีที เดินหน้าเปิดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนทั่วจังหวัดกระบี่ 

February 25th, 2011 No comments

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน จำนวน 3 แห่ง ในจังหวัดกระบี่ ว่า โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน นี้ เป็นโครงการที่พัฒนาต่อยอดมาจากโครงการ “หนึ่งวัดหนึ่งศูนย์การเรียนรู้ หรือ OTEC” และโครงการ “I-Community หรือชุมชนแห่งข้อมูลข่าวสาร” โดยได้นำข้อดีจากทั้งสองโครงการมาปรับใช้  เพื่อให้ “” เป็นแหล่งเรียนรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือ ซึ่งแต่เดิมกระทรวงฯ มีเป้าหมายในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน จำนวน 1,000 แห่งทั่วประเทศ เพื่อใช้เป็นศูนย์ต้นแบบ แต่ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากชุมชน จึงทำให้กระทรวงฯ ต้องดำเนินการจัดสรรศูนย์ให้แก่ชุมชนต่อไป โดยได้วางเป้าหมายที่จะจัดตั้งตำบลละ 1 ศูนย์ และกระทรวงฯ คาดหวังว่าองค์กรท้องถิ่นจะเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ฯ และชุมชน เพื่อให้ศูนย์ฯ สามารถสร้างประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ และสามารถให้บริการได้อย่างยั่งยืน
“ขณะนี้กระทรวงฯ สามารถจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนแล้วเสร็จไปจำนวน 879 ศูนย์ทั่วประเทศ แบ่งออกเป็น ภาคเหนือ จำนวน 210 ศูนย์ ภาคใต้ จำนวน 152 ศูนย์ ภาคกลาง จำนวน 204 ศูนย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 313 ศูนย์ พร้อมกันนี้        ยังสามารถสร้างผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนไปแล้วมากกว่า 2,000 คน อบรมกลุ่มอาชีพมากกว่า 3,000 คน และอบรมประชาชนในหลักสูตรและระดับต่างๆ มากกว่า 100,000 คน ส่วนในปีงบประมาณ 2554 นี้จะดำเนินการจัดตั้งเพิ่มอีก 1,000 ศูนย์ ซึ่งหากชุมชนใดที่มีความพร้อมใน 5 ด้าน คือ 1.สถานที่ 2.แนวทางการบริหารจัดการ 3.ข้อมูลสารสนเทศชุมชน 4.บุคลากร 5.การมีส่วนร่วมของชุมชน และมีความสนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถดาวน์โหลดข้อมูลใบสมัครได้จากเว็บไซต์โครงการ www.thaitelecentre.org และส่งผ่านสำนักงานสถิติจังหวัด เพื่อประเมินความพร้อมในชั้นแรกก่อนส่งให้คณะกรรมการส่วนกลางพิจารณา“ นายธานีรัตน์ กล่าว
สำหรับชุมชนที่เข้าร่วมโครงการฯ นั้น จะได้รับประโยชน์ในหลายด้าน คือ มีศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ ICT ที่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมากมาย และเป็นแหล่งสืบค้นข้อมูลประจำชุมชน สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ระหว่างชุมชนได้ นอกจากนั้นยังทำให้เกิดศูนย์กลางของคนในชุมชนในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และให้คำปรึกษาเรื่องต่างๆ เช่น สุขภาพ อาหาร อาชีพ เกษตรกรรม กฎหมาย (Knowledge Sharing) รวมทั้งยังสามารถใช้เป็นช่องทางสำหรับการจัดจำหน่ายสินค้าของชุมชน รวมถึงสินค้า และสามารถแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างชุมชน เพิ่มช่องทางการตลาดได้ พร้อมกันนี้ยังเป็นการสร้างโอกาสในการประชาสัมพันธ์ชุมชน เช่น วัฒนธรรม การท่องเที่ยว ตลอดจนการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประชาชนในท้องถิ่น เช่น homestay ร้านอาหาร และร้านค้าต่างๆ รวมทั้งสามารถลดบทบาทพ่อค้าคนกลาง ส่วนนักเรียนในชุมชนก็จะมีแหล่งสืบค้น มีสถานที่ทำการบ้านในหมู่บ้าน โดยไม่ต้องเดินทางไกล จึงช่วยลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และศูนย์ฯ ยังจะเป็นสถานที่รับบริการของภาครัฐ (e-Services) ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล เช่น ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ สุขภาพ หรือบริการต่างๆ ที่ภาครัฐได้พัฒนาในรูปแบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การชำระภาษี การจดทะเบียนนิติบุคคล เป็นต้น
ส่วนศูนย์การเรียนรู้  ICT ชุมชนในจังหวัดกระบี่ ขณะนี้มีจำนวน 11 ศูนย์ กระจายอยู่ในชุมชนต่างๆ ของทั้ง 8 อำเภอ คือ อ.เมือง อ.เกาะลันตา อ.เขาพนม อ.ปลายพระยา อ.ลำทับ อ.อ่าวลึก อ.คลองท่อม และ อ.เหนือคลอง ซึ่งทั้ง 11 ศูนย์ ตั้งอยู่ในชุมชนที่มีความพร้อมและความเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เพราะเป็นศูนย์กลางที่ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก สำหรับแผนการดำเนินงานของศูนย์ฯ ที่เปิดใหม่ทั้ง 3 ศูนย์ คือ 1.ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนบ้านควนโอ อำเภออ่าวลึก 2.ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง และ 3.ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนตลาดใหม่ อำเภอคลองท่อม นั้น ทางศูนย์ได้วางแผนที่จะจัดอบรมการใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้นให้แก่ประชาชน และจะใช้ศูนย์ฯ เป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน เป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้า รวมทั้งใช้ส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน เนื่องจากชุมชนทั้ง 3 แห่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของจังหวัดกระบี่
 

View :1661