Archive

Archive for April, 2011

แอลจีมั่นใจคว้าตำแหน่งผู้นำตลาดทีวี ด้วยเทคโนโลยีทีวีสามมิติเจนเนอเรชั่นใหม่พร้อมฟีเจอร์สมาร์ท ทีวี

April 27th, 2011 No comments

(จาก ซ้ายไปขวา) มร. ชิน ฮัก (เจฟ) เช กรรมการผู้จัดการ คุณอลงกรณ์ ชูจิตร รองกรรมการผู้จัดการ และคุณฉันท์ชาย พันธุฟัก หัวหน้ากลุ่มผลิตภัณฑ์โฮมเอ็นเตอร์เทนเมนต์ บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ ( ประเทศไทย ) จำกัด เปิดตัวเจนเนอเรชั่นใหม่แห่งโลกทีวีสามมิติ ด้วย มอบประสบการณ์การรับชมภาพสามมิติเหนือชั้น เพลิดเพลินกับคอนเทนต์สามมิติคุณภาพสูงได้อย่างเต็มอรรถรส พร้อมฟีเจอร์ สมาร์ท ทีวี ที่เชื่อมต่อโลกออนไลน์อย่างง่ายดาย พร้อมเต็มอิ่มไปกับพรีเมียม คอนเทนต์ภาษาไทยที่เพิ่มขึ้นและตรงใจผู้ใช้งานชาวไทย

บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ ( ประเทศไทย ) จำกัด ผู้บุกเบิกตลาดสมาร์ท ทีวีรายแรกของไทย เปิดตัวเจนเนอเรชั่นใหม่แห่งโลกทีวีสามมิติ ในงาน The Next Generation 3D TV ด้วย LG CINEMA 3D TV มอบประสบการณ์การรับชมภาพสามมิติเหนือชั้น เพลิดเพลินกับคอนเทนต์สามมิติคุณภาพสูงได้อย่างเต็มอรรถรส ดูสบายตา ภาพไม่กระพริบ รับชมได้ทุกมุมมอง โดดเด่นดวยฟีเจอร์การแปลงภาพปกติเป็นภาพสามมิติซึ่งให้คุณภาพสมบูรณ์แบบที่ สุดในตลาด ผู้ใช้งานสามารถเลือกชมคอนเทนต์สามมิติได้อย่างไร้ขีดจำกัด และยังมาพร้อมแว่นสามมิติน้ำหนักเบาในราคาที่ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของได้ แอลจียังได้ผนวกฟีเจอร์ สมาร์ท ทีวี ที่เชื่อมต่อโลกออนไลน์อย่างง่ายดาย พร้อมเต็มอิ่มไปกับพรีเมียม คอนเทนต์ภาษาไทยที่เพิ่มขึ้นและตรงใจผู้ใช้งานชาวไทย

มร. ชิน ฮัก (เจฟ) เช กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ ในฐานะผู้นำด้านผลิตภัณฑ์โฮมเอ็นเตอร์เทนเมนต์ระดับโลก แอลจีมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าเชื่อถือ พร้อมด้วยนวัตกรรมและดีไซน์ล้ำสมัยเพื่อยกระดับชีวิตผู้ใช้งานให้ดียิ่งขึ้น และครั้งนี้ แอลจีมีความภูมิใจที่ได้นำเสนอ LG CINEMA 3D TV เจนเนอเรชั่นใหม่แห่งโลกทีวีสามมิติซึ่งแอลจีเป็นผู้พัฒนา รายแรกของโลก เพื่อมอบประสบการณ์การรับชมภาพสามมิติที่สมบูรณ์แบบกว่าระบบสามมิติแบบเดิม และยังมาพร้อมกับคุณสมบัติอื่นๆ ที่ทำให้แอลจีทีวีมีความแตกต่างและโดดเด่นจากแบรนด์อื่นๆ เราจึงมั่นใจว่า CINEMA 3D TV จะได้รับการตอบรับที่ดีและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยได้อย่างแน่นอน ”

LG CINEMA 3D TV ก้าวล้ำไปอีกขั้นด้วย Cinema 3D เทคโนโลยีการสร้างภาพสามมิติที่ใช้ พาเนลชนิดพิเศษที่เรียกว่า Film Patterned Retarder (FPR) ช่วยให้ผู้ใช้งานไม่มีอาการล้าสายตาหรือปวดหัวจากการกระพริบของภาพจากการชมเป็นเวลานาน โดยแอลจีเป็นแบรนด์แรกที่ได้รับการรับรองด้าน Flicker Free จากสถาบัน TÜV นอกจากนี้ยังได้พัฒนาฟีเจอร์ 3 D Light Boost ปรับระดับความสว่างของภาพสามมิติให้สว่างเป็นสองเท่าเพื่อ เพิ่มความคมชัดของภาพ สามารถรับชมได้แม้อยู่ในห้องที่มีแสงสว่าง และเพื่อประสบการณ์ในการรับชมภาพยนตร์สามมิติที่สมบูรณ์แบบ แอลจีได้ออกแบบ แว่นสามมิติ ให้ มี น้ำหนักเบา ไม่มีแบตเตอรี่จึงไม่จำเป็นต้องชาร์จประจุไฟและไม่มีผลต่อสุขภาพ ที่สำคัญ แว่นสามมิติของแอลจียังมีระบบการทำงานอิสระ ไม่ต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ส่งสัญญาณบนจอภาพ จึงสามารถรับชมได้จากทุกมุมในห้อง หรือแม้กระทั่งนอนชมหน้าโทรทัศน์ โดด เด่นด้วยฟีเจอร์การแปลงภาพปกติเป็นภาพสามมิติซึ่งให้คุณภาพสมบูรณ์แบบที่สุด ในตลาด ผู้ใช้งานจึงสามารถรับชมคอนเทนต์สามมิติได้อย่างไร้ขีดจำกัด นอกจากนี้ แอลจียังอำนวยความสะดวกสบายที่เหนือระดับด้วย Magic Motion Remote Control รีโมทพิเศษที่ทำให้ควบคุมทุกความเคลื่อนไหวบนหน้าจออย่างง่ายดายเพียงปลายนิ้วสัมผัส

และเพื่อตอบรับไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้งานยุคใหม่ LG CINEMA 3D TV ยังมีฟีเจอร์ ที่เชื่อมต่อโลกออนไลน์ได้อย่างไร้ขีดจำกัด ซึ่งนอกจากคอนเทนต์ชั้นนำระดับโลกแล้ว แอลจียังเป็นแบรนด์แรกที่ พัฒนาพรีเมียม คอนเทนต์ภาษาไทยสำหรับ สมาร์ท ทีวี ไม่ว่าจะเป็น เนชั่น แชนแนล และ เว็บไซต์เอ็มไทย รวมถึงคอนเทนต์ภาษาไทยใหม่ที่เปิดตัวในครั้งนี้ เช่น Wikalenda, Shoppening และเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เป็นต้น

คุณฉันท์ชาย พันธุฟัก หัวหน้ากลุ่มผลิตภัณฑ์โมเอ็นเตอร์เทนเมนต์ บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ สำหรับปี พ.ศ. 2554 แอลจีเตรียมงบการตลาดรวมของทีวีอยู่ที่ 30 0 ล้านบาท โดยจะใช้งบประมาณที่ 150 ล้านบาทสำหรับการโปรโมท LG CINEMA 3D TV อย่างเต็มรูปแบบ ครอบคลุมทั้งโฆษณา ประชาสัมพันธ์ กิจกรรมออนไลน์ และการร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจในการจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ในการจัดโร้ดโชว์ แอลจีเชื่อมั่นว่า CINEMA 3D TV จะช่วยให้ เพิ่ม ส่วนแบ่งทางการตลาดจากตลาดทีวีโดยรวม ได้เป็น 25% หรือ 9 พันล้านบาท และส่วนแบ่งทางการตลาดของแอลซีดี แอลอีดี ทีวี เป็น 2 5 % หรือ 6.2 พันล้านบาท ภายในปีนี้อย่างแน่นอน ”

LG CINEMA 3D TV มีทั้งหมด 5 ขนาดหน้าจอ 32, 42, 47, 55 และ 65 นิ้ว ราคาเริ่มต้นที่ 22,990 – 299,990 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ข้อมูลแอลจี 0-2878-5757 หรือ หมายเลขโทรฟรี 1-800-545454 หรือ www.lg.com/th

View :1530

9 หน่วยงาน ก่อตั้งกลุ่มเอ็มทีสแควร์ หรือ Mobile Technology for Thailand (MT2 )

April 27th, 2011 No comments

ภาครัฐ เอกชน การศึกษา รวมพลังตั้งกลุ่มเอ็มทีสแควร์ จับมือสร้างซอฟต์แวร์มือถือไทย สร้างมิติใหม่เปิดกว้างการเข้าร่วม หวังทุกองค์กรส่งแผนคืนสู่สังคม เชื่อเกิดกระแสสร้างมาตรฐานใหม่รับสมาร์ทโฟนเติบโต

ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (ทริดี้) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานกลุ่มเอ็มทีสแควร์ กล่าวว่า ทริดี้เห็นโอกาสและแนวโน้มตลาดแอพพลิเคชั่นบนมือถือที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรรวม 9 หน่วยงาน ก่อตั้งกลุ่มเอ็มทีสแควร์ หรือ Mobile Technology for Thailand ( ) ขึ้น เพื่อหาความร่วมมือรูปแบบใหม่ในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีทางด้านโทรศัพท์มือถือให้กับนักพัฒนาในประเทศไทย รวมถึงการระดมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์จากองค์กรสมาชิกให้เป็นในทิศทางเดียวกันเพื่อสร้างอุตสาหกรรมนี้ในช่องทางที่ถูกต้อง

จุดสำคัญของการตั้งกลุ่ม MT2 ขึ้นในครั้งนี้คือ การร่วมกันกำหนดทิศทางการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ เนื่องจากในกลุ่มจัดตั้งแรกเริ่มได้คัดเลือกกลุ่มที่มีความหลากหลายและเป็นตัวแทนของทั้งอุตสาหกรรม นั่นคือ มีทั้งภาครัฐทั้งจากโทรคมนาคม ซอฟต์แวร์ ทีมวิจัยและพัฒนา ภาคการศึกษา องค์กรเอกชนที่มาจากบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก แล

ะเอกชนของไทย
โดยในช่วงต้น ทริดี้จะทำหน้าที่เป็นประธานกลุ่ม และเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์พาร์คทำหน้าที่เป็นเลขานุการ วาระดำรงตำแหน่งและโครงสร้างของกลุ่มจะมีการพิจารณาใหม่หลังจากที่มีการเปิดรับสมาชิกผู้เข้าร่วมได้จำนวนหนึ่ง โดยสมาชิกใหม่ที่จะเข้าร่วมนั้นจะรับเฉพาะสมาชิกแบบองค์กร ส่วนนักพัฒนาซอฟต์แวร์โทรศัพท์มือถือทุกคนถือเป็นกลุ่มผู้รับผลประโยชน์และเข้าร่วมกิจกรรมได้

ทิศทางใหม่ที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่กลุ่ม MT2 เข้มแข็งขึ้นก็คือ จะมีองค์กรซึ่งเป็นที่รวมของทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และเอกชนที่เกี่ยวข้องกับโทรศัพท์มือถือเข้ามาร่วมกำหนดทิศทางร่วมกัน ซึ่งถือเป็นองค์แรกทางด้านเทคโนโลยีในประเทศไทย จะทำให้การแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางการสนับสนุน รวมถึงการตั้งธงในการพัฒนาซอฟต์แวร์โทรศัพท์มือถือของไทยทำได้ง่ายและมีความถูกต้อง สอดคล้องกับสถานการณ์ของตลาดได้ รวมถึงการเข้าไปกำหนดมาตรฐานต่างๆ เช่น การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ ทำได้ง่ายขึ้น

สำหรับ ทริดี้เองนั้นจะมีการสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างนักพัฒนากับผู้ให้บริการโทรคมนาคม รวมถึงการสนับสนุนทุนวิจัย การจัดตั้งศูนย์ทดสอบแอพพลิเคชั่น (Application Test Center: ATC) และร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรในการผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมแอพพลิเคชั่นของไทยไปสู่ตลาดโลกต่อไป

ด้าน ผศ.ดร.ภุชงค์ อุทโยภาศ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะสมาชิกกลุ่ม MT2 เปิดเผยว่า กระบวนการเริ่มต้นของการเข้ามาเป็นสมาชิก MT2 ทุกหน่วยงานมุ่งเป้าหมายไปที่การคืนสู่สังคม เพื่อทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ทางด้านโทรศัพท์มือถือของไทยเติบโตแบบยั่งยืน แม้ช่วงแรกจะยังไม่มีเป้าหมายกิจกรรมที่จะผลักดันในเชิงนโยบายอย่างชัดเจน เนื่องจากเพิ่งเป็นการรวมตัวกันแบบหลวมๆ และเน้นการประชุมร่วมกันแบบกระชับ เพื่อทำให้เกิดการเจรจานอกรอบ และแสวงหาความร่วมมือระหว่างกันทั้งในแบบทวิภาคี และพหุภาคี แต่คาดว่าเมื่อเกิดการพบปะและร่วมกันทำงานแบบต่อเนื่อง และการที่มีประเด็นทางสังคมเกิดขึ้น กลุ่มนี้จะมีทิศทาง ข้อเรียกร้อง และแนวทางการทำงานเพื่อสังคมอย่างชัดเจนในที่สุด

ในเบื้องต้น MT2 ได้วาง Road Map ในการดำเนินงานโดยกำหนดจากสองกรณี คือ งานใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้น และงานที่เป็นหลักของสมาชิกแต่สามารถเชื่อมต่อและส่งผ่านข้อมูลหรือประโยชน์ให้กับสังคมได้ โดยงานหลักที่จะเกิดขึ้นในช่วงนี้ เช่น การเข้าร่วมงาน BOI Fair หรือ การจัดงาน e-market place ทางด้านซอฟต์แวร์ และงานอื่นๆ ซึ่งงานเหล่านี้สมาชิกกลุ่มก่อตั้งจะเข้าร่วมในนามกลุ่มและทุ่มเททรัพยากรเพื่อนำเสนอผลงานของซอฟต์แวร์โทรศัพท์มือถือไทยออกสู่ตลาด มีการกระจายความรู้ และสร้างฐานข้อมูลเพื่อนำไปสู่การสนับสนุนนักพัฒนาซอฟต์แวร์โทรศัพท์มือถือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนงานขององค์กรสมาชิกที่นำเข้ามาสู่ Road map จะนำลักษณะงานที่มีคุณประโยชน์ต่อสังคมอยู่แล้วมาเชื่อมต่อ และแบ่งปันข้อมูลต่างๆ ให้กับสมาชิก เช่น การอบรมแอนดรอยด์ของเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park) ก็สามารถโอนถ่ายข้อมูลของผู้เข้าร่วมอบรมให้กับองค์กรสมาชิกที่สนใจได้นักพัฒนาฝีมือดีไปร่วมงาน หรือได้รับรู้ข้อมูลว่านักพัฒนาเหล่านั้นเชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรมด้านใด

แนวทางการคืนสู่สังคมนี้ถือเป็นข้อกำหนดในการรับสมาชิกใหม่ โดยนอกจากจะพิจารณาตัวองค์กรของผู้สมัครแล้ว ยังจะพิจารณาเรื่องแนวทางการคืนสู่สังคมขององค์กรนั้นเป็นสำคัญอีกด้วย

สำหรับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในฐานะสถาบันการศึกษาที่มีหน้าพัฒนาบุคคลากรที่มีความสามารถสูงด้านเทคโนโลยีให้กับภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ให้ประเทศ การมาถึงของเทคโนโลยีด้านโมบายล์คอมพิ้วติ้งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวงการไอทีและสร้างโอกาสให้ประเทศไทยแข่งขันได้ในระดับโลก ทางภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จึงเห็นความสำคัญในการทำงานร่วมกันในรูปแบบพันธมิตรทางเทคโนโลยี ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ทางภาควิชาได้เรียนรู้ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในการผลิตบุคคลากรให้ตรงกับความต้องการได้ร่วมมือกัน เพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆมาตอบสนองความต้องการของประเทศ รวมทั้งเป็นการสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแนวทางการทำงานเพื่อขับเคลื่อนให้เทคโนโลยีโมบายล์ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับสังคมในวงกว้างต่อไป

ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์พาร์ค ในฐานะเลขานุการกลุ่ม MT2 เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์ของตลาดโทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ทโฟนมีการเติบโตสูงมากทั้งในตลาดโลกและตลาดในประเทศไทย โดยในประเทศมียอดขายเครื่องไปแล้วกว่า 3 ล้านเครื่อง เพิ่มจากปีที่แล้วที่มีเพียง 1.2 ล้านเครื่อง ขณะที่ตลาดโลกนั้นเติบโตยิ่งกว่า เพราะมีการใช้งานอยู่ถึง 54 ล้านเครื่อง และมีมูลค่าซอฟต์แวร์อยู่ถึง 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้นการรวมกลุ่ม MT2 ในครั้งนี้จึงเป็นการเข้ามารองรับอุตสาหกรรมนี้ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงมาก

สิ่งที่กลุ่ม MT2 จะต้องเร่งก่อนที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์โทรศัพท์มือถือของไทยจะเสียโอกาสคือการสร้างตลาดที่เหมาะสมกับนักพัฒนาไทย ซึ่งครอบคลุมตลาดทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากซอฟต์แวร์ประเภทนี้เหมาะสมกับแนวทางการพัฒนาของไทยอย่างมาก เพราะไม่จำเป็นต้องสร้างแอพพลิเคชั่นขนาดใหญ่ดังเช่น ซอฟต์แวร์ทางด้านธุรกิจ โดยเมื่อกลุ่ม MT2 มีสมาชิกจากองค์กรทางด้านโทรศัพท์มือถือเข้าร่วม ก็สามารถผลักดันให้ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือสามารถเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่ผ่านการสนับสนุนของกลุ่มได้ทันที

ทางซอฟต์แวร์พาร์คได้เข้ามาสนับสนุนกิจกรรมของกลุ่ม MT2 ด้วยการรับหน้าที่เป็นเลขานุการ เชื่อมโยงฐานข้อมูลทั้งในส่วนขององค์กรและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อเป็นประโยชน์ของกลุ่มและอุตสาหกรรมทั้งหมด นอกจากนั้นจะมีการก่อตั้ง Mobile Testing Center หรือศูนย์ทดสอบซอฟต์แวร์โทรศัพท์มือถือ โดยองค์กรและสมาชิกสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
สิ่งที่ซอฟต์แวร์พาร์คได้นำเสนอเพิ่มเข้ามาอีกคือ การนำระบบ Business Matching หรือการเชื่อมต่อทางธุรกิจ โดยจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางจับคู่ทางธุรกิจระหว่างนักพัฒนาและผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือ และเร่งให้เกิดการเจรจาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มขององค์กรมากขึ้น โดยจะมีการจัดการฝึกอบรมนักพัฒนาซอฟต์แวร์โทรศัพท์มือถือในแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อรองรับความต้องการของตลาด ทำให้ซอฟต์แวร์พาร์คจะสามารถเชื่อมโยงทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกันได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นจะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การสัมมนา เวิร์คช็อป และอื่นๆ มาเสริมตลอดเวลาอีกด้วย

ดร.ภาสกร ประถมบุตร ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยสารสนเทศการสื่อสารและการคำนวณ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค ในฐานะสมาชิกกลุ่ม กลุ่ม MT2 เปิดเผยว่า บทบาทที่สำคัญของเนคเทคต่อกลุ่มนี้จะมี 2 ประการคือ เป็นผู้สนับสนุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทั้ง Hardware และ Software โดยเฉพาะเทคโนโลยีฐานในเชิงลึกเพื่อให้นักพัฒนานำไปต่อยอดเป็น mobile application ที่หลากหลาย ได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น VAJA ที่ให้บริการเสียงสังเคราะห์จากข้อความภาษาไทย และ Traffy API ที่ให้บริการทำนายสภาพจราจร สามารถนำไปสร้าง mobile application ในธุรกิจท่องเที่ยวหรือโลจิสติกส์ได้

นอกจากนั้นเนคเทคจะเป็นผู้ประสานการเชื่อมโยงข้อมูลจากภาครัฐ ในฐานะที่เนคเทคสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนคเทคสามารถติดต่อประสานงานกับภาครัฐด้วยกัน รวมถึงการกำหนดมาตรฐานในการเชื่อมต่อ การออกแบบโครงสร้างข้อมูล อันจะเป็นประโยชน์ทั้งภาครัฐเองและกลุ่ม MT2 ให้เชื่อมโยงกันได้ ตัวอย่างเช่น การกำหนดมาตรฐานกลางในการสื่อสารข้อมูลระหว่างโรงพยาบาล นอกจากนี้เนคเทคยังสนับสนุนกิจกรรมในภาคการศึกษาในรูปแบบการจัดประกวดแข่งขันซึ่งทำเป็นประจำทุกปี

นายจิรวิทย์ แม้ประสาท ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์ บริษัท อินเทล ไมโครอิเลคทรอนิกส์ (ประเทศไทย) ในฐานะสมาชิกกลุ่ม MT2 เปิดเผยว่า อินเทลเห็นการเติบโตด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์โทรศัพท์มือถือในประเทศไทยมาโดยตลอด เพื่อสร้างความโดดเด่นทางเทคโนโลยี และร่วมสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน อินเทลฯได้เริ่มโครงการใหม่ เพื่อสนับสนุนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศไทย ให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี, แหล่งความรู้ และสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายระบบออนไลน์ ภายใต้ชื่อโครงการ Intel AppUpSM developer program และยังจัดทำโครงการ Intel AppUpSM Center ซึ่งเป็นแหล่งรวมซอฟต์แวร์ที่น่าสนใจสำหรับผู้ใช้ ซึ่งโครงการเหล่านี้สามารถเชื่อมต่อความร่วมมือระหว่างบริษัทอินเทลฯ กับกลุ่มเอ็มทีสแควร์ (MT2) ให้เกิดกิจกรรมหลายด้าน เช่น กิจกรรมฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ให้กับนักพัฒนา, ให้บริการอุปกรณ์เพื่อการทดสอบซอฟต์แวร์ พร้อมทั้งให้การสนับสนุนด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์แอพพลิเคชั่นที่มีนวัตกรรมที่น่าสนใจจากประเทศไทย

นายไพโรจน์ วโรภาษ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในฐานะสมาชิกกลุ่ม MT2 กล่าวว่า ทางกลุ่มบริษัทสามารถซึ่งดำเนินธุรกิจด้านเทคโนโลยีครบวงจรในด้านธุรกิจโมบาย ทั้งโทรศัพท์มือถือและคอนเทนต์ รวมถึงด้านซอฟต์แวร์ธุรกิจ โดยมีนโยบายที่สนับสนุนนักพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างจริงจัง ผ่านโครงการประกวด Samart Innovation Awards ที่จัดอย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่ปีที่ 9 แล้วในปีนี้ โดยความร่วมมือกับกลุ่ม MT2 ในช่วงต้น จะให้การสนับสนุนด้านกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่างๆ แก่นักพัฒนา และมีแนวทางที่จะสนับสนุนด้านอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ เพื่อช่วยให้นักพัฒนามีอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ที่ทันสมัย ช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนาผลงานใหม่ๆ และยังส่งฐานข้อมูลนักพัฒนายุคใหม่ที่เริ่มมีผลงานจากโครงการนี้ให้กลุ่ม MT2 ได้ใช้เป็นฐานในการส่งเสริมต่อไป

นายชวัล บุญประกอบศักดิ์ รองประธานฝ่ายบริหาร บริษัท สปริงเทเลคอม ในฐานะสมาชิกกลุ่ม MT2 เปิดเผยว่า สปริงถือว่าเป็นองค์กรกลุ่มเป้าหมายโดยตรงของกลุ่ม MT2 เนื่องจากเป็นบริษัทซอฟต์แวร์โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ และได้รับทราบปัญหา รวมถึงเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีใหม่ในขณะนี้ตลอดเวลา ทำให้สปริงสามารถถ่ายทอดและชี้ทิศทางการแก้ไขปัญหาในองค์รวมให้กับกลุ่มได้ง่ายขึ้น โดยสิ่งที่สปริงจะให้ความร่วมมือกับกลุ่มคือ เสนอให้ฐานข้อมูลของนักพัฒนาที่ผ่านกลุ่ม MT2 สามารถเข้าฝึกอบรมในรูปแบบการทำงานจริง, กลุ่มสามารถใช้งานโปรแกรมสปริงในการเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างกลุ่มกับสมาชิกและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วไปได้ฟรีแบบไร้ข้อจำกัด นอกจากนั้นในปลายปีทางสปริงจะเปิดเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์ของสปริง หรือ SDK เพื่อให้สมาชิกสามารถเข้ามาเขียนซอฟต์แวร์ต่อเชื่อมได้

รศ.ดร.จันทร์บูรณ์ สถิตวิรยวงศ์ คณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เปิดเผยว่า แนวทางการมีส่วนร่วมและบทบาทของสถาบันต่อกลุ่ม MT2 จะประกอบด้วย การเข้าไปช่วยผลิตบุคลากรทางด้านการพัฒนา Mobile Application ให้กับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ผ่านทางหลักสูตรอบรม และสร้างนักศึกษาตามรายวิชาที่เกี่ยวข้องในหลักสูตรของคณะฯ เพื่อเข้าไปสนับสนุนแนวทางของกลุ่ม, ศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้าน Wireless Network และ Mobile Application รวมถึงกำหนดทิศทาง มาตรฐาน และผลักดันอุตสาหกรรมด้าน Software บนโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องร่วมกับ MT2

นายเอกราช คงสว่างวงศา ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) ในฐานะสมาชิกกลุ่ม MT2 จากความต้องการที่มากขึ้นของการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ตลอดจนอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ เป็นโอกาสที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ของไทยจะสรรค์สร้างนวัตกรรมซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชั่นใหม่ๆมากขึ้น โดยเฉพาะแอพพลิเคชั่นบนระบบปฎิบัติการ Windows Phone 7 โดยบริษัทฯมีกิจกรรมสนับสนุนอย่างจริงจังสำหรับนักพัฒนาผ่านศูนย์นวัตกรรมซอฟต์แวร์ที่มีชื่อว่า Microsoft Innovation Center โดยเริ่มตั้งแต่การอบรม การพัฒนา การทดสอบ ตลอดจนการอำนวยความสะดวกในด้านการนำแอพพลิเคชั่นขึ้นไปจำหน่ายทั่วโลกบนมาร์เกตเพลสของ Windows Phone 7 โดยนำมาเชื่อมการทำงานกับกลุ่ม MT2 เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยแล้วยังเป็นการขยายการเพิ่มและนำรายได้สู่ประเทศไทยอย่างยั่งยืนต่อไป

View :1445
Categories: Press/Release Tags: , ,

สาวกเอไอเอส iPhone 4 ยิ้มรับผ่อน 0 % ที่ เอไอเอส ช็อปทั่วไทย

April 27th, 2011 No comments

พิเศษตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ลูกค้าเอไอเอส ซื้อ iPhone4 รับสิทธิ์ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน พร้อมรับเครื่องได้ทันที ที่ shop ทุกสาขา ทั่วประเทศ และร้านเทเลวิซที่ร่วมรายการ

View :1778
Categories: Press/Release Tags: ,

10 ปีโชว์โนลิมิต เผย 10 เทรนด์ไอทีมาแรงปีนี้

April 27th, 2011 No comments

เผยผลงานในรอบ 10 ปี เผย 10 เทรนด์ไอทีมาแรงปีนี้
ออกนวัตกรรมล่าสุด อินเตอร์เน็ตทีวี “UniTV”/เกมเพลงบนเฟซบุ๊ค/แบไต๋ไฮเทคใหม่ 5 วัน/สป.
โชว์วิสัยทัศน์ในอนาคต “จะทุ่มเวลาทั้งหมดให้กับการสร้างนวัตกรรม”

หิรัญพฤกษ์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท โชว์ไร้ขีด จำกัด (โชว์โนลิมิต) เปิดเผยว่า โชว์โนลิมิตได้ดำเนินงานผ่าน 1 ทศวรรษแรกไปแล้ว ได้สร้างสรรค์ผลงานด้านอีเว้นท์ออกาไนเซอร์ ให้กลุ่มสินค้าไอทีมาแล้วแทบทุกแบรนด์ และเป็นผู้จัดงานอีเว้นท์เกมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ “ไทยแลนด์เกมโชว์” ต่อเนื่องกันมาแล้วถึง 5 ปี เป็นผู้ผลิตรายการ “แบไต๋ไฮเทค” ทางเนชั่นแชนแนล ทุกคืนวันอาทิตย์
“ในโอกาสครบรอบ 10 ปี โชว์โนลิมิต ได้ฉลองด้วยการจัดทอล์คโชว์เต็มรูปแบบเพื่อตอบแทนสังคม นำทีมแบไต๋ไฮเทคไปจัดไอที ทอล์คโชว์ ฟรีแก่เด็กและเยาวชน 10 สถาบันการศึกษา ภายใต้ชื่อ “ไอทีทอล์คโชว์ ปลุกพลังบวก เปลี่ยนประเทศไทย มาใช้อินเตอร์เน็ตแบบ++ (บวกบวก) กันเถอะ”
สำหรับในปี 2554 นี้ หนุ่ย พงศ์สุข ได้แสดงวิสัยทัศน์ถึง 10 เรื่องน่าจับตามองในแวดวงไอทีไทย คือ 1. คลาวด์ เซอร์วิส ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งจะได้รับความนิยมสูงสุดในโลกออนไลน์ 2. ความคมชัดระดับ HD จะทำให้แผ่นดิสค์ลดความนิยมลงไป 3. อินเตอร์เน็ตทีวี การมีสมาร์ททีวีที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ จะเปลี่ยนสไตล์การดูทีวีของผู้บริโภค 4. ดิจิตัล แมกาซีน จะมาทดแทนสื่อกระดาษ ในขณะที่สื่อกระดาษจะยังอยู่แต่เป็นที่ยืนของหน้าเก่าเท่านั้น 5. โลกออนไลน์จะเป็นโลกของ Apps เพราะ Apps ใช้ง่ายกว่าเว็บไซค์
6. สมาร์ท ดีไวซ์ เครื่องใช้ต่างๆ จะฉลาดขึ้น 7. คนออนไลน์จะไปอีเว้นท์ เพราะในโลกออนไลน์คนชอบอะไรจะอยู่ไปในกลุ่มเดียวกัน ทำให้กรุ๊ปปิ้งนิชมาร์เก็ต หรือจัดอีเว้นท์ บีโลว์เดอะไลน์ ง่ายขึ้น 8. เพาเวอร์ออฟเกม พลังของเกมจะเกิดขึ้น จะมี อี-สปอร์ต ลีค เกิดมากขึ้น และจะเติบโตรวดเร็วหากเกมเมอร์ไทยไปได้แช้มป์โลก จะทำให้เกิดอินเตอร์เนชั่นแนล เกม เพาเวอร์ บรรดาค่ายเกมรายใหญ่ๆ จะเห็นความสำคัญของไทย 9. การพัฒนาเกม 51% ของ Apps ที่ขายได้คือเกม การผลิตเกมในไทยจะมีทิศทางที่ดีขึ้น 10. 4G จะมาเร็วขึ้น ภายใน 3 ปีนี้ เพราะ 3Gติดที่การประมูลย่านความถี่ 2100 Mhz. แต่ 4G ย่านความถี่ 1800 Mhz. ซึ่งมีผู้ให้บริการอยู่แล้ว
ดังนั้น ในปีนี้ โชว์โนลิมิตจะยุติการเป็นผู้รับจัดงานออกาไนซ์ และปรับเปลี่ยนมาสร้างนวัตกรรมให้แวดวงไอทีไทย ซึ่งกำลังสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่หลายอย่าง คือ
UniTV กล่องอินเตอร์เน็ตทีวี ที่สามารถเชื่อมต่อบริการคลาวด์คอมพิวติ้งเข้าจอทีวี ให้ผู้ใช้รับชมรายการโทรทัศน์รายการโปรดในรูปแบบรายการย้อนหลังได้สะดวกตามเวลาที่ต้องการ ด้วยคุณภาพความคมชัดระดับสูงสุดเท่าที่ต้นฉบับได้บันทึกไว้ เป็นนวัตกรรมล่าสุดที่จะมารับใช้วงการบันเทิงไทย โดยโชว์โนลิมิต จะเป็นผู้ผลิตกล่องออกวางจำหน่าย และเป็นการสร้าง Eco system (ระบบนิเวศน์ทางเศรษฐกิจ) ให้ทุกคนมีส่วนร่วม ผู้ผลิตคอนเท้นท์สามารถเผยแพร่ผลงานได้ตลอดไปไม่ขึ้นกับวันเวลาออกอากาศ ผู้ชมก็มีส่วนร่วมในการสร้างเนื้อหาและชมเนื้อหาจากรายการโปรดได้บ่อยมากเท่าที่ต้องการ
สร้างโซเชียลเกม ปีนี้โชว์โนลิมิตกลับมาพัฒนาเกมอีกครั้ง หลังจากที่เคยสร้างเกมจากภาพยนตร์และเกมที่เล่นกับ QR Code บนกล่องโออิชิกรีนที มาถึงยุค Social Network จึงถึงเวลาของเกมบนเฟซบุ๊คที่เกี่ยวกับเพลง โดยจับมือกับไอคอนวงการเพลง “ดี้ นิติพงษ์ ห่อนาค” ซึ่งจะออกสู่สายตาชาวเน็ตในเร็วๆ นี้
สร้าง Apps ให้โยงกับทุกเนื้อหาที่มี เช่น บนมือถือสมาร์ทโฟน และดีไวซ์ที่คนไทยนิยม เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ดังนั้นจึงต้องมี Apps สำหรับชาวไทย
แบไต๋ไฮเทคใหม่ 5 วัน เดิมรายการแบไต๋ไฮเทค ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ ทางเนชั่นแชนแนล เพียงสัปดาห์ละ 1 วัน ซึ่งได้รับการตอบรับสูงมากจากผู้ชมวัย 18 – 35 ปี ยังมีเรื่องราวไอทีอีกมากที่เป็นประโยชน์ จึงได้เพิ่มเวลาการออกอากาศ และขยายการรับชม เพื่อให้เข้าถึงผู้ชมมากขึ้น โดย “แบไต๋ไฮเทค” จะปรับเป็น สัปดาห์ละ 5 วัน ออกอากาศ 5 ช่อง ทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมระดับ Top 10 จะเปิดตัวออกอากาศสดภายใต้ฉากใหม่เต็มเหนี่ยว อลังการสุดๆ ที่ Digital Gateway ใจกลางสยามสแควร์
หนุ่ย พงศ์สุข ได้ทิ้งท้ายว่า “เราทำธุรกิจที่เกี่ยวกับไอทีมาหนึ่งทศวรรษแล้ว สาเหตุที่เราทำทางด้านไอที เพราะเราเชื่อว่าเรื่องไอทีทำให้คนฉลาดขึ้น และเราอยากเห็นคนไทยฉลาดขึ้น เราจึงทำด้านนี้มาตลอด และจะทำต่อไป โดยในอนาคตข้างหน้า ผมจะใช้เวลาทั้งหมดไปกับการสร้างนวัตกรรม”

View :1562

เดลล์เปิดตัวโซลูชั่นธุรกิจค้าปลีกครบวงจรหวังช่วยลูกค้าพัฒนาบริการและความปลอดภัยจากการใช้งานไอที

April 25th, 2011 No comments

โซลูชั่นสมบูรณ์แบบที่สนองตอบความต้องการของธุรกิจค้าปลีกขนาดกลางและเล็กด้วยต้นทุนที่ไม่แพง

เดลล์ ประกาศโซลูชั่นเพิ่มเติมภายใต้คอนเซ็ปต์ระบบเปิด ราคาสมเหตุสมผล และเป็นระบบที่สามารถทำงานได้ ด้วยการเปิดตัวโซลูชั่นชำระเงิน ณ จุดขาย ( Point of Sale) ไฮเทค โดยโซลูชั่น POS จะช่วยให้ธุรกิจที่กำลังเติบโตสามารถจัดการกับข้อมูลที่เติบโตออย่างมหาศาล ปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัย และบริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ฮาร์จีท สิงห์ เรไคห์ ผู้อำนวยการ เซลล์โซลูชั่น ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และญี่ปุ่น กล่าวว่า “ลูกค้าได้บอกกับเราว่าความท้าทายในการทำธุรกิจค้าปลีกให้มีประสิทธิภาพ กำลังเปลี่ยนแปลงไปและเทคโนโลยีของพันธมิตรธุรกิจไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้” พร้อมเสริมว่า “ในขณะที่ธุรกิจค้าปลีกได้มีการพัฒนาขึ้นมา ลูกค้าคาดหวังผู้ให้บริการโซลูชั่นที่สามารถช่วยพวกเขาให้เติบโตอย่างรวดเร็ว และสร้างโอกาสทางธุรกิจได้สูงสุด เรากำลังสร้างความแตกต่างด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีค้าปลีกที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถทำในสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อให้บริการกับลูกค้าของลูกค้า เพื่อช่วยให้ลูกค้าของเราสามารถแข่งขันได้”

Dell Retail Solutions ได้รับการพัฒนาจากการทำงานร่วมกับองค์กรธุรกิจทุกขนาด ในการออกแบบ ติดตั้ง และสนับสนุนด้านโซลูชั่นเทคโนโลยี ตั้งแต่หน้าร้านจนถึงหลังร้าน เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางธุรกิจและได้ผลคุ้มค่าจากการลงทุนด้านเทคโนโลย

สำหรับส่วนหน้าร้าน เดลล์นำเสนอโซลูชั่นในการรวบระบบ POS 3 โซลูชั่น โซลูชั่นแรกคือ โซลูชั่นแบ็คออฟฟิศ ที่ช่วยให้การจัดการร้านค้าปลีกทำได้ง่ายขึ้น ในการรองรับกับการเติบโตของข้อมูล ควบคุม และป้องกันธุรกิจ โดยมุ่งเน้นไปที่ความต้องการในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่แตกต่าง 4 ด้าน (สตอเรจและเวอร์ชวลไลเซชั่น, การจัดการระบบ, ระบบรักษาความปลอดภัย และระบบกู้คืนข้อมูล)

Dell Retail POS Solutions ได้รับการปรับแต่งทั้งส่วนฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วง มาพร้อมกับการรับประกัน 3 ปี และการสนับสนุนด้านเทคนิค โซลูชั่นพร้อมจัดจำหน่ายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่นเร็วๆ นี้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชุดผลิตภัณฑ์และบริการ เยี่ยมชม

View :1387

ไอดีซีเผยตลาดพีซีในเอเชียแปซิฟิกช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 โตขึ้นร้อยละ 7 ท่ามกลางแรงซื้อของผู้บริโภคที่อ่อนกำลังลง

April 25th, 2011 No comments

สิงคโปร์ และฮ่องกง 20 เมษายน 2554 – ผลการสำรวจเบื้องต้นของไอดีซีพบว่า ตลาดคอมพิวเตอร์พีซีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 เติบโตขึ้นเพียงร้อยละ 1 จากไตรมาส 4 ของปี 2553 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2553 นั้น ยอดการส่งมอบได้เติบโตขึ้นร้อยละ 7 ด้วยยอดจำหน่ายถึง 26.8 ล้านเครื่อง ผลกระทบจากเงินเฟ้อและกระแสความนิยมในสินค้าประเภทมีเดียแทบเล็ทยังคงเป็น ปัจจัยลบที่ทำให้ตลาดพีซีไม่เติบโตเท่าที่ควร โดยยอดการเติบโตที่ค่อนข้างต่ำในประเทศที่มีตลาดขนาดใหญ่อย่างจีนและอินเดีย ทำให้ตัวเลขการเติบโตของทั้งภูมิภาคต่ำกว่าที่ไอดีซีได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า นี้ ถึงแม้ผลสำรวจจะชี้ว่าตลาดของประเทศอินโดนีเซียและเกาหลีนั้นโตมากกว่าที่ คาดการณ์ไว้ก็ตาม

นายไบรอัน มา รองประธานฝ่ายวิจัยด้านตลาดอุปกรณ์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของไอดีซีเผยว่า “ไม่เพียงแค่ปัญหาในเรื่องของเงินเฟ้อและผลกระทบจากความนิยมต่ออุปกรณ์ ประเภทอื่นที่เพิ่มขึ้นเท่านั้นที่ทำให้ตลาดพีซีเติบโตช้าลง แต่ยังมีปัญหาในฝั่งของอุปทานเช่นกัน โดยแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่ญี่ปุ่นเมื่อเร็วๆ นี้ส่งผลให้ผู้ผลิตกังวลถึงความเสี่ยงที่ส่วนประกอบบางชนิดอาจจะขาดตลาดมาก ขึ้นอีกด้วย”

“แต่อย่างไรก็ตามเรายังคงเชื่อว่าตลาดองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชนจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งนั่นจะทำให้ภาพรวมของตลาดในปี 2554 เติบโตขึ้นไปแตะที่ระดับร้อยละ 10 ได้”

สำหรับผู้นำตลาดนั้นยังคงเป็นเลอโนโว ที่ถึงแม้ว่าตลาดในประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดหลักของเลอโนโวจะค่อนข้างซบเซาใน ช่วงวันหยุดตรุษจีนที่ผ่านมา แต่เลอโนโวก็ยังคงมีส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ของปี 2553 ในส่วนของเอชพี ตัวเลขล่าสุดแสดงให้เห็นว่าเอชพีเริ่มดึงส่วนแบ่งตลาดที่เสียไปก่อนหน้านี้ กลับมาได้บางส่วน โดยส่วนแบ่งตลาดของเอชพีในหลายประเทศรวมทั้งในประเทศจีนนั้นเริ่มดีขึ้น แต่ยังคงถือว่าต่ำกว่าเดิมหากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ผลงานของเดลล์เองก็กลับมาดีขึ้นกว่าไตรมาสที่ผ่านมาอีกครั้ง ซึ่งเห็นได้จากยอดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในประเทศจีนและอินเดีย เช่นเดียวกับอัสซุสที่สามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดให้สูงขึ้นได้จากการขยายช่อง ทางจำหน่ายในประเทศจีน

View :1472
Categories: Press/Release Tags: ,

แอลจี เปิดตัว “LG Optimus 2X” สมาร์ทโฟน Dual Core รุ่นแรกของโลก

April 25th, 2011 No comments

บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดตัว นวัตกรรมสมาร์ทโฟน รุ่นแรกของโลกที่มาพร้อมหน่วยประมวลผล Dual Core ในชิพ Tegra 2 สมรรถนะสูง ที่ทำงานรวดเร็วเหนือมือถือระดับไฮเอนด์ทุกรุ่นในปัจจุบัน มอบประสิทธิภาพด้านมัลติมีเดียเพื่อความบันเทิงและการท่องเว็บที่รวดเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้งการใช้งานแอพพลิเคชั่น และ Multitasking ได้อย่างราบรื่น พร้อมเพิ่มความพิเศษด้วยแพ็คเกจสุดคุ้มจากเครือข่ายคุณภาพเอไอเอส

LG Optimus 2X มอบขีดสุดแห่งสมรรถนะด้านความเร็วและมัลติมีเดีย ด้วยชิพ NVIDIA Tegra 2 ความเร็ว 1GHz ขณะเดียวกันก็ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้จะสัมผัสได้ถึงการทำงานที่เหนือกว่ามือถือ Single Core ในปัจจุบันอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ LG Optimus 2X ยังเป็นมือถือเครื่องแรกของโลกที่รองรับการบันทึกและแสดงผลระดับ Full HD (1080p) ได้อย่างสมบูรณ์แบบ พร้อมการเชื่อมต่อผ่านพอร์ท HDMI เพื่อชมคอนเทนต์ต่างๆ ในทีวี Full HD ได้อย่างสะดวก และยังสามารถใช้มือถือเล่นเกมผ่านทีวีได้เสมือนเครื่องคอนโซลวิดีโอเกมอีกด้วย LG Optimus 2X ยังมาพร้อมคุณสมบัติอื่นๆ อย่างครบครัน ทั้งการเชื่อมต่อแบบไร้สายกับอุปกรณ์ DLNA, กล้องหน้า 1.3 ล้านพิกเซล, กล้องหลัง 8 ล้านพิกเซลพร้อมแฟลช, ระบบเสียงเวอร์ชวลเซอราวนด์ 7.1, จอภาพ IPS LCD ความละเอียดสูง และแบตเตอรี่ 1500mAH

แอลจียังร่วมกับเอไอเอสในการนำเสนอ LG Optimus 2X พร้อมแพ็คเกจใช้ฟรี Wifi ของเอไอเอสที่มีกว่า 15,000 จุดทั่วประเทศได้อย่างไม่จำกัด พร้อมรับ GPRS เดือนละ 500 MB และโทรเดือนละ 300 นาที นาน 12 เดือน เพียงสมัครแพ็กเกจเดือนละ 349 บาท

LG Optimus 2X วางจำหน่ายแล้วในราคา 20,900 บาท พร้อมสายเคเบิล Micro HDMI สำหรับเชื่อมต่อทีวี และการ์ดความจำภายนอก 8GB ข้อมูลเพิ่มเติมเข้าชมได้ที่ www.lg.com/th หรือติดต่อศูนย์บริการข้อมูลแอลจี โทร 02-878-5757 หรือหมายเลขโทรฟรี 1-800-545454

นายสมศักดิ์ อธิศัยตระกูล (ขวา) หัวหน้ากลุ่มผลิตภัณฑ์โทรศัพท์มือถือ และนายณัฐวัชร์ ศิริวงศ์ศาล (ซ้าย) ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด กลุ่มผลิตภัณฑ์โทรศัพท์มือถือ บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมด้วย นางภูมิใจ กฤติยานนท์ (กลาง) ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด สมาร์ทโฟน บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) ร่วมถ่ายภาพกับ LG Optimus 2X และแพ็กเกจพิเศษจากเอไอเอส

View :1776
Categories: Press/Release Tags:

ไอบีเอ็มซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ผนึกกำลัง รุกตลาดติดอาวุธให้ทุกธุรกิจ IBM Netezza และ DB2 pureScale บนเซิร์ฟเวอร์ IBM Power Systems สำหรับการประมวลผลธุรกรรมออนไลน์

April 25th, 2011 No comments

บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ตอกย้ำจุดยืน “ Solutions for all Purposes, irrespective of size” ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดที่รวมกันแล้วจะเหมาะสำหรับการใช้งานได้ทุกอย่าง แต่ไอบีเอ็มมีการออกแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมลงตัวทุกความต้องการ ด้วยการเปิดตัวสองเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ไอบีเอ็ม เน็ตทีซ่า ( Netezza) กลุ่มผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ใหม่ล่าสุดของไอบีเอ็ม สำหรับคลังข้อมูล (Data Warehouse) เป็นเทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงให้กับทุกสายงานธุรกิจ ใช้งานง่าย เปี่ยมประสิทธิภาพ ช่วยธุรกิจนำข้อมูลอัจฉริยะ มาสร้างความแตกต่าง รองรับความต้องการของลูกค้า และซอฟต์แวร์ไอบีเอ็ม ดีบีทู เพียวสเกล ( DB2 PureScale) บนเซิร์ฟเวอร์ ไอบีเอ็ม เพาเวอร์ซิสเต็มส์ ( Power Systems) สำหรับ การประมวลผลธุรกรรมออนไลน์ OLTP (Online Transaction Processing Workloads) ที่ช่วยให้ลูกค้ารองรับการประมวลผลธุรกรรมออนไลน์ได้มากขึ้น พร้อมลดความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายในการขยายระบบไอที และ ขยายขีดความสามารถด้านการแข่งขัน เหมาะสำหรับทุกความต้องการของธุรกิจ เหนือชั้นกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง

นางเจษฎา ไกรสิงขร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจซอฟต์แวร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ”จากผลการศึกษาของไอบีเอ็มในปี 2552 ผู้บริหารระดับ CIO 84% ระบุว่า ระบบวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ (Business Analytics) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งการที่นำข้อมูลที่มีอยู่จำนวนมาก มากลั่นกรองเพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึก และนำมาใช้วิเคราะห์ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำนั้น ไอบีเอ็มมองว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีระบบคลังข้อมูล (Data warehouse) ที่จัดเก็บและทำงานได้อย่างทรงประสิทธิภาพ และมีการออกแบบระบบเฉพาะสำหรับการทำ Data warehouse เท่านั้น เพื่อความรวดเร็วในการทำงานและประหยัดค่าใช้จ่าย จึงได้เปิดตัวเทคโนโลยีล่าสุดคือ ซึ่งเป็นระบบ Data warehouse ที่มีทั้งซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ พร้อมใช้งานสามารถติดตั้งได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว

โดย IBM Netezza เป็นเทคโนโลยีสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้งานง่าย เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ รองรับการใช้งานทั่วทั้งองค์กร ช่วยให้องค์กร สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลภายในเวลาอันรวดเร็ว เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และขยายขีดความสามารถด้านการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ข้อมูลจำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมสื่อดิจิตอล, พลังงาน, บริการด้านการเงิน, ภาครัฐ, สุขภาพและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ, ค้าปลีก และโทรคมนาคม เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการให้ความช่วยเหลือลูกค้าทำความเข้าใจและสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อุปกรณ์ของ Nettezza ติดตั้งง่าย นับเป็นเทคโนโลยีที่สมบูรณ์แบบสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง โดยไม่ต้องอาศัยทักษะทางด้านไอทีและการบริหารจัดการระบบ

นอกจากนี้ การประมวลผลธุรกรรมออนไลน์ หรือ OLTP (Online transaction Processing) นับเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญสำหรับการทำธุรกิจในปัจจุบันเช่นกัน โดยไอบีเอ็มมีเทคโนโลยีที่รองรับการทำงานดังกล่าว คือ DB2 pureScale บนระบบ IBM Power System เป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับองค์กรที่มีการทำธุรกรรมออนไลน์จำนวนมาก ต้องการเครื่องมือมาจัดการประมวลผลธุรกรรมต่างๆให้มีประสิทธิภาพ ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ในเวลาอันรวดเร็ว เป็นระบบประมวลผลธุรกรรมออนไลน์ฟีเจอร์ใหม่ล่าสุด ที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพบนเซิร์ฟเวอร์ IBM Power System เทคโนโลยี pureScale ได้รับการออกแบบบนสถาปัตยกรรมของ DB2 ช่วยให้องค์กรลดความเสี่ยงและ ต้นทุนการเติบโตทางธุรกิจ รองรับข้อมูลที่ไร้ขีดจำกัด ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถขยาย pureScale ในกรณีที่ต้องการได้โดยที่ไม่ต้องทำการแก้ไขแอพพลิเคชั่นที่ใช้งาน

นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจคอมพิวเตอร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า” DB2 PureScale บน Power Systems ช่วยให้ลูกค้าขยายโครงสร้างพื้นฐานไอทีได้อย่างมีเสถียรภาพและประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าเดิม ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจในปัจจุบัน พร้อมนวัตกรรมอันทันสมัยของ Power Systems จะช่วยเพิ่มความพร้อมในการใช้งานอย่างต่อเนื่อง และพลังประมวลผลที่ไร้ขีดจำกัด โดยฟีเจอร์ pureScale ที่ปรับแต่งโดยเฉพาะสำหรับระบบ Power Systems จะช่วยรองรับความต้องการทางธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลของไอดีซี ไอบีเอ็มเป็นผู้นำ ยูนิกซ์เซิร์ฟเวอร์ในประเทศไทยต่อเนื่องกันถึง 2 ปีซ้อนตั้งแต่ปี 2552-2553 ซึ่งเป็นการยืนยันถึงความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่ยาวนาน และแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจและการยอมรับของลูกค้าที่มีต่อไอบีเอ็ม Power Systems ของไอบีเอ็มอย่างแพร่หลาย

ด้วยความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และการบริการทางด้านเทคโนโลยี ประกอบกับความมุ่งมั่นทุ่มเทในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อขยายความสามารถด้านธุรกิจการวิเคราะห์ข้อมูลของไอบีเอ็ม อย่างยาวนานมาจนถึง 100 ปีในปีนี้ ทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่า DB2 pureScale ที่ทำงานบน IBM Power System และ IBM Netezza จะสามารถสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด ยิ่งกว่าผลิตภัณฑ์อื่นใดในตอนนี้ เพราะเราเชื่อว่า “IBM Solutions for all Purposes, irrespective of size”
ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดที่ที่รวมกันแล้วจะเหมาะสำหรับการใช้งานได้ทุกอย่าง แต่ไอบีเอ็มมีการออกแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมลงตัวทุกความต้องการ”

View :1720

“วีเทค” ลุยศึกประมูลคอมพ์สพฐ.ทั่วประเทศ

April 25th, 2011 No comments

ชูคุณภาพและบริการหลังการขาย หลังได้ 3 พันธมิตรยักษ์ใหญ่ IT เสริมทัพ

” ผนึกกำลัง 3 พันธมิตร ล็อกซเล่ย์, ฟูจิตสึ, เล็คมาร์ค ประกาศเดินหน้าร่วมประมูลโครงการคอมพิวเตอร์ทั่วประเทศ ในโครงการไทยเข้มแข็งระยะ 2 ปีสุดท้ายของกระทรวงศึกษาธิการ หวังให้เด็กไทยได้คอมพิวเตอร์มีคุณภาพ เพื่อชิงเค้กจากงบ 4 พันล้านบาท เชื่อปีนี้ดึงแชร์ส่วนแบ่งเพิ่มอีก 20% หรือ 800 ล้านบาท หลังได้พันธมิตร อินเตอร์แบรนด์เสริมทัพ

นาย ณัฐพงศ์ พันธเกียรติไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัท จำกัด เปิดเผยว่า “ หรือ วีเทค ” ร่วมกับ บริษัท เอเทค คอมพิวเตอร์ จำกัด ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายใหญ่ของประเทศ ภายใต้แบรนด์ “ATEC COMPUTER” จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเข้าร่วมประมูลโครงการคอมพิวเตอร์ ของกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง โดยในปีนี้ บริษัทฯ ได้ร่วมกับ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) , บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) , บริษัท เล็คมาร์ค จำกัด , บริษัท เอเทค คอมพิวเตอร์ จำกัด และบริษัท โพเวลอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ จำกัด เพื่อเข้าร่วมประมูลโครงการคอมพิวเตอร์ ของกระทรวงศึกษาธิการ ในโครงการไทยเข้มแข็งระยะ 2 ของกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้งบประมาณราว 3 ,000 ล้านบาท

โดยในปีที่ผ่านมา วีเทค ได้เข้าร่วมประมูลในโครงการดังกล่าวซึ่งเป็นปีแรกของโครงการไทยเข้มแข็งที่มีงบประมาณในการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ทั่วประเทศอยู่ที่ราว 4,000 ล้านบาท โดย วีเทค ได้ร่วมประมูลเพียง 40% ของตลาดทั้งประเทศ และโดยสามารถดึงส่วนแบ่งทางการตลาดได้ประมาณ 12.5% หรือคิดเป็นเม็ดเงินราว 400 ล้านบาท แต่สำหรับปีนี้ วีเทค ได้พันธมิตรอีก 3 บริษัทคอมพิวเตอร์ชั้นนำเข้ามาเสริมความพร้อมยิ่งขึ้น โดยจะสามารถเข้าร่วมประมูลได้ถึง 80% ของพื้นที่ตลาดทั่วประเทศ และเชื่อว่าจะสามารถขยับสัดส่วนรายได้เพิ่มเป็น 20% ของงบประมาณราว 3 ,000 ล้านบาท หรือราว 6 00 ล้านบาทในที่สุด

นายณัฐพงศ์ กล่าวต่อไปว่า โดย วีเทค ให้ความสำคัญกับคุณภาพของคอมพิวเตอร์ในการใช้งานและบริการหลังการขายเป็นหลัก มากกว่าราคา จึงทำให้พันธมิตรที่เข้ามาร่วมในโครงการนี้ ล้วนเป็นบริษัท IT ชั้นนำที่เชื่อถือได้ในคุณภาพมาตรฐานการผลิต และการดูแลลูกค้า โดยเฉพาะ ล็อกซ์เลย์ มีความแข็งแกร่งด้านตัวแทนจำหน่ายและบริหารโครงการใหญ่ ๆ ของภาครัฐ ส่วนฟูจิต ซึ จะทำหน้าที่ผลิตเซอร์เวอร์ที่ตรงตามข้อกำหนดของ สพฐ ซึ่งผลิตจากโรงงานในเยอรมัน ที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ว่านักเรียนจะได้ใช้เครื่องที่ได้มาตรฐานระดับโลก สำหรับ Lexmark ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากอเมริกา จะจัดเตรียม Printer คุณภาพทั้งในส่วนของ Multi Function และ Laser Printer ในการเข้าร่วมการประมูลครั้งนี้ และเชื่อว่าด้วยจุดแข็งที่มีอยู่ของพันธมิตรทั้งหมดจะทำให้เด็กไทยได้ใช้คอมพิวเตอร์คุณภาพอย่างแท้จริง

สำหรับโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดสรรงบประมาณในการจัดหาคอมพิวเตอร์เกือบ 400,000 เครื่องในระยะสัญญา 3 ปีภายใต้งบประมาณราว 7,949 ล้านบาท โดยระยะแรกของโครงการจัดประมูลไปแล้วราว 4 ,000 ล้านบาท และอีกประมาณ 3,979 ล้านบาทสำหรับโครงการไทยเข้มแข็งระยะสองในปีสุดท้าย เพื่อเป้าหมายขยายอัตราส่วนการใช้งานคอมพิวเตอร์ต่อนักเรียนไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 1 เครื่องต่อนักเรียน 10 คน จากปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 1 เครื่องต่อนักเรียน 40 คน โดยจะมีการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 4.82 แสนเครื่อง จัดให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ 17,328 โรง ที่มีอัตราส่วนยังไม่ได้ 1 ต่อ 10 ในปัจจุบัน

View :1342

เอชพีผนึกวีเอ็มแวร์เดินหน้าพัฒนา โซลูชั่นระบบ ความปลอดภัย Intrusion Prevention System – IPS รุ่นแรก รองรับการใช้งานแบบเวอร์ช่วล และคลาวด์

April 25th, 2011 No comments

เอชพี โดย นายศักดิ์ชาย ปัญญจเร (ขวา) ผู้อำนวยการ หน่วยธุรกิจ Networking กลุ่มธุรกิจ เอ็นเทอร์ไพรส์ บิสิเนส และ วีเอ็มแวร์ โดย ดร. ชวพล จริยาวิโรจน์ (ซ้าย) ผู้จัดการประจำประเทศไทย ประกาศ ความ ร่วม มือ พัฒนาและ นำเสนอโซลูชั่น Intrusion Prevention System – IPS รุ่นใหม่ ล่าสุด ที่ได้รับการออกแบบให้รองรับสภาพแวดล้อมแบบเวอร์ช่วลและคลาวด์ โดยใช้เทคโนโลยี vSphere®

ความร่วมมือครั้งนี้ เป็น การพัฒนาต่อยอดจากความสำเร็จในการนำโซลูชั่น HP TippingPoint IPS ( Intrusion Prevention System ) ไปใช้ ในการทำงานร่วมกับ VMware vSphere ทั้งยังเป็นการต่อยอดจากกลยุทธ์ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบผนวกของเอชพี (HP Converged Infrastructure) และถือเป็น การเปิดมิติใหม่ของการทำอินเทเกรชั่นในปัจจุบัน

นอกจากนี้ เอชพีและวีเอ็มแวร์ยังประกาศความร่วมมือสนับสนุนการทำตลาดโซลูชั่นฮาร์ดแวร์และซอฟ ต์ แวร์ที่ผนวกรวมเทคโนโลยี HP TippingPoint vController แอพพลิเคชั่น VMware vShield และระบบป้องกัน Edge เข้าไว้ด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว ทำให้ระบบบรักษาความปลอดภัยระดับองค์กรมี การทำงานที่ง่ายขึ้น โซลูชั่น HP TippingPoint IPS vController ที่ผนวกรวมกับโซลูชั่น VMware vShield จึงเป็นการผนวกรวมเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัย firewall และ IPS เข้าไว้ด้วยกันอย่างสมบูรณ์แบบ โดยมีประสิทธิภาพใน การรักษาความปลอดภัยทั้งในสภาพแวดล้อมแบบปกติและ แบบ เวอร์ช่วล

โซลูชั่นแบบผนวกดังกล่าวสนับสนุนเทคโนโลยีการป้องกันการบุกรุกที่ได้รับ การคิดค้นและพัฒนาโดย Digital Vaccine Labs (DVLabs) ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยและพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยของเอชพี ทั้งนี้ เทคโนโลยีป้องกัน การบุกรุกดังกล่าวจะมีฟิลเตอร์เพื่อทำหน้าที่ป้องกันการบุกรุกและโจรกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบผนวกของเอชพี (HP Converged Infrastructure) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรแบบ Instant-On Enterprise ทั้งนี้ สำหรับในโลกของการสื่อสารเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง แนวคิดแบบ Instant-On Enterprise คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในทุกกิจกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า พนักงาน พันธมิตร และประชาชนได้อย่างตรงจุดและโดยทันที

View :1867
Categories: Press/Release Tags: , ,