Archive

Archive for the ‘กระทรวงไอซีที’ Category

ก.ไอซีที เตรียมพร้อมยกระดับโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศภาครัฐสู่ Smart Thailand

August 22nd, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเรื่อง ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศภาครัฐสู่ ว่า รัฐบาลมีความต้องการที่จะพัฒนาประเทศให้มี “ความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน (Competitive Advantage)” และ “รองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของโลก (Globalization)” และเมื่อประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 จึงจำเป็นต้องมีการจัดเตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้าน ซึ่งเรื่องของ “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” หรือ ICT ก็ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่

“จากการศึกษาของ World Economic Forum พบว่าอันดับความพร้อมใช้งานโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2554 อยู่ที่อันดับ 59 ลดลงจากปี พ.ศ. 2549 ที่อยู่ในอันดับ 37 ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม กลับมีอันดับที่ดีขึ้น ประเทศไทยจึงจำเป็นจะต้องพัฒนาด้าน ICT ทั้งในส่วนโครงสร้างพื้นฐาน และรูปแบบการใช้งาน (Applications) รวมทั้งบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อย่างเร่งด่วน เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจในยุค Digital economy” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว

ด้าน นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า จากนโยบายรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาประเทศให้มี “ความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน” และ “รองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของโลก” อาทิ ASEAN Economics Community 2015 หรือ ซึ่งต้องใช้ “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” หรือ ICT มาเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำหรับการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ Smart Thailand ด้วยความมุ่งหมายหลัก คือ ให้มีการใช้ ICT นำพาความเจริญเข้าสู่ประชาชนในทุกภาคส่วนของประเทศ สร้างสภาวะแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้น รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการลงทุนจากต่างประเทศ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพของบุคลากรในสาขาวิชาชีพต่างๆ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางด้านดิจิทัล (Digital Divide) อันจะนำไปสู่ความก้าวหน้าที่ทัดเทียมกับประเทศที่เจริญแล้ว

ดังนั้น เพื่อให้กลยุทธ์สำหรับการขับเคลื่อนประเทศประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ กระทรวงฯ จึงได้จัดการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐเพื่อก้าวไปสู่ Smart Thailand ขึ้น เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร และรับฟังความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐต่อการบูรณาการศูนย์ข้อมูลภาครัฐ ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจากการสัมมนาในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแนวทางการบูรณาการศูนย์ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐในลำดับต่อไป

สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดการประชุมสัมมนาฯ ครั้งนี้ ก็คือ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศจากหน่วยงานภาครัฐจำนวน 120 คน เกี่ยวกับการยกระดับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อก้าวไปสู่ Smart Thailand และนำความคิดเห็นที่ได้มาเป็นข้อมูลประกอบการดำเนินการเกี่ยวกับการบูรณาการศูนย์ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ (Data Center Consolidation) ส่วนกิจกรรมภายในงานประชุมสัมมนาฯ จะมีการบรรยายหัวข้อ “Smart Thailand” และการเสวนาเรื่อง “Data Center Consolidation แนวทางการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐสู่ Smart Thailand” ด้วย

View :1497

ก.ไอซีที เปิดศูนย์บริการด้าน ICT สำหรับคนพิการ

August 20th, 2012 No comments

นายณัฐพงศ์ ศีตวรรัตน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับคนพิการ ว่า รัฐบาลมีนโยบายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างให้คนพิการและผู้ด้อยโอกาส มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะ พัฒนาการบริการสุขภาพอนามัย ให้การสงเคราะห์ จัดการศึกษา จัดสวัสดิการ รวมถึงการประกอบอาชีพให้แก่คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส อีกทั้งยังส่งเสริมให้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึง รวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรม โดยจัดให้มีการคมนาคม สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการอันเป็นสาธารณะ ในการเข้าถึงอาคารสถานที่ ข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะคนพิการและผู้ด้อยโอกาส ได้รับการบริการจากภาครัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

นอกจากนี้ ภายใต้กฎกระทรวงฯ ตามมาตรา 20 (6) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ยังระบุให้กระทรวงไอซีที ต้องจัดให้มีการให้หรือให้ยืมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพี่อการสื่อสารแก่คนพิการ ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้จัดตั้งศูนย์ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร โดยให้บริการทั้งการให้ การให้ยืม อุปกรณ์ เครื่องมือ และโปรแกรมที่ใช้กับคนพิการ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในการประสานงานระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมถึงมีห้องฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้กับคนพิการ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล ผู้ดูแล และผู้ช่วยคนพิการ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อันจะส่งผลให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ดำเนินงานตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารและบริการสื่อสาธารณะ สำหรับคนพิการ พ.ศ. 2554 นั้น ได้กำหนดสาระสำคัญที่จะต้องดำเนินการเอาไว้คือ 1.หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ ต้องจัดข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม บริการสื่อสาธารณะ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้

2.จัดให้มีบริการให้ยืม – การให้อุปกรณ์และเครื่องมือด้าน ICT แก่คนพิการ โดยคนพิการสามารถยื่นคำขอต่อหน่วยงานได้ทั้งในส่วนกลาง และท้องถิ่น ซึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอต่อสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส่วนในเขตท้องที่จังหวัดอื่นให้ยื่นคำขอต่อสำนักงานสถิติจังหวัด หรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด 3.ส่งเสริม พัฒนาและฝึกอบรมให้กับคนพิการ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล ผู้ดูแลคนพิการ เพื่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม บริการสื่อสาธารณะ

ส่วนการจัดตั้งศูนย์ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับคนพิการ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจภายใต้กฎกระทรวง คือ 1.เพื่อเป็นศูนย์ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร สำหรับคนพิการ พร้อมทั้งเป็นศูนย์สาธิตการใช้งานอุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ให้กับคนพิการทุกประเภท และ 2.เป็นสถานที่ดำเนินการฝึกอบรมความรู้ด้าน ICT ให้กับคนพิการทุกประเภท

สำหรับศูนย์ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับคนพิการ นี้ ตั้งอยู่ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้น 7 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร บี) ถนนแจ้งวัฒนะ หลักสี่ กรุงเทพฯ โดยเปิดให้บริการในเวลาราชการตั้งแต่ 8.30 น. – 16.30 น. ระหว่างวันจันทร์ – วันศุกร์ ยกเว้นวันหยุดราชการและวันนักขัตฤกษ์ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์หมายเลข 0-2141-7038

View :1308

ก.ไอซีที จัดอบรมการพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ และอบรมความรู้ด้าน ICT แก่ผู้ด้อยโอกาส

August 17th, 2012 No comments

นายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมระดมความคิดเห็นกิจกรรมอบรมการพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้และอบรมความรู้ด้าน ICT สำหรับผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส ว่า กระทรวงฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการลดช่องว่าง ความเหลื่อมล้ำทางสังคมในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงมุ่งเน้นการพัฒนาให้ประชาชนทุกภาคส่วน รวมถึงผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาสสามารถนำ ICT มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนับเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศตามนโยบายและวิสัยทัศน์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ว่า “ประเทศไทยเป็นสังคมอุดมปัญญา ()”

นอกจากนี้ กระทรวงฯ ในฐานะหน่วยงานหลักของรัฐที่มีพันธกิจเป็นผู้รักษาการตาม กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร และบริการสื่อสาธารณะ สำหรับคนพิการ พ.ศ. 2554 จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติการตามกฎกระทรวงดังกล่าว โดยเฉพาะกฎกระทรวงข้อ 14 ที่กำหนดให้กระทรวงฯ ต้องจัดให้คนพิการ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล ผู้ดูแลคนพิการ หรือผู้ช่วยคนพิการ ได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร หรือบริการสื่อสาธารณะ อย่างทั่วถึงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ด้าน นายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า กระทรวงฯ ได้จัด “กิจกรรมอบรมการพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ให้กับหน่วยงานภาครัฐ และอบรมความรู้ด้าน ICT สำหรับผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส” เพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้พัฒนาเว็บไซต์ และกลุ่มผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้เกี่ยวข้องกับคนพิการ และผู้ด้อยโอกาส โดยในส่วนการจัดอบรมผู้พัฒนาเว็บไซต์จากหน่วยงานภาครัฐนั้น เป็นการพัฒนาศักยภาพให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ของหน่วยงานเป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ คือ เว็บไซต์ที่สามารถรองรับการใช้งานได้ทั้งคนที่มีร่างกายปกติและคนพิการ

ส่วนการอบรมผู้ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้เกี่ยวข้องกับคนพิการ และผู้ด้อยโอกาสนั้น เป็นการอบรมให้กลุ่มดังกล่าวสามารถนำ ICT มาใช้เป็นช่องทางในการเข้าถึงองค์ความรู้ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาตนเองและสามารถนำไป ต่อยอดความรู้ที่มีอยู่ได้ อีกทั้งเป็นการช่วยลดช่องว่างและสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงสารสนเทศอีกด้วย โดยกิจกรรมฯ นี้ กระทรวงฯ ได้ดำเนินการ มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน และได้จัดฝึกอบรมผู้พัฒนาเว็บไซต์แล้ว จำนวน 1,452 คน ผู้สูงอายุจำนวน 351 คน คนพิการและผู้ด้อยโอกาส จำนวน 1,550 คน และวิทยากรอาสาสมัคร จำนวน 53 คน

“และเพื่อให้การดำเนินกิจกรรมฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงฯ จึงได้จัดให้มีการประชุมระดมความคิดเห็นกิจกรรมอบรมการพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ และอบรมความรู้ด้าน ICT สำหรับผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส ในครั้งนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ แลกเปลี่ยนแนวความคิดต่อเนื้อหาหลักสูตรรูปแบบการฝึกอบรม ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ รวมถึงการกำหนดคุณสมบัติของวิทยากรแต่ละหลักสูตร จากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำหลักสูตรและผู้ปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้ได้หลักสูตรฝึกอบรมที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายและเทคโนโลยีปัจจุบันมากยิ่งขึ้น” นายสมบูรณ์ กล่าว

View :1285

รมว.ไอซีที ร่วมการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมสารสนเทศ ครั้งที่ ๙

August 17th, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมสารสนเทศ ครั้งที่ 9 () ณ นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก สหพันธรัฐรัสเซีย ในระหว่างวันที่ 7 – 8 สิงหาคม 2555 โดยการประชุมระดับรัฐมนตรีฯ นี้กำหนดจัดขึ้นเป็นประจำทุก 2 – 3 ปี เพื่อผลักดันให้ 21 เขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเปคมีการขับเคลื่อนด้าน ICT อย่างเป็นรูปธรรม ชัดเจนและยั่งยืน

โดยในการประชุมฯ ครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้รับเกียรติขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ระหว่างการประชุมภายใต้ Session ที่ 4 : Promoting Regional Economic Integration and Strengthening Cooperation in the ICT Sector ในหัวข้อ “Shaping Priority Areas for the Future ICT Cooperation” ซึ่งมีประเด็นที่ประเทศไทยได้เสนอให้กรอบความร่วมมือเอเปคด้าน ICT ให้ความสำคัญกับความร่วมมือด้าน ICT ในเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล (Bridging the Digital Divide) ความมั่นคงปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ (Cyber security) และเสริมสร้างความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ (International Cooperation)

พร้อมกันนี้ ที่ประชุม TELMIN 9 ยังได้มีการพิจารณารับรองปฏิญญาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (Saint Petersburg Declaration) ซึ่ง ปีนี้ได้กำหนดหัวข้อหลัก (theme) ของปฏิญญาเอาไว้คือ การสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นคงปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Building confidence and security in the use of ICT to promote economic growth and prosperity)

สำหรับรายละเอียดภายใต้ปฏิญญาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก มี 5 หัวข้อ คือ 1.การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนความเจริญเติบโตรูปแบบใหม่ 2.การเสริมสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3.การส่งเสริมความปลอดภัยและความเชื่อมั่นในสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4.การส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และ 5.การเสริมสร้างความร่วมมือในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ส่วนผลของการประชุม TELMIN 9 นั้น จะมีการนำเสนอต่อที่ประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค และการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ที่จะจัดขึ้น ณ เมืองวลาดิวอสตอก สหพันธรัฐรัสเซีย ในระหว่างวันที่ 5 – 9 กันยายน 2555 นี้ด้วย

View :1284

ก.ไอซีที ส่งเสริม e-Commerce ไทยก้าวไกลสู่ AEC 2015

August 16th, 2012 No comments

นายวรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดงานประชุมวิชาการโครงการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “ส่งเสริม ไทยก้าวไกลสู่ ” ว่า ในปี พ.ศ.2558 หรือ ในปี ค.ศ. 2015 ทั้ง 10 ชาติอาเซียนจะมีการรวมตัวกัน ภายใต้ชื่อ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community : AEC) เพื่อสร้างตลาดรวมทั้งฐานการผลิตเดียวกัน และแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ตลอดจนสร้างอำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้า ในภูมิภาคอื่นๆ โดยได้มีการกำหนดให้แต่ละประเทศมีจุดเด่นด้านต่างๆ เช่น ประเทศพม่า มีจุดเด่นด้านสาขาเกษตรและประมง ประเทศมาเลเซีย มีจุดเด่นด้านสาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ ประเทศสิงคโปร์ มีจุดเด่นด้านสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ ส่วนประเทศไทย มีจุดเด่นด้านสาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน

“ประเทศไทยนั้น มีภูมิประเทศอยู่ตรงกลางของอาเซียน จึงเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ อย่างไร ก็ตาม ไทยยังมีโอกาสในการส่งเสริมอุตสาหกรรมอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย หากมีการพัฒนาโดยหน่วยงานภาครัฐ เช่น การจัดให้มีสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างทั่วถึง มีระบบการเงินการธนาคารที่เข้มแข็ง สนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับภาคเอกชนตั้งแต่การเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร และการบริการไปจนถึงการตลาด เพื่อให้เกิดการค้าขายอย่างครบวงจรเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงานได้ดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอด แต่สิ่งสำคัญ คือ ผู้ประกอบการที่อยู่ในแต่ละอุตสาหกรรมซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศที่สามารถสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศคิดเป็นมูลค่ากว่า 3.7 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 38 ของจีดีพี จากจำนวนSMEs ที่มีมากถึง 2.9 ล้านราย และจากการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีความต้องการในการเข้าถึงตลาด และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาช่วยในการพัฒนาศักยภาพให้กับธุรกิจ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” นายวรพัฒน์ กล่าว

ด้าน นางสมใจ ประเสริฐจีรังกุล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า ในแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้าน e-Commerce โดยบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานดังกล่าว ซึ่งจากการสำรวจสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2554 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น จากปีแรกที่ทำการสำรวจ คือ ปี พ.ศ. 2550 ที่มีมูลค่าขายรวม 305,159 ล้านบาท มาเป็น 608,587 ล้านบาท ในการสำรวจรอบปี พ.ศ. 2553 ซึ่งพบว่ามีมูลค่าสูงขึ้นถึงร้อยละ 199.432 หรือประมาณ 2 เท่าตัว

ดังนั้น จึงได้มีการดำเนินการโครงการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้มีการจัดประชุมแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมายเพื่อรวบรวมข้อมูลมาจัดทำเป็นแนวทางในการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 5 อันดับแรก คือ 1. อุตสาหกรรมแฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับ 2. อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอินเทอร์เน็ต 3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 4. อุตสาหกรรมบริการด้านสุขภาพ และ 5. อุตสาหกรรมบริการด้านการศึกษา

นอกจากนี้ ยังมีการจัดงานประชุมวิชาการโครงการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ในหัวข้อ “ส่งเสริม e-Commerce ไทยก้าวไกลสู่ AEC 2015” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และผู้สนใจทั่วไปในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 รวมทั้งเพื่อร่วมวิเคราะห์ถึงแนวโน้มของธุรกิจ e-Commerce ไทย ในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ.2558 ตลอดจนเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และผู้สนใจทั่วไป รวมทั้งเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้มีการนำข้อมูลไปใช้ในการสนับสนุนการดำเนินงานของภาคธุรกิจต่อไป

View :1668

ไปรษณีย์ไทย ก้าวสู่ 10 ปี ก้าวสู่ Smart Post พร้อมเป็นเครือข่ายชีวิต และเศรษฐกิจไทย

August 15th, 2012 No comments


บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) ฉลองโอกาสก้าวสู่ 10 ปี เปิดศูนย์ไปรษณีย์ EMS แห่งใหม่ ยกระดับมาตรฐานและคุณภาพบริการ EMS ให้สูงขึ้น เดินเครื่องลุยด้านโลจิสติกส์เต็มสูบ

สนองนโยบายรัฐ ขานรับสู่การเป็น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี

ไปรษณีย์ไทย ประกาศขานรับนโยบาย Smart Thailand ด้วยความพร้อมเป็น Smart Post มุ่งพัฒนาให้เป็นตัวกลางในการให้บริการไปรษณีย์อย่างครบวงจร (Super Service Center) ให้แก่ภาคธุรกิจ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในแง่การเชื่อมโยงให้ง่ายต่อการเข้าถึงบริการของหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงสวัสดิการพื้นฐานต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น พร้อมเป็นแกนนำหลักในการวางรากฐานเพื่อพัฒนาโลจิสติกส์ไทย

“นับเป็นอีกก้าวสำคัญที่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้พัฒนาเครือข่ายให้เป็นศูนย์บริการครบวงจรของภาครัฐเพื่อสนับสนุนนโยบาย MICT Smart Thailand ที่จะทำให้คนไทยได้รับประโยชน์จากเครือข่ายสารสนเทศของรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของ 200,000 จุดทั่วประเทศ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างยั่งยืน” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าว
ดร. เอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ ประธานกรรมการ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวถึงการเป็น Smart Postว่า “ปณท ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนนโยบาย Smart Thailand ด้วยการเป็น Smart Post ผู้เชื่อมโยงความสะดวกของบริการต่างๆ สู่ประชาชน โดยผ่านเครือข่ายที่ทำการไปรษณีย์ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ผ่านเจ้าหน้าที่นำจ่ายเพื่อให้ประชาชนในทุกพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐได้อย่างสะดวก รวดเร็วมากขึ้น”
ด้านนางสาวอานุสรา จิตต์มิตรภาพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) เปิดเผยว่า เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานในปีที่ 10 คือ ไปรษณีย์ไทย…เครือข่ายชีวิตและเศรษฐกิจไทย (Human Networking) ไปรษณีย์ไทยได้กำหนดเป้าหมายที่จะพัฒนาศักยภาพด้านการให้บริการและเครือข่ายการขนส่งให้แข็งแกร่ง โดยนำศักยภาพความเชี่ยวชาญ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่มาบริหารจัดการให้คุ้มค่า นำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเสริมความแข็งแกร่งในบริการ รองรับการขยายบริการด้านโลจิสติกส์อย่างครบวงจร ให้มีความพร้อมต่อการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในอนาคต มาสนับสนุนให้เห็นภาพอันเด่นชัดขึ้นในความเป็นเครือข่ายอย่างมืออาชีพ ระบบขนส่งและเครือข่ายไปรษณีย์ที่แข่งแกร่ง ด้วยความครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ พร้อมถือฤกษ์ดีเปิดศูนย์ไปรษณีย์ EMS เพื่อรองรับปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดคุณภาพและประสิทธิภาพระบบขนส่ง การส่งต่อที่ดีขึ้น เป็นโครงข่ายที่เชื่อมโยงในวงกว้าง และสนับสนุนการปฏิบัติงานให้มีความคล่องตัว รวดเร็ว ลดความเสียหายและต้นทุนค่าใช้จ่าย ควบคุมคุณภาพบริการให้ประชาชนได้รับการบริการที่ดีมากยิ่งขึ้น

ศูนย์ไปรษณีย์ EMS ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังศูนย์ไปรษณีย์หลักสี่ ถนนแจ้งวัฒนะ บนพื้นที่ 16 ไร่ใช้งบประมาณในการจัดตั้งศูนย์ฯ รวมกว่า 18 ล้านบาท เพื่อรองรับการเติบโตของปริมาณงานไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีภารกิจคัดแยกและส่งต่อสิ่งของในบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) ทั้งในและระหว่างประเทศ รวมไปถึงพิธีการศุลกากรอีกด้วย จากการดำเนินงานที่ผ่านมาของ ปณท ตลอด 9 ปีไปรษณีย์ไทยทำหน้าที่เป็นเครือข่ายชีวิต และเศรษฐกิจไทยอย่างแท้จริง และจะยังคงเดินหน้าต่อไป “…ด้วยเครือข่ายไปรษณีย์ไทยที่มีทั้งหมดนี้ เป็นการพัฒนาและต่อยอดมาโดยตลอด 130 ปี โดยใช้เครือข่ายที่ยิ่งใหญ่จากความเป็นหนึ่งเดียวของคนกว่า 22,000 คน สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นผู้ “รู้จริง” ในทุกตารางนิ้วบนพื้นที่ตั้งแต่ระดับเล็กสุดจนกระทั่งถึงระดับโลก “รู้ใจ” ถึงความต้องการที่หลากหลายของคนไทย ทั้งหมดนี้เป็นความ “จริงใจ” ที่คนไปรษณีย์ไทยจากรุ่นสู่รุ่นได้บ่มเพาะความพร้อมที่จะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เพื่อใครอื่น แต่เป็นเพื่อการสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิตคนไทย สร้างความเจริญให้เกิดเศรษฐกิจไทยเป็นกลไกของคนไทยที่พร้อมจะก้าวไปด้วยกัน พร้อมก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างเต็มภาคภูมิ”

ทั้งนี้ ปณท มีผลประกอบการในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2555 ตั้งแต่ ม.ค. – มิ.ย. มีรายได้รวมทั้งสิ้น 9,116.07 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จาก กลุ่มธุรกิจสื่อสาร 4,417.35 ล้านบาท กลุ่มธุรกิจขนส่ง 3,407.88 ล้านบาท กลุ่มธุรกิจค้าปลีก 530.31 ล้านบาท กลุ่มธุรกิจการเงิน 408.59 ล้านบาท และกลุ่มธุรกิจอื่นๆ 145.65 ล้านบาท ซึ่งในปีนี้ กลุ่มตลาดสื่อสาร และตลาดขนส่งมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นเป็น 12.58 และ 14.55 เปอร์เซนต์ตามลำดับ และมีกำไรสุทธิสำหรับช่วง 6 เดือนเป็นเงิน 863.77 ล้านบาท

View :2046

ก.ไอซีที ชวนประชาชนชาวไทยร่วมถวายพระพรออนไลน์ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม

August 9th, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า กระทรวงฯ ได้จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 12 สิงหาคม 2555 โดยการจัดทำเว็บไซต์ถวายพระพรออนไลน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ขึ้น ภายใต้ชื่อ www.welovequeenonline.com เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ให้ประชาชนชาวไทย สามารถร่วมแสดงความจงรักภักดีได้ทุกที่ทุกเวลา

“กระทรวงฯ ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด คือ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดทำเว็บไซต์ welovequeenonline.com โดยประสานงานกับกองงานในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อขอพระราชานุญาตนำพระฉายาลักษณ์ และตราสัญลักษณ์ 80 พรรษามาเผยแพร่ในหน้าหลักของเว็บไซต์ รวมถึงในการ์ดถวายพระพรที่จัดทำเป็นรูปแบบ e-postcard พระฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมบทกลอนมีทั้งหมด 8 แบบ ให้ประชาชนได้เลือกร่วมกับคำถวายพระพรที่ถ่ายทอดถึงความจงรักภักดีต่อพระองค์ ซึ่งมีให้เลือก 4 ข้อความ ได้แก่ 1.ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี 2.ขอพระองค์ทรงมี พระพลานามัยแข็งแรง 3.ขอพระองค์ทรงพระเจริญ มีพระชนมายุยิ่งยืนนาน และ 4.ขอทรงพระเจริญ เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย นอกจากนั้นในเว็บไซต์นี้ยังมีวิดีโอสารคดีเฉลิมพระเกียรติฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อันเป็นสารคดีที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ พระราชกรณียกิจของพระองค์ท่าน โดยปรากฏอยู่ในหน้าแรกของเว็บไซต์ เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมชื่นชมและซาบซึ้งกับพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์ทรงมีต่อประเทศไทย

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงขอเชิญชวนประชาชนทุกคนทั่วประเทศ ร่วมกิจกรรมถวายพระพรออนไลน์ผ่าน www.welovequeenonline.com ที่กระทรวงฯ และหน่วยงานในสังกัดได้จัดทำขึ้น เพื่อร่วมแสดงความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยพร้อมเพรียงกันได้แล้วตั้งแต่วันนี้” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว

View :1203

ก.ไอซีที เชิญร่วมชมงาน Bangkok International ICT Expo 2012

August 3rd, 2012 No comments

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “” ว่า การจัดงาน ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในครั้งนี้ถือเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็น ปีมหามงคลที่ประกอบด้วยพระราชพิธีสำคัญ 2 พิธี คือ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 12 สิงหาคม 2555 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ 60 พรรษา 28 กรกฎาคม 2555 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โดย กระทรวงไอซีที ได้มีการจัดกิจกรรมขึ้นภายใน Royal Pavilion เพื่อร่วมถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ด้วยการลงนามถวายพระพรออนไลน์ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงได้จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจด้าน ICT ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนของทั้ง 3 พระองค์ ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมชื่นชมและแสดงความจงรักภักดี

นอกจากนี้ การจัดงาน Bangkok International ICT Expo 2012 ยังมีความสำคัญในการแสดงถึงศักยภาพด้าน ICT ของประเทศไทยในอนาคต และการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ภายในปี พ.ศ. 2558 อีกทั้งยังเป็นการแสดงถึงวิสัยทัศน์ของการใช้ ICT ให้เป็นพลังขับเคลื่อนประเทศไทยในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้าน SMART NETWORK ด้วยการขยายโครงสร้างพื้นฐานของโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และการจัดตั้งหน่วยงานบรอดแบนด์แห่งชาติ ด้าน SMART GOVERNMENT ในการขยายโครงข่ายเพื่อการศึกษาไปยังพื้นที่ห่างไกล การขยายการรักษาพยาบาลทางไกลผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การบริการทะเบียนราษฎร์ออนไลน์ และการบริการระบบศูนย์ข้อมูลการเกษตร รวมทั้งด้าน SMART BUSINESS ที่จะพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อรองรับกับอุตสาหกรรม/SMEs ด้าน ICT การพัฒนาระบบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมกับการใช้งานด้าน ICT

พร้อมกันนี้ยังมีการนำเสนอการใช้ ICT มาเพิ่มศักยภาพในการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนสูงสุด ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนรวมถึงสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการจากประเทศต่างๆ ที่จะเข้ามาลงทุนทำธุรกิจในประเทศไทยอีกด้วย

ด้าน นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวเพิ่มเติมว่า งาน Bangkok International ICT Expo 2012 นี้จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 3 – 6 สิงหาคม 2555 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ระลึกถึงวันสื่อสารแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ 4 สิงหาคม ของทุกปี และเป็นการแสดงศักยภาพของประเทศไทยในด้าน ICT รวมทั้งการสร้างทัศนคติให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างสร้างสรรค์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในการก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 โดยจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ Towards AEC” หรือ “ไอซีทีไทยก้าวล้ำ นำสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” และกำหนดรูปแบบการจัดงานเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1. ส่วนจัดแสดงนิทรรศการ 2. ส่วนแสดงสินค้า 3. ส่วนการประชุมสัมมนา และ 4. ส่วนกิจกรรมการแสดงต่าง ๆ

ในส่วนแรกการจัดนิทรรศการนั้นแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ Royal Pavilion เป็นนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติที่จัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อีกส่วน คือ MICT Pavilion เป็นนิทรรศการแสดงผลงานของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ ตามแนวคิด Smart Thailand Towards AEC ซึ่งแบ่งเป็น 3 โซน คือ โซนที่ 1 : 3 KEY STRATEGIC to SMART THAILAND เป็นนิทรรศการที่สะท้อนภาพการพัฒนาของประเทศตามทิศทางวิสัยทัศน์ Smart Thailand 2020 สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเน้นการพัฒนาใน 3 KEY STRATEGIC คือ SMART NETWORK, SMART GOVERNMENT และ SMART BUSINESS

โซนที่ 2 : Reflection ; SMART Thailand 2020 เป็นการนำเสนอในรูปแบบนิทรรศการเสมือนที่ให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสประสบการณ์ในโลกปี 2020 ที่เทคโนโลยีมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการสัมผัสและทดลองด้วยประสบการณ์จริงกับโครงการและนวัตกรรมเทคโนโลยีต่างๆ ใน SMART Thailand Interactive Showcase ใน 4 ด้าน คือ HOME ซึ่งจะเชื่อมโยงประชาชนทั้งในเมืองและพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศเข้าหากันได้อย่างเท่าเทียมทุกที่ ทุกเวลาผ่านเครือข่ายการสื่อสาร LIFESTYLE เป็นการแสดงวิถีชิวีตทุกไลฟ์สไตล์บนเครือข่ายไร้สาย BUSINESS เป็นการนำเสนอนวัตกรรมในการดำเนินธุรกิจที่ช่วยเชื่อมโยงคู่ค้าจาก ทั่วโลกให้มาพบกันเพื่อขยายศักยภาพด้านการผลิตและการตลาด SOCIETY เป็นการแสดงระบบการเชื่อมโยงติดต่อราชการกับภาครัฐและบริการพื้นฐานของประเทศให้สามารถทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็วขึ้น นอกจากนั้น ยังได้สัมผัสนวัตกรรมล้ำอนาคตด้าน ICT ที่ช่วยขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐ ในโครงการต่างๆ เช่น One Tablet PC per Child , เป็นต้น

และ โซนที่ 3 : DISASTER PREPAREDNESS ซึ่งแบ่งเป็น “SMART ICT” for Disaster Preparedness ที่นำเสนอการนำเทคโนโลยี ICT มาใช้เพิ่มศักยภาพในการเฝ้าระวังรวมทั้งแจ้งเตือนภัยพิบัติ และ “SMART ICT” for Disaster Management ที่จำลองห้องปฏิบัติการจริงของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทำงาน และระบบการประมวลผลแจ้งเตือนภัย พร้อมกันนี้ยังมีการแสดงนิทรรศการ Disaster field Exhibition ที่จำลองบรรยากาศท่ามกลางพื้นที่พิบัติภัยซึ่งการสื่อสารหลักถูกผลกระทบจนใช้งานไม่ได้ พร้อมทั้งยังมีการจัดแสดงนิทรรศการของหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงฯ และหน่วยงานอื่นๆ เช่น TOT, CAT และ กสทช. ที่จะนำเสนอนวัตกรรมเทคโนโลยีในระบบ 3จี และ 4 จี รวมถึงความพร้อมในการเปิดประมูลใบอนุญาต 3จี และการนำเสนอนิทรรศการเกี่ยวกับ SMART GOVERNMENT เพื่อแสดงบทบาทของภาครัฐในการเปลี่ยนสู่การบริหารยุคใหม่ ของ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สรอ. เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ส่วนแสดงสินค้า เป็นการแสดงนวัตกรรมเทคโนโลยีจากภาคเอกชน อาทิ AIS, TRUE, DTAC, Thaicom, Samsung, ZTE, Huawei เป็นต้น โดย AIS ได้นำเสนอแนวคิดเรื่อง 3จี และอนาคต ที่สะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของเทคโนโลยีบรอดแบนด์ซึ่งช่วยเสริมศักยภาพคุณภาพชีวิตคนไทย ส่วน DTAC ได้นำเสนอโมบายเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับเทคโนโลยี 3จี และ 4จี ด้วยวิธีการที่เข้าใจได้ง่าย ภายใต้จุดโฟกัสเรื่อง Device รวมทั้ง Application ที่รองรับเครือข่ายใหม่ และ TRUE ที่นำเสนอภาพ TRUE Convergence ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีที่ครอบคลุมการให้บริการทุกรูปแบบ และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ทั้ง Mobile, Fiber to The Home, Hi speed Internet รวมไปถึง 3จี และ 4จี

ส่วนที่ 3 คือ ส่วนการประชุมสัมมนา เป็นการเปิดเวทีเพื่อให้ความรู้และนวัตกรรมด้าน ICT ในเรื่อง Towards “THAILAND SMART ICT” โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐ รวมทั้งภาคเอกชน ที่มาร่วมบรรยายพิเศษ และเสวนาในหัวข้อต่างๆ ได้แก่ การบรรยายในหัวข้อ “Thailand e-Government Vision” และ “Profitable Prepaid Smart Phone” การเสวนาในเรื่อง “Smart Government Cloud Service สู่การปรับโฉมใหม่ระบบงานภาครัฐ” และ “e-Government for the People ถึงเวลาสำหรับประเทศไทย?” การสัมมนาย่อยในหัวข้อ “Smart Network for Smart Thailand” และ การอภิปรายในหัวข้อ “Beyond Smart Tourism”

และสุดท้ายเป็นส่วนของกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งกิจกรรมพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ กิจกรรมการแสดง และร่วมสนุกผสานสาระด้าน ICT จากผู้ร่วมออกงานที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมงานได้มีส่วนร่วมเพื่อชิงรางวัลมากมายตลอดช่วงเวลาจัดงาน

View :1946

ก.ไอซีที จับมือ ผู้ประกอบการโครงข่ายการสื่อสารขยายบริการ ICT Free Wi-Fi กว่า 200,000 จุดทั่วประเทศ

August 3rd, 2012 No comments

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงความร่วมมือ “โครงการบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี Wi-Fi โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์สาธารณะ” ว่า โครงการบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี Wi-Fi โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ นี้ เป็นอีกหนึ่งนโยบายสำคัญของรัฐบาล ที่ได้ให้คำมั่นสัญญากับประชาชนไว้ โดยเป็นส่วนหนึ่งภายใต้นโยบายหลัก ที่มุ่งหวังให้ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ มีโอกาสได้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตกันอย่างทั่วถึงทุกคนทั่วประเทศ โดยไม่ต้องมีการเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น มากกว่า 200,000 จุด ครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งรัฐบาลหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการ จะสร้างโอกาสในการเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างเท่าเทียม ลดความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย ให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการดำรงชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพของตนเอง

ด้าน นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงไอซีที ได้เริ่มดำเนินโครงการ ICT Free Wi-Fi มาตั้งแต่ปลายปี 2554 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรไทย อันเป็นการส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรบุคคลในประเทศ ยกระดับการศึกษาและส่งเสริมให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ด้วยตนเองแม้อยู่นอกห้องเรียน พร้อมกันนี้ยังเป็นการสนับสนุนนโยบายการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ตลอดจนช่วยเพิ่มอันดับของประเทศไทยในการจัดอันดับความพร้อมด้าน ICT ทั้งในภูมิภาคและระดับโลก

ซึ่งกระทรวงไอซีที ได้ร่วมมือกับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และกลุ่มบริษัทเครือข่ายผู้ให้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมทั้ง 6 ค่าย ได้แก่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT Telecom บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE และบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ 3 BroadBand ขยายสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้กระจายไปแล้วในหลายพื้นที่ของประเทศเป็นจำนวน กว่า 76,210 จุด โดยในปี 2555 ได้วางเป้าหมายที่จะดำเนินการในสถานที่ต่างๆ ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการ อบต. โรงพยาบาลของรัฐ สถานีตำรวจ ที่ทำการไปรษณีย์ สถานที่สำคัญต่างๆ เช่น สถานที่ท่องเที่ยว ท่าอากาศยาน สถานีขนส่ง บนรถไฟฟ้า สถานีบริการน้ำมัน และศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เป็นต้น ซึ่งรวมทั้งหมดแล้วภายในสิ้นปีนี้จะมีการขยายสัญญาณ ICT Free Wi-Fi ได้มากกว่า 200,000 จุดทั่วประเทศ

ส่วน พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. กล่าวว่า กสทช. พร้อมสนับสนุนให้ประชาชนคนไทยสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างสะดวกรวดเร็ว ซึ่งโครงการ ICT Free Wi-Fi เป็นโครงการหนึ่งของรัฐบาลที่จะช่วยผลักดันให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ด้วยการให้บริการอินเทอร์เน็ตฟรีครอบคลุมทั่วประเทศ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และทำให้ประชาชนเลือกทำกิจกรรมต่างๆ ได้โดยสะดวก เพราะสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว อาทิ การรักษาพยาบาล การศึกษา การทำธุรกรรมทางการเงิน อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้านการเดินทางอีกด้วย

ขณะที่ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมทั้ง 6 ค่ายนั้น ต่างพร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาล และกระทรวงไอซีที ในการดำเนินโครงการฯ นี้ เพื่อให้ประชาชนคนไทยในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ สามารถใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งความรู้ต่างๆ อย่างทั่วถึง เท่าเทียม และทันท่วงที อันเป็นการเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ให้แก่เยาวชน และประชาชนทุกกลุ่ม ตลอดจนเป็นการเพิ่มพลังและคุณค่าให้กับสังคมไทยอีกด้วย

View :1763

ก.ไอซีที เชื่อมโยงข้อมูลคนพิการเพื่อใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลคนพิการ

July 30th, 2012 No comments

นายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการเชื่อมโยงข้อมูลคนพิการเพื่อใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลคนพิการระหว่าง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่า ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 20 (6) ว่าด้วย “ข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารสำหรับคนพิการทุกประเภท ตลอดจนบริการสื่อสาธารณะจากหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนดในกฎกระทรวง” นั้น ได้ระบุให้กระทรวงฯ ต้องจัดให้มีการให้หรือให้ยืมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพี่อการสื่อสารแก่คนพิการ โดยต้องมีหลักฐานบัตรประจำตัวคนพิการในการขอรับบริการ และต้องจัดให้มีการฝึกอบรม แก่คนพิการ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล ผู้ดูแลคนพิการ หรือผู้ช่วยคนพิการด้วย
ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการเชื่อมโยงข้อมูลคนพิการเพื่อใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลคนพิการขึ้น เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลคนพิการในการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลและการให้บริการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการให้ดียิ่งขึ้น บันทึกข้อตกลงฯ ฉบับนี้จึงเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาบุคลากรของทั้งสองหน่วยงานให้มีทักษะ ความรู้ และความสามารถทางวิชาการ ที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่กลุ่มคนพิการในสังคม รวมถึงเป็นการส่งเสริมสนับสนุนความร่วมมือทางด้านงานวิชาการระหว่างกันด้วย
ด้าน นายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงฯ กับ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาตินี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กระทรวงฯสามารถใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลทะเบียนกลางคนพิการในส่วนของฐานข้อมูลทะเบียนบัตรประจำตัวคนพิการ รวมทั้งเพื่อเป็นการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารสำหรับคนพิการ
นอกจากนี้ ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง 2 หน่วยงาน หรือเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ต่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้แก่ส่วนราชการอื่น ตลอดจนเพื่อส่งเสริมให้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงาน ในการช่วยสนับสนุนให้กระทรวงฯ สามารถบรรลุเป้าหมายในเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการภายใต้กฎกระทรวงฯ ตามมาตรา 20 (6) ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญที่ส่วนราชการต้องร่วมมือกันดำเนินการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่คนพิการอย่างทั่วถึง
โดยในการดำเนินการนั้น กระทรวงฯ จะร่วมกับสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่ายสื่อสาร เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ และจะมีการเปิดเผยหรือเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริม รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้แก่ส่วนราชการอื่นที่มีความต้องใช้ข้อมูลดังกล่าวอีกด้วย

View :1617