Archive

Posts Tagged ‘MICT’

ก.ไอซีที จับมือ 3 หน่วยงานผลักดันศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนสู่สากล

September 23rd, 2010 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังพิธีเปิดงาน “ ชุมชนร่วมใจ จับมือ ก้าวไกล สู่สากล ” ว่า จากยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่พยายามผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ( Knowledge Based Society) ประกอบ กับสังคมโลกที่มีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างแพร่หลาย กระทรวงฯ ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ และเป็นแกนหลักในการผลักดันให้เกิดสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ดัง กล่าว จึงได้ดำเนินโครงการศูนย์การเรียนรู้ ชุมชนในสถานที่ราชการ ศาสนสถาน มูลนิธิ และชุมชนในท้องถิ่นที่มีความพร้อมและความเหมาะสมมาตั้งแต่ปี 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารแก่ชุมชน เยาวชน และประชาชนทั่วไป สามารถสืบค้นและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้

ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ กระทรวงฯ จึงได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย และ Telecentre.org Foundation จัดทำข้อตกลงร่วมกันในการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ระหว่างสถาบันหลัก และสถาบันอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงการ Telecentre.org Academy Program ในนามของ Telecentre.org Foundation ที่เป็นความร่วมมือระหว่างหลายหน่วยงาน องค์กร เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับ ThaiTelecentre.org หรือศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนของประเทศไทย

“การ ทำจัดข้อตกลงครั้งนี้เกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานหลัก 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโอกาสการเรียนรู้ที่เท่าเทียมผ่านเครือ ข่ายอินเทอร์เน็ต โดยกระทรวงไอซีทีนั้น เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาและบูรณาการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ ประเทศไทยอย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพ ขณะที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่ใช้ระบบการศึกษาทางไกลชั้นนำของโลก ให้การศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคน ส่วนมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย เป็นหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ให้บริการและการเรียนรู้ผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์แก่ประชาชนทุกระดับ ผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการศึกษา และ Telecentre.org Foundation เป็นองค์กรไม่หวังผลกำไรที่ให้การสนับสนุนศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนทั่วโลก และเป็นผู้ดำเนินการสถาบัน Telecentre.org Academy ซึ่งเป็นสถาบันที่จัดทำหลักสูตรการศึกษาเพื่อการพัฒนาและสร้างศักยภาพผู้ดูแลศูนย์ฯ อันเป็นการสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนทั่วโลก” นายจุติ กล่าว

สำหรับข้อตกลงในความร่วมมือกันนั้น ได้กำหนดรายละเอียดให้ Telecentre.org Foundation สนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรร่วมกับเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และองค์กรที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั่วโลก เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลศูนย์ฯ และเครื่องมือการเรียนการสอนทางไกลเพื่อประโยชน์ของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนในประเทศไทย และให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ Telecentre.org Academy นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกันส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนทางไกลหลักสูตรของ Telecentre.org Academy ในประเทศไทยและกลุ่มประเทศต่างๆ ภายใต้ความร่วมมือของ Global Telecentre.org Academy และ Telecentre.org Foundation โดยร่วมกันพัฒนาและจัดทำหลักสูตรให้เหมาะสมกับชุมชน ท้องถิ่นในการเรียนรู้ผ่านระบบเปิดและระบบทางไกลในรูปแบบของการเรียนการสอน แบบเดิมที่เป็นชั้นเรียน ( Offline) และที่เป็นระบบออนไลน์ ( Online) ทั้งแบบที่เป็นหลักสูตรทางการ ( Formal) และหลักสูตรนอกระบบต่างๆ ( Non-Formal) ซึ่งสามารถนำเข้าไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยภาคปกติได้ พร้อมกันนี้ยังร่วมมือกันสร้างเสริมความรู้ ความสามารถ ทักษะ ที่จำเป็นให้ชุมชนเพื่อให้สามารถเป็นผู้ประกอบการชุมชน หรือเป็นวิทยากรชุมชน ได้ตามความต้องการและความพร้อมของชุมชน

“การจัดทำข้อตกลงครั้งนี้นับเป็นความร่วมมือระดับสากล ซึ่งจะเป็นโอกาสอันดีที่จะทำให้เกิดการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง รวมทั้งทำให้สามารถขยายขอบข่ายงานได้กว้างขวางยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่สังคมโลก และต้อนรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้สังคมไทยก้าวสู่ความก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ ” นายจุติ กล่าว

View :1498

ก.ไอซีที ชง (ร่าง) นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติให้คณะกรรมการ กทสช.พิจารณา

September 19th, 2010 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิด เผยว่า กระทรวงไอซีที ได้นำเสนอ (ร่าง) นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่ง ชาติ (กทสช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พิจารณาในวันนี้ (17 ก.ย.53) หลังจากที่กระทรวงฯ ได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)จัดทำร่างนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ เพื่อให้การพัฒนาบรอดแบนด์ของประเทศไทยเป็นไปอย่างมีทิศทางที่ชัดเจน มีความเป็นเอกภาพสอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ และสามารถรองรับความต้องการของทุกภาคส่วนได้อย่างเหมาะสมตามมติของคณะ รัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553

“สาระ สำคัญของ (ร่าง) นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติที่กระทรวงฯ เสนอให้ กทสช. พิจารณา ก็คือ การกำหนดนโยบายหลักให้บริการบรอดแบนด์เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่นเดียวกับน้ำ ไฟฟ้า หรือถนนทางด่วนที่ต้องมีอย่างเพียงพอ ประชาชนมีโอกาสเลือกใช้บริการที่หลากหลายทั่วถึงเท่าเทียมกัน ธุรกิจขนาดเล็กมีโอกาสแข่งขันอย่างเสมอภาค โดยมีอัตราค่าบริการพื้นฐานที่เหมาะสม โดยมีการให้บริการแบบ 24 x 7 ที่ระดับคุณภาพเชื่อถือได้ 99.99% ภายในปี 2558 พร้อมกันนี้ ยังมีนโยบายให้โครงข่ายบรอดแบนด์นั้นเป็นตัวช่วยในการส่งเสริมให้เกิดการ พัฒนาทางด้านการศึกษา สาธารณสุข บริการของรัฐ เศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการรักษาความมั่นคงและปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่ดี ขึ้น โดยมีการครอบคลุมอย่างทั่วถึง คือ ให้ประชากรไทยไม่ต่ำกว่า 80% จะต้องสามารถเข้าถึงบรอดแบนด์ได้ภายในปี 2558 และไม่ต่ำกว่า 95% ภายในปี 2563” นายจุติ กล่าว

สำหรับ มาตรการที่วางไว้เพื่อผลักดันการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวนั้น กระทรวงฯ ได้กำหนดมาตรการไว้ทั้งสิ้น 8 ข้อ คือ 1.ลดการลงทุนซ้ำซ้อนด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมทั้งในส่วนของรัฐและเอกชน 2.กำหนดให้มีการร่วมกันใช้โครงสร้างพื้นฐานส่วนที่สามารถใช้ร่วมกันได้ เพื่อที่จะทำให้ประชาชนได้ใช้บริการบรอดแบนด์ในราคาที่เหมาะสมโดยรัฐต้อง เป็นผู้นำในโครงการประเภทนี้ 3.รัฐต้องมีนโยบายผลักดันและส่งเสริมตลาด ( market intervention) เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม โดยส่งเสริมการเข้าถึงตลาดแบบเปิด ( OPEN Access model) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาด 4.เลิกการผูกขาดเชิงนโยบายของหน่วยงานที่รัฐเป็นเจ้าของ คือ ไม่ให้สิทธิพิเศษหรือข้อยกเว้นแก่หน่วยงานภาครัฐที่ต้องแข่งขันกับเอกชนบน พื้นฐานการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม ขณะเดียวกันก็ต้องหาแนวทางอย่างจริงจังสำหรับการลงทุนกิจการโทรคมนาคมแบบรัฐ ร่วมมือกับเอกชน ( Public-Private Partnership) พร้อมไปกับการปกป้องสิทธิอันพึงได้ของพนักงานของหน่วยงานที่รัฐเป็นเจ้าของอย่างเหมาะสม

5.ส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการในธุรกิจทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับบริการบรอดแบนด์ 6.ส่งเสริมการใช้บรอดแบนด์เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อนและรักษาสิ่งแวด ล้อม 7.ปกป้องภัยคุกคามและเตรียมการรับมือผลกระทบเชิงลบที่จะเกิดตามมาจากการมี บริการ

บรอดแบนด์ อย่างแพร่หลาย โดยต้องทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจถึงประโยชน์และภัยอันตรายอันอาจเกิดขึ้นได้ และ 8. กำหนดให้มีคณะอนุกรรมการบรอดแบนด์แห่งชาติ ภายใต้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่เสนอ ร่าง นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติฉบับสมบูรณ์ แก่คณะรัฐมนตรี รวมทั้งเสนอแนะการปรับปรุงนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ กำหนดตัวชี้วัดและวิธีประเมินผลที่จำเป็นสำหรับการติดตามความสำเร็จของ นโยบายฯ และประสานงานการดำเนินการที่จำเป็นในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถ บรรลุเป้าหมายของนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ

“ใน ส่วนของข้อเสนอที่กระทรวงฯ ต้องการให้ กทสช. พิจารณาให้ความเห็นชอบ คือ การตั้งอนุกรรมการบรอดแบนด์แห่งชาติ ที่ประกอบด้วยภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการตามมาตรการภายใต้นโยบายทั้ง 8 ข้อ รวมทั้งนำร่างนโยบาย บรอดแบนด์แห่งชาติ เข้ารับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศเป็นนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ตลอดจนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณายกเลิกคณะกรรมการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการที่ซ้ำซ้อนกับงานของคณะอนุกรรมการบรอดแบนด์แห่งชาติ เพื่อให้รวมงานที่เกี่ยวข้องไว้ในที่เดียวอีกด้วย” นายจุติ กล่าว

นอก จากนี้ในการประชุมคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ ครั้งนี้ กระทรวงฯ ยังมีการเสนอเรื่อง ร่างกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ระยะ พ.ศ.2554 – 2563 ( ) ร่างแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน ( ASEAN Master Plan 2015) และร่างพระราชบัญญัติสภาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. …. เข้าสู่การพิจารณา เพื่อให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไปอีกด้วย

View :1571

ก.ไอซีที ร่วมผลักดันการสมัครงานออนไลน์ เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายแก่ผู้หางาน

September 19th, 2010 No comments

นายวรพัฒน์ ทิวถนอม ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานมหกรรมสมัครงานออนไลน์ ครั้งที่ 6 ว่า กระทรวงฯ ได้ร่วมกับ บริษัท จัดหางาน จ็อบดีบี ประเทศไทย จำกัด จัดงานมหกรรมสมัครงานออนไลน์ ครั้งที่ 6 “ 2010: Come and Click Your Career” เพื่อ สร้างโอกาสอันดีให้กับองค์กรในการค้นหาบุคลากรที่จะเป็นกำลังสำคัญขององค์กร และเป็นสื่อกลางข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้หางาน ผู้ประกอบการ และสถาบันฝึกอบรม นอกจากนี้ยังได้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน ให้สามารถคัดเลือกบุคลากรที่จะเข้ามาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การ จัดงานมหกรรมสมัครงานออนไลน์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะนำเสนอตำแหน่งงานที่ได้มาตรฐาน สอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้าร่วมงานจากองค์กรชั้นนำกว่า 160 บริษัทกับตำแหน่งงานกว่า 30,000 ตำแหน่ง โดยการนำเสนอตำแหน่งงานที่หลากหลายผ่านระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์และระบบบาร์โค้ดสแกนกว่า 500 เครื่อง ที่สามารถรองรับการสมัครงานได้มากกว่า 5,000 ตำแหน่ง ภายในระยะเวลาเพียงครึ่งชั่วโมง

“กระทรวงฯ ในฐานะหน่วยงานที่ส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ เป็นเครื่องมือยกระดับขีดความ สามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไอซีที เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ รวมทั้งส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกิดจากการวิจัยสู่ผู้ประกอบการ ได้เล็งเห็นว่าการนำระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ และระบบบาร์โค้ดสแกนมาใช้ในการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านซอฟต์แวร์และ ระบบการจัดการฐานข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้บริการที่มีทั้งผู้ประกอบการและผู้ที่กำลังหางานได้รับความ สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายนั้น นับเป็นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศที่ควรให้การสนับสนุนเป็นอย่าง ยิ่ง กระทรวงฯ จึงได้ให้ความร่วมมือในการจัดงานดังกล่าว นอกจากนี้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ ได้แก่ บมจ.กสท โทรคมนาคม สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และสำนักงานปลัดกระทรวงฯ ยังได้เข้าร่วมในการออกบูธนำเสนอนิทรรศการการเติบโตทางเทคโนโลยีเกี่ยวกับ ระบบการสมัครงานออนไลน์ของหน่วยงาน การประชาสัมพันธ์หน่วยงาน และโครงการพัฒนามาตรฐานบุคลากร อีกด้วย

อย่าง ไรก็ตาม ในสภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่ระหว่างการเติบโตและฟื้นตัวจากภาวะแวด ล้อมที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศเช่นนี้ ได้ทำให้ภาวการณ์ว่างงานยังคงเกิดขึ้นและมีตัวเลขที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง ดังนั้น กระทรวงฯ จึงหวังว่ามหกรรมสมัครงานออนไลน์ครั้งนี้ จะเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ตลาดแรงงานเปิดกว้างและเป็นช่องทางสำหรับผู้ ที่กำลังมองหางานคุณภาพได้เข้ามาเปิดตัว และได้เลือกหาตำแหน่งงานที่ตนเองต้องการและเหมาะสมกับคุณสมบัติ เพื่อร่วมสร้างและพัฒนาศักยภาพของประเทศไทยได้อีกทางหนึ่ง” นายวรพัฒน์ กล่าว

View :1471
Categories: Press/Release Tags: ,

ก.ไอซีที ฝึกซ้อมระบบเตือนภัยในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งอันดามัน เตรียมพร้อมป้องกันและบรรเทาภัยสึนามิ

September 13th, 2010 No comments

นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า การจัดการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยเพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันและบรรเทาภัยจากสึนามิในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ประจำปี 2553 ในครั้งนี้ เกิดขึ้นตามมติของคณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2553 ที่ได้กำหนดให้จัดการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยดังกล่าวขึ้นในวันที่ 13 กันยายน 2553 ณ พื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ จังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล และระนอง

โดยกระทรวงไอซีที ได้รับมอบนโยบายจากรัฐบาลให้รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านการสื่อสารโทรคมนาคมและการแจ้งเตือนภัย ด้วยการนำระบบข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย พัฒนาระบบฐานข้อมูล ติดตั้งระบบแจ้งเตือนภัย เพื่อดำเนินการแจ้งเตือนภัยและกระจายความรุนแรงของภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมทั้งช่วยบรรเทาความเดือดร้อน ลดความสูญเสียของพี่น้องประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเตรียมความพร้อมแห่งชาติ อันเป็นแผนหลักของชาติในการเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากร และมาตรการในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ได้กำหนดให้กระทรวงฯ รับผิดชอบแผนปฏิบัติการแบบบูรณาการระดับกระทรวงด้านระบบสื่อสารโทรคมนาคม และด้านแจ้งเตือนภัย

ดังนั้น ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงไอซีที ซึ่งมีฐานะเป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการบริหารระบบการ เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จึงได้ดำเนินการฝึกซ้อมเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันเป็นประจำทุกปี โดยการจัดการฝึกซ้อมฯ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการฝึกซ้อมทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสัญญาณเตือนภัยและการแจ้งเตือนภัย รวมทั้งเพื่อให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ในพื้นที่ และประชาชนทั่วประเทศมีความรู้ความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมเพื่อเผชิญเหตุภัยพิบัติ ตลอดจนมีความรู้เกี่ยวกับพื้นที่จุดปลอดภัยจากคลื่นสึนามิและสามารถอพยพไปสู่พื้นที่ ได้อย่างปลอดภัยและทันท่วงที

สำหรับการจัดการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยเพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันและบรรเทาภัยจากสึนามิในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันปีนี้ ได้กำหนดให้บ้านน้ำเค็ม จังหวัดพังงา เป็นจังหวัดหลักในการฝึกซ้อม โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และมีนายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้าร่วมในการฝึกซ้อมดังกล่าวด้วย นอกจากนี้ยังได้มีการใช้สถานที่ของศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ เป็นศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจด้านการเตือนภัยและการสื่อสาร เพื่อทดสอบการแจ้งเตือนภัยและฝึกซ้อมแผนอพยพหลบภัย จากสถานการณ์สมมุติกรณีที่เกิดแผ่นดินไหวในทะเลบริเวณหมู่เกาะสุมาตรา และทำให้เกิดภัยพิบัติคลื่นสึนามิ ณ จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

“การจัดการฝึกซ้อมฯ ครั้งนี้ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ร่วมมือกับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กร ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่เพื่อร่วมกันฝึกซ้อม จึงต้องนำเอาการบริหารจัดการในภาวะวิกฤตที่ต้องระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วนมาใช้ รวมทั้ง การนำเครือข่ายอาสาสมัครภาคประชาชนเข้ามีส่วนช่วยเหลือทางราชการ ตลอดจนนำระบบการบัญชาการเหตุการณ์ หรือ Incident Command System : ICS มาใช้ในการฝึกซ้อมครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมในด้านระบบการเตือนภัยพิบัติล่วงหน้า และเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ” นายวิบูลย์ทัต กล่าว

View :1452

ก.ไอซีทีจัดกิจกรรม ICT Camp ส่งเสริมพัฒนาการใช้ ICT ในกลุ่มเด็กและเยาวชน

September 9th, 2010 No comments

นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังพิธีเปิดการอบรมสัมมนาหลักสูตร “ค่ายครูยุคดิจิตอล” ภายใต้กิจกรรม CAMP ว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะในการใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม การพัฒนาด้านไอซีทีที่รวดเร็วนี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาสำคัญ 2 ประการ คือ การเข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศ ที่ทำให้เกิดความแตกต่างของผู้ใช้ข่าวสารได้เร็ว กับผู้เข้าถึงข่าวสารได้ช้า ซึ่งเกิดเป็นช่องว่างทางดิจิตอล และการใช้ไอทีในกลุ่มเด็กและเยาวชนในรูปแบบที่ไม่สร้างสรรค์ โดยใช้เพื่อการบันเทิง ใช้เพื่อการแสดงออกแบบไร้ขอบเขต หรือสื่อสารในเรื่องที่ไม่มีประโยชน์ ขณะเดียวกันก็ขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้ไอซีทีเพื่อแสวงหาความรู้ และใช้อย่างสร้างสรรค์ ทำให้การใช้ไอทีในกลุ่มนี้ ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ตามยุทธศาสตร์กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในยุทธศาสตร์ที่ 4 คือ การส่งเสริมและพัฒนาการใช้ ของบุคลากรทุกภาคส่วนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ที่ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรเพื่อส่งเสริมให้มีความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพราะถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ

“กระทรวงฯ ได้ตระหนักถึงปัญหาทั้ง 2 ประการดังกล่าว จึงมีนโยบายที่จะลดช่องว่าง และส่งเสริมการใช้ไอซีทีให้ทั่วถึง เท่าเทียมกันเพื่อลดความแปลกแยกทางดิจิตอล โดยเน้นประชาชนทุกภาคส่วน ทั้งระดับเด็ก เยาวชน ไปจนถึงผู้ใหญ่ จากส่วนกลางไปจนถึงส่วนภูมิภาคของประเทศ ด้วยการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนขึ้น เพื่อใช้เป็นแหล่งกระจาย และเรียนรู้การใช้ข้อมูลข่าวสารของชุมชน พร้อมกันนี้ยังได้มีนโยบายที่จะพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะในระดับที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนต่างๆ เพื่อบูรณาการการใช้ความรู้ทางด้านไอซีทีให้เกิดประโยชน์ ทั้งต่อตนเอง ต่อสังคมและประเทศชาติ โดยการดำเนินงานกิจกรรม ICT Camp ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาการใช้ ICT ในกลุ่มเด็กและเยาวชน” นายสือ กล่าว

สำหรับวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจกรรม ICT Camp นั้น เพื่อให้เด็ก เยาวชน ครู ผู้ปกครอง และกลุ่มชุมชนของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้าน ICT โดยเน้นทักษะกระบวนการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ แยกแยะข่าวสาร ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง เข้าใจสังคม กฎระเบียบ มีคุณธรรมจริยธรรม และช่วยเหลือสังคมให้น่าอยู่ สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมไซเบอร์รวมทั้งเพื่อช่วยส่งเสริมกิจกรรมทางด้าน ICT บนพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในเรื่องการใช้ประโยชน์ ICT อย่างสร้างสรรค์ บูรณาการ ICT เพื่อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ การอยู่ร่วมกันในสังคมใหม่ที่เรียกว่า สังคมไซเบอร์ อย่างสงบสุข การใช้ชีวิตที่สมดุลทั้งโลกในความเป็นจริงและโลกออนไลน์เสมือนจริง การใช้และการให้ข้อมูลข่าวสารในสื่อสังคมอย่างถูกต้องมีคุณธรรม สามารถป้องกันตนเองจาก พิษภัยในโลกเสมือนจริงของสังคมไซเบอร์ และมีความปลอดภัยในโลกออนไลน์ ลดปัญหาช่องว่างทางการศึกษา (Digital Divide) ของเยาวชนไทยด้าน ICT

นอกจากนั้นการจัดกิจกรรม ICT Camp ยังเป็นการสร้างโอกาสให้เยาวชนไทยได้ใช้ความรู้ เกิดทักษะและความคิดสร้างสรรค์ด้าน ICT รู้จักนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง และสังคม รวมถึงการเปิดกิจกรรมทางเลือกที่สร้างสรรค์เพื่อใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ ทดแทนการใช้ ICT ที่เกิดประโยชน์น้อย เช่น เล่นเกม เล่นเน็ต เล่นแชต ฯลฯ รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายเยาวชนด้าน ICT ที่สามารถถ่ายทอดความรู้และการใช้ ICT เพื่อให้มีการเผยแพร่ความรู้ กระจายไปจนก่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ด้าน ICT โดยเน้นให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ตลอดจนเกิดการบูรณาการการใช้ความรู้ ICT กับชุมชนและสังคม เพื่อสร้างทัศนคติและเจตคติที่ดีต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

“การดำเนินกิจกรรมฯ นี้ จะทำให้เกิดการศึกษาถึงวิธีการ แนวทางส่งเสริมการใช้ ICT สำหรับเด็กและเยาวชนอย่างสร้างสรรค์ มีคุณธรรม จริยธรรม และรูปแบบการเรียนรู้แบบใหม่ของเยาวชนไทยที่มี ICT เป็นเครื่องมือสนับสนุน รวมทั้งยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในเรื่องการพัฒนาการเรียนรู้ โดยเป็นต้นแบบการเรียนการสอนในยุคดิจิตอลให้กับโรงเรียนและสถาบันต่างๆ ซึ่งรูปแบบกิจกรรมฯ นั้นจะมีทั้งการจัดอบรมครูแกนนำ การจัดอบรมขยายผลสู่เยาวชน การจัดค่ายเยาวชนแบบไปกลับ การจัดอบรมเข้มแบบค่ายสำหรับเยาวชน และการประกวดผลงาน” นายสือ กล่าว

ส่วนกิจกรรมจัดอบรมครูแกนนำในครั้งนี้ เป็นการจัดค่ายอบรมเข้มให้กับครูแกนนำที่จะไปถ่ายทอดต่อ ในชื่อ “ค่ายครู ยุคดิจิตอล ( Digital Teacher Camp)” โดยมีครูอาจารย์แกนนำ ICT ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และครูจากศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน จำนวนประมาณ 200 คน เข้าร่วมการอบรมในหัวข้อ “เรียนให้เป็นเรียน เรียนอย่างไรในยุคดิจิตอล” ซึ่งจะเน้นเนื้อหาทางวิชาการที่สำคัญๆ ด้าน ICT เพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนให้กับเยาวชนทั่วประเทศต่อไป

View :1355
Categories: Press/Release Tags: ,

ก.ไอซีที เดินหน้าติดตามประเมินผลงาน 279 ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน

September 8th, 2010 No comments

นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา เชิงปฏิบัติการ Focus Group เรื่อง “กรอบแนวคิดในการประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ ชุมชน” ภายใต้โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ชุมชน ว่า กระทรวงไอซีที ได้ดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ชุมชน เพื่อติดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์พร้อมอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงตามสถานที่ต่างๆ ในชุมชนที่มีความพร้อมและเหมาะสม ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่รัฐบาลได้วางไว้ ทั้งนี้ เพื่อให้มีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้าน รองรับการพัฒนาประเทศ

“โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนนี้ นอกจากจะมุ่งลดช่องว่างระหว่างสังคมเมือง และสังคมชนบทแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงสารสนเทศให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น สร้างแหล่งเรียนรู้ด้าน ICT และสืบค้นสารสนเทศ พัฒนาศูนย์ฝึกอบรมด้าน ICT รวมถึงการสร้างห้องเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต พร้อมกันนี้ยังเป็นแหล่งรับบริการข้อมูลข่าวสาร และบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ตลอดจนสร้างโอกาสทางการตลาดแก่สินค้าและอาชีพของชุมชน” นายสือ กล่าว

โดยกระทรวงฯ ได้เริ่มดำเนินโครงการฯ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันสามารถดำเนินการจัดตั้งแล้วเสร็จ จำนวน 279 แห่ง ใน 268 อำเภอ ครบทั้ง 76 จังหวัด โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ปีงบประมาณ 2550 จัดตั้งได้ 20 ศูนย์ ปีงบประมาณ 2551 จัดตั้งได้ 40 ศูนย์ ปีงบประมาณ 2552 จัดตั้งได้อีก 219 ศูนย์ และปีงบประมาณ 2553 อยู่ระหว่างจัดตั้งเพิ่มอีก 600 ศูนย์ ให้กระจายตัวออกไปในระดับอำเภอทั่วประเทศ และเพื่อให้การดำเนินงานพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนของประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีทิศทางการดำเนินงานที่สอดคล้อง และมีรูปแบบเดียวกันในทุกศูนย์ที่ได้รับการจัดตั้ง รวมถึงมีการพัฒนารูปแบบการดำเนินโครงการฯ ไปในทิศทางที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน กระทรวงฯ จึงได้ร่วมกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินงานติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนแต่ละศูนย์ เพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการดำเนินโครงการฯ ให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้

“การกำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทบทวนสิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้วว่า คุ้มค่า เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และประเทศชาติเพียงใด รวมทั้งแนวทางการพัฒนาต่อยอดให้ศูนย์ฯ สามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ และสามารถพึ่งตัวเองควรเป็นอย่างไร ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Focus Group เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนถึงผลการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนที่ผ่านมา ตลอดจนการเสนอแนะแนวทางการพัฒนาศูนย์ฯ การแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อประมวลข้อมูลเบื้องต้นที่ได้รับ มาใช้ประกอบในการจัดทำกรอบแนวความคิดในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์ฯ

โดยการจัดสัมมนาในครั้งนี้กระทรวงฯ ได้เชิญผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ศูนย์จำนวน 30 คน ผู้ใช้บริการศูนย์ 30 คน ผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และผู้แทนจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง อีกประมาณ 15 คน รวมทั้งสิ้น 75 คนเข้าร่วมสัมมนา ซึ่งกระทรวงฯ หวังว่าผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการฯ อย่างใกล้ชิดทุกคน จะได้ใช้เวทีนี้ในการแสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา วิเคราะห์ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์ฯ ทั้งที่จัดตั้งแล้ว และที่กำลังจะจัดตั้งตามเป้าหมายที่วางไว้ต่อไป” นายสือ กล่าว

View :1509
Categories: Press/Release Tags: ,

ก.ไอซีที เดินหน้าร่างนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติเตรียมเสนอนายกรัฐมนตรี

September 4th, 2010 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิด เผยว่า หลังจากที่กระทรวงไอซีทีและสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อร่วมกันจัดทำร่างนโยบาย บรอดแบนด์แห่งชาตินำเสนอแก่คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่ง ชาติ (กทสช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ให้พิจารณากำหนดเป็นนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติไปเมื่อวันที่ 21กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมา ดังนั้น เพื่อให้แผนการพัฒนาบรอดแบนด์ของประเทศเป็นไปอย่างมีทิศทางที่ชัดเจน มีความเป็นเอกภาพสอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ และสามารถรองรับความต้องการของทุกภาคส่วนได้อย่างเหมาะสม กระทรวงฯ จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติขึ้น โดยมีปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นประธาน และมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนร่วมเป็นกรรมการ

นอก จากนี้ยังได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการดังกล่าวขึ้นอีก 4 คณะ คือ คณะอนุกรรมการด้านการจัดทำนโยบายและการกำกับดูแลคณะอนุกรรมการด้านความต้อง การบรอดแบนด์ของผู้บริโภค คณะอนุกรรมการด้านผู้ให้บริการโครงข่ายและบริการ และคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เพื่อให้การดำเนินงานด้านการจัดทำนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการเสนอแผนงานในการจัดทำนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติที่สำคัญและจำเป็น ต่อการพัฒนาประเทศ

สำหรับ คณะอนุกรรมการทั้ง 4คณะจะมีอำนาจหน้าที่ต่างๆ กัน โดยคณะอนุกรรมการด้านการจัดทำนโยบายและการกำกับดูแล จะทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาบรอดแบนด์ของไทยในปัจจุบัน ทั้งปัจจัยการขับเคลื่อน ปัญหาอุปสรรค ต่างๆ รวมถึงศึกษา วิเคราะห์แนวทางการพัฒนานโยบายและการกำกับดูแลในประเทศต่างๆ เพื่อนำมาจัดทำเป็นนโยบายและ แนวทางการพัฒนาบรอดแบนด์ของไทย ส่วนคณะอนุกรรมการด้านความต้องการบรอดแบนด์ของผู้บริโภค จะทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ ประโยชน์จากบรอดแบนด์ เพื่อกำหนดประเภท รูปแบบการใช้งานที่มีความสำคัญและก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งจัดทำแนวทางกระตุ้นการใช้งานบรอดแบนด์ของประเทศ โดยกำหนดเป็นโครงการนำร่องเพื่อผลักดันการประยุกต์ใช้งานบรอดแบนด์ของภาครัฐ อย่างเป็นรูปธรรม

ขณะ เดียวกันคณะอนุกรรมการด้านผู้ให้บริการโครงข่ายและบริการ จะทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์สถานภาพการลงทุน อุปกรณ์โครงข่าย และโครงสร้างพื้นฐานทางด้านบรอดแบนด์ของประเทศไทย รวมทั้งวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว และจัดทำแบบจำลองการลงทุน พร้อมข้อเสนอแนะ รวมถึงแนวทางการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศด้านบรอดแบนด์ของ ประเทศไทย สำหรับคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ จะทำหน้าที่วางแผนประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนและภาคธุรกิจตระหนักถึง ประโยชน์ของบรอดแบนด์ รวมทั้งทำความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง ถึงความสำคัญของบรอดแบนด์ และนโยบายรวมถึงแนวทางการพัฒนาบรอดแบนด์ของประเทศไทย

“การ สนับสนุนให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่าง ทั่วถึงในราคาที่เป็นธรรมผ่านเครือข่ายสื่อสารความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์นั้น เป็นนโยบายที่กระทรวงไอซีที จะพยายามเร่งส่งเสริม และผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว จึงได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในทุกภาคส่วนให้เข้าร่วมดำเนินงานในคณะกรรมการฯ และคณะอนุกรรมการ ทั้ง 4คณะ เนื่องจากกระทรวงฯ เล็งเห็นว่าการพัฒนาบรอดแบนด์นั้นถือเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทร คมนาคมของประเทศ ที่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของภาคธุรกิจ การค้า และอุตสาหกรรม รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของภาครัฐต่อประชาชนได้อย่างมี ศักยภาพ” นายจุติ กล่าว

View :1386

ก.ไอซีที จัดประชุมสร้างความเข้าใจการขับเคลื่อนหน่วยงานที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ

September 2nd, 2010 No comments

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการขับเคลื่อนหน่วยงานที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ () ของประเทศ ว่า สืบเนื่องจาก คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยวิธีการแบบปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ภาย ใต้พระราชบัญญัติว่าด้วย ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมาย โดย (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้กำหนดให้มีการจัดลำดับวิธีการแบบปลอดภัยไว้ 3 ระดับ คือ ระดับเคร่งครัด ระดับกลาง และระดับพื้นฐาน พร้อมทั้งกำหนดให้ใช้วิธีการแบบปลอดภัยทั้ง 3 ระดับสำหรับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงหรือ ความสงบเรียบร้อยของประเทศ หรือต่อสาธารณชน และธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานหรือองค์กร หรือส่วนงานของหน่วยงานหรือองค์กรที่ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ

นอก จากนี้ ด้วยเหตุการณ์ความไม่สงบต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ทำให้เห็นว่าหลายหน่วยงานยังขาดความพร้อมต่อการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สถานที่ทำงานสำรอง ระบบสำรอง และสิ่งสนับสนุนต่างๆ ที่จำเป็น ซึ่งหากเกิดวิกฤตการณ์ขึ้นอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และระบบเศรษฐกิจของประเทศได้

“ดัง นั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้หน่วยงานต่างๆ ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของ (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาฯ และกระตุ้นให้หน่วยงานเห็นความสำคัญของการเตรียมพร้อมต่อการรับมือกับ สถานการณ์ฉุกเฉินในรูปแบบต่างๆ เช่น ภัยธรรมชาติ การก่อการร้ายและการก่อวินาศกรรมต่างๆ และเกิดการบริหารจัดการอย่างมีบูรณาการและมีเอกภาพ สำนักธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้ร่วมกับคณะอนุกรรมการความมั่นคงปลอดภัย ภายใต้คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จัดการประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการขับเคลื่อนกลุ่มหน่วยงานที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ (Critical Infrastructure) ขึ้น โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ได้ทบทวนบทบาทหน้าที่ขององค์กรในฐานะที่เป็นหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ ของประเทศ และผลักดันให้มีการจัดกลุ่มหน่วยงานดังกล่าวอย่างจริงจัง รวมถึงให้มีการวางแนวทางการจัดตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการ ประสานงานด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

โดย ได้เชิญหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อโครงสร้างพื้น ฐานของประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก รวมทั้งองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนที่จะได้รับประโยชน์จากการจัดกลุ่มโครงสร้าง พื้นฐานของประเทศ ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายรอง มาร่วมรับฟังการอภิปราย ให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ เหล่านั้นสามารถปฏิบัติตาม (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม” นายธานีรัตน์ กล่าว

สำหรับการประชุมชี้แจงฯ นี้จะจัดทั้งหมด 5 วัน โดยวันแรกจัดขึ้นในวันที่ 2 กันยายน 2553 เพื่อชี้แจงความเข้าใจในภาพรวม ส่วนการประชุมวันที่ 2 – 5 จะจัดขึ้นในวันที่ 9 / 15 / 23 และ 28 กันยายน 2553 เพื่อประชุมกลุ่มย่อยสำหรับหน่วยงานที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ จำนวน 8 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มเกษตรกรรม อาหาร น้ำ ยา และสาธารณสุข 2.กลุ่มไฟฟ้า พลังงานอุตสาหกรรม และทรัพยากร ธรรมชาติ 3.กลุ่มความมั่นคงของประเทศ 4.กลุ่มความสงบสุขของสังคม 5.กลุ่มสื่อสาร โทรคมนาคม ขนส่ง และสื่อสารมวลชน 6.กลุ่มข้อมูลสารสนเทศ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 7.กลุ่มการเงิน การคลัง การธนาคาร การประกันภัย และหลักทรัพย์ 8.กลุ่มองค์กรภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล

View :1542

ก.ไอซีที เสริมความรู้ผู้บริหารให้ทันกระแสเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่

August 24th, 2010 No comments

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาเรื่อง “แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อผลกระทบทางสังคม ()” ว่า ปัจจุบันพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงจึงต้องพัฒนาและปรับปรุงตนเองให้ทันต่อเทคโนโลยีอยู่เสมอ เพราะการตัดสินใจนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในองค์กร ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ซึ่งก่อให้เกิดความท้าทายแก่ผู้บริหารในการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยผู้บริหารจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และวิสัยทัศน์ต่อแนวโน้มของเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถตัดสินใจนำเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น กระทรวงไอซีที ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทยให้มีศักยภาพเพื่อการแข่งขันในระดับสากล จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันให้แก่ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ โดยการจัดสัมมนาเรื่อง “แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อผลกระทบทางสังคม (IT Trends and Social Impact)” ครั้งนี้ขึ้น

“การสัมมนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจถึงแนวโน้มเทคโนโลยีที่กำลังจะเกิดขึ้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสังคม และแนวทางที่หน่วยงานราชการต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการวางแผนเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานของภาครัฐในอนาคต โดยได้เชิญผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ 119 หน่วยงานมาเข้าร่วมการสัมมนา” นายธานีรัตน์ กล่าว

สำหรับเนื้อหาการสัมมนาฯ นั้นมีการบรรยายในเรื่อง แนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศ 2011 การแนะนำเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้าน IT Trends ที่คาดการณ์โดยทีมวิเคราะห์ เช่น Gartner IT Trends ผลกระทบทางสังคมต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง แนวโน้ม e-Government การวิเคราะห์แนวโน้มของ e- Government โดยเปรียบเทียบ e-Government ประเทศต่างๆ และตัวอย่างการทำ e-Service ของต่างประเทศ เช่น USA, Malaysia รวมไปถึง Government 2.0 โครงสร้างพื้นฐาน สถาปัตยกรรม และระบบความปลอดภัยที่จำเป็นต่อการทำ e-Government ในอนาคต

“นอกจากนี้ยังมีการสัมมนาในเรื่องการพัฒนาของเทคโนโลยี Web 2.0 และการเกิดขึ้นของสังคมเครือข่าย (Social Network) เช่น faceBook, hi5, twitter ที่อินเทอร์เน็ตได้เข้ามากำหนด และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้รับสารและผู้บริโภค ทำให้เกิดช่องทางการสื่อสารรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งส่งผลต่อการสร้างปรากฏการณ์แบบ “บอกต่อ” หรือ “ปากต่อปาก” (Word of Mouth : WOM) และทำอย่างไรหน่วยงานภาครัฐจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้ให้เกิดมูลค่า ซึ่งในฐานะผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงจำเป็นต้องมีความรู้อย่างเท่าทัน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป” นายธานีรัตน์ กล่าว

View :1408

ก.ไอซีที ร่วมผลักดันการขยายตลาดสินค้า OTOP ผ่าน ระบบ e-Commerce

August 24th, 2010 No comments

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ( ) ว่า โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ( ) เป็น โครงการที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเพื่อให้แต่ละชุมชนได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมา ใช้ในการพัฒนาสินค้า โดยรัฐบาลพร้อมที่จะช่วยเหลือทั้งในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีสินค้า ที่ได้มาตรฐานผลิตออกมาให้ประชาชนเลือกซื้อมากมาย ผ่านทางห้างสรรพสินค้า ร้านจำหน่ายสินค้า หรือ งานจัดแสดงสินค้าต่างๆ ซึ่งข้อดี คือ สามารถจับต้องทดลองสินค้าได้ แต่ข้อเสีย คือ สินค้าตามห้างสรรพสินค้าจะมีราคาสูงกว่าที่ซื้อจากกลุ่มผู้ผลิตโดยตรงประมาณ 2 ถึง 3 เท่า ขึ้นอยู่กับสถานที่และค่าใช้จ่ายในการลงทุน บริหารจัดการ ค่าการตลาดของห้างสรรพสินค้า และยังมีสินค้าให้เลือกไม่มากนัก

ดังนั้น การเลือกซื้อสินค้า OTOP ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการค้นหาสินค้า OTOP ได้ อย่างหลากหลาย ประหยัดเวลา รวมทั้งสะดวกรวดเร็ว ซึ่งหากมีการวางระบบการชำระเงินและระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพแล้ว ก็จะสามารถส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในสินค้า OTOP รวมถึงภาคธุรกิจให้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นได้

ด้าน นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า “ในฐานะประธานกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้วางนโยบายผลักดันให้การใช้งาน e-Commerce เป็น ไปอย่างมีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรมเชื่อถือได้ ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ตลอดจนเพื่อใช้ขับเคลื่อนธุรกิจให้ประเทศ ช่วยเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงลดต้นทุนด้านการขนส่ง หรือ โลจิสติกส์ด้วย โดยกระทรวงไอซีที ได้ร่วมกับ 6 หน่วยงานจัดทำโครงการ e-Commerce เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ขึ้นเป็นโครงการนำร่อง เพื่อให้ผู้ประกอบการ OTOP สามารถ ดำเนินธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การผลิต การขนส่งสินค้า การประชาสัมพันธ์ การจำหน่าย และการรับชำระเงิน ซึ่งจะเอื้อต่อการจำหน่ายสินค้าของผู้ประกอบการ OTOP โดยใช้ศักยภาพของหน่วยงานทั้ง 6 ให้เกิดประโยชน์สูงสุด” นายจุติ กล่าว

สำหรับ 6 หน่วยงานที่ให้ความร่วมมือในโครงการฯ นี้ ได้แก่ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ บริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เพื่อจะนำสินค้า OTOP และสินค้าในโครงการพระราชดำริ มาจำหน่ายผ่านระบบการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( e-Commerce) โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ลูกค้าบัตรเครดิต ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะรับผิดชอบงานในด้านต่างๆ กรมการพัฒนาชุมชนจะทำหน้าที่คัดเลือก รวมรวบผลิตภัณฑ์ OTOP และประสานงานกับผู้ประกอบการ กรมส่งเสริมการส่งออกให้คำปรึกษาการประชาสัมพันธ์สินค้า OTOP ใน รูปแบบภาษาต่างประเทศ ธนาคารกรุงไทย จัดทำระบบการรับชำระค่าสินค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่เหมาะสม ส่วน บมจ.ทีโอที จะวางระบบการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( e-Commerce) โดยจัดทำระบบร้านค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.tote-market.com เพื่อแสดงสินค้า รวบรวมคำสั่งซื้อ และฝึกอบรมให้ความรู้ทางด้าน e-Commerce ขณะที่ บจ.ไปรษณีย์ไทย รับหน้าที่ด้านระบบการขนส่งสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งให้คำปรึกษาการใช้บรรจุภัณฑ์ ที่เหมาะสม และ บมจ.อสมท จะใช้เครือข่าย ช่องทางสื่อสารมวลชนแขนงต่าง ๆ ที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนและเผยแพร่สินค้า OTOP ที่เข้าร่วมโครงการฯ
“โครงการฯ นี้จะช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ สังคม และเปิดโอกาสในการนำสินค้าสู่ตลาดในช่องทางออนไลน์ โดยใช้ระบบ ไอทีเข้ามาช่วย อันเป็นการขยายช่องทางการตลาดในการจำหน่ายสินค้า OTOP ให้ แก่ผู้ซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น จึงช่วยสร้างรายได้และมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับประเทศ กล่าวคือ ทางตรงถือเป็นโครงการที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศได้เป็นอย่างมาก ส่วนทางอ้อมนั้นสามารถประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล ดึงดูดให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้นในต่างประเทศ อันเป็นการสร้างตลาดใหม่ ซึ่งเป็นตลาดที่พร้อมจะใช้บริการ เนื่องจากมีความสะดวก และยังไม่มีบริการใดที่ตอบสนองความต้องการลักษณะนี้ จึงทำให้สามารถสร้างตลาดในส่วนนี้ให้เติบโตได้อย่างมาก อีกทั้งยังสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัยได้อีกด้วย” นายจุติ กล่าว

View :1656
Categories: Press/Release Tags: , ,